สมาชิกใหม่ครับ คิดแนวทางปฏิรูปไว้งูๆปลาๆหลายวันแล้ว แต่ไม่รู้จะคุยกับใคร คนใกล้ตัวไม่ค่อยคุยเรื่องการเมืองการปกครอง จึงมาเสนอและขอความรู้ครับ
ความเห็นคือ ม็อบ"ทำสำเร็จ"แล้ว เอารัฐบาล&สส.ที่บริหารด้วย"กติกู"ออกไปได้โดยยุบสภา ตัวม็อบโดยรวมพอจะถือว่าอยู่ในกติกาแม้จะมี"กติเกิน"หลายทีอยู่
ขั้นต่อไป ม็อบจะให้คุณปูลาออกจากรักษาการ ซึ่งฝ่ายรัฐบาลอ้างว่าทำไม่ได้เพราะรธน.บังคับไว้
ส่วนตัว คิดว่า มันพอจะทำได้โดยที่คุณปูไม่โดนข้อหาละทิ้งหน้าที่ด้วย รธน.เขียนเหมือนจะบังคับไว้ แต่จริงๆมันน่าจะมีข้ออ้างแก้ตัวในทำนองการกระทำโดยจำเป็นตามป.อาญา เช่น อ้างว่าเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (เว้นแต่เฮียแมวจะโหดถึงขนาดให้เด็กในสังกัดฟ้องน้องปูของตัวเอง)
และก็พบความเห็นของนักกฎหมายชั้นครูหลายท่านว่าทำได้ วันก่อนดูรายการเจาะข่าวเด่น(อ.สุรพลvsจาตุรนต์)ก็เชื่อว่าทำได้จริงแหละ
หรือถ้ามันจะทำไม่ได้จริงๆก็ไม่รู้หรอกนะ คงต้องถือตามศาลท่าน(ถ้ามีคดี)
ผมมองว่า"ความสำเร็จ"อีกข้อใหญ่ของเหตุการณ์คราวนี้ คือ สร้างawarenessในวงกว้าง อย่างเข้ม ทั้งฝ่ายคนเมืองและคนชนบท (คหสต.มองว่าต่างจากสมัยปี49,53 และไม่มีปืนแบบสมัยปี16,19,35) ในเมื่อคนที่อยากเลือกตั้งไวๆก็มีกันเยอะ ไม่น่าจะสร้างเหตุขัดเคืองใจกันเพิ่มขึ้นอีก
==========
ส่วนตัว คิดว่า สภาปชช.เกิดได้ไม่ต้องแก้รธน. พร้อมกับเดินหน้าเลือกตั้งด้วยระบบเดิม เริ่มได้วันนี้เลย
==========
ด้วยความรู้กฎหมายแบบมือสมัครเล่น ผมมองบนหลักกฎหมายพื้นฐานอันนึง คือ สัญญาหรือการตกลงใดๆ แม้ไม่ตรงกับกฎหมายบัญญัติ ถ้าไม่ขัดศีลธรรมไม่ทำวุ่นวาย คู่กรณีเห็นพ้อง ทำได้ทั้งนั้น มีผลผูกพัน
แค่เราทั้งหลายรับปากกันให้สัญญาประชาคมให้พันธะผูกพันกันไว้หรือจะเรียกชื่อว่าอะไรก็ช่าง(ขอเรียกว่า"สัญญาใจ") ว่า เลือกตั้งแล้วผู้ชนะจะเป็น"เจ้าภาพ"จัดให้เกิดสภาปชช. มีหน้าที่จัดเวทีต่างๆเพื่อเสนอและเกลาร่างรธน.&กฎหมายด้านปกครองกันไป1...,2...,3...,... ให้รัฐบาลบริหารไปทำไปเจี๊ยะไป ซักไม่เกิน1ปี(หรือยาวกว่าแต่อย่าเยอะนักเลย)
ได้ร่างในนามความต้องการของปชช.แล้วก็เอาไปประชามติ(พร้อมกับม.291ถ้าอยากจะให้มีสสร.) เมื่อผ่านจึงแก้รธน.ได้ จะแบบรายมาตราหรือแบบสสร.ก็แล้วแต่
ถ้าทำสำเร็จ ผ่านประชามติ ก็ให้รัฐบาลได้สิทธิอยู่ครบเทอม4ปี(รธน.50) และทำต่อให้จบ
ถ้าไม่สำเร็จ ก็ลาออกสลับขั้ว หรือยุบ&เลือกตั้งใหม่ แนวทางเดิม
ถ้าดื้อไม่ยอมออกเอง ก็ให้ศาลบังคับได้ตามสัญญาใจ ถ้ายังดื้อไม่ไปก็ต้องม็อบไล่(ถูกกฎหมายตามสัญญาใจไม่ต้องตีความ)
ถ้าเตะถ่วงก็ได้แค่เต็มที่1ปี ถ้าฝ่ายตรงข้ามเตะถ่วงเดี๋ยวคนก็เลือกขั้วเดิมกลับมา(หวังว่างั้นน๊ะ) หรืออาจเพิ่มกฎchallengeแบบอเมกันฟุตบอลไว้ด้วย(อันนี้น่าใช้ตอนประชุมสภาด้วยครับ)
ข้อดี คือ ต้องรีบทำงาน ไม่งั้นอดอยู่ครบเทอม, สส.อายุน่าจะสั้น คงไม่ทุ่มเงินแย่งกันนักหรอก ช้างเผือกอาจได้โอกาส
จุดบอด ถ้าเจอป๋ากัดฟันเหมาซื้อทุกปีรวด(จะซื้อสดหรือซื้อด้วยนโยบายก็แล้วแต่เขา) ก็เจี๊ยะรอบวงอยู่ดี คงต้องยอม เพราะถ้าปล่อยจนขนาดนั้นแปลว่าปชช.ชุ่ยเองแล้ว
ส่วนเรื่องเฉพาะหน้า ตอนนี้ บางคนมองว่ากฎหมายคือเครื่องมือไปสู่เป้าหมาย(หวังดีvsหวังชั่ว) บางคนมองว่ากฎหมายคือชีวิต(หลักการvsยึดติด) ก็ต้องชั่งน้ำหนัก trade-offกันดู
แบบโหดก็ไล่ปูต่อ หรือกกต.ลาออก หรือสว.ลาออก แต่มันจะสร้างความขัดแย้งต่อไปอีกแหละ
แบบอะลุ้มอะล่วย(สะกดยังไง?)ก็ชั่วคราวไม่ถึง2เดือนนี้ให้"ตั้ง"คณะที่ปรึกษา(ไม่แคล้วตัวแทนกปปส.)ให้ร่วมกับครม.ทำงานไป ช่วงรักษาการมีอำนาจไม่เต็ม สัญญาใจกันไม่ถึง2เดือนเอง คงไม่ทันออกลายอีกรอบหรอก
[ส่วนที่เหลือข้างล่างนี้ไม่ใช่สาระปัจจุบันครับ แค่พิมพ์ไว้มันส์มือ]
แนวทาง
-เลือกนายก,ผู้ว่าฯ โดยตรง ไม่เกี่ยวกับสภา นายกตั้งครม.มาบริหาร ผู้ชนะอันดับ2ตั้งครม.เงาเพื่อร่วมสอดส่องติดตามข้อมูล(ไม่มีอำนาจบริหาร)
-สส./สว. วาระ4ปีเหมือนเดิมก็ได้ แต่จัดระบบrotationรายปี คือให้หมดอายุไล่กันไปแล้วเลือกมาแทนที่เรื่อยๆ ได้ถ่ายเลือดทีละน้อย เสียเวลาเลือกตั้งกันบ่อยหน่อยแต่ก็ไม่ถี่กว่าที่เป็นอยู่เดิมเท่าไหร่หรอก
เช่น ให้มีสส.รวม400คน แต่เลือกจริงปีละ100คน(จังหวัด+ปาร์ตี้) แต่ข้อเสียคือทุกครั้งที่เริ่มสภาใหม่หรือยุบสภา(จะด้วยเหตุใดก็ตามไม่ใช่อำนาจของนายกแล้ว)ก็จะต้องเลือกตั้งbig-lotเต็มสภา แล้วช่วง3ปีแรกต้องมีการบังคับออกปีละ100คน
แต่ยังไม่ได้นึกถึงว่าจะจำนวนเท่าไร หรือสัดส่วนปาร์ตี้ลิสท์&แบ่งเขตยังไงดี จะเขตใหญ่หรือเขตเล็กดี ?
-กก.อิสระ สรรหาหรือเลือกตั้งทางอ้อมเหมือนรธน.50 แต่ให้มีการทยอยแทนที่ ทำนองเดียวกัน
-สภาท้องถิ่น ทำนองเดียวกัน
-สภาปชช. ถ้าจะมี ช่วงแรกนี้ก็ไม่ต้องแก้รธน.50ด้วย แค่กำหนดด้วยกฎหมายระดับรอง(แต่ถ้าเจอรัฐบาลโจรก็อาจจะหักดิบหรือส่งให้ศาลรธน.ฉีก)หรือสัตยาบัน(ที่ฉีกกันเองง่ายๆ) ต้องวัดใจ ถ้าปฏิรูปแล้วจะระบุจัดตั้งไว้ในรธน.ก็ว่ากันอีกที
ให้สภาปชช.เป็นองค์กรที่ปรึกษา(คล้ายสภาพัฒน์ฯหรือกฤษฎีกาแหละ)เสนอร่างกม.ได้/นโยบายได้/vetoได้/ถอดถอนได้ เป็นครั้งคราว โดยต้องขอเสียงปชช.ให้มากพอ คือสภาเป็นตัวแทนดำเนินการ/ธุรการ จัดการให้ปชช.ใช้อำนาจโดยตรงได้แรงขึ้น แต่ต้องใช้คนมากขึ้น(เดิม20000คน มีแค่สิทธิเสนอเรื่องเข้ารัฐสภา)
โดยรัฐสภา&รัฐบาลต้องมีพันธะผูกพันต่อมติของสภาปชช.ในดีกรีที่มากหน่อย คือต้องอนุมัติไปตามสภาปชช. แต่ก็ยังvetoกลับได้บ้าง คือแทนที่รัฐสภาจะลงมติเห็นชอบด้วยเสียงกึ่งหนึ่งแบบปกติก็เปลี่ยนมาเป็นการลงมติปฏิเสธด้วยเสียงกึ่งหนึ่งแทน
ที่มาก็คล้ายสว. (หรืออาจแทนที่สว.ซะเลย)
การตรวจสอบ ก็คล้ายรธน.50ครับ
-สส.สว. ผู้พิพากษา อัยการ ขรก.ซีสูง ศาลรธน.กกต.ปปช.ฯลฯ ก็โดนถอดถอนได้เหมือนเดิม เสียง3ใน5
-เพิ่มการถอดถอนโดยสภาปชช. ให้ปชช.โหวตถอดถอนเองโดยตรง ก็ว่าตั้งคูณเข้าไปโดยเทียบกับ จำนวนมือสว. x คะแนนเสียงเฉลี่ยต่อ1สว.
อยากอ่านแนวทางของท่านๆบ้างครับ
ขอโทษ ถ้าความเห็นหลายๆอย่างอาจไม่ถูกต้องหรือน่าตำหนิในความอ่อนด้อยความรู้&ประสบการณ์ครับ
ขอโทษล่วงหน้า ถ้าอาจจะไม่ได้เข้ามาเฝ้ากระทู้ครับ
ขอบคุณสำหรับพื้นที่ที่ให้แชร์ความคิดเห็น
Edited by temp, 15 December 2013 - 00:45.