Jump to content


Photo
- - - - -

ข้อสงสัย ความเป็นไปได้ของกรุงเทพฯ เมืองจักรยาน


  • Please log in to reply
96 replies to this topic

#1 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 27 February 2013 - 19:13

*
POPULAR

กระทู้นี้ ไม่อยากเกี่ยวกับการเมือง หรือการเลือกตั้งผู้ว่านะครับ

บังเอิญ ไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องจักรยานในกระทู้ของคุณ bird

แล้วนึกถึงขึ้นมา

 

แต่ขอแว้งเกี่ยวกับผู้สมัครนิดนึงก็แล้วกัน

เห็นนโยบายหาเสียงของผู้สมัครแต่ละท่าน เรื่องจักรยาน

พงศพัศก็มี หม่อมก็มี สุหฤทก็มี หรือ ดร.โสภณก็มี

 

ความจริง ผมอยากสนับสนุนโครงการนี้

ไม่ว่าจะเป็นไอเดียของใคร

หมายความว่า หากใครได้เป็นผู้ว่า

ผมอยากจะให้ผู้สมัครที่เหลือแต่ละคน ที่มีนโยบายนี้

มาร่วมหัวกัน เพื่อดำเนินการให้สำเร็จอย่างจริงจัง

ตรงนี้ หากผู้ว่าคนใหม่ จะสามารถรับไอเดียใครมาพัฒนา

ผมก็เห็นดีด้วยทั้งสิ้นครับ

 

 

สังคมเพื่อนฝูงรอบๆ ตัวตอนนี้ หันมาขี่จักรยานกันอย่างจริงจังกันหลายกลุ่มครับ

ผมเอง กำลังมองหาอยู่สักคัน แต่ไม่ได้คิดจะออกสนามใหญ่ หรือออกนอกถนน

อย่างน้อยก็ในเร็ววันนี้

เพราะไม่เคยขี่จักรยานจริงๆ มา น่าจะไม่ต่ำกว่า 20 ปี

แต่ด้วยความที่เป็นคนชอบเดินถ่ายรูป ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

เคยคิดบ่อยๆ ว่าบางครั้ง ถ้าเราตระเวณถ่ายรูปไปพร้อมกับการขี่จักรยาน

คงจะเพลิดเพลินไม่น้อย นึกถึงบรรยากาศบางแห่ง เช่น ปาย เชียงใหม่

อะไรแบบนี้แหละครับ

เลยคิดจะหาจักรยานแบบพับได้ ใส่ไว้ท้ายรถสักสองคัน

ไปไหนก็เอาไปด้วย มีสถานที่ก็เอาลงปั่นไป ถ่ายรูปไป

คงจะดีความสุขดีไม่น้อย

 

 

แต่ในสังคมรอบตัวผม

หลายคนเอาจริงเอาจังกับการปั่นจักรยานมาก

ถึงขนาดที่ว่า ไม่ใช้รถ แต่ใช้จักรยานและรถไฟฟ้ากันเลยทีเดียว

ไปไหนก็ไปด้วยจักรยาน ไปทำงานก็เอาเป้ใส่เสื้อผ้าไปอาบน้ำที่ออฟฟิศ

หลายคนก็เรียกร้องการเอาจริงเอาจังในเรื่องจักรยานมาก

เพราะความไม่ปลอดภัยและอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับจักรยาน

 

ไม่นานมานี้ มีโอกาสได้เห็นภาพข่าวจากเมืองๆ นึง

ที่เมื่อประมาณ 15-20 ปีก่อน เป็นเมืองที่แออัดไม่ต่างจากกรุงเทพ

จึงมีการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่สนับสนุนการใช้จักรยานอย่างจริงจัง

ทำเลนจักรยานแยกออกไป และไปถึงได้ทุกที่

รักษากฏระเบียบอย่างเคร่งครัด

การใช้รถยนต์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน

ถนนหนทางดูปลอดภัยมากขึ้น คนเริ่มมีความสุขกับการนั่ง เดิน พบปะกันบนท้องถนน

ความเปลี่ยนแปลงนั้น ใช้เวลาประมาณ 15-20 ปีเท่านั้นเอง

(ผมจำไม่ได้และหาลิงค์ไม่เจอครับ ว่าเป็นเมืองอะไร)

 

เทียบกับบ้านเรา

โอกาสในการสร้างเลนจักรยาน มีได้ยากเย็น

จะใช้ร่วมกับถนน (ดูเหมือนจะมีการขอทางให้แค่ 3 ฟุต)

ก็ยังจะเป็นเรื่องยากเย็น

เพราะเมื่อไหร่ที่ต้องใช้ร่วมถนนกับรถคันอื่น

แน่นนอนว่า จะต้องมีรถคันอื่นมาใช่ร่วม

มันจะกลายเป็นเลนมอเตอร์ไซด์ รถเมล์  และที่จอดรถตู้ รถยนต์ทั่วไปทันที

โอกาสจะเป็นไปได้และปลอดภัย ดูเหมือนจะต้องทำแบบเมืองที่ผมยกตัวอย่าง

คือกันพื้นที่ทางเท้ามาส่วนหนึ่ง

แต่บ้านเราก็ไม่มีทางเท้าให้มากเพียงพอจะทำพื้นที่ให้จักรยานได้

ไม่นับรวมพวกขายของ จอดรถ หรือะไรต่อมิอะไรบนทางเท้า

 

ผมนึกภาพไม่ออกเอาเลย

โอกาสที่เมืองใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร

จะสามารถใช้จักรยานร่วมกับรถคันอื่นบนท้องถนนอย่างปลอดภัยเพียงพอ

นอกเสียจากจะถูลู่ถูกังไปเอาเอง

 

หรือดีที่สุดสำหรับคนกรุงเทพ

จะเป็นไปได้แค่เพียงการออกกำลังกายตามสวนสาธารณะ

เช่นสวนรถไฟ หรืออะไรอย่างนั้นไป

 

แม้ที่ผ่านมา

จะพอมีโครงการเกี่ยวกับรถจักรยานมากขึ้น

แต่ความจริงจังผมยังไม่เห็นชัดนักครับ

เพราะความเป็นไปได้ เกิดขึ้นได้ยากจริงๆ (ผมเชื่อว่างั้น)

 

อยากได้ไอเดียครับ

ว่าจะทำอย่างไร ให้กรุงเทพ สามารถใช้จักรยานร่วมกับรถคันอื่นบนท้องถนน

ตรงนี้ต่างหาก ที่เป็นเรื่องสำคัญ

มากไปกว่าจำนวนจักรยานที่ กทม จะมีให้เช่า

แต่ปล่อยให้ขี่กันไปตามยถากรรม

แม้ว่าวันนี้ อดีตผู้ว่าจะเริ่มทำโครงการเกี่ยวกับจักรยานไปบ้างแล้ว

เราสามารถหิ้วจักรยานขึ้นรถไฟฟ้าได้แล้ว

ผมก็มองว่ามันยังไม่พอ

 

ผมอยากได้ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนกว่านี้ครับ

เผื่อวันนึง ผมอาจจะนึกอยากขี่มาทำงานบ้าง

(บ้านห่างจากออฟฟิศประมาณ 8-9 กิโลเท่านั้น)

แต่ตอนนี้ ยอมรับว่าไม่กล้าครับ

 

 

อยากได้ไอเดียเพื่อนสมาชิกครับ เราจะทำอย่างไรได้บ้าง

หรือจะนำเสนออะไรได้บ้าง ต่อผู้ว่าคนต่อไป

 

(หากใครอยากหาเสียงให้ผู้สมัคร กรุณาเอาความเป็นรูปธรรมมานำเสนอนะครับ)


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#2 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

Posted 27 February 2013 - 19:15

*
POPULAR

-_-  ทำได้จริงก็ดีแน่ๆขอรับ... แต่อันดับแรกสำคัญสุด... แก้ปัญหาสันดานการขับรถแบบไทยๆให้ได้ก่อนขอรับ แล้วทุกอย่างจะประเสริฐศรีแน่นอน...


:) Sometime...Sun shine through the rain...

#3 หมุอวกาศ

หมุอวกาศ

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 301 posts

Posted 27 February 2013 - 19:23

== ข้อความถูกระงับโดยผู้ดูแล ==


Edited by MOD_09, 27 February 2013 - 19:50.
เนื้อหาไม่เกี่ยวกับกระทู้ กรุณาอยู่ในประเด็น


#4 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 27 February 2013 - 19:30

== ข้อความถูกระงับโดยผู้ดูแล ==

 

จักรยานสนามหลวง.jpg


Edited by Stargate-1, 28 February 2013 - 16:29.
เนื้อหาไม่เกี่ยวกับกระทู้ กรุณาอยู่ในประเด็น

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#5 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

Posted 27 February 2013 - 19:34

== ข้อความถูกระงับโดยผู้ดูแล ==


Edited by MOD_09, 27 February 2013 - 19:50.
เนื้อหาไม่เกี่ยวกับกระทู้ กรุณาอยู่ในประเด็น

ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 


#6 unook

unook

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 105 posts

Posted 27 February 2013 - 19:36

กรุงโบโกต้า เมืองหลวงของประเทศโคลัมเบียครับ
ตามLinkนี้ไปเลยครับ
http://article.tcdcc...ta-bicycle-city

#7 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

Posted 27 February 2013 - 19:38

ปัญหาแรกเลยและเป็นปัญหาที่สำคัญ คือ เรื่องการปลูกฝังวินัยจราจร การขับขี่ยวดยานย้อนศรทั้งรถยนต์รถจักรยานยนต์ เห็นได้ทุกเส้นทางครับ ถ้าจัดการตรงนี้ได้เป็นจริงเป็นจังก็จะดี


Edited by กีรเต้, 27 February 2013 - 19:39.

ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 


#8 Et tu Brute?

Et tu Brute?

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,529 posts

Posted 27 February 2013 - 19:43

เราไม่มีทางสร้างวินัยจราจรได้ ถ้ายังมีตำหนวดที่ไม่รักษากฎหมาย เอาแต่เก็บส่วยอย่างทุกวันนี้


It's us against the world


#9 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 00:18

ใช่ๆ ครับ เมืองนี้แหละครับ
ขอบคุณครับ คุณ unook

ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#10 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

Posted 28 February 2013 - 00:44

ผมเราว่าเราคิดกันว่า ต้องมีเลยจักรยาน ในถนนหลัก ถึงจะออกมาขี่กัน 

 

จริงๆแล้ว ผมว่า เราไม่จำเป็นต้องมีเลนจักรยานในถนนหลักก็ได้ครับ เพราะจริงๆแล้ว ถนนในกรุงเทพฯมันเป็นอะไรที่พิเศษมาก มีซอกซอยเยอะแยะ เราสามารถไปได้เกือบทุกที่ โดยที่แถบจะไม่ต้องผ่านถนนสายหลักเลย และถนนพวกนี้ รถวิ่งไม่เร็ว ค่อนข้างเป็นมิตรกับจักรยานพอสมควร และถึงมันจะอ้อมก็จริง แต่ว่าไม่กี่ กม. คนอยากจะขี่ ทำได้อยู่แล้วววว...

 

ปัญหาสำคัญของการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ทางครับ แต่คือ มันไม่มีห้องอาบนํ้าให้ทีทำงาน!! โดยเฉพาะบ้านเราเป็นเมืองร้อน ว่ากันตรงๆ ยิ่งปั่นเหงือยื่งออก แล้วใครหล่ะมันอยากจะปั่น เราทุกคนคงไม่อยากตื่นเช้ามารับกับปัญหามากมายที่เจ้านาย & ลูกน้อง ประเคนให้เรา พร้อมคำด่า และคำสรรเสริญจอมปลอม ด้วยเหงื่อโซมกาย จริงไหมคร๊าบบบ

 

ฉะนั้นห้องอาบนํ้า (แบบไม่มีอ่าง) เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของปัญหานี้ครับ  

 

ปล. ผมเมานะฮะ  :lol:

ปล.2 Edit แก้คำผิดนะครับ


Edited by ควันหลง, 1 March 2013 - 16:00.


#11 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 00:48

จริงด้วยครับ ให้ผมปั่นเอาแค่ถึงปากซอยก็คงได้เหงื่อเต็มตัวแล้ว

ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#12 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 00:50

โชคดีของผม ที่ออฟฟิศเป็นบ้านครับ เวลาออกนอกสถานที่ เช่นไปคุมงานบางอย่าง ผมก็เคยติดผ้าเช็ดตัวกับเสื้อผ้ามาเปลี่ยนเหมือนกันเพราะนั่งทำงานตัวเหนียวไม่ไหว แต่เป็นคนทั่วไปอาจลำบากหน่อย

ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#13 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 00:50

โชคดีของผม ที่ออฟฟิศเป็นบ้านครับ เวลาออกนอกสถานที่ เช่นไปคุมงานบางอย่าง ผมก็เคยติดผ้าเช็ดตัวกับเสื้อผ้ามาเปลี่ยนเหมือนกันเพราะนั่งทำงานตัวเหนียวไม่ไหว แต่เป็นคนทั่วไปอาจลำบากหน่อย

ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#14 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 00:51

ปล ติบได้ดีกว่าคนปกติซะอีกนะครับ คุณควันหลง

ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#15 sigree

sigree

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,883 posts

Posted 28 February 2013 - 00:57

ผมว่า

 

ยาก

 

ผมไม่ได้โทษผังเมืองหรืออะไรนะ ผมเคยอยู่พัทยาและภูเก็ต เมืองที่บรรยากาศดี น่าเดินเที่ยวขี่จักรยานไปทำงาน  ผมพบว่าไม่มีใครขี่จักรยาน

 

ธรรมชาติและวัฒนธรรม เป็นตัวทำให้คนไทยไม่นิยมมัน



#16 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

Posted 28 February 2013 - 01:07

ปัญหาอย่างแรก เลยที่คือ ระบบ คมนาคมขนส่งภายใน กทม เอง ซึ่งต้องวางผังให้ดีกว่านีั้

 

พูด ๆ ง่าย ๆ คือ รือ ระบบการขนส่ง ระบบผังเมือง จราจร รวมไปถึง วินัยของผู้ใช้รถใช้ถนน

 

เอาแบบบ้าน ๆ ว่า เริ่มใหม่ทั้งหมด นั้นละ

 

ถึงจะเป็นไปได้ 

 

ถ้าทำไม่ได้อย่างหวังครับ


Edited by พอล คุง, 28 February 2013 - 01:08.

ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#17 Son of Anarchy

Son of Anarchy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 831 posts

Posted 28 February 2013 - 01:10

อย่าลืมจักรยานบางคนราคาเป็นหมื่น เป็นแสน

 

อย่าลืมกรุงเทพโจรชุม ขี่ไปโดนถีบเอามีดเสียบแย่งจักรยาน

 

อย่าลืมขี่จักรยานตอนกลางคืนไปเจอพวกแว๊นทำไง

 

อย่าลืมจอดจักรยานทิ้งไว้ ดีไม่ดีกลับมาเจอแค่ล้อรถที่ล็อกไว้เท่านั้น


คุณอาจจะคลั่งเหมือนหมาบ้า กับบางสิงที่เกิดขึ้นในชีวิต
คุณอาจจะสบถ สาปแช่งโชคชะตา
แต่เมื่อวาระสุดท้ายมาถึง คุณก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไป

Curious Case Of Benjamin Button


#18 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

Posted 28 February 2013 - 01:10

จริง ๆ แล้วผมว่า ระบบผังเมืองสำคัญสุดครับ เพราะต่อยอดได้

 

พี่ ๆ หลายคน ที่ผมรู้จักเป็นวิศวกร หลาย ๆ คนเหมือนกัน พูดเหมือน ๆ กัน 

 

แต่ทุกคนบอกว่า เราต้องแก้ ระบบผังเมืองใหม่ทั้้งหมด เลย ถึงจะพัฒนาได้เหมือน ๆ ต่างประเทศ


Edited by พอล คุง, 28 February 2013 - 01:11.

ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#19 สุกี้น้อย

สุกี้น้อย

    หล่อสุดในเสรีไทย 55

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,636 posts

Posted 28 February 2013 - 01:16

วินัยจราจรยังทำกันไม่ได้...เมืองจักรยาน   อย่าหวัง -_-



#20 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

Posted 28 February 2013 - 01:19

^_^ คงต้องสำรวจปัญหาปัจจุบัน และสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อนครับ

 

http://www.greenworl...orld/local/1516

 

“ทางจักรยาน ณ กรุงเทพมหานคร” ที่ทางของพาหนะปลอดมลพิษในเมือง

 

 

- 1 -
 
เพราะอะไรคนกรุงเทพฯ ถึงยังไม่ออกมาใช้จักรยานเป็นพาหนะในการสัญจรบนท้องถนนมากเท่าที่ควร ?
 
ก.    ไม่มีจักรยานเป็นของตัวเอง
ข.    กลัวว่าเวลาไปจอดในที่สาธารณะต่างๆ แล้วจะถูกขโมย
ค.    ระยะทางจากบ้านกับปลายทางไกลเกินไปที่จะขี่จักรยาน
ง.    กรุงเทพฯ เป็นเมืองร้อน ไม่เหมาะกับการขี่จักรยาน
จ.    รู้สึกว่าท้องถนนปัจจุบันอันตรายสำหรับการขี่จักรยานเกินไป
ฉ.    ถูกทุกข้อ
 
 
ไม่ต้องลังเลในการตอบคำถาม ผู้ขี่จักรยานทั้ง “มืออาชีพ” และ “มือสมัครเล่น” คงพร้อมใจกากบาทตัวเลือกสุดท้ายอย่างแน่นอน หากแต่ถ้าโจทย์ข้างต้นไม่มีตัวเลือกว่า “ถูกทุกข้อ” คุณคิดว่าเหตุผลเพียงหนึ่งเดียวข้อไหนจะเป็นคำตอบที่ “ถูกต้องที่สุด” สำหรับปัญหานี้
 
จากการสำรวจในวัน Car Free Day ที่ผ่านมาโดยมูลนิธิโลกสีเขียว ผ่านชุดคำถามว่าด้วยการใช้จักรยานบนท้องถนนกับชาวกรุงเทพมหานคร ทั้งจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ และสำรวจตัวต่อตัวตามถนนหนทางในย่านสยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สวนจตุจักร และท่าพระจันทร์ ทั้งสิ้น 4,333 คน  
 
ผลสำรวจออกมาว่า สูงถึงร้อยละ 86 บอกว่า “พวกเขาจะออกมาขี่จักรยานบนท้องถนน หากรู้สึกว่าสามารถขี่ได้อย่างปลอดภัย”
 
แล้วอย่างไรคือทางออกของคำว่า “ความปลอดภัย” สำหรับที่ทางในการขี่จักรยาน ?
 
- 2 -
 
บนท้องถนนในแต่ละวัน ผู้ขี่จักรยานทั้ง “มืออาชีพ” และ “มือสมัครเล่น” คงเคยพบกับรถประจำทางคันโต รถยนต์หลากขนาด มอเตอร์ไซค์สุดซอกแซก ที่ต่างพากันเร่งรีบแซงซ้าย-ขวา ปาดหน้า-หลัง จนจักรยานมีที่ทางน้อยลงเรื่อยๆ และยังสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยกับพวกเขาอยู่ตลอดเวลา  
 
หากกรุงเทพมหานครตั้งใจที่จะสนับสนุนพาหนะปลอดมลพิษอย่าง “จักรยาน” ให้ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน การจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนผ่านรูปแบบ “ทางจักรยาน” คือทางออกที่สำคัญอย่างยิ่ง
 
เท่าที่มีการบันทึก ทางจักรยานสายแรกของกรุงเทพฯ เกิดขึ้นในปี 2535 โดยเป็นทางยกระดับเลียบคลองประปาฝั่งตะวันตก (ปัจจุบันทางสายนี้ก็ยังอยู่ แต่ถูกเข้าใจว่าเป็นฟุตบาทไปแล้ว) โดยหลังจากนั้นยังมีการสร้างทางจักรยานเป็นระยะๆ อีกหลายเส้นทาง แต่เป็นนโยบายที่ไม่ต่อเนื่องเท่าไรนัก
 
นายอรวิทย์ เหมะจุฑา รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง เล่าว่าทางจักรยานในระยะแรกจะสร้างที่ถนนที่มีอยู่เดิม และอยู่บนทางเท้าเป็นส่วนใหญ่ โดยยอมรับว่าระยะแรก กทม. เองก็ยังไม่มีการศึกษาว่า “ทางจักรยาน” ที่เหมาะกับพื้นที่ควรจะออกมาในรูปแบบไหน จึงเลือกเอาวิธีที่มีการจัดการที่ค่อนข้างง่าย และทำตามสภาพที่เป็นอยู่ในอดีตไปก่อน
 
ข้อมูลจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานครระบุว่า ปัจจุบันมีทางจักรยานที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วทั้งสิ้น 31 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร จากถนนในกรุงเทพฯ มีความยาวรวมกันราว 8,000 กิโลเมตร พื้นผิวถนนคิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด (1,568 ตารางกิโลเมตร)
 
แต่… ข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้จักรยานทุกคนพบก็คือ ทางจักรยานหลายเส้นทางได้รับการทาสี-ตีเส้น ณ จุดที่ขัดใจผู้ขี่จักรยาน ทั้งมาปรากฏบนฟุตบาทในย่านหาบเร่-แผงลอยอันหนาแน่น ขอบฟุตบาทที่เคยมีรถจอดอยู่เป็นประจำ หรือแม้แต่การแบ่งพื้นที่ถนนสำหรับรถยนต์ส่วนหนึ่งมาให้จักรยาน จนบ่อยครั้งคนขี่จักรยานและคนใช้พื้นที่นั้นๆ มีอันต้องขัดแย้งกันโดยไม่จำเป็น  
 
ในนามรองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงตั้งแต่เริ่มคิด วางแผน และลงมือทำทางจักรยานให้เกิดขึ้น อรวิทย์ให้เหตุผลว่าในระยะเริ่มต้น สจส. ตั้งใจให้ “ทางจักรยาน” เป็นเหมือนการชักชวนในระยะเบื้องต้น ให้ผู้คนเห็นว่าพวกเขาสามารถขี่จักรยานบนท้องถนนได้ โดยยอมรับว่าที่ผ่านมา เมื่อคนวางแผนกับคนที่ลงมือตีเส้นเป็นคนละคนกัน ทำให้การทำงานยังไม่ได้ออกมาดีเท่าที่ควร
 
"ทุกวันนี้ เมื่อมีการตัดถนนใหม่ เราพยายามจะใส่ทางจักรยานเข้าไปด้วย อย่างเช่นถนนเอกมัย-รามอินทรา ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ก็จะมีพื้นที่เหลืออยู่ด้านในที่เป็นทางจักรยานสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ” เขากล่าว พร้อมบอกว่าในอนาคต กรุงเทพมหานครจะมีการสร้างต้นแบบการใช้ถนนร่วมกันระหว่างพาหนะประเภทต่างๆ อยู่ที่ถนนรัชดา-ลาดพร้าว ในนาม “กรุงเทพเมืองสวรรค์”
 
อรวิทย์เล่าว่า ในอดีตสำนักการจราจรและขนส่งมีข้อจำกัดอยู่บ้างตรงที่มีเจ้าหน้าที่ไม่มากนัก ทำให้คณะทำงานมีโอกาสไปเห็นพื้นที่จริงไม่ครบถ้วน  จากปัญหาดังกล่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะกรรมการในโครงการเรารักกรุงเทพฯ เรารักจักรยานขึ้นมา โดยมีเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร (โฆษกกรุงเทพมหานคร) เป็นประธานกรรมการ ร่วมกับคณะกรรมการจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักการจราจรและขนส่ง หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย กองบังคับการตำรวจนครบาล ฯลฯ เพื่อกำกับดูแล พัฒนา และปรับปรุงเส้นทางจักรยานให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้จักรยานจริงบนพื้นฐานความเหมาะสมของกายภาพในแต่ละพื้นที่ โดยมีระยะเวลาการทำงาน 2 ปีในเบื้องต้น
 
“การตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ทำให้กรุงเทพมหานครมีหูตาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม และสมาชิกเองก็เป็นคนที่ใช้จักรยานจริงๆ ซึ่งเขาจะสามารถช่วยเราดูว่าตรงไหนมีปัญหาอย่างไร จะแก้ยังไง” เขากล่าว
 
- 3 -
 
แม้กรุงเทพมหานครจะมี “ทางจักรยาน” ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วมากถึงกว่า 200 กิโลเมตร แต่เป็นที่รับรู้ร่วมกันว่า ส่วนใหญ่ของทางเหล่านั้น ได้ถูกละเมิดเป้าหมายที่แท้จริงไป ทั้งจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของคนในสังคม
 
ความกว้างของถนนและทางเท้ามีจำกัด ทำให้ “ทางจักรยาน” ได้กลายเป็น – ที่จอดรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ฯลฯ กระทั่งใครขี่เข้าไปในที่เหล่านั้น ก็มีอันต้องได้เจอกับสายตาไม่พอใจในพฤติกรรมอย่างน่าอึดอัด – ที่จอดรถยนต์ต่อเนื่องกันยาวเหยียด จนไม่มีพื้นที่เหลือให้จักรยานแม้สักนิด – ที่ซึ่งมีรถประจำทาง รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์มาใช้พื้นที่ จนจักรยานไม่สามารถขี่ได้อย่างสบายใจ ฯลฯ
 
สิ่งเหล่านั้น ทำให้บ่อยครั้ง “ผู้ขี่จักรยาน” มีอันต้องโดนผลักให้กลายเป็น “พาหนะที่ไร้ที่ทางบนท้องถนน”
 
จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การไม่ตระหนักหรือหลงลืมไปว่า “จักรยาน” ก็มีสิทธิในการใช้ถนนไม่ต่างกันกับพาหนะของพวกเขา คือ สิ่งที่ขัดกับ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุไว้ชัดเจนว่าจักรยานเป็นพาหนะที่มีสิทธิใช้พื้นผิวถนนเท่าเทียมกับพาหนะประเภทอื่น และตำรวจต้องดูแลทางจักรยานไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง
 
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 79 บอกไว้ว่า “ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น”
 
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครได้ผลักดันนโยบายและมาตรการในการป้องกันไม่ให้ยานพาหนะอื่นเข้าใช้ “ทางจักรยาน” และมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเป็นระยะๆ โดยในปัจจุบันมีการออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดช่องทางเดินรถสำหรับรถจักรยาน พ.ศ. 2553 ซึ่งกำหนดช่องทางเดินรถเฉพาะสำหรับเดินรถจักรยาน โดยมีความกว้างของช่องทาง 1 เมตร 20 เซนติเมตร วัดจากขอบทางเดินรถด้านซ้ายของถนน ได้แก่
 
-    ถนนหน้าพระลาน เฉพาะฝั่งด้านถนนมหาราชมุ่งหน้าถนนหน้าพระธาตุ
-    ถนนหน้าพระธาตุ เฉพาะฝั่งด้านถนนหน้าพระลานมุ่งหน้าถนนราชินี
-    ถนนราชินี เฉพาะฝั่งด้านถนนหน้าพระธาตุมุ่งหน้าถนนพระอาทิตย์
-    ถนนพระอาทิตย์ เฉพาะฝั่งด้านถนนราชินีมุ่งหน้าถนนพระสุเมรุ
 
นั่นหมายความว่า ทั้ง 4 เส้นทางข้างต้น ได้ประกาศให้เป็น “ทางจักรยานตามกฎหมาย” ที่พาหนะประเภทอื่นมาวิ่งจะต้องถูกจับ รวมทั้งถ้าจักรยานไปวิ่งนอกเส้นทางก็จะต้องโดนจับด้วยเช่นกัน
 
อย่างไรก็ตามล่าสุด ตามที่กรุงเทพมหานครเสนอให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรเส้นทางจักรยานในพื้นที่ กทม. ชั้นในย่านฝั่งธนบุรี บริเวณโดยรอบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สน.สมเด็จเจ้าพระยา สน.บุปผาราม ทางจักรยานในถนนโดยรอบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทางจักรยานในถนนประชาธิปกทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ถึงเชิงสะพานพระปกเกล้า ทางจักรยานในถนนลาดหญ้า ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ถึงเชิงสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่ ทางจักรยานในถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ ถึงแยกถนนกรุงธนบุรี ทางจักรยานในถนนอินทรพิทักษ์ ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ ถึงสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่  กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ได้รายงานผลประชุมร่วมกับ กทม. ว่า “ไม่ควรออกข้อบังคับดังกล่าว เนื่องจากเกรงจะเป็นอันตรายแก่ผู้ขับขี่จักรยาน และผู้ใช้ถนนที่สัญจรไปมา ที่ประชุมเห็นด้วยกับการส่งเสริมการใช้จักรยาน แต่มองว่าทางจักรยานควรจะแยกออกมาจากถนน เพื่อความปลอดภัยจึงให้ชะลอการออกข้อบังคับไปก่อน”
 
วินาทีที่ “ทางจักรยาน” ทั้ง 31 เส้นทางส่วนใหญ่ยังไม่ได้เป็น “ทางจักรยานตามกฎหมาย” อีกทั้งตำรวจจราจรเองก็ยังไม่เห็นความสำคัญในที่ทางของจักรยานมากนัก แม้จะสนับสนุนให้ออกมาขี่กันมากๆ แต่ก็อยากให้เป็น “ทางสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ” มากกว่ามาอยู่บนถนนร่วมกับรถยนต์  โดยเมื่อขอให้ออกข้อบังคับสำหรับทางจักรยาน ก็ตั้งคำถามกลับว่า “มีคนใช้จักรยานไม่มากเท่าไร” อรวิทย์มองว่าสิ่งที่กรุงเทพมหานครและผู้ใช้จักรยานทุกคนสามารถทำได้ก็มีอยู่  ทั้งการรณรงค์ให้คนหันมาเห็นความสำคัญของ “จักรยาน” ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านทั้งกิจกรรมอย่าง Car Free Day (ปีละ 1 ครั้ง) Car Free Sunday (เดือนละ 1 ครั้ง) ฯลฯ รวมทั้งการออกมาใช้ "จักรยาน" เป็นพาหนะในชีวิตประจำวันเท่าที่เป็นไปได้  เมื่อคนในสังคมคุ้นชินกับสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ “จักรยาน” มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มกลายเป็นการ “เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน” ขึ้นมา
 
“บางทีความสำคัญคงไม่ได้อยู่ที่เรื่องข้อบังคับ แต่อยู่ที่คนจะดูแลกันและกันในการจราจรอย่างไรมากกว่า เราตั้งใจสร้างกระแสขึ้นมาเรื่อยๆ เมื่อคนออกมาขี่มากขึ้น เขาก็จะรู้สึกว่าเป็น ‘ทางจักรยาน’ เป็นสิ่งที่เขาควรได้รับสิทธิ แล้วพอเราไปร้องให้ออกข้อบังคับตามทีหลัง มันก็จะง่ายขึ้น  ขณะที่ ‘ทางจักรยาน’ ยังไม่ออกข้อบังคับ เราก็ใช้วิธีการช่วยตีเส้นให้ก่อน แล้วให้สังคมช่วยดูแลกันเอง”
 
หลังจากนี้ ยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครจะเน้นเรื่องรณรงค์ และปรับปรุงเส้นทางที่มีอยู่เดิมให้ใช้การได้ดี และสำรวจเส้นทางลัดต่างๆ ที่จักรยานสามารถขี่ผ่านเข้าไปได้โดยไม่ต้องออกถนนใหญ่เสมอไป โดยประชาชนที่ใช้จักรยานสามารถแจ้งปัญหาที่เจอได้ที่เบอร์โทร 1555 เพื่อที่กรุงเทพมหานครจะแก้ไขให้ใช้ได้จริง
    
นอกจากนี้ อรวิทย์ยังหวังว่าอนาคตเมื่อเครือข่ายรถไฟฟ้าที่ใช้ระยะเวลาราว 5 ปีสร้างเสร็จ ก็จะเอื้อให้เกิดการใช้จักรยานมากยิ่งขึ้นด้วย
 
“การขี่จักรยานจะมากขึ้น เมื่อเกิดขนส่งมวลชนเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ ต่อไปจากบ้านมาสถานีรถไฟฟ้า ถ้ามันครอบคลุม เขาอาจไม่ต้องนั่งตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และเปลี่ยนเป็นการขี่จักรยานสัก 1 กิโลเมตร มาจอดที่สถานี แล้วใช้บริการรถไฟฟ้าไปแทน รอให้รถไฟฟ้าเสร็จ เราจะเห็นว่ากรุงเทพฯ จะเปลี่ยนไปอีกรูปแบบเลย เห็นจักรยานมากขึ้น เห็นคนเดินมากขึ้น” อรวิทย์ให้เหตุผลด้วยความมั่นใจ

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#21 whiskypeak

whiskypeak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,392 posts

Posted 28 February 2013 - 03:33

^_^ คงต้องสำรวจปัญหาปัจจุบัน และสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อนครับ

 

http://www.greenworl...orld/local/1516

 

“ทางจักรยาน ณ กรุงเทพมหานคร” ที่ทางของพาหนะปลอดมลพิษในเมือง

 

 

- 1 -
 
เพราะอะไรคนกรุงเทพฯ ถึงยังไม่ออกมาใช้จักรยานเป็นพาหนะในการสัญจรบนท้องถนนมากเท่าที่ควร ?
 
ก.    ไม่มีจักรยานเป็นของตัวเอง
ข.    กลัวว่าเวลาไปจอดในที่สาธารณะต่างๆ แล้วจะถูกขโมย
ค.    ระยะทางจากบ้านกับปลายทางไกลเกินไปที่จะขี่จักรยาน
ง.    กรุงเทพฯ เป็นเมืองร้อน ไม่เหมาะกับการขี่จักรยาน
จ.    รู้สึกว่าท้องถนนปัจจุบันอันตรายสำหรับการขี่จักรยานเกินไป
ฉ.    ถูกทุกข้อ
 
 
ไม่ต้องลังเลในการตอบคำถาม ผู้ขี่จักรยานทั้ง “มืออาชีพ” และ “มือสมัครเล่น” คงพร้อมใจกากบาทตัวเลือกสุดท้ายอย่างแน่นอน หากแต่ถ้าโจทย์ข้างต้นไม่มีตัวเลือกว่า “ถูกทุกข้อ” คุณคิดว่าเหตุผลเพียงหนึ่งเดียวข้อไหนจะเป็นคำตอบที่ “ถูกต้องที่สุด” สำหรับปัญหานี้
 
จากการสำรวจในวัน Car Free Day ที่ผ่านมาโดยมูลนิธิโลกสีเขียว ผ่านชุดคำถามว่าด้วยการใช้จักรยานบนท้องถนนกับชาวกรุงเทพมหานคร ทั้งจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ และสำรวจตัวต่อตัวตามถนนหนทางในย่านสยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สวนจตุจักร และท่าพระจันทร์ ทั้งสิ้น 4,333 คน  
 
ผลสำรวจออกมาว่า สูงถึงร้อยละ 86 บอกว่า “พวกเขาจะออกมาขี่จักรยานบนท้องถนน หากรู้สึกว่าสามารถขี่ได้อย่างปลอดภัย”
 
แล้วอย่างไรคือทางออกของคำว่า “ความปลอดภัย” สำหรับที่ทางในการขี่จักรยาน ?
 
- 2 -
 
บนท้องถนนในแต่ละวัน ผู้ขี่จักรยานทั้ง “มืออาชีพ” และ “มือสมัครเล่น” คงเคยพบกับรถประจำทางคันโต รถยนต์หลากขนาด มอเตอร์ไซค์สุดซอกแซก ที่ต่างพากันเร่งรีบแซงซ้าย-ขวา ปาดหน้า-หลัง จนจักรยานมีที่ทางน้อยลงเรื่อยๆ และยังสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยกับพวกเขาอยู่ตลอดเวลา  
 
หากกรุงเทพมหานครตั้งใจที่จะสนับสนุนพาหนะปลอดมลพิษอย่าง “จักรยาน” ให้ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน การจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนผ่านรูปแบบ “ทางจักรยาน” คือทางออกที่สำคัญอย่างยิ่ง
 
เท่าที่มีการบันทึก ทางจักรยานสายแรกของกรุงเทพฯ เกิดขึ้นในปี 2535 โดยเป็นทางยกระดับเลียบคลองประปาฝั่งตะวันตก (ปัจจุบันทางสายนี้ก็ยังอยู่ แต่ถูกเข้าใจว่าเป็นฟุตบาทไปแล้ว) โดยหลังจากนั้นยังมีการสร้างทางจักรยานเป็นระยะๆ อีกหลายเส้นทาง แต่เป็นนโยบายที่ไม่ต่อเนื่องเท่าไรนัก
 
นายอรวิทย์ เหมะจุฑา รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง เล่าว่าทางจักรยานในระยะแรกจะสร้างที่ถนนที่มีอยู่เดิม และอยู่บนทางเท้าเป็นส่วนใหญ่ โดยยอมรับว่าระยะแรก กทม. เองก็ยังไม่มีการศึกษาว่า “ทางจักรยาน” ที่เหมาะกับพื้นที่ควรจะออกมาในรูปแบบไหน จึงเลือกเอาวิธีที่มีการจัดการที่ค่อนข้างง่าย และทำตามสภาพที่เป็นอยู่ในอดีตไปก่อน
 
ข้อมูลจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานครระบุว่า ปัจจุบันมีทางจักรยานที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วทั้งสิ้น 31 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร จากถนนในกรุงเทพฯ มีความยาวรวมกันราว 8,000 กิโลเมตร พื้นผิวถนนคิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด (1,568 ตารางกิโลเมตร)
 
แต่… ข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้จักรยานทุกคนพบก็คือ ทางจักรยานหลายเส้นทางได้รับการทาสี-ตีเส้น ณ จุดที่ขัดใจผู้ขี่จักรยาน ทั้งมาปรากฏบนฟุตบาทในย่านหาบเร่-แผงลอยอันหนาแน่น ขอบฟุตบาทที่เคยมีรถจอดอยู่เป็นประจำ หรือแม้แต่การแบ่งพื้นที่ถนนสำหรับรถยนต์ส่วนหนึ่งมาให้จักรยาน จนบ่อยครั้งคนขี่จักรยานและคนใช้พื้นที่นั้นๆ มีอันต้องขัดแย้งกันโดยไม่จำเป็น  
 
ในนามรองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงตั้งแต่เริ่มคิด วางแผน และลงมือทำทางจักรยานให้เกิดขึ้น อรวิทย์ให้เหตุผลว่าในระยะเริ่มต้น สจส. ตั้งใจให้ “ทางจักรยาน” เป็นเหมือนการชักชวนในระยะเบื้องต้น ให้ผู้คนเห็นว่าพวกเขาสามารถขี่จักรยานบนท้องถนนได้ โดยยอมรับว่าที่ผ่านมา เมื่อคนวางแผนกับคนที่ลงมือตีเส้นเป็นคนละคนกัน ทำให้การทำงานยังไม่ได้ออกมาดีเท่าที่ควร
 
"ทุกวันนี้ เมื่อมีการตัดถนนใหม่ เราพยายามจะใส่ทางจักรยานเข้าไปด้วย อย่างเช่นถนนเอกมัย-รามอินทรา ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ก็จะมีพื้นที่เหลืออยู่ด้านในที่เป็นทางจักรยานสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ” เขากล่าว พร้อมบอกว่าในอนาคต กรุงเทพมหานครจะมีการสร้างต้นแบบการใช้ถนนร่วมกันระหว่างพาหนะประเภทต่างๆ อยู่ที่ถนนรัชดา-ลาดพร้าว ในนาม “กรุงเทพเมืองสวรรค์”
 
อรวิทย์เล่าว่า ในอดีตสำนักการจราจรและขนส่งมีข้อจำกัดอยู่บ้างตรงที่มีเจ้าหน้าที่ไม่มากนัก ทำให้คณะทำงานมีโอกาสไปเห็นพื้นที่จริงไม่ครบถ้วน  จากปัญหาดังกล่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะกรรมการในโครงการเรารักกรุงเทพฯ เรารักจักรยานขึ้นมา โดยมีเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร (โฆษกกรุงเทพมหานคร) เป็นประธานกรรมการ ร่วมกับคณะกรรมการจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักการจราจรและขนส่ง หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย กองบังคับการตำรวจนครบาล ฯลฯ เพื่อกำกับดูแล พัฒนา และปรับปรุงเส้นทางจักรยานให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้จักรยานจริงบนพื้นฐานความเหมาะสมของกายภาพในแต่ละพื้นที่ โดยมีระยะเวลาการทำงาน 2 ปีในเบื้องต้น
 
“การตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ทำให้กรุงเทพมหานครมีหูตาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม และสมาชิกเองก็เป็นคนที่ใช้จักรยานจริงๆ ซึ่งเขาจะสามารถช่วยเราดูว่าตรงไหนมีปัญหาอย่างไร จะแก้ยังไง” เขากล่าว
 
- 3 -
 
แม้กรุงเทพมหานครจะมี “ทางจักรยาน” ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วมากถึงกว่า 200 กิโลเมตร แต่เป็นที่รับรู้ร่วมกันว่า ส่วนใหญ่ของทางเหล่านั้น ได้ถูกละเมิดเป้าหมายที่แท้จริงไป ทั้งจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของคนในสังคม
 
ความกว้างของถนนและทางเท้ามีจำกัด ทำให้ “ทางจักรยาน” ได้กลายเป็น – ที่จอดรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ฯลฯ กระทั่งใครขี่เข้าไปในที่เหล่านั้น ก็มีอันต้องได้เจอกับสายตาไม่พอใจในพฤติกรรมอย่างน่าอึดอัด – ที่จอดรถยนต์ต่อเนื่องกันยาวเหยียด จนไม่มีพื้นที่เหลือให้จักรยานแม้สักนิด – ที่ซึ่งมีรถประจำทาง รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์มาใช้พื้นที่ จนจักรยานไม่สามารถขี่ได้อย่างสบายใจ ฯลฯ
 
สิ่งเหล่านั้น ทำให้บ่อยครั้ง “ผู้ขี่จักรยาน” มีอันต้องโดนผลักให้กลายเป็น “พาหนะที่ไร้ที่ทางบนท้องถนน”
 
จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การไม่ตระหนักหรือหลงลืมไปว่า “จักรยาน” ก็มีสิทธิในการใช้ถนนไม่ต่างกันกับพาหนะของพวกเขา คือ สิ่งที่ขัดกับ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุไว้ชัดเจนว่าจักรยานเป็นพาหนะที่มีสิทธิใช้พื้นผิวถนนเท่าเทียมกับพาหนะประเภทอื่น และตำรวจต้องดูแลทางจักรยานไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง
 
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 79 บอกไว้ว่า “ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น”
 
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครได้ผลักดันนโยบายและมาตรการในการป้องกันไม่ให้ยานพาหนะอื่นเข้าใช้ “ทางจักรยาน” และมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเป็นระยะๆ โดยในปัจจุบันมีการออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดช่องทางเดินรถสำหรับรถจักรยาน พ.ศ. 2553 ซึ่งกำหนดช่องทางเดินรถเฉพาะสำหรับเดินรถจักรยาน โดยมีความกว้างของช่องทาง 1 เมตร 20 เซนติเมตร วัดจากขอบทางเดินรถด้านซ้ายของถนน ได้แก่
 
-    ถนนหน้าพระลาน เฉพาะฝั่งด้านถนนมหาราชมุ่งหน้าถนนหน้าพระธาตุ
-    ถนนหน้าพระธาตุ เฉพาะฝั่งด้านถนนหน้าพระลานมุ่งหน้าถนนราชินี
-    ถนนราชินี เฉพาะฝั่งด้านถนนหน้าพระธาตุมุ่งหน้าถนนพระอาทิตย์
-    ถนนพระอาทิตย์ เฉพาะฝั่งด้านถนนราชินีมุ่งหน้าถนนพระสุเมรุ
 
นั่นหมายความว่า ทั้ง 4 เส้นทางข้างต้น ได้ประกาศให้เป็น “ทางจักรยานตามกฎหมาย” ที่พาหนะประเภทอื่นมาวิ่งจะต้องถูกจับ รวมทั้งถ้าจักรยานไปวิ่งนอกเส้นทางก็จะต้องโดนจับด้วยเช่นกัน
 
อย่างไรก็ตามล่าสุด ตามที่กรุงเทพมหานครเสนอให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรเส้นทางจักรยานในพื้นที่ กทม. ชั้นในย่านฝั่งธนบุรี บริเวณโดยรอบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สน.สมเด็จเจ้าพระยา สน.บุปผาราม ทางจักรยานในถนนโดยรอบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทางจักรยานในถนนประชาธิปกทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ถึงเชิงสะพานพระปกเกล้า ทางจักรยานในถนนลาดหญ้า ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ถึงเชิงสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่ ทางจักรยานในถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ ถึงแยกถนนกรุงธนบุรี ทางจักรยานในถนนอินทรพิทักษ์ ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ ถึงสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่  กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ได้รายงานผลประชุมร่วมกับ กทม. ว่า “ไม่ควรออกข้อบังคับดังกล่าว เนื่องจากเกรงจะเป็นอันตรายแก่ผู้ขับขี่จักรยาน และผู้ใช้ถนนที่สัญจรไปมา ที่ประชุมเห็นด้วยกับการส่งเสริมการใช้จักรยาน แต่มองว่าทางจักรยานควรจะแยกออกมาจากถนน เพื่อความปลอดภัยจึงให้ชะลอการออกข้อบังคับไปก่อน”
 
วินาทีที่ “ทางจักรยาน” ทั้ง 31 เส้นทางส่วนใหญ่ยังไม่ได้เป็น “ทางจักรยานตามกฎหมาย” อีกทั้งตำรวจจราจรเองก็ยังไม่เห็นความสำคัญในที่ทางของจักรยานมากนัก แม้จะสนับสนุนให้ออกมาขี่กันมากๆ แต่ก็อยากให้เป็น “ทางสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ” มากกว่ามาอยู่บนถนนร่วมกับรถยนต์  โดยเมื่อขอให้ออกข้อบังคับสำหรับทางจักรยาน ก็ตั้งคำถามกลับว่า “มีคนใช้จักรยานไม่มากเท่าไร” อรวิทย์มองว่าสิ่งที่กรุงเทพมหานครและผู้ใช้จักรยานทุกคนสามารถทำได้ก็มีอยู่  ทั้งการรณรงค์ให้คนหันมาเห็นความสำคัญของ “จักรยาน” ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านทั้งกิจกรรมอย่าง Car Free Day (ปีละ 1 ครั้ง) Car Free Sunday (เดือนละ 1 ครั้ง) ฯลฯ รวมทั้งการออกมาใช้ "จักรยาน" เป็นพาหนะในชีวิตประจำวันเท่าที่เป็นไปได้  เมื่อคนในสังคมคุ้นชินกับสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ “จักรยาน” มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มกลายเป็นการ “เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน” ขึ้นมา
 
“บางทีความสำคัญคงไม่ได้อยู่ที่เรื่องข้อบังคับ แต่อยู่ที่คนจะดูแลกันและกันในการจราจรอย่างไรมากกว่า เราตั้งใจสร้างกระแสขึ้นมาเรื่อยๆ เมื่อคนออกมาขี่มากขึ้น เขาก็จะรู้สึกว่าเป็น ‘ทางจักรยาน’ เป็นสิ่งที่เขาควรได้รับสิทธิ แล้วพอเราไปร้องให้ออกข้อบังคับตามทีหลัง มันก็จะง่ายขึ้น  ขณะที่ ‘ทางจักรยาน’ ยังไม่ออกข้อบังคับ เราก็ใช้วิธีการช่วยตีเส้นให้ก่อน แล้วให้สังคมช่วยดูแลกันเอง”
 
หลังจากนี้ ยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครจะเน้นเรื่องรณรงค์ และปรับปรุงเส้นทางที่มีอยู่เดิมให้ใช้การได้ดี และสำรวจเส้นทางลัดต่างๆ ที่จักรยานสามารถขี่ผ่านเข้าไปได้โดยไม่ต้องออกถนนใหญ่เสมอไป โดยประชาชนที่ใช้จักรยานสามารถแจ้งปัญหาที่เจอได้ที่เบอร์โทร 1555 เพื่อที่กรุงเทพมหานครจะแก้ไขให้ใช้ได้จริง
    
นอกจากนี้ อรวิทย์ยังหวังว่าอนาคตเมื่อเครือข่ายรถไฟฟ้าที่ใช้ระยะเวลาราว 5 ปีสร้างเสร็จ ก็จะเอื้อให้เกิดการใช้จักรยานมากยิ่งขึ้นด้วย
 
“การขี่จักรยานจะมากขึ้น เมื่อเกิดขนส่งมวลชนเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ ต่อไปจากบ้านมาสถานีรถไฟฟ้า ถ้ามันครอบคลุม เขาอาจไม่ต้องนั่งตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และเปลี่ยนเป็นการขี่จักรยานสัก 1 กิโลเมตร มาจอดที่สถานี แล้วใช้บริการรถไฟฟ้าไปแทน รอให้รถไฟฟ้าเสร็จ เราจะเห็นว่ากรุงเทพฯ จะเปลี่ยนไปอีกรูปแบบเลย เห็นจักรยานมากขึ้น เห็นคนเดินมากขึ้น” อรวิทย์ให้เหตุผลด้วยความมั่นใจ

ผมว่า ตามแนวทางนี้เลย ช้าหน่อย แต่เข้าใจปัญหา และเริ่มมาถูกทางนะ น่าจะเห็นผล..ถ้ามีปัญหาตรงไหน ก็แก้กันไป

อยากเสริมนิดนึง กรุงเทพมีแหล่งท่องเที่ยวชั้นดีมากมาย ที่เหมาะแก่การส่งเสริมการท่องเที่ยว(เรียกว่าอะไรดี) ขอเรียกว่าท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ล่ะกัน อย่างการปั่นจักรยานชมทัศนียภาพไรงี้ (ก็มีทำกันอยู่แหละนะ)

แต่ถ้าลองสังเกตดู พวกคลับ หรือชมรมอะไรทั้งหลายแหล่ ทั้งพวกรถเก่า มอเตอร์ไซค์(เก่า,ใหม่) จักรยาน หรือแม้แต่ช่างภาพ มักนิยมรวมตัวกัน นัดมิทติ้ง อย่างถนนราชดำเนินกลาง อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ลานพระรูป อะไรประมาณนี้

ถามว่าทำไม..เพราะมันเหมาะไง มีสถานที่ให้กินลม ชมวิว มีพื้นที่พอสมควรแก่การรวมตัว พูดคุย พบปะสังสรรค์ เป็นจุดศูนย์กลางของผู้คนจากหลากหลายพื้นที่ได้ 

ผมว่า..ถ้ากทม.ส่งเสริม สนับสนุน และลงทุนตรงนี้อย่างจริงจัง ตอบโจทย์ของเค้าเหล่านั้นให้ถูกจุด

มันง่ายกว่าที่ พอมีคนกลุ่มนึงอยากทำ แล้วมีคนส่งเสริม ถึงแม้มีบางคนที่ไม่เห็นความสำคัญ อย่างผู้ใช้ท้องถนนโดยทั่วไป แต่ถ้าเรามองในแง่ของการท่องเที่ยว

ง่ายๆ ลองนึกถึง แหล่งท่องเที่ยว ที่มีการให้เช่าจักรยาน อย่างชายหาดบางแสน พอมีคนปั่น และคนพื้นที่มีรายได้จากส่วนนี้ (อาจด้วยให้เช่าจักรยาน หรืออื่นๆ) เค้าก็พร้อมจะเห็นและให้ความสำคัญ และที่ตามมาคือให้การยอมรับมากขึ้น

พอมันเริ่มมาได้อย่างนี้ ค่อยมานั่งคิดต่อเรื่อง รณรงค์อย่างจริงจัง ในการให้คนหันมาปั่นจักรยานไปทำงาน..น่าจะดี


ถูกใจเสื้อแดง ของแพงไม่ว่า โดนโกงไม่ด่า ขอแค่ตระกูลชินนรกเป็น นายก พอ..

 


#22 plunk

plunk

    สลิปงินเดือนอยู่ไหนอ่ะ ไอ้คางครูด?

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,862 posts

Posted 28 February 2013 - 06:15

ทำเลนพิเศษ ให้ มอร์ไซ ขี่เล่น ย้อนสร?
ทำได้ทันที ไม่ต้องกู้ พรรคไหนเห่าไว้ตอนหาเสียงวะ?และกระทู้ในตำนานของ คนขี้โกหก http://webboard.seri...้สลิปเงินเดือน/

#23 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

Posted 28 February 2013 - 06:34

เคยถูกขโมยตอนอยู่ชั้นประถม

พิงไว้นอกร้าน เข้าไปซื้อของ

ออกมาหายจ้อย เสียดายมาก


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#24 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

Posted 28 February 2013 - 08:14

เส้นทางยาวๆ อาจจะทำยากเพราะรถมันเยอะๆ จริงๆ แต่เส้นสั้นๆ ที่มีคนเดินเยอะๆ มากกว่ารถ ก็น่าจะทำได้นะครับ อย่างที่ถนนสีลมหรือถนพระราม 1 น่าจะทำเป็นถนนปลอดรถส่วนบุคคลได้โดยบังคับอาทิตย์ละวันก็ได้ครับ ถนนสั้นๆ พอเดินได้ รถไฟฟ้าก็มาถึง รถเมล์ก็ไม่กี่ป้าย แล้วทำจุดจอดรถจักรยานให้เช่าตรงหัวถนน ท้ายถนน  จูงใจให้คนเดินหรือปั่น อยากเห็นเหมือนกันครับ 

 

4850834902_19f779b191.jpg



#25 pop2518

pop2518

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 941 posts

Posted 28 February 2013 - 10:32

ตราบเท่าที่ยังแก้ปัญหา หาบเร่ แผงลอย ไม่ได้ ปล่อยสะเปะสะปะ จะมีเลน พิเศษ หรือจะให้ขี่บนทางเท้า ก็ทำไม่ได้ทั้งนั้นมั้ง คนไทยไร้ระเบียบ นั่นคือความจริง และทำให้การแก้ปัญหาเกือบทุกอย่างทำได้ยากมาก



#26 Moon

Moon

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,256 posts

Posted 28 February 2013 - 11:06

*
POPULAR

ผมปั่นจักรยานเป็นอาชีพไปแล้ว เริ่มแรก ผมไม่รอให้รัฐสร้างพื้นฐานอะไร

เกี่ยวกับจักรยานให้ผมหรอก ผมอยากปั่น ผมก็ปั่นเลย แต่ถ้าในเมืองรัฐ

ตีเส้นเลนจักรยานโดยเฉพาะ ผมก็โอเค ผมก็ได้ความสะดวกสบาย และความ

ปลอดภัยเพิ่มขึ้นมาในระดับนึง

 

ตอนนี้ผมอยู่เมืองนนท์ ปั่นตอนเช้าอากาศดี วันละ 30 โล สบายๆ เหงื่อกำลังซึมๆ

พอเสาร์อาทิตย์ถ้ามีเพื่อนก็อาจจะจัดหนักซัก 100 โลอัพ เอาให้หายอยากไปเลย

 

วันไหนต้องไปทำุธุระในเมือง ต้องไปนั่งรอนานๆ ผมก็จะเอาจักรยานใส่ท้ายรถ

ไปด้วย เอาไปปั่นในเมืองเล่น ผมเจอปัญหาเรื่องฝาท่อ ซึ่งเขาก็กำลังรณงค์กันอยู่

และได้แก้ไขไปแล้วในหลายพื้นที่ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ รถราจอดทับเลนจักรยาน

มอไซด์วิ่งสวนมาบ้าง อย่างบนถนนราชดำเนิน ให้เอาจักรยานขึ้นไปบนฟุตบาท

อันนี้ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มี 

 

ถ้าเรามองไปที่เมืองอื่น อย่างประเทศเนเธอร์แลนด์ นั้น เขาจะต่างกับโคลัมเบีย

เนเธอร์แลนด์ (ขออภัยถ้าจำผิด) ประชา่ชนเขาปั่นจักรยานกันมานานมากๆ จนกระั่ทั่ง

มีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เขาก็เลยรวมตัวขอเลน ขอกฏระเบียบ ฯลฯ แล้วก็

สำเร็จมานานแล้ว ส่วนเมืองโบโกต้า โคลัมเบีย รู้สึกว่าเมืองนี้ พ่อเมืองเค้าเป็นคน

ริเริ่ม แต่ผมก็ขอเดาเอาว่า ถ้าประชาชนไม่ทำก่อน ไม่ลุยกันก่อน ไม่ร่วมมือร่วมใจกัน

สร้างกระแสหรือบอกความต้องการก่อน พวกนักการเมืองเขาก็จะไม่ทำให้หรอกครับ

 

ทางเมืองนนท์นี่ มีพี่คนนึงทำงานอยู่เอเจนซี่แถวพญาไท เขาก็ปั่นไปทำงานมาหลายปีแล้ว

หลายท่านแถบนี้ ทำงานใน กทม.ก็เยอะ ปั่นไปหลายคนอยู่ครับ เวลาคุยกันเรื่องไปปั่น

ในเมือง ก็ได้แต่บ่นว่ารัฐยังทำไม่ถูกทาง แล้วก็บ่นไอ้คนที่อยากปั่น แต่กลัีวนู้นกลัวนี่

ได้แต่คุยได้แต่พูด แต่ไม่ยอมทำ คนพวกนี้ ได้แต่นั่้งรอ ซึ่งเราก็คุยกันว่า ถ้าคนพวกนี้

ออกมาปั่น มาปั่นกันจริงๆ เราก็จะได้คนปั่นเพิ่ม พอคนเพิ่มมากขึ้น เดี๋ยวรัฐก็หันมามอง

พวกเราเองนั่นแหละ

 

วันก่อนนู้น ผมปั่นจากเมืองนนท์ ไปเอเชียทีค ความจริงลูกชายผมอยากปั่นไปแค่ลานพระรูป

แค่นั้นแหละ เค้าอยากไปเห็นคนปั่นจักรยานมารวมตัวกันที่ลานพระรูปว่าเยอะขนาดไหน

แต่พอไปถึง ก็ได้พบกับ น้องสามคน เป็นวิศวกร เป็นเซลส์ขายของ อีกคนทำอาชีพอะไร

ไม่แน่ใจ จำไม่ได้ ก็เลยชวนกันไปต่อถึงเอเชียทีค ผมก็ถามน้องเค้าว่าไม่กลัวเหรอ ปั่น

ในเมือง เค้าก็บอกว่า ถ้าไม่ปั่น ถ้ากลัว ก็นอนเฉยๆ ดีกว่า ผมก็ถามว่า ถ้าเรารอให้รัฐ

สร้างเลน ทำกฏอะไรให้เรียบร้อยก่อนมันจะไม่ปลอดภัยกว่าเหรอ เค้าก็บอกผมว่า

ถ้าเรารอแล้วเมื่อไหร่จะได้ปั่นล่ะ ทุกคนรอกันหมดก็ไม่ต้องปั่นหรอก ก็รอกันอยู่อย่างนี้แหละ

น้องคนนึงบอกว่า พุงของผมมันไม่รอใครครับพี่ ตอนนี้ขี่หมอบไม่ได้แล้ว ต้องกลับมาเสือภูเขา

เพื่อลดพุงก่อน

 

ตอนนี้น้องสามคนนี้ ก็แอดเฟซบุ๊คกันกับผม มีทริปที่ไหนก็คุยกัน ว่างก็เจอกัน เค้าไปปั่นที่ไหน

มา ก็เอารูปมาลง มาแหย่ให้อิจฉากันเล่น ผมได้เพื่อนเพิ่มมาอีกตั้งสามคนแน่ะ

 

อย่ารอใครเลย บ้านห่างจากที่ทำงาน ไม่ถึงสิบโล เป็นผมสบายไปแล้ว 555555555+

 

ปล. บางเรื่อง คิดมาก เยี่ยวเหลืองเปล่าๆ 555555555+


Edited by Moon, 28 February 2013 - 11:08.

[color=#000080;]จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง[/color]

 

 ผมเป็นกลางนะครับ[color=#000080;]  :)[/color]


#27 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 11:13

โบโกต้า จากเมืองอาชญากรรมสู่เมืองจักรยาน May 31, 2012

เรื่อง : อาศิรา พนาราม

Bogota1.jpg

เคยได้ยินสถาปนิกคนหนึ่งพูดว่า “เมืองใหญ่ที่มีความเจริญมากมายกลับกลายเป็นเมืองที่ไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์เลย” ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเมืองใหญ่ส่วนมากมักจะบกพร่องเรื่องผังเมืองและการคมนาคม ปล่อยให้ทุกอย่างเติบโตไปแบบไร้ทิศทาง ปัญหาในเมืองจึงค่อยๆ เกิดขึ้นรอบด้าน จนกลายเป็นเมืองที่ “ไม่น่าอยู่”

โชคดีที่บางเมืองไม่ได้นอนจมอยู่กับปัญหา เขามีนักบริหารจัดการที่โน้มนำ “ดีไซน์” เข้ามาใช้เพื่อออกแบบระบบเมืองใหม่ให้เอื้อต่อการใช้ชีวิต ซึ่งหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจมาก ก็คือ การวางโครงสร้างพื้นฐานให้ชาวเมืองหันมา “ขี่จักรยาน” กัน

โบโกต้า เมืองหลวงของประเทศโคลัมเบีย เคยเป็นเมืองใหญ่ที่แออัด ทั้งยังขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีอาชญากรรมสูงมาก แต่ตอนนี้โบโกต้าได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปแล้วด้วยระบบเมืองใหม่ที่อาศัยทางจักรยานเป็นโครงสร้างสำคัญ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า การสร้างวัฒนธรรมจักรยานภายในเมืองนี้ สามารถลดทั้งปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษ ปัญหาอาชญากรรม แถมยังทำให้เมืองเป็นมิตรกับผู้คนได้มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ผู้ว่าการเมืองโบโกต้ากล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจนี้มาจากความสำเร็จของเมือง Curitiba ในประเทศบราซิล เขาจึงตัดสินใจใช้งบประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวสี่หมื่นหกพันล้านบาท) เพื่อสานฝันให้โบโกต้ากลายเป็นเมืองหลวงแห่งจักรยานที่ “น่าอยู่อาศัย” ให้จงได้ เราลองมาดูเส้นทางสู่ความฝันของเขากัน

Bogota3.jpg

1. สร้างทางจักรยาน
เลนจักรยานความยาวรวมกว่า 300 กิโลเมตร ถูกสร้างตรงจาก “สลัม” และพื้นที่รอบนอกเข้าสู่ใจกลางเมือง ซึ่งส่งผลให้ชาวเมืองหันมาขี่จักรยานเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า เครือข่ายเส้นทางจักรยานนี้ถูกสร้างขึ้นโดยจัดลำดับความสำคัญ เช่น สายหลักเน้นย่านธุรกิจและสถานศึกษาซึ่งอยู่ใจกลางเมือง มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น ส่วนสายรองเชื่อมต่อบ้านเรือน สถานที่ท่องเที่ยว และสวนสาธารณะเข้าสู่สายหลัก โครงสร้างที่เชื่อมถึงกันทั้งหมดนี้ทำให้การเดินทางด้วยจักรยานเป็นไปได้แบบต่อเนื่อง ผู้ขี่จักรยานสามารถเข้าถึงสถานที่น้อยใหญ่ได้ทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีการจัดโซนพื้นที่สีเขียวขนาบไปกับเส้นทางจักรยานด้วย

Bogota2.jpg

2. ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
แม้ไม่มีรถไฟใต้ดินในตัวเมือง แต่โบโกต้าก็มีรถบัส TransMilenio ที่รวดเร็วและราคาไม่แพง รถบัสนี้มีเลนและสถานีขึ้นลงเฉพาะ ถือเป็นรถสายด่วนที่สามารถวิ่งฉิวไปได้โดยไม่ต้องหยุดจอดบ่อยๆ ปัจจุบัน TransMilenio ทำงานรับใช้ชาวเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของรถยนต์ในตัวเมืองลดลงไปได้ถึง 40% ที่สำคัญเส้นทางการวิ่งของรถบัสนี้เชื่อมต่ออย่างดีกับทางจักรยาน ตามสถานีต่างๆ มีจุดจอดจักรยานที่ใช้งานได้จริงและเพียงพอด้วย

Bogota4.jpg

3. รณรงค์ด้วยความสนุกสนาน
ทุกวันอาทิตย์เวลา 7 โมงเช้าถึงตี 2 จะเป็น “วันอาทิตย์ปลอดรถยนต์” หรือที่ชาวโบโกต้าเรียกว่า “Ciclovia” (ไม่ใช่มีปีละครั้ง) ทางการจะปิดถนนหลายสายรวม 120 กิโลเมตร พร้อมมีจุดจอดรถมากมายให้ชาวเมืองได้ “สละรถ” แล้วหันมาขี่จักรยานหรือเดินเท้าเข้าเมืองแทน อันที่จริงมันเป็นการสร้างจินตนาการความสนุกที่ผู้คนจะได้ขี่จักรยานกลางเมืองโดยไม่มีรถสักคัน ท้องถนนในวันอาทิตย์จะกลายเป็นเหมือนสวนขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยผู้คนที่มาเดินเที่ยวเล่น ครอบครัวพากันมาออกกำลังกาย ทานอาหารข้างทาง เพลิดเพลินกับกิจกรรมต่างๆ โบโกต้าได้แปรสภาพกลายเป็นเมืองที่มีโครงสร้างและบรรยากาศเป็นมิตร ชาวเมืองมีสุขภาพ (กายและใจ) ดีขึ้น ส่งผลทำให้ระดับอาชญากรรมลดลง และชาวเมืองก็รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นด้วย

Our Thought :
เส้นทาง 3 ประการนี้อาจฟังดูไม่ยากและน่าทำตามอย่างยิ่ง เสียแต่ว่าอุปสรรคในประเทศเราไม่ได้อยู่ที่วิธีการ แต่เป็น “เรื่องอื่นๆ” ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของพลเมือง ยังดีที่มีความเคลื่อนไหวอย่างกิจกรรม “ปั่นเมือง” (โดยมูลนิธิโลกสีเขียว) ที่พยายามปลุกชาวกรุงเทพฯ ให้ตื่นตัวเรื่องจักรยานกันอย่างต่อเนื่อง ทีนี้ก็เหลือแต่การแก้ไขเชิงโครงสร้างนี่แหละ ที่เราคงต้องรอซูเปอร์สตาร์สักคนจาก “ภาครัฐ” ให้มาช่วยสานฝันให้เป็นจริง

Read more: http://article.tcdcc...y#ixzz2MADJxojT


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#28 Moon

Moon

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,256 posts

Posted 28 February 2013 - 11:14

https://www.facebook...enS24oPanPiPluk

 

โครงการนี้ เด็ก ม. 5 กับ ป.ตรี ปี 1 คิดนะครับ น้องเค้าขี่จักรยานมาไม่นาน

แต่มีโครงการเพื่อสังคมแล้ว เค้าเห็นพวกผมขี่ ก็ไปคว้ามาขี่บ้าง เป็นเรื่อง

เป็นราว ไปแข่งบ้างบางครั้ง 

 

เด็กยังทำ แถมยังต่อยอดเพื่อสังคมด้วย ผู้ใหญ่ คิดมาก เยี่ยวเหลือง อายเค้ามั้ยเนี่ย

 

ขอโทษ เมื่อไหร่ที่ผมเห็นผู้ใหญ่ หรือพวกที่คิดหยุมหยิมกับเรื่องจักรยาน ผมจะของขึ้นทุกที

 

การขี่จักรยาน ขอให้นึกถึงตอนเรายังเด็ก ปล่อยวางทุกสิ่ง อยู่บนอาน ขาปั่นไป ตามองไปข้างหน้า

ใบหน้าสัมผัสลม เอวบิดไปตามสภาพถนน มือจับหลวมๆ ตัดความกลัวออกไป สูดลมหายใจเข้า

 

ปั่นไป


[color=#000080;]จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง[/color]

 

 ผมเป็นกลางนะครับ[color=#000080;]  :)[/color]


#29 namtanbood

namtanbood

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,295 posts

Posted 28 February 2013 - 11:31

อันดับแรก....เลยครับ ท่านโทนี่

 

"หาทาง"

 

 

 

 

 

จริงๆ แล้ว มันกว้างมากเลยกับคำว่า "หาทาง" ไม่ใช่จะเกี่ยวกับการ หาทางทำ แต่เกี่ยวกับการ

 

"หาทาง ให้จักรยานวิ่ง" 

 

ท่านโทนี และท่าน UNOOK ได้นำข้อมูล และรูปภาพ "เส้นทางจักรยาน และ ทางเท้า" ของเมืองโบโกต้า มาให้ดู

 

ลองดูซิครับ สองข้าง "ทาง" มีอะไร.....?

 

นี่แหละครับถึงได้บอกว่า สำคัญที่สุดคือ "หาทาง"


"เพื่อชาติ เพื่อศาสน์ เพื่อกษัตริย์"


#30 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 12:12

ตั้งแต่โตๆ มา ผมเองก็ไม่เคยมีโอกาสได้ขี่จักรยานอย่างเป็นจริงเป็นจังเลย

หลังจากเดินถ่ายรูปสวนหลวงและได้ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ

ก็เกิดไอเดียอยากขี่จักรยานขึ้นมา

แต่ไอเดียของผม ไม่ถึงกับเป็นจริงจังขนาดจะใช้ขี่บนท้องถนน

เลยหันมาดูของเพื่อนๆ หลายๆ คน ที่เขาจริงจังกัน

 

ผมพบข้อเรียกร้องที่ทุกคน ต่างเรียกร้องเป็นเสียงเดียวกัน

คือการให้ความสำคัฯกับจักรยานอย่างจริงจัง

อย่างที่คุณ namtanbood บอกแหละครับ

เส้นทางขี่จักรยานบ้านเรา มันไม่มีเอาเสียเลย

 

ครั้นจะเรียกร้องเส้นทางจักรยานจริงๆ

ผมก็มองเห็นอยู่ ว่ามันแทบเป็นไปไม่ได้เลย สำหรับเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ

เส้นทางหลักๆ สุขุมวิท สีลม หรือย่านแออัดต่างๆ ที่เป็นย่านธุรกิจ

ถนนล้วนไม่พอใช้ ฟุตบาทหรือก็ล้วนคับแคบเกินกว่าจะแบ่งส่วนใดมาให้จักรยาน

ไม่ต้องนับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของกันเต็มฟุตบาท

ไม่ต้องนับรถที่จอดหรือวิ่งบนเลนจักรยาน (เชื่อว่ามีแน่ และไม่มีทางบังคับได้)

อาจจะเว้นถนนนนอกเมืองหรือชานเมือง ที่อาจจะยังพอแบ่งได้อยู่บ้าง

แต่น่าจะน้อยโอกาสเหลือเกินครับ ที่จะสามารถทำได้

 

ถ้ามองย่างตั้งใจและพยายามแล้ว

โอกาสเกิดได้ แค่ด้วยวิธีของคุณ moon เท่านั้นครับ

คืออย่าคิดมาก ทำเท่าที่ทำได้ อยากขี่ก็ขี่ไป ระวังกันเอาเอง

 

เว้นแต่ เมื่อวันหนึ่ง

ที่จำนวนจักรยานมันมีมากพอบนท้องถนน

พ่อค้า แม่ค้า คนขับรถ คนขับมอเตอร์ไซด์ มองเห็นว่า จักรยานมีตัวตน

วันนั้น จักรยานอาจได้รับเกียรติให้มีพื้นที่บนท้องถนนได้บ้าง

และน่าจะเริ่มผลักดันอะไรได้บ้าง

 

ถ้าพูดกันตามตรง (ขอแว้งเรื่องผู้ว่านิดนึงครับ)

ผมเชื่อของผมเองว่า โครงการเกี่ยวกับจักรยานของผู้สมัครทุกท่าน

ล้วนเป็นโครงการที่แทบทำจริงไม่ได้ (อย่างน้อยก็ 4 ปีที่ท่านๆ จะอยู่ในตำแหน่ง)

เพราะข้อจำกัดมันเยอะมากเกินกว่าจะเปลี่ยนแปลง

โดยเฉพาะเรื่องการเคารพในพื้นที่ของกันและกันของผู้คน

 

เราต้องเริ่มกันเองครับ

แม้จะเป็นเพียงการจุดกระแส สร้างกระแส (ผมเองก็ดูจะได้ไอเดียมาจากกระแสนั่นเช่นกัน)

แต่ถ้าเราจุดให้ตัวเราเอง ให้คนรอบข้างมากขึ้น

เชื่อว่า กระแสจะเติบโตขึ้นได้ จำนวนผู้ขับขี่จักรยานก็จะเติบโตตามไปได้

 

เมื่อวันนึงที่มีมากพอ กระแสแรงพอ

เราน่าจะผลักดันได้มากกว่าทุกวันนี้

เห็นภาพจากเมืองโบโกต้าแล้ว เคลิ้มครับ

 

วันนี้ ผมชักชวนน้องสองคนที่ออฟฟิศแล้วครับ

ว่าจะไปดูจักรยานกัน คิดว่า จะไปหาดูกันเสาร์อาทิตย์นี่แหละ

พร้อมกับอนุญาติให้ใช้ห้องน้ำที่ออฟฟิศอาบน้ำได้ตามสบาย


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#31 Moon

Moon

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,256 posts

Posted 28 February 2013 - 14:29

ก่อนซื้อหาจักรยาน หลังไมค์มาปรึกษาผมได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษา เพราะถ้าคุณเจอร้านที่ขายอย่างเดียว

คุณจะได้ของที่ไม่ตรงกับความต้องการของคุณ ไม่ตรงกับลักษณะการใช้งานของคุณ ที่สำคัญอย่างยิ่งเลยคือ

ไม่ตรงกับสัดส่วนรูปร่างของคุณ ตรงนี้ทำให้คุณปั่นอย่างไม่มีความสุขแน่ๆ

 

ยินดีให้คำปรึกษาครับ ไม่เก่งอะไร ถ้าไม่ทราบก็จะหาข้อมูลจากผู้รู้ให้ครับ

 

ขอเล่านิดนึง วันนึงผมต้องไปนั่งรอที่โรงแกรมแกรนด์ไฮแอท (ไม่ต้องบอกว่ารอใคร และห้ามถามด้วย) 

หลาย ชม. ผมเอารถไปจอดชั้นใต้ดิน เอาเสื้อผ้ารองเท้า จักรยานใส่รถไป แล้วก็เริ่มปั่นจากที่นั่นเรื่อยไป ผ่าน

สยามพารากอน เลี้ยวขวา สี่แยก ขึ้นสะพานหัวช้าง เลี้ยวซ้าย มุ่งหน้าไปราชดำเนิน ถึงราชดำเนิน ก็ไปปั่น

รอบสนามหลวง แล้วก็วกเข้าบ้านหม้อ ผ่านเยาวราช มาออกหัวเฉียว ผ่านหัวลำโพง พระราม 4 ถึงแยกสีลม

เลี้ยวซ้าย แล้วก็ไปอ้อมสวนลุมเล่น แล้วก็กลับโรงแรม

 

ผมแค่เซ็งกับไฟแดง แล้วก็ฝาท่อ เพราะสายตาไม่ค่อยดี รู้แล้วว่าเขาทำแล้ว แต่ก็อดที่จะกลัวไม่ได้ มอไซด์

เห็นเราเขาก็ระวังให้เรา จะมีอารมณ์เสียก็อีตรงทางเลี้ยวเข้าซอยต่างๆ นี่แหละ เราจะต้องสังเกตุ ดูว่า มีรถ

แซงเราไปแล้วมันจะเลี้ยวมั้ย ถ้าระยะห่างก็ไม่เป็นไร แต่บางครั้งเขาไม่คิดว่าเราเป็นจักรยานแล้วจะปั่นช้า

เขาก็มักจะปาดหน้าเลี้ยวเข้าไปเลยก็มี ตรงนี้เราต้องระวัง แล้วเราก็ต้องให้พวกเขาได้รู้ว่า จักรยานแบบนี้

ปั่นกันเร็วนะ พวกพี่ๆ ห้ามปาดหน้าเข้าซอยนะครับ .... 

 

ผมจะรอคุณโทนี่นะครับ 


[color=#000080;]จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง[/color]

 

 ผมเป็นกลางนะครับ[color=#000080;]  :)[/color]


#32 JUR1ST

JUR1ST

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,803 posts

Posted 28 February 2013 - 14:39

ผมอยากขี่จักรยานมาก แต่ทุกวันนี้หากขี่ออกถนนใหญ่ก็อาจจะเสี่ยงชีวิตเกินไปสักหน่อย

 

นอกจากเรื่องเปิดโอกาสในการใช้จักรยานแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือการให้ความสำคัญแก่คนเดินบนทางเท้า ทุกวันนี้คนเดินเท้านี้เหมือนพลเมืองชั้นล่างสุดที่ถูกเบียดเบียนจากหาบเร่แผงลอย อีกทั้งยังมีจักรยานยนต์มาแย่งอีก ที่เจอบ่อยๆ คือจักรยานยนต์ขี่ขึ้นมาบนทางเท้าและบีบแตรไล่คนเดินไม่ให้ขวางทางพวกมัน เจอแบบนี้ก็สุดจะทนจริงๆ 



#33 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 14:42

ขอบคุณมากครับ คุณมูน เดี๋ยวจะ PM ไปปรึกษาครับ  :) 


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#34 แอบดูที่รูเดิม

แอบดูที่รูเดิม

    ขาประจำอำเช็ด!!!

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,025 posts

Posted 28 February 2013 - 14:45

ใจอยากปั่นจักรยานกับเค้าเหมือนกัน แต่ด้วยที่ผ่านมาพบว่า การใช้รถใช้ถนนของผู้ร่วมใช้ทาง

ทำให้ผมเปลี่ยนความคิดครับ แค่ปั่นในหมู่บ้าน ปั่นไปซื้อของหน้าหมู่บ้านพอครับ

 

ถ้าวินัยจราจรของคนในสังคมเราดีกว่านี้ ผมว่าการทำเมืองจักรยานน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าในปัจจุบันครับ


ทำอาชีพยาม เงินเดือนน้อย ไม่ค่อยมีปัญหากะใคร

#35 Moon

Moon

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,256 posts

Posted 28 February 2013 - 15:10

พี่คนนึงอายุ 55 ปั่นมาเป็นสิบปี แกให้ความเห็นเอาไว้ดีมาก

แกบอกว่า ... ถ้าเรารอ แล้วเวลากับอายุของเราล่ะ มันไม่รอนะ

แล้วรุ่นลูกของเราล่ะ เค้าก็ต้องมารออีก เรานี่แหละต้องปั่นเพื่อ

ตัวของเราเองก่อน แล้วคนอื่นเค้าจะทำตามหรือไม่ทำมันก็เรื่องของเค้า

แต่สุดท้ายแล้ว คนที่ได้คือตัวของเราเอง อย่างน้อยที่สุดคือ สุขภาพของเรา

เองนี่แหละที่ได้ .... มีตังค์แต่มีมะเร็ง กรูไม่เอาเว้ยยย

 

พี่คนนี้ปั่นวันละอย่างน้อย 30 โลทุกวัน สิบกว่าปีที่ปั่น ไม่ต้องไปหาหมอเลย

 

เมื่อวานไปผมเซ็ทรถให้เถ้าแก่คนนึง แกตีแบตมานาน แล้วชอบเล่นแบบ

จริงจัง ชอบพุ่งล้ม จนน้ำในกระดูกเชิงกรานช่้วงข้อต่อมีปัญหา (ตรงนี้

ผมยังถามแกไม่แน่ชัดว่าเป็นยังไงกันแน่) แกก็เลยหันมาตีกอล์ฟ แกก็ตี

ไม่ได้อีก เพื่อนๆ เลยซื้อจักรยานมาให้ขี่ แกก็กลัวนะเรื่องออกถนนเนี่ย

แต่พอดีหมู่บ้านของแกอยู่หลังเดอะมอลล์บางแค จากบ้านแกมาถึงหน้า

หมู่บ้านก็กิโลกว่าๆ ผมก็เลยให้การบ้านแก ปั่นในหมู่บ้านนี่แหละ แต่ต้อง

ปั่นให้ถูกวิธีนะ แล้วจะได้ผล 

 

ปล. ขอนอกเรื่องจักรยานกับการเมืองไปเป็นเพื่อสุขภาพนี้สนุง .... อิอิ


[color=#000080;]จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง[/color]

 

 ผมเป็นกลางนะครับ[color=#000080;]  :)[/color]


#36 คนในพื้นที่

คนในพื้นที่

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 833 posts

Posted 28 February 2013 - 15:30

ผมเห็นด้วยกับคุณโทนี่นะครับอยากให้มีเลนหรือทางเฉพาะสำหรับจักรยานโดยตรงแต่ผมเห็นว่าน่าจะยาก ยกตัวอย่างแถวบ้านผมละกันนะครับถนนมี 4 เลน วินรถตู้จอดไปแล้ว 1 เลน บางวันมีงานรถเยอะก็จะจอดเป็นสองเลน เหลือ 2 เลนให้รถวิ่ง ตำรวจจราจรไปไหน? บางทีรถตำรวจเองก็ซัดเอง 1 เลน หรือจะให้จักรยานไปปั่นบนทางเท้าก็มีแผงขายของเต็มทางเท้า จะเดินยังยากเลยครับ เทศกิจก็รับค่าปรับไป แบ่งตำรวจด้วยหรือเปล่าไม่รู้แต่มีคนเคยแจ้งไปแล้ว ทั้งเทศกิจทั้งตำรวจเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ผู้ว่าฯ อย่างเดียวไม่มีอำนาจมากพอจะทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปร่างได้หรอกครับ เพราะหัวสั่งแต่หางไม่กระดิกระบบก็ง่อยไปแล้ว ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะล้างบางจราจรกับเทศกิจแล้วจัดระเบียบใหม่ให้หมดน่าจะหาช่องทางให้จักรยานเป็นรูปร่างได้

 

ส่วนเรื่องมารยาทการขับรถ ส่วนตัวผมว่าเดี๋ยวนี้คนขับรถกันแย่ลงๆ ทุกวันแต่ถ้าจราจรกวดขันเหมือนตอนนายมาลงพื้นที่กันทุกวันก็น่าจะช่วยได้เยอะ นานๆ เข้าก็คงค่อยๆ ดีขึ้นเอง



#37 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

Posted 28 February 2013 - 15:33

อ่านของคุณมูนเพลินไปเลย ส่วนตัวผมขี่จักรยานพอเป็น ไม่แข็งเพราะตอนเด็กๆ

ขี่หน้าบ้านในซอยไม่ถึง 100 ม. ด้วยซ้ำ ผ่านไป 20 กว่าปี ไปบ้านนอกสุดเซ็งไม่มี

ไรทำ ไม่มีรถไปไหน ขอญาติเอาจักรยานมาคัน ขี่วนไปเรื่อยๆ 4-5 รอบ ก็ลองออก

ถนน ข้ามไฟแดง พอข้ามนี่ใจแป้วเลย มันน่ากลัวมาก ขากลับ ผมเข็นผ่านไฟแดงเลย

พอไปอีกที รถก็ไม่อยู่ เพราะที่บ้านไม่มีใครขี่ ว่าจะไปขี่เล่นแต่คงไม่ออกถนนใหญ่อีกแล้ว

แต่ก็ไม่ได้ขี่อีก

 

ปล. ผมอยากจะขี่จักรยานเหมือนเดิมทุกครั้ง แต่ให้ผลไม่เหมือนเดิมอ่ะ  :D



#38 Charlie

Charlie

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,449 posts

Posted 28 February 2013 - 15:41

ตราบเท่าที่ยังแก้ปัญหา หาบเร่ แผงลอย ไม่ได้ ปล่อยสะเปะสะปะ จะมีเลน พิเศษ หรือจะให้ขี่บนทางเท้า ก็ทำไม่ได้ทั้งนั้นมั้ง คนไทยไร้ระเบียบ นั่นคือความจริง และทำให้การแก้ปัญหาเกือบทุกอย่างทำได้ยากมาก

ผมว่าอันนี้แหละปัญหา คนไทยเป็นแบบนี้จริๆ มักง่ายเข้าว่าครับ เอาแค่ขยะนึกอยากจะทิ้งก็ทิ้งครับ


คนดีจริงไม่โกงที่วัด ไม่ยุแยงให้คนแตกแยก ไม่หลอกคนอื่นให้มารับเคราะห์ตายแทน


#39 hentai

hentai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,046 posts

Posted 28 February 2013 - 15:48

ตราบใดที่ ตะกวดไทย ยัง เป็นผู้เดียวที่ enforce กฏหมาย จราจร อย่างผูกขาด..

ผมเห็นด้วยนะครับว่า ... กรุงเทพไม่ควรเป็นเมือง จักรยาน...     ผมคนนึงละครับ ไม่มีทาง เอาเนื้อหุ้มเหล็กไปเสี่ยงตาย 

กับ จราจรเมืองไทย...         ดู สองนักปั่น  เป็น ตัวอย่าง..    

 

ผมว่า จักรยานเป็น นโยบายสุดเพ้อฝัน...      ผู้สมัครคนไหนจะทำ ก็ ต้องลองให้ ขี่มา ศาลา กทม ก่อน 4 ปีครับ

ถ้าทำได้ครบ..   ครั้งหน้า ผมจะยอมเสียเวลาออกไปทำกิจกรรมที่ไม่เกิดงาน คือ เลือกตั้ง ผู้ว่า โดย เค้ากลับมาอีก... 

:D


"คนโง่มักจะชอบว่าคนอื่นว่าโง่"

"ถ้าคนเราคิดเหมือนกันหมด ก็ไม่มีเลือกตั้งซิครับ"

"ผมไม่พูด เรื่อง 112 แล้ว นะครับ กรุณาอย่าถาม (17 พค 2012)"


#40 susu

susu

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,066 posts

Posted 28 February 2013 - 16:43

ผมว่า

 

ยาก

 

ผมไม่ได้โทษผังเมืองหรืออะไรนะ ผมเคยอยู่พัทยาและภูเก็ต เมืองที่บรรยากาศดี น่าเดินเที่ยวขี่จักรยานไปทำงาน  ผมพบว่าไม่มีใครขี่จักรยาน

 

ธรรมชาติและวัฒนธรรม เป็นตัวทำให้คนไทยไม่นิยมมัน

จริงที่ สุด หากคนไทย เริ่มใช้จักรยาน ทุกอย่างจะตามมา เริ่มวันนี้ พรุ่งนี้ก็ง่าย



#41 susu

susu

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,066 posts

Posted 28 February 2013 - 16:44

อ่านของคุณมูนเพลินไปเลย ส่วนตัวผมขี่จักรยานพอเป็น ไม่แข็งเพราะตอนเด็กๆ

ขี่หน้าบ้านในซอยไม่ถึง 100 ม. ด้วยซ้ำ ผ่านไป 20 กว่าปี ไปบ้านนอกสุดเซ็งไม่มี

ไรทำ ไม่มีรถไปไหน ขอญาติเอาจักรยานมาคัน ขี่วนไปเรื่อยๆ 4-5 รอบ ก็ลองออก

ถนน ข้ามไฟแดง พอข้ามนี่ใจแป้วเลย มันน่ากลัวมาก ขากลับ ผมเข็นผ่านไฟแดงเลย

พอไปอีกที รถก็ไม่อยู่ เพราะที่บ้านไม่มีใครขี่ ว่าจะไปขี่เล่นแต่คงไม่ออกถนนใหญ่อีกแล้ว

แต่ก็ไม่ได้ขี่อีก

 

ปล. ผมอยากจะขี่จักรยานเหมือนเดิมทุกครั้ง แต่ให้ผลไม่เหมือนเดิมอ่ะ  :D

บรรยายซะ นึกอดีตเลย



#42 Moon

Moon

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,256 posts

Posted 28 February 2013 - 16:49

นโยบายไม่ได้เพ้อฝัน หม่อมทำแล้วเกี่ยวจักรยานหลายอย่าง ถ้าไม่รู้ ก็ถามมา จะบอกให้ฟัง

 

เรื่องสองนักปั่นนั้น จะเอามาเทียบเคียงกับการปั่นไปทำงานหรือใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ไม่ได้หรอก

สองคนนั้นเค้าเสียชีวิตในต่างจังหวัด ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกับการจราจรอะไรเลย เกี่ยวกับความประมาท

ของคนขับรถปิคอัพล้วนๆ เลย

 

นักปั่นหรือผู้ที่ใช้จักรยานเห็นพาหนะในการทำกิจวัตรประจำวันมีมากมาย แต่เราไม่ค่อยได้ใส่ใจกัน

พรุ่งนี้พอออกจากบ้าน ลองนับดูว่า ตัึวเองขับรถออกไปถึงที่ทำงานเป็นระยะทางเท่าไหร่ แล้วให้

ลองดูข้างทางฝั่งที่ตนเองสัญจรไปนั้น คุณได้พบคนปั่นจักรยานกี่คน ขากลับกี่คน 

 

คนบางคนหรือหลายๆ คน มีภาระ มีห่วง หรือไม่ก็บางคนก็ติดสุข ก็เลยมองข้ามจักรยานไป แต่ถ้า

ลองมองย้อนอดีตไปสมัยเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น ผมว่าต้องมีบ้างแหละ ที่ไม่กลัวอะไร เอาบีเอ็มเอ็กซ์

มาปั่นยกล้อกัน ปั่นออกถนนใหญ่กัน ไม่กลัวตาย ไม่กลัวอุบัติเหตุ ถามหน่อย วัยนั้นกับวัยนี้ต่างกัน

ตรงไหน

 

บางครั้งผมเข้าเมืองไปเจอเด็กๆ ประถม ปั่นฟิกเกียร์กัน ปั่นบีเอ็มเอ็กซ์หรือจักรยานแม่บ้านกัน

สนุกสนาน ไปกันเป็นกลุ่มๆ เราขับรถตามก็นึกในใจ ระวังหน่อยนะเว้ยไอ้หนู แล้วเราก็ระวังให้เขาด้วย

 

ลองนึกถึงวัยเด็กซิ อย่ายึดติดกับสุขหรือห่วงให้มันมากนัก อยู่ที่ไหนก็ตายได้ แล้วเราก็เลือกวิธีตาย

ไม่ได้ซะด้วยซิ ... รึใครจะเถียง


[color=#000080;]จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง[/color]

 

 ผมเป็นกลางนะครับ[color=#000080;]  :)[/color]


#43 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 22:42

ขออภัยที่ไลค์หมดโควต้าครับ

 

ผม PM ไปหาคุณมูนปรึกษาเกี่ยวกับจักรยานไปบางส่วนแล้ว

ไม่ทราบได้รับมั๊ยครับ

 

ความจริง ก่อนหน้านี้

ผมเคยคิดจะหาซื้อมอเตอร์ไซด์ขับซักคันเหมือนกัน

ด้วยเหตุผลว่า เบื่อรถติดบนถนนมากๆ

แต่เหตุผลคล้ายที่คุณเฮนว่า คือคนรอบข้างกลัวความปลอดภัย

จนเลิกความคิดนั้นไป

เพระาโดนค้านทุกทาง

 

จนมาถึงความคิดเรื่องจักรยาน

แฟนก็ยังห่วงอยู่แหละครับ

แต่ผมก็ให้เหตุผลว่า ผมคงจะยังไม่ออกถนน ถ้ายังไม่คล่อง

หรือไม่ ก็อาจไม่ออกถนนเลยก็ได้ อาจเพียงใช้ขี่ตามแหล่งท่องเที่ยวหรือแค่ออกกำลังในสวนสาธารณะไป

แต่คิดอีกมุม ทำไมเราต้องกลัวขนาดนั้นเลยหรือ

มันก็มีเหตุผลนะครับ ที่เราจะกลัว เพราะสิ่งเดียวที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลย

คือความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ของคน

 

สิ่งหนึ่งที่คนไทยเราขาดไปอย่างมาก และนาน

คือสำนึกสาธารณะ

 

เราพร้อมจะเห็นแก่ตัว พร้อมจะลัดคิว พร้อมจะทำในสิ่งที่เอื้อต่อความสะดวกสบาย

มากเสียจนเราลืมที่จะเคารพสิทธิ์ส่วนตัวของคนอื่น

 

เรามีเจ้าหน้าที่ ที่ไม่พร้อมจะปฏิบัติงานเพื่อสาธารณะ

แต่พร้อมจะตั้งด่านและเรียกมอเตอร์ไซด์ทุกคัน

หรือพร้อมจะหลบอยู่หลังเสาไฟฟ้า มากกว่าออกตรวจตราท้องถนน

 

สิ่งเหล่านี้ แม้โครงการจักรยานของผู้ว่าท่านใดจะดีเลิศ

แต่ผมก็ว่ามันจะทำให้เมืองจักรยานเกิดขึ้นไม่ได้

 

การเปลี่ยนเมืองรถติด ที่ติดอันดับโลก

มาเป็นเมืองจักรยาน ผมว่ามันเป็นเรื่องใหญ่โตเอาการ

ตั้งแต่การสนับสนุนจากภาครัฐ โครงการเกี่ยวกับจักรยานต่างๆ

ที่ผู้ว่าแข่งกันหาเสียงอยู่แหละครับ

ไปจนถึงการจัดทำ จัดสร้างถนนหนทางให้เหมาะสม

ไปจนถึงการปลุกจิตสำนึกสาธารณะให้แก่ผู้คน

การเอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่ผุ้รักษากฏหมาย

ไปจนถึงการมีน้ำจิตน้ำใจของผู้ขับขี่รถชนิดอื่น

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเย็นที่สุดแล้ว

 

เหตุแห่งความคิดนี้

ผมจึงนึกนิยมและนับถือ

ใครที่เริ่มเอาจริงเอาจังกับการขี่จักรยาน

เพราะความยากเย็นนั้น มันไม่ใช่เพียงแค่การขับขี่แต่อย่างเดียว

แต่หมายถึงการพยายามก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆที่ผมว่ามา

และทำในสิ่งที่รักที่ชอบได้

 

หวังแต่ว่า วันหหนึ่ง คนเมืองใหญ่จะมองเห็นและหันมาเอาจริงกัน

และสร้างจิตสำนึกให้ตัวเองได้

เราอาจได้เห็นจักรยานเต็มเมืองอย่างที่เราฝันกันได้


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#44 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

Posted 28 February 2013 - 22:48

ตอนนี้เอกชนอย่างดีแทค ก็มีจัดจักรยานให้ประชาชนทั่วไปใช้

 

รายละเอียดไม่ทราบ แต่เห็นตั้งสถานีจักรยาน แถวจุฬา ช่วงเกือบถึงสำนังานใหญ่ดีแทค

 

ที่จามจุรีสแควร์ ถามว่าเห็นด้วยไหม ถ้าเริ่มสัก 20 ปีก่อนก็น่าจะเป็นรูปเป็นร่างง่าย

 

แต่ตอนนี้พูดยากครับ ปัจจัยก็เรื่องความปลอดภัยล้วนๆ

 

ปล.ใครยังมีใบขับขี่จักรยานอยู่บ้างครับ คิดถึงๆ


เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#45 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 22:55

เคยมีใบขับบี่จักรยานด้วยเหรอครับ

ไม่เคยรู้มาก่อน


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#46 Thai4u

Thai4u

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,398 posts

Posted 28 February 2013 - 23:13

ช่วงนี้ทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะไปปั่นจักรยานที่สวนรถไฟตลอดๆ

 

บรรยากาศดี คนปั่นมากมาย อยากจะให้ กทม ต่อยอด เลนจักรยานอีกซักครั้ง

 

เพราะใจไม่ถึงไม่กล้าปั่นถนนใหญ่เลย บอกตามตรง กลัว.......

 

เพื่อนมันก็ชวนปั่นไปอยุธยา ไปนครนายก มีเป็นแกงค์ ตอนนี้ก็สองจิตสองใจ เฮ้อออ


คุณต้องลงมือ จึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง "คานธี"

 

กฏของเสียงข้างมาก จะใช้กับเรื่องของมโนธรรมไม่ได้ "คานธี"

 


#47 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 23:23

 

 

มีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ 

ก่อนสิ้นปีผมหนัก 109kg กำลังจะเป็นเบาหวาน เก๊าท์ ความดันสูงติดเพดานบน ทุกอย่างกำลังจะเข้าขั้นเลวร้าย

ผมปั่นจักรยานแค่สองเดือนทุกอย่างกำลังจะไปได้สวย ผมน้ำหนักลดลง 10kg สุขภาพดีขึ้นจนคุณหมอตกใจ มีเวลาเหลือกลับมาเล่นกับลูก ๆ สามคนตอนเย็นเพราะไม่ต้องเจอรถติดอย่างที่เคยเจอถ้าไปฟิตเนส

แต่แล้วก็เจอรถมอเตอร์ไซค์ย้อนศรมาทำให้บาดเจ็บ ด้วยเหตุผลเข้าใจง่าย ๆ ว่า ไม่คิดว่าเราจะมาถึงแล้ว เห็นเป็น "แค่จักรยาน"

ผมบาดเจ็บต้องผ่าตัดใช้เงินรักษาตัวหลักแสน คู่กรณีไม่มีอะไรจะชดใช้ให้ ไหว้ขอความเมตตาอย่าให้เอาความ ผมต้องพักพื้นกว่าสามเดือน 

อย่างดีคือผมยังไม่ตาย 

หลังจากนั้นไม่กี่วัน มีข่าวจักรยานโดนชนทุกวัน 

ผมไม่ร้องขอเลนจักรยาน เพราะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ 

ผมขอแค่ความเห็นใจพาหนะเล็ก ๆ จากเพื่อนร่วมถนนเท่านั้น 

please stop murduring our cyclist. please stop killing cyclist.
— with Save our cyclists.


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#48 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

Posted 28 February 2013 - 23:28

UWYoKm.jpg

 

 

มีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ 

ก่อนสิ้นปีผมหนัก 109kg กำลังจะเป็นเบาหวาน เก๊าท์ ความดันสูงติดเพดานบน ทุกอย่างกำลังจะเข้าขั้นเลวร้าย

ผมปั่นจักรยานแค่สองเดือนทุกอย่างกำลังจะไปได้สวย ผมน้ำหนักลดลง 10kg สุขภาพดีขึ้นจนคุณหมอตกใจ มีเวลาเหลือกลับมาเล่นกับลูก ๆ สามคนตอนเย็นเพราะไม่ต้องเจอรถติดอย่างที่เคยเจอถ้าไปฟิตเนส

แต่แล้วก็เจอรถมอเตอร์ไซค์ย้อนศรมาทำให้บาดเจ็บ ด้วยเหตุผลเข้าใจง่าย ๆ ว่า ไม่คิดว่าเราจะมาถึงแล้ว เห็นเป็น "แค่จักรยาน"

ผมบาดเจ็บต้องผ่าตัดใช้เงินรักษาตัวหลักแสน คู่กรณีไม่มีอะไรจะชดใช้ให้ ไหว้ขอความเมตตาอย่าให้เอาความ ผมต้องพักพื้นกว่าสามเดือน 

อย่างดีคือผมยังไม่ตาย 

หลังจากนั้นไม่กี่วัน มีข่าวจักรยานโดนชนทุกวัน 

ผมไม่ร้องขอเลนจักรยาน เพราะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ 

ผมขอแค่ความเห็นใจพาหนะเล็ก ๆ จากเพื่อนร่วมถนนเท่านั้น 

please stop murduring our cyclist. please stop killing cyclist.
— with Save our cyclists.

 

โดนย้อนศร ต่อให้มีเลนจักรยาน ก็โดนครับ

ในกรณีไม่ควรยอมคู่กรณีครับ ถ้าเมตตาต้อง

เอาให้หนัก ไม่อย่างนั้นไม่มีทางจดจำ แล้วมัน

ก็จะไปทำกับคนอื่นอีก ถ้าให้หักเงินเดือนจะเท่าไร

ก็ได้ มันจะได้จดจำไปจนวันตาย (หวังว่านะ)

ไม่รู้ว่าภาพประกอบนี่ตัวจริงหรือเปล่า?



#49 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

Posted 28 February 2013 - 23:35

ไม่แน่ใจนะครับ

ผมเห็นแชร์กันในเฟสครับ

เลยเอามาฝาก

 

ช่วงนี้ ดูเหมือนจะมีการรณรงค์กันอยู่


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#50 UncleSam

UncleSam

    เด็กชายชุดฟ้า ผู้น่ารัก

  • Members
  • PipPipPip
  • 738 posts

Posted 1 March 2013 - 00:49

 ตอนที่คุณโทนี่กำลังปั่นจักรยานอยู๋ สงสัยมอเตอร์ไซค์ที่ชน 

 

 เค้าคงมองไม่เห็นจักรยานแหง(โดนบังมิด)   :P     แซวกันเล่นๆขำๆ นะครับ

 

 แล้วตอนนี้ ร่างกายดีขึ้นหรือยังครับ  ขอให้หายเร็วๆ ละกัน เดี๋ยวไขมัน 10 โลจะคิดถึง  :D 

 

 

 อะแฮ่ม ! ความจริงเมื่อ 1 ปีก่อน ผมเคย หนักกว่าคุณโทนี่ 1 กิโล ถึงวันนี้ลดลงเหลือ 85

 

              จุดเริ่มต้นมาจาก จักรยาน นี่แหละครับ ( ผมสูงกว่าคุณโทนี่ 7 cm )

 

 






1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users