Jump to content


Photo
- - - - -

มีวิธีให้เพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวเลิกบ้าธรรมกายไหมครับ


  • Please log in to reply
105 ความเห็นในกระทู้นี้

#101 ประชาราบ

ประชาราบ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 621 posts

ตอบ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:35

ขออภัยซ้ำครับ  


Edited by ประชาราบ, 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:39.


#102 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:44

ศรัทธา และ ความเชื่อ เป็น สิ่งที่ยาก จะ ลบล้าง-เปลี่ยนแปลง ครับ เรื่องที่เจ้าของกระทู้ เล่าให้ฟังมานี้

 

ทำให้ ตะนิ่นตาญี นึกถึง ทฤษฎี ของ ปราชญ์ฟารั้ง Karl Marx อย่างที่เขาเรียกกันว่า Dialectic Materialism หรือ ติ๊ก-ติ๊ก ลิซึ่ม  :lol: 

 

ถ้าเป็น ภาษาไทย ก็ เห็นจะต้อง ดัดจริต ใช้คำว่า "วิภาษวิธีทางวัตถุ" ไอ้ตัววิภาษวิธีทางวัตถุ นี้ ก็คือ

 

การผลักดันด้วยพลังทางวัตถุ เขียนอย่างนี้ยังดูว่ายากเกินไป อย่างนั้น ขอเรียกมั่วมั่วไปก่อนว่า วัตถุนิยม ก็แล้วกัน

 

หลักการณ์ที่สำคัญ ของ ไอ้เจ้า ติ๊ก-ติ๊ก ลิซึ่ม นี่ก็คือ การเปลี่ยแปลงทางสังคม ทั้ง ความคิด-รูปแบบ-เนื้อหา-สาระ

 

ไม่ว่าจะเป็น สถาบันต่างต่าง ครอบครัว-ศาสนา-การศึกษา-ชาติ หรือ แม้กระทั่ง ศิลปะ-วัฒนธรรม

 

Marx เชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ด้วย แรงผลักดัน ทาง วัตถุ พูดให้ฟังง่ายก็คือ ความละโมภ ของ มนุษย์ นั่นเอง

 

เจ้าของกระทู้ และ เพื่อนเพื่อน ครับ สิ่งที่ ธรรมกาย พยายามบอกก็คือ สวรรค์ นั้น ซื้อได้ ขอเพียง คุณมี สตางค์ มากพอ ที่จะซื้อ

 

นี่คือ ความเปลี่ยนแปลง ครับ เป็น การเปลี่ยนแปลง ทาง ศาสนา ที่ใช้เวลามายาวนานมากแล้ว ไม่ใช่พึ่งเกิดขึ้น

 

ธรรมกาย แต่เดิมนั้น หากใครเคยไปจะเห็นว่ามีการนำเสนอ ภาพ ของ นรก ใน ชั้นต่างต่าง ให้ คนที่เข้าไป หวาดกลัว

 

ดูเผินเผินก็น่าจะดีอยู่หรอกครับ หาก จะเป็นการบอกให้คนทำ ความดี ละ ความชั่ว แต่ พอนานนานเข้ากลายเป็นว่า

 

ความดี ไม่ต้องทำก็ได้ ทำชั่ว หาเงิน มา ซื้อ สวรรค์ ก็ได้เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ เมื่อ สั่งสม มา นานเข้า-นานเข้า 

 

จากคำสั่งสอนเดิม ให้ ละวาง ใน ตัณหา และ อุปทาน กลับกลายเป็น ให้ ยึดเอาไว้ อย่าปล่อยนะ 

 

ถามว่า ก็ เห็น สะ-โจ๋งครึ่ม อย่างนี้แล้ว ทำไมจึงยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งไป หลงยึด ใน ตัณหา และ อุปทาน ที่ ธรรมกาย สร้างขึ้นมาอีกล่ะ?

 

ตรงนี้ตอบได้ไม่ต้องคิด เพราะ มันง่ายครับ ง่าย กว่า ทำความดี รักษา ศีล ให้ ครบ ห้าประการ

 

อีกทั้ง นี่ยังเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ ของ มนุษย์ เสียอีกด้วย...ธรรมชาติ ของ มนุษย์ คือ อะไร? ตัณหา และ ความกระหาย ครับ เพื่อนเพื่อน ครับ

 

เป๊ะ-เป๊ะ เลยใช่ไหมครับเพื่อนเพื่อนครับ ธรรมกาย เอา ตัณหา และ ความกระหาย มาเล่น กับ คน...คน ที่ ไม่อาจรักษาศีลให้ครบ ๕ ประการได้ครับ

 

กลับมาที่คำถาม ของ คุณ templar มี วิธี ให้ รู้ สำนึกหรือไม่ ส่วนตัวแล้ว ตะนิ่นตาญี ไม่มี ความสามารถ เช่น ท่านครูใหญ่ เทศนา ได้ ไม่ถึง ๕ นาที

 

จาก โจรร้าย กลายเป็น อรหันต์ ได้ทันตา ไม่เชื่อก็ดู องคุลีมาน สิครับ ซึ่งนั่นก็คือ เมตตา ของ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น ยิ่งใหญ่ เสียเหลือเกิน

 

ด้วย เมตตา นี้ เอง จึงทำให้ โจรร้าย กลายเป็น อรหันต์ ได้ ดังนั้น สิ่งที่ ตะนิ่นตาญี อยากจะแนะนำ เจ้าของกระทู้ คุณ templar นั่นก็คือ

 

เมตตา ครับ พิจารณา เพื่อน ของ คุณ templar อย่าง เมตตา...ส่วนจะ เมตตา อย่างไรนั้น บอกไม่ได้เหมือนกันครับ 

 

ทราบแต่ว่า เมตตา ในทาง พุทธ นั้น ไม่ใช้แค่ โยน เศษข้าวเหลือในจาน ให้ นก-กา-หมา กิน หรอกนะครับ  :lol: 

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันศุกร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗

 

เวลา ๑๙.๐๔ นาฬิกา

 

คนบางคน ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ผอม ยกเว้นการออกกำลังกายและลดอาหาร

ทั้งที่หมอทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านั่นคือวิธีที่ดีที่สุด

แต่ไม่วายยาลดน้ำหนักตามเว็บตาม facebook ก็ยังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ผมว่าก็ไม่ต่างจากธรรมกายเท่าไหร่ การทำบุญที่ดีที่สุดคือทำตัวให้ดี ละชั่วทำดี

เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมโลกทุกคน ดีกว่าเอาเงินไปใส่พานถวายอลัชชีนี้มากมายนัก  -_-


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#103 ช่วยเตือน สติ พวกผมหน่อย

ช่วยเตือน สติ พวกผมหน่อย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 316 posts

ตอบ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 20:32

 

ท่าน ประชาราบ

ดูจากเหตุการณ์ และ ความเหมาะสม คิดว่า จะตอบข้อที่ท่าน อยากรู้ ใน Inbox ดีกว่า 
รบกวนท่าน message เข้า inbox เราได้เลย
ใน private inbox  สามารถเขียนได้ ลึก แค่ไหนก็ได้  


ชอบเข้ามาอ่าน

เพราะความเห็นของบางคน

ช่างโง่และทุเรศสิ้นดี


#104 คนกินข้าว

คนกินข้าว

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,422 posts

ตอบ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 22:36

อย่าหลงบุญ

"ธรรมของพระพุทธเจ้า
เป็นอกาลิโก อยู่เหนือกาลเวลา"
...
บุญ ที่ถูกต้อง คืออย่าหลงบุญ ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของ “บุญ” …คิดว่าการทำบุญก็คือเฉพาะ การตักบาตร, การถวายทรัพย์, ปัจจัย, การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดีและควรทำอยู่เสมอก็จริงในฐานะชาวพุทธ แต่การสร้างบุญนั้นยังมีมากกว่านี้ เพราะเมื่อสร้างบุญเบื้องต้นพื้นฐานแล้ว ก็ต้องรู้จักต่อยอดสร้างบุญที่ละเอียดยิ่งขึ้น โดยไม่หลงอยู่กับบุญเพียงบางประเภทโดยไม่รู้จักต่อยอดจากฐานที่ควรทำประจำขึ้นไปเลย ยิ่งบางพุทธพาณิชย์ เน้นสอนให้บริจาคทรัพย์ หรือร่วมสร้างความยิ่งใหญ่อลังการเข้าวัดจนเกินตัว มียอดบริจาคมากเท่าไหร่ถือว่ายิ่งได้บุญหนักศักดิ์ใหญ่ รวยล้นฟ้าไม่รู้เรื่อง…

แท้จริงแล้ว “บุญ” หรือ “ปุญญ” แปลว่า “ชำระ” หมายถึง การทำให้หมดจดจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ โลภะ โทสะ และ โมหะ

ตามพระไตรปิฎก เราสามารถสร้าง “บุญ” ได้ ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา

๑. ทาน คือ การให้ เช่นที่กล่าวมาแล้ว คือ การตักบาตร บริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน สร้างวิหาร หล่อพระ เป็นต้น ถือเป็น จาคะ หรือ การให้นับเป็น บุญอย่างหนึ่ง นับเป็นบุญที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่จะส่งเสริมบารมีบุญด้านอื่นๆไปด้วยกัน แต่มีการให้บางประการที่ไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ ให้สิ่งเพื่อกามคุณ เป็นต้น
๒. ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษาความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส ได้แก่ ศีล ๕ และอุโบสถศีล (มี ๘ ข้อ)
๓. ภาวนา คือ การอบรมจิตทางสมถะและทางวิปัสสนา การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่งวิปัสสนา (สติรู้ถึงรูป–นาม) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา

“บุญ” ยังมีอีก ๗ อย่าง ตามคัมภีร์อรรถกถา หรือข้อปลีกย่อยที่อธิบายความจากพระไตรปิฎก นับถัดไปเป็นลำดับที่ ๔ ดังนี้

๔. อปจายนะ ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม
๕. เวยยาวัจจะ ความขวนขวายในกิจ หรืองานที่ควรกระทำ
๖. ปัตติทาน การให้บุญที่ตนถึงแล้วแก่คนอื่น
เช่น การอุทิศส่วนกุศล การกรวดน้ำ
๗. ปัตตานุโมทนา คือการยินดีในบุญที่ผู้อื่นถึงพร้อมแล้ว เช่น เห็นผู้อื่นทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา
เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้ว
๘. ธัมมัสสวนะ หรือการฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง
หรือจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
๙. ธัมมเทศนา หรือการแสดงธรรมเมื่อได้ศึกษาธรรมะ
แล้วถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม คือการกระทำความเห็นให้ตรง
หรือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง (เช่น เชื่อว่า บาป-บุญมี ,นรก-สวรรค์มี ,ชาตินี้-ชาติหน้ามี , เชื่อหลักไตรลักษณ์ อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา)

บุญทั้ง ๑๐ ประการนี้ บางที่เรียกกันว่า “บุญกิริยาวัตถุ ๑๐” จะเห็นว่าบุญทำได้ถึง ๑๐ อย่าง
มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์ อีก ๙ ข้อล้วนไม่ต้องใช้ทรัพย์ . . .
 
ธรรมกาย เน้นการบริจาคทรัพย์มาก  บริจาคมากได้บุญมาก บริจาคแล้วจะสวย จะรวย ดอกดาวเรือง ยังเรียกชื่อใหม่ว่า "ดอกดาวรวย"

"การเมือง เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน ผลประโยชน์ประชาชน เป็นข้ออ้าง"

#105 templar

templar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,180 posts

ตอบ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:59

ได้ผลครับ  ตามคำแนะนำของแต่ละท่านที่แนะนำมา  ตอนนี้ผมโหลดพวกคลิปเสียง  หลวงพ่อฤาษีลิงดำ  หลวงตาบัว

 

มาให้แกฟัง  ดีขึ้นเยอะ  หาคลิปวิปัสนามาให้แกดู  แต่ช่วงแรกยอมรับว่าแกต่อต้านเหมือนกัน   ถึงยังแอบไปดูช่องธรรมกาย

 

บ้าง  แต่ก็ไม่ได้ขนาดว่าดูตลอดเวลาเหมือนเมื่อก่อน  ที่เปิดดูเปิดฟังตลอดเวลา


อย่ามาเห่าว่ากรูมาจากการเลือกตั้ง  เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่ทุกอย่างของประชาธิปไตย

การตรวจสอบบ้านเมืองอย่างเข้มข้น  ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ  จำเป็นสำหรับประเทศไทย

 

สิ่งที่บ่งบอกว่าประเทศไหนพัฒนาแล้วไม่ได้ดูที่  มีตึกสูงมากเท่าไร  มีห้างเยอะไหม  มีจีดีพีสูงแค่ไหน

แต่ดูที่การศึกษา  และ คุณภาพของบุคลากรภายในประเทศ


#106 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:32

ที่สุดแห่งธรรม.JPG

 

เมื่อเข้าถึงธรรมกาย ก็ไปต่อได้ ตามที่กล่าวไว้ดังนี้

 

"ให้พิจารณาว่า "เห็นหนอ ๆ" เพื่อเป็นการยกเอาจิตหรือเอาสติออกมาจากสมาธิ เพื่อใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักศาสนา ปรากฏว่าหลวงพ่อสดกำหนดสติตามแนวดังกล่าว ในที่สุดภาพพระที่เคยเห็นเต็มไปหมดก็หายวับไปกับตา และเข้าใจในหลักไตรลักษณ์"


Edited by Stargate-1, 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:31.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน