ขอโพสก่อนบัตรเติมเงิน จาก คม ชัดลึก
'DSI'ชี้'มาร์ค-สุเทพ'ผิด'ฮั้วประมูลฯ'
ดีเอสไอ' พบหลักฐาน 'มาร์ค-สุเทพ'สั่งรวมประมูลก่อสร้างโรงพักทดแทนขัดมติครม. คาดสรุปสำนวนส่งปปช.สัปดาห์หน้า พร้อมเรียก 'พีซีซี' แจ้งข้อหาฉ้อโกง
27 ก.พ. 56 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอแถลงข่าวความคืบหน้าเรื่องผลการสืบสวนสอบสวนโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) จำนวน396 หลัง ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ว่า
ทางคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ตั้งประเด็นการสอบสวนไว้ 2 ประเด็น คือ
1.ประเด็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2552และ 2.ประเด็นบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัดหรือบริษัทพีซีซีฯได้มีพฤติการณ์โดยการหลอกลวงด้วยความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งและการหลอกลวง ได้ไปซึ่งเงินงบประมาณของแผ่นดิน จาก สตช.หรือทำให้ผู้รับเหมาช่วงงานก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทนได้รับการเสียหายจากการถูกหลอกลวง
นายธาริต กล่าวเพิ่มเติมว่า
สำหรับประเด็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2552พนักงานสอบสวนคดีพิเศษอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของพยานเอกสารทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร เอกสารทางการเงินนอกจากนี้จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของมติคณะรัฐมนตรีเนื่องจากสำนักงบประมาณ ได้เคยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่าหากมีการกระจายการจัดซื้อจัดจ้างไปยังหน่วยงานตามพื้นที่ก็จะทำให้โครงการ
สำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้นประกอบกับคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(กวพ.อ.)ได้มีหนังสือตอบข้อหารือกรณีที่ บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) ร้องเรียนขอความเป็นธรรมในการประมูลงานโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) โดยมีข้อสังเกตว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการกระจายการจัดซื้อจัดจ้างไปยังหน่วยงานตามพื้นที่ที่จะดำเนินการก็จะทำให้โครงการสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น
นายธาริต กล่าวว่า
นอกจากนี้ยังพบพยานหลักฐานสำคัญคือโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ(ทดแทน) นำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552ต่อมาคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอขอสำนักงบประมาณให้ทำการจัดจ้างเป็นรายภาค ต่อมาเมื่อปลายปี 2552 นายสุเทพ เทือกสุบรรณอดีตนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติยกเลิกรายภาค และให้รวมสัญญาเป็นรายเดียวซึ่งมีหลายบริษัทคัดค้านแต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งเมื่อปี 2554บริษัทซินเท็คฯ ได้ร้องเรียนไปยัง คณะกรรมการ กวพ.อ.ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและได้แจ้งมติไปให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรับทราบการกระทำของผู้มีอำนาจในขณะนั้นคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ จึงเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก จึงเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้วประมูลฯและความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ด้วย ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษคาดว่าน่าจะส่งสำนวนการสอบสวนให้ ป.ป.ช. ได้ภายในสัปดาห์หน้า
นายธาริต กล่าวอีกว่า ในส่วนประเด็นบริษัทพีซีซี
ทางคณะทำงานสอบสวนคดีพิเศษได้รวบรวมพยานหลักฐานกรณีการทุจริตโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน)มาระยะหนึ่งแล้วมีข้อเท็จจริงและหลักฐานตามสมควรว่า ผู้บริหารและบริษัทพีซีซีฯน่าจะได้กระทำความผิดอาญาฐานร่วมกันฉ้อโกงผู้รับเหมาช่วงโดยมีข้อเท็จจริงสรุปว่าบริษัทพีซีซีฯได้ประมูลงานก่อสร้างสถานีตำรวจ(โรงพัก) จาก สตช. มาจำนวน 396แห่งทั่วประเทศแต่ได้กระทำผิดเงื่อนไขในสัญญานำเอางานก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนดังกล่าวไปจ้างผู้รับเหมาช่วงอีกต่อหนึ่ง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้างก่อน(สตช.) ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาจ้างก่อสร้างตามข้อ 8ผู้รับเหมาช่วงหรือผู้เสียหายต่างเข้าใจว่าการนำเอางานก่อสร้างของทางราชการตำรวจมาจ้างช่วงนั้นสามารถกระทำได้โดยชอบจึงหลงเชื่อข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งดังกล่าวโดยสุจริตใจ จึงได้ทำสัญญาและลงทุนก่อสร้างโรงพักให้บริษัทพีซีซีฯไปก่อนล่วงหน้า แต่ไม่ได้เงินค่าก่อสร้างตามสัญญา โดยที่บริษัทพีซีซีฯได้เบิกเงินค่างวดบางส่วนจาก สตช. มาแล้ว ตามพฤติการณ์ส่อว่า บริษัทพีซีซีฯไม่มีเจตนาที่จะผูกพันหรือปฏิบัติตามสัญญากับผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้นแต่อาศัยประโยชน์จากสัญญาเป็นช่องทางในการแสวงหาประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สินโดยมิชอบ ถือว่าบริษัทพีซีซีฯฝ่าฝืนคำสั่งและเป็นการกระทำผิดสัญญาชัดเจนหลอกผู้รับเหมาช่วงลงทุนสร้างล่วงหน้าไปก่อน แต่ยังไม่ยอมจ่ายเงินให้แต่บริษัทพีซีซีฯกลับไปเบิกเงินกับทางสตช. จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
นายธาริต กล่าวว่า
ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงให้สร้างโรงพักไปก่อนล่วงหน้าและยังไม่ได้รับเงินค่าก่อสร้าง ประมาณ 20 รายที่ได้แจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการแล้วรวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นประมาณกว่า 69 ล้านบาทอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญทำให้การก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน)ไม่แล้วเสร็จตามสัญญาต้องหยุดการก่อสร้างลงและทำให้ผู้รับเหมาช่วงต้องละทิ้งงานในที่สุด ผู้บริหารบริษัท พีซีซีฯที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย นายพิบูลย์ อุดมสิทธิกุล, นายวิศณุ วิเศษสิงห์,นายจาตุรงค์ อุดมสิทธิกุลและอาจมีผู้ที่ร่วมก่อให้มีการกระทำผิดเพิ่มอีกบางส่วนด้วย โดย พ.ต.ท.ถวัลมั่งคั่ง หัวหน้าคณะทำงานสอบสวนคดีพิเศษจะได้มีหนังสือเชิญให้ผู้บริหารและบริษัท พีซีซีฯมารับทราบข้อกล่าวหาดังกล่าว ภายในวันที่ 15 มีนาคม นี้ซึ่งความผิดคดีนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างวาระกันตามจำนวนผู้เสียหายซึ่งเชื่อว่าจะมีผู้เสียหายอีกหลายรายเข้าแจ้งความเพิ่มขึ้น
ด้าน พ.ต.ท. ถวัล กล่าวว่า
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน)ในพื้นที่ภาคอีสานนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกให้บริษัทผู้รับเหมาช่วงในฐานะผู้เสียหายเข้าพบเพื่อให้ข้อมูลประมาณ 20 รายแต่พอถึงเวลาจริงกลับมีผู้รับเหมาช่วงมาเข้าพบเพียงแค่ 2-3 รายเท่านั้นซึ่งจากการสืบสวนพบว่ามีนักการเมืองท้องถิ่นบางคนให้ความช่วยเหลือบริษัทพีซีซีฯโดยทำการบล็อคหรือกีดกันไม่ให้ผู้รับเหมาช่วงในฐานะผู้เสียหายเข้าให้ข้อมูลต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยอ้างว่าหากบริษัทพีซีซีฯไม่ได้งานก็จะไม่ยอมจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาช่วงด้วยซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ทราบตัวผู้กระทำผิดแล้วซึ่งกำลังอยู่ระหว่างพิจารณารวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับนักการเมืองท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุนในการกระทำผิดในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงผู้อื่นต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า
จากการตรวจสอบพบว่านักการเมืองท้องถิ่นคนดังกล่าวนั้นเป็นอดีตสมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานีโดยมีพฤติการณ์ขัดขวางไม่ให้ผู้รับเหมาช่วงในฐานะผู้เสียหายเข้าให้ข้อมูลกับทางเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษในเรื่องนี้โดยอ้างว่าหากผู้รับเหมารายใดเข้าพบก็จะไม่ยอมจ่ายเงินให้ทำให้ไม่มีใครกล้าเข้าให้ข้อมูล
http://www.komchadlu...ml#.US4v3_XjVoI
Edited by กีรเต้, 27 February 2013 - 23:18.