Jump to content


Photo
- - - - -

"ปลอด" ลั่นทำเขื่อนแม่วงก์แน่ อ้างสัตว์สร้างได้แต่ท่วมชาติอยู่ไม่ได้ จ่อโยนเงิน-หาที่ปลูกป่าใหม่


  • Please log in to reply
129 ความเห็นในกระทู้นี้

#101 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 19:39

http://www.oknation....2/05/28/entry-2

 

จุดสร้างเขื่อนแม่วงก์..ไหนใครว่า..ป่าเสื่อมโทรม !!!

 

453543.jpg

 

ก่อนจะลากเมาต์ลงไปชมสภาพป่าที่หน่วยพิทักษ์ป่าแม่เรวา อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อันเป็นส่วนเป็นของผืนป่าตะวันตก และก็เป็นพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท ขอนำคำพูดของนักการเมืองรายหนึ่งมาฝากกัน อ่านแล้วก็คงพอจะเข้าใจนะครับว่า บ้านเมืองเราไฉนจึงมีพวกชอบทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย 

 

22 พฤษภาคม 2012 - นายวีระกร คำประกอบ อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า เขื่อนแม่วงก์ ศึกษาอีไอเอมาแล้ว 4 รอบจนไม่รู้ว่าจะให้มีการศึกษา"หาพ่อกันทำไมอีก" ทั้งที่ชาวบ้าน 90% เอาเขื่อนนี้ มีเพียง 10% ไม่ตอบคำถามและไม่แน่ใจเท่านั้น

 

       "อยากถามว่าที่เอ็นจีโอ มาบอกว่ามีต้นสัก 160,000 ต้นนั้นเป็นต้นสักขนาดเท่าหัวแม่โป้ง 1-2 นิ้วก็นับว่าเป็นสักสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าใครไปเดินป่าแถวสบกกไปช่องเย็นจะรู้ว่าส่วนใหญ่เป็นป่าไผ่ และป่าเต็งรัง เช่นเดียวกับเสือโคร่งที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร บอกว่าเจอเสือโคร่งที่นี้ ผมคิดว่ามันคงไม่ยอมรอให้น้ำท่วมและจมน้ำตายแน่ๆ" นายวีระกร กล่าว

 

http://www.flood.rmutt.ac.th/?p=2777

 

600a7.jpg

 

 

453559.jpg

 

เกาะแก่งหินที่แก่งลานนกยูง

 

หลายวันก่อน สมาชิก OKnature มีโอกาสเดินทางไปเยือน หน่วยพิทักษ์ป่าแม่เรวา ผืนป่าอนุรักษ์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร เรามีเวลาสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณนี้ประมาณ 2 วัน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ของผืนป่า จึงกำหนดจุดที่จะไปสำรวจตรวจตรากันหลัก ๆ ก็เป็นพื้นที่ไฮไล์ของหน่วยฯแม่เรวา ได้แก่ แก่งลานนกยูง มออีกหืด และ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น

 

       สาเหตุที่มุ่งหน้าไปยังหน่วยฯแม่เรวานั้น ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า อยาก "พิสูจน์" ให้เห็นกับตาตัวเองว่า ผืนป่าบริเวณที่จะมีการให้สัมปานตัดไม้เพื่อก่อสร้างเขื่อนนั้น เป็น "ป่าเสื่อมโทรม"ตามคำพูดของนักการเมืองหรือไม่ ???

 

       อย่างไรก็ตาม การใช้เวลา 2 วันในป่าแม่เรวา ก็ยังถือว่าเป็นการสำรวจแบบคร่าวตามประสานักท่องเที่ยว จึงไม่มีรายละเอียดในเชิงวิชาการออกมาให้ดูกัน ใครเป็นผู้รู้ในเชิงนิเวศวิทยา ช่วยกันสำรวจในเชิงลึกให้ทีเถอะครับ

 

      ในเอ็นทรีนี้ขอนำภาพที่เดินทางไปสำรวจมาให้ชมกัน ใช้สายตาตัดสินกันว่า บริเวณจุดสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้นเป็น "ป่าที่มีชีวิต" หรือ "ป่าที่ตายไปแล้ว"

 

       ส่วนประเด็นที่ว่า สมควรสร้างเขื่อนหรือไม่-อย่างไร สร้างแล้วคุ้มค่าหรือไม่กับการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ผมไม่ขอพูดถึงนะครับ เพราะมีการวิวาทะกันมากพออยู่แล้วทั้งในสื่ออินเตอร์เน็ตและสื่อกระแสหลัก

 

453548.jpg

 

สภาพป่าเต็งรังของ"มออีหืด"

 

       ย้อนกลับไปที่ผืนป่าแม่เรวาอีกครั้ง โดยทั่วไปเป็น ป่าเต็งรัง ป่าไผ่ และป่าเบญจพรรณ ถือเป็นป่ารุ่นสอง (secondary growth) หลังจากที่ชาวบ้านถูกอพยพออกไปเมื่อประมาณ 30 ปี มาแล้ว แต่ป่ากลุ่มนี้มีอยู่ไม่กี่พันไร่ ใครที่เข้าไปแค่ตื้นๆ เดินยังไม่ทันเหนื่อย ก็จะหลงเชื่อตามลมปากนักการเมืองว่า เป็นป่าเสื่อมโทรม แต่สภาพป่าที่เคยถูกบุกรุกนี้เอง มีการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูกันอยู่ตลอดเวลา โดยมีชาวบ้านแม่เรวาและหน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขัน

 

      สภาพภายหลังได้รับการฟื้นฟูในปัจจุบันนั้น ปรากฎว่ากลับกลายป็นผืนป่าเบญพรรณ และป่าเต็งรัง ที่สมบูรณ์มาก โดยเฉพาะบริเวณ "จุดชมวิวมออีหืด"และป่าสองข้างทางเข้า "หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น"นั้น เป็นป่าที่เขียวขจียิ่งนัก

 

       นอกจากนั้น ป่าด้านในที่ต้องข้ามลำห้วยแม่เรวาเข้าไปนั้น เป็นป่าสักผืนใหญ่ที่นับว่าจะหายากยิ่ง ซึ่งทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า การผลักดันโครงการสร้างเขื่อนนั้น เป็นเป้าหลอก สัมปทานตัดไม้สักต่างหากที่เป็นเป้าจริง ไม่ใช่ผมคนเดียวที่คิดเช่นนี้ ชาวบ้าน 2-3 คนที่เป็นเด็กวัยรุ่นก็มองไม่ต่างไปจากนี้เช่นกัน !!!


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#102 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 19:41

แก่งลานนยูง ;

 

453556.jpg

 

นกขุนแผน (Blue Magpie)

 

453553.jpg

 

นกเค้าโมง (Asian barred owlet)

 

453557.jpg

 

เหยี่ยวนกเขาชิครา (Shikra)

 

       แก่งลานนกยูง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ห่างจากสำนักงานหน่วยแม่เรวาไม่ไกลนัก มีน้ำจาก "ลำห้วยแม่เรวา" ไหลผ่านตลอดทั้งปี ต้นกำเหนิดมาจาก"ยอดเขาโมโกจู"ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของผืนป่าตะวันตก มีเกาะแก่งและเนินทรายปรากฎขึ้นโดยทั่วไป

 

      นอกจากสัตว์ป่าอย่าง "นกยูงไทย" ได้ใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตแล้ว บริเวณนี้ยังได้รับการพัฒนาให้เป็น จุดล่องแก่งเรือยาง และ พายเรือแคนู ที่ขึ้นชื่อลือชาของจังหวัดนครสวรรค์ด้วย โดยจุดเริ่มต้นล่องแก่งอยู่กลางป่า ต้องขับรถไปตามเส้นทางหน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็นประมาณ 5 กิโลเมตร

 

453560.jpg

 

นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง,ตัวผู้ (Common Flameback)

 

453555.jpg

 

นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง,ตัวเมีย (Black-headed Woodpecker)

 

      บริเวณนี้ เราพบนกในธรรมชาติอาสัยอยู่หลายชนิด เป็นต้นว่า เหยี่ยวนกเขาชิครา (Shikra), เหยี่ยวรุ้ง (Crested Serpent Eagle), นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Common Flameback), นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง (Black-headed Woodpecker) , นกแต้วแล้วธรรมดา (Blue-winged Pitta), นกขุนทอง (Common Hill Myna) , นกขุนแผน (Blue Magpie), นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (Greater Racket-tailed Drongo) ,นกเค้าโมง (Asian barred owlet )ฯลฯ

 

453037.jpg

 

นกยูงไทย (Green Peafow)

    

ส่วนนกยูงที่พบนั้นเป็น นกยูงไทย Green Peafow ไม่ใช่นกยูงพันธุ์อินเดีย แม้จะมาจากการเพาะเลี้ยง แต่นกก็สามารถเติบโตและขยายพันธุ์อยู่ได้ในธรรมชาติ แถมยังมีนกยูงป่ามารวมฝูงอยู่ด้วยกัน ผสมพันธุ์กันจนมีฝูงนกยูงในธรรมชาติจำนวนหลายสิบตัว

 

      แก่งลานนกยูง รวมทั้งหน่วยพิทักษ์ป่าแม่เรวา จะถูกกลืนหายไปกับสายน้ำ หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ขึ้น


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#103 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 19:44

จุดชมวิวมออีหืด ;

 

453545.jpg

 

ปากทางเข้าจุดชมวิว มออีหืด

 

453549.jpg

 

ป่าเต็งรังบนสันเขา มออีหืด

 

      "มออีหืด" เป็นจุดชมวิว โดยด้านทิศตะวันออกเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น ขณะที่ทิศตะวันตกก็เป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็น วิวยอดเขาโมโกจู และ ผืนป่าแม่วงก์ ร่วมถึงลำห้วยแม่เรวาได้อย่างชัดเจน ลักษณะเป็นยอดเขาที่ไม่สูงนัก ตลอดเส้นทางเป็นป่าเบญจพรรณสลับกับป่าเต็งรัง

 

      โดยส่วนตัวคิดว่า เป็นป่าเต็งรังที่สมบูรณ์มาก ๆ ผืนหนึ่ง ไม่แพ้ป่าเต็งรังที่ราบต่ำอย่าง ป่าซับสะเดา ของจังหวัดนครราชสีมา

     ระยะทางจากปากทางเข้ามออีหืดไปจนถึงจุดชมวิวประมาณ 1 กิโลเมตร จุดนี้จะเป็นสันเขื่อน ตามโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์

 

453552.jpg

 

จากจุดชมวิวมออีหืดออกไป เป็นพื้นที่นอกโครงการเขื่อน

 

453551.jpg

 

ป่าสักผืนใหญ่ซ่อนตัวอยู่กลางป่า บริเวณนี้จะถูกน้ำท่วมหมด และมีการให้สัมปทานไม้สัก

 

453546.jpg

 

พันธุ์ไม้ตามรายทางขึ้นมออีหืด

 

 # หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น ;

 

453539.jpg

 

อยู่ลึกเข้าไปตามเส้นทางดินปนทรายประมาณ 8 กิโลเมตรจากปากทางเข้าบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าแม่เรวา หน่วยจัดการต้นน้ำแห่งนี้ รับหน้าที่สำคัญในการฟื้นฟูสภาพป่าและปลูกป่าเสริมเพิ่มเติม สภาพป่าสองข้างทางเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ

 

     บริเวณนี้เราพบ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) ,นกจับแมลงอกส้มท้องขาว (Tickell's Blue Flycatcher) และ ฝูงนกหัวขวานเขียวตะโพกแดง (Black-headed Woodpecker) หลายตัวด้วยกัน

 

      ก่อนถึงหน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น เป็นจุดตั้งต้นของการล่องแก่งแม่เรวา มองจากจุดนี้ออกไปจะเห็นป่าสักผืนใหญ่ยืนต้นอยู่กลางป่า ตามเส้นทางเข้าหน่วยจัดการต้นน้ำฯ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง บรรดานักดูนกทั้งหลายน่าจะลองไปสำรวจเส้นทางเหล่านี้กันบ้าง อาจพบนกที่หายากชนิดหนึ่งชนิดใดก็ได้

 

     เป็นบริเวณที่จะต้องจมอยู่ใต้น้ำหากโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้รับอนุมัติให้มีการสร้างจริง

 

453540.jpg

 

ข้ามลำห้วยแม่เรวาบริเวณจุดนี้ จะพบป่าสักผืนใหญ่

 

453542.jpg

 

สภาพป่าเต็งรัง เส้นทางเข้าสู่หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น

 

453554.jpg

 

ผีเสื้ออาชดุ๊คธรรมดา,ตัวเมีย (Common Archduke) ในป่าเต็งรังของหน่วยฯขุนน้ำเย็น

 

453538.jpg

 

ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู (Common Rose) ลงกินแร่ธาตุอาหารบริเวณสะพานข้ามห้วย หน้าหน่วยฯขุนน้ำเย็น


       ประเด็นที่ต้องจับตากันก็คือ กรมชลประทาน ในฐาะเจ้าภาพโครงการสร้างเขื่อน ได้ว่าจ้างให้ บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด ศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่อีกครั้ง ในวงเงินประมาณ 14 ล้านบาท คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปลายเดือนกรฎาคมนี้ หลังจากครม.ยิ่งลักษณ์อนุมัติโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์พร้อมกับเงินงบประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท โดยไม่มีผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ที่ประชุมครม. ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติมาก ๆ สำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อภาคสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

       จากนี้ไปขึ้นอยู่กับว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะพิจารณาให้ผ่านหรือไม่อย่างไร ???


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#104 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:29

hffhh_zps12945e0d.png


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#105 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:05

319373_10151038539810827_613695446_n.jpg

548250_10151038539925827_1975456415_n.jp

557232_10151038540065827_1603707230_n.jp

479955_10151038540185827_396980454_n.jpg


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#106 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:06

320430_10151038540340827_1521745260_n.jp

558302_10151038540415827_736138821_n.jpg

389153_10151038540595827_1091398533_n.jp

482052_10151038540785827_1295825416_n.jp


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#107 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:07

181341_10151038540945827_988131031_n.jpg

599610_10151038541010827_1206728664_n.jp

406282_10151038541135827_666311498_n.jpg

556527_10151038541355827_1347847114_n.jp


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#108 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:09

165829_10151038541420827_87732834_n.jpg

251987_10151038541520827_413008169_n.jpg531463_10151038541585827_1564984380_n.jp

528136_10151038541725827_1327546801_n.jp

528162_10151038541840827_1398762956_n.jp


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#109 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:11

548107_10151038541945827_1307750790_n.jp

599860_10151038542070827_1353156078_n.jp

559331_10151038542180827_733836816_n.jpg534735_10151038542295827_121929734_n.jpg

391320_10151038542380827_1350503807_n.jp


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#110 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:11

182114_10151038542470827_446228922_n.jpg

541601_10151038542595827_390709262_n.jpg

376889_10151038542695827_1923571584_n.jp

534506_10151038542845827_1305700118_n.jp


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#111 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:12

576047_10151038542935827_1709912313_n.jp

582203_10151038543015827_1744877597_n.jp

599296_10151038543130827_1412743696_n.jp

396117_10151038543200827_1324530903_n.jp

208973_10151038796080827_572008935_n.jpg


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#112 Ballbk

Ballbk

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,783 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 07:46

รัฐบาลเชี่ยนี่มันจะไม่ฟังประชาชนบ้างเลยหรือไงวะ

ประเทศไทยไม่ได้มีคนแค่ 15 ล้านคนนะ

เดี๋ยวมันจะรู้สึกว่าไม่ยอมฟังประชาชน มันจะเป็นยังไง


"ความดี กับ ความเลว

ความจริง กับ คำโกหก

ความถูกต้อง กับ การทำผิดกฎหมาย"

ถ้าเกิดเป็น คน ไม่ได้เกิดเป็น ควาย มันไม่ต้องให้ทายหรอก ว่าจะเลือกอย่างไหน

 


#113 พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,450 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:12

มีป่า ก็ต้องมีไม้

มีไม้ ก็ต้องมีสัตว์ป่า

มีสัตว์ป่ามีไม้ ก็ต้องมีมูลค่า

มีมูลค่า ก็ต้องมีนายทุน

มีนายทุน ก็ต้องมีการบุกรุก

มีการบุกรุก ก็ต้องมีขั้นตอน

มีขั้นตอน ก็ต้องมีราชการ

มีราชการ ก็ต้องมีนักการเมือง

มีนักการเมือง ก็ต้องมีผลประโยชน์

 

ถ้าการสร้างเขื่อนนี้เกิดขึ้นจริง ก็ต้องรอดูกันไปว่าใครบ้าง ที่ได้ผลประโยชน์จากมูลค่าของทรัพยากรในจุดนี้


อยากรู้ว่าประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไหน ให้ดูการใช้รถใช้ถนนรู้จักกันแต่สิทธิ แต่ไม่เคยรู้จักหน้าที่ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้

#114 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 13:28

อ้างซะใหญ่โตเลย ว่าไม่สร้างเขื่อนแม่วงก์ ชาติอยู่ไม่ได้ คนอยู่แถวนั้นมาจนแก่ตายไปรู้กี่รุ่นแล้ว มันก็อยู่กันได้ และไม่มีเขื่อนแม่วงก์ คนในชาิติก็อยู่กันได้ ถ้าอยู่ไม่ได้ กรรูต้องไม่เห็นหน้ามรรึงแล้ว ไอ้ปลอด มรรึงคงตายไปแล้วล่ะ 



#115 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 15:57

natureword.gif

 

น่าเอาออกจากเว็บกรมอุทยานได้แล้ว



#116 เกลียดคุณแม้วจังครับ

เกลียดคุณแม้วจังครับ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,190 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 16:23

เชื่อปอด  ได้ออกลูก เป็นควายแหง ๆ



#117 คนสับปรับ

คนสับปรับ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,410 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 16:43

ถ้าจะมีใครปลิดชีพตัวเองแบบท่านสืบ.....ขอให้คิดดีๆ ขอให้เอา***นี่ไปนรกด้วยสัก 2-3ตัว เผื่อแผ่นดินจะได้สูงขึ้นบ้าง



#118 whiskypeak

whiskypeak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,392 posts

ตอบ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:27

นอกจากได้ไม่คุ้มเสียแล้ว เรายังต้องเป็นหนี้กันด้วยนะฮ๊าฟฟฟฟฟฟฟ..

 

 

 

 

ฉำแหละเขื่อนแม่วงก์ สั้นๆ เข้าใจง่ายครับ..


ถูกใจเสื้อแดง ของแพงไม่ว่า โดนโกงไม่ด่า ขอแค่ตระกูลชินนรกเป็น นายก พอ..

 


#119 หงส์แดง

หงส์แดง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,755 posts

ตอบ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:43

นอกจากได้ไม่คุ้มเสียแล้ว เรายังต้องเป็นหนี้กันด้วยนะฮ๊าฟฟฟฟฟฟฟ..

 

 

 

 

ฉำแหละเขื่อนแม่วงก์ สั้นๆ เข้าใจง่ายครับ..

การสื่อสารแบบนี้แหละที่คนดูเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานเนื้อหาครอบคลุม

 

ถ้าใครอยากรู้ละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถไปค้นหาต่อ

 

ผมว่าทีมงาน ปชป.ต้องหาทีมงานที่สามารถสรุปปัญหาใหญ่ๆให้เป็นคำพูดชาวบ้านที่เข้าใจง่าย

 

และผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆให้มากขึ้น


ถ้าแยกเสียงส่วนใหญ่ กับความถูกต้องไม่ออก ก็อย่ามาอ้างว่ามาจากประชาธิปไตยเลย


#120 whiskypeak

whiskypeak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,392 posts

ตอบ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 - 01:52

หลายคนเห็นว่าตอนนี้ฝ่ายรัฐเริ่มตีให้เป็นเรื่องการเมือง และเอาความเดือดร้อนของชาวบ้านมาเป็นประกัน..โดยไม่ให้ความรู้ที่แท้จริงเรื่องเขื่อน และประโยชน์ที่จะได้จากเขื่อน

ขอเป็นอีกเสียงที่สนับสนุนความคิดของบร๊ะเจ้าโจ๊กสุดหล่อครับ..

 

egjn.jpg


ถูกใจเสื้อแดง ของแพงไม่ว่า โดนโกงไม่ด่า ขอแค่ตระกูลชินนรกเป็น นายก พอ..

 


#121 Zǐlóng สุภาพบุรุษเสียงสาน

Zǐlóng สุภาพบุรุษเสียงสาน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 520 posts

ตอบ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 - 08:29

 
ฟังแล้วจี๊ด  :angry:


Edited by Zǐlóng สุภาพบุรุษเสียงสาน, 27 กันยายน พ.ศ. 2556 - 08:32.

"จนยากแต่มิใช่เห็นเงินทองก็ตาลุก ชาวเสียงสานต้องการดื่มเกียรติ"

งานเสวนาวิชาการ "เหลียวหลัง แลหน้าสู่ 1 ศตวรรษโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย คุณค่าที่ควรอยู่"

#122 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:22

551220_414216368690143_55491274_n.png


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#123 akincana

akincana

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 255 posts

ตอบ 28 กันยายน พ.ศ. 2556 - 00:41

:angry:


Edited by akincana, 28 กันยายน พ.ศ. 2556 - 00:52.


#124 บังเอิญเกลียดควายแดง

บังเอิญเกลียดควายแดง

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 166 posts

ตอบ 28 กันยายน พ.ศ. 2556 - 07:35

ไอเห รี้ ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย


คนที่แพ้ ต้องดูแลตัวเอง


#125 mr.cheepchai

mr.cheepchai

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 178 posts

ตอบ 28 กันยายน พ.ศ. 2556 - 09:44

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว

-กบินทร์บุรี น้ำท่วม ก็สร้างเขื่อนที่เขาใหญ่กันน้ำท่วม

-สุโขทัย น้ำท่วม ก็สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นกันน้ำท่วม

-อยุธยา น้ำท่วมก็สร้างเขื่อนที่บางบาลกันน้ำท่วม

-และถ้าท่วมที่ไหนก็สร้างเขื่อนที่นั่นอีก สร้างเขื่อนไปเรื่่อยจนกว่าจะน้ำไม่ท่วม :D



#126 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 28 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:11

เคยเป็นอธิบดี และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพย์ฯมาได้อย่างไร 

ครอบครัว ญาติพี่น้อง คงอายแทน

 

เอาเงินมาย้ายหรือปรับสถานที่ให้ประชาชนที่ได้ผลกระทบไม่ดีกว่าหรือ

เสียเงินเหมือนกัน แต่ประโยชน์ต่างกัน

 

ไม่ใช่อะไรๆ ก็สร้าง  ถ้ารัฐบาล นักการเมือง และข้าราชการให้สมองคิด แทนที่จะใช้ตัณหา

บ้านเราคงน่าอยู่มาก -_-

ท่านครับ

คนหลายๆตระกูล รักษาสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างมา

และมีคุณูปการต่อวงษ์ตระกูลไว้อย่างที่สุด

 

มาแปลกก็ยุคนี้แหละครับ

หลายตระกูลยกโขยงเข้าไปเกลือกลั้วกับสิ่งที่คนธรรมดาเห็นว่าเิป็นปฏิกูล

และก็ยังไม่เคยเห็นตระกูลไหนรุ่งเรือง

ล่าสุดแถวๆช่องสาม

มาลาสถานนท์

สบายไป


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง

#127 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 29 กันยายน พ.ศ. 2556 - 17:15

https://www.facebook...151589286317791

 

วิเคราะห์ EHIA เขื่อนแม่วงก์ (ตอนที่ 1: ภาพรวมความคุ้มค่าของโครงการ)

 

วิเคราะห์ EHIA เขื่อนแม่วงก์ (ตอนที่ 1: ภาพรวมความคุ้มค่าของโครงการ)

 

เราลองมาดูการวิเคราะห์ EHIA เขื่อนแม่วงก์จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมคนนึงดูกันนะครับ

 

ผมต้องออกตัวไว้ก่อนว่า ผมเป็นคนที่รู้เรื่องแม่วงก์น้อย ไม่ได้ติดตามมาตั้งแต่เริ่มโครงการ (โครงการน่าจะมีตั้งแต่ก่อนผมเกิดด้วยซ้ำ) แต่เพิ่งมาติดตามหลังจากที่ได้ยินว่าโครงการนี้ได้ถูกเสนอรวมไว้ในโครงการการบริหารจัดการน้ำ (3.5 แสนล้าน) และได้ข่าวว่ามีการเปลี่ยนตัวคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (ผู้ให้ความเห็นต่อรายงาน EIA ก่อนที่จะเสนอต่อ ครม. เพื่อตัดสินใจ) โดยมีการปรับกรรมการที่เรียกร้องให้มีการปรับปรุงรายงาน EIA ฉบับก่อนๆ ออกไป (โดยเฉพาะที่ต้องการให้ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีก) และพยายามเร่งรัดให้ผ่านรายงาน EIA ฉบับนี้อย่างเร็วที่สุด

 

จริงๆ ถ้าเรามองถึงโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ที่มีการให้ประมูล Module ต่างๆ ออกไป โดยที่ยังไม่มีการศึกษาและรับรอง EIA ในโครงการย่อยต่างๆ ผมว่ามันก็ดูไม่สมเหตุสมผลมากๆ อยู่แล้ว พูดภาษาชาวบ้านหน่อยก็คือ รัฐเร่งรีบให้ประมูลงานออกไปโดยยังไม่รู้ว่างานนั้นมีรายละเอียดอย่างไรและควรอนุญาตให้ทำหรือเปล่า ซึ่งผิดกับวิถีที่ควรจะเป็นเป็นอย่างยิ่ง (ผมแอบสงสัยต่อไปว่า ถ้าเอกชนประมูลงานไปได้ แต่สุดท้ายทำโครงการไม่ได้เพราะการศึกษาไม่ผ่านหรือประชาชนไม่ยอมรับ รัฐจะโดนฟ้องร้องค่าเสียหายอีกหรือเปล่า ภาษีเราทั้งนั้นนะครับ)

 

ก็ไม่เป็นไรครับ วันนี้เรามาว่าเรื่องรายงาน EIA ฉบับนี้กันก่อนดีกว่า (ฉบับร่างรางานฯ เมษายน 2555 ซึ่งผมยังหาฉบับล่าสุดกว่านี้ไม่ได้จึงขออ้างอิงตัวเลขจากรายงานปี 2555 ก่อนนะครับ) ผมขอวิเคราะห์เฉพาะในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์เท่านั้นนะครับ ไม่ได้วิเคราะห์ในทุกมุมมองเพราะผมไม่ได้มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มากนัก

 

ก่อนอื่น เรามาลองสรุปการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการตามรายงาน EIA นี้ดูก่อนครับ (เข้าใจว่าหลายคนคงไม่มีเวลาได้อ่านตัวจริง) ผมขอสรุปแบบคร่าวๆ ไม่ลงในเนื้อหารายละเอียดมากก่อนนะครับ

 

รายงาน EIA ฉบับนี้ คิดบนพื้นฐานที่ว่าโครงการมีระยะเวลา 50 ปีหลังก่อสร้าง และใช้อัตราส่วนลดที่ 12% และพอสรุปใจความการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ได้ว่า

 

หากพิจารณาทางด้านเศรษฐกิจ (ไม่รวมสิ่งแวดล้อมนะครับ) โครงการจะมีต้นทุนทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น การลงทุนทางการเงิน 10,885.5 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง ค่าชดเชยที่ดิน ค่าชดเชยทรัพย์สินอื่น ค่าป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม) และค่าบำรุงรักษาและค่าทดแทนเครื่องจักรอีกปีละประมาณ 939.7 ล้านบาท  ในขณะที่มีการคิดค่าสูญเสียด้านทรัพยากรป่าไม้ (ประมาณปีละ 262 ล้าน) อยู่ในค่าใช้จ่ายทางอ้อมด้วย (ซึ่งก็ดูเหมือนจะดีนะครับ แต่รอดูอีกนิดนึงครับ)

 

ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ก็ได้จากด้านชลประทาน (พืชผลไม้-ไม้ยืนต้น) และน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม คิดเป็นเงินตกปีละประมาณ 2 พันล้านบาท (มันไม่เท่ากันทุกปี ผมเลยกะๆประมาณเอา) และมีมูลค่าการประมง ปีละประมาณ 5 ล้านบาท และมีมูลค่าป่าไม้จากป่าปลูกทดแทนอีกโดยส่วนนี้มูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเกือบ 2 พันล้านต่อปี ในปีท้ายๆ (ตรงนี้น่าสงสัยนะครับ เดี๋ยวเราค่อยมาดูกันเพิ่ม)

 

โดยสรุปแล้ว ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -101.831 ล้านบาท นะครับ มีอัตราผลตอบแทนโครงการ (EIRR) ที่ 11.9% และมี B/C Ratio ที่ 0.99 ครับ

 

ถ้าใครเรียนเศรษฐศาสตร์มาก็คงจะพอดูออกนะครับ ว่า โครงการนี้ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนทางเศรษฐกิจ ยังไม่ต้องคิดถึงว่าหากทำ sensitivity analysis แล้วผลจะเป็นอย่างไร เช่น หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นหรือผลได้ลดลง ก็จะยิ่งไม่คุ้มค่าเข้าไปอีก และโดยเฉพาะ ผมสงสัยการคำนวณผลได้ที่มาจากการปลูกป่าทดแทนด้วย ซึ่งผมจะอธิบายเพิ่มเติมทีหลังนะครับ

 

ทีนี้ หลังจากการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจแล้ว รายงาน EIA ฉบับนี้ก็ได้ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (รวมเศรษฐกิจ+สิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน) ถ้าผมลองให้คนปกติคิดกันว่า จากผลความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจข้างบนแล้ว คุณคิดว่าความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ควรจะมีผลออกมาเป็นอย่างไรกันครับ?? สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าการก่อสร้างเขื่อนเป็นโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งพื้นที่ป่าลดลง สัตว์ป่าต้องตายไป การรักษาสภาพดิน น้ำได้รับความเสียหาย ดังนั้น ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ น่าจะต้องแย่กว่าความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และถ้าเอาแค่ด้านเศรษฐกิจยังไม่คุ้มเลย ด้านเศรษฐศาสตร์นี่คงไม่ต้องพูดถึง ไม่น่าจะคุ้มอย่างแน่นอนนะครับ

 

พอกลับไปดูตัวเลขในรายงาน เค้าบอกว่า ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ มีมูลค่าปัจจุบัน (NPV) +20.141 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนโครงการ 12.02% และมี B/C Ratio ที่ 1.00 เท่า !!! มีเครื่องหมายตกใจ 3 ตัวครับ ผมขอแบ่งความตกใจออกเป็น 3 ประเด็นนะครับ

 

  1. นี่เรากำลังเถียงกันและมองว่าการลงทุนนี้คุ้มค่าอยู่นะครับ การลงทุนที่มีเงินลงทุนกว่าหมื่นล้าน ไม่รวมเงินบำรุงรักษารายปีอีก หรือมีค่าปัจจุบันของการลงทุนประมาณ 8 พันล้าน เราได้กำไร 20 ล้านบาท หรือดูที่ B/C Ratio นะครับ ที่ 1.00 ถ้าเขียนให้ยาวหน่อยก็ 1.0025 ซึ่งเค้าพยายามจะบอกว่ามันเกิน 1 ควรลงทุนครับ ลองนึกดูนะครับ เรากำลังจะลงทุน 8 พันล้าน เพื่อให้ได้กำไร 20 ล้าน ท่ามกลางความขัดแย้งของคนมากมาย (ถ้าให้ผมลงทุนเปิดร้านขายหมูปิ้งด้วยเงิน 8 พันบาทและได้กำไรสุทธิ 20 บาท ผมคงจะไม่ดีกว่ามั้งครับ)

 

  1. จากการศึกษา sensitivity analysis แล้ว พบว่า ถ้าค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแค่ร้อยละ 5 หรือ ผลประโยชน์ลดลงแค่ร้อยละ 5 NPV ก็จะเป็น -385 ล้านบาทครับ (การศึกษาพยายามแสดงให้เห็นว่า โครงการนี้จะได้กำไรมากขึ้นเมื่อปรับอัตราส่วนลด (discount rate) ลงนะครับ ซึ่งมันก็แน่ละครับ มันก็เหมือนกับบอกว่าโครงการนี้น่าจะผ่านมากขึ้น ถ้าปรับเกณฑ์การพิจารณาให้ต่ำลง

 

  1. ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผมสงสัยที่สุด มีใครสังเกตเหมือนผมมั้ยครับ ว่าทำไมเวลารวมเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาแล้วโครงการมันถึงคุ้มกว่าเวลาคิดเศรษฐกิจอย่างเดียว !!! สรุปได้จากตัวเลขนี้ว่า โครงการนี้มันดีกับสิ่งแวดล้อมนะครับ ผลประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมันมากกว่าต้นทุนที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม !!! (ตกใจอีก 3 ที)

 

ผมขอทิ้งคำถามไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวจะมาต่อตอน 2 ว่า ทำไมเค้าถึงประเมินว่าโครงการนี้มันถึงดีกับสิ่งแวดล้อม


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#128 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 29 กันยายน พ.ศ. 2556 - 17:15

https://www.facebook...151592266132791

 

วิเคราะห์ EHIA เขื่อนแม่วงก์ (ตอนที่ 2: สร้างเขื่อนแล้วมีประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร??)

 

วิเคราะห์ EHIA เขื่อนแม่วงก์ (ตอนที่ 2: สร้างเขื่อนแล้วมีประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร??)

 

ตอนที่ผมอ่านรายงาน EHIA นี้ (เวอร์ชั่น เมษายน 2555 นะครับ ย้ำว่าผมยังหาล่าสุดกว่านี้ไม่ได้ ถ้าใครมีช่วยบอกหน่อย) สิ่งที่คาใจผมมากที่สุดก็คือ ทำไมพอรวมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไปแล้ว โครงการมันถึงดูมีประโยชน์มากขึ้น ตกลงการสร้างเขื่อนนี่เป็นโครงการที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างนั้นหรือ ทั้งๆที่มันน่าจะเป็นโครงการที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้และสัตว์ป่าเสียหายไป เราลองมาดูรายละเอียดกันครับ

 

มาดูความเสียหายที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกันก่อนครับ ในรายงานนั้น ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมของการก่อสร้างเขื่อนประกอบด้วย

-          ค่าใช้จ่ายเพื่อการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 524.9 ล้านบาท

-          การสูญเสียที่ดินเพื่อการเกษตรปีละ 32 ล้านบาทต่อปี (ข้าว ไร่ละ 1,253 บาท อ้อย ไร่ละ 7,226 บาท และมะม่วง ไร่ละ 13,629.8 บาท)

-          การสูญเสียทรัพย์สินและสิ่งสาธารณประโยชน์ 22 ล้านบาท

-          การสูญเสียป่าไม้ 12,300 ไร่ คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 283 ล้านบาท โดย คำนวณจาก

  • การเสียปริมาตรไม้ ประมาณ 991 ล้านบาท และ ลูกไม้หรือกล้าไม้ 20 ล้านต้น ต้นละ 7.39 บาท (153 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังเสียโอกาสที่ไม้จะโตขึ้นอีกปีละ 2.5% คิดเป็นมูลค่าอีกประมาณปีละ 28.5 ล้านบาท
  • รักษาสภาพภูมิอากาศ คำนวณจากค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าและบำรุงรักษา ตันละ 1,508.19 บาท คิดเป็นเงิน 195 ล้านบาทในปีแรก และ 4.87 ล้านบาทในปีต่อๆไป (ทำไมไม่คำนวณจากราคาคาร์บอนที่สะสมในปริมาตรไม้ ซึ่งเป็นมูลค่าที่แท้จริงของการสะสมคาร์บอน)
  • ความอุดมสมบูรณ์ของดิน คำนวณจากราคาปุ๋ย  มูลค่า 110.9 ล้านบาท และส่วนเพิ่มอีก 2.7 ล้านบาทต่อปี
  • การเก็บของป่า ประมาณป่ามีมูลค่าเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละ 17,057.5 บาท/ไร่ และมีการเสียพื้นที่ป่า 12,300 ไร่ คิดเป็นรายได้ 233.5 ล้านบาทต่อปี
  • ความพึงพอใจของมนุษย์ คำนวณโดยวิธี CVM ถามความยินดีจะจ่ายของชาวบ้าน ปีละ 4.977 ล้านบาท (คิดเฉพาะประชาชนในพื้นที่โครงการ)

 

ตามสายตาผมแล้ว การคำนวณต้นทุนความเสียหายในส่วนนี้ก็นับว่ามีการคำนวณในหลายมิติ แต่อาจจะไม่ครบ เช่น ยังขาดเรื่องสัตว์ป่า การท่องเที่ยว หรือในส่วนการคำนวณความพอใจของมนุษย์อาจจะต้องคำนวณจากประชาชนทั้งประเทศเนื่องจากเป็นการคำนวณ Non-use Value ซึ่งคนทั้งประเทศมีความพอใจจากการมีป่าในส่วนนี้ เป็นต้น ค่าที่ได้ออกมาคิดเป็นมูลค่าป่าประมาณ 23,000 ต่อไร่ต่อปี ซึ่งก็นับไม่เป็นตัวเลขที่ไม่สูงเลยครับ แต่ถ้ามองถึงมูลค่าต่างๆ ที่รายงานได้รวมไว้ ก็นับว่าใช้วิธีประมาณที่พอรับได้ จริงๆ ไม่นานมานี้ กรมป่าไม้และกรมอุทยานเคยฟ้องร้องชาวบ้านที่บุกรุกป่าให้เสียค่าเสียหายถึงประมาณ 150,000 ต่อไร่นะครับ แต่หลักการพิจารณาอันนั้นผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ แค่อยากนำเสนอให้เห็นว่า เวลารัฐฟ้องประชาชน กับประชาชนเรียกร้องให้รัฐพิจารณาเนี่ย ทำไมตัวเลขมันต่างกันจังเลยนะครับ

 

พอผมอ่านมาถึงตรงนี้ ก็พอโอเค กล้อมแกล้มไปได้ แต่ปัญหามันอยู่หลังจากนี้ครับ รายงานฉบับนี้บอกต่อว่า การทำเขื่อนยังมีผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ โครงการบอกว่าจะมีการปลูกป่าแทนพื้นที่ไม่น้อยกว่า 45,000 ไร่ ซึ่งต้องนำผลบวกมาคำนวณด้วย โดยมีมูลค่าดังนี้ครับ

-          ปริมาตรไม้ ใช้ราคาไม้ปี 2563 (แพงกว่าที่ใช้คำนวณตอนคิดไม้ที่เสียหายอีก) มูลค่าไม้เพิ่มเฉลี่ยปีละ 584 ล้านบาท (ปีหลังๆนี่มูลค่าถึงกว่าพันล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว) (คือตอนคิดต้นทุนเนี่ย รายงานคำนวณว่าเสียโอกาสที่ไม้จะเพิ่มพูนเฉลี่ยปีละ 7,789 ลบ.ม. แต่พอปลูกป่าเนี่ย ได้ไม้เพิ่มปีละ 136,062.5 ลบ.ม. มันเป็นไปได้ยังไงครับเนี่ย มึนไปหมดละ หรือเค้าต้องการเขียนตัวเลขเยอะๆ ให้คนอ่านมึนๆๆๆๆ กันแน่)

-          รักษาสภาพภูมิอากาศโลก เหมือนกัน ใช้ราคาปี 2563 เฉลี่ยปีละ 41.5 ล้านบาท

-          ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ก็ใช้ราคาปี 2563 เฉลี่ยปีละ 63.47 ล้านบาท

-          ของป่า ราคาปี 2563 เฉลี่ยไร่ละ 18443.46 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นมูลค่า 757.6 ล้านบาท

-          ความพึงพอใจของมนุษย์ ก็ปรับเป็นราคาปี 2563 เหมือนกัน คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 15 ล้านบาท

 

สรุป การทำเขื่อนนี้ ทำให้มีมูลค่าต่อป่าไม้และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1,356.169 ล้านบาทนะครับ แหม่....

 

ผมจะพยายามเปรียบเทียบมูลค่าในแต่ละด้านตอนคำนวณความเสียหายกับตอนคำนวณผลประโยชน์ให้ดูชัดๆ (ตัวเลขประมาณนะครับ ไม่เป๊ะ เพราะตามแกะในรายงานยากมากครับ เอาพอเห็นภาพนะครับ)

 

                                                          ความเสียหาย                        ผลประโยชน์

พื้นที่ป่า (ไร่)                                           12,300                                   45,000

ปริมาตรไม้เปลี่ยนเฉลี่ย (ลบ.ม./ปี)             7,789                                      136,062.5 (อันนี้สุดปัญญาที่ผมจะคิดจริงๆครับ)

การคิดราคามูลค่าต่างๆ                            ปี 2555                                   ปี 2563 (ใช้ราคานี้กับทุกปี ทำไมต้องต่างกัน)

มูลค่าไม้เฉลี่ย (ล้านบาท/ปี)                      31                                           854

มูลค่าการรักษาสภาพภูมิอากาศเฉลี่ย           8.6                                          41 (5 เท่า)

มูลค่าคุณภาพดินเฉลี่ย                              4.92                                        63 (12 เท่า)

ของป่าเฉลี่ย                                            223                                         651 (3 เท่า)

ความพอใจเฉลี่ย                                     4.9                                          15 (3 เท่า)

มูลค่าทั้งหมดเฉลี่ย (ล้านบาท/ปี)             283                                         1,356 (4.8 เท่า)

 

พออ่านมาถึงตรงนี้ ผมก็เริ่มถึงบางอ้อ ว่า ทำไมผู้ทำรายงานถึงใจดีเลือกวิธีประเมินความเสียหายแบบสูงหน่อย และไม่เลือกใช้วิธีค่าต่ำๆ เหมือนรายงานเล่มอื่นๆ และทำไมการทำเขื่อนถึงเป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อม ก็ท่านเล่นประเมินผลประโยชน์จากที่คิดว่าจะไปปลูกป่า 45,000 ไร่มาแทน และคิดตัวเลขประโยชน์ซะสูง (ถ้าคิดต่อหน่วยแล้วสูงกว่าค่าที่ใช้ประเมินความเสียหายด้วยนะครับ แถมปริมาตรไม้เฉลี่ยที่เพิ่มจากการปลูกป่านี่มันช่างต่างจากปริมาณไม้ที่เสียหายไปจากการสร้างเขื่อนมากเหลือเกิน)

 

ในขณะที่ตัวรายงานกลับไม่ได้บอกเลยว่าการปลูกป่าจะไปปลูกที่ไหนกันครับ จะปลูกที่เดียว 45,000 ไร่ (จะหาที่ที่ไหนมาปลูกครับ) หรือจะกระจายกันปลูก หรือจะไปปลูกในที่นาชาวบ้านแบบที่บางคนเค้าออกมาพูด พื้นที่ป่าถึง 45,000 ไร่นะครับ ยังไม่ต้องคิดว่าเราจะต้องปลูกกี่ไร่ เพื่อให้สำเร็จจนเกิดป่า 45,000 ไร่ ไหนจะคุณภาพป่าปลูกกับป่าธรรมชาติอีก ป่าที่เราจะเสียไปนี่เป็นป่าที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยเลยทีเดียว ส่วนป่าที่จะปลูกกลับมานั้น ผมยังนึกไม่ออกเลยครับ ว่าหน้าตาจะเป็นแบบไหน

 

ถ้ารายงาน EIA ทุกโครงการทำแบบนี้ได้หมด ก็คงไม่มีโครงการไหนไม่ผ่านความคุ้มค่าหรอกมั้งครับ ยิ่งทำพื้นที่ผลกระทบเยอะๆ ยิ่งมีผลได้ทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ต่อไป โครงการอื่นๆ ที่จะทำในพื้นที่อุทยานก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ ทางออกคือ ก็เขียนว่าไปปลูกป่าเพิ่มแล้วกัน (ที่ไหนก็ไม่รู้) ถ้าเป็นแบบนี้ ผมก็ขอเสนอว่า รัฐช่วยทำโครงการปลูกป่าอย่างเดียวได้หรือเปล่าครับ เพราะว่า NPV ของการปลูกป่าถ้าดูจากรายงานฉบับนี้นี่สูงมากเลยนะครับ ส่วนการสร้างเขื่อนนี่โดยตัวมันเองติดลบนะครับ ก็ไม่ต้องไปทำมัน เราปลูกป่าโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนก็น่าจะได้ใช่หรือเปล่าครับ ส่วนเรื่องการทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน ก็มีผู้รู้ทางด้านการจัดการน้ำได้เสนอไว้หลากหลายวิธี ที่ใช้เงินลงทุนต่ำกว่า ผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แล้วก็น่าจะมั่นใจว่าจะสำเร็จมากกว่าการทำเขื่อนแม่วงก์อีก แต่รัฐก็อาจจะไม่สนใจเพราะมันลงทุนน้อยเกินไปหรือเปล่าครับ (ตรงนี้ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเลยไม่ขอออกความเห็นนะครับ)


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#129 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 29 กันยายน พ.ศ. 2556 - 17:16

https://www.facebook...151594096152791

 

วิเคราะห์ EHIA เขื่อนแม่วงก์ (ตอนที่ 3: ประเด็นอื่นๆที่มีการตั้งข้อสังเกต)

 

วิเคราะห์ EHIA เขื่อนแม่วงก์ (ตอนที่ 3: ประเด็นอื่นๆที่มีการตั้งข้อสังเกต) 

 

นอกจากประเด็นการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ไปคิดเอาการปลูกป่ามารวมในผลประโยชน์ของการสร้างเขื่อน และตัวเลข NPV ของการสร้างเขื่อนที่ติดลบแล้ว ก็ยังมีนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับ EHIA ฉบับนี้ไว้อีกมากมายนะครับ

 

ผมจะขอสรุปประเด็นอื่นๆ ที่ได้มีการตั้งข้อสังเกตไว้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ผู้อ่านพอเห็นภาพครับ (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการนะครับ)

 

  1. ไม่มีการประเมินมูลค่าความเสียหายที่จะเกิดกับสัตว์ป่า ซึ่งในบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าหายากอยู่จำนวนมากนะครับ เช่น เสือโคร่ง เสือลายเมฆ นกยูง เลียงผา รวมทั้งมูลค่าการท่องเที่ยวที่ก็ไม่ได้พูดถึงเช่นเดียวกัน (ในรายงานพูดแต่ว่าการสร้างเขื่อนจะช่วยเรื่องการท่องเที่ยวเพราะมีทิวเขามีภูมิทัศน์สวยงาม - -“)
  2. การประเมินผลตอบแทนสุทธิทางเศรษฐกิจของผลผลิตทางการเกษตร โครงการประเมินว่าเมื่อมีเขื่อนแล้ว ผลตอบแทนจะเป็นแบบนี้ครับ

                                                                       ไม่มีเขื่อน                           มีเขื่อน

พื้นที่เพาะปลูก-ฤดูฝน (ไร่)                                     276,298                          276,298

ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อไร่-ฤดูฝน (บาท/ไร่)             1,543                               3,048

ผลตอบแทนสุทธิ-ฤดูฝน (ล้านบาท/ปี)                       426.3                               842.3

 

พื้นที่เพาะปลูก-ฤดูแล้ง (ไร่)                                     26,235                          131,140

ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อไร่-ฤดูแล้ง (บาท/ไร่)               24                               10,461

ผลตอบแทนสุทธิ-ฤดูแล้ง (ล้านบาท/ปี)                        0.6                              1,371.9

 

การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งนี่โอเคครับ มาจากการชลประทาน ส่วนตัวที่ดูแปลกๆ ก็คือ

 

-          ในฤดูฝน การปลูกข้าวและอ้อยจะมีผลผลิตต่อไร่มากขึ้น ทำให้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เพิ่มขึ้น เช่น อ้อยจะมีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 เท่า (ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร และก็หาคำอธิบายในเล่มไม่เจอ)

 

-          ในฤดูแล้ง จะมีการปลูกข้าวเพิ่มขึ้น (พื้นที่มากขึ้น 7 หมื่นไร่) และผลตอบแทนสุทธิของการปลูกข้าวก็เพิ่มขึ้นมหาศาล (เดิมประเมินว่าการปลูกข้าวนาปรัง ได้ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 24 บาท ???) โดยถ้ามีเขื่อนจะได้ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 1,648 บาท และการปลูกพริกจะผลได้สุทธิเฉลี่ยถึงไร่ละ 36,902 บาท เลยทีเดียว

 

-          แล้วทำไมต้องเป็นพริก?? ในขณะที่ในพื้นที่ปัจจุบันไม่มีรายงานว่าเกษตรกรมีการปลูกพริกอยู่เลย แต่หากมีเขื่อนกลับคิดว่าจะมีพื้นที่ปลูกพริกสูงถึงร้อยละ 30 ของพื้นที่ชลประทาน (มีนักวิชาการแสดงตัวเลขให้เห็นว่า พื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพริกอย่างเข้มข้นอย่าง จ.นครปฐม มีพื้นที่ปลูกพริกเพียงร้อยละ 10 จากพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด และหากปรับตัวเลขพื้นที่การปลูกพริกลง ก็จะทำให้ NPV นั้นติดลบมากขึ้นไปอีกแน่นอน)

 

จริงๆ ก็มีประเด็นต่างๆ ที่นักวิชาการออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อยู่มากมายนะครับ ซึ่งบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ผมไม่ถนัดนัก เลยไม่ขอเอามาพูดถึงในที่นี้นะครับ ใครสนใจก็ตามไปอ่านบทความต่างๆ ที่มีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ไว้ได้ตามลิ้งค์นี้เลยครบัhttp://www.seub.or.t...58-20&Itemid=14

 

ผมขอสรุปความจากทั้ง 3 ตอนมารวมกันไว้ตรงนี้นะครับ 

  • โครงการนี้หากมองในแง่ผลได้ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่คุ้มค่าการลงทุนครับ (ข้อมูลจากรายงาน EHIA เอง) ตัวเขื่อนเองมี NPV -100 กว่าล้านบาท
  • แต่ที่พยายามบอกกันว่าคุ้ม คือ ไปรวมเอาผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาด้วย ซึ่งมันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้อีกที่โครงการเขื่อนจะมีผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อม และถ้าไปดูในรายละเอียด ก็คือรายงานได้ประเมินผลได้จากการปลูกป่า 45,000 ไร่ ซึ่งจริงๆ แล้วมันเป็นคนละส่วนกับการสร้างเขื่อน และก็ไม่ได้บอกด้วยว่าจะไปปลูกป่าที่ไหนและปลูกป่าอะไรอย่างไร 
  • และที่คุ้มนี่คือมี NPV ในช่วง 50 ปี +20 ล้านบาท จาก NPV ของเงินลงทุน 8 พันล้านบาท และวงเงินลงทุนที่รัฐขออนุมัติไว้ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่ง NPV ที่ได้ (แม้ว่าจะพยายามคิดโน่นคิดนี่ผิดไปจากความเป็นจริงแล้ว) มันน้อยมากๆๆๆๆๆ เลย ยิ่งเมื่อเทียบกับความไม่แน่นอนของผลได้และต้นทุนและความเสี่ยงที่จะเสียทรัพยากรป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดผืนหนึ่งของไทยไปโดยไม่สามารถเรียกคืนหรือทดแทนได้เลย
  • ส่วนเฉพาะเศรษฐกิจที่ไม่คุ้มค่าลงทุนอยู่แล้ว ก็ยังมีคำถามถึงการคำนวณผลประโยชน์ต่อการเกษตรอีกเยอะที่ตัวเลขมันแปลกๆ และยังไม่มีใครออกมาตอบว่าสมมติฐานในการคำนวณมาจากไหน

 

 

จริงๆ แอบได้ข้อมูลมาว่า มีการพยายามจะสื่อว่า การสร้างเขื่อนเป็นการสร้างประโยชน์ให้ประชาชน เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปสนใจตัวเลขความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือทางเศรษฐศาสตร์มันหรอก ผมคิดว่าความคิดแบบนี้เป็นความคิดที่น่ากลัวและน่าอนาถมากๆ มันแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ผู้มีอำนาจทำอยู่มันไม่ได้เกิดความความไม่รู้ (ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ความรู้) แต่มันเกิดจากความไม่รู้สึกละอายกับความผิดและมิจฉาทิฐิ และพยายามที่จะไม่ยอมรับความถูกผิดทางวิชาการครับ โดยดึงดันทำสิ่งที่ตัวเองต้องการเท่านั้น

 

ผมขอจบการวิเคราะห์วิจารณ์รายงาน EHIA ของเขื่อนแม่วงก์ไว้ตรงนี้พอนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านและช่วยแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้กับเพื่อนๆ ผมคิดว่าจะเขียนอีก 1 ตอน โดยเป็นการพูดถึงกระบวนการ EIA ของประเทศไทยว่ามันมีปัญหาอย่างไร และเราจะจัดการกับมันอย่างไรดีครับ ขอบคุณมากครับ


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#130 phoebus

phoebus

    คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,636 posts

ตอบ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 - 15:35

5f086db746eba6569a521fa7312ff5b0.jpg

 

689976915c80062de50bcb606b90ab71.jpg

 

 

การที่ถ่ายภาพของสมเสร็จและเลียงผาได้

 

นับว่า นี่เป็น "องค์ความรู้ใหม่" เรยทีเดียว

 

 

เพราะสมเสร็จ สมัยก่อน เราจะรู้เพียงว่าเป็นสัตว์ที่พบได้ในภาคใต้ตลอดจนแหลมมลายู นับตั้งแต่คอคอดกระ คือ ภาคใต้ลงไป

 

แต่นี่มีพบที่ป่าแม่วงก์ด้วย นี่แสดงว่า "ไม่ธรรมดา" ซะแร้ว

 

 

นี่คือ ป่าสมบูรณ์จิง ๆ

 

 

แร้วยังมีเลียงผาอีก

 

 

เลียงผา ก็คือ แพะป่าชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ที่ปกติจะอาศัยอยู่ตามหน้าผาสูง ๆ ลาดชัน 

 

 

แต่ก็มีพบได้บ้า่งในที่พื้นราบ

 

 

เลียงผา แต่เดิมในประเทศไทย เราถือว่ามีเพียงชนิดเดียว คือ  Capricornis sumtranensis

 

แต่ปัจจุบัน ได้พบว่าเลียงผาชนิดที่พบในภาคเหนือ เป็นชนิด Capricornis milneedwardsii

 

ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ในจีนจนถึงธิเบต

 

 

แร้วในป่าแม่วงก์ล่ะ ? ซึ่งเป็นป่ากึ่งภาคกลางและป่า้เหนือ มันเป็นชนิดไหน ?

 

 

ยังไม่ได้มีการศึกษาเรย แร้วนี่เหรอ ป่าเสื่อมโทรม ?

 

 

แร้วนี่เหรอจะมาสร้างเขื่อน !?!

 

 

 

-_-  -_-


ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย 





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน