เอาวิธีคิดง่าย ๆ โดยอิงตามปฏิทินงบประมาณของประเทศไทยก็ได้ จะได้ไม่งง
ตามที่ผมวางลิงค์ไว้ในหน้าแรกสุด จะเห็นว่า ปฏิทินงบประมาณกำหนดให้เริ่มมีการตั้งเรื่องพิจารณางบประมาณตั้งแต่เริ่มไตรมาสที่ ๑ และต้องจบไม่เกิน มค. คือต้นไตรมาสที่ ๒ ของปีงบประมาณเดียวกัน เพื่อให้งบประมาณของปีถัดไปเสร็จก่อนอย่างน้อยราว ๓ ไตรมาส
เช่น การตั้งงบของปี ๔๓ (เริ่ม ๑ ตค. ๔๒ ถึง ๓๐ กย. ๔๓) จะต้องตั้งให้เสร็จตั้งแต่ มค. ของปี ๔๒ การจ่ายหนี้ใด ๆ ที่จะมีขึ้นในปีงบประมาณ ๔๓ จะต้องมีการตั้งงบล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นตั้งแต่ต้นปี ๔๒
และนั่นหมายความว่า รัฐจะต้องมีเงินทั้งหมด ๒ ขยัก คือ ๑. เงินที่จะต้องใช้จ่ายตลอดปี ๔๒ และ ๒. เงินที่จะต้องเตรียมไว้ใช้จ่ายในปี ๔๓
ดังนั้น การใช้เงินงบประมาณนั้น จะต้องไม่ใช่การใช้แบบ หาได้ปี ๔๒ ใช้ปี ๔๓ เพราะไม่งั้นจะไม่สามารถตั้งงบประมาณตั้งแต่ต้นปีแบบนี้ได้ เพราะยังไม่มีเงินในมือ และยังไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่นอนว่า จะมีรายได้ขนาดไหน เท่าไร เพียงพอต่อการใช้หนี้ และใช้จ่ายอื่น ๆ หรือไม่ อีกทั้งพอต้นปีงบใหม่ หน่วยงานต่าง ๆ ก็เริ่มเบิกกันทันที (จริง ๆ เงินต้องมารอให้เบิกก่อนแล้วด้วย) จึงทำให้ งบของปี ๔๓ จะต้องเป็นเงินที่รัฐหามาได้ก่อนตั้งงบตอนต้นปี ๔๒ หรือก็คือ อีก ๑ ปีก่อนหน้านั้นเป็นอย่างน้อย
เมื่อพิจารณาตรงนี้แล้ว (ตรงนี้จะย้ำที่เคยพิมพ์ไปแล้วอีกที ใครขี้เกียจไม่อ่านก็ได้นะครับ) การใช้หนี้ของเราจะเป็นดังนี้
เงินที่ใช้หนี้ปี ๔๓ เป็นเงินที่หามาได้และเตรียมไว้จากรายได้ของปี ๔๑ (เป็นอย่างกระชั้นที่สุด)
เงินที่ใช้หนี้ปี ๔๔ เป็นเงินที่ได้มาจากรายได้ของปี ๔๒
เงินที่ใช้หนี้ปี ๔๕ เป็นเงินที่ได้มาจากรายได้ของปี ๔๓
เงินที่ใช้หนี้ปี ๔๖ เป็นเงินที่ได้มาจากรายได้ของปี ๔๔
ยิ่งถ้าเอามาประกอบกับรายละเอียดการใช้หนี้ตามเอกสารรายงานประจำปีอย่างเป็นทางการของไอเอ็มเอฟ จะยิ่งเห็นชัดถึงการใช้หนี้ของเราในแต่ละปี และถ้าเอามาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ จะเห็นได้ว่า รัฐบาลไหนหาเงินมาเตรียมไว้จ่ายหนี้ร้อยละเท่าไร
ก็อย่างที่บอกไว้หน้าที่แล้ว จากวิธีการตั้งงบประมาณตามปฏิทิน และการจ่ายหนี้ตามรายงานอย่างเป็นทางการ ใครกันที่เป็นคนหาเงินมาจ่ายหนี้? และใครที่มาเอาหน้าแถมป้ายขี้คนอื่น?
เวร เกิน ๓ บรรทัดอีกละ