เทียบกับ การจำนำข้าว
เอา “เมล็ดข้าว” ของจริง ไม่สนใจเรื่องโฉนดที่ดิน ที่เรียกว่า “รับจำนำทุกเม็ด”
จะทำที่ของตัวเอง หรือจะเช่าที่ดิน ขอให้มี “เม็ดข้าว” มาจำนำ ได้เงิน
15,000 บาท / เกวียน (ตัน) สำหรับข้าวเปลือก 100% ความชื้นไม่เกิน 15%
14,800 บาท / เกวียน สำหรับข้าวเปลือก 5% ความชื้นไม่เกิน 15%
20,000 บาท / เกวียน สำหรับข้าวหอมมะลิ
มียอดจำนำปีนี้ ข้าวนาปี 6.9 ล้านตัน (ที่น้อย เพราะอยู่ในช่วงคาบเกี่ยว ประกัน / จำนำ ฤดูผลิต 2554-2555)
นาปรัง เข้าโครงการจำนำ รวม 9.8 ล้านตัน (จำนำเต็มจำนวนที่ผลิตได้)
รวม ข้าวที่อยู่ในโครงการรับจำนำแล้ว 17 ล้านตัน จุดนี้แหละ ถูกนำมาเป็นประเด็นโจมตีอีกแง่มุมหนึ่ง
รัฐฯ ขาดทุนมหาศาล เอาข้าวจำนำมา “กองไว้” ไม่ได้ขาย เอาภาษีมาอุดหนุน ให้เสียหาย
จะ “ขาดทุน” หรือไม่ ให้ดูรายละเอียดนะ (คิดต่อเกวียน หรือ ตัน)
ต้นทุนรัฐบาล รับจำนำ 15,000 บาท
ค่าสีข้าว + อื่นๆ 500 บาท
ค่าเช่าโกดัง 4 เดือน @ 75 บาท 300 บาท รวม 15,800 บาท / ตัน (ข้าวอยู่ในความดูแลของรัฐฯ)
ข้าวเปลือก 1 ตัน สีออกมาแล้ว ได้ข้าวสาร 450 ก.ก. ที่เหลือเป็น
ปลายข้าว (ข้าวหัก) 200 ก.ก. / รำข้าว 100 ก.ก. / แกลบ 250 ก.ก.
เวลาคิดราคา คิดแยก 2 กอง คือ “ข้าวสาร” กับ “ผลพลอยได้”
ปลายข้าว 200 ก.ก. x 14 บาท = 2,800 บาท
รำข้าว 100 ก.ก. x 8 บาท = 800 บาท
แกลบ 250 ก.ก. x 0.8 บาท = 200 บาท รวมมูลค่า ผลพลอยได้ 3,800 บาท / ข้าวเปลือก 1 ตัน
เมื่อนำไปหักออก จากต้นทุนข้าวเปลือก 15,800 บาท / ตัน
จะเหลือต้นทุนข้าวสาร 450 ก.ก. = 12,000 บาท (26.70 บาท / ก.ก.)
จะรู้ว่า กำไร (ขาดทุน) จริง ต้องเทียบราคาขาย
ถ้าราคาขาย ส่งออก เท่ากับ $600 / ตัน (ข้าวสาร) ก็เท่ากับ
600 x 31.50 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน) = 18,900 บาท / ตัน
ข้าวสาร 450 ก.ก. / ตัน = 18,900 x .45 = 8,505 บาท
ฉะนั้น (ขาดทุนจริง) = 12,000 – 8,505 = 3,495 บาท / ตัน (ข้าวเปลือก)
แล้วถ้าราคาข้าว (FOB Bangkok) มันขึ้นไปเป็น $700, $800, $900 ล่ะ
จึงขึ้นอยู่กับราคาขายข้าวสาร หากเกิน $800/ตัน เราก็มีกำไร
เทียบกับอดีต สมัยประกันราคา ได้ราคาส่งออก (FOB) ที่ $490 / ตัน
เมื่อรัฐฯ รับจำนำ ทำให้ “ของ” มาอยู่ในมือรัฐฯ ทำให้ควบคุม ราคาขาย ได้
ตอนที่มีการรับจำนำช่วงแรก ราคาอยู่ที่ $600 เคยขึ้นไปถึง $672
เวลานี้รัฐฯ จะขายแบบ รัฐฯ ต่อ รัฐฯ (Government to Government)
คาดว่าจะขายให้จีน 2 ล้านตัน อินเดีย 1 ล้านตัน ที่อื่นๆ 1 ล้านตัน รวม 4 ล้านตัน
ราคาขาย อยู่ที่ $612 / ตัน
ฉะนั้น รัฐจะ (ขาดทุน) ประมาณ 3,325 บาท / ตัน
รัฐฯ รับจำนำมาแล้ว 17 ล้านตัน หากขายได้เฉลี่ยที่ $612 / ตัน ขาดทุนตันละ 3,325 บาท
ฉะนั้น โครงการรับจำนำในปีนี้ จะขาดทุยรวม ประมาณ 56,525 ล้านบาท
โครงการ “รับประกันราคา” ของรัฐบาลที่แล้ว ใช้งบประมาณไป 8 หมื่นล้านบาท
แต่...ชาวนายังยากจน
นโยบาย ดี-ไม่ดี ดูอย่างไร?
1 ดูว่าใคร ได้ประโยชน์
2 ดูว่า ใช้เงินงบประมาณอย่างไร เท่าไร?
ตอนนี้ ชาวนาขายข้าวได้เฉลี่ย 11,500 – 12,500 บาท / เกวียน ขึ้นอยู่กับความชื้น
เทียบกับการขายข้าวตามกลไกเดิมๆ ชาวนาได้เงินเพิ่มเฉลี่ย 5,000 – 5,500 บาท / เกวียน
ที่มาโจมตีเรื่อง ข้าวล้นโกดัง ตอนนี้มี 11 ล้านตัน (จำนวนนี้มี ปลายข้าว 3.4 ล้านตัน รวมอยู่ด้วย)
มีระบายออกมาบ้างส่วนหนึ่ง เหลือข้าวสารเพื่อจำหน่ายจริง ประมาณ 6 ล้านตัน
ข้อแนะนำคือ ขายปลายข้าวออกมาเลย เพราะเป็นการขาย ภายในประเทศ ไม่มีการส่งออก
ที่เหลือข้าวสาร 6 ล้านตัน รัฐฯ ต้องควบคุม supply และทำให้ราคาข้าวสารสูงขึ้น
ที่พ่อค้าไม่ชอบ โรงสีไม่ชอบ ก็เพราะเรื่องของไม่มีขายในตลาด
ในอดีตสบาย ซื้อของถูก พอมาเป็นอย่างนี้ ก็ต้องเดือดร้อนเป็นธรรมดา
ทั้งๆ ที่จริง ปัญหาเรื่องพ่อค้า คนกลุ่มเดียว มีจำนวนไม่มาก น่าจะเป็นเรื่องอันดับรอง
และพวกเขาทำการค้า เขาย่อมรู้ดี และปรับตัวได้ในที่สุด
ส่วน ชาวนายากจน เป็นปัญหาใหญ่ของชาติ เป็นเรื่องหลัก
นโยบาย “จำนำข้าว” ของรัฐฯ จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ที่กล่าวหาว่า การจำนำราคา “บิดเบือนกลไกตลาด”
เป็นเรื่องจริง ใช่ และที่ต้องทำการ “บิดเบือน”
ก็เพื่อทำให้มันตรงไง บิดให้มันตรง เพราะที่แล้วมา
กลไกมันไม่เป็นธรรม ให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์
ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
ตอนนี้ รัฐฯ รับจำนำ มี “ของ” แล้ว รัฐฯ ก็เปิดประมูล
พวกคุณก็มาประมูลไป แต่รัฐฯ ย่อมสามารถ กำหนด
“ราคาประมูลขั้นต่ำ” ได้นี่
เรื่องไทย “เสียแชมป์” ก็ช่างมันซิ
ที่แล้วมาเราเป็นแชมป์ตลอด แต่ชีวิตชาวนาเป็นอย่างไร?
อย่าหลงประเด็น เป็นแชมป์แล้วลำบาก เป็นไปทำไม?
แล้วถ้าจะว่ากันตามจริง ระยะเวลาของยอดส่งออก
เขานับรอบ 12 เดือน ตอนนี้ เราเก็บไว้ ยังไม่ปล่อย
ไม่ได้หมายถึงเราไม่ขายนี่ เวียดนาม, อิเดีย ขายไป
อย่างไรก็ไม่พอความต้องการของโลก ลองคิดดูขณะที่
เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน ไม่มีของขาย แต่เรามี
อีกประเด็น มีคนบอกว่า ชาวนาส่วนใหญ่ ไม่ได้ประโยชน์
ส่วนใหญ่ เป็นชาวนารายย่อย “ทำแค่พอกิน” ไม่มีมาจำนำ
ใน 3.7 ล้านครัวเรือน มีชาวนาทำพอกินถึง 2.6 ล้านครัวเรือน
จริงหรือ ?
ดูตัวเลขสถิติ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
เกษตรกรชาวนาข้าว ลงทะเบียน 3.2 ล้านครัวเรือน ที่ดินทำกินเฉลี่ย 18 ไร่ / ครัวเรือน
แต่สถิติบอกว่า ผู้ที่ถือครองที่ดินตั้งแต่ 10 – 39 ไร่ คิดเป็น 52% ของทั้งหมด
ที่ว่า ชาวนา 2.6 ล้านครัวเรือน ทำพอกิน เอาตัวเลขมาจากไหน?
ชาวนา เฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน กินข้าวทั้งปี เพียง 600 ก.ก. (เฉลี่ย)
หรือคิดเป็นข้าวเปลือก เท่ากับ 1,500 ก.ก. ใช้ที่ปลูก 2 ไร่
ชาวนาที่ไหน ทำการเพาะปลูกข้าทั้งปี แค่ 2 ไร่?
เรื่อง ทุจริต
เป็นไปไม่ได้ที่จะ ไม่มี แต่มีแค่ไหน? อย่างไร? เป็นเรื่องที่ต้องแก้
มันทุจริต ร้ายกาจถึงขนาดต้องล้มโครงการเลยหรือ?
ถ้าเทียบระบบประกันราคา กับ จำนำราคา
ระบบประกันราคา มันทุจริต โดยไม่ต้อง “ออกแรงโกง” เลย
ระบบรับจำนำ มันมีขั้นตอนเชิงประจักษ์
จะโกง จะทุจริต ก็ทำได้ แต่มันยาก มีขั้นตอน
และถ้าจับได้ บทลงโทษหนักๆ มันก็ไม่คุ้ม
สรุปคือ ต้องแก้ปัญหาทุจริต แต่ไม่ต้องยกเลิกโครงการ
รัฐฯ ต้องสื่อสารถึงชาวนาทั้งหลาย
รัฐฯ ยินดีช่วยเหลือ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากชาวนา ในเรื่อง
อย่าเร่งปลูก จนเกินไปทำให้ไม่ได้ผลผลิตที่ดี
อย่าใช้พันธ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีราคา
จัดทำ stock ตัวเลข แยกเมล็ดข้าว / ผลพลอยได้
ช่วยเป็นหูเป็นตาให้รัฐ ดำเนินการจับทุจริต เพื่อคงนโยบายนี้ไว้
เมื่อชาวนามีเศรษฐกิจครัวเรือนที่ดีขึ้น มีกำลังซื้อ
มันก็ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติได้