Jump to content


Photo
- - - - -

ศูนย์วิจัย มธบ. ชี้... ยุบร.ร. ขนาดเล็ก... ไม่ช่วยให้เด็กไทยทำคะแนนสอบดีขึ้น...


  • Please log in to reply
6 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 20:22

971881_470455739704252_842465888_n.jpg

 

วันที่ 27 พฤษภาคม  ดร.เกียรติอนันต์  ล้วนแก้ว  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC)  เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเรื่อง ยุบโรงเรียน  ช่วยนักเรียนไทยได้จริงหรือ?  หลักฐานเชิงประจักษ์จาก PISA  ณ ตึกอธิการบดี 2 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สำหรับการศึกษาครั้งนี้  เป็นการใช้ข้อมูลการสอบ PISA (Programme for International Student Assessment)  ของนักเรียนไทยอายุ 15 ปี  ที่ทำการสอบในปี 2552  จำนวน 4,396 คน  เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างขนาดของโรงเรียนกับผลการสอบ PISA  ด้านการอ่าน ในการสอบ PISA ผู้เข้าสอบทุกคนจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับฐานะสังคม  และเศรษฐกิจของครอบครัว  เช่น  รายได้  การศึกษา  และอาชีพของพ่อแม่   ทรัพย์สินที่ถือครอง ตลอดจนถึงทัศนคติที่มีต่อการเรียน ครูผู้สอน และโรงเรียน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ผู้ทำการทดสอบยังเก็บข้อมูลเชิงกายภาพเกี่ยวกับโรงเรียนที่นักเรียนคนนั้นอยู่ เช่น จำนวนอาคาร จำนวนครูผู้สอน  และอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ

ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่นำมาใช้คือ  ฟังก์ชันการผลิตทางการศึกษา ที่ระบุว่า ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ จิตวิทยา และความพร้อมทางกายภาพของโรงเรียน คือ ปัจจัยการผลิต การเรียนการสอนในโรงเรียน คือ  กระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิตเหล่านี้ให้กลายเป็น ความรู้ ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยคะแนนสอบ

"ด้วยเหตุนี้  ถ้าโรงเรียนสองโรงเรียนมีการเรียนการสอนเหมือนกันโดยสมบูรณ์ มีความพร้อมเชิงกายภาพเท่ากัน  นักเรียนที่มีภูมิหลังด้านสังคม เศรษฐกิจ และทัศนคติ ที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเรียนโรงเรียนไหน ถ้าวัดด้วยข้อสอบชุดเดียวกัน ควรได้คะแนนเท่ากัน หรือถ้าแตกต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อย" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มธบ. กล่าว และว่า  ดังนั้น  หากโรงเรียนมีขนาดที่แตกต่างกัน  ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ยังเหมือนเดิม แล้วพบว่านักเรียนมีคะแนนสอบแตกต่างกัน  แสดงว่า สิ่งที่ทำให้นักเรียนสองคนได้คะแนนแตกต่างกัน คือ ขนาดของโรงเรียน  

สำหรับผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการยุบรวมโรงเรียนมี 3 ประเด็น  ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ขนาดของโรงเรียนมีผลต่อคะแนน  โดยเฉลี่ยแล้ว  นักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่า  สามารถทำคะแนนสอบได้มากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก จึงอาจกล่าวได้ว่า  การยุบรวมโรงเรียนจะช่วยให้นักเรียนย้ายมาจากโรงเรียนขนาดเล็กที่ถูกยุบรวมมีผลการสอบที่ดีขึ้น  ผลการศึกษายังพบด้วยว่า  ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการยุบรวมมากที่สุด คือ  นักเรียนที่เรียนหนังสือไม่เก่งในชนบท

ประเด็นที่ 2  การยุบรวมโรงเรียนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้นักเรียนมีผลสอบที่ดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลในตารางเป็นการสรุปผลของปัจจัยต่างๆ  ที่ส่งผลต่อคะแนนสอบของนักเรียน โดยแบ่งเป็นนักเรียนในเมืองและในชนบท ซึ่งจะเห็นได้ว่า  ขนาดของโรงเรียนจะมีผลต่อคะแนนสอบประมาณร้อยละ 1 ถึง 2 สำหรับนักเรียนในเมือง  และร้อยละ 1 ถึง 4 สำหรับนักเรียนในชนบท 

อย่างไรก็ตาม  ปัจจัยอื่นๆ  ก็มีผลให้คะแนนเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน  เช่น  ทรัพยากรทางการศึกษาที่บ้าน ทัศนคติเกี่ยวกับโรงเรียน  ทัศนคติเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ  และรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนเอง  นั่นหมายความว่า  การยุบรวมโรงเรียนเพียงอย่างเดียวอาจไม่ช่วยให้คะแนนสอบของนักเรียนเพิ่มขึ้นมากนัก  ถ้าไม่มีมาตรการเสริมในด้านอื่นๆ  เช่น  การยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัว  การปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียน  การช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถค้นหารูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนเอง  เป็นต้น  ที่น่าสังเกตก็คือ  การมีคอมพิวเตอร์ (ซึ่งอาจจะตีความรวมถึงการมีแท็บเล็ต) ที่บ้าน   ไม่ได้ส่งผลให้นักเรียนมีผลการสอบที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

yyy.jpg

 ประเด็นที่ 3  การทุ่มงบประมาณไปกับโครงสร้างพื้นฐานในโรงเรียนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะช่วยให้นักเรียนในชนบทได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้น  รูปที่นำเสนอ  เป็นวิเคราะห์ว่าปัจจัยพื้นฐาน  เช่น  ฐานะของครอบครัว  การมีอุปกรณ์การเรียนการสอน  คอมพิวเตอร์  จำนวนครูในโรงเรียน เป็นต้น  จะสามารถอธิบายความแตกต่างของผลการสอบของนักเรียนในเมืองและในชนบทได้ในระดับใด  โดยแบ่งตามระดับคะแนนจากกลุ่มคะแนนต่ำสุด (p10) จนถึงกลุ่มคะแนนสูงสุด (p90)  

สำหรับนักเรียนที่มีคะแนนสอบต่ำ  ปัจจัยพื้นฐานมีผลต่อความแตกต่างของคะแนนมากกว่าปัจจัยเชิงคุณภาพ (การบริการจัดการโรงเรียน แนวทางการสอน  วัฒนธรรมในโรงเรียน  การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดหลักสูตร  เป็นต้น)  หมายความว่า  การจะลดความแตกต่างของคะแนนระหว่างนักเรียนในเมืองที่เรียนไม่เก่งกับนักเรียนในชนบทที่เรียนไม่เก่ง  จะสามารถทำได้ด้วยการเพิ่มปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้  เช่น  การเพิ่มจำนวนครู  อุปกรณ์การเรียนการสอน  เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม  สำหรับนักเรียนระดับปานกลางจนถึงเก่ง  คุณภาพการศึกษา  มีบทบาทมากขึ้นในการลดความไม่เท่าเทียมกันของคะแนนสอบระหว่างนักเรียนในเมืองและในชนบท  ด้วยเหตุนี้  การเพิ่มงบประมาณให้กับโรงเรียนเพื่อนำไปใช้ในการซื้ออุปกรณ์การเรียนการเรียนการสอน  เพิ่มจำนวนครู  ตลอดจนถึงการสร้างอาคารสถานที่  จึงมีความสำคัญน้อยกว่า  การพัฒนาในเชิงคุณภาพ  ซึ่งข้อสรุปในส่วนนี้สอดคล้องกับงานวิจัยในเรื่องคุณภาพการศึกษาในต่างประเทศ

ss.jpg

กล่าวโดยสรุป  การยุบรวมโรงเรียนเพียงอย่างเดียว  อาจจะได้ผลในด้านของการประหยัดงบประมาณ  แต่จะไม่ได้ผลในด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษามากเท่าที่ควร  นอกเสียจากว่า  จะมีการดำเนินนโยบายด้านอื่นควบคู่ไปด้วย ทั้งในด้านการยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัว  การปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียน  การหารูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียน  และการปรับรูปแบบการสอนของครูให้มีความยืดหยุ่นพอ  ตลอดจนถึงการปรับปรุงปัจจัยเชิงคุณภาพ  ไม่ว่าจะเป็นการบริการจัดการโรงเรียน แนวทางการสอน  วัฒนธรรมในโรงเรียน  การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดหลักสูตร  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ถูกละเลยในกระบวนการปฏิรูปการศึกษาของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

 

http://www.isranews....ลสอบดีขึ้น.html

 

 

 


:) Sometime...Sun shine through the rain...

#2 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 20:57

สรุปว่า "ได้ไม่คุ้มเสีย"

 

แต่ถ้าขอให้ได้ "เลีย" ก็จะดัน(ทุรัง).. -_- -_-


ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#3 ppneer

ppneer

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,201 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 21:08

แต่ขายตัวมากขึ้น ขนาดโรงเรียยอยู่แค่หัวกะไดบ้าน มันยังขี้เขียจตื่นไปเรียน

แบบเรียนไปปวดหัวหาผัวดีกั่ว


Edited by ppneer, 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 23:33.

ขวานทอง บรรพบุรุษ เป็นคนสร้างให้เราทุกวันนี้ ตัวกูจะปกปักรักษาเท่าชีวิตเพื่อ พ่อหลวง กูถวายชีวิตใอ้แม้ว ออกไปๆๆๆ กูเกลียดใอ้แม้ว

#4 idecon

idecon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,580 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 21:59


โรงเรียนขนาดใหญ่หลายโรงเรียนยังแบ่งชั้นเรียนเป็นหลายหลักสูตร
มาตรฐานเด็กในโรงเรียนเดียวกันยังไม่เท่ากันเลยครับ
เทียบระหว่างหลักสูตรธรรมดา กับ ห้องเรียนพิเศษความถนัดทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดูก็ได้

#5 My Will

My Will

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 229 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 23:22

ตอนที่คิดจะยุบพวกมันก็ไม่ได้หวังว่าคุณภาพจะดีขึ้นอยู่แล้ว

 

คงจะหวังจากงบประมาณซื้อรถตู้มากกว่า



#6 zeedzaad

zeedzaad

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,963 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 23:37

อ.เป็นใคร ผู้ร่วมเสวนามาจากไหน

เลือกตั้งมาหรือเปล่า มีสิทธิ์อะไรมาวิจัย

ไปเลือกตั้งก่อนไป๊
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw

#7 puggi

puggi

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,869 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 23:39

งบที่ต้องเสียกับการไม่ยุบโรงเรียน ที่ว่าสิ้นเปลือง

 

กับงบที่ซื้อรถตู้ และจะมีค่าใช้จ่ายจิปาถะตามมา 

 

คิดเป็นก็จะรู้ว่าอะไรคุ้มกว่ากัน






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน