ผมตัดสินใจเขียนครับ
เพราะ นี้เป็นทางที่ดีที่สุด ในการแลกเปลี่ยน ความเห็น
และ ตรวจทาน ความเชื่อ ความคิด ทุกคน แต่ตั้งอยู่บนความเปิดกว้าง
โดยไม่มีอคติมากางกั้น
ผมถือว่า เราอยู่ในสังคมอุดมปัญญา
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:41
ผมตัดสินใจเขียนครับ
เพราะ นี้เป็นทางที่ดีที่สุด ในการแลกเปลี่ยน ความเห็น
และ ตรวจทาน ความเชื่อ ความคิด ทุกคน แต่ตั้งอยู่บนความเปิดกว้าง
โดยไม่มีอคติมากางกั้น
ผมถือว่า เราอยู่ในสังคมอุดมปัญญา
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:51
สงสัยจะเป็นช่วงแรกๆละมัง เพราะพี่เองอ่านแล้วยังไม่แตกในความคิด แต่มาคิดอีกที มันเป็นการถามตอบ ไม่ได้มีการเตรียมการ พี่เข้าใจ(เอาเอง) ว่า บางทีท่านต้องการบอกว่าการแต่ที่เราจะมัวแต่อ่านตำรา
แล้วละเลยการปฏิบัติ ก็รู้แต่ตำรา แต่ไม่อาจเข้าใจลึกซึ้งได้ เหมือนให้เรารู้จิตตัวเองตลอด ว่าเรากำลังทำอะไร ก็คือให้มีสติกับตัว บางทีก็พูดยากนะคุณจักร เราไม่ได้บวชเรียน ได้แต่สะสมการฟังธรรมะ
จะชี้ลงไปว่าใช่หรือไม่ ก็ยากนะ เพราะเราไม่รู้ทุกภาคส่วนน่ะ
ยกตัวอย่างเช่น วิชาคอมพ์ บางสำนักเน้นทฤษฎี บางสำนักเน้นปฏิบัติ ซึ่งพี่พบว่า ในการทำงานจริง พวกเน้นการปฏิบัติ จะทำงานได้ดีกว่า ไม่ใช่ว่าพวกเรียนทฤษฎี ไม่เก่งนะ
แต่ถ้าเอาคุณภาพ มาเฉลี่ยกัน พวกเน้นปฏิบัติจะทำได้ดี ในระดับใกล้เคียงกัน ส่วนพวกทฤษฎี ที่เก่งก็เก่งไปเลย หรือที่อ่อนก็อ่อนแบบต่างกันมาก
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:07
คำถามและคำตอบ แนวการปฏิบัติธรรมพระสุญโญภิกขุ พระภิกษุชาวอเมริกันจดบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อลาสิกขาแล้วท่านได้พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน ต่อมามีผู้แปลเป็นภาษาไทยและหลวงพ่อชาให้พระวีรพลเตชะปัญโญแห่งวัดหนองป่าพงสอบผ่านแล้วจึงได้ให้พิมพ์ฉบับภาษาไทย5. ถาม เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ ในการฝึกปฏิบัติตอบ พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริงด้วยตัวของท่านเองว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลยจงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่า ความรู้สึกต่างๆ เวทนานั้น เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอเมื่อไม่มีอะไร หรือมีอะไรเกิดขึ้น จะได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมด เมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถน หรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญ ทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใดมีธรรมะอยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่าท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่านบางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่า มีเพียงพอมั๊ย การทำสมาธิภาวนาของท่าน คือการมีสติระลึกรู้และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ
คำถาม
ผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมสามารถตรัสรู้ธรรมได้ด้วยตนเองหรือไม่
คำตอบ
ไม่มีใครตรัสรู้ธรรมได้ด้วยตนเอง
แม้แต่พระอริยสาวก(สาวก แปลว่า ผู้ฟัง) ทั้งหลายในอดีต ล้วนเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของความเข้าใจพระธรรม
จึงมีการฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงการที่ยังไม่รู้ในพระธรรมดีมากพอนั้น ย่อมไม่สามารถละกิเลสได้ เพราะกิเลส เกิดจากความไม่รู้(อวิชชา)
พระพุทธ ดำรัสที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นตถาคต
หมาย ถึง การเห็นธรรม รู้แจ้งธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ คือ
โลกุตตรธรรม ๙ ขั้นปฏิเวธ การเห็นธรรมขั้นปฏิเวธ เป็นผลของ
การเจริญธรรม ขั้นปฏิบัติ การเจริญธรรมขั้นปฏิบัติ ต้องอาศัย
ปริยัติ ด้วย เหตุนี้ ปริยัติ คือการศึกษาพระธรรมวินัย จึงเป็น
สรณะเป็นที่พึ่ง เป็นทางนำไปสู่พระพุทธศาสนา ขั้นปฏิบัติ และ
ขั้นปฏิเวธ เป็น ลำดับไป
พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคได้จดจำสืบต่อกันมา
โดยมุข ปาฐะ คือ การท่องจำจากพระอรหันตสาวก ผู้กระทำ
สังคายนา พระธรรมวินัย เป็น ๓ ปิฎก เรียกว่าพระไตรปิฎก
การท่องจำได้ กระทำสืบต่อกันมาตราบจนกระทั่งได้จารึกเป็น
ตัวอักษร พระธรรมวินัย ซึ่งพระอรหันตสาวก ได้สังคายนา เป็น
๓ ปิฎก นั้น คือ
๑. พระวินัยปิฎก
๒. พระสุตตันตปิฎก
๓. พระอภิธรรมปิฎก
พระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อม
ด้วย สัมปทา คือ เหตุสัมปทา ผลสัมปทา สัตตูปการสัมปทา
เหตุ สัมปทา การ ถึงพร้อม ด้วยเหตุ
ผลสัมปทา การ ถึงพร้อมด้วยผล มี ๔ อย่าง คือ
๑. ญาณสัมปทา ได้แก่ มัคคญาณ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งพระ
สัพพัญญุตญาณ และ พระทศพลญาณ เป็นต้น ซึ่งมีมัคคญาณ
นั้นเป็นมูล
๒. ปหานสัมปทา ได้แก่ ละกิเลสทั้งสิ้นพร้อม ทั้ง วาสนาที่
ไม่ดี วาสนาคือ กิริยา อาการ ทาง กาย วาจา ที่ประพฤติจนเคยชิน
ซึ่ง ถ้าไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ละไม่ได้
๓. อานุภาวสัมปทา ได้แก่ ความเป็นใหญ่ ในการทำให้สำเร็จ
ได้ ตามที่ปรารถนา
๔. รูปกายสัมปทา ได้แก่ พระรูป สมบัติ อัน ประกอบ ด้วย
พระมหาปุริสลักษณะ และ อนุพยัญชนะอันเป็นที่เจริญ ตาเจริญใจ
ของ ชาวโลกทั้งมวล
พระพุทธเจ้านั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่งซึ่ง
สัจจะ ด้วยพระองค์เองในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ทรง
บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และทรงบรรลุความเป็น
ผู้มีความชำนาญในธรรมที่เป็นกำลังทั้งหลาย
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์
เองที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนแต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู
ในธรรมนั้นและไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมที่เป็นกำลัง
ทั้งหลาย
(จากหนังสือปรมัตธรรมสังเขป)
ปริยัติ ปริ ( รอบ ) + ยตฺติ ( ศึกษา , เล่าเรียน ) หมาย
ถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระไตรปิฏก( รวมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่างๆ
เพื่อให้เข้าใจในหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า )
ปฏิบัติ ปฏิ ( เฉพาะ ) + ปตฺติ ( การถึง )
การถึงเฉพาะ หมายถึง คือการปฏิบัติชอบ การปฏิบัติถูกต้อง
ปฏิเวธ ปฏิ ( ตลอด ) + วิธ ( การแทง )
การแทงตลอด หมายถึง การตรัสรู้ธรรม บรรลุมรรคผล นิพพาน ซึ่งเป็นผลจากการ
ศึกษาปริยัติและปฏิบัติที่ถูกต้อง
ปริยัติที่ถูกต้อง ย่อมนำไปสู่ปฏิบัติที่ถูกต้อง
ปฏิบัติที่ถูกต้อง ย่อมนำไปสู่ปฏิเวธที่ถูกต้อง
ปฏิเวธจะมีไม่ได้ถ้าไม่มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง และการปฏิบัติอย่างถูกต้องจะมี
ไม่ได้ถ้าไม่มีการศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างถูกต้อง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแต่งตั้งพระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์
ที่บันทึกในพระไตรปิฎก เป็นศาสดาแทนพระองค์
สมควรหรือไม่ที่จะดูหมิ่นการศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎก
ที่ท่านทรงแต่งตั้งเป็นศาสดาแทนพระองค์
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:22
ตรงย่อหน้าสุดท้ายเนี่ย คุณจักรจะด่วนสรุปไปหรือเปล่า จริงๆแล้วอันนี้เป็นแค่แนวทางปฏิบัตินะ และยังมีอีกหลายข้อ ที่พี่ยังไม่ได้ลง
พี่คิดว่าคำตอบของท่านน่าจะหมายถึงว่า เมืออ่านแต่พระวินัยแล้วไม่ปฏิบัติ ก็คงไม่สำเร็จ จึงไม่ควรยึดติดอยู่แต่ตำราอย่างเดียว
พี่ละนึกอยู่แล้ว ว่าคุณจักรต้องแย้ง พี่เลยไม่ได้ออกความเห็นลงไปก่อน
เหมือนคุณอ่านคู่มือการต่อตู้ อ่านจนคิดว่าเข้าใจ แต่คุณไม่ลงมือทำจริงๆ จะเรียกได้ว่าคุณต่อตู้อันนั้นเป็นหรือไม่
อ้าว...ไปๆมาๆ เหมือนคำถามความทรงจำ ของคุณ คนฯ ไปซะงั้น
อย่าเพิ่งตัดสินอะไร จากส่วนเสี้ยวที่เราได้ยิน หรือได้ฟัง พิจารณา ไปเรื่อยๆค่ะ รับรู้เก็บไว้ สักวันเราอาจได้คำตอบที่แท้จริงก็ได้ เมื่อเราอ่าน ฟัง คิด มากขึ้นเรื่อยๆ
วัยเท่านั้นจะเป็นตัวช่วย งั้นคุณคงต้องรอไปก่อนแระ
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:26
รับได้ เพราะเรารู้ว่าต้องรับมือกับคนดื้อๆ ก็ไม่เห็นเป็นไร รับฟังความคิดคนอื่นบ้างจะเป็นไรไป จริงไหม
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:28
รับได้ เพราะเรารู้ว่าต้องรับมือกับคนดื้อๆ ก็ไม่เห็นเป็นไร รับฟังความคิดคนอื่นบ้างจะเป็นไรไป จริงไหม
จริงครับ
Edited by chackrapbong, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:30.
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:39
จากที่รู้จักกันนานมาก สี่ เดือน เหอๆ พี่เห็นบางอย่างในตัวคุณ นอกจากเห็นผ่านจอ แต่ทะลุไป จนคุณบอกว่าเกิดวันเสาร์ก็เลย อะนะ ใช่เลย
ตัวจริงๆนี่ดุด้วยใช่ไหม แบบสั่งลูกน้องแล้วไม่ได้ดังใจเนี่ย ไม่ต้องพูดเลย และจริงจังด้วย มากๆแล้ว... เหนื่อยนะ
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:42
จากที่รู้จักกันนานมาก สี่ เดือน เหอๆ พี่เห็นบางอย่างในตัวคุณ นอกจากเห็นผ่านจอ แต่ทะลุไป จนคุณบอกว่าเกิดวันเสาร์ก็เลย อะนะ ใช่เลย
ตัวจริงๆนี่ดุด้วยใช่ไหม แบบสั่งลูกน้องแล้วไม่ได้ดังใจเนี่ย ไม่ต้องพูดเลย และจริงจังด้วย มากๆแล้ว... เหนื่อยนะ
สงสัยต้องหาเวลาหยุดพักยาวบ้างครับ
วันนี้ ผมเป็นอะไรไม่ทราบครับ
วก วน ไปเรื่องโน้นที เรื่องนี้ที
คิดถึง เหตุการณ์หลายอย่างที่อยู่รอบตัวไปเรื่อยครับ
หันมามองรูปหน้ากาก ที่ตัวใส่อยู่ ทำให้อยากเปิดเพลงนี้ครับ
ป.ล.ผมไม่ดุครับ
แต่นิสัย จริงจัง กับ ชีวิต/งาน (ข้อเสียอย่างมากของผมครับ)
Edited by chackrapbong, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:50.
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:53
ขอแก้ตัวครับ
เปิดเพลงดุไปหน่อย
เบาเบาสักหน่อยคงดีครับ
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:01
คิดทีละอย่าง ทำทีละเรื่อง ตั้งสติให้มั่น นี่ไง คุณก็รู้ แต่คุณลืม เพราะเหตุการณ์มันรุมล้อมมากไป จำได้ไหม ที่เคยมีคนบอกว่า "โลกมีไว้ให้เหยียบ ไม่ได้มีไว้ให้แบก"
ไม่ได้บอกว่าอย่าตั้งใจ แต่จะบอกว่าอย่าตั้งใจจนลืม เรื่องอื่นไป ที่อาจมีความสำคัญพอกัน คุณไม่ใช่นักวิ่งมาราธอน นะ เหนื่อยหยุดพักหายใจยาวๆซักห้านาที โลกคงไม่แตก งานคงไม่เสียหรอกน่า
เดี๋ยวเป็นแบบพี่ ทำงานตลอดหนึ่งเดือน 7 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม ตอนนั้นยังไม่มีรถ คือมีแต่ซ่อม ตอนที่รถคว่ำไง ต้องนั่งรถเมล์กลับบ้าน อีกประมาณเกือบชั่วโมง ยืนหลับบนรถ จนร่างกายรับไม่ไหว
คุณหลวงบอกไปตีเทนนิสกันให้หายเครียด (ซึ่งได้ผลนะ เหงื่อออกมากๆ หัวจะโล่ง) แต่ทำไม่ได้ ดึกเกิน พี่ป่วยยาวหนึ่งเดือนเต็ม วันนี้ซีเรียสกันจังเนอะ แต่ปล่อยๆออกมาก็ดี ฟังเพลงกันไง
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:03
จะบอกว่า destiny เปิด บ่ ได้
เปิดได้แระ
Edited by lazylemon, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:05.
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:10
คิดทีละอย่าง ทำทีละเรื่อง ตั้งสติให้มั่น นี่ไง คุณก็รู้ แต่คุณลืม เพราะเหตุการณ์มันรุมล้อมมากไป จำได้ไหม ที่เคยมีคนบอกว่า "โลกมีไว้ให้เหยียบ ไม่ได้มีไว้ให้แบก"
ไม่ได้บอกว่าอย่าตั้งใจ แต่จะบอกว่าอย่าตั้งใจจนลืม เรื่องอื่นไป ที่อาจมีความสำคัญพอกัน คุณไม่ใช่นักวิ่งมาราธอน นะ เหนื่อยหยุดพักหายใจยาวๆซักห้านาที โลกคงไม่แตก งานคงไม่เสียหรอกน่า
เดี๋ยวเป็นแบบพี่ ทำงานตลอดหนึ่งเดือน 7 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม ตอนนั้นยังไม่มีรถ คือมีแต่ซ่อม ตอนที่รถคว่ำไง ต้องนั่งรถเมล์กลับบ้าน อีกประมาณเกือบชั่วโมง ยืนหลับบนรถ จนร่างกายรับไม่ไหว
คุณหลวงบอกไปตีเทนนิสกันให้หายเครียด (ซึ่งได้ผลนะ เหงื่อออกมากๆ หัวจะโล่ง) แต่ทำไม่ได้ ดึกเกิน พี่ป่วยยาวหนึ่งเดือนเต็ม วันนี้ซีเรียสกันจังเนอะ แต่ปล่อยๆออกมาก็ดี ฟังเพลงกันไง
นี้เป็นโจทย์ยาก ข้อหนึ่งครับ เป็นศิลปในการมีชีวิต
วันก่อน แม่ต้องบอกให้พี่สาวมารับสาวสวยข้างข้างไปเขาใหญ่พร้อมเพื่อน
ครั้งหนึ่งแล้ว
แม่บอกผมคล้ายที่พี่มะนาวพูดเลยครับ
Edited by chackrapbong, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:15.
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:14
พี่ว่านะ ทุกอย่างคุณก็รู้ เหมือนรู้ทฤษฎีไง ลงมือปฏิบัติจริงเสียที หาเลงที่ต้องการไม่ได้ ความจริงมี แต่ไม่เพราะ เอาแค่ชื่อวงก็พอเนอะ
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:20
พี่ว่านะ ทุกอย่างคุณก็รู้ เหมือนรู้ทฤษฎีไง ลงมือปฏิบัติจริงเสียที หาเลงที่ต้องการไม่ได้ ความจริงมี แต่ไม่เพราะ เอาแค่ชื่อวงก็พอเนอะ
ดีแต่พูด ครับ
พี่มะนาวเปิดเพลงเพราะดี
ฟังสบายใจดีครับ
Edited by chackrapbong, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:23.
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:25
เปล่าว่าคุณจักรนะ จะโยงไปที่ข้อ 5 ไง ความหมายอาจจะอยู่ที่ตรงนี้ก็ได้ การที่ได้เรียนรู้ แล้วไม่ปฏิบัติ จะมีประโยชน์อะไร
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:31
เปล่าว่าคุณจักรนะ จะโยงไปที่ข้อ 5 ไง ความหมายอาจจะอยู่ที่ตรงนี้ก็ได้ การที่ได้เรียนรู้ แล้วไม่ปฏิบัติ จะมีประโยชน์อะไร
เพื่อน และ พี่ ต้องคอยเตือนน้องครับ
ผมยินดีที่จะได้รับคำเตือนบ้างครับ
ไม่งั้น หลงตัวเองแย่เลย
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:33
ส่งเพลงสุดท้ายพร้อมกับส่งคุณจักรไปพักผ่อนให้เต็มที่ หลับให้สบายค่ะ พรุ่งนี้เจอกันใหม่ อย่าหมดแรงเสียก่อน
ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:37
ส่งเพลงสุดท้ายพร้อมกับส่งคุณจักรไปพักผ่อนให้เต็มที่ หลับให้สบายค่ะ พรุ่งนี้เจอกันใหม่ อย่าหมดแรงเสียก่อน
วันนี่ขอบคุณพี่มะนาวมากกว่าวันใหนใหนเลย ครับ
พรุ่งนี้เจอกันใหม่ครับ
สวัสดีครับ
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 09:18
คำถามและคำตอบ แนวการปฏิบัติธรรม
พระสุญโญภิกขุ พระภิกษุชาวอเมริกันจดบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อลาสิกขาแล้วท่านได้พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน ต่อมามีผู้แปลเป็นภาษาไทย และหลวงพ่อชาให้พระวีรพลเตชะปัญโญแห่งวัดหนองป่าพงสอบผ่านแล้วจึงได้ให้พิมพ์ฉบับภาษาไทย5. ถาม เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ ในการฝึกปฏิบัติตอบ พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริงด้วยตัวของท่านเองว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย จงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่า ความรู้สึกต่างๆ เวทนานั้น เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอ เมื่อไม่มีอะไร หรือมีอะไรเกิดขึ้น จะได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำขณะอยู่ที่นี่ เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมด เมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถน หรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญ ทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะอยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่าท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่านบางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่า มีเพียงพอมั๊ย การทำสมาธิภาวนาของท่าน คือการมีสติระลึกรู้และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ
ถามกลับคำเดียว... ถ้าไม่ต้องศึกษาคำสอนพระตถาคต... แล้วจะให้ปฏิบัติยังไงขอรับ??? ฮี่ๆๆๆ
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 09:52
คำถามและคำตอบ แนวการปฏิบัติธรรมพระสุญโญภิกขุ พระภิกษุชาวอเมริกันจดบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อลาสิกขาแล้วท่านได้พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน ต่อมามีผู้แปลเป็นภาษาไทยและหลวงพ่อชาให้พระวีรพลเตชะปัญโญแห่งวัดหนองป่าพงสอบผ่านแล้วจึงได้ให้พิมพ์ฉบับภาษาไทย5. ถาม เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ ในการฝึกปฏิบัติตอบ พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริงด้วยตัวของท่านเองว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลยจงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่า ความรู้สึกต่างๆ เวทนานั้น เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอเมื่อไม่มีอะไร หรือมีอะไรเกิดขึ้น จะได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมด เมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถน หรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญ ทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใดมีธรรมะอยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่าท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่านบางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่า มีเพียงพอมั๊ย การทำสมาธิภาวนาของท่าน คือการมีสติระลึกรู้และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ
คำถาม
ผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมสามารถตรัสรู้ธรรมได้ด้วยตนเองหรือไม่
คำตอบ
ไม่มีใครตรัสรู้ธรรมได้ด้วยตนเอง
แม้แต่พระอริยสาวก(สาวก แปลว่า ผู้ฟัง) ทั้งหลายในอดีต ล้วนเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของความเข้าใจพระธรรม
จึงมีการฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงการที่ยังไม่รู้ในพระธรรมดีมากพอนั้น ย่อมไม่สามารถละกิเลสได้ เพราะกิเลส เกิดจากความไม่รู้(อวิชชา)
พระพุทธ ดำรัสที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นตถาคต หมายถึง การเห็นธรรม รู้แจ้งธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ คือโลกุตตรธรรม ๙ ขั้นปฏิเวธ การเห็นธรรมขั้นปฏิเวธ เป็นผลของการเจริญธรรม ขั้นปฏิบัติ การเจริญธรรมขั้นปฏิบัติ ต้องอาศัยปริยัติ ด้วย เหตุนี้ ปริยัติ คือการศึกษาพระธรรมวินัย จึงเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง เป็นทางนำไปสู่พระพุทธศาสนา ขั้นปฏิบัติ และขั้นปฏิเวธ เป็น ลำดับไป พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคได้จดจำสืบต่อกันมา โดยมุขปาฐะ คือ การท่องจำจากพระอรหันตสาวก ผู้กระทำสังคายนา พระธรรมวินัย เป็น ๓ ปิฎก เรียกว่าพระไตรปิฎกการท่องจำได้ กระทำสืบต่อกันมาตราบจนกระทั่งได้จารึกเป็นตัวอักษร พระธรรมวินัย ซึ่งพระอรหันตสาวก ได้สังคายนา เป็น ๓ ปิฎก นั้น คือ
๑. พระวินัยปิฎก
๒. พระสุตตันตปิฎก
๓. พระอภิธรรมปิฎก
ตามที่ทีมงานทางวัดฯตรวจพิสูจน์มาแล้ว... คำสอนพระตถาคตที่อยู่ในสิ่งที่เรียกในภายหลังว่าพระไตรปิฎกนั้น... จะเป็นส่วนพระวินัย (ศีลหรือวินัยของหมู่ภิกษุ... ที่มีมากกว่า 2,400 ข้อ... ไม่ใช่พระมีศีล 227 ข้อ) กลุ่มหนึ่ง สุตตันตะกลุ่มหนึ่ง (คำสอนสาวกที่ว่าด้วยมรรคและปฏิปทา) และชาตกะ (ชาติกำเนิดต่างๆ ทั้งของพระตถาคต, โลก และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์หลายๆรูปในพุทธกาล... ซึ่งกล่าวไว้สั้นๆ เช่นกำเนิดของโลก, พระเวสสันดร... ไม่ใช่ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า และมีเนื้อหาที่พระตถาคตกล่าวถึงเพียงสี่ห้าหน้ากระดาษ A4 เท่านั้น หรือเรื่องขององคุลีมารตามที่เคยให้ลิ้งไว้ให้ลองสดับกันขอรับ) ในส่วนอภิธรรม 12 เล่มหลังนั้น... แต่งใหม่ภายหลังทั้งหมด... อภิธรรมตามพุทธวจนะคือ "โพธิปักขิยธรรม 37" คือสติปัฐฐาน4, สัมมัปปธาน4, อิทธิบาท4, อินทรีย์5, พละ5, โพชฌงค์7, อริยมรรค8... ส่วนการสังคยนาพระธรรมของพระศาสดาครั้งแรกที่นำมาจัดหมวดหมู่คือในสมัยพุทธกาลนั่นแล ผู้เริ่มเป็นองค์แรกคือพระสารีบุตร กระทำต่อหน้าพระพักตร์พระตถาคต ตามที่เคยลงโพสไว้ ณ ที่นี้ แล้วต่อมาเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพาน พระมหากัสสปะจึงเรียกประชุมพระอรหันต์ 500 รูปกระทำการสังคยนาพระธรรมอีกครั้ง...
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแต่งตั้งพระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ที่บันทึกในพระไตรปิฎก เป็นศาสดาแทนพระองค์สมควรหรือไม่ที่จะดูหมิ่นการศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกที่ท่านทรงแต่งตั้งเป็นศาสดาแทนพระองค์
84,000 ธรรมขันธ์ ไม่มีในพุทธวจนขอรับ มีแต่พระตถาคตกล่าวถึงในชาตกะพระสูตรหนึ่งของพระองค์ที่แจกทานด้วยม้า, ช้าง เครื่องบริขาร เงิน ทอง อย่างละ 84,000 เท่านั้น หรือกล่าวเป็นบทนำในพระสูตรทำนองว่ามีหมู่ชนชาวเมือง 84,000 คนอะไรทำนองนี้แค่นั้น...
ฮี่ๆๆ
Edited by wat, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:07.
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 19:46
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมเหล่านั้น พวกเธอทั้งหลายพึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรมกระทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคงดำรงอยู่ได้ตลอดกาลนาน
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก, และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง?
ธรรมเหล่านั้นได้แก่ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, อริยมรรคมีองค์ 8
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมเหล่านี้แลที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่พวกเธอทั้งหลายพึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรมกระทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคงดำรงอยู่ได้ตลอดกาลนาน
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก, และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย
โพธิปักขิยธรรม 37
สติปัฏฐาน 4
1. กาย
2. เวทนา
3. จิต
4. ธรรม
สัมมัปปธาน 4
1. สังวรปธาน คือ เพียรเพื่อไม่ให้อกุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น
2. ปหานปธาน คือ เพียรเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ภาวนาปธาน คือ เพียรเพื่อให้กุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น
4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรเพื่อความเจริญมั่นคง บริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
อิทธิบาท 4
1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
2. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
3. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
อินทรีย์ 5
1. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่ในอารมณ์ เป็นศรัทธาอันแรงกล้าในจิตใจ ซึ่งอกุศลไม่อาจทำให้ศรัทธานั้นเสื่อมคลายได้วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
2. วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นใหญ่ และต้องเป็นความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ 4 แห่งสัมมัปปธาน
3. สตินทรีย์ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน อันเกิดจากสติปัฏฐาน 4
4. สมาธินทรีย์ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ไม่ฟุ้งซ่าน
5. ปัญญินทรีย์ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้งเห็นจริงว่าขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
พละ ๕
1. ศรัทธาพละ ไม่หวั่นไหวต่อความไม่มีศรัทธา
2. วิริยพละ ไม่หวั่นไหวต่อความเกียจคร้าน
3. สติพละ ไม่หวั่นไหวต่อการหลงลืมสติ
4. สมาธิพละ ไม่หวั่นไหวต่อความฟุ้งซ่าน
5. ปัญญาพละ ไม่หวั่นไหวต่อความไม่รู้
โพชฌงค์ ๗
1. สติ ความระลึกได้
2. ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
3. วิริยะ ความเพียร
4. ปีติ ความอิ่มใจ
5. ปัสสัทธิ ความสงบ
6. สมาธิ จิตตั้งมั่น
7. อุเบกขา ความวางเฉย
อริยมรรคมีองค์ ๘
1. สัมมาทิฐิ : ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔
2. สัมมาสังกัปปะ : ความดำริชอบ คือคิดออกจากกาม ไม่คิดพยาบาท และคิดที่จะไม่เบียดเบียนใคร
3. สัมมาวาจา : วาจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. สัมมากัมมันตะ : กระทำชอบ คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
5. สัมมาอาชีวะ : เลี้ยงชีวิตชอบ คือการประกอบอาชีพแต่ในทางสุจริต ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ผิดจากหน้าที่อันควร
6. สัมมาวายามะ : ความเพียรชอบ คือเพียรในที่ 4 สถาน (พยายามละอกุศลที่ยังไม่ได้ละ, ที่ละได้แล้วก็พยายามไม่ให้เกิดขึ้นอีก, พยายามทำให้กุศลเกิดขึ้น, ที่มีเกิดขึ้นแล้วก็พยายามทำให้เจริญยิ่งขึ้น)
7. สัมมาสติ : ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม (สติ = รู้ตื่น, สัมปชัญญะ = รู้ตัวทั่วพร้อม)
8. สัมมาสมาธิ : ตั้งใจมั่นชอบ คือเจริญฌานทั้ง 4 (หมายถึงการเข้าสมาธิที่เป็นไปเพื่อละนิวรณ์โดยตรง คือตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป)
__________________________________________________
แก้ไขเล็กน้อยนะขอรับ ก๊อปวางเพลิน ลืมตรวจทาน เกินไปนิสนุง...
Edited by wat, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 09:18.
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:40
สวัสดีคืนวันพฤหัส
สวัสดีค่ะ คุณวัชร เหอๆ ที่ถามมาก็ตอบไม่ได้หรอกค่ะ เพราะไม่ได้เป็นคนกล่าว แต่ที่คุณวัชรถามกลับมาก็ อ่ะนะ คุณจักรก็แย้งเหมือนกันแหละค่ะ
โดยส่วนตัวที่นำมาลงเหราะคิดว่า เป็นแนวทางปฏิบัติ เพี่อศึกษา ไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น คือตัวเองกำลังสนใจ (คล้ายกำลังเห่อ อยู่หน่อยๆ) ได้ฟังเข้าก็คิดว่าก็ดีนะ นำมาบอกเล่าให้คนอื่นฟังบ้าง
ทั้งหมดที่คุณวัชรยกมาให้อ่าน ก็อ่านทุกครั้งละค่ะ รู้บ้างไม่รู้บ้าง บางทีก็ถามคุณหลวงเอา คิดแค่ว่าเพียรไปเรื่อยๆ ไม่มีความรู้มากพอที่จะบอกได้ว่า ถูกหรือไม่ถูก แค่ฟัง แค่อ่านมา แค่ สองสามเดือนเอง
สิ่งเดียวกันถ้าฟังมา แล้วคำอธิบายในสิ่งนั้น ไม่ตรงกัน ก็ต้องนำมาคิดละค่ะ ไม่ใช่ไม่คิด ไม่อย่างนั้น คำว่าศีล สมาธิ และปัญญา คงไม่มีการกล่าวไว้
ขอบคุณค่ะที่นำอีกมุมมาให้พิจารณา
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:44
วันนี้เหนื่อยมั่กๆ ไปทำธุระข้างนอกกว่าจะถึงบ้าน บ่ายสี่โมงเย็นแล้ว เวลาอาหารเด็กๆ พอดี ให้เสร็จ ก็หลับเลย เฮ้อ ...เนี่ยแหละ ไม่จำเป็นถึงไม่อยากออกข้างนอกเลย เหนื่อย.....บ่นๆๆๆๆๆๆๆ
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:54
วันนี้เหนื่อยมั่กๆ ไปทำธุระข้างนอกกว่าจะถึงบ้าน บ่ายสี่โมงเย็นแล้ว เวลาอาหารเด็กๆ พอดี ให้เสร็จ ก็หลับเลย เฮ้อ ...เนี่ยแหละ ไม่จำเป็นถึงไม่อยากออกข้างนอกเลย เหนื่อย.....บ่นๆๆๆๆๆๆๆ
หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมเหือดหายไปได้เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้างฉันนั้น เหมือนกัน
รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
Edited by chackrapbong, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:55.
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:03
สวัสดีคืนวันพฤหัส
สวัสดีค่ะ คุณวัชร เหอๆ ที่ถามมาก็ตอบไม่ได้หรอกค่ะ เพราะไม่ได้เป็นคนกล่าว แต่ที่คุณวัชรถามกลับมาก็ อ่ะนะ คุณจักรก็แย้งเหมือนกันแหละค่ะ
โดยส่วนตัวที่นำมาลงเหราะคิดว่า เป็นแนวทางปฏิบัติ เพี่อศึกษา ไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น คือตัวเองกำลังสนใจ (คล้ายกำลังเห่อ อยู่หน่อยๆ) ได้ฟังเข้าก็คิดว่าก็ดีนะ นำมาบอกเล่าให้คนอื่นฟังบ้าง
ทั้งหมดที่คุณวัชรยกมาให้อ่าน ก็อ่านทุกครั้งละค่ะ รู้บ้างไม่รู้บ้าง บางทีก็ถามคุณหลวงเอา คิดแค่ว่าเพียรไปเรื่อยๆ ไม่มีความรู้มากพอที่จะบอกได้ว่า ถูกหรือไม่ถูก แค่ฟัง แค่อ่านมา แค่ สองสามเดือนเอง
สิ่งเดียวกันถ้าฟังมา แล้วคำอธิบายในสิ่งนั้น ไม่ตรงกัน ก็ต้องนำมาคิดละค่ะ ไม่ใช่ไม่คิด ไม่อย่างนั้น คำว่าศีล สมาธิ และปัญญา คงไม่มีการกล่าวไว้
ขอบคุณค่ะที่นำอีกมุมมาให้พิจารณา
ข้าพเจ้ามอบ ชีวิตและร่างกายนี้แด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า เพราะเหตุดั่งว่ามานี้ ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า พุทธทาส
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:07
ก็อย่างที่ต้องการแหละค่ะ รู้ว่าเหนื่อย เกิดขึ้น คงอยู่ ดับไป ตอนนี้ก็พยายามจับอยู่แค่นี้ค่ะ ตอนนี้มีเรื่องให้ปวดหัวใหม่มาแทน แมวแอบไปเที่ยวข้างนอกยังไม่กลับ ที่สำคัญตัวนี้ ไม่เคยออก และขี้กลัวด้วย
คุณนายน่ะ เปิดประตูทิ้งไว้ พยายามสอนหลายทีแล้วเรื่องสติ ก็ไม่พยายามฟัง พี่เคยเล่าให้คุณฟังไง ตะก่อน ขี้ลืม เจ็บตัวบ่อยเพราะไม่ระวัง เลยต้องหาวิธีมาแก้ สิ่งที่อยู่ในตัว แต่ลืม สติ ไง แล้วเอามาบอกลูก
ก็คงดื้อเหมือนเราแหละนะ จาไปเหมือนใครที่ไหน ขออีก 10 เฮ้อ...
อาจมาตอบช้าบ้าง คงต้องวิ่งไปวิ่งมา ช่วยหาแมวด้วยค่ะ
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:40
พี่เพิ่งรู้นะว่า การไม่มีลูก(ดื้อ)เป็นลาภอันประเสริฐ แหมเอาเพลงชอบมาปลอบใจ จริงๆพี่ชอบเพลงพวกจังหวะมากๆ พวกที่ใช้เต้นรำน่ะ แต่หายาก
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:51
คุณจักรเปิดเพลงนี้ก็ดีแล้วเพราะเป็นผู้ชาย ความจริงพี่เคยเจอ แต่รู้สึกว่า เซ๊ะซี่เกิน ที่กุลสตรีผู้สูงวัยควรจะเปิด เพราะอาจถูกตำหนิได้ อิอิ
เพลงฮิตติดโผในใจตลอดกาลนาน
ป.ล. เปลี่ยนเพลงเฉยเลย
Edited by lazylemon, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:59.
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:02
คุณจักรเปิดเพลงนี้ก็ดีแล้วเพราะเป็นผู้ชาย ความจริงพี่เคยเจอ แต่รู้สึกว่า เซ๊ะซี่เกิน ที่กุลสตรีผู้สูงวัยควรจะเปิด เพราะอาจถูกตำหนิได้ อิอิ
เพลงฮิตติดโผในใจตลอดกาลนาน
ผมว่า เปิด ได้ทุกเพลง ทุกคน
Unisex ครับ
อายุ ดูที่ใหนครับ
ปีที่เกิด หรือ ที่หัวใจ
หากนับที่ ใจ อายุพีมะนาวอ่อนกว่าผมอีกครับ
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:06
รู้ได้ไง ไม่งั้นพี่คงไม่มานั่งเปิดเพลงฟังเล่น บางทีก็รู้นะว่าทำตัวเหมือนเด็ก แค่ไม่ได้สมองเหมือนเด็กก็พอแล้ว เอิ๊กๆ
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:09
คั่นเพลง สนุก
รู้ได้ไง ไม่งั้นพี่คงไม่มานั่งเปิดเพลงฟังเล่น บางทีก็รู้นะว่าทำตัวเหมือนเด็ก แค่ไม่ได้สมองเหมือนเด็กก็พอแล้ว เอิ๊กๆ
ไม่ใช่หมายความว่า ทำตัวเหมือนเด็ก
ไม่ได้หมายความว่า สมองเหมือนเด็ก
หมายความว่า
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:16
พี่คงเป็นงี้ไปตลอดแหละ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มัวแต่จมกับทุกข์ หน้าเหี่ยวเป็นแผนที่ขึ้นแย่แน่เลย
Edited by lazylemon, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:16.
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:27
แล้วก็ตามด้วยเพลงสุดท้ายก่อนเจอกันใหม่พรุ่งนี้ ราตรีสวัสดิ์จ้า
ตอบ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 09:43
สวัสดีคืนวันพฤหัส
สวัสดีค่ะ คุณวัชร เหอๆ ที่ถามมาก็ตอบไม่ได้หรอกค่ะ เพราะไม่ได้เป็นคนกล่าว แต่ที่คุณวัชรถามกลับมาก็ อ่ะนะ คุณจักรก็แย้งเหมือนกันแหละค่ะ โดยส่วนตัวที่นำมาลงเหราะคิดว่า เป็นแนวทางปฏิบัติ เพี่อศึกษา ไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น คือตัวเองกำลังสนใจ (คล้ายกำลังเห่อ อยู่หน่อยๆ) ได้ฟังเข้าก็คิดว่าก็ดีนะ นำมาบอกเล่าให้คนอื่นฟังบ้าง
ทั้งหมดที่คุณวัชรยกมาให้อ่าน ก็อ่านทุกครั้งละค่ะ รู้บ้างไม่รู้บ้าง บางทีก็ถามคุณหลวงเอา คิดแค่ว่าเพียรไปเรื่อยๆ ไม่มีความรู้มากพอที่จะบอกได้ว่า ถูกหรือไม่ถูก แค่ฟัง แค่อ่านมา แค่ สองสามเดือนเอง สิ่งเดียวกันถ้าฟังมา แล้วคำอธิบายในสิ่งนั้น ไม่ตรงกัน ก็ต้องนำมาคิดละค่ะ ไม่ใช่ไม่คิด ไม่อย่างนั้น คำว่าศีล สมาธิ และปัญญา คงไม่มีการกล่าวไว้ ขอบคุณค่ะที่นำอีกมุมมาให้พิจารณา
5. ถาม เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ ในการฝึกปฏิบัติ
ตอบ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 12:47
สวัสดีคุณวัชรค่ะ เสร็จภาระตอนเช้า ก็เลยเข้ามาดู และเจอข้อความที่คุณวัชรมาหยอดไว้
ตรงที่คุณวัชรทำเป็นตัวสีแดงนั้น ในส่วนตัวที่ดิฉันเองพยายามทำอยู่ คืออย่าผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย เพราะที่ผ่านมาทราบเลยค่ะว่าเราทุกข์อยู่กับความผูกพันจริงๆ อย่างวันไหนคุณวัชรไม่แวะมา ก็นึกถึงนะ
ถ้าเป็นแต่ก่อนจะมากกว่าเดี๋ยวนี้ (หมายถึงอารมณ์ นะเจ้าคะ) เช่นคุณวัชรโกรธไรเราป่าว เราทำอะไรให้คุณวัชรงอนป่าว คุณวัชรไม่ชอบขี้หน้าเราแล้ว เพราะช่างเถียงเหลือเกิน ประมาณนั้นเลยค่ะ
อันนี้ยกตัวอย่างแค่คุณวัชรเท่านั้น กับสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว ก็เป็นและมากกว่าเพราะผูกพันนานกว่า ทำให้เกิดอารมณ์ ผิดหวัง เสียใจ น้อยใจ รวมแล้วก็คือทุกข์ อิฉันไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกับคำสอน หรือตำรับตำรา ของพระมากนัก คิดแบบที่อีกหลายๆคนคิดค่ะ แค่เป็นคนดี รักษาศีล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น ก็พอแล้ว แต่จริงๆแล้วทุกข์ในใจที่มี ก็ไม่ได้หมดไป เพียงแต่ไม่แบกมันไว้ตลอด เพราะทำงานคือทำงาน สมาธิอยู่ตรงนั้น
แต่พอตอนว่างๆ ก็เก็บเอาเรื่องราวที่เกิดรอบตัวมาคิดใหม่ ของเก่ายังไม่หมด ของใหม่มาอีกแล้ว
แต่พอได้รับรู้กับคำว่า "อย่าผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย" ลองทำดู เพราะถ้าไม่ใช่ ก็แค่เสมอตัว แต่มันได้ผลค่ะ ถึงจะคิดได้อย่างช้าๆ ตามประสาตัวตนของอิฉันเอง ทุกข์คลายลงเยอะ ทุกข์น้อยลง
อย่างที่ดิฉันเคยบอกคุณวัชรไงค่ะว่า ในที่สุดดิฉันก็พบความต่างของเส้นใยบางๆระหว่าง การปล่อยวาง กับการไม่ใส่ใจ
ส่วนจงมีสติเสมอนั้น ทุกวันนี้พยายามทำให้สติอยู่กับตัว บางทีก็หลุดบ้าง ก็ต้องบอกตัวเอง ตอนเช้าๆ ลากสายยางเปิดน้ำล้างกรงหมา ก็บอกตัวเอง ค่อยๆเดินเดี๋ยวสะดุดล้ม พี้นที่เปียกน้ำก็บอกว่าค่อยๆเดิน เดี๋ยวล้ม
เวลาขัดกรงก็ให้สติอยู่กับการขัดนั้น ขัดให้สะอาด หัวมุดอยู่ในกรงนะ ขัดเสร็จค่อยๆก้มออกนะ คือตะก่อน หัวจะชนขอบกรงอยู่บ่อยมาก บางทีคลำไปปูดเลยก็มี แต่เดี๋ยวนี้หายแล้วค่ะ
(แหมไม่อยากพูดเลย เดี่ยวจะเป็นอีก แหะๆ) ก็เลยเริ่มสนใจธรรมะขึ้นมาด้วยใจของตัวเอง เรียกได้ว่าแต่ก่อนทำตัวอยู่ไกลธรรมะค่ะ เพราะจริงแล้วที่ผู้รู้บอกว่า ธรรมะก็คือธรรมชาติ ก็อยู่รอบตัวเราเอง ก็ค่อยๆมองหาไปค่ะ
ส่วนข้อปฏิบัติที่นำมาลง คิดว่าจะยังลงให้ครบ อาจมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันบ้าง ก็พูดคุยกันได้ เพราะดิฉันคิดว่าหากหยุดไป ตัวเองก็คงเสียเจตนารมย์ที่ตั้งใจเอาไว้ เพราะก็เป็นความคิดอย่างนึง
ในหลายๆความคิดที่มีในโลกนี้ เท่านั้น คิดเห็นเป็นอย่างไร เล่าสู่กันฟังได้ค่ะ
เรื่อง โพธิปักขิยธรรม 37 น่าศึกษาค่ะ กำลังทำความเข้าใจอยู่ ว่าจะให้คุณหลวงดูด้วย ความจริงเธอมีคำถามฝากมา แต่ลืมแล้ว อิอิ ไว้ถามใหม่ แล้วจะมาถามต่อค่ะ
ป.ล. การตามความรู้ซึ่งความจริง 12 ขั้นตอน ชอบมากเจ้าค่ะ
Edited by lazylemon, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 12:50.
ตอบ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 12:53
Edited by lazylemon, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 12:54.
ตอบ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:20
สวัสดีคุณวัชรค่ะ เสร็จภาระตอนเช้า ก็เลยเข้ามาดู และเจอข้อความที่คุณวัชรมาหยอดไว้
ตรงที่คุณวัชรทำเป็นตัวสีแดงนั้น ในส่วนตัวที่ดิฉันเองพยายามทำอยู่ คืออย่าผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย เพราะที่ผ่านมาทราบเลยค่ะว่าเราทุกข์อยู่กับความผูกพันจริงๆ อย่างวันไหนคุณวัชรไม่แวะมา ก็นึกถึงนะ ถ้าเป็นแต่ก่อนจะมากกว่าเดี๋ยวนี้ (หมายถึงอารมณ์ นะเจ้าคะ) เช่นคุณวัชรโกรธไรเราป่าว เราทำอะไรให้คุณวัชรงอนป่าว คุณวัชรไม่ชอบขี้หน้าเราแล้ว เพราะช่างเถียงเหลือเกิน ประมาณนั้นเลยค่ะ อันนี้ยกตัวอย่างแค่คุณวัชรเท่านั้น กับสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว ก็เป็นและมากกว่าเพราะผูกพันนานกว่า ทำให้เกิดอารมณ์ ผิดหวัง เสียใจ น้อยใจ รวมแล้วก็คือทุกข์ อิฉันไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกับคำสอน หรือตำรับตำรา ของพระมากนัก คิดแบบที่อีกหลายๆคนคิดค่ะ แค่เป็นคนดี รักษาศีล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น ก็พอแล้ว แต่จริงๆแล้วทุกข์ในใจที่มี ก็ไม่ได้หมดไป เพียงแต่ไม่แบกมันไว้ตลอด เพราะทำงานคือทำงาน สมาธิอยู่ตรงนั้น แต่พอตอนว่างๆ ก็เก็บเอาเรื่องราวที่เกิดรอบตัวมาคิดใหม่ ของเก่ายังไม่หมด ของใหม่มาอีกแล้ว
แต่พอได้รับรู้กับคำว่า "อย่าผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย" ลองทำดู เพราะถ้าไม่ใช่ ก็แค่เสมอตัว แต่มันได้ผลค่ะ ถึงจะคิดได้อย่างช้าๆ ตามประสาตัวตนของอิฉันเอง ทุกข์คลายลงเยอะ ทุกข์น้อยลง อย่างที่ดิฉันเคยบอกคุณวัชรไงค่ะว่า ในที่สุดดิฉันก็พบความต่างของเส้นใยบางๆระหว่าง การปล่อยวาง กับการไม่ใส่ใจ ส่วน "จงมีสติเสมอ" นั้น ทุกวันนี้พยายามทำให้สติอยู่กับตัว บางทีก็หลุดบ้าง ก็ต้องบอกตัวเอง ตอนเช้าๆ ลากสายยางเปิดน้ำล้างกรงหมา ก็บอกตัวเอง ค่อยๆเดินเดี๋ยวสะดุดล้ม พี้นที่เปียกน้ำก็บอกว่าค่อยๆเดินเดี๋ยวล้ม เวลาขัดกรงก็ให้สติอยู่กับการขัดนั้น ขัดให้สะอาด หัวมุดอยู่ในกรงนะ ขัดเสร็จค่อยๆก้มออกนะ คือตะก่อน หัวจะชนขอบกรงอยู่บ่อยมาก บางทีคลำไปปูดเลยก็มี แต่เดี๋ยวนี้หายแล้วค่ะ (แหมไม่อยากพูดเลย เดี่ยวจะเป็นอีก แหะๆ) ก็เลยเริ่มสนใจธรรมะขึ้นมาด้วยใจของตัวเอง เรียกได้ว่าแต่ก่อนทำตัวอยู่ไกลธรรมะค่ะ เพราะจริงแล้วที่ผู้รู้บอกว่า ธรรมะก็คือธรรมชาติ ก็อยู่รอบตัวเราเอง ก็ค่อยๆมองหาไปค่ะ ส่วนข้อปฏิบัติที่นำมาลง คิดว่าจะยังลงให้ครบ อาจมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันบ้าง ก็พูดคุยกันได้ เพราะดิฉันคิดว่าหากหยุดไป ตัวเองก็คงเสียเจตนารมย์ที่ตั้งใจเอาไว้ เพราะก็เป็นความคิดอย่างนึง ในหลายๆความคิดที่มีในโลกนี้ เท่านั้น คิดเห็นเป็นอย่างไร เล่าสู่กันฟังได้ค่ะ
เรื่อง โพธิปักขิยธรรม 37 น่าศึกษาค่ะ กำลังทำความเข้าใจอยู่ ว่าจะให้คุณหลวงดูด้วย ความจริงเธอมีคำถามฝากมา แต่ลืมแล้ว อิอิ ไว้ถามใหม่ แล้วจะมาถามต่อค่ะ
ป.ล. การตามความรู้ซึ่งความจริง 12 ขั้นตอน ชอบมากเจ้าค่ะ
กระพ๊มว่าประเด็นของเรื่องนี้ที่ท่านจักรฯ และกระพ๊มตอบอยู่ก็ตรงนี้แหละขอรับ... อย่างที่เน้นตัวแดงไว้นั่นแหละขอรับ... ถ้าครูบาอาจารย์บอกทำแค่เนี้ย... ไปได้แล้ว... ไปยังไงหว่า??? ไม่ผูกพันเป็นอย่างไร? มันคือปล่อยวาง? ปล่อยว่าง? ไม่สนใจ? ไม่ใยดี?... มีสติ... สติคืออะไร? แล้วอยู่ที่ไหน? ทำยังไงเรียกมีสติ? ทำยังไงถึงไม่มีสติ? ฯลฯ แล้วก็สรุปเอาเองว่านี่แหละใช่... หรือไม่ใช่หว่า???
... แต่พระตถาคตไม่ได้สอนอย่างนั้นขอรับ... พระองค์แจกแจงไว้หมดแล้ว... ปล่อยวาง... วางอะไร... ผูกพันอะไร ไม่ผูกพันอะไร... สติ สัมปชัญญะอยู่ที่ไหน... ไม่ต้องไปคลำแบบตาบอดคลำช้างไงขอรับ... กระพ๊มก็ไม่ได้บอกว่าที่ครูบาอาจารย์ท่านพูดผิด สอนผิด... แต่เปรียบง่ายๆแค่หากเราเป็นสาวกพระศาสดา พระศาสดาบอกไม่ต้องคิดเติมต่อ... ทำอย่างนี้แหละ... ถึงแน่ๆ... แล้วจะไปฟังใครให้หลงทางไปทำไม? ในเมื่อคำตรง คำจริง ที่ถูกต้องตรงทางที่สุดก็มีอยู่แล้ว... แต่ครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ ถ้าสายป่าตามที่กล่าวมักจะบอกในแนวทางเหมือนดังไปค้นหาสัจธรรมเอาเอง... แบบที่พระตถาคตทำมาแล้ว... คือการปฏิบัติ... แต่ลืมไปอย่าง... ตอนท่านเริ่มปฏิบัติ... ท่านก็ต้องฟังครูบาอาจารย์ของท่านมาก่อนมิใช่หรือ? แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพ ปราวณาตนเป็นศิษย์ ไปเอาข้อวัตรปฏิบัติมาจากไหน?... ถ้าไม่ใช่คำสอนของพระตถาคตที่สืบทอดมา...
มันย้อนแย้งเหตุผลกันพิลึกๆดีมั้ยขอรับ.... เอิ๊กๆๆๆ
ตอบ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:18
วันนีมาถึงก่อนพี่มะนาวครับ
ได้อ่าน ความเห็น คุณ Wat ด้วยครับ
หลักใหญ่ ใจความ สาระสำคัญ ผมมองไม่ต่างจาก คุณ Wat
อาจมีรายละเอียด ปลีกย่อยต่างบ้าง แต่ไม่ทำให้มุมมองขัดกันในตัวเอง
คุณ Wat ใช้คำว่า ย้อนแย้งเหตุผลกันพิลึกๆดีมั้ยขอรับ.... เอิ๊กๆๆๆ
พี่มะนาว ก็ลงสิ่งที่ได้อ่าน ได้ฟัง ไปเรื่อยเรื่อย ครับ
บางแง่มุม ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ผม ขอสงวนสิทธิ
ที่จะแย้งในส่วนที่เข้าใจต่างไป ไมใช่เพื่ออะไรอื่น
นอกไปเสียจาก ทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ
ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากนี้จริงจริง
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน