สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาในสังกัด 32,879 แห่ง สถานศึกษาดังกล่าวนี้เป็นสถานศึกษาที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนลงมา 10,877 แห่ง และในจำนวนนี้เป็นสถานศึกษาที่มีขนาดเล็กมาก กล่าวคือมีนักเรียนต่ำกว่า 60 คนลงมา ถึง 1,766 แห่ง ซึ่งสถานศึกษาขนาดเล็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ
1.1 นักเรียนจากสถานศึกษาขนาดเล็กมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับสถานศึกษา ขนาดอื่น ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนขาดความพร้อมทางด้านปัจจัย เช่น มีครูไม่ครบชั้นเรียน ขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่มีราคาแพง ทั้งนี้ เนื่องจากเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่ใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการจัดสรร
1.2 สถานศึกษาขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ กล่าวคือมีการลงทุนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสถานศึกษาขนาดที่ใหญ่กว่า เช่น อัตราส่วนครู : นักเรียน ซึ่งตามมาตรฐานต้อง 1 : 25 แต่สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก อัตราส่วนครู: นักเรียน เท่ากับ 1:8 -11 เท่านั้น
สถานศึกษาขนาดเล็กดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาในสังกัดเดิมของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้พยายามดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กในหลาย ๆ รูปแบบ สถานศึกษาใดที่สามารถยุบรวมและเลิกล้มได้ ก็ได้ดำเนินการไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งการดำเนินการยุบรวมและเลิกล้มสถานศึกษานั้น เป็นไปตามความสมัครใจในระดับพื้นที่ ส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กที่ไม่สามารถยุบรวมได้ก็ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องเรียนเคลื่อนที่ ครูหลังม้า การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
ที่ผ่านมาพบว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพสถานศึกษาขนาดเล็ก ยังมีปัญหาอุปสรรคบางประการ คือ
1) นโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กไม่ชัดเจนและเปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ต่อเนื่อง
2) ผู้บริหารสถานศึกษายังยึดติดกับตำแหน่ง ไม่ต้องการให้มีการยุบรวมสถานศึกษา เพราะขาดความมั่นใจว่าเมื่อสถานศึกษาที่ตนเองครองตำแหน่งอยู่ถูกยุบรวม เลิกล้มไปแล้ว ตนเองจะมีตำแหน่งอยู่ที่ใด
3) ค่าพาหนะที่นักเรียนได้รับวันละ 6 บาทนั้นค่อนข้างน้อย ไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน นอกจากนั้นในบางปี งบประมาณยังล่าช้าหรือถูกตัด
4) ชุมชนบางส่วนต่อต้านการยุบรวมสถานศึกษา เพราะมีฐานสร้างสนับสนุนโรงเรียนไม่มั่นใจในมาตรการที่จะรองรับ
5) การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงเรียนยังไม่ค่อยได้ผลดีนัก
จากปัญหาและอุปสรรค์ดังกล่าว หากไม่รีบปรับปรุงแก้ไขก็จะทำให้นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านั้นได้รับกาศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานกลายเป็นนักเรียนด้อยโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กนี้ขึ้นมา
ูู^^ ใครที่ถามว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนยังไง และใครที่บอกว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็กขัดกับรัฐธรรมนูญ ดูที่กระทรวงเขาบอกข้างบนนะครับ
Edited by CanisLupus, 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 09:20.