ธรรมะก็คือธรรมชาติ
คำว่า ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ไม่มีในพระไตรปิฎก คำว่า ธรรมะ มีความหมายกว้างกว่า ธรรมชาติ คือรวมสิ่งที่มีจริงทั้งหมด เป็นสิ่งซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้น ปรากฏแล้วก็ดับไปแต่ธรรมชาติห ม า ยถึงรูปธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอุตุเป็นปัจจัย
ธรรม มาจากคำภาษาบาลี คือ ธมฺม หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง เช่น เห็นมีจริง เป็นธรรม เสียงมีจริงเป็นธรรม รักมีจริง เป็นธรรม ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงและทรงแสดงความจริงนั้นซึ่งเรียกว่า พระธรรมคำสอน
คำว่า ธรรม คือ สภาวะ ลักษณะที่มีอยู่จริง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
คำว่า ธรรม มีหลายความหมายในพระไตรปิฎก และพระพุทธเจ้าทรงแสดงในหลายนัย หากมีพื้นฐานที่ถูกต้องก็จะเข้าใจคำว่า ธรรมได้ถูกต้อง ในความหมายต่างๆ เช่น บุญ ปัญญา ปริยัติ คำสอน บัญญัติเรื่องราว ……อาศัย ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน หากไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงที่มี สภาวะ ลักษณะ ก็จะไม่มีเรื่องราว ไม่มีบุญ ไม่มีปัญญาฯลฯ หากไม่ได้ศึกษาธรรมโดยละเอียดรอบคอบ ย่อมเข้าใจคำว่า ธรรม ผิดไป จากคำว่า ธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และเข้าใจคำว่า ธรรม ตามความคิดของตนเอง เช่น ธรรม คือ ธรรมชาติทุก ๆ สิ่ง แต่ไม่ได้เข้าใจความเป็นจริงที่เป็นสัจจะ ของคำว่า ธรรม คือ สภาวะ ลักษณะ คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน ตามความหมายที่ถูกต้องของคำว่า ธรรม
ความหมาย ธรรม ธัมมะ มีหลายนัยยะ
1.ธรรม หมายถึง ปริยัติ เช่น พระไตรปิฎก วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก
2.ธรรม หมาย ถึง ปัญญา
3.ธรรม หมายถึง ปกติ เช่น มีความแก่เป็นปกติ เกิดเป็นปกติ ตายเป็นปกติ
4.ธรรม หมายถึง สภาวะ คือ ลักษณะของสภาพธรรม สภาวะธรรม
5.ธรรม หมายถึง จตุสัจจธรรม คือ อริยสัจ 4
6.ธรรม หมายถึง บุญ หรือ กุศล
7.ธรรม หมายถึง บัญญัติ เรื่องราว
8.ธรรม หมายถึง อาบัติของพระ
9.ธรรม หมายถึง ปัจจัยของสภาพธรรมต่างๆ
10.ธรรม หมายถึง ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน
Edited by chackrapbong, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:53.