เงินที่จ่ายไปคือส่วนต่างจากราคาขายข้าวของชาวนา โดยมีเพดานราคา+ราคากลางกำหนดไว้ครับ อย่างข้าวเปลือกเจ้าก็อยู่ที่ 1 หมื่น ราคากลาง 8500 ส่วนต่างคือ 1500 ครับ เงินส่วนต่างนี้โอนตรงเข้ามือชาวนาครับ และเงินส่วนต่างนี้คือแสนกว่าล้านที่ท่านอ้างถึง
ผมคงไม่ต้องอธิบายนะครับว่า รายได้ของชาวนาที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้ มันจะหมุนไปในระบบอย่างไร
ลองคิดเล่นๆ นะครับ ขนาดประกันรายได้ไม่มีต้นทุนที่มองไม่เห็นเหมือนกับจำนำข้าว แต่ยังใช้เงินไปแสนกว่าล้าน แล้วจำนำข้าวที่ใช้จ่ายเงินไปแล้วกว่า 6 แสนล้าน จะขาดทุนเท่าใด
ประกันรายได้ออกมาช่วยเกษตกรในระยะสั้นครับ เมื่อสต็อกข้าวของเรามีพอแค่บริโภคภายในประเทศปีต่อปี เมื่อนั้นราคาข้าวจะสูงตามกลไกตลาดครับ
เท่าที่เห็นจากข้อมูลล่าสุด โครงการจำนำขาดทุน 1.3 แสนล้านครับ
http://thainews.prd....OL5606180020024
ไม่ต่างกับรายจ่ายแบบไม่มีรายรับในโครงการประกันราคา (5.59 + 6.76 หมื่น= 1.23 แสน) และหากค่าเงินตกลงกลับไปที่ 35 ข้าวที่ขายออกไปในราคาที่สามารถแข่งกับต่างประเทศได้ ก็จะทอนกลับมาเป็นเงินบาทที่สูงกว่า ทำให้มีโอกาสที่จะขาดทุนน้อยลงหรืออาจจะลงทุนเป็นศูนย์เลยก็ได้
ต่างจากการประกันที่เป็นรายจ่ายแน่นอนตายตัว ไม่มีโอกาสเสมอทุนหรือกำไรเลย
ถามว่าเหตุใดชาวนาเขาถึงอยากให้มีการจำนำมากกว่าการประกัน? ก็เพราะการประกันมันจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาโรงสี มันไม่ได้ประกันว่าชาวนาจะเหลือกำไร
แต่การจำนำ ขาวนาเขากำไรแน่ๆ ไงครับ