คือจริงๆเเล้วทุกmodel มันก็อาจมีช่องโหว่ ให้คนทุจริตได้น่ะครับ เพียงเเต่ว่า วิธีนี้น่าจะช่วย eliminate ความเสี่ยงต่างๆไปได้พอควร...ยิ่งเรื่องที่เอา ที่ไปทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร ยิ่งชัดเจนว่าไม่น่าผ่านการเห็นชอบจากรัฐ ที่ยังไงเสียก็ยังต้องทำกน้าที่กำกับดูเเล ชุมชนนั้นๆอยู่ เเต่อาจจะต้องปรับเพิ่มเติม ไม่ให้มีการซื้อขายที่ดินเลย เป็นได้เพียงมรดกต่อลูกหลาน หรืออาจทำได้เพียงให้คนในชุมชนเดียวกันเช่าเพื่อเพิ่มผลผลิตขอบคุณครับ น่าจะยังไม่ได้ใช้ใช่มั้ยครับ? แต่ก็งงเพราะเป็นที่ดินของทุกคนแต่เหมือนกับว่าแบ่งเป็นสัดส่วนให้แล้ว ซึ่งขายต่อให้"เพื่อนบ้าน"ได้น่าสนใจ แต่ครบวงจรขนาดไหนครับ? เอาตัวอย่างข้าวกับยางน่าจะดี ท่าทางจะคลอบคลุมได้เยอะ ส่วนโฉนดชุมชนนี่เป็นยังไงครับจู่ๆ ผมก็รู้สึกไม่อยากให้คนจนได้ที่ดินจากรัฐเลย เพราะเดี๋ยวก็เอาไปขายให้แก่นายทุนถูกๆ หรือโดนโกง เหมือนตอน สปก 4-01
แล้วสุดท้ายที่ดินก็ถูกเก็งกำไร จนไม่ได้ใช้งาน
ทั้งที่รัฐเหนื่อยแทบตายกว่าจะหาที่ดินมาให้ได้
น่าจะมีวิธีรูบแบบอื่นที่ให้คนจนมีทำกิน และปกป้องกันการขายต่อไปเก็งกำไร
ที่ดินที่เพื่อการเกษตรก็จะได้เป็นที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างแท้จริง
โฉนดชุมชน เป็นหนึ่งในทางออกของปัญหานี้ เเละต้องทำเป็น turnkey ที่ครบวงจรการผลิต ในเเต่ละชุมชน
ขอ cut&paste นะครับ...
รัฐบาลชุดที่แล้วได้นำเอาแนวความคิดในการจัดการที่ดินของชุมชน เช่น การให้สิทธิในการบริหารจัดการที่ทำกินเพื่อการอนุรักษ์ หรือการอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินของรัฐได้โดยไม่ต้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ด้วยการมีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกของชุมชนปฏิบัติแปรเป็นรูปธรรม เพื่อให้ชุมชนมีความมั่นคงในการใช้ประโยชน์จากที่ดินของรัฐ โดยไม่ถูกขับไล่หรือจับกุมเหมือนที่ผ่านมา และยังสามารถ ตกทอดถึงลูกหลานของคนในชุมชนได้
รูปธรรมอย่างหนึ่งของการจัดการที่ดินตามแนวคิดดังกล่าวก็คือ โฉนดชุมชน หรือ โฉนดที่ดินชุมชน ซึ่งถือเป็นการสรุปบทเรียนการแก้ไขปัญหาที่ทำกินของเกษตรกรไทยที่ผ่านมา และทำให้รัฐมีความคล่องตัวในการแก้ไขปัญหาในหลายพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันในทางภูมิประเทศ ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมได้มากยิ่งขึ้น
การจัดทำโฉนดชุมชนจะก่อให้เกิดการร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติของคนทั้งชุมชน โดยมีกติกาที่ชัดเจนและจะต้องถูกกำกับโดยชุมชนซึ่งมีหลักการสำคัญคือ เป็นการดำเนินการในพื้นที่ของรัฐที่มีความขัดแย้งในการถือสิทธิครอบครอง ชุมชนที่จะได้รับโฉนดชุมชนควรเป็นชุมชนที่มีอยู่ก่อนไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การให้การรับรองในสิทธิทำกิน โดยคุ้มครองให้ทำเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยที่เรียกว่า“โฉนดชุมชนทั้งผืน” โดยมอบให้ชุมชนเก็บรักษา แต่จะไม่ให้สิทธิดังกล่าวกับปัจเจกหรือเฉพาะบุคคล นอกจากนี้ชุมชนที่ได้สิทธิในที่ดินต้องร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติม หากมีสมาชิกของชุมชนดำเนินการผิดระเบียบและเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ หน่วยงานกำกับดูแลอาจดำเนินการเพิกถอนได้
ข้อดีหรือประโยชน์ที่คาดจะได้รับจากโฉนดชุมชนก็คือประชาชนที่ถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ จะได้รับการรับรองให้มีความมั่นคงในการอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินภายใต้กำกับของรัฐ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาพื้นที่และการผลิตที่ยั่งยืน แทนที่จะรีบใช้ทรัพยากรให้มากที่สุดจากความไม่มั่นคงในการถือครองที่ดิน ภาครัฐจะได้เปลี่ยนบทบาทจากการจัดการดูแลประชาชนมาเป็นผู้คอยกำกับดูแลชุมชนให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด โดยมอบภาระหน้าที่การจัดการดูแลให้เป็นของชุมชน นอกจากนี้ชุมชนที่ได้โฉนดชุมชนยังมีความชอบธรรมที่จะใช้สิทธิปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ข้างเคียง เช่น ป่าต้นน้ำ หรือป่าชุมชน เพราะอาจมีผลกระทบกับการใช้ที่ดินของตนเองได้
หลักการที่สำคัญของโฉนดชุมชน คือ
1. ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของร่วมกันทั้งหมด
2. ที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดถึงลูก – หลาน
3. ห้ามทำการขายที่ดินแก่บุคคลภายนอกชุมชน
4. สมาชิกทุกคนต้องใช้ประโยชน์ในที่ดิน อย่างต่อเนื่องไม่ปล่อยให้ทิ้งร้างว่างเปล่า
5. สามารถทำการขายเปลี่ยนมือที่ดินให้แก่คนในกลุ่มได้โดยต้องผ่านคณะกรรมการ
6. โฉนดชุมชนไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่ ในการรักษาที่ดินไว้สำหรับชุมชนเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เป็นเอกสารในการจำนองกู้ยืมเงิน เพื่อใช้ประโยชน์ในทางเกษตรและครัวเรือนได้อีกด้วย โดยจะช้กู้ยืมจากกองทุนออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นภานในกลุ่มปฏิรูปที่ดินของแต่ละชุมชนเป็นการแก้ปัญหาความต้องการ การจำนองที่ดินกับสถาบันการเงินภายนอกที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อยและชุมชนhttp://www.naewna.co.../columnist/1779
แล้วถ้ามีนายทุน proxy ชาวบ้านไปหนึ่งคนแล้วเริ่มกว้านซื้อจนหมดทั้งชุมชนเพราะกฏหมายไม่ได้ห้าม แล้วเอาไปทำเป็น resort เพราะก็ไม่ได้ห้ามว่าจะเอาไปทำอะไร ก็จะเป็นปัญหาเดิมมั้ยครับ?
เเละโดยส่วนตัว ผมเห็นว่า ยิ่งถ้า ทำเป็น turnkey โดยใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพ integrate เข้าไปเลย ยกตัวอย่าง 1ไร่1เเสน (ที่ได้พิสูจน์เเล้วว่าใช้ได้จริง) ก็จะสร้างความมั่นคงให้กับชุมชนนั้นๆ โดยมีภาครัฐ เข้าไปช่วยต่อยอดพัฒนาเเปลรูปสินค้าให้ เมื่อชาวบ้าน ทำเเล้วมีอยู่มีใช้มีรายได้ที่ดี ในที่ตนเอง ก็น่าที่จะยิ่งรักเเละห่วงเเหนที่ดินของเขา
ผมว่าพวกเราสามารถใช้เวทีปฏิรูปที่จะเกิดขึ้นนี้ ในการนำเสนอไอเดีย ปรับปรุงเเก้ไขได้นะครับ