ตอบ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:51
ตอบ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:58
ราตรีสวัสดิ์ ขอให้เพลินกับ นิทานสอนใจ
ค้างคาวเลือกพวก
ค้างคาวนั้นถือว่าตนก็มีปีกเหมือนนก เเละก็มีหูเหมือนสัตว์ อื่นทั่วๆ ไป
ดังนั้นเมื่อนกยกพวกไปต่อสู่กับสัตว์อื่นๆ ค้างคาวก็ขอตัวไม่ เข้าข้างฝ่ายใดโดยทำตัวเป็นกลาง
เเต่เมื่อพวกของนกมีท่าทีว่าจะชนะ ค้างคาวก็ประกาศตัว ไปเข้ากับฝ่ายนก
ต่อมาพวกนกจะพลาดท่าเสียทีเเก่สัตว์อื่นๆ ค้างคาวก็ผละ จากนกไปเข้าพวกกับสัตว์อื่นๆ
ต่อมานกต่อสู้จนใกล้จะได้ชัย ค้างคาวก็กลับมาอยู่ข้างฝ่ายพวก นกอีก
เมื่อนกกับสัตว์อื่นๆ ทำสัญญาสงบศึกเเละเป็นมิตรต่อกัน ทั้งสองต่างก็ขับไล่ค้างคาว ไม่ยอมให้เข้าพวกด้วย
ค้างคาวอับอายจึงไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำ จะออกจากถ้ำไปหา อาหาร ในตอนกลางคืนเท่านั้น
ผู้ที่ขาดความจริงใจ ไม่มีใครอยากคบหาด้วย
ตอบ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:21
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:17
ขอบคุณคุณ Chaidan ที่เอาเพลงเพราะๆมาฝาก แม่มะนาวเห็นชื่อนักดนตรี ชื่อสุวิชาน จากจังหวัดเชียงใหม่ ไม่แน่ใจว่าเป็นกลุ่มเดียวกับที่เคยฟังในรายการนึง ไม่แน่ใจว่าเป็น Thai Pbs หรือเปล่า คือจะมีรายการนึงที่นำเอาศิลปิน มาออกรายการ มีวงนึงที่แม่มะนาวชอบมาก เป็นเพลงทางเหนือ นำมาร้องฟังแล้วไม่เชิงเป็นภาษาเชียงใหม่ ใช้แบ็คกราวด์ เป็นวัดดนตรี แบบชนเผ่า เพราะมากค่ะ อยากฟังอีก ไม่แน่ใจว่าเป็นตอนน้องน้ำมาเยี่ยม แล้ว แม่มะนาวต้องพาลูกๆ(หมา) หนีไปอยู่ ตจว. ขอบคุณมากค่ะ ถ้าหาเจอ จะเอามาฝากคุณ Chaidan ถึงที่บ้านเลยค่ะ
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:23
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:08
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:38
คานธี เป็นบุคคลที่ นานาชาติ พิศวงงงงวยต่อวิธีการ ท้าทายการปกครองอินเดียของอังกฤษในสมัยนั้น
ในปี 1922 คานธีได้พูดไว้ ระหว่างการถูกสอบสวนด้วยข้อหา ปลุกระดมว่า “สันติวิธี คือ ข้อแรกแห่งศรัทธาของข้าพเจ้า อีกทั้งเป็นข้อสุดท้ายในความเชื่อของข้าพเจ้าด้วย”
เมื่อ 2 มกราคม 1930 คานธีได้ มี จดหมายถึง ลอร์ด เออวิน ข้าหลวงใหญ่แห่งอังกฤษ เพื่อประกาศเจตนา อารยะขัดขืน โดยพุ่งเป้าไปที่ ภาษีเกลือ
นับแต่ ศตวรรษ ที่ 18 อังกฤษ มีรายได้สำคัญจากภาษีที่ได้ มาจาก การผลิตและขายเกลือของอินเดีย บางครั้งอังกฏษเก็บภาษีเกลือ ในอัตราที่สูงมากจน กระทั่ง คนยากจนในอินเดีย ไม่สามารถซื้อเกลือ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานต่อชีวิตได้ อีกทั้งกฎหมายเกลือเป็น กฎหมายที่แสดงให้เห็นได้อย่าง ชัดเจนถึงการ ดูถูก ดูหมิ่น เหยียดหยาม คนอินเดียอย่างทีสุด ที่การผลิตเกลือใช้เอง จากทรัพยากรธรรมชาติของตัวเอง กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ในทางการเมือง กฎหมายเกลือเป็นสัญญลักษณ์ที่เด่นชัดของชาวอินเดียที่ไม่ได้ครอบครอง สิ่งที่มาจากแผ่นดินของตนเอง
ในวันที่ 12 มีนาคม 1930 ทั่วโลก เฝ้าจับตามองไปที่ คานธีและสาวก สัตยาเคราะห์เกือบแปดสิบคน ที่เริ่มต้นการเดินเท้าจากอาศรมใน อาเมดาบัด ไปยัง แหล่งผลิตเกลือที่ ดันดี ใกล้กับชายฝั่ง คุชราต เมื่อ คานธีได้มาถึงชายฝั่งที่ดันดี เขาได้ กอบดินและน้ำทะเลขึ้น มาเพื่อ แสดงถึงสัญลักษณ์ การปล่อยน้ำให้ระเหยกลายเป็นเกลือ และเขารู้ดีว่า นี้เป็นการฝ่าฝืนที่จะต้องถูกจับกุม และต่อมา ในเดือน พฤษภาคม 1930 คานธีก็ถูกจับกุม ขณะที่ การรณรงค์ อารยะขัดขืนได้แผ่กระจายกว้างออกไปแล้ว คนจำนวนมากสร้างตลาดมืด ซื้อ-ขาย เกลือหนีภาษี และมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอื่น ๆตามมา
การเดินเท้า สู่ ดันดีและการรณรงค์อารยะขัดขืน เป็นจุดสุดยอดของการประท้วงที่มีคนจำนวนมากมหาศาลได้เข้ามามีส่วนร่วม
ข้อความตอนหนึ่ง บนฝั่งแม่น้ำ สมาบาติ คานธีได้ แสดงสุนทรพจน์ ไว้ว่า
…. นี้เป็นไปได้ว่า อาจเป็นคำพูดสุดท้ายของข้าพเจ้า ณ ที่แห่งนี้……ข้าพเจ้า ใคร่เชื่อว่า กระแสแห่งการต่อต้านของพลเมืองนั้น จะหลั่งไหลมาอย่างไม่ขาดสาย แต่ขอจงอย่าให้มีสัญลักษณ์แห่งการแตกร้าวเลย แม้หลังจากข้าพเจ้าจะถูกจับกุมแล้วก็ตาม เราทุกคนล้วนร่วมกันต่อสู้ ด้วยสันติวิธี อย่าให้ใครทำผิดพลาดเพราะความโกรธ ตามที่ข้าพเจ้าหวังและตั้งใจไว้ ข้าพเจ้าปรารถนาให้ถ้อยคำของข้าพเจ้าเหล่านี้ ไปสู่ทุกแห่งหนบนแผ่นดินนี้ ………………………………………
พวกท่านอาจเลือก ที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อทำลายการผูกขาดเกลือ
เราอาจปฎิเสธที่จะจ่ายภาษี
Speeches That Changed the World by Simon Sebag Montefiore
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:00
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:43
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:51
ราตรีสวัสดิ์ สำหรับคืนนี้ค่ะ มีเหตุขัดข้องทางเทคนิค เครื่องดับไปสามรอบแล้ว
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:56
ฝากคุณ คน ฯ พี่เจอโดยบังเอิญจริงๆ
ตอบ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:59
ไม่ได้เจอกันนานมากเลย สบายดีนะคะ
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 13:31
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:21
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:33
มัวแต่จะรอดูงิ้วธรรมศาสตร์ ลืมเปิดเพลงปลุกใจเลย
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:41
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:58
คิดเสียว่า เพลงมันเพราะ แถมพระเอกก็หล่อ เลยอยากเป็นเหมือนกัน
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:10
นี่แอบไปเอา นกหวีดทองคำ คุณสุเทพ มาละซิ จำไม่ได้ว่าจะให้แก่คนที่เป่าใส่ใคร เหอ เหอ
ที่มา : เฟซบุคเสรีไทย
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:26
cr. คุณ นรอง จาก OKnation Blog
เนื่องจากอยู่ในโหมดการชุมนุม เวลาหารูปให้เข้ากะเพลงนี่ ต้องใช้แต่เพลงเก่าที่เคยเปิดแล้ว คุณจักรดีนะรู้จักเพลงเยอะมากจริงๆ
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:32
งิ้วธรรมศาสตร์นี่ เคยดูประเภทใกล้ชิดติดขอบก็ตอนบอลประเพณี ที่ มธ. เป็นเจ้าภาพ สนุกสุด
ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:11
ดูงิ้วธรรมศาสตร์ เพลินไปหน่อย เพราะหาดูยาก เปิดอีก สักเพลง แล้ว ราตรีสวัสดิ์เลยค่า
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 11:17
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:19
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:22
ปลุกใจกันทุกวัน เพื่อให้กำลังใจผู้ต่อสู้เพื่อชาติ
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:40
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:53
ประวัติศาสตร์ ชาติเราที่มีมาแต่โบราณ นั้นทรงคุณค่าเพียงใด และสิ่งนั้นจะคงอยู่ต่อไป
ตราบเท่าที่ใจของเรายังชื่นชมและช่วยกันรักษา
Edited by chackrapbong, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:08.
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:55
cr : Siriwanna Jill
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:58
...ลำนำแห่งเจ้าพระยา...
ล่องไปใน สายน้ำ และความหวัง
แว่วแว่วฟัง ฟองคลื่น ฟื้นคำขาน
หอมบุปผา ราตรี เมื่อคลี่บาน
ปลุกวิญญาณ เจ้าพระยา ขึ้นมาเยือน
คืนหนาวเย็น เพ็ญจันทร์ อันไพจิตร
เคลิ้มเคลิ้มคิด คล้ายคล้าย ภาพรายเลื่อน
ในฝันพร่า ฟ้าพริ้ม พิมพ์ดาวเดือน
มาตามเตือน ใจตื่น จนตื้นตัน
ภาพวัดวา อาราม ตามริมฝั่ง
พระปรางค์ตั้ง ตรงสู่ ประตูสวรรค์
เสมือนถูก ทอดทิ้ง ให้นิ่งงัน
คอยคืนวัน เวลา มาทำลาย
โอ้ เมืองพุทธ ศาสนา เคยปรากฏ
รุ่งเรืองรส ธรรมรัตน์ จรัสฉาย
อย่าได้เป็น เช่นคำ พุทธทำนาย
ขอเห็นชาย ผ้าเหลือง พระเรืองรอง
ภาพคืนที่ ลอยกระทง ทรงประทีป
สว่างชีพ ชื่นชม เชิญลมล่อง
สวยกระทง อธิษฐาน ส่งธารทอง
เดือนสิบสอง แสงเดือน งามเตือนใจ
นี่นับวัน จะวังเวง เพลงเรือเห่
เสื่อมเสน่ห์ ประเพณี ศรีสมัย
เพลงดอกสร้อย สักวา ฝากอาลัย
จะเลือนไกล ไปจนสุด อยุธยา
ภาพวังเวียง เรียงตลอด ยอดปราสาท
สวยประกาศ ศิลปกรรม อันล้ำค่า
โอ้ สยาม งามระยับ รองรับฟ้า
ภาวนา อย่าให้ยับ เพราะรับคน
ล้วนต่างเชื้อ ต่างชาติ ศาสนา
ต่างภาษา แทรกสลับ มาสับสน
ความโอ่อ่า อารยะ ที่ปะปน
จะซึมจน สายเลือด ไทยเหือดลง
โอ้ เพลงแห่ง ความห่วง ความหวงแหน
จงกล่อม แผ่นดินสยาม พ้นความหลง
ร่ายมนต์รัก แรงร่วม รวมเผ่าพงษ์
ให้มั่นคง สามัคคี เหมือนสี่แคว..
ริ้วเส้นไหม สายหมอก ระลอกเรื่อย
ลมหนาวเฉื่อย โชยน้ำค้าง คลี่ร่างแห
ห่มหัวใจ เจ้าพระยา..หรี่ตาแล
ความเปลี่ยนแปร เป็นไป อย่างใจเย็น
อ.วรา จันทกูล
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:34
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:43
ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:03
cr : Chanokporn Yomsung
Edited by lazylemon, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:05.
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 6 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน