ผมว่าอยู่ที่ใครจะชั่งน้ำหนัก เจตนาที่แสดงvsวิธี และ อุดมคติvsเวลาตามความเป็นจริง ครับ
การยืนยัน"ปฏิรูปก่อน"ที่ชัดเจนที่สุดคือไม่มีการเลือกตั้งรอบนี้ โดยมวลประชาชน&กปปส.ยืนยันและมุ่งมั่นไปในแนวทางเดิม
แต่ถ้ายืดเยื้อกันจนถึงวันตามกำหนด ไม่ว่าจะ"อยู่บ้าน"หรือ"โหวตโน" ก็ยังสามารถสื่อเจตนาได้เหมือนกัน ว่า ไม่เอาเลือกตั้ง"แบบนี้" "ครั้งนี้"
วิธีของอ. เป็นการแสดงออกยืนยันถึงที่สุดที่จะ"ไม่ร่วมสังฆกรรมโดยสิ้นเชิง" (ผมเข้าใจว่า ไม่ได้แคร์กฎ50%ประชามติหรือกฎอื่นเพราะไม่ใช้ในกรณีนี้อยู่แล้ว มีแค่ต้องการแสดงออกอย่างบริสุทธิ์ตามอุดมคติโดยไม่ขึ้นกับเงื่อนไข) เป็นการแสดงออกที่สมบูรณ์ทันที ยิ่งกว่าการยอมเออออเดินไปโหวตโน เป็นการ"ส่งเสียงด้งฟังชัด"จริงๆ ในส่วนของ"ปัจเจกชน"
แต่สำหรับ"มวลรวม" คือประชาชนจำนวนมากไม่ไปออกเสียง จะสมบูรณ์ได้ยิ่งขึ้น โดย
- นักการเมืองผู้ที่ไม่ได้ลงสมัคร(เพราะไม่เห็นด้วยกับการจัดเลือกตั้ง)ต้องไม่ไปออกเสียงด้วย
- นักการเมืองผู้ที่ลงสมัครไปแล้ว เกิดเปลี่ยนใจเป็นไม่เห็นด้วย ก็ไม่ไปออกเสียงด้วย
- ผู้เกี่ยวข้อง/มีตำแหน่งต่างๆ ในทางการเมือง ก็ไม่ไปออกเสียงด้วย
3ข้อหลังนี้ หากไม่เกิดขึ้นจริง จะทำให้การแสดงเจตนารมณ์"ปฏิรูปก่อน"ส่งผลสมบูรณ์เพียงครึ่งๆกลางๆ โดยปัจเจกชนแต่ละหน่วยนั้นจะไม่เหลืออาวุธ(ตามรธน.ไทยฉบับนี้)ให้ใช้ในวันหลังอีก
ไม่ใช่กลัวใครจะเสียสิทธิ หรือจัดเลือกตั้งเสียเงินเปล่า
แต่จะไม่เหลือ(เหลือน้อย)ปัจเจกชนที่มีสิทธิเต็มไว้เพื่อรวมตัวกันต่อสู้ในวันหลัง ถ้าเจอฝ่ายอำนาจที่มีนิสัยดื้อแพ่งไม่รู้จักฟัง
และที่ผ่านมา จนทุกวันนี้ เราออกจะเจอแต่นักการเมืองประเภทที่ดื้อไม่รู้จักฟัง อยู่น่ะครับ
อยู่บ้านvsโหวตโน ในความเห็นของผม ก็คือtrade-offระหว่าง
น้ำหนักvsหน้าตัก ในการทำอารยะขัดขืน ของ
ปัจเจกvsมวลรวม
ตามรธน.ไทยฉบับนี้ น่ะครับ
อยู่ที่ว่า จะเลือกทางไหน ไม่ควรให้เสียง"ปฏิรูปก่อน"เสียงแตกและโดนตีกิน
อีกข้อคือ ถ้าจะว่ากัน ตอนนี้ก็ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูดว่า"ไปโหวตโนกันเถอะ"อยู่ดีครับ
สรุปอีกที คือ ยึดมั่น และ รอ ครับ
ส่วนผู้ที่เลือกตั้งล่วงหน้าหรือตปท. ผมคิดว่า น่าจะvotenoไปพลางๆ
Edited by temp, 23 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:11.