เอารายงานคอป. มาให้อ่านครับ
เหตุการณ์สำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียมากที่สุดคือที่สี่แยกคอกวัวและถนน ดินสอ วันที่ 10 เม.ย. 2553 มีผู้เสียชีวิต 26 ราย เป็นพลเรือน 21 รย รวมทั้งนายมูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่ทหาร 5 นาย รวมทั้ง พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม มีผู้บาดเจ็บทั้งผู้ชุมนุมและทหารรวมกว่า 864 คน เป็นเจ้าหน้าที่ทหารกว่า 300 นาย โดยพบหลักฐานว่ามีคนชุดดำ ไม่ทราบฝ่ายแน่ชัด ใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่ทหารที่ถนนตะนาว และถนนข้าวสารบริเวณสี่แยกคอกวัว ในเวลาประมาณ 20.00 น. โดยใช้ระเบิดเอ็ม 79 และอาวุธปืนเล็กยาวหรืออาวุธสงครามยิงเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งปฏิบัติการอยู่ที่ ถนนตะนาวและถนนข้าวสาร เสียชีวิต 1 นาย
สำหรับที่ถนนดินสอ จากหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ต่อเนื่องมาถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็ถูกโจมตีโดยกลุ่มคนชุดดำเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นในเวลา 20.44 น. จากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์จากทาง คอป. หลังจากมีการโจมตีแล้วเราพบว่ามีร่องรอยกระสุนที่มีวิถีการยิงมาจากที่เจ้า หน้าที่อยู่ ถ้าบนถนนตะนาวก็คือจากทิศทางวงเวียนวัดบวรนิเวศวิหารมาทางสี่แยกคอกวัว ถ้าที่ถนนดินสอจากสะพานวันชาติมาทางวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีร่องรอย มาก
ที่ถนนตะนาวนั้นนอกจากระเบิดเอ็ม 79 แล้วพบร่องรอยกระสุนที่ยิงสวนกลับไปแต่ไม่มากนัก สำหรับที่ถนนดินสอพบร่องรอยระเบิดซึ่งเป็นระเบิดเอ็ม 67 และผู้เชี่ยวชาญบางคนก็บอกว่าเป็นระเบิดเอ็ม 79 ด้วย โดยมีเอ็ม 67 อยู่ 2 ลูก แต่เราไม่พบร่องรอยกระสุนที่ยิงสวนไปจากวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปทาง สะพานวันชาติ จากการตรวจสอบหลายฝ่ายรวมทั้งฝ่ายเราด้วยพบว่าระเบิดเอ็ม 67 นั้นน่าจะขว้างมาจากบ้านไม้โบราณหลังหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับทางเข้าของ โรงเรียนสตรีวิทยา และระเบิด 2 ลูกนี้เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 4 นาย รวมทั้ง พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรมด้วย มีข่าวหรือการกล่าวในทางสื่อมวลชนว่า พ.อ.ร่มเกล้าเสียชีวิตด้วยกระสุนปืน จากการชันสูตรพลิกศพไม่พบร่องรอยว่า พ.อ.ร่มเกล้านั้นถูกยิงด้วยกระสุนปืน และน่าเชื่อได้ว่าเสียชีวิตด้วยพิษจากสะเก็ดระเบิดเอ็ม 67
ประเด็นสำคัญ คอป.พบว่าเราพบการปฏิบัติการของคนชุดดำในทั้ง 2 พื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากการ์ด นปช.บางคน ด้านผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาศาสตร์พยายามเปรียบเทียบกล้องวงจรปิดที่ อยู่บริเวณนั้นกับกล้องของนักข่าว เพื่อที่จะทราบเวลาที่แน่นอนของการเกิดเหตุ และจากการตรวจสอบโดยละเอียดไม่พบหลักฐานของการเสียชีวิตของทหารทั้ง 5 นาย และบาดเจ็บจำนวนมากนั้นเกิดจากการโจมตีหรือการต่อสู้กันเองระหว่างเจ้า หน้าที่ทหาร แต่น่าเชื่อว่าได้เกิดจากการโจมตีและระเบิดสังหารโดยคนชุดดำ แต่เราไม่พบพยานหลักฐานเช่นเดียวกันว่ามีผู้ชุมนุมรายใดเสียชีวิตหรือบาด เจ็บจากการปฏิบัติการของคนชุดดำ อย่างไรก็ตาม พบว่าคนชุดดำบางคนเป็นผู้ใกล้ชิดกับ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และพบว่า พล.ต.ขัตติยะปรากฏตัวในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ตอนบ่าย เช่น สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า หน้าโรงเรียนสตรีวิทยาตั้งแต่ตอนเย็น ก่อนเกิดเหตุการณ์ และหลังเหตุการณ์ก็ได้ปรากฏตัวที่นั่นอีก
สำหรับบริเวณสี่แยกคอกวัวซึ่งมีภาพเผยแพร่ว่ามีคนซุ่มยิงบริเวณ ระเบียงของอาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เราได้ร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว โดยการถ่ายภาพจำลองเหตุการณ์ พบว่าเป็นเงาของต้นปาล์ม ไม่ใช่คนซุ่มยิง และพบว่าทั้งคนชุดดำ และเจ้าหน้าที่ทหารเข้าใจว่าเป็นคนซุ่มยิง และยิงไปตรงจุดนั้น โดยพบแกนกระสุนที่เป็นเหล็ก ซึ่งเป็นกระสุนของปืนเอเค หรือปืนอาก้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ แต่ขณะเดียวกันเราก็พบร่องรอยตรงกำแพงระเบียงมีการยิงมาจากถนนข้าวสารด้วย ซึ่งเป็นทิศทางที่เจ้าหน้าที่อยู่ แสดงว่าภาพที่เห็นไหวๆ เหมือนกับคนซุ่มยิงนั้นทางทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันก็เข้าใจว่าเป็นคนซุ่ม ยิงแล้วก็ยิงของอีกฝ่ายแล้วก็ยิงไปอีกจุด ดังนั้นที่สี่แยกคอกวัวจึงไม่น่าจะมีคนที่ยิงมาจากที่สูง อย่างไรก็ตาม สำหรับบริเวณโรงเรียนสตรีวิทยานั้น ช่างภาพ นักข่าวต่างประเทศและผู้ชุมนุมที่สัมภาษณ์เชื่อว่ามีการยิงลงมาจากอาคารชั้น บนสุดของโรงเรียนสตรีวิทยา โดยเขาบอกว่าเขาเห็นขณะที่ยิง โดยยิงมาที่ผู้ชุมนุมที่วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และในคืนนั้นเองผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่งก็จะพยายามเข้าไปในโรงเรียนสตรีวิทยา เพื่อขึ้นไปตรวจสอบ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งพักอาศัยอยู่ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ที่โรงเรียนนั้นห้ามไม่ให้ขึ้นไป
เหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 2553 นั้น คนพุ่งความสนใจไปเฉพาะเหตุการณ์ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว และบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาเท่านั้น แต่ความจริงแล้วความรุนแรงได้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนบ่าย คือบริเวณใกล้สะพานมัฆวานรังสรรค์ ซึ่งทหารได้เข้ามาสลายการชุมนุมของ นปช. นั้น ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 1 รายในช่วงเวลาบ่าย ใกล้สะพานมัฆวานฯ บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ เสียชีวิตด้วยกระสุนความเร็วสูง และในช่วงดึกของวันดังกล่าวหลังจากที่เหตุการณ์บริเวณถนนราชดำเนินสงบแล้ว มีพนักงานสวนสัตว์ดุสิตคนหนึ่งถูกยิงตายด้วยกระสุนความเร็วสูงเสียชีวิตใน สวนสัตว์ดุสิต จากการตรวจสอบพบว่าในสวนสัตว์ดุสิตนั้นมีทหารหน่วยหนึ่งพักอาศัยอยู่ แต่ก็ไม่ทราบสาเหตุของการยิงและทำไมถึงมีการยิงเกิดขึ้น และบริเวณนี้มีความสืบเนื่องกับเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนหน้าในตอนเย็นด้วย ก็คือในช่วงบ่ายบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ในขณะที่กำลังทหาร เจ้าหน้าที่ทหารกำลังเคลื่อนจากฝั่งธนบุรีมาสมทบกับกำลังทหารที่ฝั่งพระนคร โดยข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ามา แล้วก็พบว่านายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก แกนนำคนหนึ่งของ นปช. พร้อมกับการ์ด นปช.จำนวนหนึ่ง ไปปฏิบัติการขัดขวางการเคลื่อนกำลังของเจ้าหน้าที่ และยึดอาวุธยุทธภัณฑ์ของทหารไป และมีการปรากฏตัวของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ในบริเวณดังกล่าวด้วย
ในเหตุการณ์ 10 เม.ย. 2553 พบว่าอย่างน้อย 2 พื้นที่ ปืนลูกซองของทหาร 35 กระบอก ปืนเล็กยาวหรือ ปลย. ชนิดทราโวจำนวน 12 กระบอก พร้อมกระสุนจริง 700 นัด ถูกการ์ด นปช.ยึดไป และในเหตุการณ์ที่โรงเรียนสตรีวิทยา ที่เจ้าหน้าที่สูญเสียมาก รถสายพานลำเลียงถูกเผา ปืนเล็กยาว ปลย. เอ็ม 16 จำนวน 9 กระบอก ทราโวจำนวน 13 กระบอก และอื่นๆ ถูกยึดไป อาวุธเหล่านี้ทางราชการได้กลับคืนมาเพียงปืนเอ็ม 16 1 กระบอก และปืนทราโว 2 กระบอกเท่านั้น ที่เหลือยังไม่ได้คืน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราถือว่าอัปเดต หากพนักงานสอบสวนมีข้อมูลที่อัปเดตกว่านี้ก็ขอให้นำเสนอด้วย แต่จนถึงบัดนี้ได้รับคืนเพียง 13 กระบอกเท่านั้น ประเด็นสำคัญก็คือ อาวุธปืนเหล่านี้การ์ด นปช.ได้นำไปมอบไว้ให้ที่เวที นปช.ตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่พนักงานสอบสวนคงต้องสอบสวนต่อไป เพื่อให้ความจริงเกี่ยวกับปืนจำนวนนี้ปรากฏ