Jump to content


Photo

สิ่งที่ยังคงอยู่....


  • Please log in to reply
7224 ความเห็นในกระทู้นี้

#6501 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 24 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:31



#6502 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:50

สวัสดีคืนวันอาทิตย์
 
การระลึกถึงความตาย
ทำให้เราเห็นคุณค่าของชีวิตชัดขึ้น
ชีวิตเราสั้น ชีวิตเราไม่แน่นอน
ในเวลาที่ยังเหลืออยู่
ควรจะทำอย่างไร
มันจึงดีที่สุด
 
ที่มา : ตามความเป็นจริง
ชยสาโร ภิกขุ
 
 
"ทุกข์ร้อนจะพลันสลายทุกข์ภัยจะไม่อาจแผ้วพาน"


#6503 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:57

ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ
 
ในชั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า
 
๑.  คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป็นทุกข์ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้นแหละ คือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง
 
๒.  พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธครอบงำ มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะ               ผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย แต่ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา

 

๓.  แรกจะโกรธนั้น ก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อนเหมือนมีควันก่อนจะเกิดไฟ พอความโกรธแสดงเดชทำให้คนดาลเดือดได้ คราวนี้ละ

     ไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคำไม่มีคารวะ

 

๔.  คนโกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญก็ได้ทั้งนั้น ลูกที่แม่เลี้ยงไว้จนได้ลืมตาทองดูโลกนี้ แต่มีกิเลสหนา

     พอโกรธขึ้นมาก็ฆ่าได้ แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น

 

๕.  กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ เคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี  ความโกรธก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้เป็นตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทาน

     ต่างๆ และชีวิตจริงก็มีมากมายและความพินาศ ไม่มีผลดีอะไรเลย จึงควรฆ่ามันทิ้งเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย

 

ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องมานอนเป็นทุกข์ ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่

            "ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้ว ไม่โศกเศร้าเลย"

 

พิจารณาโทษของความโกรธทำนองนี้แล้ว ก็น่าจะบรรเทาความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่สำเร็จก็ลองวิธีต่อไปอีก


Edited by lazylemon, 26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:59.


#6504 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 21:18

เวลาที่แม่มะนาวตบยุงตาย บาปไหม บาปซิ ก็ตั้งใจจะตบมันฐานมากัดแม่มะนาวตอนทีเผลอ อาจมีแถมโรคมาให้ด้วย เลยเจอตัวไหนตบไว้ก่อน ถึงไม่ใช่ตัวที่กัดเรา
ก็รู้นะ เลยพยายามอยู่ที่จะไม่ทำ คอยปัดๆเอา ลงทุนไปซื้อแซ่มาปัดเลย
 
แต่ขอถาม TO WHOM IT MAY CONCERN เวลาคุณเล็งปืนไปที่คนไม่มีทางต่อสู้ คุณมีเหตุผลอะไรงั้นหรือ คุณรู้จักเขาไหม เขาเคยเดินเหยียบตาปลาที่หัวแม่เท้าคุณ
หรือทำให้ชีวิตคุณลำบากล่มจม คุณถึงกล้าที่จะพรากชีวิตเขา จากคนที่เขารัก และรักเขา
 
โว้ย.....เด็กๆพ่อแม่ไม่กอดหรือไง หัวใจถึงมีแต่ความเกลียด ทำร้ายผู้อื่นได้


#6505 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:03

สวัสดีคืนวันจันทร์
 
ชีวิตเราเป็นกระแส
ไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้บงการเบื้องหลัง
เหมือนแม่น้ำ
ไม่ต้องมีผู้ควบคุมการไหลไปของน้ำ
ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
 
ที่มา : ตามความเป็นจริง
ชยสาโร ภิกขุ
 
 
"ในหลวงของแผ่นดิน"


#6506 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:08

ขั้นที่ ๓. นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

 

          ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่วไป แต่ละคนๆ ย่อมมีข้อดีบ้างข้อเสียบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง จะหาคนดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่องเลย คงหาไม่ได้หรือแทบจะไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดี
คนอื่นว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดี คนอื่นว่าดี เรื่องราว ลักษณะหรือการกระทำของคนอื่นที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของเขาอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา
 
          เมื่อจุดนั้นแง่นั้นของเขาไม่ดี ไม่ถูกใจเรา ทำให้เราโกรธ ก็อย่ามัวนึกถึงแต่จุดนั้นแง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงความดีหรือจุดอื่นที่ดีๆของเขา เช่น คนบางคน ความประพฤติ
ทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ หรือปากไม่ดี แต่ก็ไม่ได้ประพฤติเกะกะระรานทำร้ายใคร
 
          บางคนแสดงออกทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือการแสดงออกทางกายเหมือนไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรือไม่ก็อาจพูดจามีเหตุมีผล หรือบางคนปากร้ายแต่ใจดี หรือ
สัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยดี แต่เขาก็รักงานตั้งใจทำหน้าที่ของเขาดี หรือคราวนี้เขาทำอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ความดีเก่าๆ เขาก็มี เป็นต้น
 
          ถ้ามีอะไรขุ่นใจกับเขา ก็อย่าไปมองส่วนที่ไม่ดี พีงมองหาส่วนที่ดีของเขาเอาขึ้นมาระลึกนึกถึง ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะให้มองเอาจริงๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า
โธ่! น่าสงสาร ต่อไปคนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่างๆ เพราะความประพฤติไม่ดีอย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น พึงระงับความโกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน
 
ถ้าคิดอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ลองวิธีขั้นต่อไปอีก


#6507 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:17



#6508 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 22:08

kj.JPG


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6509 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 22:09

SHut1.gif


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6510 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 - 16:02

winechalerm.jpg


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6511 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:14

ชวนกินไวน์แต่เย็นเลย ขอดึกกว่านี้ได้ไหม จะได้คิกคัก (พิมพ์ถูกแล้ว ไม่ใช่ คึกคัก)

 

เง้อ.....เพิ่งสังเกตุเห็นยี่ห้อ พี่มะนาวขอบายละกันค่ะ


Edited by lazylemon, 28 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:24.


#6512 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:26

สวัสดีคืนวันอังคาร
 
ความสะอาด พึงทราบด้วยถ้อยคำสำนวน
Purity can be known from the words expressed.
 
 
ที่มา : "อมฤตพจนา"  
พุทธศาสนสุภาษิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
 
 
 
"ทรงเป็นที่รักและที่พึ่งพิงให้เราแสนนาน"


#6513 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:32

ขั้นที่ ๔. พิจารณาว่า ความโกรธคือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู
 
          ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและความพินาศวอดวายแก่กันและกัน คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศให้แก่ตัวเองได้ตั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรู
ไม่ต้องทำอะไรให้ลำบากก็ได้สมใจของเขา เช่น 
 
          ศัตรูปรารถนาว่า "ขอให้มัน (ศัตรูของเขา) ไม่สวยงาม มีผิวพรรณไม่น่าดู"  หรือ "ขอให้มันนอนเป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันเสื่อมทรัพย์สมบัติ ขอให้
มันเสื่อมยศ ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้ตายไปตกนรก" เป็นต้น
 
          เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะทำผลร้ายเช่นนี้ให้เกิดแก่ตนเองตามปรารถนาของศัตรูของเขา ด้วยเหตุนี้ ศัตรูที่ฉลาดจึงมักหาวิธีแกล้งยั่วให้ฝ่ายตรงข้ามโกรธ
จะได้เผลอสติทำการผิดพลาดเพลี่ยงพล้ำ
 
          เมื่อรู้เท่าทันเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทำร้ายตนเองด้วยความโกรธให้ศัตรูได้สมใจเขาโดยไม่ต้องลงทุนอะไร ในทางตรงข้าม ถ้าสามารถครองสติได้ ถึงกระทบอารมณ์ที่น่าโกรธ
ก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ผิดเพี้ยน ทำการงานธุระของตนไปได้ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาดีต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็นทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเราประโยชน์
ที่ต้องการก็จะสำเร็จ ไม่มีอะไรเสียหาย อาจสอนตัวเองต่อไปอีกว่า
 
"ถ้าศัตรูทำทุกข์ให้ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดทำทุกข์ให้ที่ใจของตัวเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายของศัตรูสักหน่อยเลย"
 
"ความโกรธ เป็นตัวตัดรากความประพฤติดีงามทั้งหลายที่เจ้าตั้งใจรักษา เจ้ากลับไปพะนอความโกรธนั้นไว้ ถามหน่อยเถอะ ใครจะเซ่อเหมือนเจ้า" 
 
"เจ้าโกรธว่าคนอื่นทำกรรมที่ป่าเถื่อน แล้วไยตัวเจ้าเองจึงมาปรารถนาจะทำกรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า"
 
"ถ้าคนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้ แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยทำให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นมาได้เล่า"
 
"แล้วนี่ เจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว จะทำทุกข์ให้เขาได้หรือไม่ก็ตาม แต่แน่ๆเดี๋ยวนี้เจ้าก็ได้เบียดเบียนตัวเองเข้าแล้ว ด้วยความทุกข์ใจเพราะโกรธนั่นแหละ"
 
"หรือถ้าเจ้าเห็นว่า พวกศัตรูขึ้นเดินไปในทางของความโกรธอันไร้ประโยชน์แล้ว ไฉนเจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาเสียอีกล่ะ"
 
"ศัตรูอาศัยความแค้นเคืองใด จึงก่อเหตุไม่พึงใจขึ้นได้ เจ้าจงตัดความแค้นเคืองนั้นเสียเถิด จะมาเดือดร้อนด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องไปทำไม"
 
จะพิจารณาถึงขั้นปรมัตถ์ก็ได้ว่า
"ขันธ์เหล่าใดก่อเหตุไม่พึงใจแก่เจ้า ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายเป็นไปเพียงชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้าจะมาโกรธให้ใครกันในโลกนี้"
 
"ศัตรูจะทำทุกข์ให้แก่ผู้ใด ถ้าไม่มีตัวตนของผู้นั้นมารับทุกข์ ศัตรูนั้นจะทำทุกข์ให้ใครได้ ตัวเจ้าเองนั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์อยู่ฉะนี้ แล้วทำไมจะไปโกรธเขาเล่า"
 
ถ้าพิจารณาอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ก็ลองพิจารณาขั้นต่อไป

Edited by lazylemon, 28 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:33.


#6514 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:37



#6515 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 29 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:12

สวัสดีคืนวันพุธ
 
ควรรู้คุณ และตอบแทนคุณเป็นพื้นฐาน
ทำประโยชน์ให้ผู้อื่น ก็จะเกิดประโยชน์กับตนเอง
 
 
cr : 108 วาทะแห่งความสุข
 
 
"ตั้งแต่เล็ก จนโตจำได้ทุกอย่าง"


#6516 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 29 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:16

ขั้นที่ ๕. พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน 
 
พึง พิจารณาว่า ทั้งเราและเขาต่างมีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำกรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่าเราโกรธแล้วไม่ว่าจะทำอะไร การกระทำ
ของเรานั้นเกิดจากโทสะซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ และเราจะต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป
 
อนึ่ง เมื่อเราจะทำกรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนเราจะทำร้ายเขา เราก็ทำร้ายแผดเผาตัวเราเองเสียก่อนแล้ว เหมือนเอามือทั้งสองกอบถ่านไฟจะขว้างใส่คนอื่น ก็ไหม้มือ
ของตัวก่อน หรือเหมือนกับเอามือกอบอุจจาระจะไปโปะใส่เขา ก็ทำตัวนั่นแหละให้เหมือนก่อน
 
เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมฝ่ายตนเองแล้ว ก็พิจารณาฝ่ายเขาบ้างในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาโกรธเขาจะทำกรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็จะต้องรับผลกรรม
ของเขาเองต่อไป กรรมชั่วนั้น จะไม่ช่วยให้เขาได้รับผลดีมีความสุขอะไร มีแต่ผลร้ายเริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้นไป
 
ในเมื่อต่างคนต่างก็มีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลกรรมของตนเองอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าทำแต่กรรมที่ดีไปเถิด
 
ถ้าพิจารณากรรมแล้ว  ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงพิจารณาขั้นต่อไป


#6517 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 29 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:25



#6518 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 30 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:52

สวัสดีคืนวันพฤหัสบดี
 
"คนชั้นสูงใส่ใจในธรรม 
คนชั้นกลางใส่ใจในงาน
คนชั้นต่ำแก่งแย่งชื่อเสียงและผลประโยชน์"
 
 
(จากสักที่จำไม่ได้แล้ว)
 
 
"ใต้ร่มพระบริบาล สุขสราญด้วยความร่มเย็น"

Edited by lazylemon, 30 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:54.


#6519 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 30 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:05

ขั้นที่ ๖. พิจารณาพระจริยวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า
 
พระพุทธเจ้าของเรานั้น กว่าจะตรัสรู้ ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายมาตลอดเวลายาวนานนักหนา ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยยอมเสียสละแม้แต่
พระชนมชีพของพระองค์เอง เมื่อทรงถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการต่างๆก็ไม่ทรงแค้นเคือง ทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาด
พยายามปลงพระชนม์ ก็ไม่ทรงมีจิตประทุษร้าย บางครั้งพระองค์ช่วยเหลือเขา แทนที่เขาจะเห็นคุณเขากลับทำร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ
ทรงทำดีต่อเขาต่อไปพุทธจริยาเช่นที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปยากที่จะปฏิบัติได้ แต่ก็เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งชาวพุทธควรจะนำมาระลึกตักเตือนสอนใจตน
ในเมื่อประสบเหตุการณ์ต่างๆว่า ที่เราถูกกระทบกระทั่งอยู่นี้ เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าทรงประสบมาแล้ว นับว่าเล็กน้อยเหลือเกิน เทียบกันไม่ได้เลย
 
ในเมื่อเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประสบนั้น ร้ายแรงเหลือเกิน พระองค์ยังทรงระงับความโกรธไว้ มีเมตตาอยู่ได้ แล้ว เหตุไฉนกรณีเล็กน้อยอย่างของเรานี้
ศิษย์อย่างเราจะระงับไม่ได้ ถ้าเราไม่ดำเนินตามพระจริยาวัตรของพระองค์ก็น่าจะไม่สมควรแก่การที่อ้างเอาพระองค์เป็นพระศาสดาของตน พุทธจริยาวัตร
เกี่ยวกับความเสียสละอดทน และความมีเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า อย่างที่ท่านบันทึกไว้ในชาดก มีมากมายหลายเรื่อง และส่วนมากยืดยาว ไม่อาจนำมาเล่า
ในที่นี้ได้ จะขอยกตัวอย่างชาดกง่ายๆสั้นๆ มาเล่าพอเป็นตัวอย่าง
 
ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้ามหาสีลวะ ครั้งนั้นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ทำความผิด ถูกเนรเทศ และได้เข้าไป
รับราชการในพระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล อำมาตย์นั้นมีความแค้นเคืองติดใจอยู่ ได้ให้โจรคอยเข้ามาปล้นในดินแดนของพระเจ้าสีลวะอยู่เนืองๆ เมื่อราชบุรุษ
จับโจรได้ พระเจ้าสีลวะทรงสั่งสอนแล้วก็ปล่อยตัวไป เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ
 
ในที่สุดอำมาตย์ร้ายนั้นก็ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ยุยงพระเจ้าโกศลว่าพระเจ้าศีลวะอ่อนแอ ถ้ายกทัพไปรุกราน คงจะยึดแผ่นดินพาราณสีได้โดยง่าย พระเจ้าโกศล
ทรงเชื่อ จึงยกกองทัพไปเข้าโจมตีพาราณสีพระเจ้าสีลวะไม่ทรงประสงค์ให้ราษฏรเดือดร้อน จึงไม่ทรงต่อต้าน ทรงปล่อยให้พระเจ้าโกศลยึดราชสมบัติจับ
พระองค์ไป พระเจ้าโกศลจับพระเจ้าสีลวะได้แล้ว ก็ให้เอาไปฝังทั้งเป็นในสุสานถึงแค่พระศอ รอเวลากลางคืนให้สุนัขจิ้งจอกมากินตามวิธีประหารอย่างในสมัยนั้น
 
ครั้นถึงเวลากลางคืน เมื่อสุนัขจิ้งจอกเข้ามา พระเจ้าสีลวะทรงใช้ไหวพริบและความกล้าหาญ เอาพระทนต์ขบที่คอสุนัขจิ้งจอกตัวที่เข้ามาจะกัดกินพระองค์
เมื่อสุนัขนั้นดิ้นรนรุนแรงทำให้สุนัขตัวอื่นหนีไป และทำให้ดินบริเวณหลุมฝังนั้นกระจุยกระจายหลวมออก จนทรงแก้ไขพระองค์หลุดออกมาได้ ในคืนนั้นเอง
ทรงเล็ดลอดเข้าไปได้จนถึงห้องบรรทมของพระเจ้าโกศล พร้อมด้วยดาบอาญาสิทธิ์ของพระเจ้าโกศลเอง ทรงไว้ชีวิตพระเจ้าโกศล และพระราชทานอภัยโทษ
เพียงทรงกู้ราชอาณาจักรคืน แล้วให้พระเจ้าโกศลสาบานไม่ให้ทำร้ายกัน ทรงสถาปนาให้เป็นพระสหายแล้วให้พระเจ้าโกศลกลับไปครองแคว้นโกศลตามเดิม
 
อีกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นวานรใหญ่อยู่ในป่า ครานั้นชายผู้หนึ่งตามหาโคของตนเข้ามาในกลางป่าแล้วพลัดตกลงไปในเหวขึ้นไม่ได้ อดอาหารนอนแขม่ว
สิ้นหวังสิ้นแรง พอดีในวันที่สิบพญาวานรมาพบเข้า เกิดความสงสาร จึงช่วยให้ขึ้นมาจากเหวได้ 
 
ต่อมา เมื่อพญาวานรซึ่งเหนื่อยอ่อนจึงพักผ่อนเอาแรง และนอนหลับไป ชายผู้นั้นเกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นว่า "ลิงนี้มันก็อาหารของคน เหมือนสัตว์ป่าอื่นๆนั่นแหละ
อย่ากระนั้นเลย เราก็หิวแล้ว ฆ่าลิงตัวนี้กินเสียเถิด กินอิ่มแล้วจะได้ถือเอาเนื้อมันติดตัวไปเป็นเสบียงด้วย จะได้มีของกินเดินทางผ่านที่กันดารไปได้"  คิดแล้วก็หา
ก้อนหินใหญ่มาก้อนหนึ่ง ยกขึ้นทุ่มหัวพญาวานร ก้อนหินนั้นทำให้พญาวานรบาดเจ็บมาก แต่ไม่ถึงตาย
 
พญาวานรตื่นขึ้นรีบหนีขึ้นต้นไม้ มองชายผู้นั้นด้วยน้ำตานองแล้วพูดกับเขาโดยดี ทำนองให้ความคิดว่า ไม่ควรทำเช่นนั้น ครั้นแล้วยังเกรงว่าชายผู้นั้นจะหลง
หาทางออกจากป่าไม่ได้ ทั้งที่ตนเองก็เจ็บปวดแสนสาหัส ยังช่วยโดดไปตามต้นไม้ นำทางให้ชายผู้นั้นออกจากป้าไปได้ในที่สุด
 
แม้พิจารณาถึงอย่างนี้แล้ว  ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงลองพิจารณาวิธีต่อไป


#6520 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 30 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:12



#6521 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 30 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:14



#6522 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 30 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:17



#6523 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 30 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:19



#6524 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:52

สวัสดีคืนวันศุกร์
 
"ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มี ศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์"
 
cr : 108 วาทะแห่งความสุข
 
 
"แผ่นดินนี้คือบ้าน คือแดนสวรรค์ แสนสุขใจ"


#6525 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:57

ขั้นที่ ๗. พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
 
          มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งว่า ในสังสาระ คือ "การเวียนว่ายตายเกิดที่กำหนดจุดเริ่มต้นมิได้นี้ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา 
ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน มิใช่หาได้ง่าย" เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร พึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็น
มารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา
 
          ท่านที่เป็นมารดานั้นรักษาบุตรไว้ในท้องถึง ๙ เดือน ครั้นคลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดู ไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น 
อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิทใจ ให้ลูกนอนแนบอกเที่ยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้  
 
         ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก็ต้องเดินทางลำบากตรากตรำ เสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบในสงครามบ้าง
แล่นเรือไปในท้องทะเลบ้าง ทำงานยากลำบากอื่นๆบ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาก็ด้วยคิดจะเลี้ยงลูกน้อย
 
         ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจเป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติเป็นมิตร ซึ่งได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่จะ
ทำร้ายและแค้นเคืองต่อบุตคคลเช่นนั้นไม่เป็นการสมควร
 
ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้ว  ก็ยังไม่หายโกรธ ก็พิจารณาตามวิธีในข้อต่อไปอีก


#6526 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:58



#6527 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:00



#6528 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 00:22

reform.gif


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6529 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 00:46

my vote.jpg


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6530 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 11:52

จวนครบเจ็ดวันแล้วยังเนี่ยที่หลวงพี่กีรเต้ บอกว่าจะไม่เข้าบอร์ดนี้ เหงาเล็กๆ ตามประสาคนสูงวัยด้วยกัน  ตั้งแต่หลวงพี่ไปบวช ก็มีครั้งนี้แหละที่ได้สนทนากันบ้างทางหน้าจอ
วันนั้นแม่มะนาวไม่อยากพูดอะไรมากนัก เพราะใจกำลังโกรธ(มาก) แล้วขณะเดียวกัน แม่มะนาวก็นั่งพิมพ์ เรื่อง "ทำอย่างไรจะหายโกรธ" กรรมเลย ขืนไปโกรธเสียเอง เราจะมีหน้า
มาพิมพ์สอนเตือนใจตัวเองได้อย่างไร เลยต้องใช้วิธีที่เคยได้รับการสอนมา หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆปล่อยเอาความโกรธทิ้งออกไปด้วย มาบ่นในบ้านตัวเราเองดีก่า
เดี๋ยวจะโดนว่าคุยเรื่องไร้สาระห้องอื่น อิอิ 
 
แม่มะนาวอาจมองไปในอีกแบบ หรือจริงๆแล้วตัวเองเป็นคนอย่างนั้น คือชอบฟังคนอื่นคุยกัน ไม่ใช่ว่าสอดรู้สอดเห็น อายุขนาดนี้คงพอแยกแยะได้ว่าอะไรควรฟังหรือไม่ควร
แต่ขณะเดียวกันอายุขนาดนี้ก็ใช่ว่าจะรู้ไปเสียทุกอย่าง คนโบราณ(กว่าแม่มะนาว) เขาบอกว่า "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม" อย่างเรื่องใส่บาตร หรือการถวายปัจจัย ที่เราชาวพุทธทำกัน
เป็นประจำเป็นเรื่องที่เหมาะหรือไม่ ก็ทำให้ได้ความรู้ คนที่ยังไม่รู้ก็จะได้เข้าใจ และทำให้ถูกขึ้น ไม่เห็นจะเป็นเรื่องไร้สาระอันใด ถ้ามองอย่างใจกว้างๆ 
 
สมัยเรียนหนังสือตอนอยู่โรงเรียน อาจารย์จะมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่า เพิ่มความรู้นอกจากตำรา ใครจะรู้บ้างว่า Sport กับ Game แตกต่างกันอย่างไร เราก็ไม่หลับ และก็ได้รู้เพิ่มอีก
ใครเคยนั่งฟังเลคเช่อร์ที่มีแต่เนื้อหา วิชาเดียวติดกันสองคาบละจะซึ้งเลย มันต้องมีอะไรที่นอกเรื่อง (ไม่ใช่นอกลู่นอกทาง) เล่าบ้างไม่ให้นักศึกษาเบื่อ แถมเป็นวิชาเอกที่บังคับเรียนอีก
 
สิ่งที่แม่มะนาวมองเห็น คือการไม่รับฟังผู้อื่น อย่างนี้เราจะรณรงค์ปฏิรูปบ้านเมืองไปเพื่ออะไร เราว่ารัฐบาลทำอะไรๆตามอำเภอใจ (ทำไมไม่ใช่ตำบล ใครรู้บอกบ้าง) ปฏิรูปตัวเองก่อน
จะดีกว่าไหม เหมือนอย่างที่ลูกๆแม่มะนาวบอก เออ..จริงแฮะ ตอนที่เราอยู่สมัยคนเดือนตุลา เราก็คิดอย่างนี้ คำที่ว่า คนไทยใจดี ลืมง่าย นี่เป็นนิสัยของคนไทยจริงๆที่คงอยู่มานาน
แต่บางอย่างก็ไม่ควรคงไว้ เช่นลืมง่าย (อันนี้ไม่เกี่ยวกับวัย) ใครเคยสัญญาอะไร ก็ต้องรักษาคำพูด อย่าลืม อย่าลืม และอย่าลืม เป็นต้น   ถ้าได้อ่านที่หลวงพี่เขียน ท่านแทบจะปลีก
วิเวกมากๆ เพราะแม้กระทั่งพระสงฆ์ ก็ยังมีความคิดที่แตกต่างกัน ท่านก็ได้อาศัยบอร์ดนี้แหละ เป็นตัวเชื่อมความคิดเห็นที่ค่อนจะไปในทางเดียวกัน หลวงพี่ก็บอกว่าเสร็จ(ศึก) จากคราวนี้
ก็จะไปปฏิบัติธรรมต่อทางเหนือ แม่มะนาวคงไม่ได้อ่านสำนวนโวหารท่านไปอีกนานเนอะ
 
นอกเรื่องไปตามประสาคนแก่ขี้บ่น แค่อยากบอกว่า หลวงพี่ไม่อยู่บอร์ดเฉาไปเยอะ เนื้อหาที่มี แหม... ไม่อยากบอก  ฮ่า ฮ่า แม่มะนาวกด F5 บ่อยกว่าเดิม แต่มันเพิ่มมาทีละเมนท์ สองเมนท์
บางทีไม่มีเลย  ว๊า..แย่จัง


#6531 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:51

สวัสดีคืนวันเสาร์
 
"ผู้มีโอกาสสร้างกุศล คือ ผู้มีบุญ
  ผู้มีโอกาสทำความดี คือ ผู้มีความสุข"
 
cr : 108 วาทะแห่งความสุข
 
 
"มีทุกอย่างที่ดีเพราะใคร ฉันจะไม่ลืม"


#6532 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:54

ขั้นที่ ๘. พิจารณาอานิสงฆ์ของเมตตา
 
ธรรมะที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือเมตตา ความโกรธทีโทษ ก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด เมตตาก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสีย
แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทน ให้เมตตานั้นแหละช่วยกำจัด และป้องกันความโกรธไปในตัว ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด ไม่กลับแพ้
ผู้ตั้งอยู่ในเมตตา ชื่ว่าทำประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
 
เมตตาทำให้จิตใจสดชื่น ผ่องใส มีความสุข ดังตัวอย่างในที่แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ ประการ คือ
 
หลับก็เป็นสุข  ตื่นก็เป็นสุข  ไม่ฝันร้าย  เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย  เทวดารักษาไฟ พิษ และศัสตราไม่กล้ำกราย  จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้รวดเร็ว  สีหน้าผ่องใส  
ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน  เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สูงกว่า  ย่อมเข้าถึงพรหมโลก ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ ก็นับว่ายังอยู่ห่างไกลจากการที่จะได้อานิสงส์เหล่านี้
ดังนั้น จึงควรพยายามทำเมตตาให้เป็นธรรมประจำให้จงได้ โดยหมั่นฝึกอบรมทำใจอยู่เสมอๆ
 
ถ้าจิตใจเมตตายังไม่เข้มแข็งพอ เอาชนะความโกรธยังไม่ได้ เพราะสั่งสมนิสัยมักโกรธไว้ยาวนาน จนกิเลสตัวนี้แน่นหนา  พึงลองพิจารณาใช้วิธีต่อไป


#6533 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:57



#6534 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:58



#6535 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:59



#6536 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:00



#6537 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 23:08

เลือกข้าง.jpg


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6538 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 23:26

Untitled-1.jpg


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6539 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 11:54

Capture1.JPG


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6540 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 11:59


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6541 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 00:25

ปูโง่.gif


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#6542 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:45

สวัสดีคืนวันพุธ
 
"ปล่อยวางให้เป็น จึงจะแบกขึ้นมาใหม่ได้
  ผู้ที่ปล่อยวาง หรือแบกภาระได้อย่างสบายใจ
  คือ ผู้ที่มีความอิสระอย่างแท้จริง"
 
cr : 108 วาทะแห่งความสุข
 
 
"ในหลวงของแผ่นดิน หล่อรวมให้เม็ดดินทรายกลายเป็นแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่"


#6543 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:57

ขั้นที่ ๙. พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ
 
          วิธีการข้อนี้ เป็นการปฏิบัติใกล้แนววิปัสสนา หรือเอาความรู้ทางวิปัสสนามาใช้ประโยชน์ คือ มองดูชีวิตนี้ มองดูสัตว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ที่ถูกที่แท้แล้ว
ก็เป็นแต่เพียงส่วนประกอบทั้งหลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วก็สมมติเรียกกันไปว่า เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา เป็นนาย ก. นาง ข. เป็นต้น
 
          ครั้นจะชี้ชัดลงไปที่ตรงไหนว่าเป็นคน เป็นเรา เป็นนาย ก. นาง ข. ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง ธาตุเหลวบ้าง  เป็นรูปขันธ์บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง เป็นสัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ หรือวิญญาณขันธ์บ้าง หรือเป็นอายตนะต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น
 
          เมื่อพิจารณาตามความจริงแยกให้เป็นส่วนๆได้อย่างนี้แล้ว พึงสอนตัวเองว่า "นี่แน่ะเธอเอ๋ย ก็ที่โกรธเขาอยู่น่ะ โกรธอะไร โกรธผม หรือโกรธขน หรือโกรธหนัง โกรธเล็บ โกรธกระดูก
โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม หรือโกรธรูป  โกรธเวทนา โกรธสัญญา โกรธสังขาร โกรธวิญญาณ หรือโกรธอะไรกัน" ในที่สุดก็จะหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้
ไม่มีที่ยึดที่เกาะให้ความโกรธจับตัว
 
          อาจพิจารณาต่อไปในแนวนั้นอีกว่า ในเมื่อคนเรา ชีวิตเราเป็นแต่เพียงสมมตบัญญัติ ความจริงก็มีแต่ธาตุ หรือขันธ์ หรือนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ มาประกอบกันเข้า แล้วเราก็มาติด
สมมตินั้นยึดติดถือมั่นหลงวุ่นวายทำตัวเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดกันไป การที่มาโกรธ กระฟัดกระเฟียด งุ่นง่านเคืองแค้นกันไปนั้น มองลงไปให้ถึงแก่นสาร ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็เหลวไหล
ไร้สาระทั้งเพ ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหายตัวไปเอง
 
          อย่างไรก็ตาม คนบางคนจิตใจและสติปัญญายังไม่พร้อม ไม่อาจพิจารณาแยกธาตุออกไปอย่างนี้ได้ หรือสักว่าแยกไปตามที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านมา แต่มองไม่เห็นความจริงเช่นนั้น
ก็แก้ความโกรธไม่สำเร็จ
 
ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็พึงดำเนินการตามวิธีต่อไป

Edited by lazylemon, 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:01.


#6544 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:03



#6545 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:05



#6546 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:09



#6547 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:11



#6548 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:45

สวัสดีคืนวันพฤหัสบดี
 
สิ่งใดเป็นหน้าที่ กลับทอดทิ้งเสีย
ไพล่ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่
คนเหล่านั้นมัวชูตัวพองประมาทอยู่
ความหมักหมมภายในตัวเขา ก็พอกพูนยิ่งขึ้น
 
Within those who, being arrogant and heedless, 
neglect their own duty,
but do what is not their own duty instead,
the taints only increase.
 
 
ที่มา : "อมฤตพจนา"  
พุทธศาสนสุภาษิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
 
 
 
"หยดน้ำหยาดเหงื่อพระองค์หยดลงที่ไหน"


#6549 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:51

ขั้นที่ ๑๐. ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ
 
          ขั้นนี้เป็นวิธีการในขั้นลงมือทำ เอาของของตนให้แก่คนที่เป็นปรปักษ์ และรับของของปรปักษ์มาเพื่อตน หรืออย่างน้อยอาจให้ของของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยวาจา
คือถ้อยคำสุภาพไพเราะประกอบเสริมไปด้วยการให้หรือการแบ่งปันนี้ เป็นวิธีแก้ความโกรธที่ได้ผลชะงัด สามารถระงับเวรที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร เป็นเมตตากรุณา
ที่แสดงออกในการกระทำ
 
          ท่านกล่าวถึงอานุภาพยิ่งใหญ่ของทานคือการให้นั้นว่า "การให้เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังฝึกไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาหาด้วยการให้ ฝ่ายผู้ได้รับก็น้อม
ลงมาพบด้วยปิยวาจา"
 
          เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใครก็เข้ามาแทน ความเป็นศัตรูกลับกลายเป็นมิตร ไฟพยาบาทก็กลายเป็นน้ำทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ที่เร้ารุมใจ ก็กลายเป็น
ความสดชื่นผ่องใสเบิกบานใจด้วยความสุข
 
          วิธีทั้ง ๑๐ ที่ว่ามาเป็นขั้นๆนี้ ความจริงมิใช่จำเป็นต้องทำไปตามลำดับเรียงรายข้ออย่างนี้ วิธีใดเหมาะได้ผลสำหรับตน ก็พึงใช้วิธีนั้น ตกลงว่า "วิธีการท่านก็ได้แนะนำไว้อย่างนี้แล้ว
เป็นเรื่องของผู้ต้องการแก้ปัญหา จะพึงนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แท้จริงต่อไป"

Edited by lazylemon, 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:52.


#6550 lazylemon

lazylemon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,344 posts

ตอบ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 11:25

มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า
และทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต หลังจากทีได้มีข้อถกเถียงกันอย่างยืดเยื้อมานานถึงสิบสองปี  องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล
ซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการ มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง
 
มงคลที่ ๑๖.การประพฤติธรรม
 
การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี.
 
การประพฤติธรรม คือ การประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดี ทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตนให้ดีสมกับที่เกิดเป็นคนและให้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง  
เราจะเห็นได้ว่า การประพฤติธรรมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นมงคลที่ ๑๖ ก่อนมงคลที่ ๑๗ และ ๑๘ คือ การสงเคราะห์ญาติ และการทำงานไม่มีโทษ
 
เหตุที่พระองค์ทรงวางลำดับมงคลว่าด้วยการประพฤติธรรมไว้ตรงนี้ก็เพราะในการสงเคราะห์ญาติและการทำงานไม่มีโทษ ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น เราต้องมีการทำงาน
ติดต่อกับคนจำนวนมาก ซึ่งมีอัธยาศัยต่างๆกันไป ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีแล้ว โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันก็มีมาก โอกาสที่เราจะทำให้งานเสียเพราะขาดความเป็นธรรมก็มีมากเช่นกัน
ดังนั้น ก่อนทำงานเพื่อส่วนรวมจึงต้องประพฤติธรรม เพื่อเป็นการปรับปรุงตนให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งได้แก่
การประพฤติปฏิบัติตน ๒ ลักษณะควบคู่กันไป ได้แก่
 
๑.   ประพฤติเป็นธรรม 
๒.   ประพฤติตามธรรม
 
ประพฤติเป็นธรรม คือ มีความเที่ยงธรรม มีความยุติธรรม ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมนั้น ขึ้นอยู่กับหลักธรรมอย่างหนึ่ง คือ “ความยุติธรรม” สังคมใดก็ตามแม้
จะมีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์มั่นคั่งบริบูรณ์ แต่ถ้าขาด “ความยุติธรรม” เสียอย่างเดียว สังคมนั้นก็จะมีแต่ความเดือดร้อยวุ่นวาย
 
       เพราะขาดความยุติธรรม ครอบครัวจึงแตกสลาย
       เพราะขาดความยุติธรรม บ้านเมืองจึงเกิดปฏิวัติรัฐประหาร
       เพราะขาดความยุติธรรม สงครามระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้น
 
ความยุติธรรม คือ การกระทำที่ชอบด้วยเหตุผลนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกหนทุกแห่ง มีบางคนเข้าใจว่า ความยุติธรรมเป็นเรื่องมาจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้ให้ ตนเป็นผู้รับ
ความเข้าใจเช่นนี้ผิด อันที่จริงความยุติธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องให้แก่กัน  เราจึงต้องฝึกตนเองให้เป็นคนที่ปฎิบัติต่อผู้อื่นอย่างชอบด้วยเหตุผลมีความยุติธรรมไม่ลำเอียง
เพราะ อคติ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
 
๑.  ไม่ลำเอียงเพราะรัก ไม่เห็นแก่หน้า ข้อนี้รวมถึงการไม่เป็นคนโลภ ไม่รักทรัพย์สมบัติมากจนยอมเสียความเป็นธรรม
๒.  ไม่ลำเอียงเพราะชัง คือ ถึงจะเกลียดหรือไม่ชอบใครเป็นเรื่องส่วนตัว ก็ไม่นำมาปนกับงานซึ่งเป็นเรื่องส่วนรวม หากเขาทำความดีก็ต้องปูนบำเหน็จรางวัลให้เช่นเดียวกับคนอื่น
ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
๓.  ไม่ลำเอียงเพราะหลง คือ เป็นคนมีปัญญา หูตากว้างไกล รู้เท่าทันคน 
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัวภัย คือ มีใจอาจหาญไม่หวั่นไหว ไม่เกรงอิทธิพลมือใดๆ ถึงจะถูกขู่ทำร้าย ก็ไม่ยอมเสียความเป็นธรรม เพราะมีความรักธรรมย่องกว่าชีวิต
 
       คุณสมบัติทั้ง ๔ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องมี มิฉะนั้นโลกนี้ก็จะวุ่นวาย โดยเฉพาะผู้นำทุกท่านจะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตนจนเต็มที่  “ผู้ใดไม่ละเมิดความยุติธรรม  
เพราะความรักความชัง ความโง่เขลาและความกลัว  เกียรติคุณ เกียรติยศ เกียรติศักดิ์  ของผู้นั้นย่อมเด่นดุจดวงจันทร์  เปล่งแสงสว่างในข้างขึ้นทุกค่ำคืน”
 
 (พุทธพจน์)
 
ประพฤติตามธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ฝึกฝนอบรมตนเองให้คุณธรรมในตัวสูงขึ้นประณีตขึ้นตามลำดับ ได้แก่ การปฏิบัติ
ตามหลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้
 
กายสุจริต
๑.  เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าผู้มีพระคุณ ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าสัตว์ที่มีคุณ และฆ่าสัตว์อื่นๆ
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนรู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยวิธีฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเสีย เพราะการฆ่านั้น ผู้ฆ่าย่อมเกิดความทารุณโหดร้ายขึ้นในใจ ทำให้
ใจเศร้าหมองและตนก็ต้องรับผลกรรมต่อไปเป็นการแก้ปัญหาซึ่งจะสร้างปัญหาอื่นๆ ต่อมาโดยไม่จบสิ้น ต้องคอยหวาดระแวงว่า ญาติพี่น้องเขาจะมาทำร้ายตอบ
 
๒.  เว้นจากการลักทรัพย์ คือ ไม่แสวงหารายได้โดยทางทุจริต เช่น
ลัก  = ขโมยเอาลับหลัง
ฉก  = ชิงเอาซึ่งหน้า
กรรโชก  = ขู่เอา
ปล้น  = รวมห้วกันแย่งเอา
ตู่  = เถียงเอา
ฉ้อ  = โกงเอา
หลอก  = ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วให้ทรัพย์
ลวง  = เบี่ยงบ่ายลวงเขา
ปลอม  = ทำของที่ไม่จริง
ตระบัด  = ปฏิเสธ
เบียดบัง  = ซุกซ่อนเอาบางส่วน
สับเปลี่ยน = แอบเปลี่ยนของ
ลักลอบ  = แอบนำเข้าหรือออก
ยักยอก  = เบียดบังเอาของในหน้าที่ตน
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่ม ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงคืน
 
๓.  เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่กระทำผิดในทางเพศไม่ลุอำนาจแก่ความกำหนัด เช่น การทำชู้กับสามีภรรยาคนอื่น การข่มขืน การฉุดคร่าอนาจาร
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องให้ทุกคนมีจิตใจสูง เคารพในสิทธิ์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
 
วจีสุจริต
๑.  เว้นจากการพูดเท็จ คือ ต้องไม่เจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการทำเท็จให้คนอื่นหลงเชื่อรวม ๗ วิธีด้วยกัน คือ
พูดปด  = โกหกซึ่งๆหน้า
ทนสาบาน = ทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด
ทำเล่ห์กระเท่ห์ = ทำทีอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ของตนเกินเหตุ
มารยา  = เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก
ทำเลศ  = ทำทีให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง
เสริมความ = เรื่องนิดเดียวทำให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่
อำความ  = เรื่องใหญ่ปิดบังไว้ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย
 
การเว้นจากพูดเท็จต่างๆเหล่านี้ หมายถึง
       -   ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งตน กลัวภัยจะมาถึงตน จึงโกหก
       -   ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น รักเขา อยากให้เขาได้ประโยชน์ จึงโกหกหรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์ จึงโกหก
       -   ไม่ยอมพูดเท็จ เพราะเห็นแก่อามิสสินบน เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ จึงโกหก
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคน มีความสัตย์จริงกล้าเผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ
 
๒.  เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ ไม่เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน หรือให้เขารักตน กล่าวแต่ถ้อยคำอัน
แสดงคุณค่าของความสามัคคี
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ทำให้หมู่คณะสงบสุข สามัคคี
 
๓.  เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ ไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกินความระคายใจ ครูดหู และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่
คำด่า  = พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดให้ต่ำ
คำประชด = พูดยกจนลอย
คำกระทบ = พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด
คำแดกดัน = พูดกระแทกกระทั้น
คำสบถ  = พูดแช่งชักหักกระดูก
คำหยาบโลน = พูดคำที่สังคมรังเกียจ
คำอาฆาต = พูดให้หวาดกลัวว่าจะถูกทำร้าย
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนเป็นสุภาพชน รู้จักสำรวมวาจาของตน ไม่ก่อความระคายใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด
 
๔.  เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ ไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆสักแต่ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ พูดแต่ถ้อยคำที่ควรฝังไว้ในใจมีหลักฐานมีที่อ้างอิง ถูกกาลเวลา
มีประโยชน์
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำของตน
 
มโนสุจริต
๑.  ไม่โลภอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของของผู้อื่นมีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
 
๒.  ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คอดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวร มีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกลั้วด้วยโทสจริต
 
๓.  ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือ ไม่คิดแย้งกับหลักธรรม ได้แก่ มีความเห็นที่เป็นสัมมาทิฐิ ๘ ประการคือ
      ๑. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ
      ๒. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ
      ๓. เห็นว่าการต้อนรับแขกดีจริง ควรทำ
      ๔. เห็นว่ากฎแห่งกรรมมีจริง
      ๕. เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามีจริง
      ๖. เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณต่อเราจริง
      ๗. เห็นว่านรกสวรรค์มีจริง
      ๘. เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่หมดกิเลสแล้วมีจริง
 
เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นฐานใจดี มีมาตรฐานความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูกมีหลักการ มีแนวความคิดที่ถูกต้อง
ส่งผลให้ความคิดในเรื่องอื่นถูกต้องตามไปด้วย  “เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น  หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว  เพิ่มพูน
ไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนอย่างสัมมาทิฐินี้เลย”
 

 

จดหมายน้อย

ที่แม่มะนาวนำมงคลนี้มาลงให้อ่าน มิได้มีกายทุจริต จากการพิมพ์ หรือวจีทุจริต ในการกล่าวอ้างถึงรัฐบวมแห่งประเทศสารขันธ์ แม้แต่น้อย และถึงคิวมงคลที่ ๑๖ พอดีเจ้าค่ะ






ผู้ใช้ 4 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 4 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน