ผู้จุดชนวนต่างๆๆไม่ใช่คนอิสาน คนชนบทเป็นผู้ตั้งรัฐบาลมาตลอด คนกรุงจะเป็นคนล้มรัฐบาลมาเกือบตลอด
โดยผ่านการเลือกตั้ง แล้วประท้วง แล้วมักจะโยนบาปทุกครั้งให้คนอิสานบวกเหนือด้วยนิดหน่อย
กบฏผีบาป ผีบุญ หรือ กบฏผู้มีบุญ ให้ฟังคล่าวๆก่อน เพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ให้เห็นภาพ กบฏผีบาป ผีบุญ เกิดขึ้นประมาณปี 2444 – 2445 โดยมีผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้มีบุญมาเกิด กระจายสายกำลังตามภาคอีสาน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่มีแนวคิด ต่อต้าน ล้มล้างอำนาจรัฐด้วยกำลังคน ซึ่งกลุ่มกบฏ จะตั้งตัว หรืออ้างตัวเป็นผู้มีบุญหรือผู้วิเศษ เช่น อ้างว่าเป็นพระศรีอริยเมตไตย หรือพระศรีอารย์ ซึ่งตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต เมื่อมีคนมาเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกหรือสานุศิษย์มากพอก็ใช้กำลังโจมตียึดเมือง เพื่อตั้งกลุ่มของตนเข้าปกครองแทน แต่หลายกลุ่มยังไม่ทันได้โจมตี ก็ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐปราบปรามเสียก่อน
สาเหตุหลักเกิดจาก การปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 เพื่อให้สามารถควบคุมหัวเมืองได้เต็มที่ จึงส่งข้าหลวงใหญ่และข้าราชการเป็นจำนวนมากจากเมืองหลวง มาทำงานในภาคอีสาน ทำให้ขุนนางท้องถิ่นไม่พอใจ ยิ่งส่วนกลางส่งคนมาเก็บภาษีส่วยต่างๆ โดยตรง ยิ่งทำให้ขุนนางท้องถิ่นไม่พอใจยิ่งขึ้น เพราะผลประโยชน์ที่เคยได้รับจากแต่ก่อนลดลงมาก ประกอบกับช่วงก่อนเกิดกบฏผู้มีบุญ เกิดฝนแล้งในมณฑลอีสานติดต่อกัน หลายปี ยิ่งเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนให้กับชาวอีสาน เมื่อมีคนมาปลุกระดมในรูปแบบต่างๆ เช่นในรูปแบบของหมอลำ ซึ่งเล่าถึงความทุกข์ยาก และการกดขี่ข่มเหงชาวบ้านของของภาครัฐ ในรูปแบบของหมอพราหมณ์ หรือ ผู้มีศีล ขยายแนวคิด อิทธิพลเพื่อสร้างแนวร่วมความศรัทธา ผ่านพิธีกรรม ความเชื่อ เช่นการรดน้ำมนต์ เสกเป่าคาถา ตลอดจนขยายแนวคิดผ่านจดหมายผู้มีบุญ (จดหมายลูกโซ่) ทำให้ชาวบ้านอีสานเกิดความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าการเป็นอยู่แบบเดิมๆ จึงมีชาวอีสานเป็นจำนวนมากเชื่อตาม บางส่วนก็เข้าร่วมกระบวนการไปเลย
เนื่องจากมีกบฏผู้มีบุญเกิดขึ้นหลายสายในภาคอีสาน ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ และโด่งดังที่สุด เช่น กบฏกลุ่มบุญจัน เมืองขุขันธ์ ศรีสะเกษ กบฏกลุ่มจารย์เข้ม เมืองสกลนคร และ กบฏกลุ่มองค์มั่น อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง แถวเมืองอุบลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏที่โด่งดังและมีเรื่องราวเหตุการณ์เชื่อมโยงกันกับบ้านผับแล้ง ผู้เขียนจึงขอเล่าเฉพาะเหตุการณ์ในส่วนนี้
กบฏกลุ่มองค์มั่น เป็นกบฏผู้มีบุญอีสานที่โด่งดังที่สุด มีผู้นำรองๆ อีก 6 คน เป็นแกนนำ คือ 1.องค์เขียว 2.องค์ลิ้นก่าน 3.องค์พระบาท 4.องค์พระเมตไตร 5.องค์เหลือง 6.องค์ที พวกองค์เหล่านี้นุ่งผ้าจีบแบบบวชนาคสีต่างๆ กัน คือ แดง สิ่ว (เขียวเข้ม) เหลือง แล้วมีปลอกใบลายจานเป็นคาถาสวมศรีษะทุกคน (อุบลราชธานีมาจากไหน: สุจิตต์ วงศ์เทศ ,หน้า 100) ฝ่ายกบฏได้ปลุกระดมราษฎรทั้ง ๒ ฝั่งโขง ในฝั่งขวา (คือฝั่งอีสาน) ได้กำลังจากอำเภอโขงเจียม อำเภอตระการพืชผล ในที่สุด ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2444 ฝ่ายกบฏได้เข้ายึดเมืองเขมราฐ จับเจ้าเมืองไว้เป็นตัวประกันและเป็นเครื่องมือแห่แหนให้คนเข้าเป็นพวก แต่ฆ่าท้าวกุลบุตร ท้าวโพธิสาร กรมการเมืองที่ไม่ยอมเข้ากับฝ่ายกบฏ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ทรงได้รับข่าวการก่อกบฏหลายแห่ง จึงทรงแบ่งกำลังเป็น 5 สาย สายละ 6-15 คน ออกไปลาดตระเวน ปรากฏว่า 2 ใน 5 สาย ได้เกิดการปะทะกับกองลาดตระเวนของกลุ่มองค์มั่น โดยสายที่ 4 ซึ่งมีร้อยตรีหลี กับทหาร รวม 15 คน ถูกฝ่ายกบฏฆ่าตาย 11 คน ที่หนองขุหลุ ตำบลขุหลุ ทางใต้ของอำเภอตระการพืชผล สายที่ 5 มีทหาร 12 คน นำโดยร้อยเอก หม่อมราชวงศ์ร้าย ปะทะกับฝ่ายกบฏที่บ้านนาสะมัย ตำบลนาสะไม ทางตะวันตกของอำเภอตระการพืชผล สู้กำลังฝ่ายกบฏไม่ได้แตกหนีมา ความพ่ายแพ้ 2 ครั้งติดๆ กัน ทำให้ฝ่ายกบฏมีกำลังใจดีขึ้นมาก ความพ่ายแพ้ของกองลาดตระเวนทำให้กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ทรงตัดสินพระทัยส่งกองกำลังขนาดใหญ่พร้อมอาวุธหนักคือ ปืนใหญ่สมัยใหม่ 2 กระบอก มีร้อยเอก หลวงชิตสรการ (จิตร มัธยมจันทร์) ผู้บังคับกองทหารปืนใหญ่กับทหาร100 คน และมีกำลังจากขุนนางเมืองอุบลอีกหลายร้อยคน กำลังของฝ่ายรัฐบาลยกไปถึงชายเขตของบ้านสะพือใหญ่ ในเย็นวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2445 แล้วนำปืนใหญ่ซุ่มไว้ในป่า กับแบ่งกำลังซุ่มไว้ในป่า 2 ด้าน เปิดตรงกลางเอาไว้
การรบเกิดขึ้นในตอน 9 โมง ของวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2445 ฝ่ายกบฏได้เคลื่อนเข้าตีฝ่ายรัฐบาล ทหารฝ่ายรัฐบาลใช้ทหารปืนเล็ก 1 หมวดทำทีเป็นยิงต่อต้านเล็กน้อย แล้วแกล้งถอย แล้วยิงปืนใหญ่ข้ามกำลังของฝ่ายกบฏไป 1 นัด ฝ่ายกบฏดีใจที่กระสุนปืนใหญ่มิได้ทำอันตรายฝ่ายตน จึงเคลื่อนทัพตรงมาข้างหน้า คราวนี้ปืนใหญ่ยิงนัดที่ 2-3 ตกตรงกลางกลุ่มกบฏล้มตายเป็นอันมากที่เหลือแตกหนีไป 2 ข้างก็ถูกทหารปืนเล็กระดมยิง ฝ่ายกบฏตายไป200-300 คน บาดเจ็บ 500 กว่าคน องค์มั่นปลอมตัวเป็นชาวบ้านหนีข้ามไปฝั่งซ้ายได้สำเร็จ แต่ลูกน้องประมาณ 400 คน ถูกจับมาขังไว้ที่เมืองอุบลราชธานี หัวหน้าฝ่ายกบฏที่ตั้งตัวเป็นองค์สำคัญที่ถูกจับมาคราวนั้นมีหลายองค์ เช่น
1. นายเข้ม ตั้งตัวเป็นองค์เหล็ก ถูกจับที่บ้านหนองซำ ท้องที่เมืองเสลภูมิ
2. พระครูอิน วัดบ้านหนองอีตุ้ม ตำบลสำราญ อำเภอยโสธร (ในขณะนั้น) จังหวัดอุบลฯ
3. องค์บุญ ถูกจับที่เมืองพิบูลมังสาหาร
4. องค์ลิ้นก่าน หนีกระสุนปืนใหญ่คราวทหารออกไปปราบ เจ้าหน้าที่ตามจับได้ที่บ้านผับแล้ง อำเภอวารินชำราบ (อำเภอสำโรงในปัจจุบัน) ผู้เขียน สันนิฐานว่าน่าจะไปหลบอยู่กับ องค์ซอง หรือ อ้ายอะซอง ซึ่งเป็นอีกองค์หนึ่งที่ถูกทางการจับได้ และเป็นชาวบ้านที่นี่ ซึ่งผู้เขียนเคยอ่านตามประวัติศาสตร์ที่เอื้อยนางเคยบันทึกไว้ในบทความ “เสียดายกับตีน ท่อนไม้ประวัติศาสตร์”
5. องค์เขียว ถูกจับในเมืองอุบลฯ
6. องค์พรหมา ถูกจับที่บ้านแวงหนองแก้ว ท้องที่อำเภอเขื่องใน (ปัจจุบันไปขั้นจังหวัดศรีสะเกษ)
7. กำนันสุ่ย บ้านส่างมิ่ง ท้องที่อำเภอเกษมสีมา ซึ่งทางการสั่งให้ไปปราบกบฏ แต่พอไปถึงได้เข้าเป็นฝ่ายองค์มั่นเสียสิ้น
8. หลวงประชุม (บรรดาศักดิ์ประทวน) เดิมเป็นกรมการเมืองอำนาจเจริญมานาน ยังไม่ได้เป็นองค์เพิ่งเริ่มก่อการ แต่ถูกจับมาก่อน และเป็นไข้ตายขณะคุมขัง ซึ่งอยู่ระหว่างกำลังพิจาณาสำนวน
แต่ละคนศาลตัดสินลงโทษแตกต่างกันไปตามบทบาท พวกที่ถูกเรียกว่า "องค์" ถูกประหารชีวิต และนำหัวเสียบประจานไว้ที่เกิดเหตุทุกแห่งที่จับมาได้ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อแผ่นดิน สืบไป ส่วนพระครูอินให้อยู่ในสมณะเพศพระพุทธศาสนาในเขตจำกัดตลอดชีวิต หากสึกออกมาเมื่อไดให้จำคุกตลอดชีวิต ที่เหลือคณะตุลาการได้สอบสวนมีทั้งถูกจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึงตลอดชีวิต คนที่อยู่ปลายเหตุถูกปล่อยไปก็มาก
ที่มาของข้อมูลประติดประต่อเรื่องราวจาก :
1. news.hunsa.com/detail.php?id=12729&gp=1&cp=2 วันที่ 15 ก.ย. 53)
2. หนังสืออุบลราชธานีมาจากไหน ของสุจิตต์ วงศ์เทศ
3. บทความ เสียดาย กับตีน ท่อนไม้ประวัติศาสตร์ ของเอื้อยนาง
*นี่คือหลักฐานหนึ่ง ของการจุดชนวนทางการเมือง คุณคงไม่ปฏิเสธความเป็นจริงนี้นะ ผมถึงย้ำนักย้ำหนาว่านักการเมืองคนอิสานส่วนใหญ่นั่นแหละ ตัวการใหญ่เลยหละ*