หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า ฯ กทม.(ที่บัดนี้ตายไปแล้ว) ได้ลงนามสัญญาซื้อขายโดยกำหนดให้เปิด LC ภายใน 30 วัน(จะครบวันที่ 26 ก.ย.47) เมื่ออภิรักษ์ได้เข้ามาเป็นผู้ว่าช่วงวันที่ 23 ก.ย.47 ได้มีหนังสือแจ้งปลัด กทม. (ขณะนั้นคือนางณฐนนท ทวีสิน) เพื่อให้ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ผ.อ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ผู้ได้รับมอบหมายจากนายสมัครให้เปิด LC กับธนาคารกรุงไทย --ชะลอการดำเนินการไว้ก่อน แต่พล.ต.ต.อธิลักษณ์ได้แจ้งผ่านปลัดกทม.กลับมาว่า ไม่สามารถเลื่อนได้เพราะการจัดซื้อเกิดจากการอนุมัติต่อเนื่องจากมติ ครม.ไทยรักไทย
จากนั้นอภิรักษ์ก็ได้หารือกับคณะผู้บริหาร กทม.และผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ที่ร่วมทำงานการเมืองกันอยู่ เห็นสมควรว่าในตอนแรกนี้ให้ชะลอเปิด LC ไว้ก่อน เวลาถัดมาจึงมีหนังสือลงวันที่ 27 ก.ย.47 แจ้งธนาคารกรุงไทยชะลอเปิด LC และอภิรักษ์แต่งตั้งนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่ากทม. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเป็นประธานกรรมการตรวจสอบสัญญาระหว่างบริษัทสไตรเออร์ฯกับกทม.อีกครั้ง
แต่การตรวจสอบชุดของนายสามารถนั้นเป็นเพียงการตรวจสอบภายในองค์กร ..ไม่สามารถตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตได้เพราะอำนาจของ กทม. ที่เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นมีเพียงจำกัดในการตรวจสอบ ขณะที่เรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหลายส่วนคือ 1) กระทรวงมหาดไทย ที่ทำหน้าที่ลงนาม MOU ก่อนจะลงนามสัญญาซื้อขาย และ2) กระทรวงพาณิชย์ ที่ดูแลเรื่องการสั่งซื้อสินค้าแลกเปลี่ยนสองประเทศตามสัญญาต่างตอบแทนตามที่ ครม.มีมติ ซึ่งกทม.เองก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย จึงไม่อาจที่จะไปตรวจสอบได้ในระดับลึกไปถึงข้อมูลของบริษัทฝรั่ง ขณะที่การจะเปลี่ยนแปลงทบทวนการทำสัญญาซื้อขายหรือยกเลิกสัญญา เมื่อเป็นการทำ MOU ระดับรัฐบาลไทยผ่านกระทรวงมหาดไทย ที่มี กทม.เป็นคู่สัญญา ต่อรัฐบาลออสเตรียผ่านทูตที่ บ.สไตร์เออร์ ฯ จำเลยที่ 5 เป็นคู่สัญญานั้น กทม.ก็ต้องเสนอเรื่องผ่านกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอ ครม.ที่เคยมีมติอนุมัติมาแล้ว
เรื่องนี้อภิรักษ์เคยทำหนังสือแจ้งนายโภคิน รมว.มหาดไทยขณะนั้นให้พิจารณาทบทวนการซื้อของล็อตนี้ แต่ได้รับหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่แจ้งจากนายโภคิน , นายประชา มาลีนนท์ รมช.มหาดไทย และนายสมศักดิ์ คุณเงิน ผู้ช่วยเลขานุการรมว.มหาดไทย ประมาณ 4 ครั้ง ลักษณะเร่งให้ดำเนินการเพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยแจ้งว่าทูตออสเตรียให้มหาดไทยตรวจสอบเพื่อเปิด LC ตามสัญญา
ซึ่งในการตั้งกรรมการตรวจสอบชุดนายสามารถนั้น อภิรักษ์ยังให้แจ้ง บ.สไตร์เออร์ ฯ ทราบถึงการชะลอเปิด LC ด้วย แต่บริษัทก็พยายามมีหนังสือเร่งรัดให้ กทม.เปิด LC เช่นกัน โดยเมื่อเกิดปัญหา อภิรักษ์พยายามปกป้องสิทธิประโยชน์ของ กทม. อย่างถึงที่สุดโดยถ่วงเวลายังคงไม่ยอมเปิด LC และระหว่างนั้นนายสามารถได้พยายามต่อรองกับบริษัทด้วยเกี่ยวกับสิทธิการประกันอุปกรณ์ การซ่อมบำรุงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ กทม.หากคู่สัญญาไม่ยอมรับการชะลอเปิด LC ทำให้ กทม.ได้ประโยชน์สูงสุดถึง 250 ล้านบาท โดยกรณีดังกล่าวไม่ใช่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเดิม เพราะหลักการและวงเงินซื้อขายยังเป็นตามมติที่ครม.ไทยรักไทยอนุมัติ เพียงแต่ได้ของแถมเพิ่มขึ้นจากฝีมือของกทม.ชุดใหม่
โดยในที่สุดอภิรักษ์จำต้องเปิด LC เมื่อ 10 ม.ค.48 ด้วยเหตุที่ต้องดำเนินการตามสัญญาที่เคยทำกันไว้ และแม้จะเสนอให้กระทรวงมหาดไทยทบทวนแต่ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ โดยมีหนังสือเร่งรัดและยืนยันจากทั้งฝ่ายมหาดไทย ทูตออสเตรีย บ.สไตร์เออร์ ฯ ที่พยายามให้เปิด LC และเมื่อขณะนั้นยังไม่ปรากฏว่าหน่วยราชการใดจะรวบรวมหลักฐานได้ว่าสัญญาดังกล่าวมีการกระทำไม่ชอบ
กระทรวงมหาดไทย ก็ยืนยันตลอดเรื่องการเปิด LC ดังนั้นหากยังไม่ปรากฏว่าสัญญาไม่ชอบเป็นโมฆะแล้ว ซึ่งหากเกิดปัญหาตามสัญญาระบุว่าต้องไปยุติข้อพิพาทโดยผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ สุดท้ายอาจจะเป็นข้อเสียเปรียบก็ได้ถ้าเรื่องต้องเข้าอนุญาโต ฯ โดยอีกฝ่ายจะกล่าวหาว่า กทม.ทำผิดสัญญา แล้วสุดท้ายกลายเป็นค่าโง่ เหมือนกรณีอื่นๆ และ กทม. จะเสียเครดิตในลักษณะองค์กรที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา
สรุปคือเรื่องซึ้อ - ไม่ซื้ออุปกรณ์เหล่านี้เรื่องนี้เป็นการทำ MOU ลักษณะรัฐต่อรัฐและมีหน่วยงานใหญ่อื่นเหนือไปกว่า กทม.ที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังเป็นการใช้งบประมาณรัฐบาล 60 % และต้องเป็นไปตามมติ ครม. โดยกทม.เป็นเพียงมือปฏิบัติที่ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นการตรวจสอบ หรือยกเลิกสัญญาจึงเกินขอบเขตของ กทม. โดยสิ้นเชิง
Edited by หนูอ้อย, 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 11:13.