Quote
ผมงงมากครับ จากที่เคยเรียนคือ การแบ่งอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย์ เป็นการแบ่งอำนาจออกเป็นสามส่วน
-อำนาจบริหาร(ประธานาธิบดี,นายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรีกระทรวงบลาๆ ว่าง่ายๆก็รัฐบาลนั่นแหละ) มีหน้าที่บริหารประเทศ ตามกฎหมาย
-อำนาจนิติบัญญัติ(สภาผู้แทนราษฎร,วุฒิสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมาย
-อำนาจตุลาการ(ศาลต่างๆ ไล่ไปเลย ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลบลาๆ เยอะแยะ) มีหน้าที่ตัดสินคดีความ ตามกฎหมาย
สามอำนาจนี้ควร คานอำนาจ กันไม่ใช่เหรอ?
แล้วทีนี้ ที่ผมงงคือ ทำไมในประเทศไทย ถึงกำหนดให้ รัฐบาล มาจากสภาผู้แทนราษฎร ล่ะครับ?
คือ ผมหมายถึง ปกติแล้ว การให้รัฐบาลมาจากสภาผู้แทนราษฎร มันก็เหมือกับการสนับสนุนให้ผู้ที่มีเสียงส่วนมากบริหารประเทศพร้อมกับออกกฎหมายเองได้ แบบนี้มันก็ไม่คานอำนาจกันอ่ะดิ? แถมเหมือนกับเลือกตั้งครั้งเดียวได้อำนาจสองทาง ก็สามารถกดดันอำนาจทางที่สาม(ตุลาการ)ได้อีก แบบนี้มันไม่ผิดวัตถุประสงค์ของการแบ่งอำนาจสามฝ่ายไปเหรอครับ?
ถ้าอย่างสหรัฐฯ ก็กำหนดให้ประธานาธิบดีมาจาการเลือกตั้ง สภาก็ส่วนสภา แยกกันออกไป ประธานาธิบดีก็บริหารไป สภาก็ออก กม.ไป มันก็คานอำนาจกันได้
ผมเคยเห็นช่วงเลือกตั้ง ผมเคยคิดจะถามว่าเลือกใคร แต่พอเห็นเพื่อนแต่ละคนแล้ว ถามว่า เลือกพรรคไหน จะเข้าใจง่ายกว่า เพราะมันไม่ได้เลือกที่ตัวคน แต่เลือกที่พรรค อยากให้พรรคไหนได้ก็เลือกพรรคนั้น ไม่ว่าคนจะทำงานดีหรือไม่ก็ไม่ต่างกัน เพราะมันจะเอาพรรค แล้วยังมี กีฬาสี เต็มไปหมด โอ๊ย ปรเทศไทย....ถ้ามีตังผมย้ายไปอยู่ jp แล้ว จะได้เดินอากิบะทุกวัน นั่มันสวรรค์ชัดๆ!!
Quote
เราอยู่ในระบอบ"รัฐสภา"ครับ ซึ่งมีต้นแบบมาจากอังกฤษ และไม่มีประเทศประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภาใหนที่นายก"มาจากประชาชนโดยตรง"เลยซักประเทศ ยกเว้นระบอบประธานาธิบดี แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้เลือกโดยตรง พวกเขาใช้Deligate(ตัวแทน)เหมือนสหรัฐนั่นละ แต่การคัดเลือกตัวแทนต่างกันแค่นั้น
คำถามของคุณนะเป็นคำถามที่ดี และเป็นคำถามที่ควรถามมากที่สุดด้วย ซึ่งนี่คือคำตอบครับ
1. เมื่อสภา"เลือก"นายก(ประมุขฝ่ายบริหาร) แปลว่านายกถูก"คัดเลือก/คานอำนาจ"ด้วยรัฐสภา
2. เมื่อนายกมาจากรัฐสภา แปลว่ารัฐสภามีสิทธิ"ปลดนายก"ได้ นี่คือการถ่วงดุลย์ทางตรง
3. เมื่อนายกมาจากรัฐสภา แปลว่านายกมี"พันธะ/ความรับผิดชอบ"ต่อรัฐสภา อันแปลว่ารัฐสภามี"สิทธิอภิปราย/ติติง"การบริหารรัฐกิจได้ นี่คือการถ่วงดุลย์ทางอ้อม โดยให้ประชาชนที่"รับฟัง"การอภิปรายเป็นผู้"พิจารณา"นายกและคณะรัฐบาล
นี่คือกลไกในระบอบรัฐสภา ซึ่ง"ได้ผลที่อังกฤษ" เป็นการถ่วงดุลย์อำนาจแบบหนึ่ง แต่ประเทศอื่นๆก็ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ละนะ
Quote
อาจจะนอกเรื่องไปหน่อย แต่โดยส่วนตัวผมงงตั้งกะระบบการเลือกตั้งแล้วละครับ ผมคิดว่าเราน่าจะแก้กันที่ตรงนี้ก่อนนะ - -*
ในความคิดผมนะ ผลการเลือกตั้งนี่ ต่อให้เป็นเสียงส่วนมาก แต่ถ้าไม่ถึงกึ่งนึงก็ไม่ถือว่าชนะการเลือกตั้ง
แบบว่า แต่ให้ 49% เอานาย A แต่ก็หมายความว่ามีโอกาสที่ 51% จะไม่เอานาย A แต่ดูเหมือนเมืองไทยจะไม่สนใจจุดนี้ และให้นาย A ชนะการเลือกตั้งไปเลย แล้วอีก 51% ที่เหลือก็ไปประท้วงไม่เอาทีหลัง บอกเป็นเสียงส่วนใหญ่ - -*
นอกจากที่ว่ามา มันยังมีปัญหา ซึ่งผม(และครอบครัวผม) ประสบมาแล้ว สดๆร้อนๆเลย เลือกตั้งผู้ว่ากทมที่ผ่านมา คือ ผม(และครอบครัวผม) อยากเลือกนาย A แต่ไม่อยากให้นาย B ชนะ เลยต้องเลือกนาย C
ถ้า เราใช้กฏที่ว่าเสียงไม่ถึงกึ่งนึงไม่ถือว่าชนะ ผมว่าปัญหานี่จะหมดไปเลยละนะ เพราะต่อให้เลือก A หรือ C ถ้า B ไม่ถึงกึ่งนึง ไงๆ B ก็ไม่ชนะ
เท่าที่ผมเข้าใจ ต่างชาติส่วนใหญ่ ถ้าไม่ถึงกึ่งนึงใช้วิธีเลือกตั้งใหม่ (อาจคัดออกด้วย) สินะครับ?
แล้วทำไมที่ไทยไม่ทำแบบนี้บ้างอะครับ? หรือว่าต่างชาติส่วนใหญ่ใช้เสียงส่วนใหญ่แบบไทยอยู่แล้ว มีแค่บางชาติที่ต้องเกินกึ่งหนึ่งเท่านั้น?
ปล. ที่ว่ามาคือ ความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้มีความรู้ใดๆ เลย เพราะงั้นผิดตรงไหนช่วยแก้ทีนะครับ อย่าดราม่าเลย99.9999 % ของประเทศในโลกนี้ไม่มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาครับ หลักการนี้มีไว้เพื่อ"คงความเป็นกลาง" กล่าวคือถ้าผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้ง เขากลัวว่าท่านเหล่านั้นจะ"ทำงานเอาหน้า"หรือ"มีผลประโยชน์แอบแฝง"ต่อผู้ที่เลือกตนมา ประเทศที่มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาที่ผมรู้มีแค่สหรัฐ และระบบนี้ก็ถูกวิจราณ์หนักด้วย ระบบกฎหมายเกือบทุกสำนักก็ไม่สนับสนุนการเลือกตั้งนะครับ เพราะผุ้พิพากษาคือ"ผู้เชี่ยวชาญ" ไม่ใช่"นักการเมือง"
Quote
Quote
อาจจะนอกเรื่องไปหน่อย แต่โดยส่วนตัวผมงงตั้งกะระบบการเลือกตั้งแล้วละครับ ผมคิดว่าเราน่าจะแก้กันที่ตรงนี้ก่อนนะ - -*
ในความคิดผมนะ ผลการเลือกตั้งนี่ ต่อให้เป็นเสียงส่วนมาก แต่ถ้าไม่ถึงกึ่งนึงก็ไม่ถือว่าชนะการเลือกตั้ง
แบบว่า แต่ให้ 49% เอานาย A แต่ก็หมายความว่ามีโอกาสที่ 51% จะไม่เอานาย A แต่ดูเหมือนเมืองไทยจะไม่สนใจจุดนี้ และให้นาย A ชนะการเลือกตั้งไปเลย แล้วอีก 51% ที่เหลือก็ไปประท้วงไม่เอาทีหลัง บอกเป็นเสียงส่วนใหญ่ - -*
นอกจากที่ว่ามา มันยังมีปัญหา ซึ่งผม(และครอบครัวผม) ประสบมาแล้ว สดๆร้อนๆเลย เลือกตั้งผู้ว่ากทมที่ผ่านมา คือ ผม(และครอบครัวผม) อยากเลือกนาย A แต่ไม่อยากให้นาย B ชนะ เลยต้องเลือกนาย C
ถ้า เราใช้กฏที่ว่าเสียงไม่ถึงกึ่งนึงไม่ถือว่าชนะ ผมว่าปัญหานี่จะหมดไปเลยละนะ เพราะต่อให้เลือก A หรือ C ถ้า B ไม่ถึงกึ่งนึง ไงๆ B ก็ไม่ชนะ
เท่าที่ผมเข้าใจ ต่างชาติส่วนใหญ่ ถ้าไม่ถึงกึ่งนึงใช้วิธีเลือกตั้งใหม่ (อาจคัดออกด้วย) สินะครับ?
แล้วทำไมที่ไทยไม่ทำแบบนี้บ้างอะครับ? หรือว่าต่างชาติส่วนใหญ่ใช้เสียงส่วนใหญ่แบบไทยอยู่แล้ว มีแค่บางชาติที่ต้องเกินกึ่งหนึ่งเท่านั้น?
ปล. ที่ว่ามาคือ ความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้มีความรู้ใดๆ เลย เพราะงั้นผิดตรงไหนช่วยแก้ทีนะครับ อย่าดราม่าเลย
^^^^^^^^^^^ ข้ามไป@iqsk131
เท่าที่ผมรู้มาส่วนใหญ่ก็ใช้มาตราฐานเดียวกับไทยครับ คือเกิน 1/3 ถือว่า"มีสิทธิ"ชนะแล้วครับ ไม่งั้นถ้าเกิดกรณีคะแนนมันกระจายเกินจนไม่มีใครได้เกินกึ่งหนึ่งมันจะมีปัญหาเอา
แต่กรณีเทียบเคียงของคุณก็ใช่ว่าจะไม่ได้รับการพิจารณานะ อย่างการเลือกตั้งปธน.ฝรั่งเศสมีการ"แบ่งรอบ"ด้วยนะครับ คือค่อยๆคัดทีละขั้น เอาคนที่คะแนนเสียงผ่านเกณฑ์ รึ้สึกจะราวๆ 20 % จะกี่คนก็ได้มาเป็นNominate(ผู้ชิงตำแหน่ง) แล้วค่อยคัดออกทีละขั้น จนเหลือ 2 คนสุดท้ายแล้วค่อยตัดสินชี้ขาดกัน แต่ระบบของฝรั่งเศสใช้Deligate(ตัวแทน)ประมาณ 28,000 คนเลือกนะครับ ไม่ใช่ประชาชนทั้งหมดเลือกปธน. ดังนั้นมันก็ไม่ใช่การเลือกโดยตรงอยู่ดี
ส่วนการนำมาใช้จริงๆก็คงจะมีแค่การใช้ในการเลือกตั้งลำดับสูงสุดระดับปธน.เท่านั้นละครับ เอามาใช้ระดับล่างๆมันสิ้นเปลืองเกินไป และไม่ค่อยมีประเทศใหนทำด้วย
Quote
99.9999 % ของประเทศในโลกนี้ไม่มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาครับ หลักการนี้มีไว้เพื่อ"คงความเป็นกลาง" กล่าวคือถ้าผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้ง เขากลัวว่าท่านเหล่านั้นจะ"ทำงานเอาหน้า"หรือ"มีผลประโยชน์แอบแฝง"ต่อผู้ที่เลือกตนมา ประเทศที่มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาที่ผมรู้มีแค่สหรัฐ และระบบนี้ก็ถูกวิจราณ์หนักด้วย ระบบกฎหมายเกือบทุกสำนักก็ไม่สนับสนุนการเลือกตั้งนะครับ เพราะผุ้พิพากษาคือ"ผู้เชี่ยวชาญ" ไม่ใช่"นักการเมือง"
Quote
ศาลฎีกาของสหรัฐก็เป็นแบบนี้ อ้างตัวเองมีอำนาจ"พิจารณากฎหมาย"ทั้งๆที่"ไม่ได้เขียนในรัฐธรรมนูญ" กล่าวคือไม่มีกฎหมายข้อใหน"ให้อำนาจ"ศาลฯทำแบบนั้นนะ อำนาจจริงๆนั้นมากกว่าปธน.ซะอีก แต่ก็ไม่เห็นมีใครบ่นแบบไทย ถึงจะมีความไม่พอใจบ้าง แต่ก็ไม่มีปธน.สหรัฐคนใหนกล้าหาเรื่องระเบียบ"นอกกฎหมาย"นี้เลยนะ และจริงๆไอ้ข้อสุดท้ายที่ว่าถ้าไม่มีอำนาจสั่งการซึ่งกันและกัน มันจะเป็นการ"คานอำนาจ"ได้ยังไงละครับ พูดแปลกๆนะเรานะ ระบบแบ่งแยกอำนาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้แต่ละฝ่าย"ดูแลผลประโยชน์สาธารณะ"ในมุมมองที่ต่างกัน กล่าวคือมีหน้าที่/อำนาจก้าวก่ายกันได้ในยามจำเป็น/เรื่องที่เกี่ยวข้อง ประเทศที่"เจริญแล้ว"(ด้านกฎหมาย)ใช้ระบบนี้อย่างเข้มแข็งทั้งนั้นละครับ ยกเว้นฝรั่งเศสที่มีเหตุผลทางประวัติศาสตร์อยู่ตุลาการไม่มีหน้าที่สั่งฝ่ายอื่นๆ และฝ่ายอื่นๆ กก็ไม่มีหน้าที่สั่งกันและกัน
กระทู้ต้นเรื่อง http://forum.tirkx.c...ระบบการเมืองไทย
ปล เท่าที่ดู นาย chiichan คนนี้น่าจะถูกฝังหัวจากพวกเสื้อแดงไปแล้ว แต่ในบอร์ดนั้นไม่อนุญาตให้พูดเรื่องการเมืองเท่าใดนักเลยอยู่เงียบ ๆ
Edited by yoshikiryuichiro, 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 17:58.