แล้วที่เขาเถียงกันว่า จะคงดอกเบี้ยนโบาย ลดดอกเบี้ยนโยบาย มันเกี่ยวกับบาทแข็งมั๊ย? แล้วควรทำอย่างไร?
เกี่ยวครับ คือสรุปคร่าวๆ คือ การที่ดอกเบี้ยสูง มันจะทำให้ต่างประเทศเอาเงินมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เพราะผลตอบแทนดีกว่า ซึ่งถ้าเงินต่างประเทศไหลเข้ามากก็จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนไป เงินในประเทศ (เงินบาท) จะแข็งค่าขึ้น เพราะต่างชาติจะมีความต้องการเงินบาทมากขึ้นเพื่อมาลงทุนในประเทศ (หลัก Demand Supply ปกติเลย คือ Demand บาทมาก เงินบาทเลยราคาแพง = เงินบาทแข็ง)ถามว่าแล้วทำไมต่างชาติถึงมีเงินเยอะเหลือเกิน ก็เพราะต่างประเทศเค้าใช้นโยบายเพิ่มเงินในประเทศของเค้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครับ เช่น USA มี QE 1 2 3 ออกมา ส่วน ญี่ปุ่น ก็มีมาตรการคล้ายๆ กันออกมาเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจประเทศเค้า เป็นต้นทีนี้มันจะมีเรื่องของการลดดอกเบี้ยมาเกี่ยวข้องตรงนี้ครับคือ มีทั้งฝ่ายที่เสนอให้ลดดอกเบี้ย และไม่ลดดอกเบี้ยโดยที่ฝ่ายหนึ่งมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะสามารถสกัดเงินทุนไหลเข้า และหากไม่ลดดอกเบี้ยเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นไปอีกจนอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกของไทย ในขณะที่อีกฝ่ายมองว่าหากลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว อาจจะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ (ทั้งจากภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้ภาคครัวเรือน และหุ้น) และจะเป็นตัวเร่งให้เงินเฟ้อภายในประเทศขยายตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงได้ประเด็น “บาทแข็ง” กับ “ดอกอ่อน” ยังสรุปไม่ได้ว่าแนวคิดใครถูกหรือผิด เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผล แต่สิ่ประเด็นคือ ดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูงจริงหรือไม่? คำตอบคร่าวๆ คือ- ดอกเบี้ยไทยสูงเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยประเทศพัฒนาแล้วที่ต่ำเกือบ 0%- ดอกเบี้ยไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศของเอเชียตะวันออกและอาเซียนที่ติดลบ ถ้าคิดในรูปดอกเบี้ยที่แท้จริง- ดอกเบี้ยไทยต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มี Credit Rating เท่ากันคือ Baa1 เช่น เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และรัสเซีย- ดอกเบี้ยอินโดสูงมากกว่าเราเยอะ แต่เงินไม่ไหลเข้าเท่าไทยทีนี้ถ้าถามความเห็นผม (ทำอาชีพเกี่ยวกับเรื่องนี้พอประมาณ) ไม่มีความเห็นจริงๆ ว่าควรทำยังไง เพราะอย่างข้อมูลที่มีคือดอกเบี้ยในสูงกว่า USA กับ Japan และ China จริง ทำให้ดูดเงินลงทุนไหลเข้าได้ แต่ดอกเบี้ยที่แท้จริงเราติดลบ (เงินเฟ้อสูงกว่าดอกเบี้ย) มันก็เลยกั๊กๆ กันระหว่าง 2 ทางคือ(1) ถ้าลดอกเบี้ย ก็ทำให้ตลาดหุ้นยิ่งฟองสบู่เข้าไปอีก คนธรรมดาๆ ที่มีเงินฝากก็ยิ่งแย่ เข้าไปอีก ตลาดอสังหาอาจเกิดฟองสบู่ (กู้ง่าย + ดอกต่ำ)(2) ถ้าไม่ลดดอกเบี้ย เงินก็จะแข็งอยู่แบบนี้ต่อไปเอาเป็นว่าผมเชื่อ ดร. ประสาร ครับ ผมว่าการที่ท่านจะทำอะไรซักอย่าง คงมีเหตุผลที่ดีพอที่คิดมามากกว่าผม(ยาวมาก จะมีใครอ่านมั๊ยเนี่ย)
ผมอ่าน... ทำทุกอย่างมีได้มีเสียครับ..
ผมสงสัยว่า...
"ดอกเบี้ยอินโดสูงมากกว่าเราเยอะ แต่เงินไม่ไหลเข้าเท่าไทย"
นั่นสิครับ... ทำไม..
คำถามน่าสนใจ
จับประเด็นของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย
http://www.bot.or.th...cle17_03_13.pdf