ตราสารหนี้ภาคเอกชน หรือ “หุ้นกู้” เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ออกโดยบริษัทเอกชนเพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนและประชาชนทั่วไปเพื่อ ใช้ในการดำเนินกิจการ หุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชนนี้มักจะมีเงื่อนไขรายละเอียดของการออกในรูปแบบที่ หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเงินทุนและความสามารถในการจ่ายคืนเงินต้นของ บริษัทผู้ออกนั้นๆ รวมถึงเพื่อดึงดูดนักลงทุน ซึ่งทำให้มีการแบ่งหุ้นกู้ออกเป็นประเภทต่างๆตามที่จะนำเสนอต่อไป
การลงทุนในหุ้นกู้นั้น นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความมั่นคงและฐานะทางการเงินของบริษัทผู้ออก ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงสูงเสมอไป เนื่องจากบริษัทเอกชนบางรายนั้นอาจมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาก เช่นในกรณีที่ออกโดยบริษัทเอกชนที่มีบริษัทแม่ในต่างประเทศค้ำประกัน บริษัทแม่ดังกล่าวอาจได้รับการจัดอันดับเครดิตในอันดับที่สูงกว่าเครดิตของ รัฐบาลไทยก็ได้
โดย ทั่วไป อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้จะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่มี ลักษณะและอายุเท่ากัน ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นนี้ เราเรียกว่า Credit spread หรือ Risk premium ซึ่งก็คือค่าชดเชยค่าความเสี่ยงนั่นเอง
http://www.oknation....t.php?id=481786
ไม่มีกฏหมายคุ้มครอง เหมือนเงินฝากในธนาคาร
ตราสารหนี้ภาคเอกชน หรือ “หุ้นกู้” เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ออกโดยบริษัทเอกชนเพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนและประชาชนทั่วไปเพื่อ ใช้ในการดำเนินกิจการ หุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชนนี้มักจะมีเงื่อนไขรายละเอียดของการออกในรูปแบบที่ หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเงินทุนและความสามารถในการจ่ายคืนเงินต้นของ บริษัทผู้ออกนั้นๆ รวมถึงเพื่อดึงดูดนักลงทุน ซึ่งทำให้มีการแบ่งหุ้นกู้ออกเป็นประเภทต่างๆตามที่จะนำเสนอต่อไป
การลงทุนในหุ้นกู้นั้น นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความมั่นคงและฐานะทางการเงินของบริษัทผู้ออก ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงสูงเสมอไป เนื่องจากบริษัทเอกชนบางรายนั้นอาจมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาก เช่นในกรณีที่ออกโดยบริษัทเอกชนที่มีบริษัทแม่ในต่างประเทศค้ำประกัน บริษัทแม่ดังกล่าวอาจได้รับการจัดอันดับเครดิตในอันดับที่สูงกว่าเครดิตของ รัฐบาลไทยก็ได้
โดย ทั่วไป อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้จะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่มี ลักษณะและอายุเท่ากัน ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นนี้ เราเรียกว่า Credit spread หรือ Risk premium ซึ่งก็คือค่าชดเชยค่าความเสี่ยงนั่นเอง
http://www.oknation....t.php?id=481786
ไม่มีกฏหมายคุ้มครอง เหมือนเงินฝากในธนาคาร
จริงๆแล้วการออกโดยคลังค้ำประกัน ส่วนใหญ่จะไม่มีความเสี่ยง ตามทฤษฎีที่เคยเรียนมา แต่ส่วนตัวมองว่ารอบนี้จะเสี่ยงมากๆหากมี ธนาคารไหนเข้าไปซื้อ คือ เสี่ยงต่อสภาพคล่อง ถ้าลูกค้าแห่มาถอนเงินเป็นจำนวนมาก และเรื่องที่ธนาคารกลัวมากที่สุด คือสภาพคล่อง เพราะสามารถล้มได้แทบจะทันที หากขาดสภาพคล่องมากจริงๆ และทางเลือกของคนฝากเงินก็สามารถไปยังแบงก์อื่นๆได้มากมาย