Jump to content


Photo
- - - - -

เห็นเสื้อแดงเขาว่า รถไฟความเร็วสูงของลาวให้งบแพงกว่าไทย


  • Please log in to reply
56 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 templar

templar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,180 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:47

ขอมือขวาหน่อยคร๊าบบบ... :D 

 

999139_270068769813857_1142769325_n.jpg

 

เอาจริงมีคนขึ้นกี่คน  ถามว่าทุกวันนี้สปรินเตอร์คนขึ้นกันเต็มไหม  ลองไปสำรวจดู  

 

มีแต่รถฟรีเท่านั้นแหละที่คนแย่งกันขึ้น  รถเร็วยังนั่งไม่ค่อยเบียดกันเลย  

 

เอาเป็นว่า  ลุงหนุ่ย  ออกตังค์ให้รัฐบาลสักสองล้านล้าน  ที่เหลืออีกสองแสนล้าน

 

ให้รัฐบาลจ่าย  ถ้าตกลงตามนี้ได้  สร้างพรุ่งนี้เลย  จะเอาดอกไม้ไปกราบงาม ๆ ถึงบ้าน  ผมก็อยากเห็นเหมือนกันไอ้รถไฟ

 

ความเร็วสูงเนี่ย

 

 

 แต่ถ้ายังต้องพึ่งภาษีของคนส่วนน้อย (แต่ต้องเสียภาษีส่วนมาก) ของประเทศ

 

อย่างพวกกรู  ก็กรุณาหุบปาก


Edited by templar, 9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:56.

อย่ามาเห่าว่ากรูมาจากการเลือกตั้ง  เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่ทุกอย่างของประชาธิปไตย

การตรวจสอบบ้านเมืองอย่างเข้มข้น  ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ  จำเป็นสำหรับประเทศไทย

 

สิ่งที่บ่งบอกว่าประเทศไหนพัฒนาแล้วไม่ได้ดูที่  มีตึกสูงมากเท่าไร  มีห้างเยอะไหม  มีจีดีพีสูงแค่ไหน

แต่ดูที่การศึกษา  และ คุณภาพของบุคลากรภายในประเทศ


#52 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:19

พาหนะทุกประเภทย่อมมีอุบัติเหตุ ที่ต้องระวัง 

 

ถามว่ารถไฟความเร็วสูงมีอุบัติเหตุมั้ย มีครับ ที่จีนเมื่อ 2-3 ปีก่อน 


ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#53 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:33

ความจริงผมก็ไม่ได้เห็นว่า รถไฟความเร็วสูง มีความจำเป็นอะไรในประเทศไทย

 

แต่เอาล่ะ....ข้ออ้างเรื่องการมีเมกะโปรเจ็ค มันช่วยเรื่องเศรษฐกิจ มันฟังดูพอมีเหตุผล

 

แต่ไอ้เรื่อง กู้มา 2 ล้าน ๆ แล้ว มาใช้รถไฟความเร็วสูง 1 ล้าน ๆ เนี่ย มันเหลือขอจริง

 

ธุรกิจรถไฟความเร็วสูงเท่าที่ได้ยินมา ได้อ่านมา ก็เห็นมีแต่ ที่ญี่ปุ่นแห่งเดียวในโลกที่เลี้ยงตัวเองได้

 

นอกนั้นส่วนใหญ่ ต้องเอาเงินภาษีไปอุด หรือ ไม่ก็กู้มาอุดทั้งสิ้น

 

วิธีการ ของ ปชป. มันน่าจะเป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ เพราะ แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเท่าไหร่

 

ให้จีนมาลงทุนระบบราง ส่วนเราเก็บค่า สัมปทาน ( ได้แหง๋  ไม่มีเจ๊ง )

 

ไม่เห็นต้องกู้อะไรกันมาเยอะแยะขนาดนั้น.....

 

นี่ยังมีเรื่องที่ ไอ้พรรคผลาญเมืองไปหลอกคนหนองคายว่า จะไปถึงในอนาคตอีก

 

ขนาด ทำแค่โคราช (เฟดแรก) ประเทศยังต้องใช้หนี้ 50 ปีเลย...

 

แล้วต้องรออีก เฟด 2 ตามที่มันโม้ ต่อไปหนองคายเมื่อไหร่เนี่ย

 

:D  



#54 cassava

cassava

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 916 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:40

ขอมือขวาหน่อยคร๊าบบบ... :D 

 

999139_270068769813857_1142769325_n.jpg

ภาพลักษณ์ยังติดตาว่าเป็นร็อกเด็กเล่นแม้จนวัยปลดเกษียณ ไม่เคยเอาไปเทียบร็อกคลาสสิกต้นตำหรับที่ผมยกให้เป็นตำนาน เพลงรักเธอจริงๆ ผมยกให้เป็นเพลงร็อกที่ไพเราะที่สุดในใจผม เพลงฝรั่งผมฟังแล้วแปลไม่ทันนะ



#55 แมวน้อยสีน้ำเงิน

แมวน้อยสีน้ำเงิน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,491 posts

ตอบ 9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:54

ไม่ต้องน้อยใจไปครับ...พี่น้องชาวไทย!! :lol: :lol: :lol:

 

1546451_510653202384142_1779598522_n.jpg


"เสียงข้างมากเพียงหนึ่งวัน ใช้อ้างความชอบธรรม 4 ปี"


#56 Kiosky

Kiosky

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 136 posts

ตอบ 10 มกราคม พ.ศ. 2557 - 09:40

คำถามคือ -- คุ้มค่ากับการลงทุนรึป่าวและความเสี่ยงต่อการขาดทุน/หรือเจ๊งในอนาคต?
เปิดบริการแรกๆอาจจะโปรโมทหน่อยมีอัตราค่าบริการที่ถูก อัตราค่าโดยสารเฉลี่ยกม.ละ2.5-3บาท

กทม-เชียงใหม่ ราคาต่อเที่ยวประมาณ 2000 บาท ประชาชนจะรับอัตราค่าโดยสารในส่วนนี้ได้มั๊ย
อีกอย่างรถไฟความเร็วสูงก็ไม่จอดสถานีประจำจังหวัดที่เป็นทางผ่านเพราะต้องวิ่งเป็นเส้นตรง

ต้องมีโค้งน้อยที่สุดเพื่อรักษาความเร็วและทำเวลา
สรุปก็คือรับคนต้นทาง-ปลายทางเฉพาะสถานีใหญ่ๆเท่านั้น

 

คำถามต่อมา -- ค่าบริการเครื่องบินราคาก็ใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูง

และมีใครบ้างจะเดินทางรถไฟความเร็วสูงในชีวิตประจำวันบ้าง ไปทำงาน กทม-โคราช ทุกวัน???

ยกตัวอย่าง
กทม-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 250กม.
เดินทางด้วยรถทัวร์ประมาณ2ชั่วโมงครึ่ง ค่าโดยสารประมาณ 300 บาท
เดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงประมาณ1ชั่วโมงครึ่ง ค่าโดยสาร750บาท
เดินทางด้วยรถยนต์อีกหน่อยถ้ามอเตอร์เวย์แล้วเสร็จ ระยะเวลาเดินทาง2ชั่วโมง (ค่าน้ำมันประมาณ800-900บาท นั่งได้4-5คน)
ถ้าเป็นเรานะ -- เราขับรถไปเองดีกว่าลงรถไฟไงก็ต้องใช้รถเที่ยวอีกอยู่ดี

แต่ถ้าลงรถไฟปุ๊ปมีรถไฟใต้ดินเที่ยวทั่วเมืองได้แบบญี่ปุ่นนะ จะใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแน่ๆ

สรุป--ประชาชนจะเลือกใช้การเดินทางรูปแบบใด?เพื่อตรงความต้องการและมีความพอดีกับรายได้ของประชาชน....
สุดท้ายรถไฟความเร็วสูงสร้างมา เพื่อใคร?คนจน?ผู้โดยสารรถไฟราคาถูกในชีวิตประจำวัน หรือคนรวย?

ผู้โดยสารเครื่องบิน? ท้ายสุดใครได้ประโยชน์?
อีกอย่างนะรถไฟความเร็วสูงที่ไต้หวันยังเจ๊ง... เพราะคนไม่ได้ใช้มากเหมือนที่คาดการณ์ไว้
อยากมีนะรถไฟความเร็วสูง ถ้าไปไกลๆอาจจะน่าขึ้นอยู่ แต่มันคุ้มกะการลงทุน ใช้ได้จริง

จะรัฐบาลไหนทำนะ ถ้าทำแล้วดีก็ทำเหอะ ใครๆก็อยากให้ประเทศพัฒนา

คิดว่าตอนนี้รถไฟรางคู่ทั่วประเทศ น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมมากที่สุดในตอนนี้

ปรับโบกี้และซื้อหัวรถจักรรุ่นใหม่ๆเข้ามา ทำความเร็วได้เฉลี่ยสัก 100-120 กม/ชม

มันก็น่าจะโอเคอยู่ กทม-เชียงใหม่ ประมาณ 7 ชม.

คิดว่ายังไงระบบรางคู่แบบรถไฟธรรมดาก็ยังมีประโยชน์อยู่ เนื่องจากสินค้าหนักต่างๆ

เช่น น้ำมัน ตู้คอนเทนเนอร์ เหล็ก และสินค้าเทกองทั้งหลายเช่น ข้าว น้ำตาล ยังไงต้องลากไปกับระบบรถไฟเดิมอยู่ดี

แต่ถ้าจะทำรถไฟความเร็วสูงเพื่อรับ AEC เพื่อเชื่อมโครงข่ายกับประเทศเพื่อนบ้านได้จริง

จะเป็นประโยชน์มากกว่าที่จะทำในแบบที่รัฐบาลเสนอมา เลยมองว่า มันยังเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง

ขนส่งมวลชนเราดีพอในการทำยัง ในกทม รถติดจะตาย Bts, Mrt ก็ทำไม่ทั่วเลย สร้าง 5 ปีระยะทางไม่กี่กิโล

บางสถานีไม่ค่อยจะมีคนเลย ทำให้คนก็ยังจะใช้รถส่วนตัวอยู่ดี airport linkคนใช้น้อยมากแทบจะร้าง

ไม่ได้ค้านว่าไม่ให้มีรถไฟความเร็วสูงนะ แต่ทำไงให้คุ้มค่ามากที่สุด ไม่ใช่มีไว้ก่อนจะได้ไม่ขายหน้าประเทศอื่นเสียเท่าไหร่ช่างมัน

อีกอย่างที่ ชัชชาติเสนอมามีแต่ข้อดี และมโนมาแบบยังไม่รู้ที่มาของเงินกู้หรือแผนธุรกิจที่แน่นอน



#57 เดอะอำมาตย์

เดอะอำมาตย์

    อิคคิวเป่าปุ้น

  • Members
  • PipPipPip
  • 799 posts

ตอบ 10 มกราคม พ.ศ. 2557 - 09:44

เสื้อแดงอยากโชว์ความรู้ MATH !!!

พึ่งเรียนบรรยัตไตรยางมาต้องโชว์


" เราควรรอให้คนอื่นยอมรับเรา หรือควรทำให้เราเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น "




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน