Jump to content


Photo
- - - - -

Yeh Yeh! ประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงใช้แล้ว ไอ้หนวด รฟท ลงนามจ้างที่ปรึกษาศึกษาแล้ว


  • Please log in to reply
54 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 kop16

kop16

    U will never walk alone.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,507 posts

ตอบ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 19:53

ร.ฟ.ท.เซ็นจ้างออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (กทม.-ระยอง) 251.4 ล้านบาท เร่งสรุปใน 14 เดือน “ประภัสร์” เผยหลัง พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านผ่านจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนได้ปลายปีนี้ มั่นใจเปิดประมูลก่อสร้างได้ก่อนสายอื่น ตั้งเป้าให้เดินรถได้ในปี 62 พร้อมสั่งศึกษาต่อถึงตราดอีก 100 กม.

วันนี้ (1 ก.ค.) นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธานในการลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระหว่าง ร.ฟ.ท. กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา AEC วงเงิน 251.4 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 14 เดือน โดยนางสร้อยทิพย์เปิดเผยว่า การว่าจ้างที่ปรึกษาล่าช้ากว่าแผนที่จะเริ่มงานตั้งแต่ต้นปี หากเป็นไปได้จะให้ที่ปรึกษาเร่งสรุปการศึกษาภายใน 10 เดือน พร้อมกับให้ดำเนินการเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คู่ขนานไปด้วย เนื่องจากแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางรถไฟ จึงมั่นใจว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ก่อนสายอื่น

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การก่อสร้างจะใช้เขตทางรถไฟที่มีอยู่เป็นหลักจึงจะเวนคืนที่ดินน้อยมากเฉพาะส่วนที่เป็นอู่ซ่อมบำรุง (Depot) และรัศมีทางโค้งเพื่อความปลอดภัย โดยไม่ผ่านพื้นที่อ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเป็นการออกแบบรายละเอียด (Detail & Design) ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่านจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินได้ทันที คาดว่าอยู่ในช่วงปลายปี 2556-ต้นปี 2557 และจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่เปิดประกวดราคาก่อสร้างได้เป็นสายแรกในปี 57 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2562

ทั้งนี้ โครงการนี้ไม่ใช่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ (มักกะสัน-สุวรรณภูมิ)เนื่องจากความเร็วต่างกัน ระบบอาณัติสัญญาณจะต้องแยกกัน ดังนั้นในสัปดาห์หน้าจะประชุมร่วมกับที่ปรึกษาเพื่อหารือถึงรายละเอียดการศึกษาออกแบบ โดยเฉพาะจุดเชื่อมต่อที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เบื้องต้นพบว่าพื้นที่ใต้อาคารผู้โดยสารของสุวรรณภูมิอาจไม่เพียงพอที่จะให้รถไฟความเร็วสูงเข้าไปได้ จึงอาจต้องหาพื้นที่บริเวณสถานีลาดกระบังหรือทับช้างเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารจากสุวรรณภูมิเพื่อเดินทางไประยองโดยไม่ต้องย้อนกลับมามักกะสันหรือบางซื่อ พร้อมกันนี้ได้ให้บริษัทที่ปรึกษาดำเนินการออกแบบเส้นทางต่อจากระยองไปถึงจังหวัดตราด ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรด้วยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม

“มีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาในการออกแบบ เช่น แนวเส้นทางช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ จะใช้ทางร่วมกับแอร์พอร์ตลิงก์ (มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) แต่จะแยกระบบอาณัติสัญญาณ เพราะแอร์พอร์ตลิงก์ความเร็ว 160 กม./ชม. ส่วนรถไฟความเร็วสูงความเร็ว 250 กม./ชม. รวมถึงจะต้องนำข้อผิดพลาดจากโครงการแอร์พอร์ตลิงก์มาเป็นบทเรียน และต้องไม่เกิดซ้ำอีก เมื่อเปิดให้บริการจะต้องเป็นเส้นทางที่มีความสมบูรณ์ไม่ถูกต่อว่าเหมือนที่ผ่านมา ส่วนความคืบหน้าโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) นั้น การออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างรอการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเพื่อโครงสร้างเชื่อมกัน” นายประภัสร์กล่าว

สำหรับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 100,631 ล้านบาท ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที เริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ (เป็นระบบใต้ดิน)-คลองสามเสน-พระราม 6-พญาไท จากนั้นใช้ทางร่วมกับแอร์พอร์ตลิงก์ โดยแยกระบบอาณัติสัญญาณไปถึงสุวรรณภูมิ จากนั้นไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกผ่านฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา สิ้นสุดทางรถไฟปัจจุบันที่พลูตาหลวง และเวนคืนที่ดินเพิ่มเพื่อต่อไปถึงสถานีระยอง โดยจะเป็นเส้นทางที่รองรับทั้งการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงถึง 13.28% ประมาณการผู้โดยสารปีที่เปิดให้บริการเบื้องต้นที่สถานีต้นทาง 28,000 คนต่อวัน และสถานีปลายทางระยองที่ 8,000 คนต่อวัน

http://www.manager.c...D=9560000080007


แต่ก่อน รอง ปลัด คค กะ ผู้ว่า รฟท ได้ยินว่าไม่ถูกกันนะ

Edited by kop16, 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 19:55.

If you try hard enough, you can be whatever you want to be.


#2 เหล่าฮู

เหล่าฮู

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 993 posts

ตอบ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 19:54

ไอ้หนวดนี่แหละที่สร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจนสำเร็จมาแล้ว



#3 gears

gears

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,450 posts

ตอบ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 19:57

ไอ้หนวดนี่แหละที่สร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจนสำเร็จมาแล้ว


แม้มมม เก่งวะสร้างเสร็จได้ด้วยตัวคนเดียววว !!!!

#4 pop2518

pop2518

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 941 posts

ตอบ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 20:06

แต่มาคุม รฟท ก็ยังคงเจ๊งบ๊งอยู่ เก่งมั่กๆ ทำได้แค่ไล่ที่ตลาด และเก็บค่าเช่าแพงๆ



#5 นิติรั่ว

นิติรั่ว

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,513 posts

ตอบ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 20:17

ไอ้หนวดนี่แหละที่สร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจนสำเร็จมาแล้ว

อ้าวผมเข้าใจผิดมาตั้งนานคิดว่าสร้างโดยภาษีของประชาชน โดยจ้างไอ้หนวดนี่ควบคุมกำกับ


ผมไม่ใช่คนเก่งกฎหมาย แค่รู้กฎหมาย แต่ไม่เคยคิดใช้ช่องว่างของกฎหมายมาทำให้กฎหมายขาดความเป็นธรรม

#6 idecon

idecon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,580 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 00:10

ความเร็ว 120 กะ 250 เนี่ย ใช้รางเดียวกันได้เหรอ
เอาแค่160ก็พอม๊าง ประหยัดราง ไม่ต้องทำใหม่
หรือของเดิมยังเจ๊งไม่ถึงใจ

#7 Rxxxx

Rxxxx

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,486 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 00:20

  เส้นทางคงมีแค่สองสถานีเท่านั้น คือพัทยากับระยอง

   เพราะกว่าจะทำความเร็ว กว่าจะลดความเร็วลง
  ความเร็วคงตกสเปกไปเยอะ
  ผมว่าแค่ทำรางสามเพิ่มมารองรับปริมาณรถไฟข่นสินค้า

  แล้วเอารถสปรินเตอร์ที่เร็ว 120 กม.มาวิ่งหลายๆเที่ยวต่อวัน
  ก็พอแล้วละ


Edited by Rarm41, 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 00:23.


#8 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:17

Yeh Yeh! ประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงใช้แล้ว ไอ้หนวด รฟท ลงนามจ้างที่ปรึกษาศึกษาแล้ว

 

       Oh เถนคำ... ฝันจะเป็นจริงแล้ว จะมีหนี้อีก50ปี แล้ว ...ดีใจจัง


ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ


#9 ไบกอนร้ายกำจัดแมงสาป

ไบกอนร้ายกำจัดแมงสาป

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 27 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:23

ม้าเหล็กสร้างชาติ

 



#10 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:27

ม้าเหล็กสร้างชาติ

 

 

นั่นมันรถไฟหนักที่ขนสินค้าปริมาณมากๆได้ในราคาตํ่า ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงที่ขนสินค้าก็ได้เหมือนกันนะ แต่ว่าแพงฉิบหาย  -_-



#11 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:31

<_<  แล้วที่ไอ้หนวดนี่ทำรถไฟใต้ดินชนกันได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนี่ ถือเป็นผลงานมั้ย???


:) Sometime...Sun shine through the rain...

#12 จูกัดขงเบ้ง

จูกัดขงเบ้ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,226 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:33

เฮ้ยยย

มันเอาจริงเว้ย

กลัวเน่าแบบโครงการน้ำ รีบเซ็นก่อนเลย


แผ่นดินนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ทั้งกษัตริย์ยังทรงคุณธรรมอันสูงส่ง

จำคำนี้ไว้ไปบอกยมบาลเวลาเจ้าลงนรกก็แล้วกัน


#13 พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,450 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:43

 

ร.ฟ.ท.เซ็นจ้างออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (กทม.-ระยอง) 251.4 ล้านบาท เร่งสรุปใน 14 เดือน “ประภัสร์” เผยหลัง พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านผ่านจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนได้ปลายปีนี้ มั่นใจเปิดประมูลก่อสร้างได้ก่อนสายอื่น ตั้งเป้าให้เดินรถได้ในปี 62 พร้อมสั่งศึกษาต่อถึงตราดอีก 100 กม.

http://www.manager.c...D=9560000080007

 

 

ต่อไปคนไทยใจเขมรจะได้เดินทางไปกราบไหว้ท่านฮุนเซนได้ง่ายขึ้นแล้ว   :lol:   :lol:   :lol:


Edited by หมื่นปีมีทักษิณชั่วคนเดียว, 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:43.

อยากรู้ว่าประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไหน ให้ดูการใช้รถใช้ถนนรู้จักกันแต่สิทธิ แต่ไม่เคยรู้จักหน้าที่ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้

#14 Emolution

Emolution

    โคตรพ่อโคตรแม่ควายแดง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,029 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:51

จะเจ๊งเหมือนแอร์พอร์ทลิ้งค์หรือไม่



#15 ไบกอนร้ายกำจัดแมงสาป

ไบกอนร้ายกำจัดแมงสาป

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 27 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 13:09

 

ม้าเหล็กสร้างชาติ

 

 

นั่นมันรถไฟหนักที่ขนสินค้าปริมาณมากๆได้ในราคาตํ่า ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงที่ขนสินค้าก็ได้เหมือนกันนะ แต่ว่าแพงฉิบหาย  -_-

 

 

 

อีก 20-30 ปีข้างหน้า รถไฟความเร็วสูงในวันนี้ก็จะกลายเป็นรถไฟความเร็วปกติที่ใช้กันทั่วโลก เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ประเทศต่างๆ จะไม่มีก็ไม่ได้ และค่่าโดยสารเมื่อถึงวันเปิดใช้ก็จะถูกเมื่อเทียบกับรายได้ของประชาชนในตอนนั้น หากไม่เริ่มสร้างวันนี้ อีก 20 ปีข้างหน้าลูกคุณก็จะด่ารัฐบาลตอนนี้ว่าวิสัยทัศน์คับแคบ เมื่อมองย้อนกลับมาจาก 30 ปีข้างหน้า เราก็จะเห็นเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศไทยอันเป็นผลจากรถไฟความเร็วสูงที่ทำให้ประเทศแคบเพราะการเดินทางที่รวดเร็ว

 



#16 BearFamily

BearFamily

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 849 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 13:47

 

 

ม้าเหล็กสร้างชาติ

 

 

นั่นมันรถไฟหนักที่ขนสินค้าปริมาณมากๆได้ในราคาตํ่า ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงที่ขนสินค้าก็ได้เหมือนกันนะ แต่ว่าแพงฉิบหาย  -_-

 

 

 

อีก 20-30 ปีข้างหน้า รถไฟความเร็วสูงในวันนี้ก็จะกลายเป็นรถไฟความเร็วปกติที่ใช้กันทั่วโลก เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ประเทศต่างๆ จะไม่มีก็ไม่ได้ และค่่าโดยสารเมื่อถึงวันเปิดใช้ก็จะถูกเมื่อเทียบกับรายได้ของประชาชนในตอนนั้น หากไม่เริ่มสร้างวันนี้ อีก 20 ปีข้างหน้าลูกคุณก็จะด่ารัฐบาลตอนนี้ว่าวิสัยทัศน์คับแคบ เมื่อมองย้อนกลับมาจาก 30 ปีข้างหน้า เราก็จะเห็นเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศไทยอันเป็นผลจากรถไฟความเร็วสูงที่ทำให้ประเทศแคบเพราะการเดินทางที่รวดเร็ว

 

 

เพิ่งไปเข้าร่วมสัมนาที่สโมสรทหารบกมาเมือวันจันทร์ที่ 24/6 เรื่องเกี่ยวกับโครงการ 2ล้านๆ

กิติรัตน์ก็ไปพูดนะครับ แต่เหมือนพูดหาเสียง ไม่มีความชัดเจนในนโยบายซักอย่าง ตัวแทนรัฐก็ไปร่วมเวทีเสวนา แล้วมีคนยกประเด็นเรื่องความพร้อมของคนในประเทศกับรถไฟความเร็วสูง + ภาระหนี้สินที่จะเกิดจากโครงการนี้

จากที่ฟัง การมีรถไฟความเร็วสูงเป็นสิ่งที่จำเป็นในอนาคตครับ แต่จำเป็นไหมที่ต้องลงทุนเอง ทั้งที่มีจีนสนใจลงทุนให้ พม่าไม่ค่อยอยากให้จีนลงทุนให้เพราะอยากเกาะอเมริกามากกว่า แต่พี่ไทยเรามีเหตุผลอะไรที่จะปฏิเสธจีนครับ หรือเพราะเป็นงบประเทศเค้าเราเลยโกงไม่ได้เลยไม่เอา

ส่วนเรื่องเส้นทางผ่านอีสานเนี่ยก็ถูกต้องแล้วตามแผนที่เคยวางไว้ในอดีต แต่ไม่รู้ว่าใครหัวใส พยายามดันให้ไปเชียงใหม่แทน?? กลัวแดงเชียงใหม่เข้า กทม.ลำบากเหรอคับ? 5555+



#17 ประชาไทย

ประชาไทย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 285 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 14:00

ประพัส   มันเคยขึ้นรถไฟสายตะวันออกหรือเปล่า   

จากกรุงเทพ-พลูตาหลวง ไปลงชลบุรี   มีคนขึ้นเต็มที่ก็แค่แปดริ้วเท่านั้น

นอกนั้นโหลงเหลง  ได้แค่100คนก็เก่งแล้ว

เพราะทางรถไฟ มันไม่ผ่านแหล่งชุมชนที่คนใช้บริการเลย

เจ้งแน่นอนใน10ปีแรก



#18 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:37

 

 

ม้าเหล็กสร้างชาติ

 

 

นั่นมันรถไฟหนักที่ขนสินค้าปริมาณมากๆได้ในราคาตํ่า ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงที่ขนสินค้าก็ได้เหมือนกันนะ แต่ว่าแพงฉิบหาย  -_-

 

 

 

อีก 20-30 ปีข้างหน้า รถไฟความเร็วสูงในวันนี้ก็จะกลายเป็นรถไฟความเร็วปกติที่ใช้กันทั่วโลก เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ประเทศต่างๆ จะไม่มีก็ไม่ได้ และค่่าโดยสารเมื่อถึงวันเปิดใช้ก็จะถูกเมื่อเทียบกับรายได้ของประชาชนในตอนนั้น หากไม่เริ่มสร้างวันนี้ อีก 20 ปีข้างหน้าลูกคุณก็จะด่ารัฐบาลตอนนี้ว่าวิสัยทัศน์คับแคบ เมื่อมองย้อนกลับมาจาก 30 ปีข้างหน้า เราก็จะเห็นเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศไทยอันเป็นผลจากรถไฟความเร็วสูงที่ทำให้ประเทศแคบเพราะการเดินทางที่รวดเร็ว

 

 

 

อะไรที่ทำให้คุณคิดว่าราคาค่าโดยสารของรถไฟจะเป็นราคานี้ตลอดไปหรือครับ ต้นทุนการให้บริการของรถไฟมันจะไม่ปรับตัวขึ้นไปตามภาวะเงินเฟ้อเลยหรือ ไม่จริงเป็นไปไม่ได้ 

 

การขนส่งทุกระบบใช่ว่าลงทุนแล้วอยู่ตลอดไป ต้องมีการจ่ายเพิ่มตลอดเวลา ค่าต้นพลังงาน ค่าซ่อมบำรุง ค่าบริหารการจัดการซึ่งแน่นอน มันต้องปรับตัวสูงขึ้นไปทุกวัน มันไม่ใช่ต้นทุนที่คงที่ 

 

ยกตัวอย่างค่ารถเมล์เมื่อยี่สิบปีก่อนกี่บาท ตอนนี้กี่บาท ขึ้นมากี่เท่า คุณจะคิดว่าอาจจะเป็นเพราะราคานํ้ามันที่แพงขึ้นก็ได้ แต่ในอนาคตรถไฟก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน เพราะพลังงานถูกๆไม่มีอีกต่อไปแล้ว รถไฟฟ้านี่ก็เช่นกัน ก็ต้องไปซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯอยู่ดี แล้วต้นทุนค่าไฟฟ้ามีโอกาสปรับขึ้นไปตามราคาพลังงานของโลกมั้ยครับ 

 

ด้วยราคาน้องๆเครื่องบินอย่างนี้ ไม่มีทางดึงลูกค้าจากกลุ่มอื่นๆได้แน่นอน วันนี้มีคนนั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่กี่ล้านคนต่อปีครับ สนามบินที่เชียงใหม่ ยังรองรับผู้โดยสารไม่ได้ถึงครึ่งนึงของที่มันจะทำได้ด้วยซํ้า แล้วจะเอาคนที่ไหนมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูง 

 

สมมุติว่าผมคิดค้นโหมดการเดินทางใหม่ล่าสุดของโลก ซึ่งสามารถส่งคนไปเชียงใหม่ ภายในเวลา 1ชั่วโมง 10 นาที (ไม่รวมเวลาเช็คอิน) ในราคา 1,500 บาท แน่นอนว่าแรกๆอาจจะมีคนเห่อของใหม่ชัวร์ๆ อาจจะมาใช้บริการจะล้น แต่พอเวลาผ่านไป คนเลิกเห่อ คนที่เคยมาใช้บริการของผม เขาอาจจะไม่กลับมาใช้บริการผมเลยก็ได้ รู้มั้ยทำไมครับ ก็เพราะคนไม่รู้จะเสียเงิน 1,500 บาท เดินทางไปเชียงใหม่ทำไมหน่ะซิ

 

ไม่ใช่ไปง่าย ไปสะดวก แล้วคนจะเดินทางกันเยอะ ถ้าไม่มีอะไรไปกระตุ้นที่ทำให้เค้าเดินทาง คนเขาก็ไม่ไปหรอกครับ


Edited by ควันหลง, 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:40.


#19 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 20:13

ส่วนเรื่องเส้นทางผ่านอีสานเนี่ยก็ถูกต้องแล้วตามแผนที่เคยวางไว้ในอดีต แต่ไม่รู้ว่าใครหัวใส พยายามดันให้ไปเชียงใหม่แทน?? กลัวแดงเชียงใหม่เข้า กทม.ลำบากเหรอคับ? 5555+

 

 

ในสายตาผมนะ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ นั้นโอกาสทำกำไรมากที่สุดแล้วครับ เพราะเป้าหมายของโครงการนี้คือแข่งขันกับสายการบิน ปริมาณผู้โดยสารเส้นทางนี้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ และเยอะกว่าเส้นทางภาคอีสานชนิดเทียบไปไม่ติด ผมเห็นว่าเส้นทางนี้สร้างก่อนน่ะถูกแล้วครับ เพราะเส้นทางภาคอีสานที่บอกว่าเชื่อมกับจีนนั้น ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นะครับ ทางลาวไม่รู้ว่าไปตกลงกับเค้าหรือยัง? ดังนั้นเราไม่ควรเอาเงินไปเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่แน่นอนเช่นนั้น

 

ส่วนประเด็นอื่นนั้น เห็นด้วยครับ เรื่องภาระหนี้ที่เยอะและน่าเป็นห่วง แต่ผมแย้งนิดนึงเรื่องลงทุนร่วม การที่เค้าลงทุน เค้าก็ต้องหวังผลตอบแทนต่อประเทศเค้าให้มากที่สุด เราก็ต้องระวังเช่นกัน เช่นถ้าเค้าเสนอว่าขอเช่าที่ดินและเก็บผลประโยชน์จากเส้นทางและสถานีรถไฟยี่สิบปี แบบนี้ผมก็ไม่เอาด้วยนะครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#20 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 20:25

 

ด้วยราคาน้องๆเครื่องบินอย่างนี้ ไม่มีทางดึงลูกค้าจากกลุ่มอื่นๆได้แน่นอน วันนี้มีคนนั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่กี่ล้านคนต่อปีครับ สนามบินที่เชียงใหม่ ยังรองรับผู้โดยสารไม่ได้ถึงครึ่งนึงของที่มันจะทำได้ด้วยซํ้า แล้วจะเอาคนที่ไหนมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูง 

 

สมมุติว่าผมคิดค้นโหมดการเดินทางใหม่ล่าสุดของโลก ซึ่งสามารถส่งคนไปเชียงใหม่ ภายในเวลา 1ชั่วโมง 10 นาที (ไม่รวมเวลาเช็คอิน) ในราคา 1,500 บาท แน่นอนว่าแรกๆอาจจะมีคนเห่อของใหม่ชัวร์ๆ อาจจะมาใช้บริการจะล้น แต่พอเวลาผ่านไป คนเลิกเห่อ คนที่เคยมาใช้บริการของผม เขาอาจจะไม่กลับมาใช้บริการผมเลยก็ได้ รู้มั้ยทำไมครับ ก็เพราะคนไม่รู้จะเสียเงิน 1,500 บาท เดินทางไปเชียงใหม่ทำไมหน่ะซิ

 

ไม่ใช่ไปง่าย ไปสะดวก แล้วคนจะเดินทางกันเยอะ ถ้าไม่มีอะไรไปกระตุ้นที่ทำให้เค้าเดินทาง คนเขาก็ไม่ไปหรอกครับ

 

 

เท่าที่ทราบ ปริมาณผู้โดยสารเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันน่าจะประมาณ ๔ ถึง ๕ ล้านคนต่อปี ถ้ายังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมว่าน่าลุ้นนะครับ เราเพิ่มทางเลือกให้ผู้โดยสาร โดยการทำระบบรถไฟความเร็วสูง ผมว่าผู้โดยสารยินดีเลือกอยู่แล้วครับถ้ามันสะดวก และปลอดภัย ข้อดีต่างๆ เราก็เคยคุยกันแล้ว ผมยังยืนยันว่ามีลุ้นแน่นอน เพราะอย่างน้อยถ้ามีจริง ผมคนนึงล่ะที่ใช้แน่ๆ ผมถามหลายคนแล้ว ว่าถ้า ๓ ชั่วโมงเอามั้ย ใครๆ ก็ตอบว่าเอานะครับ

 

ผมงงว่าศักยภาพของสนามบิน มันมาเกี่ยวอะไรกับการใช้รถไฟล่ะครับ คนต้องใช้เครื่องบินเต็มศักยภาพก่อนแล้วขึงมาใช้รถไฟหรือครับ?

 

ผมกลับมองตรงกันข้ามเลย ถ้าโครงการนี้ทำดีๆนะ สนามบินเชียงใหม่ได้เงียบลงเยอะแน่


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#21 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 20:42

กรุงเทพเชียงใหม่ วิ่งความเร็วสูงสุดก็ประมาณ 3 ชั่วโมง

ถ้าจอดสถานีรายทางสัก 6 สถานี ๆ ละ 10 นาที ก็บวกอีก 1 ชั่วโมงเป็น 4 ชั่วโมง

เอาเข้าจริงกรุงเทพเชียงใหม่อาจใช้เวลาเกิน 5 ชั่วโมง ถ้าราคาแพงกว่าเครื่องบินนี่จบเลยนะครับ

แต่ข้อดีตรงที่สามารถขนของได้เยอะกว่าเครื่องบินมากขนผักขนต้นไม้ได้



#22 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:08

กรุงเทพเชียงใหม่ วิ่งความเร็วสูงสุดก็ประมาณ 3 ชั่วโมง

ถ้าจอดสถานีรายทางสัก 6 สถานี ๆ ละ 10 นาที ก็บวกอีก 1 ชั่วโมงเป็น 4 ชั่วโมง

เอาเข้าจริงกรุงเทพเชียงใหม่อาจใช้เวลาเกิน 5 ชั่วโมง ถ้าราคาแพงกว่าเครื่องบินนี่จบเลยนะครับ

แต่ข้อดีตรงที่สามารถขนของได้เยอะกว่าเครื่องบินมากขนผักขนต้นไม้ได้

 

เบ็ดเสร็จสามชั่วโมงเป็นไปได้ครับ เอาจริงๆต่ำกว่านั้นก็ได้ เพราะความเร็วสูงสุดสมัยนี้ซัดไป 300 กม.ต่อชั่วโมงแล้วครับ

 

ที่ญี่ปุ่นจอดแค่หนึ่งนาที่ครับ คนต้องรอขึ้นรถให้ตรงเวลา รถไม่รอคน คนต้องรอรถครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#23 BearFamily

BearFamily

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 849 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:30

 

ส่วนเรื่องเส้นทางผ่านอีสานเนี่ยก็ถูกต้องแล้วตามแผนที่เคยวางไว้ในอดีต แต่ไม่รู้ว่าใครหัวใส พยายามดันให้ไปเชียงใหม่แทน?? กลัวแดงเชียงใหม่เข้า กทม.ลำบากเหรอคับ? 5555+

 

 

ในสายตาผมนะ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ นั้นโอกาสทำกำไรมากที่สุดแล้วครับ เพราะเป้าหมายของโครงการนี้คือแข่งขันกับสายการบิน ปริมาณผู้โดยสารเส้นทางนี้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ และเยอะกว่าเส้นทางภาคอีสานชนิดเทียบไปไม่ติด ผมเห็นว่าเส้นทางนี้สร้างก่อนน่ะถูกแล้วครับ เพราะเส้นทางภาคอีสานที่บอกว่าเชื่อมกับจีนนั้น ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นะครับ ทางลาวไม่รู้ว่าไปตกลงกับเค้าหรือยัง? ดังนั้นเราไม่ควรเอาเงินไปเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่แน่นอนเช่นนั้น

 

ส่วนประเด็นอื่นนั้น เห็นด้วยครับ เรื่องภาระหนี้ที่เยอะและน่าเป็นห่วง แต่ผมแย้งนิดนึงเรื่องลงทุนร่วม การที่เค้าลงทุน เค้าก็ต้องหวังผลตอบแทนต่อประเทศเค้าให้มากที่สุด เราก็ต้องระวังเช่นกัน เช่นถ้าเค้าเสนอว่าขอเช่าที่ดินและเก็บผลประโยชน์จากเส้นทางและสถานีรถไฟยี่สิบปี แบบนี้ผมก็ไม่เอาด้วยนะครับ

 

 ทางรถไฟลาวจีนเริ่มสร้างแล้วครับ รวมถึงการทำโลจิสติกส์ปาร์คที่ลาวก็กำลังก่อสร้างอยู่ สิ่งที่เค้าหวังคือการเร่งสร้างเส้นทางกระจายสินค้าเค้าสู่ประเทศอาเซียน รวมถึงผูกขาดมิตรภาพระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนเพื่อกันอเมริกาออกไป ตามข้อตกลงทางการค้า RCEP เพื่อเอามาคานกับ TPP ของอเมริกาครับ

แล้วถ้ามาคิดกันจริงๆตามที่คุณพูดนะครับ 1.8แสนล้าน/20ปี เท่ากับปีละ 1หมื่นล้านที่ไทยจะได้มาแน่ๆเพราะไม่ต้องลงทุน แล้วสุดท้ายก็ตกมาเป็นของไทยอยู่ดี ทุกวันนี้การรถไฟยังขาดทุนอยู่ทุกวันเลยครับ จะลองเสี่ยงหรือ? รวมถึงความพร้อมของไทยต่อรถไฟความเร็วสูงอีก เราพร้อมลงเงินไปเสี่ยงหรือครับ สู้ให้จีนลงทุนให้เราไม่ดีกว่าหรือ เราไม่ต้องเสี่ยงเรื่องการเงินเลยนะครับ

ส่วนทางจาก กทม.ไปเชียงใหม่มีเมืองที่ได้รับผลประโยชน์เพียงไม่กี่แห่ง ทางก่อสร้างลำบากเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ รวมถึงเชียงใหม่มีสนามบินรองรับอยู่แล้ว ทั้งยังไม่เคยอยู่ในแม่บทของการประชุมเส้นทางทางการค้าระหว่างประเทศเลย เพิ่งจะเสนอเพราะ รบ.นี้ต้องการเอาใจฐานเสียงหลักเท่านั้นไม่ได้สนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเลย แทนที่จะกระจายความเจริญให้ทั่วทั้งประเทศกลับไปขยายเพิ่มเติมในที่ๆเจริญอยู่แล้วมันจะเป็น diminishing return นะครับ รวมทั้งจีนเคยเสนอจะทำต่อลงไปถึงมาเลย์ด้วย เราควรคิดถึงประโยชน์ต่อประเทศเราโดยรวม โดยคำนึงถึงความเสี่ยงหลายๆประการที่ประเทศไทยเรามีอยู่เช่นความไม่แน่นอนทางการเมืองและการเลือกปฏิบัติ คอรัปชั่น และความพร้อมในการบริหารรถไฟความเร็วสูงนี้ที่ไทยไม่มีประสบการณ์เลย แต่จีนมีทางรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลกไปแล้ว เทียบกับไทยที่ไม่มีประสบการณ์รถไฟความเร็วสูง และการบริหารงานของการรถไฟที่ล้มเหลวอยู่ในปัจจุบัน



#24 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:57

 

 

ส่วนเรื่องเส้นทางผ่านอีสานเนี่ยก็ถูกต้องแล้วตามแผนที่เคยวางไว้ในอดีต แต่ไม่รู้ว่าใครหัวใส พยายามดันให้ไปเชียงใหม่แทน?? กลัวแดงเชียงใหม่เข้า กทม.ลำบากเหรอคับ? 5555+

 

 

ในสายตาผมนะ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ นั้นโอกาสทำกำไรมากที่สุดแล้วครับ เพราะเป้าหมายของโครงการนี้คือแข่งขันกับสายการบิน ปริมาณผู้โดยสารเส้นทางนี้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ และเยอะกว่าเส้นทางภาคอีสานชนิดเทียบไปไม่ติด ผมเห็นว่าเส้นทางนี้สร้างก่อนน่ะถูกแล้วครับ เพราะเส้นทางภาคอีสานที่บอกว่าเชื่อมกับจีนนั้น ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นะครับ ทางลาวไม่รู้ว่าไปตกลงกับเค้าหรือยัง? ดังนั้นเราไม่ควรเอาเงินไปเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่แน่นอนเช่นนั้น

 

ส่วนประเด็นอื่นนั้น เห็นด้วยครับ เรื่องภาระหนี้ที่เยอะและน่าเป็นห่วง แต่ผมแย้งนิดนึงเรื่องลงทุนร่วม การที่เค้าลงทุน เค้าก็ต้องหวังผลตอบแทนต่อประเทศเค้าให้มากที่สุด เราก็ต้องระวังเช่นกัน เช่นถ้าเค้าเสนอว่าขอเช่าที่ดินและเก็บผลประโยชน์จากเส้นทางและสถานีรถไฟยี่สิบปี แบบนี้ผมก็ไม่เอาด้วยนะครับ

 

 ทางรถไฟลาวจีนเริ่มสร้างแล้วครับ รวมถึงการทำโลจิสติกส์ปาร์คที่ลาวก็กำลังก่อสร้างอยู่ สิ่งที่เค้าหวังคือการเร่งสร้างเส้นทางกระจายสินค้าเค้าสู่ประเทศอาเซียน รวมถึงผูกขาดมิตรภาพระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนเพื่อกันอเมริกาออกไป ตามข้อตกลงทางการค้า RCEP เพื่อเอามาคานกับ TPP ของอเมริกาครับ

แล้วถ้ามาคิดกันจริงๆตามที่คุณพูดนะครับ 1.8แสนล้าน/20ปี เท่ากับปีละ 1หมื่นล้านที่ไทยจะได้มาแน่ๆเพราะไม่ต้องลงทุน แล้วสุดท้ายก็ตกมาเป็นของไทยอยู่ดี ทุกวันนี้การรถไฟยังขาดทุนอยู่ทุกวันเลยครับ จะลองเสี่ยงหรือ? รวมถึงความพร้อมของไทยต่อรถไฟความเร็วสูงอีก เราพร้อมลงเงินไปเสี่ยงหรือครับ สู้ให้จีนลงทุนให้เราไม่ดีกว่าหรือ เราไม่ต้องเสี่ยงเรื่องการเงินเลยนะครับ

ส่วนทางจาก กทม.ไปเชียงใหม่มีเมืองที่ได้รับผลประโยชน์เพียงไม่กี่แห่ง ทางก่อสร้างลำบากเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ รวมถึงเชียงใหม่มีสนามบินรองรับอยู่แล้ว ทั้งยังไม่เคยอยู่ในแม่บทของการประชุมเส้นทางทางการค้าระหว่างประเทศเลย เพิ่งจะเสนอเพราะ รบ.นี้ต้องการเอาใจฐานเสียงหลักเท่านั้นไม่ได้สนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเลย แทนที่จะกระจายความเจริญให้ทั่วทั้งประเทศกลับไปขยายเพิ่มเติมในที่ๆเจริญอยู่แล้วมันจะเป็น diminishing return นะครับ รวมทั้งจีนเคยเสนอจะทำต่อลงไปถึงมาเลย์ด้วย เราควรคิดถึงประโยชน์ต่อประเทศเราโดยรวม โดยคำนึงถึงความเสี่ยงหลายๆประการที่ประเทศไทยเรามีอยู่เช่นความไม่แน่นอนทางการเมืองและการเลือกปฏิบัติ คอรัปชั่น และความพร้อมในการบริหารรถไฟความเร็วสูงนี้ที่ไทยไม่มีประสบการณ์เลย แต่จีนมีทางรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลกไปแล้ว เทียบกับไทยที่ไม่มีประสบการณ์รถไฟความเร็วสูง และการบริหารงานของการรถไฟที่ล้มเหลวอยู่ในปัจจุบัน

 

 

1 ทำไมในข่าวกลายเป็นว่า ลาวกู้เงินมาสร้างเองล่ะครับ ผมเดาว่าเค้าไม่ไว้ใจนะ ถ้าเรารีบสร้าง( ไม่ว่าจะสร้างเองหรือให้จีนลงทุนก็ตาม ) แล้วลาวสร้างไม่เสร็จเนี่ย เจ๊งยับเยินเลยนะครับ เพราะแค่กรุงเทพฯ-หนองคาย ผู้โดยสารไม่พอแน่ๆ

 

 

ทั้งนี้ การพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย ลาว และจีน จะดำเนินการผ่านคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย ที่จะมีบทบาทศึกษาแนวเส้นทางและการกำหนดประเภทรถไฟ  ในส่วนของการดำเนินการฝ่ายไทย   เห็นควรให้ใช้งบประมาณปี 2557 เพื่อศึกษาเส้นทางวงเงิน 200 ล้านบาท เป็นการศึกษาเพิ่มเติมจากแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ส่วนรถไฟความเร็วสูงในลาวระยะทาง 400 กิโลเมตร ทางลาวจะงกู้เงินจากจีนก่อสร้าง ซึ่งจีนจะสร้างรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิง ไปยังชายแดนลาวเอง ส่วนระบบรถไฟที่เชื่อมไทยกับลาวขณะนี้เป็นเส้นทางหนองคาย-ท่านาแล้ง และเตรียมที่จะก่อสร้างจากท่านาแล้งถึงเวียงจันทน์ระยะทาง 9 กิโลเมตร ซึ่งลาวต้องการให้เส้นทางนี้เชื่อมการเดินทางและขนส่งถึงกรุงเทพฯ

                "การเชื่อมต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงร่วมกันทั้ง 3 ประเทศ คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสามารถเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างกันได้ แต่ก็ไม่ถือว่าเสียโอกาส เพราะปัจจุบันยังมีระบบรถไฟธรรมดาที่เชื่อมต่อจากสถานีหนองคายไปยังสถานีท่า นาแล้งของสปป.ลาว ให้ประชาชนได้ใช้เดินทางข้ามไปมาระหว่างกันได้  อยากให้มองว่านี่คือการเริ่มต้นพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงโอกาสเข้าด้วยกัน"  จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้ความเห็น

                นี่จึงเป็นมิติของการพัฒนาระบบขนส่งทางรางจากภูมิภาคสู่การขนส่งระหว่างประเทศ

 

http://www.komchadlu...ml#.UdLzKJxgE4w

 

2 จะว่าไปแล้ว ตามแผนการก่อสร้างนั้น มีทุกเส้นทางนะครับ ที่ผมเห็นรัฐมนตรีออกมาอธิบายนั้น ก็บอกว่าจะสร้างถึงแค่โคราช แล้วหวังว่าจะดังดูดการลงทุนของต่างประเทศได้ ผมว่าแบบนี้ก็โอเคนะ

 

3 ทำไมคุณถึงคิดว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไม่ก่อประโยชน์ล่ะครับ?? เราสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างหัวเมืองใหญ่ของประเทศอยู่นะครับ ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องที่ควรทำ ระหว่างเส้นทาง ก็ผ่านเมืองสำคัญๆไม่น้อย อย่าง อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง เราจะเชื่อมเมืองเหล่านี้เข้าด้วยกัน และทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นอย่างมาก ผมเชื่อว่าต้องกระตุ้นเศรษฐกิจได้แน่ๆ อย่างน้อยก็เรื่องการท่องเที่ยว ผมมองว่าชาวต่างประเทศจะอยากแวะท่องเทียวตามเส้นทางเหล่านี้แน่ เพราะการเดินทางสะดวกรวดเร็วมาก หรือการทำธุรกิจ เจ้าของกิจการอาจไปเปิดสาขาของตัวเองตามเมืองใหญ่ๆเหล่านี้ และสามารถแวะมาดูแลกิจการทุกสาขาได้ภายในวันเดียว

 

ส่วนเรื่องสนามบิน ภาคอีสานก็สนามบินเยอะครับ เพียงแต่คนไม่ค่อยเดินทาง ผมเชื่อว่า การเดินทางด้วยรถไฟนั้นสะดวกกว่าเครื่องบินมาก ความปลอดภัยก็สูงถ้าบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าที่ผมทราบนะครับ ส่วนใหญ่แล้ว เค้าพยายามลดปริมาณการเดินทางด้วยเครื่องบินอยู่ เพราะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า อีกทั้งราคาน้ำมันนั้นอ่อนไหว ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายยาก ขณะที่รถไฟฟ้า สามารถกระจายความเสียงเรื่องแหล่งพลังงานได้มากกว่าครับ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#25 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:04

อีกอย่างที่ผมสงสัยเกี่ยวกับเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย

 

สมมุติว่ามันเชื่อมต่อไปถึงจีนได้แล้ว ใครจะเดินทางมาไทยครับ? ได้มีการประเมินตรงนี้หรือไม่? ถ้าคนลาวเดินทางมาไทย ก็ยังพอเป็นไปได้ แต่ผมว่าไม่น่าจะเยอะซักเท่าไหร่นะ ถ้าจากจีนมาไทย อันนี้น่าสงสัยอยู่ เพราะระยะทางจะยาวเกินไป รถไฟความเร็วสูงจะเริ่มเสียเปรียบเครื่องบินเมื่อระยะทางเกินพันกิโลเมตร ลึกๆแล้ว ผมเชื่อว่าจีนน่าจะสนใจโครงการรถไฟรางคู่เชื่อมสามประเทศมากกว่า เพราะใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าได้ ( เท่าที่ผมรู้ ยังไม่มีใครใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าอย่างจริงๆจรังนะครับ )


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#26 voodoo

voodoo

    ไม่เป็นกลาง

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,202 posts

ตอบ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:38

อีกอย่างที่ผมสงสัยเกี่ยวกับเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย

 

สมมุติว่ามันเชื่อมต่อไปถึงจีนได้แล้ว ใครจะเดินทางมาไทยครับ? ได้มีการประเมินตรงนี้หรือไม่? ถ้าคนลาวเดินทางมาไทย ก็ยังพอเป็นไปได้ แต่ผมว่าไม่น่าจะเยอะซักเท่าไหร่นะ ถ้าจากจีนมาไทย อันนี้น่าสงสัยอยู่ เพราะระยะทางจะยาวเกินไป รถไฟความเร็วสูงจะเริ่มเสียเปรียบเครื่องบินเมื่อระยะทางเกินพันกิโลเมตร ลึกๆแล้ว ผมเชื่อว่าจีนน่าจะสนใจโครงการรถไฟรางคู่เชื่อมสามประเทศมากกว่า เพราะใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าได้ ( เท่าที่ผมรู้ ยังไม่มีใครใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าอย่างจริงๆจรังนะครับ )

เขาจะผ่านไปสิงคโปร์โน่น มองไกลๆหน่อย


" สลิ่มที่ไม่กล้่าเปิดตัวต่อสาธารณชนเท่าไรนัก เนื่องจากไม่ได้ทำประกันอัคคีภัย "

#27 BearFamily

BearFamily

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 849 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 01:24

 

 

 

ส่วนเรื่องเส้นทางผ่านอีสานเนี่ยก็ถูกต้องแล้วตามแผนที่เคยวางไว้ในอดีต แต่ไม่รู้ว่าใครหัวใส พยายามดันให้ไปเชียงใหม่แทน?? กลัวแดงเชียงใหม่เข้า กทม.ลำบากเหรอคับ? 5555+

 

 

ในสายตาผมนะ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ นั้นโอกาสทำกำไรมากที่สุดแล้วครับ เพราะเป้าหมายของโครงการนี้คือแข่งขันกับสายการบิน ปริมาณผู้โดยสารเส้นทางนี้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ และเยอะกว่าเส้นทางภาคอีสานชนิดเทียบไปไม่ติด ผมเห็นว่าเส้นทางนี้สร้างก่อนน่ะถูกแล้วครับ เพราะเส้นทางภาคอีสานที่บอกว่าเชื่อมกับจีนนั้น ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นะครับ ทางลาวไม่รู้ว่าไปตกลงกับเค้าหรือยัง? ดังนั้นเราไม่ควรเอาเงินไปเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่แน่นอนเช่นนั้น

 

ส่วนประเด็นอื่นนั้น เห็นด้วยครับ เรื่องภาระหนี้ที่เยอะและน่าเป็นห่วง แต่ผมแย้งนิดนึงเรื่องลงทุนร่วม การที่เค้าลงทุน เค้าก็ต้องหวังผลตอบแทนต่อประเทศเค้าให้มากที่สุด เราก็ต้องระวังเช่นกัน เช่นถ้าเค้าเสนอว่าขอเช่าที่ดินและเก็บผลประโยชน์จากเส้นทางและสถานีรถไฟยี่สิบปี แบบนี้ผมก็ไม่เอาด้วยนะครับ

 

 ทางรถไฟลาวจีนเริ่มสร้างแล้วครับ รวมถึงการทำโลจิสติกส์ปาร์คที่ลาวก็กำลังก่อสร้างอยู่ สิ่งที่เค้าหวังคือการเร่งสร้างเส้นทางกระจายสินค้าเค้าสู่ประเทศอาเซียน รวมถึงผูกขาดมิตรภาพระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนเพื่อกันอเมริกาออกไป ตามข้อตกลงทางการค้า RCEP เพื่อเอามาคานกับ TPP ของอเมริกาครับ

แล้วถ้ามาคิดกันจริงๆตามที่คุณพูดนะครับ 1.8แสนล้าน/20ปี เท่ากับปีละ 1หมื่นล้านที่ไทยจะได้มาแน่ๆเพราะไม่ต้องลงทุน แล้วสุดท้ายก็ตกมาเป็นของไทยอยู่ดี ทุกวันนี้การรถไฟยังขาดทุนอยู่ทุกวันเลยครับ จะลองเสี่ยงหรือ? รวมถึงความพร้อมของไทยต่อรถไฟความเร็วสูงอีก เราพร้อมลงเงินไปเสี่ยงหรือครับ สู้ให้จีนลงทุนให้เราไม่ดีกว่าหรือ เราไม่ต้องเสี่ยงเรื่องการเงินเลยนะครับ

ส่วนทางจาก กทม.ไปเชียงใหม่มีเมืองที่ได้รับผลประโยชน์เพียงไม่กี่แห่ง ทางก่อสร้างลำบากเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ รวมถึงเชียงใหม่มีสนามบินรองรับอยู่แล้ว ทั้งยังไม่เคยอยู่ในแม่บทของการประชุมเส้นทางทางการค้าระหว่างประเทศเลย เพิ่งจะเสนอเพราะ รบ.นี้ต้องการเอาใจฐานเสียงหลักเท่านั้นไม่ได้สนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเลย แทนที่จะกระจายความเจริญให้ทั่วทั้งประเทศกลับไปขยายเพิ่มเติมในที่ๆเจริญอยู่แล้วมันจะเป็น diminishing return นะครับ รวมทั้งจีนเคยเสนอจะทำต่อลงไปถึงมาเลย์ด้วย เราควรคิดถึงประโยชน์ต่อประเทศเราโดยรวม โดยคำนึงถึงความเสี่ยงหลายๆประการที่ประเทศไทยเรามีอยู่เช่นความไม่แน่นอนทางการเมืองและการเลือกปฏิบัติ คอรัปชั่น และความพร้อมในการบริหารรถไฟความเร็วสูงนี้ที่ไทยไม่มีประสบการณ์เลย แต่จีนมีทางรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลกไปแล้ว เทียบกับไทยที่ไม่มีประสบการณ์รถไฟความเร็วสูง และการบริหารงานของการรถไฟที่ล้มเหลวอยู่ในปัจจุบัน

 

 

1 ทำไมในข่าวกลายเป็นว่า ลาวกู้เงินมาสร้างเองล่ะครับ ผมเดาว่าเค้าไม่ไว้ใจนะ ถ้าเรารีบสร้าง( ไม่ว่าจะสร้างเองหรือให้จีนลงทุนก็ตาม ) แล้วลาวสร้างไม่เสร็จเนี่ย เจ๊งยับเยินเลยนะครับ เพราะแค่กรุงเทพฯ-หนองคาย ผู้โดยสารไม่พอแน่ๆ

 

 

ทั้งนี้ การพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย ลาว และจีน จะดำเนินการผ่านคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย ที่จะมีบทบาทศึกษาแนวเส้นทางและการกำหนดประเภทรถไฟ  ในส่วนของการดำเนินการฝ่ายไทย   เห็นควรให้ใช้งบประมาณปี 2557 เพื่อศึกษาเส้นทางวงเงิน 200 ล้านบาท เป็นการศึกษาเพิ่มเติมจากแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ส่วนรถไฟความเร็วสูงในลาวระยะทาง 400 กิโลเมตร ทางลาวจะงกู้เงินจากจีนก่อสร้าง ซึ่งจีนจะสร้างรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิง ไปยังชายแดนลาวเอง ส่วนระบบรถไฟที่เชื่อมไทยกับลาวขณะนี้เป็นเส้นทางหนองคาย-ท่านาแล้ง และเตรียมที่จะก่อสร้างจากท่านาแล้งถึงเวียงจันทน์ระยะทาง 9 กิโลเมตร ซึ่งลาวต้องการให้เส้นทางนี้เชื่อมการเดินทางและขนส่งถึงกรุงเทพฯ

                "การเชื่อมต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงร่วมกันทั้ง 3 ประเทศ คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสามารถเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างกันได้ แต่ก็ไม่ถือว่าเสียโอกาส เพราะปัจจุบันยังมีระบบรถไฟธรรมดาที่เชื่อมต่อจากสถานีหนองคายไปยังสถานีท่า นาแล้งของสปป.ลาว ให้ประชาชนได้ใช้เดินทางข้ามไปมาระหว่างกันได้  อยากให้มองว่านี่คือการเริ่มต้นพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงโอกาสเข้าด้วยกัน"  จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้ความเห็น

                นี่จึงเป็นมิติของการพัฒนาระบบขนส่งทางรางจากภูมิภาคสู่การขนส่งระหว่างประเทศ

 

http://www.komchadlu...ml#.UdLzKJxgE4w

 

2 จะว่าไปแล้ว ตามแผนการก่อสร้างนั้น มีทุกเส้นทางนะครับ ที่ผมเห็นรัฐมนตรีออกมาอธิบายนั้น ก็บอกว่าจะสร้างถึงแค่โคราช แล้วหวังว่าจะดังดูดการลงทุนของต่างประเทศได้ ผมว่าแบบนี้ก็โอเคนะ

 

3 ทำไมคุณถึงคิดว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไม่ก่อประโยชน์ล่ะครับ?? เราสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างหัวเมืองใหญ่ของประเทศอยู่นะครับ ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องที่ควรทำ ระหว่างเส้นทาง ก็ผ่านเมืองสำคัญๆไม่น้อย อย่าง อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง เราจะเชื่อมเมืองเหล่านี้เข้าด้วยกัน และทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นอย่างมาก ผมเชื่อว่าต้องกระตุ้นเศรษฐกิจได้แน่ๆ อย่างน้อยก็เรื่องการท่องเที่ยว ผมมองว่าชาวต่างประเทศจะอยากแวะท่องเทียวตามเส้นทางเหล่านี้แน่ เพราะการเดินทางสะดวกรวดเร็วมาก หรือการทำธุรกิจ เจ้าของกิจการอาจไปเปิดสาขาของตัวเองตามเมืองใหญ่ๆเหล่านี้ และสามารถแวะมาดูแลกิจการทุกสาขาได้ภายในวันเดียว

 

ส่วนเรื่องสนามบิน ภาคอีสานก็สนามบินเยอะครับ เพียงแต่คนไม่ค่อยเดินทาง ผมเชื่อว่า การเดินทางด้วยรถไฟนั้นสะดวกกว่าเครื่องบินมาก ความปลอดภัยก็สูงถ้าบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าที่ผมทราบนะครับ ส่วนใหญ่แล้ว เค้าพยายามลดปริมาณการเดินทางด้วยเครื่องบินอยู่ เพราะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า อีกทั้งราคาน้ำมันนั้นอ่อนไหว ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายยาก ขณะที่รถไฟฟ้า สามารถกระจายความเสียงเรื่องแหล่งพลังงานได้มากกว่าครับ

 

 

 

1. ลาวลงทุน 30% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่ธาตุและวัตถุดิบครับ  70%ของจีน ซึ่งเงินส่วนใหญ่ที่ลงเป็นของจีน ส่วนเรื่องทำไมจีนไม่ลงทุนให้ทั้งหมดอันนี้ผมไม่ทราบครับ ส่วนเรื่องสร้างเสร็จไม่เสร็จเนี่ย ในความคิดส่วนตัวผมและจากที่ฟังเวทีเสวนาต่างๆมา จีนมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อกับทุกประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มากที่สุดครับ ส่วนสาเหตุนั้นที่ผมได้รับฟังมามากที่สุดคือการที่จีนต้องการยึดหัวหาด ด้านการค้า และ Logistics ให้ได้ก่อนอเมริกา ซึ่งตอนนี้จีนได้โดนอเมริกาดึงพม่าไปแล้ว ดังนั้นยังจีนต้องดันให้เกิดแน่ครับไม่แน่ว่าอาจจะก่อนที่ไทยเข้าสู้ประชาคมอาเซียนด้วยซ้ำ เพราะเท่าที่ทราบข่าวมาปี 58 ชัวครับ แต่ปลายๆปีเลยนะครับ ราวๆ พย. ธค. ปี 58 

2. http://www.phitsanul...013/02/04/31712 เจอแล้วครับ มีเชียงใหม่ กทม จริงๆด้วย ขอโทษทีครับ ที่ไปเสวนาเค้าไม่ได้พูดถึงเลยเพราะดูเหมือนจะตั้งใจให้เป็นแค่ภายในประเทศ

3. ผมไม่ได้บอกว่าไม่ก่อประโยชน์นะครับ แค่ประโยชน์ที่ได้อาจจะน้อยลงกว่าการลงทุนให้สายอีสานเท่านั้นเองครับ เพราะถ้าแค่ขนส่งภายในประเทศ จะกลายเป็นแข่งกับเครื่องบินที่ราคาห่างกันไม่มาก ใช้เวลาน้อยกว่ากันเยอะ มีเที่ยวบิน กทม.-ชม.เยอะอยู่แล้ว บวกกับไม่ได้เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถ้าลงทุนสายอีสานก่อน ประโยชน์ที่ได้รับอย่างแรกเลยคือการกระจายความเจริญสู่ภาคอีสาน - และเมื่อเดินทางสะดวกก็สามารถใช้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้  ซึ่งภาคอีสานก็มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะนะครับแต่การเดินทางยังลำบากแถมสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อีก 

ส่วนที่ว่าภาคอีสานมีสนามบินอยู่แล้ว อันนี้ทราบครับ แต่รู้สึกว่าจะไม่มี international airport เลยซักแห่งนะครับ 

 

และเพิ่มเติมนิดนึงครับ ไทย-ทวายอาจจะไม่เกิดนะครับ ใครจะไปทำอะไรโปรดระวังด้วย เพราะที่ไปฟังมา คนที่จะทำท่าเรือน้ำลึกทวายเป็นบริษัทลูกของอิตตัลไทย ยังสรุปภายในไม่จบดีเลย ยังไม่มีการประสานงานระหว่างไทย-พม่าอย่างจริงจังเกี่ยวกับเรื่องทวายนี้ และใครที่พอมีประสบการ์ณที่ดีๆได้ร่วมงาน กับอิตตัลไทยก็พอจะรู้นะครับว่าทางนั้นเค้าเป็นอย่างไร แค่ที่สุวรรณภูมิก็ทำคนแสบทรวงไปเยอะแล้ว........



#28 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 07:43

อีกอย่างที่ผมสงสัยเกี่ยวกับเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
 
สมมุติว่ามันเชื่อมต่อไปถึงจีนได้แล้ว ใครจะเดินทางมาไทยครับ? ได้มีการประเมินตรงนี้หรือไม่? ถ้าคนลาวเดินทางมาไทย ก็ยังพอเป็นไปได้ แต่ผมว่าไม่น่าจะเยอะซักเท่าไหร่นะ ถ้าจากจีนมาไทย อันนี้น่าสงสัยอยู่ เพราะระยะทางจะยาวเกินไป รถไฟความเร็วสูงจะเริ่มเสียเปรียบเครื่องบินเมื่อระยะทางเกินพันกิโลเมตร ลึกๆแล้ว ผมเชื่อว่าจีนน่าจะสนใจโครงการรถไฟรางคู่เชื่อมสามประเทศมากกว่า เพราะใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าได้ ( เท่าที่ผมรู้ ยังไม่มีใครใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าอย่างจริงๆจรังนะครับ )

เขาจะผ่านไปสิงคโปร์โน่น มองไกลๆหน่อย

ตกลงใครใช้ครับ เอาชัดๆ คุณคิดว้าจะมีคนนั่งรถไฟจากจีนตอนใต้ไปสิงคโปร์หรือครับ?

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#29 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 08:19

คุณ BearFamily ครับ

ผมสงสัยว่า ทำ/มจีนพูดถึงรถไฟความเร็วสูงในแง่การขนส่ง ทั้งที่มันไม่ได้เิอาๆว้ใช้แบบนั้นเลย ผมว่สรถไฟปกติแบบรางคู่ต่างหาก ที่เหมาะกับการขนส่งสินค้า

ส่วนเรื่องการเดินทางไปเชียงใหม่นั้น ถ้าวิเคราะห์ในรายละเอียด รถไฟใช้เวลาใกล้เคียงกันเครื่องบินนะครับ ฟมถามหลายคนแล้ว ถ้าเวลาต่างกันไม่มาก เช่นสิบถึงสิบห้านาที เค้าเลือกรถไฟแบบแทบไม่ต้องคิดเลยครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#30 plunk

plunk

    สลิปงินเดือนอยู่ไหนอ่ะ ไอ้คางครูด?

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,862 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 08:32

ไอ้หนวดนี่แหละที่สร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจนสำเร็จมาแล้ว



เก่งจริง ดีจริง ทำไม แห้ว ผู้ว่าอ่ะ?
ทำได้ทันที ไม่ต้องกู้ พรรคไหนเห่าไว้ตอนหาเสียงวะ?และกระทู้ในตำนานของ คนขี้โกหก http://webboard.seri...้สลิปเงินเดือน/

#31 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 08:54

 

 

ด้วยราคาน้องๆเครื่องบินอย่างนี้ ไม่มีทางดึงลูกค้าจากกลุ่มอื่นๆได้แน่นอน วันนี้มีคนนั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่กี่ล้านคนต่อปีครับ สนามบินที่เชียงใหม่ ยังรองรับผู้โดยสารไม่ได้ถึงครึ่งนึงของที่มันจะทำได้ด้วยซํ้า แล้วจะเอาคนที่ไหนมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูง 

 

สมมุติว่าผมคิดค้นโหมดการเดินทางใหม่ล่าสุดของโลก ซึ่งสามารถส่งคนไปเชียงใหม่ ภายในเวลา 1ชั่วโมง 10 นาที (ไม่รวมเวลาเช็คอิน) ในราคา 1,500 บาท แน่นอนว่าแรกๆอาจจะมีคนเห่อของใหม่ชัวร์ๆ อาจจะมาใช้บริการจะล้น แต่พอเวลาผ่านไป คนเลิกเห่อ คนที่เคยมาใช้บริการของผม เขาอาจจะไม่กลับมาใช้บริการผมเลยก็ได้ รู้มั้ยทำไมครับ ก็เพราะคนไม่รู้จะเสียเงิน 1,500 บาท เดินทางไปเชียงใหม่ทำไมหน่ะซิ

 

ไม่ใช่ไปง่าย ไปสะดวก แล้วคนจะเดินทางกันเยอะ ถ้าไม่มีอะไรไปกระตุ้นที่ทำให้เค้าเดินทาง คนเขาก็ไม่ไปหรอกครับ

 

 

เท่าที่ทราบ ปริมาณผู้โดยสารเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันน่าจะประมาณ ๔ ถึง ๕ ล้านคนต่อปี ถ้ายังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมว่าน่าลุ้นนะครับ เราเพิ่มทางเลือกให้ผู้โดยสาร โดยการทำระบบรถไฟความเร็วสูง ผมว่าผู้โดยสารยินดีเลือกอยู่แล้วครับถ้ามันสะดวก และปลอดภัย ข้อดีต่างๆ เราก็เคยคุยกันแล้ว ผมยังยืนยันว่ามีลุ้นแน่นอน เพราะอย่างน้อยถ้ามีจริง ผมคนนึงล่ะที่ใช้แน่ๆ ผมถามหลายคนแล้ว ว่าถ้า ๓ ชั่วโมงเอามั้ย ใครๆ ก็ตอบว่าเอานะครับ

 

ผมงงว่าศักยภาพของสนามบิน มันมาเกี่ยวอะไรกับการใช้รถไฟล่ะครับ คนต้องใช้เครื่องบินเต็มศักยภาพก่อนแล้วขึงมาใช้รถไฟหรือครับ?

 

ผมกลับมองตรงกันข้ามเลย ถ้าโครงการนี้ทำดีๆนะ สนามบินเชียงใหม่ได้เงียบลงเยอะแน่

 

 

การสร้างโหมดการเดินทางใหม่ มันต้องมีข้อดีกว่าโหมดเดิมที่มีอยู่ครับ มันไม่ควรเป็นทางเลือกที่เหมือนๆทางเลือกอื่นๆ

 

สมมุติว่า เส้นทางอนุเสาวรีย์-สยาม ถ้าเดินทางด้วยรถเมล์ ก็สามารถไปถึงได้แบบชิ่วๆ เพราะไม่มีวันไหนหรือตอนไหนที่รถติดเลย แต่วันนึงผมนึกสนุกอยากลงทุนสร้างบีทีเอสขึ้นมา โดยเก็บค่าโดยสาร และใช้เวลาเดินทางเท่ากับรถเมล์ทุกประการ 

 

ผมมาเปลี่ยนอะไรมั้ย ไม่ครับ ผมไม่ได้มีมาเปลี่ยนอะไรเลย ก็เหมือนเพิ่มรถเมล์วิ่งเข้าไปอีกหนึ่งสายเท่านั้น คนที่ใช้บริการของผม ไม่ได้รับอะไรไปน้อยหรือมากกว่าการขึ้นเมล์ปกติ ดังนั้นคนที่จะขึ้นรถไฟลอยฟ้าของผม ก็แค่แชร์มากจากรถเมล์ 

 

ถ้าจะเปลี่ยนอะไร มันต้องเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสิ่งที่เคยมีอยู่ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และมันต้องเด่นชัดพอที่จะมองเห็นเป็นข้อดีที่เหนือกว่า ในความเป็นจริงแล้วบีทีเอสได้เปรียบรถเมล์อยู่มากในด้านความรวดเร็วตรงเวลา จึงทำให้นอกจากแชร์ผู้โดยสารจากรถเมล์ไปได้แล้ว ยังสามารถกระตุ้นการเดินทางลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้อีกด้วย ซึ่งถ้าบีทีเอสไม่มีข้อดีตรงจุดนี้ คงไม่เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่ขึ้นมาหรอกครับ 

 

เราต้องมองหาจุดเด่นของโหมดการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูว่ามันเหนือโหมดอื่นๆตรงไหน และมันชัดพอที่จะทำให้เกิดกลุ่มลูกค้าใหม่หรือเปล่า

 

ประเด็นในเรื่องสนามบินเชียงใหม่ ผมไม่ได้จะสื่อว่าให้สนามบินเต็๋มก่อน แล้วค่อยถึงมาทำรถไฟหรอกนะครับ แต่ผมมองว่าคนที่พร้อมเดินทางไปเชียงใหม่แล้วพร้อมจะจ่ายด้วยราคาในระดับนี้  ตอนนี้มีราว 4.5 ล้านคนต่อไป ซึ่งดีที่สุดของรถไฟความเร็วสูง ถ้าไม่เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่เลย ก็คือแย่งลูกค้าจากสายการบินมาทั้งหมด 4.5 ล้านคนต่อปีไปทั้งหมด มันก็ยังไม่คุ้ม 

 

ฉะนั้นรถไฟความเร็วสูงต้องพึ่งลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่นอกเหนือจากการแชร์ไปจากสายการบินมา แล้วพวกเขาจะมาจากไหนหล่ะครับ ??


Edited by ควันหลง, 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 08:57.


#32 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 09:49

งานนี้จะถ้า 2 ล้านล้าน ไม่ผ่าน รัฐสภา

 

ผู้ว่า รฟท จะผิดไหมครับ


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#33 voodoo

voodoo

    ไม่เป็นกลาง

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,202 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:28

 

 

อีกอย่างที่ผมสงสัยเกี่ยวกับเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
 
สมมุติว่ามันเชื่อมต่อไปถึงจีนได้แล้ว ใครจะเดินทางมาไทยครับ? ได้มีการประเมินตรงนี้หรือไม่? ถ้าคนลาวเดินทางมาไทย ก็ยังพอเป็นไปได้ แต่ผมว่าไม่น่าจะเยอะซักเท่าไหร่นะ ถ้าจากจีนมาไทย อันนี้น่าสงสัยอยู่ เพราะระยะทางจะยาวเกินไป รถไฟความเร็วสูงจะเริ่มเสียเปรียบเครื่องบินเมื่อระยะทางเกินพันกิโลเมตร ลึกๆแล้ว ผมเชื่อว่าจีนน่าจะสนใจโครงการรถไฟรางคู่เชื่อมสามประเทศมากกว่า เพราะใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าได้ ( เท่าที่ผมรู้ ยังไม่มีใครใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าอย่างจริงๆจรังนะครับ )

เขาจะผ่านไปสิงคโปร์โน่น มองไกลๆหน่อย

ตกลงใครใช้ครับ เอาชัดๆ คุณคิดว้าจะมีคนนั่งรถไฟจากจีนตอนใต้ไปสิงคโปร์หรือครับ?

 

เขาเอาไว้ ขนผัก จากจีนไปสิงคโปร์ครับ


" สลิ่มที่ไม่กล้่าเปิดตัวต่อสาธารณชนเท่าไรนัก เนื่องจากไม่ได้ทำประกันอัคคีภัย "

#34 voodoo

voodoo

    ไม่เป็นกลาง

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,202 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 12:10

 

 

 

ด้วยราคาน้องๆเครื่องบินอย่างนี้ ไม่มีทางดึงลูกค้าจากกลุ่มอื่นๆได้แน่นอน วันนี้มีคนนั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่กี่ล้านคนต่อปีครับ สนามบินที่เชียงใหม่ ยังรองรับผู้โดยสารไม่ได้ถึงครึ่งนึงของที่มันจะทำได้ด้วยซํ้า แล้วจะเอาคนที่ไหนมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูง 

 

สมมุติว่าผมคิดค้นโหมดการเดินทางใหม่ล่าสุดของโลก ซึ่งสามารถส่งคนไปเชียงใหม่ ภายในเวลา 1ชั่วโมง 10 นาที (ไม่รวมเวลาเช็คอิน) ในราคา 1,500 บาท แน่นอนว่าแรกๆอาจจะมีคนเห่อของใหม่ชัวร์ๆ อาจจะมาใช้บริการจะล้น แต่พอเวลาผ่านไป คนเลิกเห่อ คนที่เคยมาใช้บริการของผม เขาอาจจะไม่กลับมาใช้บริการผมเลยก็ได้ รู้มั้ยทำไมครับ ก็เพราะคนไม่รู้จะเสียเงิน 1,500 บาท เดินทางไปเชียงใหม่ทำไมหน่ะซิ

 

ไม่ใช่ไปง่าย ไปสะดวก แล้วคนจะเดินทางกันเยอะ ถ้าไม่มีอะไรไปกระตุ้นที่ทำให้เค้าเดินทาง คนเขาก็ไม่ไปหรอกครับ

 

 

เท่าที่ทราบ ปริมาณผู้โดยสารเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันน่าจะประมาณ ๔ ถึง ๕ ล้านคนต่อปี ถ้ายังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมว่าน่าลุ้นนะครับ เราเพิ่มทางเลือกให้ผู้โดยสาร โดยการทำระบบรถไฟความเร็วสูง ผมว่าผู้โดยสารยินดีเลือกอยู่แล้วครับถ้ามันสะดวก และปลอดภัย ข้อดีต่างๆ เราก็เคยคุยกันแล้ว ผมยังยืนยันว่ามีลุ้นแน่นอน เพราะอย่างน้อยถ้ามีจริง ผมคนนึงล่ะที่ใช้แน่ๆ ผมถามหลายคนแล้ว ว่าถ้า ๓ ชั่วโมงเอามั้ย ใครๆ ก็ตอบว่าเอานะครับ

 

ผมงงว่าศักยภาพของสนามบิน มันมาเกี่ยวอะไรกับการใช้รถไฟล่ะครับ คนต้องใช้เครื่องบินเต็มศักยภาพก่อนแล้วขึงมาใช้รถไฟหรือครับ?

 

ผมกลับมองตรงกันข้ามเลย ถ้าโครงการนี้ทำดีๆนะ สนามบินเชียงใหม่ได้เงียบลงเยอะแน่

 

 

การสร้างโหมดการเดินทางใหม่ มันต้องมีข้อดีกว่าโหมดเดิมที่มีอยู่ครับ มันไม่ควรเป็นทางเลือกที่เหมือนๆทางเลือกอื่นๆ

 

สมมุติว่า เส้นทางอนุเสาวรีย์-สยาม ถ้าเดินทางด้วยรถเมล์ ก็สามารถไปถึงได้แบบชิ่วๆ เพราะไม่มีวันไหนหรือตอนไหนที่รถติดเลย แต่วันนึงผมนึกสนุกอยากลงทุนสร้างบีทีเอสขึ้นมา โดยเก็บค่าโดยสาร และใช้เวลาเดินทางเท่ากับรถเมล์ทุกประการ 

 

ผมมาเปลี่ยนอะไรมั้ย ไม่ครับ ผมไม่ได้มีมาเปลี่ยนอะไรเลย ก็เหมือนเพิ่มรถเมล์วิ่งเข้าไปอีกหนึ่งสายเท่านั้น คนที่ใช้บริการของผม ไม่ได้รับอะไรไปน้อยหรือมากกว่าการขึ้นเมล์ปกติ ดังนั้นคนที่จะขึ้นรถไฟลอยฟ้าของผม ก็แค่แชร์มากจากรถเมล์ 

 

ถ้าจะเปลี่ยนอะไร มันต้องเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสิ่งที่เคยมีอยู่ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และมันต้องเด่นชัดพอที่จะมองเห็นเป็นข้อดีที่เหนือกว่า ในความเป็นจริงแล้วบีทีเอสได้เปรียบรถเมล์อยู่มากในด้านความรวดเร็วตรงเวลา จึงทำให้นอกจากแชร์ผู้โดยสารจากรถเมล์ไปได้แล้ว ยังสามารถกระตุ้นการเดินทางลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้อีกด้วย ซึ่งถ้าบีทีเอสไม่มีข้อดีตรงจุดนี้ คงไม่เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่ขึ้นมาหรอกครับ 

 

เราต้องมองหาจุดเด่นของโหมดการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูว่ามันเหนือโหมดอื่นๆตรงไหน และมันชัดพอที่จะทำให้เกิดกลุ่มลูกค้าใหม่หรือเปล่า

 

ประเด็นในเรื่องสนามบินเชียงใหม่ ผมไม่ได้จะสื่อว่าให้สนามบินเต็๋มก่อน แล้วค่อยถึงมาทำรถไฟหรอกนะครับ แต่ผมมองว่าคนที่พร้อมเดินทางไปเชียงใหม่แล้วพร้อมจะจ่ายด้วยราคาในระดับนี้  ตอนนี้มีราว 4.5 ล้านคนต่อไป ซึ่งดีที่สุดของรถไฟความเร็วสูง ถ้าไม่เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่เลย ก็คือแย่งลูกค้าจากสายการบินมาทั้งหมด 4.5 ล้านคนต่อปีไปทั้งหมด มันก็ยังไม่คุ้ม 

 

ฉะนั้นรถไฟความเร็วสูงต้องพึ่งลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่นอกเหนือจากการแชร์ไปจากสายการบินมา แล้วพวกเขาจะมาจากไหนหล่ะครับ ??

 

ผมว่า รถไฟความเร็วสูง เป็นเรื่อง เห็นช้างขึั ขึัตามช้างครับ

หรือไม่ก็เห็นช่องทางที่จะงาบ

ถ้าทำแล้วรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้เร็วกว่า ถูกกว่าเครื่องบิน มันก็แค่สนองตัญหาเท่านั้น

ตัวอย่าง แอร์พอร์ทลิงค์ที่วิ่งจากในเมือง ตรงเข้าสนามบิน น่าจะเร็วกว่าทางด่วน  แล้วตอนนี้เป็นไง


" สลิ่มที่ไม่กล้่าเปิดตัวต่อสาธารณชนเท่าไรนัก เนื่องจากไม่ได้ทำประกันอัคคีภัย "

#35 taze

taze

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 732 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 12:24

High Speed Train ผมคิดว่าระยะแรกเกินตัวเกินไป ผมมองไปว่ารถไฟรางคู่น่าจะตอบโจทย์ได้ตรงกว่า ในฐานะที่บ้านก็ติดกับสถานีรถไฟ สมัยก่อนนั่งรถไฟไปเรียนที่มหาวิทยาลัยก็หลายเที่ยว การรอสับหลีกรถแต่ละขบวนผมว่าเป็นการเผาทั้งเวลาทั้งค่าเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์ ทำเป็นรางคู่แค่ ดีเซลราง ปัจจจุบันของเราผมคิดว่า จาก กรุงเทพ - เชียงใหม่ ย่นระยะเวลาได้อีก 2-3 ชั่วโมง แล้ว ทำแผนงานเสนอก็ไม่ยากเพราะที่ดินต่อเนื่องการรถไฟก็เตรียมไว้พร้อมแล้ว แต่นี่มันแหม่งๆ โครงการยังไม่เห็นรายละเอียดเลย แต่ดันกู้เงินไปแล้ว อยากรู้จริงๆถ้าไม่ใช่ลูกหนี้เป็นรัฐบาลไทย จะมีธนาคารไหนกล้าปล่อยให้มั่งโครงการพ่นแต่น้ำลายแบบนี้


"Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely."


#36 BearFamily

BearFamily

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 849 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 14:35

คุณ BearFamily ครับ

ผมสงสัยว่า ทำ/มจีนพูดถึงรถไฟความเร็วสูงในแง่การขนส่ง ทั้งที่มันไม่ได้เิอาๆว้ใช้แบบนั้นเลย ผมว่สรถไฟปกติแบบรางคู่ต่างหาก ที่เหมาะกับการขนส่งสินค้า

ส่วนเรื่องการเดินทางไปเชียงใหม่นั้น ถ้าวิเคราะห์ในรายละเอียด รถไฟใช้เวลาใกล้เคียงกันเครื่องบินนะครับ ฟมถามหลายคนแล้ว ถ้าเวลาต่างกันไม่มาก เช่นสิบถึงสิบห้านาที เค้าเลือกรถไฟแบบแทบไม่ต้องคิดเลยครับ

 

รถไฟที่ไทยจะใช้ไม่ได้ใช้หัวจรวดแบบที่วิ่งได้ 300 กม./ชม.นะครับ เห็นว่าจะเอาแค่ 150-160 กม./ชม. เท่านั้น พูดง่ายๆมันคือรถไฟรางคู้ธรรมดาเนี่ยแหละครับ แต่ต้องเปลี่ยนชื่อเพราะเด๋วหาว่าไปก๊อปของคนอื่นมา เป็นความโรคจิตอย่างนึงของ การเมืองไทย ต้องเปลี่ยนชื่อถ้าเปลี่ยนพรรคที่เป็น รบ. รถไฟฟ้าความเร็วสูงนี้(รางคู่) มันสามารถเอามาใช้ร่วมกับการขนส่งได้ด้วยครับ  และทำไมผมมุ่งทางโลจิสติก ก็เพราะโดยสติถิ ไทยใช้การขนส่งภายในประเทศทางรถเกินกว่า 80%ซึ่งเป็นการขนส่งที่แพงที่สุด ถ้าสามารถเปลี่ยนมาเป็นทางรถไฟได้จะสามารถลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล ซึ่งจะเกี่ยวโยงถึงการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าเนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งที่ลดลงเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนด้วย และจริงๆแล้ว จุดมุ่งหมายของทางรถไฟจีน และลาวคือด้านการค้านะครับ

 

ส่วนเรื่องการเดินทางไปเชียงใหม่....... ตามที่บอกไปข้างต้นว่าจริงๆแล้วมันแค่รถไฟรางคู่ ไม่ใช่รถไฟฟ้าหัวกระสุน หัวจรวดอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ จึงไม่สามารถทำเวลาได้เท่าหรือพอๆกับเครื่องบินหรอกครับ แต่ผมเห็นด้วยว่าถ้าระยะเวลาการเดินทางด้วยรถไฟกับเครื่องบินต่างกันไม่มาก ผมก็เลือกรถไฟครับ

ปล.เค้าใช้รถไฟความเร็วสูงก็ไม่ผิดนะครับ เพราะมันเร็วกว่ารถไฟแบบถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบัน



#37 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:46

คุณ BearFamily ครับ
ผมสงสัยว่า ทำ/มจีนพูดถึงรถไฟความเร็วสูงในแง่การขนส่ง ทั้งที่มันไม่ได้เิอาๆว้ใช้แบบนั้นเลย ผมว่สรถไฟปกติแบบรางคู่ต่างหาก ที่เหมาะกับการขนส่งสินค้า
ส่วนเรื่องการเดินทางไปเชียงใหม่นั้น ถ้าวิเคราะห์ในรายละเอียด รถไฟใช้เวลาใกล้เคียงกันเครื่องบินนะครับ ฟมถามหลายคนแล้ว ถ้าเวลาต่างกันไม่มาก เช่นสิบถึงสิบห้านาที เค้าเลือกรถไฟแบบแทบไม่ต้องคิดเลยครับ

 
รถไฟที่ไทยจะใช้ไม่ได้ใช้หัวจรวดแบบที่วิ่งได้ 300 กม./ชม.นะครับ เห็นว่าจะเอาแค่ 150-160 กม./ชม. เท่านั้น พูดง่ายๆมันคือรถไฟรางคู้ธรรมดาเนี่ยแหละครับ แต่ต้องเปลี่ยนชื่อเพราะเด๋วหาว่าไปก๊อปของคนอื่นมา เป็นความโรคจิตอย่างนึงของ การเมืองไทย ต้องเปลี่ยนชื่อถ้าเปลี่ยนพรรคที่เป็น รบ. รถไฟฟ้าความเร็วสูงนี้(รางคู่) มันสามารถเอามาใช้ร่วมกับการขนส่งได้ด้วยครับ  และทำไมผมมุ่งทางโลจิสติก ก็เพราะโดยสติถิ ไทยใช้การขนส่งภายในประเทศทางรถเกินกว่า 80%ซึ่งเป็นการขนส่งที่แพงที่สุด ถ้าสามารถเปลี่ยนมาเป็นทางรถไฟได้จะสามารถลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล ซึ่งจะเกี่ยวโยงถึงการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าเนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งที่ลดลงเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนด้วย และจริงๆแล้ว จุดมุ่งหมายของทางรถไฟจีน และลาวคือด้านการค้านะครับ
 
ส่วนเรื่องการเดินทางไปเชียงใหม่....... ตามที่บอกไปข้างต้นว่าจริงๆแล้วมันแค่รถไฟรางคู่ ไม่ใช่รถไฟฟ้าหัวกระสุน หัวจรวดอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ จึงไม่สามารถทำเวลาได้เท่าหรือพอๆกับเครื่องบินหรอกครับ แต่ผมเห็นด้วยว่าถ้าระยะเวลาการเดินทางด้วยรถไฟกับเครื่องบินต่างกันไม่มาก ผมก็เลือกรถไฟครับ
ปล.เค้าใช้รถไฟความเร็วสูงก็ไม่ผิดนะครับ เพราะมันเร็วกว่ารถไฟแบบถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบัน

ผมว่าต้องมีอะไรคลาดเคลื่อนอย่างแรงแล้วครับ ในเอกสารแนบท้าย พรบ. เงินกู้ เค้าแยกชัดเจนนะครับ ว่าเงินส่วนไหนทำรถไฟความเร็วสูง ส่วนไหนทำรถไฟรางคู่ ในวงเงิน 2.2 ล้านล้านนั้น ครอบคลุมทั้งสองอย่างนะครับ

ผมมั่นใจว่าโครงการที่โฆษณานั้น เป็นรถไฟความเร็วสูงแน่นอน เพราะมีการวางแผนเจาะอุโมงค์ และทำระบบรางใหม่ทั้งหมด ถึงได้ใช้งบประมาณสูงไงครับ ส่วนการปรับปรุงระบบรางเดิมให้เป็นรางคู่นั้น ก็ใช้ของเดิม เพียงแต่เสริมความแข็งแรงและเพิ่มราง ดังนั้นจึงสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่ามากไงครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#38 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:58

ประมาณการผู้โดยสารกี่คนต่อปีก็ไม่รู้สายระยองนี่

#39 BearFamily

BearFamily

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 849 posts

ตอบ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:13

รถไฟรางคู่ - ต่อยอดจากของเก่า ราง 1เมตร

รถไฟความเร็วสูง สร้างใหม่ - เป็นรางคู่ 1.4 เมตร แต่ไม่ได้เร็ว แบบ 300 กม/ชม. เท่าที่ทราบมาคือ 150-160  อันนี้คงต้องรอดูทีโออาอีกทีเพื่อความกระจ่างของทั้ง 2 ฝ่ายครับ 



#40 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:40




การสร้างโหมดการเดินทางใหม่ มันต้องมีข้อดีกว่าโหมดเดิมที่มีอยู่ครับ มันไม่ควรเป็นทางเลือกที่เหมือนๆทางเลือกอื่นๆ

 

สมมุติว่า เส้นทางอนุเสาวรีย์-สยาม ถ้าเดินทางด้วยรถเมล์ ก็สามารถไปถึงได้แบบชิ่วๆ เพราะไม่มีวันไหนหรือตอนไหนที่รถติดเลย แต่วันนึงผมนึกสนุกอยากลงทุนสร้างบีทีเอสขึ้นมา โดยเก็บค่าโดยสาร และใช้เวลาเดินทางเท่ากับรถเมล์ทุกประการ 

 

ผมมาเปลี่ยนอะไรมั้ย ไม่ครับ ผมไม่ได้มีมาเปลี่ยนอะไรเลย ก็เหมือนเพิ่มรถเมล์วิ่งเข้าไปอีกหนึ่งสายเท่านั้น คนที่ใช้บริการของผม ไม่ได้รับอะไรไปน้อยหรือมากกว่าการขึ้นเมล์ปกติ ดังนั้นคนที่จะขึ้นรถไฟลอยฟ้าของผม ก็แค่แชร์มากจากรถเมล์ 

 

ถ้าจะเปลี่ยนอะไร มันต้องเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสิ่งที่เคยมีอยู่ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และมันต้องเด่นชัดพอที่จะมองเห็นเป็นข้อดีที่เหนือกว่า ในความเป็นจริงแล้วบีทีเอสได้เปรียบรถเมล์อยู่มากในด้านความรวดเร็วตรงเวลา จึงทำให้นอกจากแชร์ผู้โดยสารจากรถเมล์ไปได้แล้ว ยังสามารถกระตุ้นการเดินทางลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้อีกด้วย ซึ่งถ้าบีทีเอสไม่มีข้อดีตรงจุดนี้ คงไม่เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่ขึ้นมาหรอกครับ 

 

เราต้องมองหาจุดเด่นของโหมดการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูว่ามันเหนือโหมดอื่นๆตรงไหน และมันชัดพอที่จะทำให้เกิดกลุ่มลูกค้าใหม่หรือเปล่า

 

ประเด็นในเรื่องสนามบินเชียงใหม่ ผมไม่ได้จะสื่อว่าให้สนามบินเต็๋มก่อน แล้วค่อยถึงมาทำรถไฟหรอกนะครับ แต่ผมมองว่าคนที่พร้อมเดินทางไปเชียงใหม่แล้วพร้อมจะจ่ายด้วยราคาในระดับนี้  ตอนนี้มีราว 4.5 ล้านคนต่อไป ซึ่งดีที่สุดของรถไฟความเร็วสูง ถ้าไม่เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่เลย ก็คือแย่งลูกค้าจากสายการบินมาทั้งหมด 4.5 ล้านคนต่อปีไปทั้งหมด มันก็ยังไม่คุ้ม 

 

ฉะนั้นรถไฟความเร็วสูงต้องพึ่งลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่นอกเหนือจากการแชร์ไปจากสายการบินมา แล้วพวกเขาจะมาจากไหนหล่ะครับ ??

 

 

ผมไม่แน่ใจว่า คุณเคยอ่านข้อมูลที่ผมให้ก่อนหน้านี้หรือเปล่าครับ ว่าถ้าระยะทางไม่เกินพันกิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงได้เปรียบนะครับ เรื่องความได้เปรียบ ผมก็บอกไปแล้วไม่ใช่หรือครับ เรียกว่าสารพัดเลยด้วยซ้ำ ทั้งความสะดวกกว่าในการถึงสถานี จุดหมายปลายทางอยู่ในเมือง การเดินทางก็ปลอดถัยและตรงเวลากว่าเครื่องบิน ความอ่อนไหวกับสภาพอากาศก็น้อยกว่า เวลาการเดินทางก็เร็วกว่าเครื่องบินถ้าระยะทางไม่ไกลมาก 

 

ลองดูข้อเท็จจริงเหล่านี้ประกอบนะครับ

 

comparison.jpg

 

นี่เป็นตารางเปรียบเทียบการเดินทางระหว่างรถไฟชินคันเซนกับเครื่องบิน ในเส้นทางระหว่างโตเกียวและภูมิภาคชูโกคุ ( ทางตะวันตกของเกาะฮอนชู ) สังเกตที่เน้นกรอบสีแดงนะครับ ผมคิดว่าเส้นทางโตเกียว-Okayama นั้น ระยะทางใกล้เคียงกับเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ คือประมาณเจ็ดร้อยกิโลเมตร เห็นได้ชัดว่าเวลาการเดินทางใกล้เคียงกันมาก แม้เวลาที่ต่างกันนิดหน่อยคือประมาณสิบห้านาที แต่ปรากฏว่าสัดส่วนการเดินทางนั้นรถไฟชินคันเซนกินขาด ( อัตราส่วน 70:30 ) ที่คาดไม่ถึงยิ่งกว่านั้นคือ เส้นทางโตเกียว-ฮิโรชิมะ ที่ไกลยิ่งขึ้นไปอีก และการเดินทางด้วยเครื่องบินนั้นเร็วกว่าชัดเจน แต่กลับกลายเป็นว่า สัดส่วนคนใช้รถไฟชินคันเซนนั้นยังสูงกว่าการใช้เครื่องบินอยู่ดี

 

ทีนี้ลองดูเส้นทางที่สั้นลงมาอีกนะครับ

 

tohokushinkansencopetitionwithairlines.j

 

นี่เป็นเส้นทางเดินรถไฟชินคันเซนสายตะวันออก สังเกตที่เน้นอีกครั้งนะครับ เส้นทางโตเกียว-นีงาตะ และ เส้นทางโตเกียว-เซ็นได ระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก

 

เห็นอะไรมั้ยครับ เส้นทางการบินสองเส้นทางนี้สูญพันธุ์!!

 

จากข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ผมมั่นใจว่า ถ้าเราบริหารจัดการให้ดี เช่นควบคุมเวลาการเดินรถให้มีประสิทธิภาพ ตรงเวลา เสริมบริการบนรถให้สะดวกสบาย เช่นทำที่นั่งให้กว้่าง นั่งสบาย มีบริการอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ รถไฟฟ้าความเร็วสูงจะดึงลูกค้าจากสายการบินทั้งต้นทุนสูงและต้นทุนต่ำ มาใช้บริการชนิดที่ได้หนาวกันแน่นอน โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าถ้าเปิดบริการจริง เที่ยวบินกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะหายไปจากสาระบบอย่างแน่นอน

 

เงินอยู่ในกระเป๋าผู้บริโภคครับ ถ้าเค้าเห็นว่าอะไรดีกว่า เค้าก็เลือกสิ่งนั้น และจากข้อเท็จจริงที่ผ่านมานั้น ผมมั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงสู้กับสายการบินได้สบายๆ


หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#41 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

ตอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:11

ประเด็นของผมคือ "ตลาดของธุรกิจนี้เล็กเกินไปที่จะรองรับรถไฟความเร็วสูงได้" ไม่ใช่ประเด็น "จะแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของสายบินได้หรือไม่" 

 

การขยายตลาดกับแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด มันแตกต่างกันมากครับ 


Edited by ควันหลง, 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:11.


#42 อาตี๋

อาตี๋

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,267 posts

ตอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:23

รถไฟความเร็วสูงรัฐบาลทำเพื่อแข่งขันกับเครื่องบินหรอ ผมนึกว่าเพื่อพัฒนาประเทศซะอีก :huh:


สิทธิตามระบอบประชาติปไตยมีไว้สำหรับให้เสื้อแดงผู้เรียกร้องประชาติปไตยเท่านั้น


ผู้อื่นห้ามใช้มิเช่นนั้นจะโดนประชาติปไตยลงโทษ


#43 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 20:23

ประเด็นของผมคือ "ตลาดของธุรกิจนี้เล็กเกินไปที่จะรองรับรถไฟความเร็วสูงได้" ไม่ใช่ประเด็น "จะแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของสายบินได้หรือไม่" 
 
การขยายตลาดกับแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด มันแตกต่างกันมากครับ 


ขออภัยที่ผมจับประเด็นไม่ชัดเจนเอง แต่หวังว่าคุณจะเห็นตรงกันแล้ว เรื่องความสามารถในการแข่งขันของรถไฟความเร็วสูง ที่สามารถแข่งขันกับสายการบินได้ ชนิดที่เรียกว่าได้เปรียบด้วยซ้ำ ถึงแม้จะเก็บเงินเท่ากัน

คุณประเมินความคุ้มค่าจากอะไรครับ? ผมว่ามีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณานะครับ

1 เรื่องจำนวนผู้โดยสาร

ผมมองว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจต้องเกิดขึ้นเรื่อยๆโดยธรรมชาติ สมมุติเราเริ่มโครงการวันนี้ อีกหกปีนะครับกว่าจะเสร็จ เผลอๆ ถ้าทำถึงเชียงใหม่ต้องเจาะภูเขา อาจต้องรอเป็นสิบปี ตัวเลขที่คุณประเมินมันไม่ได้หยุดน่ิงแค่ที่คุณเห็นหรอกครับ แนวโน้มการเดินทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปีๆ ตอนนี้ประมาณสี่ล้าน ผ่านไปอีกสิบปี ผมมองว่าอย่างน้อยๆ น่าจะได้เจ็ดถึงแปดล้าน ถ้าเศรษฐกิจยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ถ้าชิงส่วนแบ่งมาได้ 70% ก็ร่วมๆห้าล้านคนแล้วนะครับ นี่ยังไม่รวมเส้นทางรองๆอีก เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ ลำปาง ลำพูน หรือจังหวัดรอบๆ ที่อาจเดินทางด้วยรถ มาขึ้นรถไฟความเร็วสูงอีกที ซึ่งผมเชื่อว่ามีแน่ อย่างบ้านเพื่อนผมอยู่ปัตตานี เวลาเดินทางมากรุงเทพฯ ก็นั่งรถ มาต่อเครื่องบินที่หาดใหญ่

สำหรับคุณควันหลง ตัวเลขผู้โดยสารแค่ไหนถึงจะคุ้มครับ

2 การเติบโตของเศรษฐกิจที่้เป็นผลมาจากโครงการ

ผมมั่นใจว่า จะเกิดโรงแรม ร้านค้า และธุรกิจภาคบริการเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน การท่องเที่ยวโตขึ้นแน่ๆ ผมเองก็ไม่รู้ว่าเค้าจะประเมินเป็นมูลค่ากันอย่างไร แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

3 การลดการนำเข้าน้ำมัน

ผมว่านี่ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องคิด การเดินรถด้วยไฟฟ้า ทำให้เราสามารถแบ่งเบาการใช้น้ำมันลงได้ เพราะแหล่งพลังงานไฟฟ้าไม่ได้มีแค่น้ำมันหรือแก้สธรรมชาติเท่านั้น แต่เครื่องบินนั้นใช้อยู่อย่างเดียว นอกจากนี้ ราคาตั๋วเครื่องบินก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนของค่าเชื้อเพลิง ใครจะไปรู้ล่ะครับ ว่าวันข้างหน้าราคาน้ำมันจะเป็นเท่าไหร่?

ผมก็ไม่รู้ว่ามีประเด็นอื่นอีกหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในสายตาผม คือการคุ้มทุนในการดำเนินการของโครงการนี้ ปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่การบริหารจัดการเรื่องการเดินรถ จำนวนผู้โดยสาร และ การหารายได้เสริมอื่นๆ ถ้าสามารถทำให้รายได้มากกว่ารายจ่ายในการดำเนินการได้ ผมมองว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงคุ้มที่จะลงทุน และในสายตาผม เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ มีความเป็นไปได้มากที่สุดครับ

ส่วนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เราควรมองเป็นเรื่องต้นทุนของประเทศ ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพราะถ้าเราเอามาคิดเป็นต้นทุนในการเดินรถ ผมว่ามันก็ไม่ต่างจากการเอาค่าก่อสร้างถนนมาคิดค่าตั๋วรถ บขส. ครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#44 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

ตอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:46

ถ้ามีผู้โดยสารเริ่มต้นที่ 3 ล้านคน และขยายตัวอย่างสมํ่าเสมอไปจนถึง 11.5 ล้านคน ในปีที่ 20 ก็ยังไม่คุ้มทุนเลยครับ 

 

ผมคิดตัวเลขตํ่าที่สุดที่เป็นไปไม่ได้ หมายถึง ผมตีให้ทุกคนเดินทางไปเชียงใหม่ทั้งหมด จึงไม่มีใครจ่ายตํ่ากว่า 1,200 บาทต่อคน และไม่คิดต้นทุนดอกเบี้ย ค่าเชื้อเพลิง ค่าบริหารการจัดการ ค่าซ่อมบำรุง ใดๆทั้งสิ้นด้วยครับ


Edited by ควันหลง, 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:50.


#45 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:07

ถ้ามีผู้โดยสารเริ่มต้นที่ 3 ล้านคน และขยายตัวอย่างสมํ่าเสมอไปจนถึง 11.5 ล้านคน ในปีที่ 20 ก็ยังไม่คุ้มทุนเลยครับ 
 
ผมคิดตัวเลขตํ่าที่สุดที่เป็นไปไม่ได้ หมายถึง ผมตีให้ทุกคนเดินทางไปเชียงใหม่ทั้งหมด จึงไม่มีใครจ่ายตํ่ากว่า 1,200 บาทต่อคน และไม่คิดต้นทุนดอกเบี้ย ค่าเชื้อเพลิง ค่าบริหารการจัดการ ค่าซ่อมบำรุง ใดๆทั้งสิ้นด้วยครับ


ขอรายละเอียดการคำนวณได้มั้ยครับ ผมเคยอ่านการวิจัยเค้าประเมินว่าผู้โดยสาร 10 ล้านคนต่อปีจะพอดีๆ ส่วนตัวผมประเมินไว้ เริ่มต้นที่ 5 ล้าน แล้วขยายตัวเป็นสิบล้าน คิดว่าน่าจะพอไหวนะครับ

อย่าลืมว่าเราไม่ควรเอาต้นทุนเรื่องค่าก่อสร้างมาคิดนะครับ เพราะนั่นมันเป็นส่วนที่ต้องเสียไปกับการลงทุนของรัฐ เหมือนเรื่องค่ารถ ไม่มีใครคำนวณโดยเอาค่าก่อสร้างถนนมาคิดค่าโดยสารนะครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#46 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

ตอบ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 09:06

 

ถ้ามีผู้โดยสารเริ่มต้นที่ 3 ล้านคน และขยายตัวอย่างสมํ่าเสมอไปจนถึง 11.5 ล้านคน ในปีที่ 20 ก็ยังไม่คุ้มทุนเลยครับ 
 
ผมคิดตัวเลขตํ่าที่สุดที่เป็นไปไม่ได้ หมายถึง ผมตีให้ทุกคนเดินทางไปเชียงใหม่ทั้งหมด จึงไม่มีใครจ่ายตํ่ากว่า 1,200 บาทต่อคน และไม่คิดต้นทุนดอกเบี้ย ค่าเชื้อเพลิง ค่าบริหารการจัดการ ค่าซ่อมบำรุง ใดๆทั้งสิ้นด้วยครับ


ขอรายละเอียดการคำนวณได้มั้ยครับ ผมเคยอ่านการวิจัยเค้าประเมินว่าผู้โดยสาร 10 ล้านคนต่อปีจะพอดีๆ ส่วนตัวผมประเมินไว้ เริ่มต้นที่ 5 ล้าน แล้วขยายตัวเป็นสิบล้าน คิดว่าน่าจะพอไหวนะครับ

อย่าลืมว่าเราไม่ควรเอาต้นทุนเรื่องค่าก่อสร้างมาคิดนะครับ เพราะนั่นมันเป็นส่วนที่ต้องเสียไปกับการลงทุนของรัฐ เหมือนเรื่องค่ารถ ไม่มีใครคำนวณโดยเอาค่าก่อสร้างถนนมาคิดค่าโดยสารนะครับ

 

 

งั้นถ้าเป็นภาครัฐลงทุนจะแพงเท่าไรก็ได้งั้นหรือครับ  :wacko:



#47 Rxxxx

Rxxxx

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,486 posts

ตอบ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 10:00

คนต่างชาติที่เขาขึ้นรถไฟไทยก็มีเยอะนะครับ คนญี่ปุ่นเองเขารักรถไฟไทยมากๆ
และที่ญี่ปุ่นเอง รถไฟส่วนใหญ่เหมือนรถไฟไทยนั้นแหละครับเราเองก็ซื้อหัวรถจักร ตู้โดยสารจากญี่ปุ่นมานานกว่า 50 ปีเเล้ว

 คลิปนี้เป็นรถไฟสายอีสานกรุงเทพ-อุบลคลิปสองครับ ตอนนั้นน้ำท่วม รถไฟต้องไปใช้เส้นทางฉะเชิงเทราแทน

 

ถ้ารถไฟไทยมีเที่ยววิ่งมากพอ ทำรางคู่ยาวทั่งประเทศ(เท่าที่ทำได้นะครับ อย่างสายเหนือ ทำถึงเด่นชัยก่อนก็ได้)
รถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ-พัทยา ออกทุกครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมงก็ยังดี คนต่างชาติ คนไทยจะมาใช้บริการรถไฟมากขึ้นๆครับ


Edited by Rarm41, 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 10:26.


#48 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 10:08

จากที่เคยนั่งทั้งชินคันเซนและเครื่องบินในประเทศ ผมเลือกรถไฟครับ

เพราะสะดวกสะบายกว่า ไม่ต้องเช็คอิน ไม่ต้องเดินไกล ไม่ต้องไปนั่งเบียดๆ กัน

แล้วนั่งรถไฟเสียงไม่ดังเท่าเครื่องบิน ไม่หูอื้อ ไม่ต้องกลัวมันตกด้วย  -_-


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#49 Rxxxx

Rxxxx

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,486 posts

ตอบ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 10:14

รถไฟสายเหนือคลิปสองครับ

 

นักท่องเที่ยวต่างชาติเขาไม่ได้รีบร้อนอะไรครับ เขาชอบรถไฟธรรมดามากกว่า
ส่วนความเร็วสูง เขาเอาไว้รองรับนักธุรกิจเงินหนักครับ
 ไม่ใช่คนชั้นกลางอย่างพวกผมเเน่นอน เพราะผมขับรถไปเอง ถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงอีก

 แล้วไม่ต้องเสียเวลาต่อรถ โดนแท็กซี่เมิน ต้องเสี่ยงกับแมงกะไซค์ โจรโหดอีก


Edited by Rarm41, 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 10:22.


#50 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:40

ถ้ามีผู้โดยสารเริ่มต้นที่ 3 ล้านคน และขยายตัวอย่างสมํ่าเสมอไปจนถึง 11.5 ล้านคน ในปีที่ 20 ก็ยังไม่คุ้มทุนเลยครับ 
 
ผมคิดตัวเลขตํ่าที่สุดที่เป็นไปไม่ได้ หมายถึง ผมตีให้ทุกคนเดินทางไปเชียงใหม่ทั้งหมด จึงไม่มีใครจ่ายตํ่ากว่า 1,200 บาทต่อคน และไม่คิดต้นทุนดอกเบี้ย ค่าเชื้อเพลิง ค่าบริหารการจัดการ ค่าซ่อมบำรุง ใดๆทั้งสิ้นด้วยครับ


ขอรายละเอียดการคำนวณได้มั้ยครับ ผมเคยอ่านการวิจัยเค้าประเมินว่าผู้โดยสาร 10 ล้านคนต่อปีจะพอดีๆ ส่วนตัวผมประเมินไว้ เริ่มต้นที่ 5 ล้าน แล้วขยายตัวเป็นสิบล้าน คิดว่าน่าจะพอไหวนะครับ
อย่าลืมว่าเราไม่ควรเอาต้นทุนเรื่องค่าก่อสร้างมาคิดนะครับ เพราะนั่นมันเป็นส่วนที่ต้องเสียไปกับการลงทุนของรัฐ เหมือนเรื่องค่ารถ ไม่มีใครคำนวณโดยเอาค่าก่อสร้างถนนมาคิดค่าโดยสารนะครับ
 
งั้นถ้าเป็นภาครัฐลงทุนจะแพงเท่าไรก็ได้งั้นหรือครับ  :wacko:

เอางี้ครับ

คุณอ้างตัวเลขอะไรมา ก็ช่วยแสดงรายละเอียดด้วยแล้วกัน ผมอยากทราบว่าคุณคิดอย่างไร?

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน