ความจริงแล้วหลายส่วนก็เห็นด้วย แต่ก็อยากจะเขียนในมุมมองของตัวเองดู
ก่อนอื่นต้องบอกว่า ผมยึดข้อความนี้เป็นหลักนะครับ
ผมแยกออกเป็นสามส่วนคือ
- การเตรียมการ
- ผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
- ความเป็นไปได้ของสถานกาณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ผมพิจารณาแล้วพบว่า ถ้าเรามองจากข้อสุดท้าย คือสถานการณ์ในอนาคต ย้อนมาที่ผลกระทบ แล้วจบลงที่การเตรียมการ จะเห็นภาพที่ชัดเจนมาก ดังนั้นผมจะใช้วิธีการลำดับจากข้อสามมาข้อหนึ่งในการวิเคราะห์มาตรการเหล่านี้นะครับ
กรณีแรกคือบริษัท SCG
เอาเฉพาะ ภูมิต้านทานนะครับ นอกนั้น คงจะเห็นคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่
- ตระหนัก ถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในการแก้ไขปัญหาของบริษัท
การสร้างภูมิชั้นแรก ของเขา คือ การมีส่วนร่วมของพนักงาน เพราะเขาถือว่า คนทำงาน คือคนที่รู้ปัญหาดีที่สุด และเพราะเขาทำงานทางด้าน ปิโตรเคมี การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จึงเป็นเรื่องจำเป็น การคัดสรรบุคคล ที่ไว้ใจได้ ก็จำเป็น เมื่อเกิดเรื่องที่ไซท์งานไม่จำเป็นต้องเข้ามาส่วนกลางเพื่อรอรับคำปฏิบัติการ (นี่ผมโม้เอาหมดเลยนะ) ผลที่ได้คือ การแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว และเกิดความเสียหายน้อยที่สุด
ผมคิดว่าข้อนี้วิเคราะห์ค่อนข้างยาก เพราะนโยบายค่อนข้างครอบจักรวาล แต่ก็สามารถมองเห็นแนวทางกว้างๆได้
๑ มาตรการนี้คำนึงถึงสถานการณ์ไดในอนาคต?
เนื่องจาก SCG เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ปัญหามีหลายระดับมาก มาตรการนี้เป็นการมองปัญหาภายในองค์กรเป็นหลัก ไล่ตั้งแต่ปัญหาเล็กๆน้อยๆในการทำงาน ไปจนถึงระดับนโยบายขององค์กร ความผิดพลาด หรือปัญหาที่เกิดขึ้น ล้วนมีผลทำให้ประสิทธิผลขององค์กรลดลง
๒ มาตรการนี้มองถึงผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงอะไร?
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะทำให้องค์กรขาดประสิทธิภาพ เช่นความไม่เข้่าใจกันระหว่างพนักงาน อาจทำให้เกิดความแตกแยก และนำไปสู่ความเสียหายในระดับใหญ่ได้ หรือปัญหาเล็กๆน้อยๆ ในขั้นตอนการผลิต อาจทำให้บริษัทสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล
๓ มาตรการนี้เตรียมการอะไร
เตรียมพร้อมรับข้อมูล และรับฟังความคิดเห็น โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเช่น เปิดช่องทางให้ร้องเรียนเป็นพิเศษ หรือ อนุญาตให้เข้าร่วมประชุมที่มีการตัดสินใจสำคัญๆ
- มีโครงการพัฒนาภาวะผู้นำขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง
มีเมื่อการให้ความไว้วางใจแก่บุคคลกรแล้ว สิ่งที่จำเป็น คือให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาของตัวงานด้วย และการแก้ไขปัญหา ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
๑ มาตรการนี้คำนึงถึงสถานการณ์ไดในอนาคต?
บริษัทขยายตัว องค์กรใหญ่ขึ้น และอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบของบริษัท เช่นกลายเป็นบริษัทข้ามชาติ หรือ แตกสายการผลิตนอกจากที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
๒ มาตรการนี้มองถึงผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงอะไร?
บริษัทที่ใหญ่ขึ้น ก็ต้องการบุคลากรที่มากขึ้น ทั้งระดับล่างและระดับบนในหลากหลายสาขา การบริหารยากขึ้น เงินหมุนเวียนมากขึ้น ฯลฯ
๓ มาตรการนี้เตรียมการอะไร
เตรียมทรัพยากรบุคคลระดับผู้บริหาร หรือตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทอย่างทันท่วงที
- มีการจัดสรรทุนการศึกษาด้านต่างๆ เพื่อต่อยอดความรู้ของพนักงาน เป็นการสะสมทุนมนุษย์ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในระยะยาว
ก็คือ ให้ความสำคัญ กับทรัพยากรบุคคล นั่นเอง
๑ มาตรการนี้คำนึงถึงสถานการณ์ไดในอนาคต?
ตัวมาตการก็อธิบายไว้ค่อนข้างชัด ธุรกิจย่อมมีการแข่งขัน ในระยะยาว การแข่งขันก็ยิ่งสูง คู่แข่งขันทางธุรกิจนั้นไม่มีทางหยุดนิ่ง มีแต่จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
๒ มาตรการนี้มองถึงผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงอะไร?
ถ้าองค์กรพัฒนาตามคู่แข่งไม่ทัน องค์กรก็ไม่สามารถยืนอยู่บนเส้นทางธุรกิจนี้ได้
๓ มาตรการนี้เตรียมการอะไร?
เพิ่มคุณภาพของทรัพยากรบุคคลในองค์กร เพื่อให้บุคลากรเหล่านี้สามารถพัฒนาองค์กรณ์และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
ซึ่ง มันเป็นคนละมุม กับแนวคิดที่ว่า บริษัทนี้ จะมีความเสี่ยงในเรื่องผลผลิต หรือทรัยพากร หรือไปแนนซ แล้วจะแก้ไขด้วยอะไร แต่เน่้นไปที่ ด้วยการดำเนินงานตามนี้ บริษัท จะมีความเข้มแข็ง และเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ผมกลับมองว่า แต่ละองค์กร ก็มีมุมมองในการประเมินสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน อย่าง SCG นั้น ผมว่าเค้าใหญ่เกินจะมาระวังเรื่องเงินเป็นหลักแล้วครับ เท่าที่รู้ บริษัทนี้มั่นคงในด้านการเงินมาก ผมเชื่อว่าเค้ามองไปที่การเติบโตอย่างเข้มแข็ง และสามารถพัฒนาองค์กรให้แข่งขันกับบริษัทอื่นๆในตลาดโลกในระยะยาวมากกว่า คือมองเรืองโกอินเตอร์แล้วครับ
สำหรับผมการตีความเรื่องภูมิคุ้มกันนั้น ผมยึดหลักที่มีอยู่แล้วคือ
๑ การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต
๒ ผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์เหล่านั้น
๓ การเตรียมมาตรการรองรับ
ไม่ว่ามาตรการไดๆ ที่สอดคล้องกับหลักการสามข้อนี้( ซึ่งรวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้วย ) ผมถือว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ครับ
Edited by Gop, 28 March 2013 - 23:45.