puggi, on 23 Sept 2013 - 16:00, said:
คุณ Gop ครับ
เรื่องราคานะครับ ง่ายๆ โครงการรถไฟใต้ดิน ปัจจุบัน รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้เอกชน ลงทุนระบบและตัวรถ มีผู้ใช้บริการ วันละกว่า 200000 คน ทุกวันนี้ยังขาดทุนครับ
รถไฟความเร็วสูง รัฐจะลงทั้งโครงสร้าง ระบบ และตัวรถ คิดว่าจะมีกำไรหรือครับ คนที่ใช้บริการอาจจะมาจาก พวกนั่งรถทัวร์ชั้นหนึ่ง รถไฟ ตู้นอนชั้น 1 ,2 ปรับอากาศ
แต่ คนใช้เครื่องบิน คงดึงมาได้น้อยกว่าครับ เพราะว่า Low Cost ย้ายไปดอนเมือง ความวุ่นวานเรื่องเสียเวลาในสนามบินลดลงไปเยอะครับ
ที่สำคัญ ผมยังยืนยันว่า ราคาที่รัฐ บอกว่าแค่ พันกว่าบาท สองพันบาท เป็นไปไม่ได้แน่นอน หมกเม็ดครับ
ผมเคยนั่งที่ไต้หวัน ระยะไม่ไกลมาก จาก ไทเป ไป สนามบิน ไม่กี่สิบกิโล ยังเป็นร้อยเลยครับ ราคานี้ เป็นราคาที่รัฐอุดหนุนซะด้วยซ้ำ
ทุกวันนี้ รถไฟที่ไต้หวัน เพิ่งจะลืมตาอ้าปากได้ หน่อยนึง เพราะ รัฐต้องเข้าอุ้มครับ เมื่อก่อนขาดทุนตลอด
เรื่องราคา ลองเปรียบเทียบกับประเทศรถไฟฟ้าความเร็วสุงก็ อย่างที่ญ๊่ปุ่น แพงกว่า เครื่องบิน
ที่สำคัญ รายได้ต่อหัวของไทย ยังไม่พร้อมที่จะซื้อบริการระดับรถไฟความเร็วสูง
ปล ผมอยากให้มีนะ แต่ไม่ใช่สายเชียงใหม่ ต้อง สายหนองคาย ลงไปถึง ปาดัง เน้นการเชื่อมต่อ ภูมิภาคก่อน
๑ เรื่องราคานั้น แต่ละโครงการก็มีจุดคุ้มทุนต่างกันไป ผมคิดว่าเอารถไฟใต้ดินมาเปรียบเทียบกับรถไฟความเร็วสูงไม่ได้หรอกครับ ต้นทุนต่างกัน การบริหารการจัดการ ราคา กลุ่มลูกค้า ฯลฯ ล้วนต่างกัน รถไฟในเมืองเน้นผู้โดยสารที่เดินทางไปทำงานหรือเรียนหนังสือ รถไฟควาาเร็วสูงเน้นผู้โดยสารเดินทางไปต่างจังหวัด ต้องดูอีกทีล่ะครับ ว่าต้นทุนเท่าไร จุดคุ้มทุนอยู่ที่ไหน?
๒ เรื่องการแข่งขันกับเครื่องบิน ประวัติศาสตร์บอกแล้วครับ ว่าถ้าไม่เกินสามชั่วโมง รถไฟความเร็วสูงชนะขาดครับ เพราะการเดินทางด้วยเครื่องบินนั้น มีเวลาที่เราต้องเสียเพิ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ คือการเช็คอิน ต้องมาก่อนหนึ่งชั่วโมง และการรอรับกระเป๋าสำภาระ อันนี้ก็แล้วแต่การจัดการที่สนามบินอีกที เท่าที่ผมเคยเห็น อย่างน้อยๆ ก็ครึ่งขั่วโมง เพราะฉนั้นถ้ารวมเวลาการเดินทางจากกรุงเทพ-เชียงใหม่ เวลาอย่างน้อยก็ต้องสองชั่วโมงครึ่งถึงสามชั่วโมง( ถ้าโชคร้าย ) แต่รถไฟความเร็วสูงไม่ต้องรอตรงนี้ อีกส่วนที่ทำให้รถไฟได้เปรียบคือ ความสบายในการโดยสารครับ เครื่องบินที่นั่งชั้นประหยัดหรือพวกโลว์คอสต์นั้นแคบมาก ขณะที่รถไฟไม่ต้องเบียดกัน เพราะตัวรถมีความกว้างมากกว่า นั่งสบายกว่า
ขอยกสถิติเรื่องการแข่งขันกับเครื่องบินมาให้ดูอีกทีนะครับ เป็นตัวเลขเปรียบเทียบการเดินทางในประเทศญี่ปุ่น


รูปแรกเป็นการเดินทางสายตะวันตก ที่เน้นคือเส้นทางโตเกียว-โอคายามะ ที่มีระยะทางใกล้เคียงกับกรุงเทพ-เชียงใหม่ จะเห็นว่าคนใช้รถไฟประมาณ 70% ส่วนรูปล่าง แสดงให้เห็นเส้นทางสายตะวันออก ส่วนที่เน้นคือเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางด้วยรถไฟประมาณสองชั่วโมงนั้น สามารถทำให้คนเลิกใช้เครื่องบินได้เลย โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ถ้าเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงสายเหนือเมื่อไหร่ เส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก หรือกรุงเทพ-ลำปาง คนจะเลิกใช้เครื่องบินอย่างแน่นอน
๓ เรื่องราคานั้น ผมว่าต้องดูหลายๆปัจจัยครับ อย่างของใต้หวัน ราคาเฉลี่ยต่อกิโลเมตรประมาณ 4 บาท แต่ของไทยผมเชื่อว่าสามารถทำให้ถูกกว่านั้นได้ เพราะค่าแรงของเราถูกกว่าเค้า ถ้าเราทำให้ต่ำกว่าสามบาท เช่นทำให้กรุงเทพ-เชียงใหม่ เสียค่าเดินทางประมาณ 1500 บาท ผมเชื่อว่าเป็นไปได้นะ ( แต่ต้องดูต้นทุนอีกทีนะครับ กำลังศึกษาอยู่ )
๔ เรื่องเส้นทางสายอื่น ผมเคลือบแคลงเรื่องการเชื่อมต่อมากครับ เพราะเราไม่รู้ว่าประเทศเพื่นบ้านเค้าทำหรือยัง และจะเสร็จเมื่อไหร่?? คิดดูนะครับ ถ้าเราสร้่างเส้นทางกรุงเทพ-หนองคายไปรอไว้ แล้วทางลาวหรือจีนยังไม่ทำรถไฟมาเชื่อม มันหายนะชัดๆเลยนะครับ เพราะปริมาณการเดินทางเส้นทางนี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเที่ยบกับกรุงเทพ-เชียงใหม่ เส้นลงใต้ก็เช่นกัน อันนี้น่าเป็นห่วงมากกว่าเสียอีก เพราะระยะทางยาวมาก เมืองใหญ่สุดที่อยู่ทางใต้คือสงขลา ต้องถือว่าไกลเกินไปสำหรับรถไฟความเร็วสูง อีกทั้งปริมาณผู้โดยสารก็น้อยกว่าสายเหนือ ถ้าทางมาเลย์หรือสิงคโปร์ยังไม่ทำมาเชื่อม ผมว่าเราก็อย่าเพิ่งสร้างเลยครับ มันสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ แต่ถ้าทางประเทศเพื่อนบ้านมีความชัดเจนเมือไหร่ เช่นเริ่มลงมือสร้างแล้ว ถ้าแบบนี้ผมก็เห็นด้วยครับ