รถไฟความเร็วสูง โปรเจ็คล่าท้าฝัน รอการสานต่อจากรัฐบาลชุดใหม่
โครงการรถไฟความเร็วสูง หรือ “ไฮสปีด เทรน” ที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยต้นทุนและงบประมาณมหาศาล ภายใต้การสนับสนุนของจีน ที่ต้องการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน
บิ๊กโปรเจคนี้ สร้างความหวังให้กับประชนชนชาวไทยว่า จะมีการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว ซึ่งถึงแม้ว่า จะมีการเลือกตั้งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงยังคงเดินหน้า ดำเนินต่อไปตามที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูป แบบ PPPsได้กล่าวเอาไว้
ความเป็นไปได้ของโครงการมีความชัดเจนเมื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จากการประชุมคณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน โดยจะเริ่มเจรจา และสรุปร่างเอ็มโอยูทั้งสองฝ่าย โดยมีกรอบการเจรจาทั้ง 5 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี
แต่ทางการจีนได้เพิ่มเส้นทางกรุงเทพฯ-อรัญประเทศขึ้นมา ซึ่งในส่วนของ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายนั้น จะเสร็จทันก่อนยุบสภา และสามารถประกาศประกวดราคาได้ในช่วงปลายปี 2554 หรือต้นปี 2555
อย่างไรก็ตาม ร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทยและจีน ในโครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 สาย คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ตามที่ครม.ได้อนุมัติไว้ ต้องชะงัก เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยุบสภาเมื่อเดือนที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ต้องเลื่อนการลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นออกไปก่อน และต้องรอให้มีการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาสานงานต่อให้เรียบร้อยทั้งหมด
ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง คือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง-ตราด และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานีนั้น ขณะนี้กระทรวงคมนาคม กำลังจัดทำรายละเอียดของโครงการลงทุนในเชิงลึก ก่อนชงครม.ใหม่ตัดสินใจอีกครั้ง
แต่ความหวังของประชาชนคนไทย ยังคงรอรถไฟความเร็วสูง จะยังคงเดินหน้าต่อไปในรัฐบาลชุดหน้า สอดรับกับความคิดเห็นของหลายๆฝ่าย อาทิ มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากประธานหอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ เห็นพ้องต้องกันที่จะนำรถไฟความเร็วสูงมาใช้ เพื่อตอบสนองทางด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่ง และหากเป็นเช่นนั้น สายการบินโลว์คอสทั้งหลาย ต้องระส่ำระส่ายขาดรายได้อย่างมหาศาลหากมีการนำมาใช้จริง เพราะนอกจากราคาที่ถูกลงแล้ว ความสะดวกรวดเร็ว รถไฟความเร็วสูงถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
ทั้งนี้ โอกาสของบิ๊กโปรเจค รถไฟความเร็วสูง มีโอกาสเกิดขึ้นสูง ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเอง ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร รวมทั้งเวลาเดินทาง สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งราคานั้นอาจมีการปรับลดลงอีก โดยระบุไว้ดังต่อไปนี้
สายเหนือ
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 912 บาท
สายใต้
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – แม่กลอง – หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 295 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) – ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท
สายตะวันออก
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) – ฉะเชิงเทรา – ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) – บางปะกง – ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) – ฉะเชิงเทรา – จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) – ฉะเชิงเทรา – อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 400 บาท
ต่อจากนี้ไป การรถไฟไทย ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการบริการที่ด้อยกว่าการคมนาคมอื่นๆ จะรอการ เปลี่ยนโฉมหน้าการรถไฟไทยให้เป็นที่เชิดหน้าชูดตาเทียบเท่ากับอารยะประเทศให้ได้หรือไม่ เพราะปัจจัยทางการเมืองยังมีผลให้รอลุ้นกันอีกว่า สุดท้ายแล้ว รถไฟความเร็วสูงจะเป็นโครงการแบบลูกผีลูกคนหรือไม่
Mthai news