Jump to content


Photo
- - - - -

รมว.ยุติธรรม เดินหน้าแนวคิดปลด "กระท่อม" ออกจากบัญชียาเสพติด ชี้ฤทธิ์อ่อนกว่าคาเฟอีน

ยุติธรรม กระท่อม ยาเสพติด

  • Please log in to reply
54 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:26

>>> เรื่อง เยอะ แยะ ไม่ทำ  เซ็ง อิ๊บอ๋ายยยย  <<< 

 

 

970687_586227001441094_1411299821_n.png



#52 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:06

     ใบกระท่อม น่าจะเป็นยาเสพติด น้อยกว่าบุหรี่ หรือหมาก

 

     เคยนั่งรถกระบะ ขนสินค้าเกษตร ที่ชุมพร คนขับเอากิ่งกระท่อม วางข้างเบาะก็เห็นเด็ดมาเคี้ยวเรื่อยๆ หลายใบ เจอด่านตะกวด มันชะโงกหน้ามาดู รับเงินไป50 แล้วก็ปล่อยไป

     สอบถามได้ความว่าเกิน70% ของคนขับ ก็ขับไป เคี้ยวใบกระท่อมไป

 

      คนขับเคยมาอยู่ด้วย 4-5วัน ไม่มีใบกระท่อมเคี้ยว ก็ไม่เห็นมันกระวนกระวายอะไร


ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ


#53 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 12 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:51

อัพเดทความคืบหน้า

 

http://www.komchadlu...ml#.UjHwj9JkOME

 

วันอังคารที่ 10 กันยายน 2556

 

ป.ป.ส.เล็งชงปลด'กระท่อม'-ให้แค่เคี้ยว

'ป.ป.ส.'เตรียมชงปลด'กระท่อม'พ้นยาเสพติด เพื่อให้ใช้เป็นสมุนไพร แต่อนุญาตให้แค่เคี้ยว ห้ามแปรรูปเป็น'4 x 100'

 

                  10 ก.ย.56 พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพัฒนานโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับพืชกระท่อม โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงสาธารณสุข องค์การอาหารและยา ฯลฯ  เข้าร่วมประชุมพร้อมนำเสนอข้อดีข้อเสียของพืชกระท่อม รวมถึงการใช้พืชกระท่อมในประเทศต่างๆ

 

                 พล.ต.อ. พงศพัศ ได้แถลงผลการประชุมว่า คณะกรรมการฯ จะเสนอข้อมูลทั้งหมดต่อนายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในวันที่ 11 ก.ย.นี้ เพื่อขอให้รมว.ยุติธรรมส่งเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ ตามแนวทาง ดังต่อไปนี้ 1.  ประกาศยกเลิกพืชกระท่อมจากยาเสพติดประเภท 5 เพื่อให้สามารถใช้เป็นสมุนไพร  2 ประกาศให้พืชกระท่อมเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย แต่จะต้องออกระเบียบควบคุมให้ใช้กระท่อมได้ในวิถีชีวิตประจำวัน จำกัดให้ใช้ได้เฉพาะการเคี้ยวใบกระท่อมเท่านั้น ห้ามนำไปแปรรูป และหากมีการนำใบกระท่อม ซึ่งเปรียบเสมือนสารตั้งต้นไปแปรสภาพหรือปรุงแต่งกับสารเสพติดอื่น ให้เป็นยาเสพติดประเภทใหม่ๆ  ซึ่งป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อสังคม ขอให้คณะกรรมการยาเสพติดพิจารณากำหนดโทษ เนื่องจากเป็นนวตกรรมใหม่ในการเสพ ที่เกิดขึ้นหลัง พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ. 2522 ทำให้ไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับยาเสพติดประเภท 4X100  และแนวทางที่ 3 หากคณะกรรมการยาเสพติดพิจารณาแล้ว ไม่เห็นสมควรให้ยกเลิกพืชกระท่อมจากยาเสพติด ขอให้คณะกรรมการยาเสพติด เสนอวิธีทางนำพืชกระท่อมมาใช้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่ของเศรษฐกิจ เนื่องจากพืชกระท่อมมีมากในประเทศไทย  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของป.ป.ส.จะยังทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องถึงผู้เสพกระท่อม ว่าจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างไร

 

                 นพ.วิโรจน์ วิรชัย รองเลขาธิการอย. กล่าวว่า ที่ประชุมมีความเห็นที่จะเสนอให้ยกเลิกพืชกระท่อมจากยาเสพติดประเภท 5 เพื่อลดความรุนแรงของการบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัด โดยให้ลดระดับมาควบคุมด้วยการกำหนดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทั้งนี้หากคณะกรรมการยาเสพติดฯมีมติให้ยกเลิกกระท่อมจากยาเสพติด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสามารถออกประกาศยกเลิกได้ทันที เช่นเดียวกับการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้ “กัญชา” ไม่จัดเป็นยาเสพติด โดยสามารถนำเปลือก แกนต้น และเส้นใยของแกนต้นกัญชา มาใช้ในตำรับยาได้  ทั้งนี้การแก้กฎหมายให้กระท่อมพ้นจากยาเสพติด ยังต้องไปแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎร

 

               ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้มีการรายงานข้อมูลจากคณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กรวิชาการสารเสพติด ป.ป.ส. ระบุถึงการแพร่ระบาดกระท่อมและการแปรรูปเป็นน้ำกระท่อมซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ ปี 2547 จากการสำรวจในภาคครัวเรือน เมื่อปี 2554 พบการใช้กระท่อมทั่วประเทศ 404,548 คน สูงสุดในภาคใต้ 200,000 ราย ขณะที่สถิติการจับกุมเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2551-2556  ในปี 2556 ยึดของกลางได้ 11,339 กก. และยังพบเคลื่อนย้ายคนจากภาคใต้ไปทำงานกรีดยางพาราในภาคอีสานและภาคเหนือมากขึ้น ทำให้มีการเสพกระท่อมกระจายไปทั่วประเทศ ในกลุ่มวัยรุ่นนิยมเสพน้ำต้มใบกระท่อมมากกว่าเคี้ยวใบกระท่อมสด และยังพบการนำเข้ากระท่อมจากมาเลเซียด้วย โดยผู้เสพมีอายุตั้งแต่ 15-24 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและเกษตรกร

 

                 ข้อมูลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับพืชกระท่อม พบว่า ในภูมิภาคอาเซียน มีเพียง 3 ประเทศที่มีกฎหมายควบคุมพืชกระท่อม ได้แก่ ไทย พม่า และมาเลเซีย แต่ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมพืชกระท่อม ครอบคลุมทั้งใบ ต้น ราก และดอก แต่มาเลเซียควบคุมเฉพาะสารมีตราไจนินในใบกระท่อม  หากมีการขาย ครอบครองเพื่อขาย ปรุงสังเคราะห์แล้วก่อให้เกิดอันตรายมีโทษจำคุก 2 ปี  ออสเตรเลียจัดกระท่อมเป็นสมุนไพร แต่ควบคุมสารอัลคาลอยด์ ห้ามใช้ในการรักษาโรค หากนำไปใช้รักษาโรคแล้วเกิดอันตรายจะมีความผิด  ในสหรัฐอเมริกากำหนดให้กระท่อมเป็นวัตถุเฝ้าระวัง สามารถซื้อขายได้ทั่วไป  โดยพบว่าในร้านค้ามีการจำหน่ายกระท่อมและจัดประเภทเป็นสินค้าขายดี มีราคาแพง เฉลี่ยซองละประมาณ 1,000 บาท นอกจากนี้ยังมีภาพอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ได้ขุดหลุมปลูกพืชกระท่อมโชว์ด้วย

                 

ขณะที่ ข้อมูลจากกองวัตถุยาเสพติด (อย.) ระบุว่า สาเหตุที่ต้องกำหนดให้กระท่อมเป็นสารเสพติด เนื่องจากผู้เสพมีความต้องการใช้รุนแรง เมื่อไม่ได้ใช้จะไม่อยากทำงาน มีอาการดื้อยาทำให้ต้องใช้ในปริมาณมากขึ้น และหมกหมุ่นอยู่กับการหาใบกระท่อมมาเสพ สุขภาพทรุดโทรม ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของยาเสพติดทั้งสิ้น นอกจากนี้ กระท่อมยังถูกนำผสมกับสารเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์อื่นๆ ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน และแพร่ระบาดมากขึ้น ทั้งในรูปของ 4X100 และบาธซอล  นอกจากนี้กระท่อมเป็นพืชออกฤทธิ์หลายด้าน ทั้งกระตุ้นประสาท กล่อมประสาท ระงับปวด มีองค์ประกอบคล้ายมอร์ฟีน เห็ดเมา กัญชา การนำมาใช้จึงพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษที่จะมีขึ้นในวันที่ 13 ก.ย.นี้ จะมีการหยิบยกประเด็นพืชกระท่อมขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมา ในปี 2547 เคยมีการเสนอให้ยกเลิกพืชกระท่อมจากยาเสพติด แต่ในปี 2549 กระทรวงสาธารณสุขยังยืนยันให้กำหนดพืชกระท่อมเป็นยาเสพติด

 


Edited by อู๋ ฮานามิ, 12 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:54.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#54 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 12 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:53

http://www.matichon....1&subcatid=0100

 

รมว.ยุติธรรมแนะไฟเขียวปลูก"กระท่อมเคี้ยวสด" ถ้าไม่ให้หลุด พ.ร.บ.ยาเสพติด

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:10:03 น.

 
นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการยกเลิกกระท่อมจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด โดยไม่ขัดข้องหากจะควบคุมด้วยวิธีอื่นเนื่องจากแม้กระท่อมจะไม่ใช่ยาเสพติด แต่ถ้านำมาสกัดเอาสารออกมาก็สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นยาเสพติดได้
 

"สุดท้ายแล้วจะไม่ยกเลิกกระท่อมจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด แต่ถ้าอนุญาตให้ปลูกเพื่อเคี้ยวใบสดแต่เพียงอย่างเดียวถือว่าเหมาะสมแล้ว ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด"


Edited by อู๋ ฮานามิ, 12 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:54.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#55 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 12 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:58

คงจะเอาไว้หาเสียงกับคนภาคใต้ ว่าให้ปลูกร่วมปลูกแซมต้นยางแทนจำปาดะ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน