Jump to content


Photo
- - - - -

ราคายางต่ำจริงหรือ

ราคายาง

  • Please log in to reply
27 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Tam-mic-ra.

Tam-mic-ra.

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,948 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:16

ราคายางต่ำจริงหรือ

 

ถนัด ตันสกุล

เศรษฐกรอาวุโส ส่วนเศรษฐกิจภาค

สานักงานภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย

        ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สาคัญของไทย โดยในปี 2554 มีมูลค่าการส่งออกเกือบ 4 แสนล้านบาท เป็นอันดับหนึ่งของสินค้าเกษตรและเป็นอันดับสามของสินค้าส่งออกของไทย ปัจจุบันยางพาราได้ขยายพื้นที่ปลูกไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 ราคายางพาราได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากกิโลกรัมละ 180 บาท มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 90 บาทในช่วงสิ้นปี ทาให้ในช่วงต้นปี 2555 เกษตรกรชาวสวนยางออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 รัฐบาลได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือออกมา แต่ประเด็นคาถามที่ยังคงมีอยู่คือ ราคายางพาราต่าจริงหรือไม่และมาตรการดังกล่าวจะมีผลต่อตลาดยางพาราอย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยพื้นฐานที่กาหนดราคายางพาราคือความต้องการใช้(อุปสงค์) และปริมาณผลผลิต(อุปทาน) โดยปริมาณการใช้ยางของโลกจะขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นสาคัญ โดยปัญหาเศรษฐกิจ ของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ปริมาณการใช้ยางในปี 2554 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 ขณะที่ปริมาณผลผลิตยางของโลกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.5 ตามการขยายพื้นที่ปลูกในแหล่งผลิตที่สาคัญ

         สาหรับปัจจัยอื่นๆ ที่กระทบต่อราคายางพารา ได้แก่

(1) การซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้าโตเกียว (TOCOM) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อราคายางในตลาดจริง รวมทั้งราคาซื้อขายในประเทศไทย

(2) ราคาน้ามัน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางสังเคราะห์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57 ของการบริโภคยางของโลกและสามารถใช้ทดแทนยางพาราได้ จากข้อมูลในอดีต ราคายางพารากับราคาน้ามันจะเคลื่อนไหวไปด้วยกัน ยกเว้นในปี 2553 และ 2554 ที่ราคายางพารามีความผันผวนสูงกว่าราคาน้ามันมาก เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและ การเกิดภัยพิบัติสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น

(3) ปัจจัยอื่นๆ เช่น น้าท่วมใหญ่ในประเทศไทยส่งผลให้เกิดการสะดุด ของห่วงโซ่การผลิตโลก กระทบต่อความต้องการใช้ยางโลก เป็นต้น

        

       แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาราคายางจะปรับตัวลดลง แต่ยังนับว่าอยู่สูงกว่าต้นทุนการผลิต สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรแสดงต้นทุนการผลิตยางในปี 2554 อยู่ที่กิโลกรัมละ 46.57 บาท และราคายางที่ลดลงยังสูงกว่าราคาเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา(2545-2554) ที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 69.35 บาท ราคายางที่ปรับลดจึงไม่ได้ต่าจริง แต่ราคายางที่ลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2554 ได้สร้างความกังวลให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาราคายางอยู่เหนือระดับ 100 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบกับค่าครองชีพได้ปรับตัวสูงขึ้นและรัฐบาลได้ออกนโยบายที่อาจจะส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มค่าแรงขั้นต่าวันละ 300 บาท การลอยตัวราคาพลังงาน เป็นต้น รวมทั้งเกษตรกรชาวสวนยางส่วนหนึ่งได้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นจากเงินที่คาดว่า จะได้รับในช่วงที่ยางราคาดี สะท้อนอยู่ในข้อมูลของสานักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งพบว่าครัวเรือนภาคใต้มีหนี้สูงขึ้น

      

      เพื่อแก้ไขปัญหา ความผันผวนของ ราคายาง พารา รัฐบาลได้ออกมาตรการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ยางพารา โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งเป็นระดับราคาที่เหมาะสมและยั่งยืน วิธีการคือ ให้ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท โดยจัดสรรให้สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท องค์การสวนยาง 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการรับซื้อยาง พารา ไปแปรรูปและรอขายในราคาที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดผลผลิต ยางพาราออกสู่ตลาดในช่วงที่ราคา ตกต่า โครงการนี้ มีระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน (มกราคม 2555 - มีนาคม 2556) มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลทางจิตวิทยาทาให้ราคายาง ขยับตัวสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90 บาทเมื่อต้นปี 2555 เป็นกิโลกรัมละ 110 บาทใน เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประกอบกับราคาน้ามันยังอยู่ในระดับสูง

       อย่างไรก็ตาม มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง พาราของรัฐบาล คาดว่าจะได้ผลทางด้านจิตวิทยา ในระยะสั้น เท่านั้น โดยราคายางได้ปรับจากกิโลกรัมละ 90 บาท เป็น 110 บาท ส่วนในระยะยาวจาก การ คาดการณ์ของ IRSG ผลผลิตยางพาราในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 4.96 ขณะที่ความต้องการใช้ ยางพาราโลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.94 ทาให้ ณ สิ้นปี 2559 จะมีผลผลิตยางจานวน 13,970 พันตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 (ผลผลิต 11,322 พันตัน) จานวน 2,648 พันตัน ส่วนความต้องการใช้มีจานวน 13,880 พันตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2555 (ความต้องการใช้ 11,291 พันตัน ) จานวน 2,589 พันตัน อนาคตยางพาราจึงไม่น่าเป็นห่วง อาจจะ ผันผวนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวปริมาณ ผลผลิต และ ความต้องการใช้ ยางพาราจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยท้าทายอื่น ๆ อาทิ การใช้ยางสังเคราะห์ทดแทน ก็มีข้อจากัดทางเทคนิค การขยายพื้นที่ปลูกในประเทศ จีน ก็ถูกจากัดด้วยพื้นที่ที่ต้องมีภูมิอากาศที่เหมาะสม นอกจากนี้ การลงทุนตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ และ ราคาน้ามัน ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อราคายาง ดังนั้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้ายางพารา ในระยะยาว ทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องกระตุ้นการบริโภคยางภายในประเทศ เร่งหาตลาด ส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ และที่สาคัญต้องสนับสนุน การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแทนที่จะส่งออกในรูปวัตถุดิบ เหมือนในอดีต ที่ผ่านมา

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จาเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

http://www.bot.or.th...ต่ำจริงหรือ.pdf


"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ" :unsure:

 

นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง!  รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง :lol:      http://webboard.seri...แค/#entry842224   ;      http://webboard.seri...-25#entry408954


#2 อมพระมาพูด

อมพระมาพูด

    ไอ้มดแดง V 5 สู้ว้อย

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,701 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:23

ถ้าไม่เดือดร้อนจรืงๆ ใครจะมาก่อม๊อบ !! งวดที่แล้วทักษิณเดือดร้อนเลยจ่ายตังแดงให้มาก่อม๊อบ !!!
The wise man doubts often, and his views are changeable.The fool is constant in his opinions, and doubts nothing,because he knows everything, except his own ignorance (Pharaoh Akhenaton, c.1250BCE)

#3 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:25

http://www.oknation....3/08/30/entry-1

ตรรกะยาง ตรรกะข้าว ‘ซื้อนำ’ กับ ‘รับจำนำ’

 

ใครฟังคำอธิบายของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องราคายางพารากับราคาข้าวแล้ว ก็จะเห็นความแตกต่างที่น่าสนใจ

เหมือนอยู่กันคนละโลก คนละบริบทโดยสิ้นเชิง ทั้ง ๆ ที่อยู่ใต้หัวข้อ “ช่วยเหลือเกษตรกร” เหมือนกัน

 

ล่าสุดผมฟังท่านรองนายกฯและรัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ฯยุคล ลิ้มแหลมทองให้สัมภาษณ์ทาง “วิทยุจุฬา” เมื่อวานก็สังเกตได้ถึงตรรกะที่แปลกแตกต่างทั้ง ๆ ที่ท่านดูแลรับผิดชอบเรื่องการช่วยเหลือชาวนาและชาวสวนยางเหมือนกัน

 

เสียดายว่าพิธีกรไม่ได้ให้ท่านวิเคราะห์ถึงความไม่เหมือนทั้งวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของรัฐบาลต่อสินค้าเกษตรฯทั้งสองเรื่องนี้

 

ท่านบอกว่าต้องยอมรับความจริงว่าราคายางที่ขึ้นลงทุกวันนี้ ประเทศไทยไม่ได้เป็นคนกำหนดราคา ยางที่ผลิตได้ในประเทศ 3 ล้านกว่าตัน ใช้ในประเทศเพียง 5 แสนตันเท่านั้น ที่เหลือ 70-80% เป็นการส่งออกไปต่างประเทศ

 

3 ประเทศหลักที่ผลิตยางในโลกคือไทย, อินโดนีเซียและมาเลเซีย

แต่ 3 ประเทศนี้ก็ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคายางเช่นกัน  เพราะราคายางในตลาดโลกถูกกำหนดโดยสิงคโปร์และญี่ปุ่นเป็นหลัก เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศคนกลางค้าขายยาง และญี่ปุ่นเป็นผู้ใช้ใหญ่

และจีนก็กำลังจะเป็นผู้กำหนดราคาโลกเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งรายเป็นเป็นผู้ใช้รายใหญ่เช่นกัน

 

ท่านรองนายกฯบอกว่าที่ผ่านมารัฐบาลช่วยเกษตกรสวนยางด้วยนโยบาย “ซื้อนำ” (ขณะที่เรื่องข้าวเป็นนโยบาย “จำนำ”)

 

“เราอยากได้ที่ราคา 120 บาท เราก็ใช้วิธีซื้อนำด้วยราคานี้ หมดเงินไป 2 หมื่นกว่าล้านบาท ตอนนี้มียางอยู่ในสต๊อก 2 แสนกว่าตัน แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำราคายางดีขึ้น เพราะเราไม่สามารถไปดึงราคายางของตลาดโลกทั้งหมดได้....” รองนายกฯยุคลบอก

 

ท่านบอกว่ารัฐบาลจึงหาทางช่วยเกษตรกรสวนยางด้วยการแก้แบบ “เบ็ดเสร็จ” นั่นคือไปลดต้นทุนการผลิตด้วยการจ่ายเป็นเงินค่าปุ๋ยตรงไปที่เกษตรกรรายย่อย ซึ่งที่ผ่านมาก็ช่วยไปแล้ว 9 แสนกว่าราย รายละไม่เกิน 10 ไร่ในวงเงินไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท

 

รัฐมนตรีเกษตรฯถามว่าถ้าชาวสวนยางต้องการได้ราคายางแผ่นกิโลละ 120 บาทขณะที่ราคายางตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 74 บาทวันนี้ “ใครจ่าย? และต้องจ่ายไปอีกนานเท่าไหร่?”

 

คุณยุคลบอกด้วยว่ามีคนถามว่าทำไมรัฐบาลไม่เอาสต๊อกยาง 2 แสนกว่าตันขายออกไป?

“วันนี้ เมื่อเขารู้ว่าเรามีสต๊อกยาง 2 แสนกว่าตันอยู่ในมือ เขาก็กดราคาเรา เราจึงพยายามจะเอายางที่อยู่ในสต๊อกเรามาใช้ในประเทศ เพราะถ้าเราปล่อยยางในสต๊อกนี้ออกไป เขาก็จะทุบราคาเราทันที...”

ไม่นับรวมสต๊อกของเอกชนอีกประมาณ 3 แสนตัน

 

ราคายางโลกจะไม่ขึ้นเพราะราคาบิดเบือนกลไกตลาดไปแล้ว (เมื่อรัฐบาลไปซื้อนำด้วยราคาสูงกว่าตลาดโลก)...” รัฐมนตรีเกษตรฯบอก

 

ผมฟังแล้วก็สงสัยว่าถ้าหากเอาคำว่า “ข้าว” มาแทนคำว่า “ยาง” ในคำให้สัมภาษณ์นี้จะฟังดูมีเหตุมีผลมากกว่าหรือไม่?

 

เพราะวันเดียวกับที่ท่านพูดเรื่อง “ยาง” ด้วยเหตุผลเช่นนี้ก็มีคำแถลงจากรัฐบาลว่าจะรับจำนำ “ข้าว” ฤดูใหม่ที่ราคา 15,000 บาทเหมือนเดิม

ไม่มีคำถามว่า “บิดเบือนกลไกราคาตลาดหรือไม่?” หรือ “ใครจ่าย?...และต้องจ่ายอีกนานเท่าไหร่?”

 

นี่คือ...ประเทศไทย


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#4 เพื่อไทยทำได้ทุกอย่าง

เพื่อไทยทำได้ทุกอย่าง

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,247 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:37

เบื่อพวกดันทุรัง  ขนาดชาวบ้านเขาเดือดร้อนออกมาร้องรัฐบาลให้ช่วยตั้ง 55 ครั้ง (สายล่อฟ้ารวบรวมข้อมูล ) ก่อนเขาจะม็อบยังไม่ฟังแถมยังว่าเป็นม็อบการเมือง นี่ก็เอาบทความอะไรไม่รู้มาแย้ง  นักเศรษฐศาสตร์คนนี้ปลูกยางมั้ย ถ้าไม่ปลูกก็น่าจะฟังเสียงคนที่เขาออกมาพูดมั่ง มันไม่ได้พูดเฉพาะภาคใต้ มันพูดเป็นเสียงเดียวกันทั้งประเทศแล้ว


  • -3- likes this
ทักษิณเป็นเทพเจ้าจริงๆนะ ไม่เชื่อถาม เสื้อแดง ดูสิ

#5 คนไทย916

คนไทย916

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,396 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:44

จำนำยางไปเลยครับ ถ้าคิดว่าอนาคต ดีแน่


เราตระกูลชินจัง ขอยก ฐานะ เสื้อแดง จาก ไพร่ เป็น ควายแดง ณ.บัดนี้  

    ถึงแม้ พ่อแม่ เองจะให้ฐานะความเป็น คน มาแต่กำเนิดก็ตาม 


#6 เป้_อูซี่

เป้_อูซี่

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 863 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:46

ราคายางต่ำจริงหรือ ? จริงว่ะ

นี่เอ็งไม่รู้อะไรเลยเหรอเนี่ย

เอ็งรู้มั้ยเนี่ยว่า "ยอดรัก" ตายแล้ว
  • -3- likes this

#7 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20:06

Update หน่อยของปี 2555  -_-

 

 

http://www.manager.c...D=9560000063335

 

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก. เปิดเผยว่า สศก.ได้จัดทำต้นทุนการผลิตยางพาราปี 2555 เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย.เป็นข้อมูลต้นทุนการผลิต ประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายยางพาราธรรมชาติให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมสรุปต้นทุนยางพาราแผ่นดิบปี 2555 ประมาณ 64.19 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีต้นทุน 62 บาทต่อกิโลกรัม โดยคำนวณจากต้นทุนการกรีดยาง 304 บาทต่อวัน ค่าเก็บยาง 220 บาทต่อวัน ทำยางแผ่น 90 บาทต่อวัน ส่งผลให้ค่าแรงดำเนินการตั้งแต่กรีดยางถึงการทำแผ่นยางรวมเป็น 617 บาทต่อวัน โดยการจัดทำต้นทุนยางพาราจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรของภาครัฐ เมื่อราคายางพาราลดต่ำใกล้เคียงกับราคาต้นทุนของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมกับต้นทุน

 

 

 

ค่าแรงเพิ่มเป็น 300 อีก... ต้องคิดถึงค่าครองชีพ ค่าน้ำมัน ค่าอะไรต่างๆนานา ที่ขึ้นอีกมั๊ย


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#8 gears

gears

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,450 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20:16

ควายแดงตัวไหนอยากรู้ว่าราคาต่ำขนาดไหน
นั่งรถทัวร์มาลง บขส.หาดใหญ่เลยครับ
ผมจะพาทัวร์สวนยางอย่างดี
พร้อมเดินกรีดยาง เก็บยาง เก็บขี้ยาง
ว่ามันเหม็น + ลำบากยังไง
ไหนจะขนส่งอีก ถือว่าหนักพอสมควร
กว่าจะได้เงินก็ ต่ออาทิตย์ครับ
ถ้าโรงงานขัดสน อาจจะตัด เปอร์เซ็นต์ยาง ทำให้รายได้น้อยลงไปอีก

อยากรู้ว่าลำบากขนาดไหนกว่าจะได้เงิน ลงมาเลยครับผมพาทัวร์ให้
ว่าตอนนี้ 68 บาทมันพอกินไหม
ซึ่งสวนทางกับ ค่าแรง 300 อย่างแรง

#9 HWD

HWD

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 986 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20:17

(แก้ไขข้อความ เนื่องจากพบภายหลังว่าบทความของเศรษฐกรอาวุโสตีพิมพ์เมื่อปี  55 ไม่ใช่ปี 56 ทำให้ผมวิเคราะห์ในข้อ 1 ผิดไปจากความจริง ต้องขออภัยด้วย)

 

การวิเคราะห์ของเศรษฐกรอาวุโส มีจุดที่ต้องวิพากษ์อย่างน้อยสองจุด 

 

1. ในการวิเคราะห์ว่าราคาขายสูงกว่าต้นทุนผลิตหรือไม่นั้น ใช้ต้นทุนปี 54  (กก. ละ 46.57) ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่ปรากฏในรายงานของ สศก. ในปี 55 ที่ระบุว่า ปี 54 ต้นทุนอยู่ที่ 62 บาท ต่อ กก  (ข้อมูลตามที่แปะไว้ข้างท้าย) ..... และพบว่า ปี 55 ต้นทุนยางพาราแผ่นดิบที่ประมาณโดย สศก. อยู่ที่ 64.19 บาท

 

2. การสรุปว่าราคายางไม่ได้ต่ำจริงโดยเปรียบเทียบกับราคาที่ต่ำที่สุดตามสถิติในรอบ 10 ปีที่ 69.35 เป็นเรื่องี่ควรหลีกเลี่ยง ต้นทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้วมันเท่าไหร่ ค่าเงินเฟ้อใน 10 ปีที่ผ่านมามันเท่าไหร่ ถ้าปรับตามอัตราเงินเฟ้อดูนี่ ราคาที่ชาวสวนยางได้ในปัจจุบันนี่น่าสงสารมากเลยนะ ....

 

ผมเห็นว่า เศรษฐกรน่าจะคำนวณให้ไปไกลกว่านี้ เช่นคนวณกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาแล้วเปรียบเทียบให้เห็นเลยว่า wealth ของชาวสวนยางเมื่อ 10 ปีที่แล้ว  กับปีนี้มันเป็นยังไง ..... เค้าลำบากจริงมั้ยถึงต้องออกมาลุยสู้กับกระบองตำรวจและอาจต้องเผชิญกับ พรบ.ความมั่นคง !

 

------

 นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก. เปิดเผยว่า สศก.ได้จัดทำต้นทุนการผลิตยางพาราปี 2555 เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย.เป็นข้อมูลต้นทุนการผลิต ประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายยางพาราธรรมชาติให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมสรุปต้นทุนยางพาราแผ่นดิบปี 2555 ประมาณ 64.19 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีต้นทุน 62 บาทต่อกิโลกรัม โดยคำนวณจากต้นทุนการกรีดยาง 304 บาทต่อวัน ค่าเก็บยาง 220 บาทต่อวัน ทำยางแผ่น 90 บาทต่อวัน ส่งผลให้ค่าแรงดำเนินการตั้งแต่กรีดยางถึงการทำแผ่นยางรวมเป็น 617 บาทต่อวัน โดยการจัดทำต้นทุนยางพาราจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรของภาครัฐ เมื่อราคายางพาราลดต่ำใกล้เคียงกับราคาต้นทุนของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมกับต้นทุน
        ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2556 สศก.จะคำนวนต้นทุนการผลิตยางพาราอีกครั้ง ตามความผันผวนของต้นทุนการผลิต

http://www.manager.c...D=9560000063335


Edited by HWD, 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:25.


#10 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20:25

ชาวนา ทำไมต้องช่วยด้วยว่ะ 



#11 lagrangian

lagrangian

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 229 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 21:57

การวิเคราะห์ของเศรษฐกรอาวุโส ดูท่าจะมีจุดที่ต้องวิพากษ์อย่างน้อยสองจุด

 

1. วิเคราะห์สถานการณ์ปี 56 พี่เล่นเอาต้นทุนปี 54 มาใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์ (กก. ละ 46.57) แล้วสรุปว่าราคาขายสูงกว่าต้นทุนผลิต !!!!...ผมลอง search ดู เจอว่า ปี 55 ต้นทุนยางพาราแผ่นดิบที่ประมาณโดย สศก. ก็ 64.19 บาทเข้าไปแล้ว ตามที่แปะไว้ข้างท้าย (ซึ่งตัวเลขต้นทุนที่ 46.57 ของเศรษฐกรใช้ฐานคิดไหนก็ไม่รู้ เพราะในรายงานเดียวกันกับที่ผมยกมา สศก.บอกปี 54 ต้นทุนอยู่ที่ 62 ต่อ กก. ไม่ตรงกับของเศรษฐกรอาวุโส)

 

2. การสรุปว่าราคายางไม่ได้ต่ำจริงโดยเปรียบเทียบกับราคาที่ต่ำที่สุดตามสถิติในรอบ 10 ปีที่ 69.35 เป็นเรื่องตลกร้ายหรือเปล่า ต้นทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้วมันเท่าไหร่ ค่าเงินเฟ้อใน 10 ปีที่ผ่านมามันเท่าไหร่ ถ้าปรับตามอัตราเงินเฟ้อดูนี่ ราคาที่ชาวสวนยางได้ในปัจจุบันนี่น่าสงสารมากเลยนะ .... นักสถิติที่ไม่เข้าใจเรื่องค่าของเงินตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็น่าจะไม่กล้าสรุปอย่างท่านเศรษฐกรอาวุโสเลย ผมว่านะ..... แค่คิดผ่านๆยังรู้สึกเลยว่ามีอะไรไม่ถูกต้อง

 

ถ้าเป็นกลางหรือมีข้อมูลที่ไม่ bias ควรคำนวณให้ไกลกว่านี้ เช่นถอดกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาแล้วเปรียบเทียบให้เห็นเลยว่า wealth ของชาวสวนยางเมื่อ 10 ปีที่แล้ว  กับปีนี้มันเป็นยังไง ..... เค้าลำบากจริงมั้ยถึงต้องออกมาลุยสู้กับกระบองตำรวจและอาจต้องเผชิญกับ พรบ.ความมั่นคง !

 

แต่ดีใจนะ ที่เป็นบทวิเคราะห์ส่วนบุคคล ถ้าเป็นฉบับที่ ธปท. รับรองแล้วได้ออกมาอย่างนี้ .... ผมคงคิดว่า ธปท. ถูกซื้อไปแล้ว!!!

------

 นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก. เปิดเผยว่า สศก.ได้จัดทำต้นทุนการผลิตยางพาราปี 2555 เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย.เป็นข้อมูลต้นทุนการผลิต ประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายยางพาราธรรมชาติให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมสรุปต้นทุนยางพาราแผ่นดิบปี 2555 ประมาณ 64.19 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีต้นทุน 62 บาทต่อกิโลกรัม โดยคำนวณจากต้นทุนการกรีดยาง 304 บาทต่อวัน ค่าเก็บยาง 220 บาทต่อวัน ทำยางแผ่น 90 บาทต่อวัน ส่งผลให้ค่าแรงดำเนินการตั้งแต่กรีดยางถึงการทำแผ่นยางรวมเป็น 617 บาทต่อวัน โดยการจัดทำต้นทุนยางพาราจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรของภาครัฐ เมื่อราคายางพาราลดต่ำใกล้เคียงกับราคาต้นทุนของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมกับต้นทุน
        ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2556 สศก.จะคำนวนต้นทุนการผลิตยางพาราอีกครั้ง ตามความผันผวนของต้นทุนการผลิต

http://www.manager.c...D=9560000063335

คุณ HWD หลงกล จขกท.แล้วล่ะครับ เพราะบทความที่ จขกท. เอามาลงเค้าลงกันไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2555 แล้วครับ ดังนั้นเจ้าของบทความจึงต้องเอาข้อมูลปี 54 มาวิเคราะห์



#12 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:09

อยากถาม นังแต๋ม ว่า รู้จักอัพเดต ข้อมูลใหม่บ้างปะ

 

ทีี่ยกเมฆ ลากแม่น้ำมานะ มันข่าวเก่าว่ะ

 

อ้อ อีกอย่าง ข่าวทีให้ัมานะ ราคามันก้อตก เหมือนกันนะ

 

แถมยังต่ำกว่า ปี 53 -54 อีก

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา


Edited by พอล คุง, 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:17.

ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#13 HWD

HWD

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 986 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:16

 

การวิเคราะห์ของเศรษฐกรอาวุโส ดูท่าจะมีจุดที่ต้องวิพากษ์อย่างน้อยสองจุด

 

1. วิเคราะห์สถานการณ์ปี 56 พี่เล่นเอาต้นทุนปี 54 มาใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์ (กก. ละ 46.57) แล้วสรุปว่าราคาขายสูงกว่าต้นทุนผลิต !!!!...ผมลอง search ดู เจอว่า ปี 55 ต้นทุนยางพาราแผ่นดิบที่ประมาณโดย สศก. ก็ 64.19 บาทเข้าไปแล้ว ตามที่แปะไว้ข้างท้าย (ซึ่งตัวเลขต้นทุนที่ 46.57 ของเศรษฐกรใช้ฐานคิดไหนก็ไม่รู้ เพราะในรายงานเดียวกันกับที่ผมยกมา สศก.บอกปี 54 ต้นทุนอยู่ที่ 62 ต่อ กก. ไม่ตรงกับของเศรษฐกรอาวุโส)

 

2. การสรุปว่าราคายางไม่ได้ต่ำจริงโดยเปรียบเทียบกับราคาที่ต่ำที่สุดตามสถิติในรอบ 10 ปีที่ 69.35 เป็นเรื่องตลกร้ายหรือเปล่า ต้นทุนเมื่อ 10 ปีที่แล้วมันเท่าไหร่ ค่าเงินเฟ้อใน 10 ปีที่ผ่านมามันเท่าไหร่ ถ้าปรับตามอัตราเงินเฟ้อดูนี่ ราคาที่ชาวสวนยางได้ในปัจจุบันนี่น่าสงสารมากเลยนะ .... นักสถิติที่ไม่เข้าใจเรื่องค่าของเงินตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็น่าจะไม่กล้าสรุปอย่างท่านเศรษฐกรอาวุโสเลย ผมว่านะ..... แค่คิดผ่านๆยังรู้สึกเลยว่ามีอะไรไม่ถูกต้อง

 

ถ้าเป็นกลางหรือมีข้อมูลที่ไม่ bias ควรคำนวณให้ไกลกว่านี้ เช่นถอดกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาแล้วเปรียบเทียบให้เห็นเลยว่า wealth ของชาวสวนยางเมื่อ 10 ปีที่แล้ว  กับปีนี้มันเป็นยังไง ..... เค้าลำบากจริงมั้ยถึงต้องออกมาลุยสู้กับกระบองตำรวจและอาจต้องเผชิญกับ พรบ.ความมั่นคง !

 

แต่ดีใจนะ ที่เป็นบทวิเคราะห์ส่วนบุคคล ถ้าเป็นฉบับที่ ธปท. รับรองแล้วได้ออกมาอย่างนี้ .... ผมคงคิดว่า ธปท. ถูกซื้อไปแล้ว!!!

------

 นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก. เปิดเผยว่า สศก.ได้จัดทำต้นทุนการผลิตยางพาราปี 2555 เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย.เป็นข้อมูลต้นทุนการผลิต ประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายยางพาราธรรมชาติให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมสรุปต้นทุนยางพาราแผ่นดิบปี 2555 ประมาณ 64.19 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีต้นทุน 62 บาทต่อกิโลกรัม โดยคำนวณจากต้นทุนการกรีดยาง 304 บาทต่อวัน ค่าเก็บยาง 220 บาทต่อวัน ทำยางแผ่น 90 บาทต่อวัน ส่งผลให้ค่าแรงดำเนินการตั้งแต่กรีดยางถึงการทำแผ่นยางรวมเป็น 617 บาทต่อวัน โดยการจัดทำต้นทุนยางพาราจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรของภาครัฐ เมื่อราคายางพาราลดต่ำใกล้เคียงกับราคาต้นทุนของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมกับต้นทุน
        ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2556 สศก.จะคำนวนต้นทุนการผลิตยางพาราอีกครั้ง ตามความผันผวนของต้นทุนการผลิต

http://www.manager.c...D=9560000063335

คุณ HWD หลงกล จขกท.แล้วล่ะครับ เพราะบทความที่ จขกท. เอามาลงเค้าลงกันไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2555 แล้วครับ ดังนั้นเจ้าของบทความจึงต้องเอาข้อมูลปี 54 มาวิเคราะห์

 

ขอบคุณครับ .... ผมพลาดจริง เรื่องไม่ได้ตรวจสอบเวลาที่บทความตีพิมพ์ 



#14 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:23

ขอพูดในความรู้สึกของประชาชนคนธรรมดาสามัญขั้นสูงสุด

 

-ถ้าราคาเป็นธรรมต่อผู้ผลิต

คงไม่มีใครออกมานอนให้ยุงกัดฟรี

-เกษตรกร โดยปกติความสงบนั้นเป็นประโยชน์สุงสุดต่อการทำมาหารับประทาน

ไม่มีใคาอยากมีเรื่อง

-เกษตรกร ไม่รู้เรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยวิเคราะห์

 

แต่เกษตรรู้ว่า นี่คือเป็นธรรม

นี่คือไม่เป็นธรรม

 

เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแล

ไม่ใช่มาหาเรื่อง


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง

#15 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:24

 

 เพื่อแก้ไขปัญหา ความผันผวนของ ราคายาง พารา รัฐบาลได้ออกมาตรการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ยางพารา โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งเป็นระดับราคาที่เหมาะสมและยั่งยืน วิธีการคือ ให้ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท โดยจัดสรรให้สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท องค์การสวนยาง 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการรับซื้อยาง พารา ไปแปรรูปและรอขายในราคาที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดผลผลิต ยางพาราออกสู่ตลาดในช่วงที่ราคา ตกต่า โครงการนี้ มีระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน (มกราคม 2555 - มีนาคม 2556) มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลทางจิตวิทยาทาให้ราคายาง ขยับตัวสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90 บาทเมื่อต้นปี 2555 เป็นกิโลกรัมละ 110 บาทใน เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประกอบกับราคาน้ามันยังอยู่ในระดับสูง

       

 

 

 มีนาคม 2556 ราคา ???

 มาตรการได้ผล ????

ราคายางไม่ต่ำจริงหรือ ????



#16 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:42

 

 

 เพื่อแก้ไขปัญหา ความผันผวนของ ราคายาง พารา รัฐบาลได้ออกมาตรการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ยางพารา โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งเป็นระดับราคาที่เหมาะสมและยั่งยืน วิธีการคือ ให้ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท โดยจัดสรรให้สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท องค์การสวนยาง 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการรับซื้อยาง พารา ไปแปรรูปและรอขายในราคาที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดผลผลิต ยางพาราออกสู่ตลาดในช่วงที่ราคา ตกต่า โครงการนี้ มีระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน (มกราคม 2555 - มีนาคม 2556) มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลทางจิตวิทยาทาให้ราคายาง ขยับตัวสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90 บาทเมื่อต้นปี 2555 เป็นกิโลกรัมละ 110 บาทใน เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประกอบกับราคาน้ามันยังอยู่ในระดับสูง

       

 

 

 มีนาคม 2556 ราคา ???

 มาตรการได้ผล ????

ราคายางไม่ต่ำจริงหรือ ????

 

โควเต้ามาอย่างนี้ ต้องย้อนกลับไปถามไอ้เต้นแล้วแหละ ว่าทำไมจนป่านนี้ราคายางไม่ได้120บ/กก อย่างที่คุยโม้เอาไว้ -_-


Edited by ครุฑดำ, 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:42.

เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#17 หงส์แดง

หงส์แดง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,755 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:50

ชาวนายังไม่ได้ก่อม๊อบเลย ดันรีบไปช่วยแล้ว มันแปลกดีนะ :lol:


Edited by หงส์แดง, 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:50.

ถ้าแยกเสียงส่วนใหญ่ กับความถูกต้องไม่ออก ก็อย่ามาอ้างว่ามาจากประชาธิปไตยเลย


#18 ppneer

ppneer

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,201 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:42

 

 

 

 

ไอ้แต้ม มืงเป็นชาวสวนมั้ยวะ

 

ตูจะบอกให้ ว่าทำไม ชาวสวนยางใต้ 80 กก อยู่ไม่ได้

 

1.คือ มีสวน 20 ไร่ อยู่บนเนินเขา มืงรู้ไม่ว่า เดินกรีดกว่าจะเสร็จ จะต้องเดินทางก๊่กิโลและใช้เวลา กี่ชั่วโมง

 

2.มืงรู้ไม่ว่า เดือนหนึ่ง ตัดได้กี่วัน

 

มืงตอบตูแค่เนี้ยก็พอ


ขวานทอง บรรพบุรุษ เป็นคนสร้างให้เราทุกวันนี้ ตัวกูจะปกปักรักษาเท่าชีวิตเพื่อ พ่อหลวง กูถวายชีวิตใอ้แม้ว ออกไปๆๆๆ กูเกลียดใอ้แม้ว

#19 ไทยทรนง

ไทยทรนง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,006 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 00:51

 

 

 เพื่อแก้ไขปัญหา ความผันผวนของ ราคายาง พารา รัฐบาลได้ออกมาตรการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ยางพารา โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งเป็นระดับราคาที่เหมาะสมและยั่งยืน วิธีการคือ ให้ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท โดยจัดสรรให้สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท องค์การสวนยาง 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการรับซื้อยาง พารา ไปแปรรูปและรอขายในราคาที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดผลผลิต ยางพาราออกสู่ตลาดในช่วงที่ราคา ตกต่า โครงการนี้ มีระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน (มกราคม 2555 - มีนาคม 2556มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลทางจิตวิทยาทาให้ราคายาง ขยับตัวสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90 บาทเมื่อต้นปี 2555 เป็นกิโลกรัมละ 110 บาทใน เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประกอบกับราคาน้ามันยังอยู่ในระดับสูง

 

 

1 จากบทความตั้งแต่ปี 55 ก็ยังบอกว่ารัฐบาล มีเป้าหมายที่ราคา 120/กก ซึ่งเป็นราคาที่ เหมาะสมและยั่งยืน
โครงการนี้ มีระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน (มกราคม 2555 - มีนาคม 2556

สรุปทำไม่ได้ 

 


รัฐประหาร ปกป้องชีวิตไทย พอกันที ประชาธิปไตย ด้วย M79   


#20 nunoi

nunoi

    เด็กข้างถนน

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,745 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 00:57

จริงๆ ผมก็สนแค่ประชาชนเดือดร้อนจริงหรือไม่

 

ก็แค่นั้น ไม่ต้องยกอะไรมามากมาย เลย 


กฎหมายมันก็แค่สิงที่สร้างมาอย่างมีเป้าหมาย แต่หาก เอาแต่บอกว่ากฎหมายเป็นแบบนี้ แบบนั้น โดยไม่สนใจว่าเป้าหมายจริงๆ นันคืออะไร ก็คงไม่ใช่ 

 

 


#21 คนสับปรับ

คนสับปรับ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,410 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:13

    ถ้าผมแดรกยางแทนข้าวได้  ผมจะไม่ออกมาประท้วงหรอก แต่ตอนนี้ ยาง2โล ซื้อหมูได้ไม่ถึงกิโล

แล้วมาตั้งกระทู้นี่รู้ป่าวว่ายางแผ่นกับน้ำยางที่ขายน่ะ เขาจะหักเปอร์เซนต์ความชื้นทุกครั้ง ไม่ได้ราคาเต็มเหมือนที่ควายเข้าใจ

  โง่แล้วอวดรู้....



#22 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:22

มันเป็นซะอย่างนี้แหละ

 

ไม่รู้มันอ่านเสร็๋จ แล้ว คิดด้วยป่าว

 

หรือ เห็นตัวเลขแล้วเอามาแปะเลย

 

:lol: 



#23 G.Maniac

G.Maniac

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,440 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:37

ราคายางต่ำจริงหรือ ? จริงว่ะ

นี่เอ็งไม่รู้อะไรเลยเหรอเนี่ย

เอ็งรู้มั้ยเนี่ยว่า "ยอดรัก" ตายแล้ว

 

 

มันยังนึกว่าที่เพิ่งยุบสภาไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนเป็น ควง อภัยวงศ์ อยู่เลย 

 

:P



#24 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:49

 

 

 

 

 

ไอ้แต้ม มืงเป็นชาวสวนมั้ยวะ

 

ตูจะบอกให้ ว่าทำไม ชาวสวนยางใต้ 80 กก อยู่ไม่ได้

 

1.คือ มีสวน 20 ไร่ อยู่บนเนินเขา มืงรู้ไม่ว่า เดินกรีดกว่าจะเสร็จ จะต้องเดินทางก๊่กิโลและใช้เวลา กี่ชั่วโมง

 

2.มืงรู้ไม่ว่า เดือนหนึ่ง ตัดได้กี่วัน

 

มืงตอบตูแค่เนี้ยก็พอ

 

เป็นเรื่องจริง ถ้าใครได้สัมผัส

ที่เชิงเขา ที่บนควน(เนินสูง)

ตัดไปร้องไปล่ะครับ เห็นของหลานที่พนม สุราษฎร์ พูดไม่ออก

 

ขอได้รับความเห็นใจครับ


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง

#25 -3-

-3-

    ตัวละครลับ

  • Moderators
  • 8,707 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20:50

http://www.rubbertha...price_index.htm

 

http://www.rubber.co...berprice_yr.php

 

http://www.rubber.co...r2012/menu5.php

 

ราคายางต่ำจริงหรือ? เปิดดูเอาเองครับ นี่คือ FACT TODAY ไม่ใช่ TRUTH TODAY  :rolleyes:


"I want you to form a contract with me and become magical girls!" - kyubey
 
/人 ‿‿ ◕人\

#26 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:05

ตกลงสรุปแล้วตกต่ำจริงป่าว

 

:D 



#27 antiseptic

antiseptic

    น้องใหม่และซิง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,672 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:11

สรุปว่าชาวสวนยางคิดไปเองสินะ
"We all make choices. But in the end, our choices make us."Andrew Ryan

#28 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:12

ต่ำไม่ต่ำ จริงไม่จริง มันอยู่ที่ใครตั้งราคาหรือ ต้นทุนมันสูงขึ้นมาก ข้าวของแพง จะให้เอาราคายุคคุณชวนมาเป็นตัววัดหรือไง  :D แต่ที่แน่ๆ ราคา 120 บาทเนี่ย มันเป็นคำพูดไ้อ้เต้นว่าจะให้ราคานี้ไม่ใช่หรือ 






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน