Jump to content


Photo
* * * * - 2 votes

นิรโทษกรรม พฤติกรรม เพื่อ....


  • Please log in to reply
10 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 11:16

ตามระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 3 ครั้งที่ 21 (สมัยสามัญทั่วไป)

เป็นพิเศษในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2556 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ ตึกรัฐสภา

 

เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุม

ทางการเมืองฯ

 

ได้สร้างปรากฏการณ์ สร้างมาตราฐานใหม่ ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอย่าง

ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศกำลังพัฒนา แม้กระทั่ง

ในประเทศที่ด้อยพัฒนา ที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือระบบสาธาณรัฐ

 

การโหวตลงมติผ่านร่างกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ 2 วาระรวด ในช่วง

เวลาประมาณ 04.00 น. อันถือเป็นช่วงเวลายามวิกาล ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของ

ประเทศกำลังพักผ่อน สะสมแรงกายแรงใจไว้ต่อสู้กับการดำเนินชีวิตในวันรุ่งขึ้น โดยไม่ได้

มีโอกาสรับรู้ ถึงเหตุและผล ความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายฉบับนี้

 

รวมไปถึง พฤติกรรมรวบรัด รีบเร่ง ของฝ่ายบิรหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

 

ทั้งที่ ๆ พรบ นิรโทษกรรม เป็นกฎหมายที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ พร้อมทั้งเปิดรับฟัง

ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของผู้ที่ถูกกระทำ ผู้กระทำ ผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา

และบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น

 

ประเด็นสำคัญคือ ความเป็นจริงของเหตุการณ์ที่ยังคลุมเคลือ ผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหายังมิได้มี

โอกาสชี้แจงข้อโต้แย้งตามกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด

 

พรบ นิรโทษกรรม เป็นกฎหมายที่จะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศ

ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด เพราะเป็นการนิรโทษกรรมต่อสถาณการณ์ที่กลุ่มบุคคล กลุ่มมวลชน

ลงมือกระทำต่อบ้านเมืองภายใต้คำกล่าวอ้างว่า...เพื่อประชาธิปไตย...

 

ด้วยพฤติกรรมเร่งรัด รีบเร่ง ดังกล่าว ขัดแย้งกับเป้าหมายของ พรบ ที่ว่า..

 

เพื่อความปรองดอง..

 

จึงใคร่ขออนุญาติ นำเสนอ

 

" รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่ง

กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน

พ.ศ....... " 

 

ที่บรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุมดังกล่าว จำนวน  122 หน้า เพื่อให้ท่านที่สนใจ และ

ท่านที่อยากทราบว่า คณะกรรมาธิการ ท่านใด เสนอให้แก้ไขข้อความใด มาตราใด อย่างไร 

ไว้เป็นพื้นฐานการแสดงความคิดเห็นตามวิสัยทัศน์ของแต่ละท่าน

 

ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



#2 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:33

สำเนาร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย  เหมะ  ซึ่ง สภาผู้แทนมีมติโหวตรับหลักการ 

ซึ่งในมาตรา 3 กำหนดกรอบระยะเวลาการนิรโทษกรรมไว้ตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 ถึง

วันที่  10  พฤษภาคม  2554 อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิด

สงครามกลางเมือง ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจจะพอรับได้

 

     3066Yu.jpg xeKTUn.jpg oejaWh.jpg ZHA1zV.jpg Gh9m0f.jpg 75RMdb.jpg AEn0PM.jpg

     ZZr4jk.jpg



#3 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 15:07

หากเปรียบเทียบกับร่าง พรบ นิรโทษกรรม โดย วรชัย  เหมะ  แก้ไขโดย คณะกรรมาธิการฯ

ซึ่ง สภาผู้แทน ลงมติโหวตรับร่างวาระ 2 และวาระ 3 ในยามวิกาล ด้วยพฤติกรรมเร่งรัด

รีบเร่ง ด้วยมติ  310 : 4  อย่างอาการไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาวของเหล่าบรรดา สส ที่ได้รับการ

ไว้วางใจจากประชาชน เพื่อเป็นตัวแทนในการดูแลปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

 

ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมิได้แสดงถึงการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนแต่อย่างใด

ตามรายงานของคณะกรรมาธิการดังกล่าวข้างต้น ผนวกกับ พฤติกรรมปิดกั้นการอภิปราย

ของผู้ที่สงวนความคิดเห็นไว้ตามรายงานฯ นิรโทษกรรมฉบับนี้ แท้จริงแล้ว

 

เพื่อ.....ละไว้รอคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใต้ นิรโทษกรรม.อัปยศ

 

 cCcC0z.jpg c1Vksg.jpg McBWRx.jpg



#4 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 15:59

ซ่อนเร้น กรอบเวลา...เพื่อ

 

ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม โดยนายวรชัย  เหมะ  กำหนดกรอบสถานการณ์ที่จะนิรโทษกรรมไว้

ในมาตรา 3 ความว่า

 

" มาตรา 3  ให้บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือ

การแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการ

นั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือ

โฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการ

ดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการชุมนุม การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด ๆ

อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคล

อื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง

ตั้งแต่วันที่ 19  กันยายน  พ.ศ. 2549  ถึงวันที่  10  พฤษภาคม  พ.ศ. 2554  ไม่เป็นความผิด

ต่อไป และให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

 

การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใด ๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือ

สั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว "

 

แปลความสั้น ๆ ง่าย ได้ว่า...

 

นิรโทษสำหรับความผิดกระทำตั้งแต่  19  กันยายน 2549 ถึง  10  พฤษภาคม  2554 และ

ไม่รวมแกนนำ ผู้สั่งการ

 

ที่นี่ลองมาพิจารณา ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับแก้ไขโดย คณะกรรมาธิการฯ ในมาตรา 3

ความว่า

 

" มาตรา 3  ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับ

การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูก

กล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร

เมื่อวันที่  19  กันยายน  2549  รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

สืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547  ถึงวันที่  8  สิงหาคม  2556  ไม่ว่าผู้กระทำ

จะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้  หากการกระทำนั้นผิด

ต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

 

การกระทำตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 "

 

ร่าง ฉบับแก้ไข ได้ขยายกรอบเวลาถอยลงไปถึง พ.ศ. 2547 โดยไม่กำหนดวันที่ ก็น่าจะ

อนุมานได้ว่าตั้งแต่ 1 มกราคม  2547 สิ้นสุด 8  สิงหาคม  2556  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิน 

จากสถานการณ์รุนแรง และเป็นช่วงเวลาที่ พรรคเพื่อไทย เข้าบริหารราชการแผ่นดินครบ

2 ปี ด้วยนโยบายประชานิยมแบบสุดขั้ว  ด้วยเหตุผลใด...มิได้แจ้งแถลงไขไว้แต่อย่างใด

 

ประเด็นที่ต้องขบคิดต่อไป...จึงมีว่า..เหตุใด ทำไม เพราะอะไร จึงต้องเป็นช่วงเวลา

ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึง  8 สิงหาคม  2556



#5 คุณฉงน

คุณฉงน

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 136 posts

ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:19

ไปเห็นอันนี้มา...

 

1383442932-forgive-o.jpg


"ผู้เล่นต้องรู้คุณค่าของหมาก เพราะหมากทุกตัวมี คุณค่า ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์จริง การเดินผิดพลาด เพียงส่วนน้อย อาจทำให้เกิดความผิดหวัง พ่ายแพ้ อย่างง่ายดาย". หมากรุกไทย

#6 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:42

ย้อนรอย...สถานการณ์  2547

 

กรอบเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 3 ของร่างนิรโทษกรรมฯ ฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการ 

ซึ่งผ่านการโหวตลงมติของท่าน สส ผู้ทรงเกียรติอย่างเป็นเอกฉันท์ ในยามวิกาลของเช้า

วันที่  1 พฤศจิกายน  2556  จากร่างฉบับเดิมของนายวรชัย  เหมะ ที่ท่าน สส ลงมติรับ

หลักการเมื่อวันที่  7 สิงหาคม  2556  ก่อนตั้งคณะกรรมธิการขึ้นมาพิจารณานั้น กำหนด

กรอบเวลาสถานการณ์ไว้ตั้งแต่วันที่  19 กันยายน 2549  ถึงวันที่  10 พฤษภาคม 2554  

 

คณะกรรมาธิการฯ ได้แก้ไขกรอบเวลาสถานการณ์ย้อนไปถึง พ.ศ. 2547   โดยมิได้ระบุ

วันที่ไว้ ซึ่งก็น่าจะอนุมานได้ว่าน่าจะเป็น 1 มกราคม 2547 สิ้นสุดวันที่ 8 สิงหาคม 2556 

ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผ่านพ้นสถานการณ์มาพอสมควร อีกทั้งการขยายกรอบเวลาดังกล่าว

ก็มิได้อ้างอิงเหตุผลแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้ การขยายเวลา จึงได้สร้างคำถามว่า...

ทำไม...เหตุใด...ด้วยวัตถุประสงค์ใด...

 

หากมองย้อนกลับไปในช่วงเวลา พ.ศ. 2547  ซึ่งอยู่ในช่วงปลายของรัฐบาลทักษิณ 1

มีเหตุการณ์อันเนื่องมาจากการแสดงออกทางการเมืองเป็นครั้งแรกประมาณกลางปี 2547

เป็นการรวมตัวของบุคคลในนาม " กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ "  มีการนัด

ชุมนุมใหญ่บริเวณท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 กันยายน 2547   และจบลง

ด้วยความสงบ  มิได้เกิดสถานการณ์รุนแรงแต่อย่างใด

 

รัฐบาลทักษิณ ยังสามารถบริหารราชการแผ่นดินจนครบสมัยในปี พ.ศ. 2548 ในการ

เลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548  พรรคไทยรักไทย ก็ได้รับชัยชนะขาดลอย

จนสามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

 

นั้นเป็นเพียงการชุมนุมทางการเมืองเพียงครั้งเดียว และมิได้มีบุคคลใดหรือผู้ชุมนุมใด

ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฏหมาย

 

แล้วด้วยเหตุใด คณะกรรมาธิการฯ จึงต้องขยายกรอบเวลาเป็น พ.ศ. 2547 โดยมิได้

ระบุวันที่

 

ลองย้อนเทปบันทึกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ จนพบว่า

 

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547  ตามรายงานข่าวแจ้งว่า มีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบประมาณ

30 คน ได้เข้าโจมตีป้อมตำรวจที่อยู่ใกล้มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี มีการปะทะกับ

เจ้าหน้าที่ ซึ่งผลจากการปะทะทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 3 นายและบาดเจ็บ 17 นาย

หลังจากนั้นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทั้ง 32 คน ได้หลบหนีเข้าไปภายในมัสยิดกรือเซะ 

 

เมื่อ พลเอก พัลลภ  ปิ่นมณี รองผอ.กอ.รมน. เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ ซึ่งขณะนั้นมี

ประชาชนหลายพันคน รวมตัวกันอยู่ที่บริเวณมัสยิด เจ้าหน้าที่ปิดล้อมมัสยิดอยู่ตั้งแต่

06.00 - 14.00  จึงตัดสินใจบุกเข้าไปในมัสยิด โดยใช้อาวุธและระเบิดมือ ท่ามกลาง

สายตาประชาชนหลายพันคนที่รวมตัวกันอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทั้ง

32 คนเสียชีวิต สถานการณ์ครั้งนี้ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำเกินกว่า

เหตุหรือไม่ และเหตุใดเจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจบุกโดยใช้อาวุธ..

 

ยังคงเป็นคำถามที่ไร้คำตอบ...

 

เหตุการณ์กรือเซะ ยังมิทันจางหาย วันที่ 25 ตุลาคม 2547   อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

เจ้าหน้าที่จับกุมชายท้องถิ่นจำนวน 6 คน อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเดินขบวนเพื่อเรียก

ร้องให้ปล่อยตัว มีการปาก้อนหิน และพยายามปิดล้อมสถานีตำรวจ จนสถานการณ์

ลุกลามเมื่อเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเริ่มใช้แก็สน้ำตาและยิงตอบโต้

 

เมื่อเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ชาวบ้านในท้องถิ่นหลายร้อยคน ซึ่ง

ส่วนใหญ่จะเป็นชายวัยรุ่น ถูกจับกุม  ต่อมาปรากฏคลิปวีดีโอสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ภายหลังการจับกุมที่ถูกสังคมวิจารณ์อย่างมาก ว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ ซึ่ง

ผลจากสถานการณ์นี้ เป็นเหตุให้ผู้ถูกจับกุมเสียชีวิตระหว่างการนำตัวไปส่งยัง

ค่ายทหารอย่างน้อย 85 คน

 

รายงานข่าวอ้างอิงว่า 7 คนเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืน ส่วนที่เหลือเสียชีวิต

เนื่องจากการขาดอากาศหายใจ  และท้ายที่สุดก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่

รับผิดชอบถูกนำเข้าสู่กระบวนยุติธรรม

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุว่า อาจจะเข้าค่ายการกระทำ

ความผิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

 

ในทางตรงข้ามปฏิกริยาแรกหลังเหตุการณ์ ของ ทักษิณ กล่าวว่าชายเหล่านี้

เสียชีวิต  " เพราะพวกเขายังอ่อนแอจากอดอาหาร ระหว่างเดือนรอมฎอน "

 

คลิปวิดีโอสถานการณ์ดังกล่าวเผยแพร่ไปทั่วประเทศและในกลุ่มมุสลิม อีกทั้ง

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ยังกล่าวว่า ผู้ที่ครอบครองหรือเผยแพร่คลิปวีดีโอนี้ ถือว่าเป็น

การกระทำที่ผิดกฎหมาย

 

ทั้ง 2 เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงปลายของรัฐบาลทักษิณ 1 และเป็นเหตุการณ์

รุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

อันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ก็มิได้มีสาเหตุมาจากการแสดงออก

ทางการเมืองแต่อย่างใด...จึงไม่น่าจะเป็นเหตุให้เข้าข่ายการนิรโทษกรรม

สำหรับผู้ที่กระทำความผิดทางการเมือง ฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการฯ

แต่อย่างใด..

 

แล้วเหตุใด คณะกรรมาธิการจึงได้มีการแก้ไขขยายกรอบเวลาย้อนหลังไป

ถึงปี พ.ศ. 2547... หรือหวังเพื่อล้างตราบาปให้ใครบางคน

 

ขออนุญาตที่จะไม่นำเสนอ ภาพและคลิปทั้ง 2 เหตุการณ์ในทุกกรณี

 

 



#7 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:56

การประชุมสภา เพื่อพิจารณาร่าง พรบ. นิรโทษกรรมฯ  วันที่  31 ตุลาคม  2556

 

 

นาที  1 : 00 : 50  จบวาระ 2นาที  1 : 00 : 59  เริ่มโหวตวาระ 3

นาที  1 : 01 : 40  ส่งผลวาระ 3

นาที  1 : 01 : 50  ผลการลงมติวาระ 3

นาที  1 : 02 : 00  ปิดสภา...

 

ปี 2548  ยุคทักษิณ 2

 

สถานการณ์การเมืองของไทย ภายใต้การบริหารของพรรคไทยรักไทย ในช่วงปี 2547 ผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย

มีการชุมนุมประท้วงกดดันรัฐบาลจาก “กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ “ ในช่วงกันยายน 2547   ซึ่งจบลง

ด้วยความเรียบร้อยไม่มีผู้ชุมนุมถูกกล่าวหา หรือได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง อันเป็นผลจากการ

กระทำของผู้ชุมนุมแต่อย่างใด

 

ในทางกลับกัน ประชาชนต่างหากที่ตัองสูญเสียชีวิตนับร้อย อันมีสาเหตุมาจากการกระทำเกินกว่าเหตุ การละเมิด

สิทธิมนุษยชน ของฝ่ายเจ้าหน้าที่  อีกทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

แต่อย่างใด นอกจากนั้น ยังมีคำสั่ง ห้ามครอบครอง ห้ามเผยแพร่คลิปที่บันทึกเหตุการณ์ กรือเซะ และ ตากใบ ที่

บันทึกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ที่กระทำต่อบุคคลที่ถูกจับกุม เป็นเหตุให้ ทักษิณ ซึ่งดำรงตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ จากสังคมและองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

นั่นก็หมายความว่า พรบ นิรโทษกรรมฯ ฉบับวรชัย  เหมะ แก้ไขโดย คณะกรรมาธิการฯ  ที่ได้รับการลงมติจาก

ท่าน สส ผู้ทรงเกียรติด้วยคะแนนเสียงข้างมา  310 : 4  ในยามวิกาล หรือ ที่เรียกกันว่า นิรโทษกรรมฯ ฉบับสุดซอย

หรือ ฉบับเหมาเข่ง ไม่มีเหตุจำเป็นอันใดที่จักต้องขยายกรอบเวลาความผิดที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.  2547  

 

Oim8kr.jpg

 

ยกเว้นเสียจากว่า จะอ้างว่าเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นมีผลมาจากประเด็นมาจากปัญหาทางการเมือง  เพื่อหวังผล

จาก นิรโทษกรรม สุดซอย.. โดยที่ไม่รู้สึกสำนึกในความผิดที่ได้กระทำ

 

รัฐบาลทักษิณ 1 บริหารราชการจนครบวาระ 4 ปี ในเดือน กุมภาพันธ์  2548  ซึ่งผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่  6

กุมภาพันธ์ 2548  พรรคไทยรักไทย ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรก

ในหน้าประวัติศาสตร์การเมือง ด้วยนโยบายมหาประชานิยม และภาพลักษณ์นายกติดดิน ทำให้เป็นที่ชื่นชอบ

ของชาวบ้านในชนบท โดยเฉพาะภาคอีสานและภาคเหนือ

 

ปี 2548 รัฐบาลภายใต้การนำของทักษิณ บริหารราชการแผ่นดินท่ามกลางคำกล่าวหา เรื่องการทุจริตคอร์รับชั่น

และ ผลประโยชน์ทับซ้อน  พฤติกรรมการปิดกั้นสื่อ เพื่อปิดหูปิดตาประชาชน แต่ถึงกระนั้นก็ยังสามารถบริหาร

ประเทศมาได้จนกระทั่ง ปลายปี 2548  ข่าวลือเรื่องการขัดผลประโยชน์ทางธุรกิจระหว่าง ทักษิณ และ สนธิ

ผู้ดำเนินรายการเมือ่งไทยรายสัปดาห์  ซึ่งข้อเท็จจริงในประเด็นนี้เป็นอย่างไร คงมีแต่คู่กรณี ทักษิณ และ สนธิ

เท่านั้นที่จะตอบได้ 

 

ดังนั้นจึงขออนุญาตที่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในประเด็นความขัดแย้งทางธุรกิจ อันเป็นปัญหาส่วนตัวของคู่กรณี

แต่ความขัดแย้งนั้นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันของคนที่ต่อต้านทักษิณ ในนาม 

 

" กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย "  หรือ กลุ่มเสื้อเหลือง  ในเวลาต่อมา 

 



#8 pooyong

pooyong

    สมาชิกขั้นไม่สูง แต่สูงอายุ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,292 posts

ตอบ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 10:20

http://youtu.be/UNEnN8-BQX8

http://youtu.be/UNEnN8-BQX8


การรับใช้แผ่นดิน คือความเบิกบาน

#9 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 00:03

การแสดงออกทางการเมือง 2548

 

ตลอดระยะเวลาการบริหารประเทศของรัฐบาลทักษิณ 1 ( 9 กพ.44 – 6 กพ.48 ) เกิดเหตุการณ์การ

การชุมนุมทางการเมืองเพียงครั้งเดียว ในวันที่  25 กันยายน 2547 โดย กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและ

ราชบัลลังก์ เท่านั้น เมื่อครบวาระอายุรัฐบาล พรรคไทยรักไทย มีโอกาสเข้าบริหารประเทศอีกครั้ง

เมื่อชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่  6 กุมภาพันธ์ 2548 

 

การบริหารประเทศของรัฐบาลทักษิณ 2 เป็นไปท่ามกลางข่าวลือ การทุจริตคอร์รัปชั่น ผลประโยชน์

ทับซ้อน การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการปิดกั้นสื่อ เพื่อปิดหูปิดตาประชาชน  ถึงกระทนั้นก็ยัง

สามารถประคองรัฐบาลมาได้

 

จนกระทั่งปลายปี  2548  ข่าวลือเรื่องความขัดแย้งผลประโยชน์ทางธุรกิจระหว่างทักษิณและสนธิ

ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์  เริ่มแพร่กระจายแบบปากต่อปาก แต่ก็ยังคลุมเครือว่าจริงเท็จ

ประการใด แต่แล้วในวันที่ 9 กันยายน 2548  รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ได้นำเสนอบทความ

“ ลูกแกะหลงทาง “ อันเป็นเหตุให้ทาง อสมท โดยนายธงทอง จันทรางศุ สั่งระงับการออกอากาศ

รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ในวันที่ 15 กันยายน  2548 โดยให้เหตุผลว่า เป็นการจาบจ้วงสถาบัน

 

WLQyyY.jpg

ภาพประกอบจาก Google

 

เป็นเหตุให้ สนธิและทีมงาน เปลี่ยนแนวทางการดำเนินรายการเป็น เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร  ซึ่ง

ในช่วงแรกใช้ อาคารหอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ และ อาคารลีลาศ สวนลุมพินี ซึ่งมีผู้สนใจ

เข้าร่วมกิจการนับหมื่นคน

 

จนกระทั่ง การจัดรายการครั้งที่ 14 ในวันที่  13  มกราคม  2549  มีการแนะนำแกนนำร่วมอุดมการณ์

บนเวที และในวันเดียวกันนี้ ได้มีการเคลื่อนกลุ่มมวลชนเข้าบริเวณทำเนียบรัฐบาลเป็นครั้งแรก โดย

ปักหลักค้าง 1 คืน เช้าวันที่ 14 มกราคม 2549  พล.ต.อ. โกวิท  วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ในขณะนั้น นำกำลังเข้าสลายการชุมนม จับแกนนำประมาณ 30 คนก่อนปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้ง

ข้อหาแต่อย่างใด

 

จึงพอสรุปได้ว่า. ตลอดปี 2547 และ 2548  สถานการณ์ทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง

ไม่มีประชาชน ผู้เข้าร่วมชุมนุม หรือ เจ้าหน้าที่ กระทำความผิดเข้าข่ายที่ต้อง นิรโทษกรรมตามที่

ตราไว้ใน มาตรา 3 ร่าง พรบ นิรโทษกรรมฯ ฉบับสุดซอยแต่อย่างใด

 

แล้วด้วยเหตุผลกลใด ท่าน สส ผู้ทรงเกียรติ ทั้ง 310 ท่าน จึงมีความเห็นลงมติผ่านร่าง พรบ วาระ 2

และวาระ 3 ย้อนหลังไปจนถึงปี พ.ศ. 2547  อย่างรวบรัด รีบเร่ง ในยามวิกาล ผิดธรรมเนียมปฏิบัติ

สากล เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้ มีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนจำนวนมาก จึงควรกระทำอย่าง

เปิดเผย และให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้มากที่สุด หรือ

 

กระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์....  



#10 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 00:57

2548  ต่อเนื่อง  2549

 

การแสดงออกทางการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ต่อต้านรัฐบาลทักษิณ และกดดันให้ทักษิณลาออกจาก

ตำแหน่งเริ่มเป็นรูปธรรมนับจาก อสมท โดยนายธงทอง  จันทรางศุ สั่งระงับรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์

ที่ดำเนินรายการโดยนายสนธิ ภายหลังการนำเสนอบทความ “ ลูกแกะหลงทาง “ ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 

9  กันยายน  2548  ซึ่งทาง อสมท ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน โดยให้มีผลตั้งแต่ 15  กันยายน 

2548  อันเป็นเหตุให้นายสนธิและทีมงานปรับเปลียนการดำเนินรายการ เป็นการจัดรายการนอกสตูดิโอ

ทุกเย็นวันศุกร์ และเปลียนชื่อรายการเป็น “ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร “ ที่มุ่งเน้นการวิพากษ์วิจารณ์

การทำงานของรัฐบาล และผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับทักษิณและครอบครัว

 

การสั่งระงับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า ใช้อำนาจคุกคามสื่อ เพราะไม่พอใจใน

เนื้อหาที่สื่อนำเสนอ ด้วยข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่า ทุกท่านที่เคย

มีโอกาสได้อ่าน ได้รับรู้ บทความ “ลูกแกะหลงทาง “ จะแปลความหมายอย่างไร จะเป็นไปในแนวทางที่

อสมท ให้เหตุผลในการสั่งปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์หรือไม่ ขอละไว้ให้ทุกท่านพิจารณาได้ตาม

วิสัยทัศน์  มิอาจวิเคราะห์ ชี้แนะ เพื่อโน้วน้าวแนวคิดของทุกท่านได้

 

วันที่ 13 มกราคม 2549 การดำเนินรายการ “ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร “ ครั้งที่ 14  สนธิได้เปิดตัว

แกนนำที่เข้าร่วมอุดมการณ์การชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

ตั้งแต่ด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมจนถึงสี่แยกมิสกวัน  โดยใช้เชื่อว่า “ การชุมนุมกู้ชาติ “ มีผุ้เข้าร่วม

ชุมนุมมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา การชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน และเปิดตัวกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยเน้นที่ ทักษิณ

ในนาม “ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “ เนื่องจากไม่พอใจข่าวการขายหุ้นทั้งหมดของครอบ

ครัวชินวัตร และดามาพงษ์ ใน บริษัท  ชิน คอร์ปอเรชั่น  จำกัด (มหาชน) ให้กับ กองทุนเทมาเส็ก ซึ่งเป็น

กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี เมื่อวันที่ 

23  มกราคม  2549  ( จะกล่าวถึงรายละเอียดในครั้งต่อไป )

 

การชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า “ ปิดบัญชีทักษิณ “  มีขึ้นในวันที่  11  กุมภาพันธ์  2549  บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

ผู้เข้าร่วมชุมนุมมาจากหลายหลายอาชีพ มีการเปิดตัวแกนนำชุดใหม่ของกลุ่ม พธม  ได้แก่ พลตรี จำลอง 

ศรีเมือง, นายสนธิ  ลิ้มทองกุล, นายพิภพ  ธงไชย, นายสมศักดิ์  โกศัยสุข และ นายสมเกียรติ  พงษ์ไพบูลย์

ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้รัฐบาลได้พยายามขัดขวาง โดยอ้างว่า ไม่เหมาะสมและไม่สมควร เนื่องจากบริเวณนี้เป็น

เขตพระราชฐาน  แกนนำจึงได้นัดชุมนุมใหม่ในวันที่  26  กุมภาพันธ์  2549  ที่สนามหลวง โดยประกาศว่า

จะชุมนุมยืดเยื้อ จนกว่าทักษิณจะลาออกจากตำแหน่ง  ทักษิณประกาศยุบสภาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์  2549 

โดยมีกำหนดเลือกตั้งทั่วไปในวันที่  2  เมษายน  2549

 

การชุมนุมของกลุ่ม พธม ที่สนามหลวง ภายใต้ชื่อ  “ เอาประเทศไทยของเราคืนมา “  เป็นการชุมนุมยืดเยื้อ

ต่อเนื่องจากวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549  สิ้นสุดลงในวันที่  19  กันยายน  2549  ซึ่งพอจะลำดับเหตุการณ์

ได้พอสังเขป

 

28  กุมภาพันธ์  2549  พธม เคลื่อนขบวนใหญ่จากสนามหลวงมาที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

14  มีนาคม  2549   เคลื่อนจากสนามหลวงมาที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งในขณะนั้นกำลังมีการประชุม ครม 

ย้ายการชุมนุมมาปักหลักบริเวณสะพานมัฆวานฯ สี่แยกมิสกวันและถนนพิษณุโลกบริเวณข้างทำเนียบ

มีผู้เข้าร่วมการชุมนุมนับแสนคน

 

ระหว่างการชุมนุมมีการเคลื่อนขบวนย่อย ๆ ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สำนักงาน กกต, ศาลรัฐธรรมนูญ,

ศาลปกครอง , สถานทูตสิงคโปร์ และ บริเวณสยามสแควร์ เป็นต้น 

 

26  มีนาคม  2549  เคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมเข้าบริเวณสยามสแควร์ และวางแผนที่จะจัดชุมนุมใหญ่

บริเวณหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันที่  29  มีนาคม  2549  ถือเป็นการชุมนุมทางการเมือง

ครั้งใหญ่ใจกลางศูนย์ธุรกิจหลักของประเทศเป็นครั้งแรก เป็นเหตุให้  สยามพารากอน  สยามเซ็นเตอร์

และ สยามดิสคัฟเวอรี่ ประกาศปิดทำการระหว่างวันที่  29-30 มีนาคม  2549  การชุมนุมผ่านไปด้วยดี

ไม่มีการปะทะใด ๆ ทั้งสิ้น

 

2  เมษายน  2549  การเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน และ พรรคชาติไทย ไม่ได้ส่ง

สมาชิกสมัครรับเลือกตั้งด้วย พรรคไทยรักไทย ได้รับคะแนนเสียงข้างมาก แต่ในหลายพื้นที่ผู้สมัครจาก

พรรคไทยรักไทย ที่ทักษิณยังเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ กลับได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย

ถือเป็นปรากฏการณ์ “ ไม่เอาทักษิณ “  ท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษาให้เป็น

โมฆะ ( เนื้อหาจะกล่าวในบทถัดไป ) โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่  15  ตุลาคม  2549

 

คำพิพากษา ศาลรัฐธรรมนูญ ให้การเลือกตั้ง  2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ ส่งผลให้ คณะกรรมการการ

เลือกตั้ง มีความผิดตามคำฟ้องของนายถาวร  เสนเนียม 

 

- ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

- ความผิดต่อ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

- ความผิดต่อ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส และ สว 

- ต้องโทษจำคุกและให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่  25  กรกฎาคม  2549  

 

ในระหว่างอ่านคำพิพากษา เกิดเหตุกระทบกระทั่งกันระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ กับ กลุ่มต่อต้าน

ทักษิณ ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำพิพากษา ให้ผู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายรับโทษกรณีหมิ่นศาล

 

19  สิงหาคม  2549  ระหว่างการเดินทางไปเป็นประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึก นิทรรศการ

เฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน 

มีเสียงตะโกนจากกลุ่มประชาชนประมาณ  30 คน ว่า “ นายกฯ ...คนเลว...ออกไป “ จนเกิดเหตุชุลมุน

จากกลุ่มสนับสนุนกับกลุ่มต่อต้าน  เจ้าหน้า รปภ จึงเชิญตัวออกจากสถานที่ 

 

20  สิงหาคม  2549  ระหว่างการจัดแถลงข่าวที่อาคารสำนักวิทยบริการชั้น 8  ม.ราชภัฎจันทรเกษม

โดย ดร.สังคิด พิริยะรังสรรค์  ได้เชิญผู้ที่โดนกลุ่มผู้สนับสนุนนายกฯ ทำร้ายในวันที่ 19 สิงหาคม 2549 

ทั้ง 6 คน มาแสดงตัว ขณะเดียวกัน บริเวณลานด้านล่างหน้าอาคารมีกลุ่มผู้สนับสนุนนายก ในนาม

กลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ “ ประมาณ 60 คน ยืนถือป้ายผ้าและโปสเตอร์ เพื่อต่อต้าน

ดร.สังคิด มีการปะทะคารมกันพอหอมปากหอมคอ

 

21  สิงหาคม  2549  เกิดเหตุการณ์ในลักษณะคล้ายกันอีกครั้ง ขณะที่นายกฯ เดินทางเปิดงานอุทยาน

เรืยนรู้ดิจิตอล ทีเคปาร์ค ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์  ครั้งนี้มีการวางกำลังอารักขาทั้งในและนอกเครื่องแบบ

อาจจะเป็นเพราะ รมต.กระทรวงมหาดไทยรายงานว่าอาจถูกลอบทำร้าย หรือ อาจจะเป็นเพราะกลัวคำ

ตะโกนเหมือนครั้งหน้าสยามพารากอน มิอาจคาดเดาได้ แต่ก็เกิดเหตุปะทะคารมกันระหว่างกลุ่มผู้สนับ

สนุนและกลุ่มผู้ต่อต้าน จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ รปภ และปรากฏชายฉกรรจ์ในชุดสีเข้มไม่ทราบสังกัด

เข้าทำร้ายร่างกาย จนเป็นชนวนให้เกิดการปะทกันรุนแรงขึ้น มีผู้บาดเจ็บจากทั้ง 2 ฝ่ายหลายราย และ

บางรายถูกจับกุมในข้อหา รบกวนความสงบเนื่องจากเป็นต้นเหตุการณ์ก่อให้เกิดเสียงเอะอะรำคาญ

 

2  กันยายน  2549  ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีกลุ่มบุคคลในนาม “ เครือข่ายแพทย์ เภสัช

พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย “ ซึ่งเป็นกลุ่มคนบางส่วนของหน่วยงาน

ที่อ้าง ทำการล่ารายชื่อ ปลุกกระแส “ต้านทักษิณ” ออกแถลงการณ์ให้ทักษิณยุติบทบาทนายกรัฐมนตรี

ทันที มีการจัดการเสวนา เรื่อง การร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง โดยมุ่งเน้นการต่อต้าน

ทักษิณตามแนวทางอหิงสา การต่อต้านทักษิณ สิ้นสุดในวันที่ 19 กันยายน 2549 ภายหลังเหตุการณ์

รัฐประหาร โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นำโดย พลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน   

 

ดังกล่าวข้างต้น เป็นสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง และการกระทำ

ความผิดโดยมี่สาเหตุจากความเห็นทางการเมือง โดยสรุปพอสังเขป ที่เกิดขึ้นภายในปี 2549  ซึ่งผู้

เข้าร่วมกาชุมนุมไม่ว่าจะเป็นฝ่ายต่อต้านทักษิณ หรือ ฝ่ายผู้สนับสนุนทักษิณ ถูกจับกุม ถูกคำพิพากษา

ลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำ โดยไม่มีข้อแม้หรือข้อโต้แย้งใด ๆ  ในบางคดีสิ้นสุดไปแล้ว บางคดี

อาจจะยังอยู่ระหว่างการต่อสู้ทางกระบวนการยุติธรรม หรือแม้แต่บางคดี ผู้ต้องโทษได้รับโทษครบ

ตามคำพิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว

 

ยกเว้น....ข้อกล่าวหา ทุจริตคอรัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน  ยังคงค้างอยู่ในกระบวนการยุติธรรม นั้นก็

เพราะ ทักษิณ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา ไม่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการ เพื่อพิสูจน์ว่า ตนเป็นผู้ถูกกลั่นแกล้ง

อย่างคำกล่าวอ้าง หรืออาจจะเป็นเพราะ ไม่สามารถหาข้อแก้ต่าง คำอธิบาย ที่จะช่วยให้ตัวเองพ้นจาก

ฐานะผู้ถูกกล่าวหาได้...

 

ดังนั้นหากจะพิจารณา เนื้อหาตามมาตรา 3 ในร่าง พรบ นิรโทษฯ ฉบับสุดซอย ผู้ที่น่าจะได้รับประโยชน์

มากที่สุด เห็นจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้...นอกเสียจากว่า....ใครคนนั้น....ที่ไม่ยอมเข้าสู่กระบวนยุติธรรม

เพื่อพิสูจน์ตัวเอง แต่กลับใช้เส้นทางลัดเพื่อหวังให้ตน พ้นผิด พ้นมลทิน โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการ

ยุติธรรม....

 

ช่างเป็นการพ้นมลทินที่...

 

ไร้ศักดิ์ศรี ไม่สง่างาม ไม่สมกับที่เป็น...คน...ดีและเก่ง ขั้นเทพ


Edited by bird, 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 00:58.


#11 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 09:41

ชัดเจน...

 






ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน