การเตรียมตัวก่อนไปร่วมชุมนุม
1.พบน้ำติดตัว เพื่อใช้ในการดื่ม ล้างแผล หรือล้างตา
2.โทรศัพท์มือถือ-ข้อมูลที่ระบุตัวตนหรือข้อมูลที่สามารถติดต่อในกรณีฉุกเฉินได้
3.ควรสวมเสื้อผ้าที่ปกคลุมผิวหนังให้ได้มากที่สุด รวมทั้งสวมหมวก สวมใส่รองเท้าที่กระชับและปกป้องเท้า
4.อุปกรณ์ป้องกัน ดวงตาเช่น แว่นว่ายน้ำที่มีเลนส์กันแตก หรือหน้ากากป้องกันแก๊ส ผ้าปิดจมูกและปาก
5.หลีกเลี่ยงการใช้ออยล์ โลชั่น วาสลีน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีคุณสมบัติในการจับสารเคมี ควรใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของน้ำหรือแอลกฮอล์แทน
6.ลูกกวาดชนิดแข็ง ใช้สำหรับเพิ่มน้ำตาลในเลือด
7.ไม่ควรเข้ากลุ่มประท้วงเพียงลำพัง ทางที่ดีที่สุดควรไปกับกลุ่มใกล้ชิด หรือเพื่อนที่รู้จักคุณ
จะรับมือแก๊สน้ำตาอย่างไร?
1.ควรอยู่ในความสงบ เพราะถ้ายิ่งตื่นตกใจก็จะยิ่ง ทำให้เกิดความระคายเคือง สูดลมหายใจช้าๆ และระลึกไว้ว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
2.หากเห็นว่ามีการยิงแก๊สน้ำตา ควรรีบสวมอุปกรณ์ป้องกันหากเป็นไปได้ให้เคลื่อนหนีและอยู่ในตำแหน่งเหนือลมให้เร็วที่สุด
3.หากสัมผัสแก๊สน้ำตาหรือสเปรย์พริกไทยให้รีบสั่งน้ำมูก บ้วนน้ำ ไอและ พ่นน้ำลาย พยายามอย่ากลืน
4.หากสวมคอนแทคเลน์ ถอดคอนแทคเลน์ออกทันที
ยาแก้พิษ (antidote) ของแก๊สน้ำตา คือ น้ำ และน้ำเกลือ ครับ
ใช้น้ำเกลือล้างตาและใช้น้ำล้างบริเวณที่ถูกแก๊ส (แก๊สน้ำตาเป็นสารเคมี)
ส่วนใหญ่ น้ำตาที่ไหลอยู่นั้นจะช่วยขับเอาสารเคมีออกจากตาไปได้ ถ้าไม่หาย มีคำแนะนำ 2 แบบคือ อย่างแรก ให้ใช้ลมเป่าที่ตา เพื่อพัดเอาสารเคมีออกไป (ใช้พัดลมก็ได้) แต่ถ้ายังไม่หายอีก ให้ล้างตาด้วยน้ำเกลือ (normal saline) (การใช้น้ำเปล่าล้างตา ในกรณีที่หาน้ำเกลือไม่ได้ แม้ว่าอาจจะใช้ได้ในที่เกิดเหตุ ก็อาจทำให้เยื่อบุตาบวมได้) และอาจหยอดยาชาช่วยบรรเทาอาการร่วมกับปิดตาไว้ก่อน, ถ้ามีแผลที่กระจกตา (corneal abrasion) ก็ให้รักษาด้วย ยาปฏิชีวนะหยอดตา และยาแก้ปวด, อาการทางตาที่เป็นมาก อาจต้องปรึกษาจักษุแพทย์ให้ช่วยดูแลด้วย ผู้ที่ใช้ contact lens ควรรีบถอดออก แล้วล้างทำความสะอาด (ในกรณีของ soft lens ไม่ควรนำกลับมาใช้อีก)
ผิวหนัง : ถ้ามีอาการแสบ อาจล้างด้วยน้ำ และสบู่มาก ๆ โดยเฉพาะตรงข้อพับต้องดูแลเป็นพิเศษ, ถ้าผิวหนังไหม้ ก็ให้การดูแลเหมือนแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกโดยทั่วไป ถ้ามีการแพ้ ก็ให้ยา topical steroid ได้, ถ้ามีสารเคมีติดที่ผม การสระผม อาจทำให้แสบหนังศีรษะได้
อาการของทางเดินหายใจ : ถ้ามีอาการมาก ควรให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้การรักษาด้วยการให้ออกซิเจน หรือให้ยาขยายหลอดลม หากมีอาการของหลอดลมตีบ ถ้าเป็นมากจนมีการหายใจล้มเหลว อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สำหรับเสื้อผ้า สามารถซักด้วยเครื่องซักผ้า ด้วยผงซักฟอกธรรมดาได้ โดยใช้น้ำเย็นซัก ห้ามใช้น้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้สารเคมีระเหยและเป็นอันตรายต่อผู้สัมผัสได้
หากสัมผัสแก๊สน้ำตาหรือสเปรย์พริกไทย ให้รีบสั่งน้ำมูก, บ้วนน้ำ, ไอ และ พ่นน้ำลาย พยายามอย่ากลืน
การปฏิบัติที่สำคัญอันดับแรก คือต้องหยุดสัมผัสสารเคมีให้ได้ก่อน อาการต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นเองโดยที่ไม่ต้องให้การรักษาพิเศษอะไร ซึ่งในขั้นต้นได้แก่
การหลีกเลี่ยงและออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตานั้น ไปสู่บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทที่สะดวก และมีลมพัดให้สารเคมีนั้นกระจายออกไป
ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก และใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิด (2 ชั้นยิ่งดี) โดยพยายามอย่าให้เสื้อผ้าเปียก เพราะสารเคมีจะละลายติดตามร่างกายได้
คำแนะนำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ต้องสวมถุงมือ และใส่เสื้อคลุมป้องกัน รวมทั้งแว่นตา ระหว่างให้การช่วยเหลือผู้ป่วย อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และมีลมพัด
Edited by raksthaban, 2 August 2013 - 23:45.