“หม่อมหลวงกร”แฉเสวนาลับพลังงาน กปปส.รวบรัดไร้ข้อสรุป เอาข้อมูล ปตท.ดิสเครดิตภาคประชาชน
#51
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:12
#52
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:21
ขอตอบในนี้เป็นตัวดำ
ข้อมูลกร ไม่ผิด แต่จงใจคุยคนละเรื่อง เอาตัวเลขคนละตัวมาคุย ใช้ตัวเลขคนละฐานมาเปรียบเทียบ
5. ว่าด้วยราคา เอาราคาหน้าโรงกลั่น มาเปรียบกะราคาหน้าปั้มป์
ถ้าไม่ขาดความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งที่พยายามเสนอ ก็กำลังเล่น Half truth บิดเบือน มี Hidden Agenda
1. เราใช้น้ำมันวันละ 100 ผลิตได้ 30
2. 1 บาเรลน้ำมันดิบ ไม่ใช่ผลิตน้ำมันสุก(5555)ได้ 1 บาเรลเท่ากัน
1 ตันข้าวเปลือก สีแล้วไม่ได้ 1 ตันข้าวสาร มีทั้งข้าว รำ แกลบ
น้ำมันดิบยิ่งแย่กว่า เบนซิน ดีเซล เตา ก๊าด เจท ฯลฯ
3. ไทยใช้น้ำมันหนักมากกว่า น้ำมันเบา แต่แหล่งผลิตในอ่าวไทยให้น้ำมันเบา
ก็ต้องทำสวนทาง ผลิตของไทยไปขายนอก เอาของนอกมากลั่นขายในไทย
4. ส่งออกน้ำมันเยอะจริง แต่ส่งออกตัวไหน นำเข้าตัวไหน นำเข้ามาทำอะไร
เอาตัวเลขมายำ แล้วบอกว่าเราผลิตน้ำมันมาก ผลิตที่ว่านะ ผลิตที่ไหน ที่แท่นขุด หรือที่โรงกลั่น
สุดท้ายก็แค่ รับจ้างกลั่น นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตแล้วส่งออก
ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน มีเพียง 0.3 + 1.7 = 2.0 ล้านลิตรต่อวัน ที่เหลือเป็นแก๊ซโซฮอล์ และ ดีเซล
ในเมื่อใช้เพียงเท่านี้ โรงกลั่นของเรากำลังผลิตน้ำมันอะไรออกมากันแน่ ที่ผลิตเกินไปจากนี้เพื่อส่งออกใช่ไหม แล้วบอกว่า ผลิตน้ำมันไม่พอใช้ จนต้องนำเข้าน้ำมัน อยากถามว่า นำเข้าน้ำมันอะไรเข้ามากันแน่
ปริมาณน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ใช้อยู่ 20.4 ล้านลิตรต่อวัน หรือ 128,302 บาร์เรลต่อวัน (1 บาร์เรล เท่ากับ 159 ลิตร)
แต่เราผลิตน้ำมันดิบได้ โดยประมาณ 126,000 - 163,000 บาร์เรลต่อวัน ตามตารางข้างล่าง
ทำไมไม่มาผลิต G-Base แทนการผลิต เบนซิน 91 95 มาตราฐานยูโร 5 เพื่อส่งออก แล้วอนุญาตให้นำเข้าน้ำมัน 2.0 ล้านลิตรต่อวัน โดยเสรี ไม่เก็บภาษีสรรพสามิต ไม่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ราคาน้ำมันก็จะใกล้เคียงมาเลเซีย
ปริมณน้ำมันดีเซล ใช้อยู่ 57.1 ล้านลิตรต่อวัน หรือ 359,119 บาร์เรลต่อวัน ที่เกินมาจาก การผลิตไบโอดีเซล การกลั่นได้จาก คอนเดนเสท และ แก๊สธรรมชาติ ก็ให้นำเข้าน้ำมันดีเซลสำเร็จรูปโดยเสรี เหมือนเบนซิน 91 95
หากปตท.ให้บริษัทในเครือของตนเองที่มีเกือบทั้งหมดในประเทศ ให้ผลิตแต่น้ำมัน G-Base ก็จะไม่ต้องนำเข้าน้ำมัน G-Base มาเพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ก็จะถูกลง ในเมื่อเราปรับราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นใหม่ เช่น ราคาลิตรละ 15 บาท มีกำไรพอสมควร ไม่เก็บภาษีสรรพสามิตร ไม่มีการชดเชยเงินเข้ากองทุน ลดค่าการตลาดลง ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ก็จะมีราคาเพียง ลิตรละ 19 บาท
เงินที่มาชดเชย ภาษีสรพสามิตก็คือ เงินจากการแบ่งรายได้ จากการขุดเจาะ หรือ จากการจ้างขุด ที่เปลี่ยนแปลงการให้สัมปทานใหม่
แทนจะด่ารัฐเรื่องวิธีการจัดเก็บภาษีและกองทุนน้ำมัน กลับไปด่า ปตท.
เหมือนกรรมการเลว แต่นั่งด่านักกีฬา
ถ้าจะเล่น ปตท ไปเล่นเรื่อง ครอบงำตลาด ชี้นำ ทำกำไร แบบนี้
การผูกขาดน้ำมันที่ปั๊ม เริ่มจาก กบง. ที่ดูแลกองทุนน้ำมันเป็นผู้กำหนอราคาน้ำมัน ทำให้เกิดการผูกขาด โดยปตท. เริ่มจากปี 48 เป็นตันมา ปั๊มเล็กๆโดน ค่าการตลาดติดลบ ทำลายจนขาดทุนขายกิจการให้ปตท.ไปหมด ส่วนปั๊มของปตท.จะได้ค่าการตลาดคืนจากปตท. จึงอยู่ได้
6. ราคาน้ำมันหน้าปั้มป์แต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐ
ที่ว่าถูกๆ เพราะหลายรัฐ subsidize ให้
ส่วนที่แพงๆ หลายที่ก็เพราะเอาไป subsidize ด้านอื่น
กองทุนน้ำมันไม่ควรมีอีกต่อไป ทำให้ราคาน้ำมันลดลงทันที
การหารายได้เพิ่มจากการสัมปทานน้ำมัน ทำได้มากว่า การเก็บภาษีสรรพสามิต ยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต แล้วเพิ่มผลประโยชน์จากสัมปทานน้ำมัน ในการแบ่งกำไร
ตรวจสอบปริมาณปิโตรเลี่ยมที่ขุดได้ที่แจ้งให้ถูกต้อง รอดูตอนที่มวลมหาชนได้มีโอกาสดูแลผลประโยชน์กันเองก็แล้วกัน ว่าจะเก็บภาษีปิโตรเลี่ยมเพิ่มขึ้นไหม
รายได้ของภาครัฐจากการจัดหาปิโตรเลียม 198,139 ล้านบาท ประกอบด้วย7. อันนี้ สงสัยเรื่องส่วนตัวเฉยๆ
- ค่าภาคหลวง 65,198 ล้านบาท (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจัดเก็บ)
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 110,620 ล้านบาท (กรมสรรพากรจัดเก็บ)
- ส่วนแบ่งกำไรจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJA) 19,077 ล้านบาท
- ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 3,244 ล้านบาท
Banker----> Grammy----> Energy Expert.......How?????
ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(วิศวกรรมอุตสาหการ)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโทศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต(เศรษฐศาสตร์การเมือง)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท Master of B usiness Adm inistration (Finance) California St ate U niversity,U.S.A.
ประวัติการฝึกอบรม
จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ
บริษัทไทย (IO D) :
1. หลักสูตร Comp any S ecretaryProgram (CS P) รุ่นที่ 45/2555
2. หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 114/2552
จัดโดยสถาบันอื่น :
ในประเทศ
1. หลักสูตรความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในทศวรรษหน้าปี 2553
2. หลักสูตรการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปี 2552จัดโดย : มูลนิธิ FriedrichNaumann และสถาบันวิจัยรพีพัฒน์ศักดิ์
3. หลักสูตร Fund Manager Refreshment Course ปี 2549 จัดโดย : AIMC
4. หลักสูตร The 4 R oles of Leadership จัดโดย : Franklin Covey
5. หลักสูตร Risk Management Seminar จัดโดย : The Thai Institute of Banking and Finance Association
6. หลักสูตร Adv ance Accounting S eminar
7. หลักสูตร Financial St atement Analysis Workshop จัดโดย : Securities Analyst Association
ต่างประเทศ
1. หลักสูตร Citi Asia Pacific Investor Conference 2010 จัดโดย : Citibank, Hong Kong
2. หลักสูตร 12th Annual Conference:Corporate Governance-Seizing t he Initiative จัดโดย : International Corporate Governance Network, South A frica
3. หลักสูตร Euromoney Conferences : The 3rd Annual Asia Pacific Bond Congress จัดโดย : Euromoney, Hong Kong
4. หลักสูตร Pacific Pension Institute’s 2006 Winter Roundtable จัดโดย : Pacific Pension Institute, U .S.A.
5. หลักสูตร Uses of Futures:Practical Strategy and Overview on Legal, Documentation, and Operational Issues, จัดโดย : Barclays Global Investors, Singapore
6. หลักสูตร Investm ent Process and System จัดโดย : PIMCO , U .S.A.
7. หลักสูตร Asian and Middle East Fixed Income Conference จัดโดย : Standard Chartered Bank, Dubai
8. หลักสูตร W orld Investm ent Challenge จัดโดย : Permodalan Nasional Berhad, Malaysia
9. หลักสูตร The 2nd Annual Asia Pacific Bond Congress จัดโดย : Euromoney, Hong Kong
10. หลักสูตร Asia Pacific Fixed Income Investor Conference จัดโดย : Citigroup, Singapore
11. หลักสูตร I nvestm ent Management Training Course จัดโดย : Merill Lynch Investment Managers, England
12. หลักสูตร Daiwa Securities SMBCB ond Seminar 2004 and the Bond Training Program จัดโดย : Daiwa Securities SMBC Co.,Ltd ., Japan
13. หลักสูตร Focus on the Investment Professional Practitioner จัดโดย : PIMCO Institute, U .S.A.
14. หลักสูตร Fixed Income Solution for Low Yield Environment จัดโดย : Singapore
15. หลักสูตร Asian Central Banks & Official Institutions Conference จัดโดย : Goldm an Sachs Asset Management, Hong Kong
Edited by Stargate-1, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:51.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#53
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:30
ก.พลังงานกับปตท. มันก็พวกเดียวกันนั่นแหละ คนของนักการเมืองก็ไปนั่งบอร์ดปตท.
เขาโกงกันตั้งแต่โครงสร้างราคา นโยบาย และการทำธุรกรรม ถึงเรานำเข้า แต่ก็ผลิตได้เองด้วย ก็ต้องมาหารเฉลี่ยราคากัน แต่นี่เล่นเหมารวมใช้ราคาตลาดโลก
และกลั่นเมืองไทย ผลิตเมืองไทย แต่คิดค่าการตลาด ค่าขนส่ง สิงค์โปร์ แถมส่งออกถูกกว่าขายในไทย
ตัวเลขผลิตก็บิดเบือน ขนาดแหล่งบนบกยังโกหกตัวเลขมหาศาล ในทะเลที่ตรวจสอบยากๆคงไม่ต้องพูดถึง
ลอยตัว LPG ก็โกงคนไทยหน้าด้านๆ ภาคปิโตรเคมีได้ใช้ LPG ก่อนเพื่อนเสมอกับครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมอื่นและรถยนต์ใช้ทีหลัง
หากไม่พอใช้ต้องนำเข้า ปตท. ก็มารับส่วนต่างราคาได้จากเงินในกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ขูดรีดมาจากประชาชน
เราผลิต LPG ได้เพียงพอใช้กับคนไทยเจ้าของทรัพยากร ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ภาคปิโตรเคมีของกลุ่มปตท.ที่ใช้ LPG แสวงหากำไร มาแย่งคนไทยใช้
และใช้เพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง จนทำให้ภาพรวมไม่พอใช้ ต้องนำเข้า ตามเหตุผล รัฐต้องไปไล่เก็บเอาจากปิโตรเคมี
แต่รัฐกลับผลักภาระมาให้ประชาชน ด้วยการลอยตัว LPG ภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง แต่ปิโตรเคมีตัวการที่ทำให้ LPG ไม่พอใช้ กลับไม่ลอยตัว ด้วยข้ออ้างที่ว่า
" ใช้เป็นวัตถุดิบ ไม่ได้ใช้เป็นเชื้อเพลิง " ซึ่งเป็นการตีความแบบศรีธนนชัย โกงกันแบบทุเรศ ซึ่งตามเหตุผลแล้ว ...
" ใครจะใช้ LPG ก็ตาม มันสำคัญที่ใครใช้เพื่อความจำเป็น ใครใช้เพื่อแสวงหากำไร และ ใครคือเจ้าของทรัพยากร "
ปิโตรเคมีเก็บเงินเข้ากองทุน 1 บาท ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่นเก็บ 12 บาท
ปิโตรเคมีซื้อ LPG จาก ปตท. กก.ละ 16 บาท แต่ภาคอื่นๆให้ใช้ 24 บาท
ขายในไทยเก็บภาษี + กองทุน 20 บาท ส่งออกไม่เสียภาษี
ไม่พอใช้แต่ให้สัมปทานต่างชาติขุดสูบเอาไป
ไม่พอใช้แทนที่ผลิตได้จะเก็บไว้ใช้ แต่กลับส่งออก
บอกส่งออกน้ำมันดิบเพราะกลั่นได้เบนซินสูง เพราะบ้านเราใช้ดีเซลเป็นหลัก
แต่บ้านเรารถใช้เบนซินทุกชนิด 19 ล้านคัน เบนซินไม่สำคัญตรงไหน ?
บอกส่งออกน้ำมันดิบเพราะกลั่นได้เบนซินสูง เพราะบ้านเราใช้ดีเซลเป็นหลัก
แต่กลับส่งออกดีเซลสำเร็จรูปมากกว่าเบนซิน 5 เท่า
ยอดขายปตท.กับปิโตรนาสของมาเลยเซีย พอๆกันที่เกือบ 3 ล้านล้านบาท
แต่กำไรของปตท.กลับน้อยกว่าถึง 5 เท่า ทั้งที่ขายแพงกว่า
ปิโตรนาสกำไร 8.9 แสนล้าน ปตท.กำไร 1.7 แสนล้าน หายไปไหน 7 แสนล้าน ?
ฯลฯ
Edited by กรกช, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:31.
#54
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:32
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กุมภาพันธ์ 2557 06:03 น
“ดร.รักไทย” งดตอบสาเหตุน้ำมันแพง หลังถูก “มล.กร” พาดพิงว่าตอบเหมือน ปตท. ชี้มองคนละอย่างเลยไม่ขอลงลึก แต่ยันทุกคนในเวทีเสวนา กปปส.เห็นตรงกันว่าต้องลดราคาน้ำมันให้สอดคล้องกับประชาชน พร้อมเสนอแนวทางปฏิรูปพลังงาน ต้นน้ำ-ให้โรงกลั่นรวมกลุ่มกันซื้อน้ำมันดิบ จะได้เพิ่มอำนาจต่อรองได้ราคานำเข้าที่ถูกลง กลางน้ำ-เลิกผูกขาดการขายน้ำมันในประเทศ หรือ ปตท.ต้องชัดเจนจะเป็นรัฐหรือเอกชน ปลายน้ำ-ปรับโครงสร้างภาษีให้ราคาน้ำมันใกล้เคียงประเทศเพื่อนบ้าน
วันนี้ (13 ก.พ.) จากกรณีที่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และนักวิชาการอิสระ พาดพิงว่า ดร.รักไทย บูรพ์ภาค อาจารย์พิเศษวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำสำนักใหญ่ธนาคารโลก กล่าวในเวทีเสวนาของ กปปส.ว่าน้ำมันแพงเพราะภาษี ส่วนราคาหน้าโรงกลั่นไม่ได้แพง ซึ่งเป็นคำตอบที่เหมือนกับ ปตท. ทำให้หลายคนต้องตั้งข้อสงสัยในจุดยืน ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 01.20 น. ดร.รักไทย ได้ชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว "Ruktai Ace Prurapark" ดังนี้
“ร่างเสนอแนวทางปฏิรูปพลังงานไทยจาก ดร. รักไทย บูรพ์ภาค (อาจารย์พิเศษวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/อดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำ สำนักใหญ่ธนาคารโลก)
“ก่อนอื่นผมคงต้องขอใช้สิทธิ์ชี้แจ้งเรื่องที่พาดพิงผมก่อนจาก ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นะครับ แน่นอนครับ ผมเห็นท่านโพสต์เฟซบุ๊กและพาดพิงผมเต็มๆ ก็ขอน้อมรับครับ หลักๆ ที่ท่านพาดพิงผมก็เป็นเรื่องของราคาน้ำมันขายปลีกนะครับ ขอสรุปเลยละกันครับว่า ท่านบอกว่าคำอธิบายของผมเกี่ยวกับเรื่องราคาน้ำมันนั้น ผมตอบเหมือนกับ ปตท. และกระทรวงพลังงาน คือ ราคาน้ำมันแพงเพราะปัจจัยภาษีเป็นหลัก ซึ่งทาง ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี มองเป็นอีกอย่าง ก็ไม่เป็นไรครับ ผมคงไม่ไปลงลึกประเด็นเรื่องนี้กับท่านในประเด็นนี้ เพราะตราบใดที่เราทั้งสองเห็นตรงกันว่า ราคาน้ำมันแพงและต้องหาทางลดเพื่อให้สอดคล้องกับประชาชนนั้น ก็ถือว่าเราทั้งสองคนยังคงมองเป็นทิศทางเดียวกันนะครับ ซึ่งก็ขอขยายความจากตรงนี้เลยครับว่าประเด็นนี้ก็คือ ประเด็นหลักที่ทุกท่านเห็นตรงกันในเวทีเสวนา ในที่ประชุมนั้นหลายๆ ท่านรวมทั้งผมด้วยนะครับ คราวนี้ทำอย่างไรให้น้ำมันที่ประชาชนใช้มันถูก มันก็ต้องมองภาพรวมเป็นทั้งระบบ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ต้นน้ำ
ในต้นน้ำนั้นผมได้เสนอไปในที่ประชุมว่าประเทศเรานั้นได้ขาดกการดี ลตรงกับกลุ่มประเทศ OPEC ท่านทราบไหมครับว่า โรงกลั่น 5-6 โรงในไทยนี้ (ของกลุ่ม ปตท.เป็นส่วนใหญ่) ดีลเองผ่านเอเยนต์ทั้งนั้น หมายความว่าต่างคนต่างดีล เพราะฉะนั้นราคาน้ำมันดิบที่นำเข้ามาก็แพงน่ะสิครับ เพราะต้องผ่านนายหน้าหลายเจ้ากว่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยอำนาจต่อรองก็น้อย เพราะถ้ารวมกันซื้อแล้วอำนาจต่อรองก็จะมากกว่า จริงๆ แล้วส่วนใหญ่น้ำมันดิบมากกว่าครึ่งที่เรานำเข้านี้เราใช้น้ำมันชนิด “Murban Crude” จาก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หลักการดีลตรงนี้ ผมได้แนวคิดมาจากตอนที่ไปประชุม OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เพราะประเทศนำเข้าน้ำมันหลายประเทศก็ทำวิธีเดียวกันนี้กับกลุ่มประเทศ OPEC และไม่ใช่แค่เราจะได้ใช้น้ำมันดิบถูกอย่างเดียวนะครับ เรายังสามารถใช้สินค้าอื่นแลกกับน้ำมันดิบได้อีกด้วย ไม่แน่โครงการข้าวไทยแลกน้ำมันดิบ อาจจะดีกว่าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลก็ได้นะครับ ซึ่งก็จะสามารถแก้ปัญหาการหาตลาดข้าวในระยะยาวได้อีกด้วยครับ รวมไปถึงผมเห็นด้วยในการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งพลังงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งนำข้อมูลที่ได้จากการทำคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic) จากที่ทางกระทรวงพลังงานมีอยู่แล้ว และนำมาทำเป็นฐานข้อมูลน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองทั้งประเทศ โดยที่สามารถเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงได้ แล้วจะได้ใช้ข้อมูลนี้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงตัวเดียวกันเพื่อลดความคลาด เคลื่อนของข้อมูลกันนะครับ
กลางน้ำ
เกี่ยวกับระบบตลาดการแข่งขันในประเทศ ถ้าเรามีการแข่งขั้นการขายน้ำมันในประเทศแบบเสรีโดยที่ไม่มีเจ้าใดผูกขาด นั้น ก็จะทำให้กลไกลตลาดน้ำมันในประเทศสามารถดึงราคาน้ำมันต่ำลงมาได้ หรืออีกแนวทางหนึ่ง คือ การปฏิรูป หรือ Reorganization ของบริษัท ปตท.เอง สำหรับผมแล้ว ผมเสนอว่า ปตท.ต้องวางบทบาทชัดเจนกว่านี้ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน หรือเป็นของรัฐ ถ้าให้ผมเสนอ ปตท.ใหญ่นั้นสัดส่วนการถือหุ้นควรจะเป็นของรัฐเป็นหลัก เพื่อจะช่วยดึงราคาน้ำมันภายในประเทศให้ถูกที่สุด โดยที่องค์กร ปตท.ใหญ่ อยู่ได้และประชาชนรับได้นะครับ ส่วนบริษัท ปตท.สำรวจและผลิต ซึ่งเป็นบริษัทลูกน่าจะเป็นเอกชนเต็มตัว เนื่องจากว่าได้ลงทุนขุดเจาะในต่างประเทศอยู่แล้วซึ่งก็สามารถหากำไรแล้วนำ เงินและพลังงานเข้าประเทศได้
ปลายน้ำ
แน่นอนครับการปรับโครงสร้างภาษีน้ำมันและก๊าซเป็นเรื่องจำเป็นอย่าง มาก ถ้าถามว่าแล้วราคาน้ำมันที่ขายให้ประชาชนควรเป็นอย่างไร ผมก็เสนอว่าน่าจะใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ เรา เช่น มาเลเซีย อินโดเนเซีย เป็นต้น แต่คงไม่ต้องถึงขนาดมาเลเซีย และ อินโดนีเซียนะครับ เพราะประเทศพวกนี้รัฐบาลเข้าให้เงินช่วยเหลือ (subsidize) ด้วยนะครับ แต่ควรจะต้องถูกพอที่จะให้ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านตามหลักของ เศรษฐศาสตร์ปิโตรเลียม ทำไมน่ะรึครับ เพราะถ้าน้ำมันบ้านเราแพงไปจะเกิดน้ำมันเถื่อนไหลเข้ามาในประเทศ และถ้าน้ำมันของเราถูกไปน้ำมันก็จะไหลออกนอกประเทศน่ะสิครับ
สำหรับมุมมองผมนั้นโดยส่วนตัว จากการสัมมนานั้นได้ฟังข้อมูล คุณรสนาและทาง ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นั้นก็ต้องยอมรับครับว่าท่านสองคนนี้มีข้อมูลตรงจุดนี้แน่นพอสมควร อีกทั้งอยู่ในอำนาจที่ทำได้เนื่องจากอยู่ในวุฒิสภา ตรงนี้ผมคงขอเสนอความคิดเห็นกลับไปทางท่านทั้งสองและทีมงาน รวมทั้งท่านผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ด้วยนะครับ ว่าตรงนี้จะแก้ไขได้อย่างไร
สุดท้ายนี้อันนี้ก็เป็นแค่ร่างที่ผมเสนอนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ รบกวนช่วยแชร์ด้วยนะครับถ้าคิดว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่อยากปฏิรูปพลังงานไทยนะ ครับ” ดร.รักไทยระบุ
#55
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:59
การอบรมด้านการเงิน ทำให้เป็น Energy Expert ได้????
การเข้า Seminar & Conferrence เรียกว่าหลักสูตร?????
หาคำตอบก่อนดีกว่าว่า คอร์สที่เรียน อบรม สัมนา เกี่ยวกับอะไร
น้ำมันหนัก น้ำมันเบาคืออะไร ก่อนจะ Copy&Paste จะได้ตรงกับสิ่งที่คุยกัน
มาทำความเข้าใจเรื่อง ระบบการบริหารผลประโยชน์ในวงการพลังงานก่อนดีกว่า
หลักๆ มี 3 ระบบ คือ 1.สัมปทาน 2.แบ่งผลประโยชน์ 3.จ้างผลิต
สัมปทานก็ทางยุโรป/เมกา ซึ่งไทยรับมาใช้ ผลประโยชน์บนความเสี่ยง คือ ขุดแล้วอาจจะเจอหรือไม่เจอก็ได้ รัฐจึงจูงใจคนมาขุดด้วยผลตอบแทนสูง รัฐอนุญาติให้เอกชนทำ
แบ่งผลประโยชน์ Profit Sharing จะพวกแอฟริกากับมุสลิมส่วนใหญ่ เป็นสัญญาแบบพัฒนาแล้ว วิน วิน ทั้งสองฝ่าย รัฐเป็นเจ้าของ จ้างบริษัทไปทำ
แบบจ้างผลิต พวกนี้ส่วนใหญ่อยู่ ตะวันออกกลาง มีน้ำมันชัวร์ แต่รัฐคงอำนาจทั้งหมด กึ่งๆไม่ไว้ใจต่างชาติก็พวก ซาอุ อิรัก อิหร่าน
กลับมาสู่ท้อปปิค....
สุดท้ายก็ต้องไปอัดรัฐว่าจะใช้นโยบายพลังงานแบบไหน.....หาใช่อัด ปตท
จะอัด ปตท ต้องไปอัดเรื่อง ชี้นำตลาด กดดันรายย่อย
มาอัด ปตท เรื่อง กองทุนน้ำมัน ภาษีสรรพสามิต อัดถูกตัวหรือ
ในเมื่อสิ่งที่เรียกร้องมันเป็น นโยบายของรัฐ
Edited by zeedzaad, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 15:14.
- promotion likes this
#56
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 15:18
ก็ไม่ตรงอีกเหมือนเดิม
การอบรมด้านการเงิน ทำให้เป็น Energy Expert ได้????
การเข้า Semibar & Conferrence เรียกว่าหลักสูตร?????
หาคำตอบก่อนดีกว่าว่า คอร์สที่เรียน อบรม สัมนา เกี่ยวกับอะไรหน้าที่ของหม่อมกรฯ ในอนุกรรมาธิการสว. คือ ตรวจสอบครับ หลักสูตรก็ตรงอยู่แล้ว เอาหม่อมกรฯ มาผลิตน้ำมัน หรือไง
น้ำมันหนัก น้ำมันเบาคืออะไร ก่อนจะ Copy&Paste จะได้ตรงกับสิ่งที่คุยกัน
น้ำมันของเราเอาไปผลิต G-Base ผลิตไม่ได้หรือไง
มาทำความเข้าใจเรื่อง ระบบการบริหารผลประโยชน์ในวงการพลังงานก่อนดีกว่า
หลักๆ มี 3 ระบบ คือ 1.สัมปทาน 2.แบ่งผลประโยชน์ 3.จ้างผลิต
สัมปทานก็ทางยุโรป/เมกา ซึ่งไทยรับมาใช้ ผลประโยชน์บนความเสี่ยง คือ ขุดแล้วอาจจะเจอหรือไม่เจอก็ได้ รัฐจึงจูงใจคนมาขุดด้วยผลตอบแทนสูง รัฐอนุญาติให้เอกชนทำ
แบ่งผลประโยชน์ Profit Sharing จะพวกแอฟริกากับมุสลิมส่วนใหญ่ เป็นสัญญาแบบพัฒนาแล้ว วิน วิน ทั้งสองฝ่าย รัฐเป็นเจ้าของ จ้างบริษัทไปทำ
แบบจ้างผลิต พวกนี้ส่วนใหญ่อยู่ ตะวันออกกลาง มีน้ำมันชัวร์ แต่รัฐคงอำนาจทั้งหมด กึ่งๆไม่ไว้ใจต่างชาติก็พวก ซาอุ อิรัก อิหร่าน
เอาให้เหมือนประเทศที่ติดกับเราดีไหม เอาตรงที่ทับซ้อนเลยก็ได้ ควรเท่ากันไหม
กลับมาสู่ท้อปปิค....
สุดท้ายก็ต้องไปอัดรัฐว่าจะใช้นโยบายพลังงานแบบไหน.....หาใช่อัด ปตท
จะอัด ปตท ต้องไปอัดเรื่อง ชี้นำตลาด กดดันรายย่อย
มาอัด ปตท เรื่อง กองทุนน้ำมัน ภาษีสรรพสามิต อัดถูกตัวหรือ
ในเมื่อสิ่งที่เรียกร้องมันเป็น นโยบายของรัฐปตท. เป็นของรัฐ เหตุใดต้องทำให้น้ำมันแพงด้วย เช่น ค่าการตลาดติดลบ เพื่อทำลายคู่แข่ง
ปตท.นำเข้าซี3ซี4 เพื่อเลี่ยงภาษี แล้วบอกว่านำเข้าแอลพีจี เพื่อขอเงินชดเชยกองทุนน้ำมัน แต่ปริมาณนำเข้ากลับมีปริมาณเท่าๆกัน ระหว่างซี3ซี4 แล้วมันจะผสมกันเป็นแอลพีจีได้อย่างไร
ก่อนอื่นขอให้ดูกระทู้นี้ก่อน
การปฏิรูประบบพลังงานในทุกด้าน โดยกรอบการปฏิรูปพลังงานเบื้องต้น ที่ “สภาปฏิรูปพลังงาน” เสนอมีทั้งหมด 9 ข้อ คือ
1.หยุดให้สัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21
2.ให้มีการปฏิรูปราคาก๊าซฯและน้ำมันทุกชนิดให้สะท้อนต้นทุนจริง แทนการอ้างอิงราคาก๊าซ น้ำมัน ตามราคาตลาดโลก
3.ให้ยกเลิกมติครม.ที่ปรับขึ้นราคาก๊าซฯ โดยหยุดขึ้นราคาก๊าซฯ และลดราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ลงที่ 5-10 บาท/ลิตร
4.จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีสัดส่วนของภาคประชาชนกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการปฏิรูปพลังงานของประเทศในทุกด้านให้เป็นธรรม และแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้สัดส่วนสัมปทานมากกว่า 80% ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมตรวจสอบปริมาณการขุดเจาะ การบริหารจัดการ แบะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 85,67,66(4) และ 78
5.หยุดเอาเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยให้ปตท.และโรงกลั่นเนื่องจากเป็นต้นทุนเทียมและเป็นการค้ากำไรเกินควร
6.ยกเลิกพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และแก้ไข พ.ศ. 2550 ฉบับ 5, 6 ที่อนุญาตให้ข้าราชการกระทรวงพลังงานไปเป็นบอร์ดหรือผู้บริหาร ปตท. และบริษัทลูก
7.ยกเลิกการผูกขาดซื้อ ขาย ก๊าซ น้ำมัน โดยบริษัท ปตท.
8.ยกเลิกการผูกขาดขายไฟฟ้าโดย กฟผ.
9.สร้างกองทุนสวัสดิการประชาชนจากปิโตรเลียม เพื่อให้การศึกษาเยาวชนถึงปริญญาตรีฟรีสวัสดิการแก่คนยากจน แก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ
ภายใต้กรอบการปฏิรูปพลังงานข้างต้น คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กองทัพประชาชนฯ และตัวแทนจากสภาปฏิรูปพลังงาน ได้ออกแถลงการณ์และยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อกระทรวงพลังงานเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา ให้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีสัดส่วนของภาคประชาชนกึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อจัดทำนโยบายและแผนการปฏิรูปพลังงานของประเทศไทยในทุกด้านให้เป็นธรรม
นอกจากนั้น ยังขอให้ลดราคาน้ำมันเบนซินลง 10 บาทต่อลิตร และแก๊สโซฮอล์ 5 บาทต่อลิตร ขอให้รัฐบาลหยุดการขึ้นราคาและน้ำมัน ขอให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม.ที่ให้อ้างอิงราคาก๊าซและน้ำมันตามราคาตลาดโลกโดยเปลี่ยนมาใช้ราคาที่สะท้อนต้นทุนจริง และมีกรรมการสามฝ่ายเป็นผู้พิจารณาราคาเหมือนค่าโดยสารรถยนต์ และขอให้หยุดเลือกปฏิบัติโดยให้ภาคปิโตเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตราเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นอีก 12 บาทต่อกก. และให้แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ยังมีข้อเสนอแนวทางการปฏิรูประบบพลังงานของประเทศไทยที่แชร์กันในเครือข่ายรณรงค์ปฏิรูปพลังงานผ่านหัวหอกคนสำคัญ อาทิ หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และนักวิชาการอิสระ, อิฐบูรณ์ อ้นวงศา จากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อีกด้วย โดยมีข้อเสนอ คือ
1. ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากเป็นการจัดเก็บเงินจากประชาชนและใช้จ่ายเงินที่ไม่ผ่านการตรวจสอบของระบบรัฐสภา มีการใช้ผิดวัตถุประสงค์ และไม่มีความจำเป็นแล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีความเป็นธรรมต่อประชาชนมากขึ้น
2. ยกเลิก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และออกกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่เปลี่ยนระบบการให้สิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต
2.1 ในกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่ให้มีการจัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติขึ้น เป็นองค์กรของรัฐจะนำมาขายหรือกระจายหุ้นเปลี่ยนแปลงเป็นเอกชนไม่ได้ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแทนกระทรวงพลังงาน (ไม่ใช่ ปตท. เพราะถูกแปรรูปเป็นเอกชนไปแล้ว)
2.2 ให้รัฐโดยบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมทั้งหมดของประเทศทั้งใต้ดินและที่ขุดขึ้นมาได้ รวมทั้งเป็นเจ้าของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติในส่วนที่เคยเป็นของรัฐแล้วถูก ปตท. ถือครองแทน
2.3 เอกชนที่ได้สิทธิเข้าดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอยู่ในฐานะผู้รับจ้างมิใช่ผู้รับสัมปทาน จะได้รับค่าตอบแทนจากรัฐเป็นปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นธรรมภายใต้การควบคุมของรัฐ
3. ให้พัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงทางอ้อม โดยคุมสัดส่วนการถือครองหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของ ปตท. และบริษัทในเครือ ไม่ให้เกิน 30%
4. แก้ไข พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ.2535 ให้มีสัดส่วนของนักวิชาการที่มาจากการสรรหาของประชาชน และตัวแทนประชาชนเกินกึ่งหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพลังงานของประเทศมากขึ้น
5. ให้ออกกฎหมายพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ที่มีหลักการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ สามารถขายเข้าระบบไฟฟ้าได้ก่อนพลังงานกลุ่มฟอสซิล โดยไม่มีการจำกัดปริมาณ เป็นสัญญาระยะยาว เพื่อปรับทิศทางการใช้พลังงานหลักของประเทศเป็นพลังงานหมุนเวียนในท้ายที่สุด
อย่างไรก็ตาม ประเด็นร้อนเร่งด่วนในเวลานี้คือ การให้สัมปทานน้ำมันที่กระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการ ซึ่งนางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ได้ออกแถลงการณ์ปรามให้กระทรวงพลังงาน “หยุดลักไก่ให้สัมปทานน้ำมันช่วงวิกฤติของบ้านเมือง” โดยแฉว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานอาศัยช่วงชุลมุนทางการเมืองของประชาชนเตรียมเสนอบอร์ดปิโตรเลียมให้เปิดสัมปทานรอบที่ 21 ในช่วงขึ้นปีใหม่ 2557 โดยไม่ยอมปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยส่วนแบ่งผลผลิตเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรมก่อนจะเปิดสัมปทานรอบใหม่
ระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่ประเทศใช้อยู่ตามกฎหมายปิโตรเลียม พ.ศ 2514 มีการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ในปี 2532 เพียงครั้งเดียวโดยเปลี่ยนแปลงค่าภาคหลวงจาก 12.5% เป็นการเก็บแบบขั้นบันได 5-15% ซึ่งในขณะนั้นราคาน้ำมันดิบมีราคาประมาณ 18 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบมีราคา 100-120 เหรียญต่อบาร์เรล แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยังยืนยันว่าระบบที่ใช้อยู่เป็นส่วนแบ่งที่เหมาะสมแล้ว ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ทั้งพม่า กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ล้วนเปลี่ยนมาใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต (Production หรือ Profit Sharing) แทนระบบสัมปทาน (Concession) ทั้ง 2 ระบบต่างกันที่เรื่อง “กรรมสิทธิ์” ปิโตรเลียมว่าเป็นของรัฐหรือเอกชน
1) ระบบสัมปทาน กรรมสิทธิ์เป็นของเอกชน เมื่อเอกชนรายใดได้รับสัมปทานปิโตรเลียมจากรัฐบาล กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ขุดได้ จะตกเป็นของเอกชนทั้งหมด และเอกชนจ่ายผลตอบแทนให้รัฐบาลเป็นส่วนน้อย เมื่อเอกชนเป็นเจ้าของผลผลิตปิโตรเลียม ตามกฎหมายปิโตรเลียม 2514 จึงสามารถส่งออกปิโตรเลียมที่ตนเองขุดได้ในประเทศไทยเท่าไหร่ก็ได้ และเวลาขายให้คนไทยก็ขายในราคาเท่ากับนำเข้าจากต่างประเทศ
2) ระบบแบ่งปันผลผลิต กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ เอกชนเป็นเจ้าของเฉพาะส่วนแบ่งที่ได้รับ เอกชนหักค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะแล้ว ส่วนที่เหลือคือกำไรที่ต้องนำมาแบ่งกัน และรัฐบาลทุกประเทศจะได้ส่วนแบ่งมากกว่าเอกชน อินโดนีเซีย จะได้ส่วนแบ่งที่รวมภาษีแล้ว 85% ในส่วนผลผลิตที่หักค่าใช้จ่ายการขุดเจาะแล้ว และเอกชนได้ส่วนแบ่ง 15% และในส่วนแบ่งปิโตรเลียม 15% นั้น เอกชนต้องขายคืนให้รัฐจำนวน 25% ในราคาลด 25% จากราคาตลาดโลก พม่าได้ค่าภาคหลวง10% และหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเอาส่วนแบ่งกำไรอีก 50-80% และภาษีอีก 30% ส่วนกัมพูชา ได้ค่าภาคหลวง 12.5% และได้ส่วนแบ่งกำไรอีก 40-60% และภาษีอีก 30% ส่วนประเทศไทยได้ค่าภาคหลวง 5-15% และภาษีเงินได้ 50% ไม่มีส่วนแบ่งผลผลิตหรือกำไร ได้ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอีกเล็กน้อย
ระบบของประเทศอินโดนีเซียเป็นต้นแบบการจัดการส่วนแบ่งรายได้จากทรัพยากรปิโตรเลียมที่ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทยนำไปใช้ ยกเว้นประเทศไทยยังคงยืนหยัดจะใช้ระบบเดิมที่ใช้มาเป็นเวลา 42 ปี ซึ่งเป็นระบบของยุคล่าอาณานิคม ที่เจ้าอาณานิคมได้ทรัพยากรทั้งหมดไปเป็นกรรมสิทธิ และจ่ายเงินตอบแทนเพียงเล็กน้อยให้ประเทศเจ้าของทรัพยากร
ระบบแบ่งปันผลผลิต กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมเป็นของประเทศและประชาชน ถ้ารัฐบาลขายประชาชนในราคาถูก ประชาชนได้ประโยชน์ ระบบเศรษฐกิจมีศักยภาพในการแข่งขัน แต่ถ้ารัฐบาลขายราคาสูง รัฐบาลจะได้รายได้เพื่อเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ โดยไม่ต้องกู้ หรือกู้น้อยลง ไม่เป็นภาระกับประชาชนแต่ระบบสัมปทานของไทย เอกชนได้กำไรสูง ประชาชนต้องใช้ราคาก๊าซและน้ำมันแพง โดยรัฐได้ส่วนแบ่งรายได้ที่ไม่เป็นธรรม แต่กระทรวงพลังงานยืนหยัดไม่ยอมเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อให้ประเทศ และประชาชนได้ประโยชน์จากส่วนแบ่งปิโตรเลียมที่เป็นทรัพยากรของประเทศก่อนที่จะเปิดสัมปทานรอบใหม่ รอบที่ 21 และยังจะอาศัยช่วงประชาชนชุลมุนเปิดสัมปทานภายในปลายปี 2556 ต่อช่วงต้นปี 2557
ส.ว.รสนา ได้เรียกร้องให้กระทรวงพลังงานหยุดการดำเนินการใดๆ จนกว่าจะมีการปฏิรูประบบการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่คัดค้านการเปิดสัมปทานรอบ 21 ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้กระทรวงพลังงานต้องเลื่อนการเปิดสัมปทานรอบ 21 ออกไปจากที่กำหนดไว้เดิมในเดือนมิถุนายน 2554 และให้หยุดฉ้อฉลใช้วิกฤตของบ้านเมืองเป็นโอกาสในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเอกชนมากกว่าประเทศชาติและประชาชน บัดนี้ประชาชนจำนวนมหาศาลได้ตื่นตัวขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ปิโตรเลียมของพวกเขา และเฝ้าจับตากลุ่มธุรกิจการเมือง กับข้าราชการที่ฉ้อฉลไม่ให้ฉวยโอกาสปล้นชิงทรัพยากรของประชาชนอีกต่อไป
พอเจอไม้นี้เข้า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ออกมาชี้แจงโต้ตอบแถลงการณ์ของ ส.ว.รสนา โดยยืนยันเตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แม้จะอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการณ์ เพราะถือเป็นไปตามแผนงานปกติ คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ายื่นขอสัมปทานช่วงมิถุนายน 2557 และการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะใช้ระบบสัมปทานต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตก็ตาม โดยอ้างว่าจะเป็นระบบสัมปทานหรือระบบแบ่งปันผลผลิตกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมไม่ได้มีความแตกต่างกัน และอธิบายเป็นคุ้งเป็นแควว่า ระบบผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้สัมปทานนั้นดีเลิศอยู่แล้ว
ในนามของกปปส. หมอระวีได้ให้ทางก.พลังงานเซ็นรับรองแล้วว่าจะไม่ดำเนินการใดๆทั้งสิ้นในการให้สัมปทาน รวมทั้งการสำรวจแหล่งและ ปริมาณ ปิโตรเลี่ยมด้วย
ช่างเป็นท่าทียืนหยัดหนักแน่นในการรักษาผลประโยชน์ของบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานเสียยิ่งกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่นำพาว่าประเทศอื่นทั่วโลกแม้แต่เพื่อนบ้านที่ไทยอวดตัวว่าเหนือกว่าอย่างกัมพูชา พม่า ก็ยังชาญฉลาดและมีสติปัญญามากกว่าไทยในการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ
Edited by Stargate-1, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 18:33.
- Bayonet likes this
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#57
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 16:11
สุดท้ายก็ยังคงความคิดเด็กๆ ไว้สินะ น้องแพร๊ดดด
รู้จักลำดับขั้นตอน อะไรสำคัญก่อน-หลัง มั้ยครับ
ถ้ายังต้องลงรายละเอียดมากกว่านี้ก็คงไม่ไหวนะครับ
พอเถอะหนู ทีล่ะ Step ย้ำ เข้าใจมั้ยเนี่ย
• เอือมระอากับบรรดาพี่น้องที่หลงทางจริงๆ เห็นต่างกันยังรับได้ครับ แต่เห็นผิดเป็นชอบแบบนี้มันบัดซบจริงๆ •
• หายนะของประเทศไทย ก็คือการที่ "ควายเลือกควาย" เข้ามาทำลายประเทศ •
#58
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 17:28
2. ถ้าเปลี่ยนนโยบายพลังงานภาครัฐ น้ำมันจะถูกลงอย่างไร เหมือนข้างบน คือถูกลงเท่าไร
ตอบคำถามสองข้อนี้เสร็จ แล้วจะเห็นอะไรดีๆ
ปัญหามันอยู่ที่ไหนหว่า ท่านโจโฉ ท่านก็ Hint ไว้หมดแล้ว
- promotion likes this
#59
ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 18:06
สงสัยครับ ทวงคือ ปตท. นี่ต้องทำยังไงบ้างครับ?
เอากรรมการ ผู้บริหารออก ?
ให้รัฐบาลกำหนดราคา หรือ ยึดเอาตามราคาโลก ?
แปลง ปตท. เป็น หน่วยงานใน กระทรวงพลังงาน ?
เห็นแต่ข้อมูลโจมตีอย่างเดียว อยากเห็นวิธีการทวงคืน ปตท. หน่อยครับ
- PHOENiiX, zeedzaad and ซีมั่น โลช่า like this
#61
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 13:31
http://www.manager.c...line - การเมือง
วันที่ 12 ก.พ. ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และนักวิชาการอิสระพร้อมด้วย นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขึ้นสนทนาบนเวทีเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ถึงประเด็นปฏิรูปพลังงาน
โดยนายอิฐบูรณ์กล่าวถึงการเสวนาเวที กปปส.ว่า วันนี้ชัดเจนมากขึ้น กปปส.ยืนยันเดินหน้าปฏิรูปพลังงานไทย ที่ต้องมีการเสวนาก็เพื่อมาชี้ทิศทางกันหลังจากที่ผ่านมาถูกวางไว้เฉยๆ พวกเราสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้มีรายละเอียดบางอย่างไม่ตรงกัน แต่เรื่องผูกขาดกิจการพลังงานไทย อันนี้เห็นพ้องกันว่าต้องปฏิรูป
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิดกันตามโซเชียลมีเดีย วันที่ตนไปเวทีปทุมวันแล้วไม่ได้ขึ้น เพราะเด็กที่คุมเวทีอาจไม่เข้าใจว่าตนต้องไปขึ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ได้มีความขัดแย้งกันเลย นายสาทิตย์เคยบอกเลยว่าหนุนการปฏิรูปพลังงานไทยแน่นอน
นายอิฐบูรณ์กล่าวถึงการแปรรูป ปตท.เชื่อมโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าวันนี้ที่เวทีเสวนาได้ปูภาพกันจนทำให้ อ.เจิมศักดิ์ได้เห็น เพราะบางคนบอก อ.เจิมศักดิ์เป็นพิธีกร มีการรับสปอนเซอร์จาก ปตท. แต่วันนี้เหมือน อ.เจิมศักดิ์ตาสว่าง หลังเห็นความเกี่ยวพันถึง พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อตุลาคม 2544 พ.ต.ท.ทักษิณเดินหน้าแปรรูป ปตท. ซึ่งมีโรงกลั่น ท่อส่งก๊าซ และอำนาจผูกขาดที่ได้มาจากตอนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ คือ การเป็นพ่อค้าคนกลางในการจัดหาจำหน่ายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พอแปรรูปก็ได้ยึดอำนาจผูกขาดนี้ทั้งหมดไปด้วย
เดิมทีที่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ ปตท.สผ.จะทำหน้าที่เรียนวิชาการสำรวจเจาะหาก๊าซ-น้ำมัน แต่เมื่อทักษิณเอามา แทนที่จะหาขุดเจาะในไทยกลับไปหาต่างประเทศ ส่วนท่อส่งก๊าซ 2 พันกว่ากิโลเมตรอันนี้ก็ได้ไป แต่ที่สำคัญคืออำนาจผูกขาดที่ได้รับข้อยกเว้นว่ารัฐวิสาหกิจไม่ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ทำให้หน่วยงานรัฐเวลาจะซื้อน้ำมันก็ต้องไปซื้อกับ ปตท.ทั้งหมด ฉะนั้นหลังแปรรูป ปตท.ก็ได้สิทธินี้ไปด้วย
ปี 2545 มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการปิโตรเลียมและการขายน้ำมัน-ก๊าซทั้งหมด กระชับอำนาจด้วยการให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในการกำหนดราคาเชื้อเพลิงผ่านทาง กบง. (คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน) แล้วดึงเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่แต่เดิมอยู่กับกระทรวงการคลังมาอยู่กับสถาบันบริหารกองทุนพลังงานที่ตั้งขึ้นให้ดูเหมือนเป็นหน่วยงานอิสระ แต่อยู่ภายใต้กระทรวงพลังงาน นอกจากนั้นยังได้ประกาศเพิ่มอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้มีอำนาจ ดังนี้ 1. กำหนดเกณฑ์ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น 2. กำหนดราคาน้ำมันขายปลีก 3. จัดเก็บเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 4. กำหนดค่าการตลาดของน้ำมันขายปลีก
ดังนั้น เวลาถาม ปตท.ว่าทำไมน้ำมันแพง เขาจะตอบว่าเขาไม่ได้เป็นคนกำหนด แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นคนกำหนด แต่คนชงก็คือ ปตท.นั่นแหละ
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวเสริมว่า พ.ต.ท.ทักษิณฉลาดมาก ปี 2543 เป็นปีแรกที่ไทยส่งออกน้ำมันดิบไปต่างประเทศ พอปี 2544 แปรรูป ปตท.เลย ที่สำคัญในอดีตเป็นรัฐวิสาหกิจใครอยากลงทุนอะไรก็ชวน ปตท.หมด มีสิทธิพิเศษเหนือเอกชนทั่วไป พอแปรรูปผู้ถือหุ้นก็ได้สิทธินี้ไปหมดเลย เช่น การถือหุ้นใหญ่ใน 5 โรงกลั่น จากทั้งหมด 6 โรงกลั่น ปตท.บอกไม่ผูกขาด ถือหุ้นแค่ 49 เปอร์เซ็นต์ แต่ 49 เปอร์เซ็นต์นี่ ตั้งกรรมการบริษัทดูแลทั้งบริษัทได้แล้ว
แล้วต้องคิดดีๆ ช่วงแปรรูป ตอนนั้นเกิดเหตุเครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรด เราควรหยุดเอาเข้าตลาดหุ้น เพราะหุ้นกำลังตก ขายได้ราคาไม่ดี แต่คนที่ได้หุ้นแจกหุ้นจองดีทุกคน ซึ่งคนที่ไปฟ้องเรื่องนี้เป็นคนแรก คือ นายวีระ สมความคิด โดยฟ้องว่าข้าราชการที่ทำหน้าที่แบ่งสมบัติได้หุ้นหมดทุกคน ฉะนั้น ปตท.ก็ได้แต่สมบัติดีๆ ไปหมด แล้วเขาเขียนกฎหมายไว้ก่อนด้วยว่าคนทำงานกับรัฐสามารถถือหุ้นได้ ตรงนี้เลยฟ้องไม่ได้
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวต่อว่า ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ช่วงนั้นบอกจะได้ 40 กว่าบาทต่อหุ้น ปรากฏว่าเข้าได้ 33 บาท หายไปกว่า 10 บาท ไม่มีใครรับผิดชอบเลย แต่คนได้หุ้นไปยิ้ม เพราะมูลค่าที่แท้จริงมันสูงกว่านั้น ที่บอกว่าทำไมไม่พูดถึงตอนช่วงที่ถือแล้วขาดทุนบ้าง ตนดูกราฟปรากฎว่าราคาต่ำแค่วันเดียวคือวันที่ตลาดเมืองนอกมีปัญหา นอกนั้นขึ้นสูงหมดเลย
นายอิฐบูรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สันดานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตอนแปรรูป ปตท. ในหนังสือชี้ชวนบอกจะแยกระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกจากระบบของบริษัท ปตท. เพื่อให้หน่วยงานอื่นดูแล แต่พอได้ไปแล้วทำเนียน จนทุกวันนี้ก็ยังไม่แยก ซึ่งนี่คือหัวใจสำคัญของ ปตท.เลย ไม่ต้องไปยึด ปตท.คืน แต่ยึดท่อก๊าซออกมาก็จะไม่มีเส้นเลือดใหญ่แล้ว
นายอิฐบูรณ์กล่าวต่อว่า วิธีการหากินของระบบอบทักษิณอีกอย่างคือจัดหานำเข้าพลังงาน อย่างแอลพีจีแต่ก่อนมีเพียงพอต่อการใช้ของคนไทย พอปี 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นั่งเป็นนายกฯ เวลาสั้นมาก แต่ประชุมครั้งหนึ่งมีมติให้จัดสรรก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. ใช้เป็นอันดับแรกร่วมกับภาคครัวเรือน หากไม่พอให้ ปตท.นำเข้ามาแต่เพียงรายเดียว แล้วทีนี้ภาคปิโตรเคมีขยายตัวเร็วมาก จนวันนี้ปิโตรเคมีแซงภาคครัวเรือนไปแล้ว ภาคประชาชนใช้ 3 ล้านกิโลกรัม ปิโตรเคมีใช้เกิน 3 ล้านกิโลกรัม เป็น 6 ล้านเศษ กำลังผลิตในไทยจากโรงกลั่นได้ 2 ล้านกิโลกรัม จากโรงแยกได้ 4 ล้านกิโลกรัม รวมเป็น 6 ล้านกิโลกรัม ฉะนั้นภาคอื่น (ภาคยานยนต์, ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ) ก็ไม่พอใช้ จึงต้องนำเข้า แล้วผลักภาระการนำเข้าให้ภาคอุตสากรรม โดยโดนเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน 10 บาท/กก. ภาคยานยนต์ 3 บาท ภาคประชาชน 3 บาท แล้วจะเพิ่มเป็น 6 บาท ส่วนภาคปิโตรเคมีสั่งเรียกเก็บ 1 บาท ทั้งๆ ที่ใช้มากสุด
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวเสริมว่า เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท.ผูกขาด 100 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซที่ขึ้นมาจากแผ่นดินจะมีแอลพีจีและเอ็นจีวีปนกัน ฉะนั้นต้องแยกก๊าซ คนใช้มีลูกปตท.ด้วย เขาจะให้ลูกใช้ก่อนประชาชนตรงๆก็น่าเกลียด เลยเขียนกฎหมายใหม่ โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ภาคปิโตรเคมีใช้พร้อมภาคครัวเรือน ส่วนภาคยานยนต์ กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ไปนำเข้า แล้วราคาที่จ่ายก็ถูกมากคือ 17 บาท/กก. แต่ลูกชาวบ้าน 25 บาท/กก. ภาคอุตสาหกรรมจ่าย 30 บาท/กก.
มาถึงราคาหน้าปั๊ม ก่อนปี 48-49 เราจะเห็นมีปั๊มน้ำมันมากมายหลายยี่ห้อ แต่ทำไมถึงตายหมด นั่นก็เพราะ ปตท.ทำค่าการตลาดติดลบ ทำราคาขายให้ถูกเพื่อทำลายคู่ต่อสู้ให้ตายหมด แล้วยังสร้างภาพได้ด้วยว่าต้องการช่วยประชาชน เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว แล้วมันก็มาเอาคืนตอนหลัง วันนี้น้ำมันบางชนิดค่าการตลาด 5 บาท สูงกว่าที่ควรจะเป็นมาก จากที่ควรอยู่ที่ 1 บาท
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวอีกว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ยกกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ขุดได้ไปให้เอกชนทั้งหมด ด้วยราคา 1 หมื่นบาท นั่นคือค่าได้สัมปทาน เหมือนกับว่าเรายกสวนให้เขาฟรีๆ ได้เท่าไหร่เอาไปขาย เอาแค่เศษตังค์มา นั่นคือค่าภาคหลวง แล้วพอเจ้าของสวนอยากได้ผลไม้ก็ต้องยอมซื้อในตลาดโลก ส่วนประเทศอื่นในอาเซียนใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตกันทั้งนั้น นั่นคือมีต้นทุนเท่าไหร่หักไป แล้วกำไรมาแบ่งกัน โดยประเทศได้ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์
ส่วนเรื่องที่บอกว่าไทยมีปิโตรเลียมไม่เยอะ ไม่รู้ด้วยสติปัญญาหรือขี้โกง ในเมื่อเราเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน มากกว่าบรูไน 3 เท่า โดยที่อันดับ 1. อินโดนิเซีย 2. มาเลเซีย อันดับที่มีปิโตรเลียมน้อยกว่าเราใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตทั้งหมด ไม่ว่าจะน้ำมันบ่อใหญ่ เล็ก เป็นกระเปาะ ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตได้หมดเลย เพราะเป็นธรรมสุดแล้ว พวกฝ่ายสนับสนุน ปตท.มักบอกว่าระบบสัมปทาน รัฐไม่ต้องรับความเสี่ยงเลย ตนอยากจะบอกว่าระบบแบ่งปันผลผลิตรัฐก็ไม่ต้องรับความเสี่ยงหมือนกัน
ม.ล.กรกสิวัฒน์ยังกล่าวด้วยว่า ไม่ต้องเอา ปตท.คืน เพราะมันเป็นของเราแต่ต้นแล้ว แต่ต้องแก้นิสัยเสียของเขา เอาสิทธิพิเศษที่เคยได้รับคืน เช่น 1. เอาคืนท่อก๊าซให้องค์กรใหม่ดูแล 2. การผูกขาดขายน้ำมันให้รัฐแต่ผู้เดียวจะทำไม่ได้ ต้องประมูล 3. การถือหุ้นใหญ่มากถึง 5 โรงกลั่นจะทำไม่ได้
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวทิ้งท้ายว่า ตอนนี้กลุ่มทุนพลังงานกำลังดิ้นพล่าน บอกข้อมูลพวกเราไม่จริง แต่เชิญขึ้นเวทีเดียวกันไม่เคยมาเลย ฉะนั้นเราต้องเผยแพร่ข้อเท็จจริง ตนยอมรับความเห็นต่าง แต่ต้องมาคุยกันบนเวที ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ถ้าตนผิดจะยอมรับ
นายอิฐบูรณ์เสนอแนวทางปฏิรูปพลังงานว่า 1. ต้องเขียนใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้ชัดเจนว่าปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ต้องทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น ห้ามตีความอย่างอื่น 2. หลักในการให้สิทธิสำรวจผลิตปิโตรเลียม ยกเลิกระบบสัมปทานออกไปแล้ว ให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการทันที และวิธีให้สิทธิสำรวจผลิตปิโตรเลียมแหล่งต่างๆ ต้องให้ประมูล ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเท่านั้น 3. จัดตังบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ หรือจะเรียกว่าองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติ โดยเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้สังกัดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเด็ดขาด
ส่วนปลายน้ำนั้น 1. ยุติการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม 2. มีมติ ครม.ให้ภาคประชาชนใช้ก๊าซแอลพีจีอันดับแรก ส่วนปิโตรเคมีใช้ทีหลัง ไม่พอให้นำเข้าและรับภาระไปเอง ถ้าทำอันนี้ได้จะไม่ต้องขึ้นราคาก๊าซและน้ำมันเลย 3. ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทันที
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#62
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:00
พอถามทวงยังไง บอกไม่ต้องทวง เพราะเป็นของเราอยู่แล้ว.....
ก็บอกหลายรอบแล้ว อยากได้น้ำมันถูก ไปด่ารัฐ เปลี่ยนนโยบายพลังงานเอา
อยากอัด ปตท ต้องอัดเรื่อง ชี้นำ ครอบงำธุรกิจ
เอางี้ เคยรู้ไหมว่า นอกจาก ปตท. ยังมีบริษัทอื่นขายน้ำมันให้โรงกลั่น บางล้อตบาเรลนึงอาจจะถูกกว่ากันเป็นเหรียญ
แต่ ปตท โทรไปด่าเจ้าอื่น เฮ้ยคุณขายน้ำมันดิบราคานี้ไดยังไง เดี๋ยวราคาเสีย นี่เรื่องแบบนี้คือส่วนที่ต้องด่า
อ่านข้อมูลอะไร อ่านแลัวย่อยด้วย อย่าแค่ตัดแปะแบบไม่เข้าใจ
เอางี้ ถามไปแล้วไม่มีคนตอบ ตอบแทนดีกว่าขำๆ จะได้มองภาพกว้างออก
Ex..
สมมติน้ำมันหน้าโรงกลั่น ออกมา 24 เจอสารพัดภาษีกองทุนไปอีก 24 กลายเป็น 48 บาทหน้าปั้มป์
1.อยากถูกแบบเห็นๆ ยกเลิกภาษี&กองทุนมเหลือ 0 ราคากลายเป็น 24 ทันที อยากถูกกว่านั้นให้รัฐอุดหนุนลิตรละ 5 บาท ได้แล้ว 19 บาทหน้าปั้มป์
2.มาเล่นเรื่องราคาหน้าโรงกลั่น 24 บาท ลดได้เท่าไร เอาให้เต็มที่ 20% 4.80 บาท ให้ 5 บาทเลย สรุปได้ราคาหน้าโรงกลั่น 19 บาท
แต่มารวมภาษี&กองทุน อีก 24 บาท -->19+24 = 43 บาท ตูม......
แล้วปัญหามันอยู่ตรงไหน?????
ข้อมูล ต้องอ่านให้ออก แยกให้เป็น ไม่ใช่เอาปริมาณการกลั่นมาบอกว่าเราผลิตน้ำมันสูงสุด
กลั่นกับขุดมันคนละเรื่อง ถ้าขุดไดเเยอะขนาดนั้นจริง คงไม่เป็น Net Importer หรอก
- promotion likes this
#63
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:14
หม่อมกร ใช้ข้อมูลอย่าง Half Truth
สว. รสนา ขาดความเข้าใจในชุดข้อมูลบางชุด
ชาวบ้าน แห่แชร์ข้อมูล ทั้งๆที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ
ที่ชัดสุด คือเรื่องเปรียบเทียบราคาน้ำมัน โดยไม่ดูข้อเท็จจริงว่า มีการอุดหนุนหรือ เก็บภาษีกองทุน ในแต่ละประเทศ หรือไม่อย่างไร
ที่เลวสุดคือ การสร้างชุดข้อมูลปลอมมาแจกจ่ายทางโซเชียล เอาค่านู้น เทียบค่านี้ ทั้งๆที่มันคละชุด เทียบกันไม่ได้
#65
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 15:20
ยกเลิกกองทุนน้ำมันได้ไหม คลิก --> http://webboard.seri...e-1#entry855139
ถึงเวลาทวงคืนปตท. กลับมาเป็นของแผ่นดิน
คนที่ต้องการซื้อหุ้นบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือหุ้นปตท. คงจำกันได้ถึงบรรยากาศเมื่อเช้าวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งเป็นวันแรกที่มีการเปิดให้จองหุ้น ในเวลา 09.30 น. ตามประกาศของใบชี้ชวน
บางคนไปรอเข้าคิวกันข้ามคืน บางคนไปรอตั้งแต่ตีสี่ ตีห้า แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาเปิดจอง หุ้นจำนวนหลายร้อยล้านหุ้น กลับถูกจองหมดชั่วพริบตา ภายในเวลาแค่นาทีเศษ
ประชาชนที่ผิดหวังต่างด่ากันขรม ว่าเป็นไปได้อย่างไร แค่กรอกข้อมูลของผู้จองเพียง 1 ราย ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 นาที 10 นาที
แน่นอนว่าหุ้นส่วนใหญ่ ตกอยู่ในมือของนักการเมือง ส.ส.-ส.ว. ข้าราชการระดับสูง ที่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ และนายทุนเงินหนา โดยมีการงุบงิบจัดสรร ใส่ชื่อจองกันล่วงหน้า
นับเป็นการกระจายหุ้นอย่างไม่เป็นธรรมที่เห็นได้อย่างชัดเจน แต่ก็ไม่มีใครสามารถทักท้วงแก้ไขได้ นอกจากเก็บความคับแค้นใจไว้ลึกๆ
ต่อมามีผู้ไปร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ว่าการแปรรูป ปตท.ในครั้งนั้น มิชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลปกครองสูงสุดก็มีคำพิพากษา ว่าไม่ผิดพ.ร.บ.แปรรูปฯ พ.ศ. 2544
เรื่องจึงเงียบไป ขณะที่หุ้นปตท.ที่มีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ก็ขึ้นราคามาอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นหุ้นตัวหลัก ที่มีการซื้อขายกันมากที่สุด
การแปรรูปปตท.ดังกล่าวนี้ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำมาเปิดโปงระหว่างการชุมนุม เพื่อให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมในการบริหารราชการของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
และได้จัดตั้งทีมทนายความ หาข้อมูลที่จะร้องต่อศาล เพื่อทวงคืนปตท. กลับมาเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
กระทั่งเมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( พธม. ) พร้อมด้วยนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความในฐานะตัวแทนมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน และประชาชนประมาณ 30 คน ที่ได้ผลกระทบจากการเปิดกระจายหุ้นอย่างไม่เป็นธรรม ของ บริษัท ปตท. ได้ยื่นฟ้อง บริษัทปตท. และ กระทรวงการคลัง ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้
1. เพิกถอนใบหุ้น และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. ขอให้ศาลพิพากษาให้หุ้นในโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 4 โรง ที่บริษัทปตท. ถือครอง ตกเป็นของแผ่นดิน
3. ขอให้ศาลพิพากษาให้กระทรวงการคลัง ดำเนินการทวงคืนสาธารณะสมบัติอันได้มาจากอำนาจตามกฎหมายมหาชน คือ โรงกลั่น ท่อส่งก๊าซ และอุปกรณ์ ส่วนที่ยังไม่ได้คืน ทั้งบนบก และในทะเล รวมทั้งเงินค่าใช้บริการท่อส่งก๊าซ และดอกผล ของการใช้ท่อส่งก๊าซทั้งหมด ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
โดยศาลได้รับคำฟ้องไว้ เป็นหมายเลขคดีดำ ที่ 1912/2554
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในฐานะแกนนำพันธมิตรฯ ได้ชี้แจงถึงการยื่นฟ้องในครั้งนี้ว่า เป็นการดำเนินการตามจุดยืนของพันธมิตรฯ ที่มีมาตั้งแต่เมื่อครั้งชุมนุม 193 วัน เนื่องจากปตท. เป็นสมบัติของชาติ ที่ถูกรัฐบาลในขณะนั้นนำมาหาประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้อง
ซึ่งในปีนี้ ปตท.ระบุว่า มีกำไร 1.3 แสนล้านบาท ครึ่งหนึ่งที่ถูกกระจายออกไปก็เป็นเงินถึง 6.5 หมื่นล้านบาท หากปตท. ยังเป็นของรัฐร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็สามารถเอาเงินจำนวนนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค หรือระบบขนส่งมวลชนได้ทั้งประเทศ
แต่น่าเสียดายที่วันนี้ เงินจำนวนดังกล่าวกลับไปตกไปเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ที่เป็นนอมินีของนักการเมือง อันเนื่องมาจากการแปรที่ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
" อย่ามาถามว่าทำไมพันธมิตรฯ ถึงเพิ่งมาทำเรื่องนี้ ทำไมไม่ทำแต่ต้น คนที่ตั้งคำถามเช่นนี้ ถือว่าเป็นคนที่ด้อยปัญญา และอย่ามาถามว่า เมื่อแปรรูปไปแล้ว จะมาฟ้องอีกทำไม ถามอย่างนี้ก็ด้อยปัญญาอีก เพราะเรื่องนี้ข้อมูลมันหายาก ต้องใช้เวลา ไม่ใช่ว่าแปรรูปปตท.ไปแล้วถึงไม่ถูกเราก็ต้องยอมรับ คิดแบบนี้ไม่ได้ เพราะในเมื่อเรามีจุดยืนว่าต้องทำต้องรักษาคุณธรรม จริยธรรม ให้กับสังคม เมื่อมันผิดก็ไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งไว้ จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องมาทวงคืนสมบัติชาติ"
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ อีกคนหนึ่ง ยืนยันหนักแน่นว่า การกระจายหุ้นของปตท. ในครั้งนั้น ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือ ทีโออาร์ เนื่องจากขั้นตอนในการจะจายหุ้นเป็นไปอย่างไม่เป็นธรรม
" มีอย่างที่ไหน หุ้นหลายร้อยล้านหุ้น ขายหมดเพียงภายในเวลานาทีเศษ แสดงให้เห็นว่า มีการเตรียมการกันมาก่อนล่วงหน้า คนซื้อต้องเป็นคนที่มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่ ถึงจะได้ ประชาชนตาดำๆ ไปยื่นต่อแถวกันตั้งแต่ก่อนเปิดการซื้อ-ขาย ไม่มีใครได้สักราย "
ขณะที่นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจในการฟ้องในครั้งนี้ ยืนยันว่า จุดประสงค์ในการฟ้องครั้งนี้ ไม่ได้ต้องการเอาปตท. มาเป็นสมบัติของพันธมิตรฯ แต่ต้องการให้กลับมาเป็นของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ใช้นำมันในราคาที่เป็นธรรม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ด้วยเล่ห์กลของปตท.ต่อไปอีก
ที่ผ่านมาทางพันธมิตรฯ ได้พยายามที่จะสืบค้นข้อมูลการเกี่ยวกับการขายหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนพบว่ามีการขายหุ้นจำนวนกว่า 900 ล้านหุ้น ไม่เป็นไปตามหนังสือชี้ชวน โดยตามหนังสือชี้ชวนกำหนดให้ผู้ที่ต้องการซื้อหุ้น มาซื้อหุ้นได้ตั้งแต่เวลา 09.30 น.ของ วันที่ 15 พ.ย. 44 แต่ปรากฏว่า ประชาชนที่มาร่วมฟ้องในครั้งนี้ ซึ่งได้ไปแสดงตนก่อนเวลาดังกล่าว กลับได้รับคำตอบเมื่อถึงเวลาเปิดซื้อขายว่า หุ้นหมดไปแล้ว
เมื่อทีมงานของพันธมิตรฯ ที่ติดตาม สืบค้นข้อมูลในเรื่องนี้ พบว่า 863 ราย ซึ่งได้ถือหุ้นที่มีการเปิดขายนั้น ล้วนแต่เป็นญาติของนักการเมืองทั้งสิ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบว่ามีการออกใบจองหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อหุ้นมากกว่า 1 ใบจองรวม 428 ราย
" การกระทำนี้ เป็นการร่วมกับธนาคาร ร่วมกันโกงประชาชน จึงถือว่าการซื้อขายนั้นไม่ชอบ อีกทั้งพบว่า คณะกรรมการของปตท. ได้มีการอนุมัติให้ขายหุ้นราคาพาร์ จำนวน 25 ล้านหุ้น ในราคา 10 บาท ให้กับผู้มีอุปการะคุณ ซึ่งผู้มีอุปการะคุณ เหล่านี้ เมื่อไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นนักการเมือง ส.ว. , ส.ส. ผู้พิพากษา อัยการ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จึงอยากทราบว่า คณะกรรมการฯ ใช้อำนาจอะไรในการอนุมัติ รวมทั้งการกำหนดการจำหน่ายหุ้นสามัญจำนวน 320 ล้านหุ้น ให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งก็อยู่ในฐานนอมินี ที่ดูแลทรัพย์สินของผู้อื่น จึงเป็นการจำหน่ายหุ้นให้แก่บุคคลในรัฐบาลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และขัดต่อกฎหมายป.ป.ช. เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ จึงถือว่าขัดต่อกฎหมายเป็นโมฆะ เพราะเป็นการขายที่ไม่โปร่งใสเป็นธรรม สมควรที่ศาลจะสั่งเพิกถอนให้การซื้อขายหุ้นทั้งหมดของปตท. เป็นโมฆะ และคืนให้ตกเป็นของแผ่นดิน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ในฐานะโฆษกพันธมิตรฯ กล่าวถึงภารกิจการทวงคืนปตท.ในครั้งนี้ว่า แม้ก่อนหน้านี้ศาลปกครองสูงสุด จะเคยมีคำพิพากษาให้ยกคำร้อง ในเรื่องของการแปรรูปปตท.มาแล้ว แต่ในครั้งนั้นเป็นการฟ้องว่า พ.ร.บ.แปรรูปฯ พ.ศ.2544 ที่ใช้ในการแปรรูปปตท.นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลเห็นว่า พ.ร.บ.แปรรูปไม่ผิด และมีคำสั่งให้รัฐแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติ สิทธิ การใช้ที่ดิน เพื่อวางระบบการขนส่งการปิโตเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิ ในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชน ของรัฐออกจากอำนาจ และสิทธิของปตท.
แต่การฟ้องของพันธมิตรฯ ในครั้งนี้ เป็นคนละประเด็นกัน โดยในครั้งนี้ ข้อมูลที่นำเสนอต่อศาล เน้นไปที่วิธีการที่มีการกระจายหุ้น เนื่องจากมีการกระทำไม่ชอบ ผิดจากหนังสือชี้ชวน ซึ่งถือว่าเป็นการต่อยอดจากคดีเก่า ที่ศาลเคยมีคำพิพากษาไปแล้ว ไม่ใช่ต้องไปรื้อ และไม่ได้เป็นการให้ศาลกลับคำพิพากษาที่เคยมี เพียงแต่เราต้องการให้ศาลพิจารณา ในเรื่องของการกระจายหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องทวงคืนปตท.กลับมาเป็นสมบัติของชาติ ของประชาชน
“ไพรินทร์”ตีมึนกระแสเรียกร้อง”ทวงคืนปตท.” อ้างปตท.เป็นบริษัทพลังงานของคนไทยอยู่แล้ว ไม่เข้าใจทวงคืนทำไม ชี้หากจะเพิกถอนปตท.ออกจากตลาดหุ้น รัฐต้องตั้งงบประมาณมหาศาลซื้อหุ้นคืน จากปัจจุบันหุ้นปตท.มีมาร์เก็ตแคปสูง 8 แสนล้านบาท และไม่มีผลทำให้ประชาชนใช้น้ำมันถูกลง เผยไล่ฟ้องผู้ที่โพสต์และแชร์ข้อมูลบิดเบือนผ่านโซเชียลมีเดีย
"ม.ล.กรกสิวัฒน์ยังกล่าวด้วยว่า ไม่ต้องเอา ปตท.คืน เพราะมันเป็นของเราแต่ต้นแล้ว แต่ต้องแก้นิสัยเสียของเขา เอาสิทธิพิเศษที่เคยได้รับคืน เช่น 1. เอาคืนท่อก๊าซให้องค์กรใหม่ดูแล 2. การผูกขาดขายน้ำมันให้รัฐแต่ผู้เดียวจะทำไม่ได้ ต้องประมูล 3. การถือหุ้นใหญ่มากถึง 5 โรงกลั่นจะทำไม่ได้"
เพ้งไม่รู้ หรือ Half Truth ว่า แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3 คลิก ---> รมว.ก.พลังงานไม่รู้ว่าแอลพีจีทำมาจากอะไร
ปตท.จงใจโกหก กรรมาธิการ สว. อ้างนำเข้าซี3ซี4 แทน การนำเข้าแอลพีจี เพื่อเลี่ยงภาษี และขอชดเชยเงินจากกองทุนน้ำมัน
http://www.youtube.c...h?v=j9G6HLVoY7U
Edited by Stargate-1, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 15:53.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#66
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 15:39
เอาปตท.กลับคืนมาเป็นของรัฐแบบเต็มๆ ไม่ใช่ให้เอกชนโกยกำไร แต่ประชาชนเดือดร้อน
เอาคืนมาเพื่อให้น้ำมันถูกลง เพราะก่อนแปรรูปน้ำมันไม่แพงขนาดนี้ แต่แปรรูปแล้วแพงมาก
ความหมายของคำว่า ทวงคืน ปตท. ของคนทั่วไป ก็คงประมาณนี้
การที่นักวิชาการพลังงานพยายามบอกว่าเรามีน้ำมันมาก เป็นการสื่อโต้แย้งกลุ่มพลังงาน ที่พยายามบอกว่าเรามีน้อย
ไม่ใช่ว่าเอาประเด็นนี้มาทำให้น้ำมันถูกลง
น้ำมันจะถูกลงได้ก็ต้องแก้ที่โครงสร้างราคา น้ำมัน 1 ลิตร(เบนซิน) ภาษี+กองทุน ฟาดไป 20 บาท
ทั้งที่เป็นสินค้าจำเป็น ต้องควบคุมราคาไม่ให้สูง เพราะส่งผลกระทบกับค่าครองชีพประชาชน
แต่ก็ไม่มีนักการเมืองคนไหนคิดได้ ไม่ว่าใครเข้ามา เก็บภาษีเพิ่มอย่างเดียว
ถ้าเลิกเก็บภาษี + กองทุน น้ำมันลดลงได้ทันที 20 บาท ต่อลิตร
และไม่ใช่ว่าจะลดได้แค่นั้น เพราะถึงเราจะนำเข้า แต่ก็ผลิตได้เองด้วย ก็มาหารเฉลี่ยราคากัน
ระหว่างนำเข้า และผลิตได้เอง ราคาก็ลดลงได้อีก
และเราผลิตเมืองไทย กลั่นเมืองไทย ถ้าแก้ไขที่ค่าการตลาด ค่าขนส่ง ปลอมๆ ที่ไปอิงสิงค์โปร์ ก็ลดลงได้อีก
แค่นี้น้ำมันบ้านเราก็ไม่ถึง 20 บาทแล้ว
- zeedzaad likes this
#67
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 15:44
มีข้อมูลว่า ปตท. รับซื้อน้ำมันจากผู้สัมปทาน แล้วส่งออกไปบริษัทที่ตั้งไว้ในประเทศเพื่อนบ้าน ฟันกำไร 1 ต่อ
แล้วซื้อกลับมาส่งโรงกลั่น ฟันกำไรอีก 1 ต่อ
โรงกลั่นก็ของปตท.เอง ได้กำไรจากค่ากลั่นอีก 1 ต่อ
กลั่นจากน้ำมันดิบเป็นสำเร็จรูปขาย ได้กำไรอีก 1 ต่อ
ส่งขายในไทย ได้กำไรจากค่าการตลาด ค่าขนส่งปลอมๆ เพราะอิงสิงค์โปร์ อีก 1 ต่อ
ส่งออกไม่เสียภาษี แล้วย้อนกลับมาขายในไทย ฟันส่วนต่างกำไรลิตรละ 20 กำไรอีก 1 ต่อ
#68
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 16:02
กำนันสุเทพหางโผล่ ขนาดเอาสถาบันและธงชาติมาพรางตัว หม่อมกร ยังหาหางเจอ
#69
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 16:05
ปตท.น่าจะรู้อนาคตตัวเองแล้ว โยกธุรกิจมีกำไรออกไปจากปตท.หมดแล้ว เหลือแต่ ธุรกิจผูกขาด และ ธุรกิจปลายน้ำที่มีกำไรน้อย
ขนาดเอาสถาบันและธงชาติมาพรางตัว หม่อมกร ยังหาหางเจอ
ขณะนี้กลุ่มทุนพลังงานส่งคนเข้าไปแทรกในทุกเหล่าทุกสี เพื่อนผมอยู่สีแดง เขาบอกว่ากลุ่มทุนพลังงานจ่ายเงินให้วิทยุชุมชน และเวทีต่างๆ เป็นประจำ เพื่อปิดกั้นข้อมูลพลังงานจากคนไทยเจ้าของทรัพยากรตัวจริง เพราะว่าไม่ว่าใครชนะ มันก็จะเสวยสุขบนทรัพยากรของเราเช่นเดิม
ปฏิบัติการลอบกัดเพื่อดิสเครดิตผมอีกอย่างคือ การเอาข้อมูลที่ผมพูดบนเวทีมาใส่ข้อมูลเท็จ แล้วส่งต่อทาง Line ของคนที่อยู่หลังเวที เพื่อนผมใน ปชป.ส่งให้ดู โดยบอกทาง กปปส.ว่า อย่าให้ผมมาขึ้นเวทีอีก เพราะจะทำให้ กปปส.เสียหาย นี่คือกลยุทธ์อันชั่วร้ายของกลุ่มฉ้อฉลพลังงานไทยที่เราต้องรู้ทันครับ
Edited by Stargate-1, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 16:33.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#70
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 16:34
ถ้ารัฐ = รัฐบาล
รัฐบาล = นักการเมืองที่เป็นรัฐบาล
จะทวงคืนมาให้เป็นของรัฐทั้ง 100%
ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะแก้ปัญหาอะไรได้
ในเมื่อนักการเมือง ยังไม่ไ่ด้เป็นผู้รับใช้ประชาชน
- prisonbreak likes this
#71
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 17:19
มีเหตุผล และเป็นจริงได้เอาปตท.กลับคืนมาเป็นของรัฐแบบเต็มๆ ไม่ใช่ให้เอกชนโกยกำไร แต่ประชาชนเดือดร้อน
เอาคืนมาเพื่อให้น้ำมันถูกลง เพราะก่อนแปรรูปน้ำมันไม่แพงขนาดนี้ แต่แปรรูปแล้วแพงมาก
ความหมายของคำว่า ทวงคืน ปตท. ของคนทั่วไป ก็คงประมาณนี้
การที่นักวิชาการพลังงานพยายามบอกว่าเรามีน้ำมันมาก เป็นการสื่อโต้แย้งกลุ่มพลังงาน ที่พยายามบอกว่าเรามีน้อย
ไม่ใช่ว่าเอาประเด็นนี้มาทำให้น้ำมันถูกลง
น้ำมันจะถูกลงได้ก็ต้องแก้ที่โครงสร้างราคา น้ำมัน 1 ลิตร(เบนซิน) ภาษี+กองทุน ฟาดไป 20 บาท
ทั้งที่เป็นสินค้าจำเป็น ต้องควบคุมราคาไม่ให้สูง เพราะส่งผลกระทบกับค่าครองชีพประชาชน
แต่ก็ไม่มีนักการเมืองคนไหนคิดได้ ไม่ว่าใครเข้ามา เก็บภาษีเพิ่มอย่างเดียว
ถ้าเลิกเก็บภาษี + กองทุน น้ำมันลดลงได้ทันที 20 บาท ต่อลิตร
และไม่ใช่ว่าจะลดได้แค่นั้น เพราะถึงเราจะนำเข้า แต่ก็ผลิตได้เองด้วย ก็มาหารเฉลี่ยราคากัน
ระหว่างนำเข้า และผลิตได้เอง ราคาก็ลดลงได้อีก
และเราผลิตเมืองไทย กลั่นเมืองไทย ถ้าแก้ไขที่ค่าการตลาด ค่าขนส่ง ปลอมๆ ที่ไปอิงสิงค์โปร์ ก็ลดลงได้อีก
แค่นี้น้ำมันบ้านเราก็ไม่ถึง 20 บาทแล้ว
แต่อย่าลืม นโยบายประชานิยมทำรัฐถังแตก
ต้องหาเงินทุกทาง ทางไหนบวกได้ บวกก่อน
Edited by zeedzaad, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:18.
#72
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 17:48
ชุดข้อมูลนึงที่กร ลืมนำเสนอคือ ปตท ถือหุ้นโดยรัฐ 51%
ถ้า ปตท กำไร แสนล้าน กระทรวงการคลังก็รับไป 51,000 ล้านแบบอ้อมๆ
ที่บอกว่าอ้อม เพราะของจริง ต้องหักภาษี ต้องกันส่วนลงทุน ฯลฯ แล้วแยกออกมาเป็น 51% ของปันผล
ในทางกลับกัน ถ้า ปตท มีทรัพย์สิน ห้าแสนล้านบาท กระทรวงการคลังก็มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น 255,000 ล้านบาท
ปัญหาต่อมาคือ เมื่อทวงคืน จะชดเชยให้ผู้ถือหุ้นในตลาดอย่างไร... อยู่ดีๆยึดคืนเลย??? ซื้อคืน??? หาเงินจากไหน ????
ปัญหาของ ปตท คือ การบริหารจัดการภายใน โปร่งใส คุ้มค่าหรือไม่ ต่างหาก มีการถ่ายเทรายได้ออกไปทางไหนหรือไม่
ทำกำไรสูงแล้ว ดีแคร์กำไรต่ำหรือเปล่า ต้นทุนค่าบริหารองค์สูงเกินจริงไหม
การใช้ ปตท เป็นแหล่งถ่ายเทรายได้ไปสู่บริษัทลิ่วล้อ พวกพ้องหรือไม่
สุดท้ายก็คือ ต้องเริ่มที่ต้นทางคือรัฐ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และรัฐที่กำกับนโยบายพลังงาน
ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่บอก กำไรน้อยๆ ช่วยๆชาวบ้าน ก็คงดี
แก้ไข เปลี่ยน ล้านล้าน เป็น ห้าแสนล้าน
Edited by zeedzaad, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:01.
- promotion likes this
#74
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 18:47
เห็นพวกต่อต้าน ปตท มักอ้างว่า...ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น บรูไน กับ มาเลย์เซีย ขายน้ำมันราคาถูกกว่าบ้านเราเยอะ แต่ไม่เปิดเผยว่า ทั้งประเทศ บรูไนและมาเลย์เซีย นโยบายน้ำมันราคาถูกเป็นนโยบายของรัฐ มีการจัดสรรเงินภาษีมาอุดหนุนจำนวนมาก ปีละหลายแสนล้านบาท จึงทำให้ราคาหน้าปั๊มถูก...
ข้อมูลเกี่ยวกับเงินอุดหนุน ไม่เห็นเขานำมาเปิดเผยให้ประชาชนรู้ เขาไม่รู้หรือครับ? หรือว่ารู้แต่แกล้งโง่ ?...ถ้าแกล้งไโง่นี่อันตรายนะครับ...เพราะเหมือนพวกนักการเมืองเสื้อแดงเลย...
#75
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 18:50
คลิก ---> รมว.ก.พลังงานไม่รู้ว่าแอลพีจีทำมาจากอะไร
นักการเมืองกำกับดูแลปตท. หรือ ปตท.กำกับนักการเมือง โดนปตท.หลอกให้ท่องจำไปออกสื่อ
มีรมว.โง่ๆแบบนี้ชาวบ้านจึงเดือดร้อนกันแบบนี้ หรือว่า แกล้งโง่เหมือนไอ้เสี้ยม
ปตท.ยังหลอกแดกเงินกองทุนน้ำมันอีก ทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ โดยมีกบง.เป็นตัวชง นำเข้าซี3ซี4 บอกว่าจะเอารวมกันเป็นแอลพีจี แก้ปัญหาแก๊สแอลพีจีขาดแคลน สุดท้ายก็ส่งให้บ.ลูกเอาเข้าไลน์ผลิตของซี3 และ เอาซี4 ไปใช้อีกไลน์ผลิตหนึ่ง ไม่ต้องเสียเงินแยกแก๊สแอลพีจีให้เมื่อย แล้วยังไปบอกกบง.ว่านำเข้าแอลพีจีขอคืนเงินชดเชยส่วนต่างอีก ระยำจริงๆ แต่กรรมาธิการสว.สงสัย จึงจับได้ว่าปริมาณนำเข้าซี3ซี4 ดันมีจำนวนเท่าๆกัน ซึ่งตามจริงแล้วต้องนำเข้าตามสัดส่วนผสมของซี3ซี4 ที่ไม่เท่ากัน
PTTEP บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ถือหุ้น 2,591,860,489 65.29%
TOP บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ถือห้น 1,001,647,483 49.10%
PTTGC บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ถือหุ้น 2,204,318,913 48.89%
IRPC บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ถือหุ้น 7,869,694,600 38.51%
ดูที่มือ ก็รู้ว่าพ่อไอ้เสี้ยมมือเจ็บ เมื่อเร็วๆ นี้ ใช่ไหม ไอ้เสี้ยม
การที่ศาลปกครองจะตัดสินว่าการกระจายหุ้นปตท.เป็นโมฆะ คงลำบาก เพราะมีการล็อบบี้ กันอย่างมหาศาลแน่นอน เริ่มที่ให้ถอนฟ้อง ไม่ยอม ก็เลยไล่ฟ้องไปหนึ่งคดี
ประเทศอื่นจะอุดหนุนเท่าไหร่ไม่รู้ รู้แต่ว่าภาษีที่เก็บได้จากสรรพสามิตน้ำมัน ปีหนึ่ง ประมาณ 6 หมื่นล้าน แต่ถ้าแบ่งปันผลประโยชน์จากการขุดน้ำมันเหมือนชาวบ้านในภูมิภาคเขา ก็จะมีรายได้เพิ่มอีกเป็นแสนล้าน ประเทศอื่นจะเอาผลประโยชน์ที่ได้รับไปอุดหนุนอย่างไร ไม่เห็นมีใครเอามาข้อมูลมาเปิดเผยเลย แล้วก็ไม่ดูตาม้าตาเรือเลย ว่ารายได้สรรพสามิตน้ำมันของไทย เก็บได้เท่าไหร่ เอามาให้ดูมันก็แกล้งทำเป็นไม่เห็นซะอย่างงั้น ผิดวิสัยคนต้องการข้อมูลว่ะ
คลิก --> http://webboard.seri...-2#entry1062700
ส่วนกองทุนน้ำมันที่ไอ้แม้วตั้งขึ้นมาให้กบง.ดูแล เป็นกระปุกออมสินให้พวกมันถลุงเล่นกัน ไม่ผ่านก.การคลัง ก็ควรยกเลิกไปได้แล้ว โพสต์เรื่องนี้นับครั้งไม่ถ้วน มันก็แกล้งทำเป็นโง่ มองไม่เห็นอีก เช่นเคย ไม่ได้ดูแสดงว่า ไม่ได้นำข้อมูลมาเปิดเผยใช่ไหม
คลิก --> http://webboard.seri...-2#entry1063851
Edited by Stargate-1, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:25.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#76
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:13
ถ้ารัฐ = รัฐบาล
รัฐบาล = นักการเมืองที่เป็นรัฐบาล
จะทวงคืนมาให้เป็นของรัฐทั้ง 100%
ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะแก้ปัญหาอะไรได้
ในเมื่อนักการเมือง ยังไม่ไ่ด้เป็นผู้รับใช้ประชาชน
ถ้าปูเป็นนายกได้ ณัฐวุฒิเป็น รมช. พาณิชย์ได้ สุรพงษ์เป็น รมต.ต่างประเทศได้ จะคาดหวังอะไรละครับ
ทุกวันนี้ อดีต รมต.คลัง สมัย ทักษิณ1 ทักษิณ2 ยังออกมาสับแหลกต้นสังกัดเก่า คงตอบอะไรบางอย่างได้ดี
#78
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:18
กรรม...เห็นสาธยายเสียยื้ดยาว ว่ามีนักวิชาการอิสระที่เชี่ยวชาญเรื่องพลังงานทั้งในและต่างประเทศเป็นคนให้ข้อมูล...ดันไม่รู้ว่าประเทศเพื่อนบ้านเขาใช้เงินภาษีมาอุดหนุนราคาน้ำมันปีละเท่าไร...พี่ ลองไป ถามหม่อมกรนั่นดู ซิ เผื่อว่าเขาจะรู้ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับพี่ได้...ถ้าหม่อมยังไม่รู้ ก็คงต้องหาผู้เชี่ยวชาญคนใหม่ได้แล้ว...
#79
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:22
เอาไปเอามาเสียการณ์ใหญ่หมด
เห็นคลิปแล้วอึ้ง
น่าจะแก้ข่าวนะครับ พลังงาน ใช่พวกคุณหรือไม่
หรือมีคนปลอมปน แทรกซึมเข้ามา
เพราะพวกกันเองไม่น่าจะทำแบบนี้
ในคลิปเห็นหน้าตาชัดเจน น่าจะสืบได้ไม่ยาก
เป็นแดง เข้ามาแทรกซึมเข้ามาบ่อนทำลายหรือเปล่า
เพราะได้ยินคำว่า เชียงใหม่ๆ อะไรนี่หละ
Edited by ทองดี, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:23.
- ซีมั่น โลช่า likes this
#80
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:34
กรรม...เห็นสาธยายเสียยื้ดยาว ว่ามีนักวิชาการอิสระที่เชี่ยวชาญเรื่องพลังงานทั้งในและต่างประเทศเป็นคนให้ข้อมูล...ดันไม่รู้ว่าประเทศเพื่อนบ้านเขาใช้เงินภาษีมาอุดหนุนราคาน้ำมันปีละเท่าไร...พี่ ลองไป ถามหม่อมกรนั่นดู ซิ เผื่อว่าเขาจะรู้ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับพี่ได้...ถ้าหม่อมยังไม่รู้ ก็คงต้องหาผู้เชี่ยวชาญคนใหม่ได้แล้ว...
ประโยคพวกนี้ ได้ยินมาจนเบื่อใน FB แฉความจริง ทวงคืนปตท. แหล่งน้ำมันในเมืองไทย 99% คนไทย ทุกข์เดือดร้อน เพราะ ปตท Goosoogong
ไปเอาภาษีส่วนไหนมาอุดหนุน ของไทยเอามาจากส่วนไหนก็ชี้ให้เห็นว่า เอามาจากส่วนแบ่งผลประโยชน์การขุดน้ำมันเหมือนเพื่อนบ้าน ไปชดเชย ภาษีสรรพสามิต แล้วของต่างประเทศเอามาจากภาษีส่วนไหน ดูข้อมูลตามลิงค์ไม่เป็นหรือไง แกล้งโง่หรือไง แค่พูดไม่กี่ประโยค ก็เป็นข้อมูลแล้วหรือ เอาข้อมูลมาซิ เอามาจากภาษีอะไร http://webboard.seri...-2#entry1062700
ข้อมูลหาเองเป็น ตามที่หม่อมแนะนำ ทำมานานแล้วโว้ย ไอ้เสี้ยม คนที่เกลียดหม่อมกรฯเข้ากระดูกดำ คือไอ้พวกทีมงานของปตท. เจอมาเยอะในFB
http://webboard.seri...ิกทุกท่า/page-6
Edited by Stargate-1, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:59.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#81
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:35
มีข้อมูลว่า ปตท. รับซื้อน้ำมันจากผู้สัมปทาน แล้วส่งออกไปบริษัทที่ตั้งไว้ในประเทศเพื่อนบ้าน ฟันกำไร 1 ต่อ
แล้วซื้อกลับมาส่งโรงกลั่น ฟันกำไรอีก 1 ต่อ
โรงกลั่นก็ของปตท.เอง ได้กำไรจากค่ากลั่นอีก 1 ต่อ
กลั่นจากน้ำมันดิบเป็นสำเร็จรูปขาย ได้กำไรอีก 1 ต่อ
ส่งขายในไทย ได้กำไรจากค่าการตลาด ค่าขนส่งปลอมๆ เพราะอิงสิงค์โปร์ อีก 1 ต่อ
ส่งออกไม่เสียภาษี แล้วย้อนกลับมาขายในไทย ฟันส่วนต่างกำไรลิตรละ 20 กำไรอีก 1 ต่อ
ขอถามนอกเรื่องนิดนึง คุณว่า ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นยังไง
ดีหรือไม่ดีอย่างไร ชอบหรือเกลียดยังไง บอกมาได้เลยไม่ต้องเกรงใจ
อย่าให้ความชั่วร้ายครอบงำเรา จนไม่รู้จักผิดชอบดีชั่ว
#82
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:56
ถามจริง พวกพี่ไม่รู้หรือว่า ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีปิโตเลี่ยมนั่น รัฐบาลเขาเอาไปใช้หมดทุกปีแล้ว...รัฐบาลไทยไม่ได้เก็บภาษีพลังงานแล้วฝากเข้าบัญชีสะสมทรัพย์อยู่ในธนาคารนะ...ถ้าจะลดราคาน้ำมันโดย ไม่เก็บภาษี ไม่เก็บเงินกองทุนน้ำมัน หมายความว่า รายได้รัฐบาลหายไป ต้องหาเงินจากแหล่งอื่น เช่น ขึ้นภาษีตัวอื่นมาชดเชยหรือกู้มา...
อยากจะให้นักวิชาการอิสระของพี่ คิดแบบครบวงจรหน่อย ไม่ใช่คิดแบบสุกๆ ดิบๆ
#83
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:11
ถามจริง พวกพี่ไม่รู้หรือว่า ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีปิโตเลี่ยมนั่น รัฐบาลเขาเอาไปใช้หมดทุกปีแล้ว...รัฐบาลไทยไม่ได้เก็บภาษีพลังงานแล้วฝากเข้าบัญชีสะสมทรัพย์อยู่ในธนาคารนะ...ถ้าจะลดราคาน้ำมันโดย ไม่เก็บภาษี ไม่เก็บเงินกองทุนน้ำมัน หมายความว่า รายได้รัฐบาลหายไป ต้องหาเงินจากแหล่งอื่น เช่น ขึ้นภาษีตัวอื่นมาชดเชยหรือกู้มา...
อยากจะให้นักวิชาการอิสระของพี่ คิดแบบครบวงจรหน่อย ไม่ใช่คิดแบบสุกๆ ดิบๆ
ใช้เวลาดูเพียงไม่กี่นาทีหรือว่ะ อ่านหรือเปล่า แกล้งโง่หรือเปล่า ที่บอกว่าเอาเงินที่เก็บจากส่วนแบ่งมาชดเชยภาษีโว้ย เพื่อนบ้านเขาใช้ระบบนี้กันทั้งนั้น ถ้าไทยทำแบบเพื่อนบ้านทำ ก็จะมีเงินรายได้ในส่วนนี้เพิ่มขี้นอีกเป็นแสนล้านบาทโว้ย ก็สามารถเอาไปชดเชยในการไม่เก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันได้ อ่านแล้วไปปนกับอะไรก็ไม่รู้
คำว่ากระปุกออมสิน หมายถึง ไอ้แม้ว มันตั้งกองทุนน้ำมันขึ้นมา เอาเงินออกมาจากก.การคลัง เพื่อใช้จ่ายในกลุ่มของพวกมัน อย่างอิสระ ไม่มีการตรวจสอบโว้ย ไม่ได้ฝากธนาคาร แกล้งโง่อีกแล้ว มันเอาเงินกองทุนน้ำมันไปเที่ยว บอกว่าไปดูงานเอ็งไม่รู้เลยหรือ เงินของพวกเติมน้ำมันทั้งนั้น
ถามจริงๆ เองแกล้งโง่ อีกแล้ว ถามว่าต่างชาติใช้ภาษีอะไร มาอุดหนุน อย่าแถไปเรื่องอื่น
เอ็งไปบอกเขาเองซิ FB เขาก็มีอยู่ ส่วนที่เห็นๆ อยู่นี่ หาเองโว้ย ครบวงจร หรือไม่เอ็งกลับไปอ่านก่อนจะดีไหม ข้อมูลพวกนี้ คงยังไม่เคยปรากฏใน FB ไหนเลย
http://webboard.seri...-2#entry1062700
Edited by Stargate-1, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:17.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#84
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:39
ทักษิณกลับมา เขาให้น้ำมันลิตรละ 5 บาท เอามั้ย phat21
ลายเซน นายนี่มันกวนส้นจริงๆ
#85
ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:45
เอาเป็นว่า ไอ้ฟัด...เอ็งเอาเวลาด่า กปปส. ไอ้ด่าไอ้แป๊ะดีกว่า ทำไมเสือกไม่เปิดเวทีเองเลย
จะได้ทำตามใจตัวเองได้ทุกอย่าง
#86
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 07:56
ถามจริง พวกพี่ไม่รู้หรือว่า ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีปิโตเลี่ยมนั่น รัฐบาลเขาเอาไปใช้หมดทุกปีแล้ว...รัฐบาลไทยไม่ได้เก็บภาษีพลังงานแล้วฝากเข้าบัญชีสะสมทรัพย์อยู่ในธนาคารนะ...ถ้าจะลดราคาน้ำมันโดย ไม่เก็บภาษี ไม่เก็บเงินกองทุนน้ำมัน หมายความว่า รายได้รัฐบาลหายไป ต้องหาเงินจากแหล่งอื่น เช่น ขึ้นภาษีตัวอื่นมาชดเชยหรือกู้มา...
อยากจะให้นักวิชาการอิสระของพี่ คิดแบบครบวงจรหน่อย ไม่ใช่คิดแบบสุกๆ ดิบๆ
ในทรรศนะของผม ไม่คิดว่าภาษีไม่พอใช้ครับ
ถึงเราจะไม่เก็บภาษีน้ำมัน ยังไงเราก็มีภาษีอื่นๆพอใช้อยู่ดี
ถ้า...........................
#87
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 08:18
ถามจริง พวกพี่ไม่รู้หรือว่า ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีปิโตเลี่ยมนั่น รัฐบาลเขาเอาไปใช้หมดทุกปีแล้ว...รัฐบาลไทยไม่ได้เก็บภาษีพลังงานแล้วฝากเข้าบัญชีสะสมทรัพย์อยู่ในธนาคารนะ...ถ้าจะลดราคาน้ำมันโดย ไม่เก็บภาษี ไม่เก็บเงินกองทุนน้ำมัน หมายความว่า รายได้รัฐบาลหายไป ต้องหาเงินจากแหล่งอื่น เช่น ขึ้นภาษีตัวอื่นมาชดเชยหรือกู้มา...
อยากจะให้นักวิชาการอิสระของพี่ คิดแบบครบวงจรหน่อย ไม่ใช่คิดแบบสุกๆ ดิบๆ
ในทรรศนะของผม ไม่คิดว่าภาษีไม่พอใช้ครับ
ถึงเราจะไม่เก็บภาษีน้ำมัน ยังไงเราก็มีภาษีอื่นๆพอใช้อยู่ดี
ถ้า...........................
ภาษีพลังงาน ภาษีน้ำมัน หรือ กองทุนน้ำมัน ถ้าดูแลโดยก.การคลังก็ยังดีกว่า ที่เอาออกมาจากก.การคลังมาตั้งเป็นกองทุนน้ำมันดูแลโดยกบง. การเบิกจ่ายไม่ผ่านสำนักงบประมาณ เหมือนหวยบนดิน เงินกู้ฉุกเฉินนอกงบประมาณ ยังมีสำนักบริหารหนี้ฯคอยดูแล แต่กองทุนน้ำมัน ไม่มีเลย เหมือนไม่ใช่เงินแผ่นดิน มันเอาเงินไปเที่ยว อ้างว่าไปดูงาน ก็ใช้เงินกองทุนน้ำมัน เงินของพวกเติมน้ำมันทั้งนั้น
- Shariff likes this
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#88
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 08:21
ถามจริง พวกพี่ไม่รู้หรือว่า ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีปิโตเลี่ยมนั่น รัฐบาลเขาเอาไปใช้หมดทุกปีแล้ว...รัฐบาลไทยไม่ได้เก็บภาษีพลังงานแล้วฝากเข้าบัญชีสะสมทรัพย์อยู่ในธนาคารนะ...ถ้าจะลดราคาน้ำมันโดย ไม่เก็บภาษี ไม่เก็บเงินกองทุนน้ำมัน หมายความว่า รายได้รัฐบาลหายไป ต้องหาเงินจากแหล่งอื่น เช่น ขึ้นภาษีตัวอื่นมาชดเชยหรือกู้มา...
อยากจะให้นักวิชาการอิสระของพี่ คิดแบบครบวงจรหน่อย ไม่ใช่คิดแบบสุกๆ ดิบๆ
ในทรรศนะของผม ไม่คิดว่าภาษีไม่พอใช้ครับ
ถึงเราจะไม่เก็บภาษีน้ำมัน ยังไงเราก็มีภาษีอื่นๆพอใช้อยู่ดี
ถ้า...........................
ภาษีพลังงาน ภาษีน้ำมัน หรือ กองทุนน้ำมัน ถ้าดูแลโดยก.การคลังก็ยังดีกว่า ที่เอาออกมาจากก.การคลังมาตั้งเป็นกองทุนน้ำมันดูแลโดยกบง. การเบิกจ่ายไม่ผ่านสำนักงบประมาณ เหมือนหวยบนดิน เงินกู้ฉุกเฉินนอกงบประมาณ ยังมีสำนักบริหารหนี้ฯคอยดูแล แต่กองทุนน้ำมัน ไม่มีเลย เหมือนไม่ใช่เงินแผ่นดิน มันเอาเงินไปเที่ยว อ้างว่าไปดูงาน ก็ใช้เงินกองทุนน้ำมัน เงินของพวกเติมน้ำมันทั้งนั้น
ปัญหาหลักของประเทศคือ คอรัปชั่น
แก้ตรงนี้ได้ ปัญหาอื่นก็จะถูกแก้ตามเป็นลูกโซ่
#89
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 08:33
ถามจริง พวกพี่ไม่รู้หรือว่า ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีปิโตเลี่ยมนั่น รัฐบาลเขาเอาไปใช้หมดทุกปีแล้ว...รัฐบาลไทยไม่ได้เก็บภาษีพลังงานแล้วฝากเข้าบัญชีสะสมทรัพย์อยู่ในธนาคารนะ...ถ้าจะลดราคาน้ำมันโดย ไม่เก็บภาษี ไม่เก็บเงินกองทุนน้ำมัน หมายความว่า รายได้รัฐบาลหายไป ต้องหาเงินจากแหล่งอื่น เช่น ขึ้นภาษีตัวอื่นมาชดเชยหรือกู้มา...
อยากจะให้นักวิชาการอิสระของพี่ คิดแบบครบวงจรหน่อย ไม่ใช่คิดแบบสุกๆ ดิบๆ
ในทรรศนะของผม ไม่คิดว่าภาษีไม่พอใช้ครับ
ถึงเราจะไม่เก็บภาษีน้ำมัน ยังไงเราก็มีภาษีอื่นๆพอใช้อยู่ดี
ถ้า...........................
ภาษีพลังงาน ภาษีน้ำมัน หรือ กองทุนน้ำมัน ถ้าดูแลโดยก.การคลังก็ยังดีกว่า ที่เอาออกมาจากก.การคลังมาตั้งเป็นกองทุนน้ำมันดูแลโดยกบง. การเบิกจ่ายไม่ผ่านสำนักงบประมาณ เหมือนหวยบนดิน เงินกู้ฉุกเฉินนอกงบประมาณ ยังมีสำนักบริหารหนี้ฯคอยดูแล แต่กองทุนน้ำมัน ไม่มีเลย เหมือนไม่ใช่เงินแผ่นดิน มันเอาเงินไปเที่ยว อ้างว่าไปดูงาน ก็ใช้เงินกองทุนน้ำมัน เงินของพวกเติมน้ำมันทั้งนั้น
ปัญหาหลักของประเทศคือ คอรัปชั่น
แก้ตรงนี้ได้ ปัญหาอื่นก็จะถูกแก้ตามเป็นลูกโซ่
การแก้คอรัปชั่น ก็ต้องปฏิรูปโครงสร้างเกี่ยวกับพลังงานใหม่ ไม่ให้เอื้อการคอรัปชั่น
การปฏิรูประบบพลังงานในทุกด้าน โดยกรอบการปฏิรูปพลังงานเบื้องต้น ที่ “สภาปฏิรูปพลังงาน” เสนอมีทั้งหมด 9 ข้อ คือ
1.หยุดให้สัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21
2.ให้มีการปฏิรูปราคาก๊าซฯและน้ำมันทุกชนิดให้สะท้อนต้นทุนจริง แทนการอ้างอิงราคาก๊าซ น้ำมัน ตามราคาตลาดโลก
3.ให้ยกเลิกมติครม.ที่ปรับขึ้นราคาก๊าซฯ โดยหยุดขึ้นราคาก๊าซฯ และลดราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ลงที่ 5-10 บาท/ลิตร
4.จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีสัดส่วนของภาคประชาชนกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการปฏิรูปพลังงานของประเทศในทุกด้านให้เป็นธรรม และแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้สัดส่วนสัมปทานมากกว่า 80% ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมตรวจสอบปริมาณการขุดเจาะ การบริหารจัดการ แบะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 85,67,66(4) และ 78
5.หยุดเอาเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยให้ปตท.และโรงกลั่นเนื่องจากเป็นต้นทุนเทียมและเป็นการค้ากำไรเกินควร
6.ยกเลิกพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และแก้ไข พ.ศ. 2550 ฉบับ 5, 6 ที่อนุญาตให้ข้าราชการกระทรวงพลังงานไปเป็นบอร์ดหรือผู้บริหาร ปตท. และบริษัทลูก
7.ยกเลิกการผูกขาดซื้อ ขาย จัดเก็บ ก๊าซ น้ำมัน โดยบริษัท ปตท.
8.ยกเลิกการผูกขาดขายไฟฟ้าโดย กฟผ.
9.สร้างกองทุนสวัสดิการประชาชนจากปิโตรเลียม เพื่อให้การศึกษาเยาวชนถึงปริญญาตรีฟรีสวัสดิการแก่คนยากจน แก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ
Edited by Stargate-1, 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 09:28.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#90
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 08:55
ผมเห็นด้วยกับคุณ Shariff นะ หัวใจของปัญหา ประเทศไทยคือ เรื่องคอร์รัปชั่น ถ้าจัดการเรื่องนี้ได้ก่อน เรื่องอื่นๆที่ ดีๆ ก็จะตามมาเอง...การปราบคอร์รัปชั่น ไม่ต้องคาดหวังว่าต้องทำได้ 100% เพราะว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างประเทศสิงคโปร์ ที่นับว่าเป็นประเทศที่ปราบคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ประสพความสำเร็จระดับต้นๆ ของโลก ก็ยังมีข่าวเรื่องคอร์รัปชั่นบ้าง แต่ไม่หนักหนาเท่าไร...
ประเทศไทยนี่ เรื่องโกงกิน แย่ลงมากทุกปี คนเยอะขึ้น เศรษฐกิจใหญ่ขึ้น ช่องทางโกงกินของนักการเมืองก็มากขึ้น...ต้องเริ่มจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่องก่อน ถ้าเรื่องปราบหรือลดคอร์รัปชั่นทำไม่สำเร็จ เรื่องอื่นอย่าไปหวังเลยครับว่าจะประสพความสำเร็จได้ง่าย...เรื่องคอร์รัปชั่นนี่แหละ ที่ทำให้ประเทศแตกแยก จนจะฆ่ากันเหมือนทุกวันนี้...ถ้าไม่มีความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ถ้าไม่มีความยุติธรรม ก็ยากที่คนไทยจะอยู่อย่างมีความสุข...
#91
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 09:14
คนของปตท.ควรออกมาให้ข้อมูล โดยเฉพาะในส่วนของโรงกลั่น ควรนำข้อมูลออกมาให้ชัดเจน เช่น นำน้ำมันชนิดใดมากลั่น แต่ละชนิดกลั่นได้น้ำมันอะไรออกมาบ้าง ในจำนวนเท่าไร ข่าวแบบนี้ มันบอกไม่หมด ถ้าเป็นความลับ ก็ควรชี้แจงในกพช.ให้ชัดเจน ในส่วนข้อมูลการใช้น้ำมันก็ได้มีให้เห็นแล้ว แต่ในการผลิต ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเลย
"ไทยออยล์"เผยยอดสั่งซื้อน้ำมันเบนซิน 95 สูงต่อเนื่อง หลังกระทรวงพลังงานสั่งยกเลิกขายเบนซิน 91 ส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันบางส่วนแห่กลับมาขายเบนซิน 95 แทน "วีรศักดิ์"ชี้ต้องปรับปรุงกระบวนการกลั่นเล็กน้อย พร้อมเลือกชนิดน้ำมันดิบให้เหมาะสม
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นมา ทางโรงกลั่นไทยออยล์ได้หยุดกลั่นน้ำมันเบนซิน 91 ที่มีปริมาณการใช้ประมาณ 8-9 ล้านลิตรต่อวันแล้ว จากการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบว่ากระบวนการกลั่นน้ำมันมีปัญหาแต่อย่างใด แต่ระยะต่อไปอาจต้องมีการปรับปรุงกระบวนการกลั่นเล็กน้อย รวมทั้งการคัดเลือกน้ำมันดิบเพื่อให้ตรงกับชนิดของน้ำมันที่ต้องการเพิ่มขึ้นด้วย
"หลังจากยกเลิกการผลิตน้ำมันเบนซิน 91 ทำให้โรงกลั่นไทยออยล์ต้องปรับกระบวนการผลิตเล็กน้อย เนื่องจากการกลั่นในช่วงที่ผ่านมามีความสมดุลอยู่แล้ว แต่เมื่อเลิกกลั่นน้ำมันเบนซิน 91 ก็ต้องปรับเปลี่ยนบ้าง ซึ่งยืนยันว่าการปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นไทยออยล์"
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาผู้ประกอบการกลุ่มโรงกลั่นได้หารือร่วมกับภาครัฐ พบว่าทางออกในการเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอล และเป็นประโยชน์กับโรงกลั่นคือ การส่งเสริมแก๊สโซฮอล์อี20 ซึ่งจะช่วยให้ความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านลิตรต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.5 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มเป็น 2.5 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งนี้ แม้ว่าความต้องการเอทานอลจะเติบโตขึ้นอีก แต่จะไม่เกิดการขาดแคลน เนื่องจากขณะนี้มีกำลังการผลิตรวม 4 ล้านลิตรต่อวัน
แหล่งข่าวจากไทยออยล์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรงกลั่นไทยออยล์หันมากลั่นน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น จากเดิมมียอดการใช้ไม่ถึง 1 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากลูกค้ามากขึ้น ภายหลังจากที่กระทรวงพลังงานกำหนดยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องเปลี่ยนมาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์และเบนซิน 95 แทน โดยในช่วงนี้คำสั่งซื้อน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นมาก มาจากผู้ค้าน้ำมันเปลี่ยนน้ำมันในถังจากเบนซิน 91 มาเป็นเบนซิน 95 ทำให้ช่วงต้นๆ ต้องสั่งซื้อน้ำมันเพื่อเก็บในถังจำนวนมาก
ส่วนโรงกลั่นจะต้องผลิตน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ขณะนี้คงเร็วเกินไปที่จะตอบ ซึ่งต้องดูความชัดเจนอีก 2-3 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนส่วนใหญ่จะหันมาใช้น้ำมันชนิดใด ภายหลังจากที่น้ำมันเบนซิน 91 ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว
สำหรับการยกเลิกกลั่นน้ำมันเบนซิน 91 ของโรงกลั่นไทยออยล์นั้น ยืนยันว่าไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากสามารถผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน(จีเบส) ทดแทนเบนซิน 91 ได้ ขณะเดียวกันก็สามารถผลิตน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้การปรับน้ำมันดิบก็เป็นไปตามปกติอยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมาการเลือกซื้อน้ำมันดิบก็จะพิจารณาราคาเป็นหลักด้วย
"ปัจจุบันโรงกลั่นไทยออยล์มีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน กรณีที่กระทรวงพลังงานได้ประกาศยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ภายในวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานั้น ทำให้โรงกลั่นน้ำมันทุกแห่งประสบปัญหาน้ำมันเบนซินส่วนเกิน โดยไทยออยล์ผลิตน้ำมันเพื่อขายในประเทศกว่า 80% ส่วนอีกกว่า 15% จะส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นหลังจากเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 แล้ว ไทยออยล์ก็ต้องเพิ่มสัดส่วนการส่งออกมากขึ้น"
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 6/2554 (ครั้งที่ 139)
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
เรื่องที่ 6 การยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91
สรุปสาระสำคัญ
- เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 กพช. เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 91 โดยมอบหมายกระทรวงพลังงานจัดทำแนวทางและแผนปฏิบัติการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และนำเสนอ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
- การผลิตและการใช้เอทานอลในปี 2554 มีโรงงานผลิตเอทานอล จำนวน 19 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 2.93 ล้านลิตรต่อวัน และมีปริมาณความต้องการใช้เอทานอล 1.3 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกิน 1.63 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้น การยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 จะช่วยเพิ่มความต้องการใช้เอทานอล โดยไม่มีปัญหาเรื่องปริมาณการผลิตไม่เพียงพอ เนื่องจากโรงงานเอทานอลมีศักยภาพการผลิตเหลือเพียงพอรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้
- กระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2555 - 2564) โดยกำหนดให้ยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ภายในปี 2555 ซึ่งจะมีผลกระทบและข้อจำกัด คือ เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันมีขีดความสามารถสูงสุดในการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานเพียง 495 ล้านลิตรต่อเดือน ดังนั้น จึงไม่เพียงพอรองรับปริมาณความต้องการใช้ที่ระดับ 525-507 ล้านลิตรต่อเดือนได้ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ประมาณ 30-12 ล้านลิตรต่อเดือน
- ผลกระทบจากการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 พบว่า มีข้อดี คือ ช่วยเพิ่มปริมาณการใช้เอทานอล 19 - 21 ล้านลิตรต่อเดือน หรือ 0.6 - 0.7 ล้านลิตรต่อวัน สามารถสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมเอทานอลได้ 404 - 477 ล้านบาทต่อเดือน ลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรมีเสถียรภาพ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศ และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และข้อเสีย คือ โรงกลั่นน้ำมันอาจจะไม่สามารถผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (G-Base) หรือน้ำมันองค์ประกอบ (Components) บางตัวได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าประมาณ 12 - 30 ล้านลิตรต่อเดือน ในขณะที่ต้องส่งออกน้ำมันองค์ประกอบที่เหลือจากการยกเลิกการผลิตน้ำมันเบนซิน 91 ประมาณ 96 - 113 ล้านลิตรต่อเดือน ส่งผลให้ มีต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น หากบริหารจัดการไม่ดี
ปัญหาและข้อจำกัด ได้แก่ (1) ข้อจำกัดในการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน โดยการปรับปรุงหน่วยกลั่น เพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานเพิ่มขึ้นอาจทำได้ไม่มากนัก เนื่องจากโรงกลั่นบางแห่งได้ดำเนินการปรับปรุงการผลิตของหน่วยกลั่นเพื่อผลิตน้ำมันยูโร 4 ไปในระดับหนึ่งแล้ว และโรงกลั่นน้ำมันไม่สามารถปรับเปลี่ยนการผลิตน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 ให้กลายเป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานในสัดส่วน 1:1 ได้เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องค่าความดันไอ (RVP) และค่าอุณหภูมิการกลั่นที่ 50% (T-50) ดังนั้น หากต้องการ ให้ผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานได้เพิ่มขึ้น อาจต้องพิจารณาผ่อนผันค่า RVP และ T-50 ซึ่งกรณีดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน จะส่งผลให้เกิดปัญหา Vapor Lock และทำให้เกิดมลพิษเพิ่มขึ้นด้วย (Evaporative Emissions) (2) ข้อจำกัดเรื่องขีดความสามารถของ Facilities โดยโรงกลั่นน้ำมันอาจจะไม่สามารถนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน และส่งออกน้ำมันองค์ประกอบที่เหลือในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานได้ เนื่องจากถังเก็บน้ำมันในกลุ่มเบนซิน (เบนซินและแก๊สโซฮอล์) มีจำนวนน้อย และเป็นถังขนาดเล็ก ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการหมุนเวียนถังในการรับ-จ่ายน้ำมัน และท่อน้ำมัน และท่าเรือที่ใช้ในการนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน และน้ำมันองค์ประกอบเพื่อผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน และส่งออกน้ำมันองค์ประกอบที่เหลือ ซึ่งเป็นช่องทางเดียวกับที่ใช้จ่ายน้ำมันสำเร็จรูปให้กับลูกค้าภายในประเทศ และ (3) การนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน และน้ำมันองค์ประกอบเพื่อผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน โดยการนำเข้าในกรณีเร่งด่วนหรือฉุกเฉินจะมีราคาสูง เนื่องจากเป็นข้อกำหนดคุณภาพ (specification) ที่ต้องสั่งผลิตโดยเฉพาะไม่มีจำหน่ายในตลาดโดยทั่วไป โดยต้องปรับให้มีค่า RVP และ T-50 สูง อีกทั้งไทยได้บังคับใช้มาตรฐานยูโร 4 แล้ว
มติของที่ประชุม
- เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
- มอบหมายให้กระทรวงพลังงานรับไปแก้ไขปัญหาการผลิตและการนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (G-Base) และนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาต่อไป
Edited by Stargate-1, 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 09:18.
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#92
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 12:23
กลัวว่าถ้าเอามาเป้นของรัฐ 100% โดยไม่มีมาตรการป้องกัน หรือตรวจสอบอะไร
เราอาจจะได้เห็น นักการเมืองได้ใช้น้ำมันฟรีด้วยซ้ำ ถ้าอยู๋ในรัฐบาลแบบยิ่งลักษณ์
ปล. ตกลงมีวิธีทวงคืนแบบรูปธรรมยัง ?
- ซีมั่น โลช่า likes this
#93
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 13:25
มีข้อมูลว่า ปตท. รับซื้อน้ำมันจากผู้สัมปทาน แล้วส่งออกไปบริษัทที่ตั้งไว้ในประเทศเพื่อนบ้าน ฟันกำไร 1 ต่อ
แล้วซื้อกลับมาส่งโรงกลั่น ฟันกำไรอีก 1 ต่อ
โรงกลั่นก็ของปตท.เอง ได้กำไรจากค่ากลั่นอีก 1 ต่อ
กลั่นจากน้ำมันดิบเป็นสำเร็จรูปขาย ได้กำไรอีก 1 ต่อ
ส่งขายในไทย ได้กำไรจากค่าการตลาด ค่าขนส่งปลอมๆ เพราะอิงสิงค์โปร์ อีก 1 ต่อ
ส่งออกไม่เสียภาษี แล้วย้อนกลับมาขายในไทย ฟันส่วนต่างกำไรลิตรละ 20 กำไรอีก 1 ต่อ
ขอถามนอกเรื่องนิดนึง คุณว่า ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นยังไง
ดีหรือไม่ดีอย่างไร ชอบหรือเกลียดยังไง บอกมาได้เลยไม่ต้องเกรงใจ
ผมไม่ค่อยได้ติดตาม รู้แค่เขาทำงานเกี่ยวกับสื่อ แต่เท่าที่รู้ก็ไม่เห็นว่าเคยทำอะไรเลวร้ายกับบ้านเมือง
#94
ตอบ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 13:35
กลัวว่าถ้าเอามาเป้นของรัฐ 100% โดยไม่มีมาตรการป้องกัน หรือตรวจสอบอะไร
เราอาจจะได้เห็น นักการเมืองได้ใช้น้ำมันฟรีด้วยซ้ำ ถ้าอยู๋ในรัฐบาลแบบยิ่งลักษณ์
ปล. ตกลงมีวิธีทวงคืนแบบรูปธรรมยัง ?
เอาคืนมาแล้วก็ต้องมีมาตการป้องกันด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองเข้ามากำหนดนโยบายอะไรตามอำเภอใจ
ส่วนวิธีทวงคืนเป็นรูปธรรมมันยังไม่มี ยังเป็นแค่กระแสเรียกร้องต้องการ ยังเป็นแค่แนวทาง ยังเป็นนามธรรม
Edited by กรกช, 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 13:45.
ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน