อันนี้มีผู้วิเคราะห์ไว้น่าสนใจ เลยนำมาให้เพื่อนๆอ่าน มารวมไว้ที่นี่ ^^
1. ทีมอุ้มฆ่า มีประมาณ 4-5 คน
ข้อมูลในส่วนนี้มาจากการประมวลคำให้การของเลขานุการของนายเอกยุทธ และนายสันติภาพเอง
- 6 มิถุนายน เวลาประมาณ 23.00น. ออกจากร้านอาหารครัวกระแต
- 7 มิถุนายน เวลาประมาณ 3.00 น. ทีมอุ้มฆ่าออกจากบ้านพักนายเอกยุทธ
- 7 มิถุนายน ประมาณ 9.00 น. นายสันติภาพไปรับเช็คที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประตู 8
- 7 มิถุนายน ประมาณ 13.00 น. นายสันติภาพรับเงินสดที่ประตู 8 แล้วขับรถตู้โฟล์คออกจากสนามบิน
เหตุการณ์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ตอนสายของวันที่ 7 มิถุนายน เมื่อพี่สาวนายเอกยุทธใช้ให้เลขานุการนของนายเอกยุทธนำเช็คไปให้นายเอกยุทธเซ็น เลขานุการกล่าวว่า
- ที่สนามบิน เห็นรถตู้โฟล์คที่นายเอกยุทธใช้อยู่จอดอยู่บริเวณประตู 7 ส่วนนายสันติภาพยืนรออยู่ที่ประตู 8 โดยไม่พบนายเอกยุทธ
- นายสันติภาพได้บอกกับเลขานุการว่า นายเอกยุทธกำลังคุยกับเพื่อนที่กำลังจะเดินทางไปสิงคโปร์อยู่ภายในสนามบิน
- นายสันติภาพบอกให้เลขานุการคอยอยู่ประมาณ 45 นาที เพื่อนำเช็คไปให้นายเอกยุทธเซ็น
- กล้องวงจรปิดของสนามบินสุวรรณภูมิไม่พบภาพนายเอกยุทธ และไม่พบข้อมูลการเดินทางออกนอกประเทศของนายเอกยุทธ
- เลขานุการบอกว่า นายสันติภาพจะรออยู่ที่ประตู 8 เพื่อรับเงิน แล้วขับรถตู้คันดังกล่าวออกไป โดยไม่พบนายเอกยุทธ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลตรงนี้ชี้ให้เห็นว่า
- ในช่วงเวลาดังกล่าว นายเอกยุทธ ต้องอยู่ที่สนามบิน เพื่อเซ็นเช็ค
- นายเอกยุทธไม่ได้อยู่ในรถตู้ เพราะนายสันติภาพไม่ได้ถือเช็คเข้าไปในรถตู้ ซึ่งเลขานุการจะต้องเห็น และคงไม่ใช้เวลานานถึง 45 นาที
- นายเอกยุทธไม่ได้อยู่ในอาคารผู้โดยสาร เพราะกล้องวงจรปิดไม่พบภาพนายเอกยุทธ แต่อาจอยู่ส่วนอื่นของสนามบิน
- นายสันติภาพใช้เวลา 45 นาที รับเช็คจากเลขานุการไปให้นายเอกยุทธเซ็น แล้วนำกลับมาให้เลขานุการ
ดังนั้น ตลอดเวลาในช่วงนี้ เผยให้เห็นว่า นายสันติภาพไม่ได้ลงมือเพียงลำพัง แต่มีทีมอุ้มฆ่าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งคอยบอกว่าจะให้นายสันติภาพทำอะไร ซึ่งนายสันติภาพก็ร่วมมือด้วยอย่างเต็มใจ และทีมดังกล่าวนี้ คือ ทีมสังหารที่แท้จริง
ระหว่างที่นายสันติภาพ ถือเช็คไปให้นายเอกยุทธเซ็น จะต้องมีทีมหนึ่งที่คุมตัวนายเอกยุทธไว้ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายในอาคารที่พักผู้โดยสาร เพราะเสี่ยงทั้งต่อการหลบหนีของนายเอกยุทธ และเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการควบคุมสถานการณ์ของทีมฆ่า การนำตัวนายเอกยุทธไปสู่ที่ที่มีคนพลุกพล่าน ไม่ใช่วิธีคิดที่ถูกต้อง
นายเอกยุทธจะต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในรถอีกคันหนึ่ง ที่จอดอยู่ในบริเวณที่ห่างจากประตู 8 (อาจจะเป็นชั้นเดียวกัน หรือต่างชั้นกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับกล้องที่สนามบินว่านายสันติภาพเดินไปไหน เดินไปพบใครหรือไม่) จุดที่นายสันติภาพใช้เวลาเดินเพื่อนำเช็คไปให้นายเอกยุทธเซ็น และเดินกลับมาประมาณ 45 นาที นอกจากนี้ ตลอดเวลาที่นายสันติภาพติดต่อกับเลขานุการเพื่อรับเช็ค และรับเงิน จะต้องมีอีกทีมหนึ่งที่จอดรถซุ้มจับจ้องดูเหตุการณ์ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่า สถานการณ์เป็นไปอย่างราบรื่น
ดังนั้น ทีมอุ้มฆ่าจะต้องมีประมาณ 4-5 คน คือส่วนที่ควบคุมตัวนายเอกยุทธ และส่วนที่ซุ้มดูสถานการณ์ แต่ไม่น่าจะมีส่วนที่ตามประกบนายสันติภาพ เพราะนายสันติภาพร่วมมือเป็นอย่างดีในฐานะทีมที่ 2 (ทีมลวงว่า ฆ่าประสงค์ต่อทรัพย์) และจากการใช้บ้านพี่สาว (จิราภา) ย่านลาดกระบังเป็นที่พักในวันที่ 9 มิถุนายน และการยินยอมให้ตำรวจจับตัวที่สมุทรสาครในวันที่ 10 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่า อาจมีทีมอื่นทำหน้าที่อื่นอีก แต่ไม่มีข้อมูลในส่วนนี้มากพอ
2. รถตู้โฟล์ค ไม่ใช่รถคันเดียวที่ใช้ในการก่อเหตุในคดีนี้
เนื่องจากทีมสังหารต้องใช้รถในการเดินทาง รวมถึงอาจต้องสับเปลี่ยนรถให้นายเอกยุทธในบางเวลา เช่น ตอนรับเช็คที่สนามบิน ทีมสังหารจะไม่ยอมให้นายเอกยุทธเดินลงมาจากรถเด็ดขาด เพราะนายเอกยุทธอาจยอมเสี่ยงวิ่งหนี หรือสร้างสถานการณ์ให้ผู้คนในบริเวณนั้นสังเกตเห็นได้ตลอดเวลา การใช้รถตู้โฟล์คยังเสี่ยงต่อการทิ้งร่องรอยบางอย่างที่นำไปสู่การพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ หรือหากมีการต่อสู้ขัดขืน หรือนายเอกยุทธสร้างบาดแผลให้ตัวเอง ก็อาจจะใช้เป็นหลักฐานในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้ทั้งสิ้น แม้ทีมสังหารอาจจะมั่นใจว่าสามารถทำลายสิ่งที่อาจจะกลายมาเป็นหลักฐานในภายหลัง ได้ตลอดเวลาก็ตาม และรถตู้โฟล์ค ก็ได้ขับผ่านด่านตรวจและสามารถจับภาพไว้ได้ เช่น ที่ บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี เวลา 10.30 น. ของวันที่ 8 มิถุนายน ซึ่งนายเอกยุทธ จะอยู่ในรถตู้ดังกล่าว หรือไม่ก็ได้ เพราะมีการใช้รถมากกว่า 1 คัน
3. ถูกรัดคอ อำมหิตเกินกว่าฝีมือของนายสันติภาพ
ความคิดที่ว่า อย่าให้เลือดตกนองพื้น แล้วหันมาใช้การรัดคอด้วยวัสดุบางอย่าง ซึ่งทำให้ลิ้นจุกปาก ตาถลนนั้น เป็นฝีมือของคนที่มีความเลือดเย็น อำมหิต เกินกว่าจะเป็นฝีมือของเด็กหนุ่มอายุ 24 ปี ที่แม้จะมีประวัติในคดีกรรโชกทรัพย์มาแล้วก็ตาม เพราะนายสันติภาพสามารถใช้อาวุธปืนปลิดชีพนายเอกยุทธได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องลงแรง แต่การฆ่ารัดคอ และตีด้วยของแข็ง เป็นการฆ่าที่ทิ้งร่องรอยน้อยที่สุด เพราะไม่มีวัตถุให้ติดตามตรวจสอบ ซึ่งการเลือกใช้วิธีนี้ ต้องผ่านการพินิจพิเคราะห์มาอย่างดี อันเกินวิสัยของนายสันติภาพ
4. จงใจเชือดไก่ให้ลิงดู
4.1 จับกุมได้ง่าย
ขณะนี้ รูปคดีสามารถจับกุมผู้ต้องหาส่วนใหญ่ได้อย่าง่ายดาย แม้จะมีอีกส่วนหนึ่งที่สังคมคิดว่า ควรจะต้องถูกสอบสวนเพื่อความกระจ่าง การจับกุมผู้ต้องหาได้อย่างง่ายดายนี้เอง เป็นสิ่งที่สวนทางกับพฤติการณ์แวดล้อมในคืนวันที่ 6 มิถุนายน และวันที่ 7 มิถุนายน ซึ่งนายสันติภาพไม่อาจลงมือกระทำการเพียงลำพังได้อย่างแน่นอน พิรุธต่าง ๆ ที่เผยตัวออกมาให้เห็น แสดงให้เห็นว่า การอุ้มฆ่าในครั้งนี้ มิได้เจตนาจะปกปิดหลักฐานทั้งหมดแต่อย่างใด แต่เลือกปิดหลักฐานบางอย่างเพื่อไม่ให้สาวไปถึงผู้กระทำผิดตัวจริง และผู้บงการเท่านั้น
4.2 การพบศพ กับการอุ้มหายเงียบ แตกต่างกัน
หากนายเอกยุทธถูกอุ้มหายไปเงียบ โดยไม่พบศพ แม้นานไป จะน่าเชื่อว่าผู้ถูกอุ้มไม่มีชีวิตอยู่แล้ว แต่การพบศพ จะเป็นการแสดงหลักฐานให้เห็นว่านายเอกยุทธตายจริง ซึ่งเป็นการสื่อสารบางอย่าง
4.3 สภาพศพเปลือยอุจาด
สภาพศพนายเอกยุทธที่ถูกถอดเสื้อผ้าออก หากเป็นนายสันติภาพ ลงมือฆ่า จะไม่พิถีพิถันเรื่องการทำลายศพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก แต่การถอดเสื้อผ้าออกนี้ อาจมีจุดประสงค์บางอย่าง เช่น ต้องการให้เกิดความอุจาด เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างว่า แม้แต่ผู้มีชื่อเสียงอย่างนายเอกยุทธ ก็ต้องตายด้วยสภาพที่น่าสังเวช สภาพศพอุจาด ย่อมสร้างความหวาดกลัวได้มากกว่า การสังหารในครั้งนี้ เป็นการจงใจเชือดไก่ให้ลิงดู
5. ทีมสังหารไม่แตะเงิน มีการจ้างซ้อน
เป็นคำถามว่าทำไม นายสันติภาพจึงกำหนดวงเงินแค่ 5 ล้านบาท ทั้งที่ข่มขู่ได้มากกว่านั้น และเมื่อกระจายเงินออกไปให้เพื่อนนายสันติภาพ หากถูกจับกุมได้ ก็ต้องมีการติดตามเอาเงินนั้นคืนอยู่ดี หากติดตามไม่ได้ทั้งหมดก็ยิ่งย้ำชัดว่า ผู้ร่วมขบวนการไม่ได้มีแค่นี้ แต่เพราะเงินจะถูกติดตามได้ง่ายนั่นเอง จึงแสดงให้เห็นว่า นายสันติภาพถูกจ้างซ้อน รวมทั้งทีมสังหารด้วยเช่นกัน
6. นายเฉลิม และ ผบ.ตร. สรุปคดีอย่างง่ายดาย มีธงล่วงหน้า
โดย ผบ.ตร. ตอบผู้สื่อข่าวว่า คดีนี้ไม่มีเบื้องหลังทางการเมือง ส่วนนายเฉลิม กล่าวว่า "หลักฐานแค่นี้ เพียงพอแล้ว" ซึ่งเป็นการด่วนสรุป และมีธงชี้นำ ทั้งที่ยังสามารถสอบสวนพยานหลักฐานได้อีกมากมาย และหากนายเฉลิมเป็นญาติของผู้ตาย นายเฉลิมจะคิดง่าย ๆ ว่า หลักฐานแค่นี้ก็พอแล้ว หรือไม่ ? นายเฉลิมยังท้าทายอีกว่า หากมีหลักฐานให้นำมาแสดงให้ดู ท่าทีของผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้ เป็นเรื่องที่น่ากังขาอย่างยิ่ง
ไม่มีอะไรที่ไม่ทิ้งร่องรอย