Jump to content


Photo
- - - - -

ข้อสงสัยที่มีต่อ "กปปส." ... คุณมีสถานะเหนือ รธน. หรือไม่ ?


  • Please log in to reply
23 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 18:50

เพื่อนผมเอาความเห็นจาก fb ของ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย จากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เจอมาเลยแปะให้สมาชิกได้ดูสักหน่อย 

 

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "กปปส." สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่
๑. คุณมีสถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจคุณออกประกาศเพื่อไปชี้ว่าสถานะของบุคคลและการกระทำของผู้อื่นเป็นโมฆะ?
๓. คุณมีอำนาจเหนือกว่า หรือเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากคุณได้ทำการวินิจฉัยข้อกฎหมายแล้วตัดสินว่าการกระทำนั้นๆ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ขนาดศาลรัฐธรรมนูญเองยังไม่กล้าชี้ชัดผ่านคำวินิจฉัยเลย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. คุณมีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการวางกฎเกณฑ์การปกครองของประเทศโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?

 

 

 J6EXYP.jpg

 

 

ลองดู ใครใคร่จะตอบก็ตอบนะครับ แต่อ่านคำถามผ่านๆ เหมือนจะรักในสิ่งที่ตัวเองเกลียด คือรัฐธรรมนูญผลไม้พิษ 2550 

 

กปปส. พยายามจะปฏิวัติรูปแบบใหม่โดยดัดแปลงจากการทำรัฐประหารโดยทหาร แต่นี้ประชาชนทำ เลยเป็นเรื่องใหม่ที่น่าคิด

 

กปปส.ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ถ้าฉีกก็กบฏแล้ว

 

 

อ้อ ..... เพื่อนคนเดียวกันนี้โพสต์ในเฟซบุ๊คมันว่า

ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ไม่มีคำว่า มวลมหาประชาชน มีแต่ ปวงชนชาวไทย 


Edited by อู๋ ฮานามิ, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:12.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#2 Bot V Mask

Bot V Mask

    ตัว V อยู่กลางหน้าผาก

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,185 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 18:56

ถามกลับข้อเดียว ศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญชี้ว่าไอ้ที่ทำเนี่ยมันผิด  ท่านยอมรับรึเปล่าครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แต่ผมจำได้นะว่าไอ้คนที่ศาลบอกว่าทำผิดเนี่ย  ยังมาท้าศาลอยู่เหยงๆ ว่าศาลไม่มีอำนาจ :D


Edited by Bot V Mask, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 18:58.


#3 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 18:57

ตอบทั้ง 4 ข้อ เป็นแค่ประชาชนครับ ที่เสียภาษีให้รัฐฯนำไปเป็นงบประมาณจ่ายเงินเดือนผู้ที่เป็นข้าราชการ

 

ประชาชนที่เลือกตัวแทนไปทำหน้าที่แทนตัวเอง แต่เมื่อตัวแทนทำในสิ่งที่ชั่วร้ายก็รวมตัวมาขับไล่ออกไป

 

ประชาชนที่มีสำนึกในผิดชอบชั่วดี โดยไม่ต้องอาศัยตำราใดๆ  :)


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#4 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:19

*
POPULAR

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่

๑. รัฐบาลยิ่งลักษณ์สถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออกประกาศเพื่อไปชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย?
๓. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือกว่า หรือบทบาทเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำการวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นๆของศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#5 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:25

ข้อเสนอเฉพาะกิจวาาด้วยขั้นตอนการคืนอำนาจประชาชน

1. รัฐบาลขาดความชอบธรรมทั้งทางกฎหมายและทางการเมือง

2. มวลมหาประชาชนใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69 และ มาตรา 3 เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญและทวงอำนาจอธิปไตยกลับคืนมา

3.การเปิดประตูแห่งโอกาส
3.1 รัฐบาลและส.ส.พรรครัฐบาลลาออกทั้งหมด จากนั้น ส.ส. พรรคฝ่ายค้านทั้งหมดก็ลาออกตาม และสว.ที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญก็ลาออกตาม
ในรัฐสภาก็จะเหลือเพียง สว.ส่วนหนึ่งซึ่งมีประม...าณ 90 กว่าคนที่ยังปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่ ซึ่งทำให้เกิดสูญญากาศอำนาจในฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
หรือ
3.2 รัฐบาลยุบสภา และจากนั้นก็ลาออก รวมทั้ง สว.ที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญก็ลาออกตาม ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะสูญญากาศเช่นเดียวกันกับข้อ 3.1

4. การสถาปนาอำนาจชั่วคราว
ภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วย กปปส. และตัวแทนกลุ่มต่างๆร่วมกับ สว.ที่เหลืออยู่ปรึกษาหารือ เพื่อเสนอชื่อนายกชั่วคราว โดยอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 7 และยกเว้นการใช้รัฐธรรมนูญมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่ระบุว่า นายกต้องมาจาก ส.ส. และ ประธานรัฐสภาเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ รวมทั้งหมวดว่าด้วย สมาชิกสภาผู้แทน กกต. และมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการเปิดทางในการปฏิรูปด้วยเอาไว้ก่อน
ผู้ที่ได้รับการเสนอเป็นนายกจะต้องได้รับการยอมรับจากสังคม และประธานวุฒิสภาที่เลือกกันใหม่เป็นผู้รับสนองราชโองการ

5. จากนั้นแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมในหมวดบทเฉพาะกาล จัดตั้งสภาประชาชน ให้ทำหน้าที่เสมือนสภาผู้แทนราษฎร

6 ฝ่ายบริหารและสภาประชาชนตลอดจนวุฒิสภาที่เหลืออยู่ เริ่มกระบวนการปฏิรูปโดยใช้เวลาประมาณสองปี โดยการแก้กฎหมายให้การทุจริตไม่มีอายุความ แก้โครงสร้างตำรวจ รวมทั้งแก้รัฐธรรมนูญหลายมาตราที่จำเป็นต่อการปฏิรูป เช่นว่าด้วยที่มาของส.ส.และ สว. ว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อให้หลุดพ้นจากการครอบงำของนายทุนเจ้าของพรรค เป็นต้น

7 การดำเนินงานนี้ใช้เวลา 2-3 ปี จากนั้นให้ใช้รัฐธรรมนูญที่ปรับปรุงใหม่
 
ขณะนี้มวลมหาประชาชน ยังอยู่ขั้นตอนที่ 3 อยู่ รอรัฐบาลรักษาการลาออกอยู่ ไอ้บ้านี่ มันโง่จริง หรือ พยายามทำให้ไขว้เขวกันแน่  พวกอีปูมันรู้ว่า จะเดินต่อไม่ได้ ถ้ามันไม่ลาออก มันจึงยื้อ จนถึงที่สุด

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#6 Ox3

Ox3

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 5 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:31

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่

๑. รัฐบาลยิ่งลักษณ์สถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออกประกาศเพื่อไปชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย?
๓. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือกว่า หรือบทบาทเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำการวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นๆของศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?

24 พ.ย. 2556 - เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติราษฎร์จัดงานแถลงข่าวเพื่อเสนอความคิดเห็นทางวิชาการ ต่อกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
 
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 ศาลธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยคณะนิติราษฎร์เห็นว่า "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบควบคุมกระบวนการตลอดจนเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าตรวจสอบควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ปราศจากอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่กลับสถาปนาอำนาจดังกล่าวขึ้นมาเอง จึงเป็นการขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง จนก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด"
 
"แม้คณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ก็ตาม แต่โดยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงทัศนคติทางการเมืองผ่าน “คำวินิจฉัย” ต่อสาธารณชน ซึ่งเนื้อหาใน “คำวินิจฉัย” อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจนส่งผลร้ายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ จึงจำเป็นที่คณะนิติราษฎร์ต้องจัดแถลงข่าวเพื่อเสนอความเห็นทางวิชาการต่อ “คำวินิจฉัย” ดังกล่าว" ส่วนหนึ่งของประกาศจากคณะนิติราษฎร์ระบุ
 
ทั้งนี้ในการแถลงข่าว วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์กล่าวในการแถลงว่า ผลของการวินิจฉัยมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการสถาปนาอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง มีการตีความอย่างกว้างขวาง ไม่ชอบด้วยหลักการตรวจสอบถ่วงดุล และไม่ชอบด้วยหลักการจัดโครงสร้างรัฐ ถ้าปล่อยให้การตีความมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมเป็นแบบนี้ก็เป็นการปล่อยให้เขตอำนาจขยายไปเรื่อย เชื่อว่าจะมีคนมาร้องศาลรัฐธรรมนูญตลอดเวลา เพราะมีคนพร้อมจะทำเช่นนั้นอยู่แล้วในทุกเรื่อง ศาลจะมีอำนาจในการรับคดีต่างๆ มาพิจารณาคดีเต็มไปหมด กลายเป็น "ซูเปอร์องค์กร" เป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรทั้งปวง และศาลนั้นแม้จะเกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่โดยผลของการใช้กฎหมายแบบนี้จะกลับเป็นคนที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญเอง มันจะเกิดสภาพวิปลาส ผิดเพี้ยนไปหมด มีผลรุนแรงทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยลง ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด โดยความร้ายแรงแบบนี้เองที่ทำให้เราต้องยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมาย
 
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ได้วิจารณ์ในส่วนของคำวินิจฉัยของศาลในเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยศาลชี้ว่าจะทำให้เกิดการไม่สมดุล เป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัวหรือสภาผัวเมียทำให้สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญาให้กับสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทำลายสาระสำคัญของการมีสองสภา
 
"ศาลเข้ามาใช้อำนาจชี้นำการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองเป็นกรณีที่ศาลกระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของศาลและการมีวุฒิสภาในประเทศอื่นในโลกที่เป็นประชาธิปไตยก็ล้วนมาจากการเลือกตั้งการที่ศาลอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยก็ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย"
 
"ส่วนการมีเจตจำนงให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งเป็นการถาวรตลอดไปก็ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291"
 
ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า การพยายามมาแตะเรื่องเนื้อหาเพราะว่าการแก้ไข ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อวางหลักไว้ว่าจะไม่มีใครสามารถมาเสนอเรื่องแบบนี้ได้อีกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายแดนของบทบัญญัติที่ห้ามแก้ไขออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ตามรธน.มีแค่ 2 เรื่องเท่านั้นที่แก้ไม่ได้ คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องรูปของรัฐ
 
ถ้าเห็นด้วยกับ ส.ว. แต่งตั้งก็ไปร่วมรณรงค์กับเสียงข้างน้อยเพื่อโน้มน้าวให้เสียงข้างมากเห็นด้วย ไม่ใช่เอาทัศนคติตัวเองไปลงไว้ในคำวินิจฉัย ซึ่งปิยบุตรย้ำอีกครั้งส่า ส.ว. แต่งตั้งเป็นมรดกตกทอดจากการรัฐประหาร
 
ทั้งนี้วรเจตน์ปิดท้ายการแถลงข่าวโดยสรุปว่า หลังจากนี้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า แม้คำวินิจฉัยจะมีปัญหาร้ายแรงตามที่วิพากษ์วิจารณ์มา แต่หากไม่ทำตาม ไม่ยอมรับ บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป จะทำอย่างไรกันต่อไป
 
“เราจะยอมถูกกดขี่โดยคำวินิจฉัยไปชั่วกัลปาวสานหรือ นี่มันไม่ใช่หลักนิติธรรม ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย” วรเจตน์กล่าวพร้อมระบว่าอาจมีคนอ้างมาตรา 206 วรรค 5 ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร แต่วรเจตน์เห็นว่ากรณีนี้โมฆะ เนื่องจากคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเอง ในทางกฎหมายต้องถือเป็นโมฆะ บังคับองค์กรของรัฐไม่ได้ แต่ถามว่าจะเกิดวิกฤตไหม เกิดวิกฤตแน่นอน
 
ในส่วนของผลทางกฎหมาย คำวินิจฉัยนี้ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร ระหว่างนี้มีคนบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญ นี้ตกไปแล้ว แต่ถามว่าตกไปจากไหน ตอบไม่ได้ กระบวนการขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลก็ไม่ได้บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป เพราะเขาไม่มีอำนาจจะบอกได้ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธย จะสั่งกษัตริย์ให้ไม่ลงพระปรมาภิไธยก็ไม่ได้ มาตรา 68 ก็ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นการชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ดังนั้นขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และหากกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าไม่ทรงวงพระปรมาภิไธย ก็ถือว่าทรงใช้อำนาจวีโต้ สภาก็ต้องมาปรึกษากัน ถ้าลงมติยืนยันไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ตกไป แต่ถ้าลงคะแนนถึง 2 ใน 3 ก็ต้องยืนยันทูลเกล้าฯ อีกครั้ง และครั้งนี้หากพ้น 60 วันก็ประกาศเป็นกฎหมายต่อไปได้


#7 kokkai

kokkai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,237 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:31

นักกฎหมายหลายคน เขาอธิบายทีเวที หลายคนที่มีความรู้และประสพการณ์มากกว่า ดร.คนนี้หลายเท่า

 

ถ้าเขาไม่ใส่ใจจะฟัง ผมว่าไม่จำเป็นต้องอธิบายเพื่อนคุณหรอกครับ บอกให้ดร.ไปฟังเอาเองดีกว่า

 

คนบางคนไร้ค่าเกินจะเสวนาด้วย



#8 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:35

 

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่

๑. รัฐบาลยิ่งลักษณ์สถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออกประกาศเพื่อไปชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย?
๓. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือกว่า หรือบทบาทเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำการวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นๆของศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?

24 พ.ย. 2556 - เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติราษฎร์จัดงานแถลงข่าวเพื่อเสนอความคิดเห็นทางวิชาการ ต่อกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
 
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 ศาลธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยคณะนิติราษฎร์เห็นว่า "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบควบคุมกระบวนการตลอดจนเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าตรวจสอบควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ปราศจากอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่กลับสถาปนาอำนาจดังกล่าวขึ้นมาเอง จึงเป็นการขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง จนก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด"
 
"แม้คณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ก็ตาม แต่โดยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงทัศนคติทางการเมืองผ่าน “คำวินิจฉัย” ต่อสาธารณชน ซึ่งเนื้อหาใน “คำวินิจฉัย” อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจนส่งผลร้ายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ จึงจำเป็นที่คณะนิติราษฎร์ต้องจัดแถลงข่าวเพื่อเสนอความเห็นทางวิชาการต่อ “คำวินิจฉัย” ดังกล่าว" ส่วนหนึ่งของประกาศจากคณะนิติราษฎร์ระบุ
 
ทั้งนี้ในการแถลงข่าว วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์กล่าวในการแถลงว่า ผลของการวินิจฉัยมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการสถาปนาอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง มีการตีความอย่างกว้างขวาง ไม่ชอบด้วยหลักการตรวจสอบถ่วงดุล และไม่ชอบด้วยหลักการจัดโครงสร้างรัฐ ถ้าปล่อยให้การตีความมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมเป็นแบบนี้ก็เป็นการปล่อยให้เขตอำนาจขยายไปเรื่อย เชื่อว่าจะมีคนมาร้องศาลรัฐธรรมนูญตลอดเวลา เพราะมีคนพร้อมจะทำเช่นนั้นอยู่แล้วในทุกเรื่อง ศาลจะมีอำนาจในการรับคดีต่างๆ มาพิจารณาคดีเต็มไปหมด กลายเป็น "ซูเปอร์องค์กร" เป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรทั้งปวง และศาลนั้นแม้จะเกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่โดยผลของการใช้กฎหมายแบบนี้จะกลับเป็นคนที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญเอง มันจะเกิดสภาพวิปลาส ผิดเพี้ยนไปหมด มีผลรุนแรงทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยลง ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด โดยความร้ายแรงแบบนี้เองที่ทำให้เราต้องยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมาย
 
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ได้วิจารณ์ในส่วนของคำวินิจฉัยของศาลในเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยศาลชี้ว่าจะทำให้เกิดการไม่สมดุล เป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัวหรือสภาผัวเมียทำให้สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญาให้กับสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทำลายสาระสำคัญของการมีสองสภา
 
"ศาลเข้ามาใช้อำนาจชี้นำการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองเป็นกรณีที่ศาลกระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของศาลและการมีวุฒิสภาในประเทศอื่นในโลกที่เป็นประชาธิปไตยก็ล้วนมาจากการเลือกตั้งการที่ศาลอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยก็ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย"
 
"ส่วนการมีเจตจำนงให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งเป็นการถาวรตลอดไปก็ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291"
 
ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า การพยายามมาแตะเรื่องเนื้อหาเพราะว่าการแก้ไข ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อวางหลักไว้ว่าจะไม่มีใครสามารถมาเสนอเรื่องแบบนี้ได้อีกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายแดนของบทบัญญัติที่ห้ามแก้ไขออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ตามรธน.มีแค่ 2 เรื่องเท่านั้นที่แก้ไม่ได้ คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องรูปของรัฐ
 
ถ้าเห็นด้วยกับ ส.ว. แต่งตั้งก็ไปร่วมรณรงค์กับเสียงข้างน้อยเพื่อโน้มน้าวให้เสียงข้างมากเห็นด้วย ไม่ใช่เอาทัศนคติตัวเองไปลงไว้ในคำวินิจฉัย ซึ่งปิยบุตรย้ำอีกครั้งส่า ส.ว. แต่งตั้งเป็นมรดกตกทอดจากการรัฐประหาร
 
ทั้งนี้วรเจตน์ปิดท้ายการแถลงข่าวโดยสรุปว่า หลังจากนี้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า แม้คำวินิจฉัยจะมีปัญหาร้ายแรงตามที่วิพากษ์วิจารณ์มา แต่หากไม่ทำตาม ไม่ยอมรับ บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป จะทำอย่างไรกันต่อไป
 
“เราจะยอมถูกกดขี่โดยคำวินิจฉัยไปชั่วกัลปาวสานหรือ นี่มันไม่ใช่หลักนิติธรรม ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย” วรเจตน์กล่าวพร้อมระบว่าอาจมีคนอ้างมาตรา 206 วรรค 5 ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร แต่วรเจตน์เห็นว่ากรณีนี้โมฆะ เนื่องจากคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเอง ในทางกฎหมายต้องถือเป็นโมฆะ บังคับองค์กรของรัฐไม่ได้ แต่ถามว่าจะเกิดวิกฤตไหม เกิดวิกฤตแน่นอน
 
ในส่วนของผลทางกฎหมาย คำวินิจฉัยนี้ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร ระหว่างนี้มีคนบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญ นี้ตกไปแล้ว แต่ถามว่าตกไปจากไหน ตอบไม่ได้ กระบวนการขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลก็ไม่ได้บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป เพราะเขาไม่มีอำนาจจะบอกได้ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธย จะสั่งกษัตริย์ให้ไม่ลงพระปรมาภิไธยก็ไม่ได้ มาตรา 68 ก็ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นการชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ดังนั้นขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และหากกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าไม่ทรงวงพระปรมาภิไธย ก็ถือว่าทรงใช้อำนาจวีโต้ สภาก็ต้องมาปรึกษากัน ถ้าลงมติยืนยันไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ตกไป แต่ถ้าลงคะแนนถึง 2 ใน 3 ก็ต้องยืนยันทูลเกล้าฯ อีกครั้ง และครั้งนี้หากพ้น 60 วันก็ประกาศเป็นกฎหมายต่อไปได้

 

 

เค้าถาม วัว เ-สืือกตอบควาย

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#9 mebeam

mebeam

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 775 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:38

หลังคำสั่งของ กปปส. ที่2/2556  นายกและรัฐบาลรักษาการเป็นกบฎก็สิ้นสภาพไปแล้วครับ ไม่ต้องรอให้ลาออก

 

ผมว่าพรุ่งนี้ท่านเลขา สุเทพ ไปราชวังยื่นรายชื่อแต่งตั้งนายกเลยครับ :D


  • Ox3 likes this
Fear can hold you prisoner. Hope can set you free.

#10 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:54

 

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่

๑. รัฐบาลยิ่งลักษณ์สถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออกประกาศเพื่อไปชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย?
๓. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือกว่า หรือบทบาทเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำการวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นๆของศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?

24 พ.ย. 2556 - เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติราษฎร์จัดงานแถลงข่าวเพื่อเสนอความคิดเห็นทางวิชาการ ต่อกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
 
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 ศาลธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยคณะนิติราษฎร์เห็นว่า "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบควบคุมกระบวนการตลอดจนเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าตรวจสอบควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ปราศจากอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่กลับสถาปนาอำนาจดังกล่าวขึ้นมาเอง จึงเป็นการขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง จนก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด"
 
"แม้คณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ก็ตาม แต่โดยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงทัศนคติทางการเมืองผ่าน “คำวินิจฉัย” ต่อสาธารณชน ซึ่งเนื้อหาใน “คำวินิจฉัย” อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจนส่งผลร้ายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ จึงจำเป็นที่คณะนิติราษฎร์ต้องจัดแถลงข่าวเพื่อเสนอความเห็นทางวิชาการต่อ “คำวินิจฉัย” ดังกล่าว" ส่วนหนึ่งของประกาศจากคณะนิติราษฎร์ระบุ
 
ทั้งนี้ในการแถลงข่าว วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์กล่าวในการแถลงว่า ผลของการวินิจฉัยมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการสถาปนาอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง มีการตีความอย่างกว้างขวาง ไม่ชอบด้วยหลักการตรวจสอบถ่วงดุล และไม่ชอบด้วยหลักการจัดโครงสร้างรัฐ ถ้าปล่อยให้การตีความมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมเป็นแบบนี้ก็เป็นการปล่อยให้เขตอำนาจขยายไปเรื่อย เชื่อว่าจะมีคนมาร้องศาลรัฐธรรมนูญตลอดเวลา เพราะมีคนพร้อมจะทำเช่นนั้นอยู่แล้วในทุกเรื่อง ศาลจะมีอำนาจในการรับคดีต่างๆ มาพิจารณาคดีเต็มไปหมด กลายเป็น "ซูเปอร์องค์กร" เป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรทั้งปวง และศาลนั้นแม้จะเกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่โดยผลของการใช้กฎหมายแบบนี้จะกลับเป็นคนที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญเอง มันจะเกิดสภาพวิปลาส ผิดเพี้ยนไปหมด มีผลรุนแรงทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยลง ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด โดยความร้ายแรงแบบนี้เองที่ทำให้เราต้องยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมาย
 
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ได้วิจารณ์ในส่วนของคำวินิจฉัยของศาลในเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยศาลชี้ว่าจะทำให้เกิดการไม่สมดุล เป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัวหรือสภาผัวเมียทำให้สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญาให้กับสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทำลายสาระสำคัญของการมีสองสภา
 
"ศาลเข้ามาใช้อำนาจชี้นำการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองเป็นกรณีที่ศาลกระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของศาลและการมีวุฒิสภาในประเทศอื่นในโลกที่เป็นประชาธิปไตยก็ล้วนมาจากการเลือกตั้งการที่ศาลอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยก็ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย"
 
"ส่วนการมีเจตจำนงให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งเป็นการถาวรตลอดไปก็ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291"
 
ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า การพยายามมาแตะเรื่องเนื้อหาเพราะว่าการแก้ไข ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อวางหลักไว้ว่าจะไม่มีใครสามารถมาเสนอเรื่องแบบนี้ได้อีกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายแดนของบทบัญญัติที่ห้ามแก้ไขออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ตามรธน.มีแค่ 2 เรื่องเท่านั้นที่แก้ไม่ได้ คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องรูปของรัฐ
 
ถ้าเห็นด้วยกับ ส.ว. แต่งตั้งก็ไปร่วมรณรงค์กับเสียงข้างน้อยเพื่อโน้มน้าวให้เสียงข้างมากเห็นด้วย ไม่ใช่เอาทัศนคติตัวเองไปลงไว้ในคำวินิจฉัย ซึ่งปิยบุตรย้ำอีกครั้งส่า ส.ว. แต่งตั้งเป็นมรดกตกทอดจากการรัฐประหาร
 
ทั้งนี้วรเจตน์ปิดท้ายการแถลงข่าวโดยสรุปว่า หลังจากนี้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า แม้คำวินิจฉัยจะมีปัญหาร้ายแรงตามที่วิพากษ์วิจารณ์มา แต่หากไม่ทำตาม ไม่ยอมรับ บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป จะทำอย่างไรกันต่อไป
 
“เราจะยอมถูกกดขี่โดยคำวินิจฉัยไปชั่วกัลปาวสานหรือ นี่มันไม่ใช่หลักนิติธรรม ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย” วรเจตน์กล่าวพร้อมระบว่าอาจมีคนอ้างมาตรา 206 วรรค 5 ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร แต่วรเจตน์เห็นว่ากรณีนี้โมฆะ เนื่องจากคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเอง ในทางกฎหมายต้องถือเป็นโมฆะ บังคับองค์กรของรัฐไม่ได้ แต่ถามว่าจะเกิดวิกฤตไหม เกิดวิกฤตแน่นอน
 
ในส่วนของผลทางกฎหมาย คำวินิจฉัยนี้ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร ระหว่างนี้มีคนบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญ นี้ตกไปแล้ว แต่ถามว่าตกไปจากไหน ตอบไม่ได้ กระบวนการขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลก็ไม่ได้บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป เพราะเขาไม่มีอำนาจจะบอกได้ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธย จะสั่งกษัตริย์ให้ไม่ลงพระปรมาภิไธยก็ไม่ได้ มาตรา 68 ก็ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นการชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ดังนั้นขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และหากกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าไม่ทรงวงพระปรมาภิไธย ก็ถือว่าทรงใช้อำนาจวีโต้ สภาก็ต้องมาปรึกษากัน ถ้าลงมติยืนยันไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ตกไป แต่ถ้าลงคะแนนถึง 2 ใน 3 ก็ต้องยืนยันทูลเกล้าฯ อีกครั้ง และครั้งนี้หากพ้น 60 วันก็ประกาศเป็นกฎหมายต่อไปได้

 

 

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "นิติราษฎร์" สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่

๑. นิติราษฎร์สถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจนิติราษฎร์เพื่อไปชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย?
๓. นิติราษฎร์มีสถานะเหนือกว่า หรือบทบาทเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากนิติราษฎร์ได้ทำการวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นๆของศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. นิติราษฎร์มีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#11 Chet

Chet

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 305 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:54

เพื่อนผมเอาความเห็นจาก fb ของ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย จากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เจอมาเลยแปะให้สมาชิกได้ดูสักหน่อย 

 

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "กปปส." สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่
๑. คุณมีสถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจคุณออกประกาศเพื่อไปชี้ว่าสถานะของบุคคลและการกระทำของผู้อื่นเป็นโมฆะ?
๓. คุณมีอำนาจเหนือกว่า หรือเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากคุณได้ทำการวินิจฉัยข้อกฎหมายแล้วตัดสินว่าการกระทำนั้นๆ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ขนาดศาลรัฐธรรมนูญเองยังไม่กล้าชี้ชัดผ่านคำวินิจฉัยเลย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. คุณมีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการวางกฎเกณฑ์การปกครองของประเทศโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?

 

 

 J6EXYP.jpg

 

 

ลองดู ใครใคร่จะตอบก็ตอบนะครับ แต่อ่านคำถามผ่านๆ เหมือนจะรักในสิ่งที่ตัวเองเกลียด คือรัฐธรรมนูญผลไม้พิษ 2550 

 

กปปส. พยายามจะปฏิวัติรูปแบบใหม่โดยดัดแปลงจากการทำรัฐประหารโดยทหาร แต่นี้ประชาชนทำ เลยเป็นเรื่องใหม่ที่น่าคิด

 

กปปส.ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ถ้าฉีกก็กบฏแล้ว

 

 

อ้อ ..... เพื่อนคนเดียวกันนี้โพสต์ในเฟซบุ๊คมันว่า

ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ไม่มีคำว่า มวลมหาประชาชน มีแต่ ปวงชนชาวไทย 

 

รบกวนท่านหารัฐธรรมนูญให้เพื่อนท่านอ่านครับ  ถามว่าชอบทักสินใช่ใหม มองไม่เห็นข้อเสียใช่ใหม เผา สั่งยิงพวกดียวกัน โกง นิรโทษกรรมคนผิด ไม่รับคําสั่งศาล รับได้เหรอ โอเค เเต่เราคิดต่าง เเละมันก็เป็นเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของเอ็ง

 

ถ้าให้ดีเลิกคบไอ้นี่เถอะครับ ชีวิตท่านไม่ควรทีาจะตกอับรู้จักคนไร้สมอง

 

มวล กับ ปวงก็ไม่ได้มีความหมายที่ต่างกันมาก เเต่การใช้มวลมหาเป็นเเค่ตราสัญญลักณ์ของคูณสุเทพ

 

เท่าที่ผมติดตามข่าว พวกนี้กลัวคําว่ามวลมหาประชาชน เพราะมันดูเยอะ เเละก็ออกมากันเยอะตามชื่อ ซึ่งทําให้พวกมันกลัวจน shit blast

ของพวกมันออกมาโหรงเหรง เเนวร่วมหาย มันก็เลยพยายามหาเหตุผลงี่เง่ามาอ้าง



#12 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:57

อาจารย์คนนี้แมร่มบ้า สอนลูกศิษย์แบบศรีธนญชัยได้ไๆง

 

ตอนเสียประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ  ก็ประกาศแก้รัฐธรรมนูญ ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

แต่พอได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ  ก็ประกาศความรักรัฐธรรมนูญ อ้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาทันที

 

 

โคตรพ่องงงงงงงงงงงงงโตรแม้งงงงงงงจริงๆ :angry:


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#13 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:58

 

ผมมีข้อสงสัยเป็นอันมากกับ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" สำหรับวันนี้ "วันรัฐธรรมนูญ" ได้แก่

๑. รัฐบาลยิ่งลักษณ์สถานะใดในทางกฎหมาย?
๒. กฎหมายฉบับใดและมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออกประกาศเพื่อไปชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย?
๓. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือกว่า หรือบทบาทเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ทำการวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นๆของศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย? 
และข้อสุดท้ายนี้ที่ผมสงสัยมากที่สุดสำหรับวันรัฐธรรมนูญนี้คือ...
๔. รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีสถานะเหนือ "กฎหมายสูงสุดของประเทศ" อย่าง "รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ในการไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่จำต้องดูกฎกติกาที่มีอยู่เลย?

24 พ.ย. 2556 - เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติราษฎร์จัดงานแถลงข่าวเพื่อเสนอความคิดเห็นทางวิชาการ ต่อกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
 
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 ศาลธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยคณะนิติราษฎร์เห็นว่า "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบควบคุมกระบวนการตลอดจนเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าตรวจสอบควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ปราศจากอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่กลับสถาปนาอำนาจดังกล่าวขึ้นมาเอง จึงเป็นการขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง จนก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด"
 
ประเด็นคือ การเปลี่ยนรูปแบบการได้มาของสว.เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอำนาจทั้งสามไป โดยการได้มาของสว.เดิมไม่เหมือนกับการได้มาของสส. ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้สว.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ มีโครงสร้างเหมือนกับสส. ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่าการกระทำเช่นนี้มิชอบ
 
"แม้คณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ก็ตาม แต่โดยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงทัศนคติทางการเมืองผ่าน “คำวินิจฉัย” ต่อสาธารณชน ซึ่งเนื้อหาใน “คำวินิจฉัย” อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจนส่งผลร้ายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ จึงจำเป็นที่คณะนิติราษฎร์ต้องจัดแถลงข่าวเพื่อเสนอความเห็นทางวิชาการต่อ “คำวินิจฉัย” ดังกล่าว" ส่วนหนึ่งของประกาศจากคณะนิติราษฎร์ระบุ
 
ทั้งนี้ในการแถลงข่าว วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์กล่าวในการแถลงว่า ผลของการวินิจฉัยมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการสถาปนาอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง มีการตีความอย่างกว้างขวาง ไม่ชอบด้วยหลักการตรวจสอบถ่วงดุล และไม่ชอบด้วยหลักการจัดโครงสร้างรัฐ ถ้าปล่อยให้การตีความมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมเป็นแบบนี้ก็เป็นการปล่อยให้เขตอำนาจขยายไปเรื่อย เชื่อว่าจะมีคนมาร้องศาลรัฐธรรมนูญตลอดเวลา เพราะมีคนพร้อมจะทำเช่นนั้นอยู่แล้วในทุกเรื่อง ศาลจะมีอำนาจในการรับคดีต่างๆ มาพิจารณาคดีเต็มไปหมด กลายเป็น "ซูเปอร์องค์กร" เป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรทั้งปวง และศาลนั้นแม้จะเกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่โดยผลของการใช้กฎหมายแบบนี้จะกลับเป็นคนที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญเอง มันจะเกิดสภาพวิปลาส ผิดเพี้ยนไปหมด มีผลรุนแรงทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยลง ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด โดยความร้ายแรงแบบนี้เองที่ทำให้เราต้องยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมาย
 
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ได้วิจารณ์ในส่วนของคำวินิจฉัยของศาลในเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยศาลชี้ว่าจะทำให้เกิดการไม่สมดุล เป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัวหรือสภาผัวเมียทำให้สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญาให้กับสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทำลายสาระสำคัญของการมีสองสภา
 
"ศาลเข้ามาใช้อำนาจชี้นำการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองเป็นกรณีที่ศาลกระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของศาลและการมีวุฒิสภาในประเทศอื่นในโลกที่เป็นประชาธิปไตยก็ล้วนมาจากการเลือกตั้งการที่ศาลอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยก็ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย"
 
"ส่วนการมีเจตจำนงให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งเป็นการถาวรตลอดไปก็ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291"
 
ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า การพยายามมาแตะเรื่องเนื้อหาเพราะว่าการแก้ไข ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อวางหลักไว้ว่าจะไม่มีใครสามารถมาเสนอเรื่องแบบนี้ได้อีกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายแดนของบทบัญญัติที่ห้ามแก้ไขออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ตามรธน.มีแค่ 2 เรื่องเท่านั้นที่แก้ไม่ได้ คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องรูปของรัฐ
 
ถ้าเห็นด้วยกับ ส.ว. แต่งตั้งก็ไปร่วมรณรงค์กับเสียงข้างน้อยเพื่อโน้มน้าวให้เสียงข้างมากเห็นด้วย ไม่ใช่เอาทัศนคติตัวเองไปลงไว้ในคำวินิจฉัย ซึ่งปิยบุตรย้ำอีกครั้งส่า ส.ว. แต่งตั้งเป็นมรดกตกทอดจากการรัฐประหาร
 
ทั้งนี้วรเจตน์ปิดท้ายการแถลงข่าวโดยสรุปว่า หลังจากนี้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า แม้คำวินิจฉัยจะมีปัญหาร้ายแรงตามที่วิพากษ์วิจารณ์มา แต่หากไม่ทำตาม ไม่ยอมรับ บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป จะทำอย่างไรกันต่อไป
 
“เราจะยอมถูกกดขี่โดยคำวินิจฉัยไปชั่วกัลปาวสานหรือ นี่มันไม่ใช่หลักนิติธรรม ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย” วรเจตน์กล่าวพร้อมระบว่าอาจมีคนอ้างมาตรา 206 วรรค 5 ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร แต่วรเจตน์เห็นว่ากรณีนี้โมฆะ เนื่องจากคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเอง ในทางกฎหมายต้องถือเป็นโมฆะ บังคับองค์กรของรัฐไม่ได้ แต่ถามว่าจะเกิดวิกฤตไหม เกิดวิกฤตแน่นอน
 
แล้วจะให้ศาลไหนตัดสิน ให้พวกเอ็งตัดสิน หรือไง
 
ในส่วนของผลทางกฎหมาย คำวินิจฉัยนี้ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร ระหว่างนี้มีคนบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญ นี้ตกไปแล้ว แต่ถามว่าตกไปจากไหน ตอบไม่ได้ กระบวนการขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลก็ไม่ได้บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป เพราะเขาไม่มีอำนาจจะบอกได้ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธย จะสั่งกษัตริย์ให้ไม่ลงพระปรมาภิไธยก็ไม่ได้ มาตรา 68 ก็ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นการชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ดังนั้นขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และหากกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าไม่ทรงวงพระปรมาภิไธย ก็ถือว่าทรงใช้อำนาจวีโต้ สภาก็ต้องมาปรึกษากัน ถ้าลงมติยืนยันไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ตกไป แต่ถ้าลงคะแนนถึง 2 ใน 3 ก็ต้องยืนยันทูลเกล้าฯ อีกครั้ง และครั้งนี้หากพ้น 60 วันก็ประกาศเป็นกฎหมายต่อไปได้

 

แล้วไปขอคืนมาทำไม

 

โฆษกรัฐเผยนายกฯขอพระราชทานร่างแก้รธน.คืนแล้ว (คลิกเข้าไปดู)


Edited by Stargate-1, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:02.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#14 ตุ๊ ต่องแต่ง

ตุ๊ ต่องแต่ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 731 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:28

ไม่น่าเชื่อจุฬามีจานแบบนี้ด้วย โฮะๆ

 

แหมอยากให้ให้อ.เจิมศักดิ์เอาคำถามพวกนี้ไปจัดรายการถอนพิษที่ราชดำเนินจังฮะ



#15 phoebus

phoebus

    คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,636 posts

ตอบ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:39

นามสกุลเดียวกับรองประธาน สว.เรยนะ

 

 

-_-  -_-


ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย 


#16 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:49

ต่อครับ fb ดร. พรสันต์ โพสต์อีกแล้ว เชิญวิจารณ์

 

มีนักวิชาการทางรัฐศาสตร์บางท่านได้พยายามออกมาอธิบายโดยนัยว่า  นักนิติศาสตร์นั้นมองแต่เพียงกฎหมายเท่านั้น เคร่งครัดในกฎหมายมากจนเกินไป  อันส่งผลให้เป็นการขัดขวางการแก้วิกฤติของประเทศด้วยการปฏิรูปประเทศที่ขับเคลื่อนโดย กปปส. ด้วยความเคารพนะครับผมเห็นว่า...

 

๑. ท่านเอาอะไรเป็นตัวชี้วัดว่าปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดครั้งนี้เป็นเรื่องวิกฤติแล้วถึงขนาดต้องไม่สนใจในตัวบทกฎหมายเลย? บุคคลอื่นเห็นพ้องด้วยหรือไม่ว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องวิกฤติเหมือนกับที่ท่านมอง?

 

๒. กรณีต่อให้มีลักษณะของวิกฤติการณ์เกิดขึ้นจริง ในประเทศที่เป็นเสรีประชาธิปไตยจะไม่มีการมองข้าม หรือเพิกเฉยต่อตัวบทกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเกิดวิกฤติในประเทศมิได้เป็น "ข้ออ้างในการฉีกรัฐธรรมนูญ" หรือละเมิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้

 

๓. ท่านทราบหรือไม่ครับว่า หลักนิติรัฐนิติธรรม นั้น เป็นหลักที่มีการปรับตัวในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์พิเศษด้วย? กล่าวคือ หลักนิติรัฐนิติธรรมยังคงบังคับใช้ในทุกสถานการณ์ แต่เรื่องของความเข้มข้นอาจแตกต่างกันไป กฎหมายอาจมีการบังคับใช้ในลักษณะพิเศษ แต่ไม่ใช่ "การยกเว้น หรือละเลยต่อตัวบทกฎหมาย" เลย

 

๔. การที่ท่านอธิบายเช่นนี้ถือเป็นการพยายามผลักใสนักนิติศาสตร์ออกจากการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งตรงนี้ผมเห็นว่าเป็นการมองที่คลาดเคลื่อน เพราะกฎหมายกับเรื่องการเมืองเป็นสิ่งคู่กัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ท่านกำลังมองว่ารัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์นั้นแยกออกจากกัน เข้ากันไม่ได้ ซึ่งหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะทั้งสองศาสตร์มีความเกี่ยวพันกันอย่างยิ่งยวด กรุณาเคารพในหลักนิติรัฐนิติธรรมและระบอบรัฐธรรมนูญด้วยครับผม

 


ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#17 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:55

เหอะ เหอะ  ผมก็เรียนรัฐศาสตร์มาเหมือนกันครับ แต่โชคดีที่ไม่ได้จบจากจุฬา ฯ

ที่มีอาจารย์ท่านนี้สอน ไม่งั้นผมก็คงต้องมาตั้งคำถามแบบอาจารย์ท่านนี้แน่เลย

 

ผมไปร่วมชุมนุมกับ กปปส ครับ ผมตอบแทน กปปส นะครับ

 

ข้อ 1 สถานะทางกฎหมายของผมคือพลเมืองไทยครับ ถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญไทย

เรื่องสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย เพียบเลยครับ ท่านอาจารย์หยุดเล่นเฟสบุ๊คแล้วลอง

ไปหาอ่านดูนะครับ

 

ข้อ 2 ตามมาตรา 69 แห่งรัฐธรรมนูญไทยครับ เป็นการต่อต้านโดยสันติวิธี ต่อผู้ที่กระทำ

ใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม

วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

 

กปปส ชี้ว่าเป็นโมฆะ เพราะการกระทำที่รัฐบาลประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญครับ คนที่

ไม่ยอมรับอำนาจศาล นี่ทำตัวอยู่เหนือกฎหมายใช่ไหมครับ ท่านอาจารย์ว่าคนแบบนี้ โมฆะไหมครับ

หรืออาจารย์สอนเด็กว่า เราต้องยอมรับคนที่ทำตนอยู่เหนือกฎหมายครับ ระวังเด็กเป็นขี้ข้านะครับ

 

ข้อ 3 ข้อ 4 สองข้อนี้ ถ้าท่านอาจารย์เข้าใจคำตอบ ข้อ 2 แล้ว ก็คงไม่ต้องตอบ แต่อาจารย์ควรเอา

สองข้อนี้ไปถาม รัฐบาล ครับ เพราะสองข้อนี้ ของรัฐบาลเต็ม ๆ ครับอาจารย์



#18 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:02

ผมก็ยังสงสัยนะครับ พนักงานสอนหนังสือคนนี้ บอกว่า กปปส ทำตัวเหนือ รธน แล้ว รธน เค้าให้สิทธิ์รัฐบาล มีอำนาจไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลด้วยหรือ??? 



#19 CrazyDaimon

CrazyDaimon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 879 posts

ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:12

นักวิชาการ ทั้งรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ฟังไปนานๆ อาจจะสับสนในตัวเอง

 

แต่พอเงยหน้ามองเพดาน

 

"ก็รัฐบาล นักการเมือง ตำรวจ มัน here จะสนทำไมว่าอำนาจ หรือ สถานะ เราจะเป็นอย่างไร พวกเราก็แค่แสดงออกว่ารับไม่ได้"



#20 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:17

-_- คำถามยาก ประชาชนทั่วไปอย่างผมตอบไม่ได้หรอกครับ
 

มีนักวิชาการทางรัฐศาสตร์บางท่านได้พยายามออกมาอธิบายโดยนัยว่า  นักนิติศาสตร์นั้นมองแต่เพียงกฎหมายเท่านั้น เคร่งครัดในกฎหมายมากจนเกินไป  อันส่งผลให้เป็นการขัดขวางการแก้วิกฤติของประเทศด้วยการปฏิรูปประเทศที่ขับเคลื่อนโดย กปปส. ด้วยความเคารพนะครับผมเห็นว่า...
 
๑. ท่านเอาอะไรเป็นตัวชี้วัดว่าปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดครั้งนี้เป็นเรื่องวิกฤติแล้วถึงขนาดต้องไม่สนใจในตัวบทกฎหมายเลย? บุคคลอื่นเห็นพ้องด้วยหรือไม่ว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องวิกฤติเหมือนกับที่ท่านมอง?
ไม่ทราบครับ คงวิกฤติพอๆกับการต้องออก พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอยล้างผิดให้คนโกงมั้งครับ ไหนจะต้องรีบเร่งออกตอนตี 4 ยังไม่พอวิกฤติขนาดต้องแก้ไขที่มา สว.แบบเร่งรีบ สอดไส้ และยังต้องกดบัตรแทนกันอีก ไม่รู้ว่าเรื่องนี้วิกฤติเหมือนกับที่รัฐบาลมองหรือเปล่า
 
๒. กรณีต่อให้มีลักษณะของวิกฤติการณ์เกิดขึ้นจริง ในประเทศที่เป็นเสรีประชาธิปไตยจะไม่มีการมองข้าม หรือเพิกเฉยต่อตัวบทกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเกิดวิกฤติในประเทศมิได้เป็น "ข้ออ้างในการฉีกรัฐธรรมนูญ" หรือละเมิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้
ไม่ทราบครับ ยังไม่เห็นใครจะฉีกรัฐธรรมนูญ 50 ที่แต่ก่อนพรรครัฐบาลเกลียดนักเกลียดหนาเลย การประกาศไม่รับอำนาจศาลไม่ทราบเรียกว่าเพิกเฉยต่อตัวบทกฏหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญหรือเปล่าก็ไม่ทราบครับ และไม่รู้ว่าตอนรับตำแหน่งรัฐบาลใหม่ๆมีวิกฤติอะไรถึงกับต้องเต้นแร้งเต้นกาแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
 
๓. ท่านทราบหรือไม่ครับว่า หลักนิติรัฐนิติธรรม นั้น เป็นหลักที่มีการปรับตัวในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์พิเศษด้วย? กล่าวคือ หลักนิติรัฐนิติธรรมยังคงบังคับใช้ในทุกสถานการณ์ แต่เรื่องของความเข้มข้นอาจแตกต่างกันไป กฎหมายอาจมีการบังคับใช้ในลักษณะพิเศษ แต่ไม่ใช่ "การยกเว้น หรือละเลยต่อตัวบทกฎหมาย" เลย
ไม่ทราบครับ คล้ายๆกับการที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันต่อทุกองค์กรหรือเปล่า ไม่น่าจะยกเว้นให้มีใครละเลย หรือประกาศไม่รับอำนาจศาลได้
 
๔. การที่ท่านอธิบายเช่นนี้ถือเป็นการพยายามผลักใสนักนิติศาสตร์ออกจากการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งตรงนี้ผมเห็นว่าเป็นการมองที่คลาดเคลื่อน เพราะกฎหมายกับเรื่องการเมืองเป็นสิ่งคู่กัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ท่านกำลังมองว่ารัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์นั้นแยกออกจากกัน เข้ากันไม่ได้ ซึ่งหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะทั้งสองศาสตร์มีความเกี่ยวพันกันอย่างยิ่งยวด กรุณาเคารพในหลักนิติรัฐนิติธรรมและระบอบรัฐธรรมนูญด้วยครับผม
ไม่ทราบครับ รัฐบาลยังไม่เคารพเลย แล้วใครจะทำตามล่ะครับ


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#21 CrazyDaimon

CrazyDaimon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 879 posts

ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:33

คงเหมือนว่า

 

เราไปเห็นโจรกำลังข่มขืนผู้หญิง แล้วเราก็เข้าไปช่วยจับกุม

 

นักวิชาการพวกนี้มันคงบอกว่า

 

คุณเอาสถานะ และ อำนาจ อะไรมาจับโจร

 

แสรดดดดดดดดด



#22 Novice

Novice

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,353 posts

ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:34

ตอบสั้น ๆ ครับ

 

"กกปส ไม่มีอำนาจอะไรหรอกครับแค่ม๊อบป่วนเมืองเฉย ๆ รัฐบาลสลายได้ทุกเมื่อเลยครับ แต่จะเกิดอะไรหลังจากม๊อบสลายไปแล้วผมไม่รับผิดชอบนะครับ ถ้าอาจารย์คิดว่าตำราอาจารย์สามารถเป็นเกราะคุ้มกันได้ทุกเรื่องก็ขอให้โชคดีครับ"

 

ผมขอย้ำอีกครับ ถ้าไม่พอใจกรุณานำกำลังเข้าสลายได้ทุกเมื่อเลยครับ เพราะสถานะการณ์วันนี้มันไม่ใช่วันที่อาจารย์จะมาเอาทฤษฎีหรือข้อกฎหมายใด ๆ มาหยุดการเคลื่อนไหวภาคประชาชนครั้งนี้ได้แล้วครับ ณ ปัจจุบันมีแค่สองตัวเลือกเท่านั้นครับ

 

1 จะเจรจากันดี ๆ

 

2 หรือจะเจรจาในกองเถ้าถ่าน

 

วันนี้ไม่มีหอคอยงาช้างให้อาจารย์นั่งดูอีกต่อไปแล้วครับ


Edited by Novice, 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:34.


#23 kairyuramon

kairyuramon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 336 posts

ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 01:14

เห็นแล้วไม่อยากตอบแฮะ อยากรอดูผลลัพธ์หลังจากเหตุการณ์นี้จบว่านักวิชาการที่พูดแบบนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง



#24 Delta_PCP

Delta_PCP

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 45 posts

ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 01:48

ตอบสั้น ๆ ครับ

 

"กกปส ไม่มีอำนาจอะไรหรอกครับแค่ม๊อบป่วนเมืองเฉย ๆ รัฐบาลสลายได้ทุกเมื่อเลยครับ แต่จะเกิดอะไรหลังจากม๊อบสลายไปแล้วผมไม่รับผิดชอบนะครับ ถ้าอาจารย์คิดว่าตำราอาจารย์สามารถเป็นเกราะคุ้มกันได้ทุกเรื่องก็ขอให้โชคดีครับ"

 

ผมขอย้ำอีกครับ ถ้าไม่พอใจกรุณานำกำลังเข้าสลายได้ทุกเมื่อเลยครับ เพราะสถานะการณ์วันนี้มันไม่ใช่วันที่อาจารย์จะมาเอาทฤษฎีหรือข้อกฎหมายใด ๆ มาหยุดการเคลื่อนไหวภาคประชาชนครั้งนี้ได้แล้วครับ ณ ปัจจุบันมีแค่สองตัวเลือกเท่านั้นครับ

 

1 จะเจรจากันดี ๆ

 

2 หรือจะเจรจาในกองเถ้าถ่าน

 

วันนี้ไม่มีหอคอยงาช้างให้อาจารย์นั่งดูอีกต่อไปแล้วครับ

 

นี่ตอบสั้นหรอครับ อยากให้แก้เหลือหนึ่งบรรทัด จะกราบอย่างงาม


Edited by Delta_PCP, 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 01:49.





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน