เหอะ เหอะ ผมว่ากลุ่มของ นายวรเจตน์ เป็นกลุ่มอาจารย์ที่น่าจะมีปัญหาทางความคิดนะ
เพราะเขาละเลยที่จะพูดถึงพฤติกรรมของฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วไปวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรม
ของศาลรัฐธรรมนูญแทน
เขาพยายามแก้ตัวความผิด ความบกพร่องของฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วยกความผิดนั้นไปให้ศาล
รัฐธรรนูญ ดังประโยคที่พูดว่า
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญถือเป็นการขัดต่อหลักประชาธิปไตย
หลักนิติศาสตร์ และหลักนิติธรรม
สิ่งที่เขาพูดดังประโยคข้างต้น ล้วนเป็นพฤติกรรมของฝ่ายนิติบัญญัติทั้งนั้น เพราะที่ผ่านมาเราจะ
เห็นพฤติกรรมของประธานสภา และ สส ฝ่ายรัฐบาล มาตลอดว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นมันขัดต่อหลัก
ประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ว่าการทำตัวไม่เป็นกลางของประธาน การลุแก่อำนาจของประธานโดยให้
ตำรวจสภามาลากตัว สส ฝ่ายค้านออกจากสภา การไม่อนุญาตให้ สส ฝ่ายค้านได้มีโอกาสอภิปราย
การรีบเสนอปิดอภิปราย พฤติกรรมเหล่านี้ขัดต่อหลักประชาธิปไตยหรือไม่ กลุ่มของนายวรเจตน์กลับ
ไม่เคยสนใจ
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อยู่ในกรอบของมาตรา 68 ที่ระบุว่า
บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดย
วิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถึทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
กลุ่มของนายวรเจตน์ ควรอธิบายให้ได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติที่พยายามแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้
เป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ใช่มาตะแบงว่า การวินิจฉัยของศาลขัดต่อหลักประชาธิปไตย หลักนิติศาสตร์ นิติธรรม
การเสียบบัตรแทนกันของฝ่ายนิติบัญญัติ การสอดไส้ร่างแก้ไข การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ สว ที่กำลังจะ
หมดวาระให้สามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ต่อไปโดยไม่ต้องเว้นวรรค เป็นการทำเพื่อประโยชน์ตนเองและ
พวกพ้องหรือไม่ เรื่องเหล่านี้ผิดหลักนิติศาสตร์ ผิดหลักนิติธรรมหรือไม่ ตรงนี้ต้องพูดให้ชัด ไม่ใช่มาแก้ตัว
ง่าย ๆ ว่าเสียบบัตรแทนกันไม่มีผลแพ้ชนะ เพราะมันคนละเรื่อง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ใช้หลักเสียงข้างมากก็จริง แต่ฝ่ายนิติบัญญัติจะใช้เสียงข้างมากเพื่อกระทำในเรื่องที่มัน
ขัดต่อหลักประชาธิปไตย หลักนิติศาสตร์ หลักนิติธรรม ไม่ได้
เพราะฉะนั้น ผมมองว่ากลุ่มของนายวรเจตน์ พยายามตะแบงเอาพฤติกรรมของฝ่ายนิติบัญญัติมายัดเยียดให้
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมากกว่า