สะกิดข่าว
เริ่มแล้วที่อุดร หน่วยทหารได้ส่งกำลังทหาร ออกโบกรถและตรวจค้นสอดส่อง รถยนต์ที่สัญจรไปมา.../RTV1
เป็นไงล่ะ ไอ้พวกโจรแดง เห็นสัญญาณอะไรหรือยัง อิอิ อุดรบ้านผม ค่ายทหารเยอะด้วยซิ มรึงอย่ากระดิกนะโว้ย
สงสัย การข่าวแม่นยำแล้ว
เลยสั่งการให้ไปตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ
จริงๆผมมองว่าทหารไม่ได้เข้าข้าง กปปส หรอก
แต่ทำไงได้ กปปส ดันทำตามกฏหมาย
ทหารก็ทำตามกฏหมาย เลยเหมือนเป็นพวกกัน
คุ้นๆแฮะ
==========
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
9 hours ago · Edited
ล่าสุด มีผู้พิพากษาท่านหนึ่ง กล่าวเกี่ยวกับผมว่า :
"อิสระ คือ ไม่เลือกข้าง การจะเลือกข้างไหนก็ตามความคิดของแต่ละบุคคล แต่การแสดงตนว่าอิสระไม่เข้าข้างฝ่ายใด แต่การแสดงออกมันเอนเองไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เรียกว่า อิสระ ประเด็นที่พี่คงตั้งโพสต์นี้ไว้คือ ถ้ามีความคิดชัดเจนว่าเข้าข้างรัฐบาลเพื่อไทย ก็ควรจะออกตัวเหมือนอาจารย์นิติราษฎร์ไปเลย อย่าแทงกั๊กว่าอยู่ตรงกลางทั้งๆ ความคิดเห็นไม่กลาง"
แน่นอนว่าผู้พิพากษาท่านนี้ไม่ได้พูดตรง ๆ ว่าความเห็นผมนั้น เข้าข้างรัฐบาลเพื่อไทย แต่การเขียนข้อความเช่นนี้ หากจะตีความโดยสุจริตก็คงจะแปลความเป็นอื่นได้ยาก
หากเราลองตรวจสอบตรรกะ วิธีคิด ของข้อความที่เขียนโดยผู้พิพากษารายนี้ ก็จะพบกับปัญหาที่น่ากังวลใจอย่างยิ่ง
และเมื่อผู้พิพากษาท่านนี้ได้กล่าวข้อความต่อหน้านักกฎหมายน้อยใหญ่ ที่ล้วนแต่ต้องทำหน้าที่สำคัญเพื่อสังคม และบางรายได้เข้ามาแสดงความเห็นดีเห็นงาม หากผมจะเพิกเฉยปล่อยผ่านไป ก็คงจะเป็นการเห็นแก่ตัวยิ่งนัก
ผมจึงขอฝากให้ท่านผู้พิพากษาผู้นี้ ตลอดจนบรรดาผู้อื่นที่อาจหลงผิดตาม ได้โปรดพิจารณาทบทวนตรรกะวิธีคิด ดังนี้
1. การกล่าวว่า อิสระ คือ ไม่เลือกข้าง ตรงนี้ถูก และการแสดงออกที่เอนเองไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เรียกว่า อิสระ ตรงนี้ก็ถูก แต่สิ่งที่ผู้พิพากษาท่านนี้ต้องทบทวนด้วยความระมัดระวัง ก็คือ การที่ความเห็นของผมไปตรงกับใคร ไม่ว่าจะบ่อยแค่ไหน ก็มิได้แปลว่าผมนั้น เอนเอียง เข้าข้าง หรือไม่อิสระ
หากเทียบให้เห็นภาพ สมมติผู้พิพากษารายหนึ่ง ตัดสินคดี 10 คดี ระหว่าง นาย ก กับ นาย ข และปรากฏทั้ง 10 คดี ผู้พิพากษารายนี้เห็นด้วยกับข้อต่อสู้ของ นาย ก ทุกครั้ง ถามว่าการตัดสิน 10 ครั้งดังกล่าว จะสรุปได้ว่าผู้พิพากษารายนี้จำเป็นต้องเอนเอียงหรือเข้าข้าง นาย ก หรือไม่ ? ผู้พิพากษารายนี้ ปราศจากความเป็นอิสระและเป็นกลางหรือไม่ ?
ฉันใดก็ฉันนั้น การที่เราเห็นตรงกับฝ่ายใด ไม่ว่าจะบ่อยแค่ไหน มันไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความเป็นอิสระและเป็นกลางเลยแม้แต่น้อย
ตรงกันข้าม สมมติว่าผู้พิพากษารายนั้น ตัดสินคดี 10 คดี ระหว่าง นาย ก กับ นาย ข และปรากฏทั้ง 10 คดี ผู้พิพากษาเห็นพ้องกับ นาย ก แต่กลัวจะถูกครหาว่าเข้าข้างนาย ก ก็เลย ต้องไปตัดสินให้นาย ข ชนะบ้างในบางคดี จะได้ดูว่า ตนนั้นอิสระและเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร หากผู้พิพากษารายนั้นทำเยี่ยงนี้ ก็คือ ทุจริตทั้งทางความคิดและวิชาชีพนั่นเอง
เวลาผมแสดงความเห็นในเรื่องกฎหมายและการเมือง ผมไม่เคยคำนึงเลยว่า ความเห็นที่ผมแสดงออกไปนั้น จะไปตรงกับใคร ผมสนใจอย่างเดียวว่า ความเห็นนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ผมเชื่ออย่างแท้จริง ตามเหตุผลและหลักวิชา ไม่มีใครมาควบคุมได้ และผมแสดงออกได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องไปกลัวว่าใครจะมองผมอย่างไร นี่ต่างหาก คือ ความหมายของคำว่าอิสระ ไม่เข้าข้างใคร
ยิ่งไปกว่านั้น หากตรวจสอบให้ดี จะเห็นว่าความเห็นผมที่ผมแสดงตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมได้คัดค้าน ต่อว่า และเห็นต่างไปจากพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลหลายเรื่องมาก แต่มักไม่พูดถึงกัน และสื่อตรงข้ามรัฐบาล ก็ไม่ให้พื้นที่ผมในการแสดงความเห็นดังกล่าว หลักฐานได้รวมไว้แล้วที่ ข้อ 6 ในถาม-ตอบ https://bit.ly/AboutVP
ดังนั้น หากผู้พิพากษาท่านนี้ หรือใครก็ตาม ที่เพิ่งมาได้ฟังความเห็นผมได้ไม่กี่ครั้งก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปผมว่าเห็นตรงกับใคร เอนเอียงหาใคร มิเช่นนั้น ก็เหมือนท่านมีสำนวนคดีหนา ๆ ที่ต้องศึกษา แต่กลับพลิกหยิบมาอ่านเพียงไม่กี่หน้า ก็วินิจฉัยตัดสินคดี หากผู้พิพากษารายใดมีร่องรอยพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นวิธีการทำงานเช่นนี้ ก็ย่อมน่าเป็นห่วงนักว่าจะทำหน้าที่ได้เป็นธรรมหรือไม่
2. การกล่าวว่า ถ้ามีความคิดชัดเจนว่าเข้าข้างรัฐบาลเพื่อไทย ก็ควรจะออกตัวเหมือนอาจารย์นิติราษฎร์ อย่าแทงกั๊กว่าอยู่ตรงกลางนั้น ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่รู้ และไม่เข้าใจในประเด็นกฎหมายที่นิติราษฎร์ ได้นำเสนอ หากผู้พิพากษาท่านนี้ ได้ศึกษาประเด็นที่สมาชิกนิติราษฎร์นำเสนอให้ละเอียด ก็จะทราบว่า สมาชิกนิติราษฎร์ เป็นนักกฎหมายกลุ่มแรก ๆ ที่ออกมาต่อต้านวิจารณ์คัดค้านการใช้อำนาจคุณทักษิณสมัยก่อนรัฐประหาร
อีกทั้งหลังการรัฐประหาร นิติราษฎร์ ก็เป็นกลุ่มที่เสนอความคิดที่ไม่ตรงกับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่จะเป็นเรื่อง การแก้ไข มาตรา 112 การแสดงจุดยืนลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การยุบศาลรัฐธรรมนูญ การเข้าเป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ฯลฯ สิ่งล้วนเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยไม่อยากนำไปปฏิบัติด้วยเหตุผลทางการเมือง และยิ่งมีการเสนอโดยนิติราษฎร์ พรรคเพื่อไทยก็จะยิ่งลำบาก แม้แต่ตัวคุณทักษิณเอง ก็ไม่ได้ประโยชน์จากข้อเสนอนิติราษฎร์อันเป็นการขัดขวางการนิรโทษกรรมคุณทักษิณ แต่คุณทักษิณจะถูกบังคับให้ต้องถูกรื้อฟื้นคดีมาตัดสินใหม่
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์จากนิติราษฎร์ ก็คือ ประเด็นการโต้แย้งอำนาจของศาลและองค์กรอิสระที่ตรวจสอบรัฐบาล ซึ่งไม่ว่าพรรคใดจะเป็นรัฐบาล ก็ได้ประโยชน์เท่ากัน เพราะประเด็นที่นิติราษฎร์นำเสนอ เป็นเรื่องของระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีปัญหา มิได้เกี่ยวกับความดีของรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่ง
แต่การที่ผู้พิพากษารายนี้กล่าวว่า หากจะเข้าข้างรัฐบาลเพื่อไทย ก็ควรจะออกตัวเหมือนอาจารย์นิติราษฎร์ ย่อมทำให้เห็นร่องรอยการแสดงความเห็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าได้มีทักษะในการอ่าน แยกแยะ และทำความเข้าใจข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด
3. ผู้พิพากษา เป็นอาชีพที่ทรงเกียรติ เป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน หากผู้พิพากษามีใจที่เป็นอคติโดยไม่รู้ตัว จนแยกแยะสาระสำคัญขั้นพื้นฐานในการพิจารณาข้อเท็จจริงไม่ได้ ประชาชนก็จะหมดที่พึ่ง ระบบยุติธรรมจะผุพัง และสุดท้ายก็ต้องมีการออกมาใช้กำลังประทุษร้ายกันในที่สุด
ผมหวังว่าผู้พิพากษารายนี้ ตลอดจนนักกฎหมายอีกหลายราย จะรับความห่วงใยที่ผมกล่าวมานี้ไปพิจารณา เลือดที่เปื้อนบนท้องถนนวันนี้ เป็นผลของความขัดแย้งทางการเมือง ที่ต่างฝ่ายไม่ฟังกัน แต่คงจะไม่รุนแรงเพียงนี้ หากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตั้งแต่นักการเมืองไปยังผู้พิพากษา จะมีใจที่เปิดกว้างและเป็นธรรมขึ้นเสียเล็กน้อย หากเปิดใจกันมากขึ้น ภาพการฆ่าฟันกันอันเจ็บปวดระหว่างคนไทยด้วยกัน อาจจะลดน้อยลง ก็เป็นได้.
==========
โทดทีครับ ก็อปมายาว เนื้อหากระจิ๊ดเดียว แค่ตรงตัวหนาสีเข้ม ส่วนที่เหลือแค่น้ำท่วมทุ่งครับ
Edited by temp, 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:44.