Jump to content


Photo
- - - - -

BTS ก่อนจะเริ่มก่อสร้าง พรรค ปชป. เคยคัดค้านจริงหรือ?


  • Please log in to reply
34 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 prisonbreak

prisonbreak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,138 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:19

เมื่อรถไฟเร็วสูง...ถูกต่อต้านไม่ต่างจาก BTS

20 กว่าปีที่ผ่านมา การก่อสร้างโครงการรถไฟลอยฟ้าและรถไฟใต้ดิน ถูกคัดค้านจากทุกฝ่าย ด้วยเหตุผลนานับประการ และไม่มีกระบวนการศาลมาช่วยพิจารณาการเกิดขึ้นของระบบคมนาคมขนส่งของประเทศเหมือนช่วงเวลานี้


พรรคพลังธรรม โดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผลักดันการขนส่งระบบรางในเมืองเป็น"รถไฟลอยฟ้า BTS" เพื่อแก้ไขวิกฤตการจราจรในกรุงเทพฯ สายแรก คือ จตุจักร-อ่อนนุช และสายที่สอง สนามกีฬาแห่งชาติ-ตากสินโดยเปลี่ยนเส้นทางได้ที่สถานีสยาม


ในช่วงเริ่มโครงการ ถูกคัดค้านทุกรูปแบบจากพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงนักเรียน ผู้ปกครอง และอาจารย์บางโรงเรียนร่วมถือป้ายคัดค้าน โดยอ้างว่า เสียงของรถไฟฟ้าจะสะท้อนกับตึกที่อยู่ข้างเคียง เกิดเรโซแนนซ์ กลายเป็นเสียงดังจนรบกวนสมาธิเด็กนักเรียน รวมถึงวาทกรรมต่อต้านการก่อสร้าง BTS ตามมาอีกมากมาย เช่น BTS จะสร้างมลภาวะ ทั้งทางเสียงและปัญหาการจราจร เพราะต้องเสียช่องทาง ทำให้รถติดมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่รถไฟใต้ดิน หรือ MRT อาจมีปัญหาน้ำท่วมสถานี


นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องระยะทางสั้น ไม่ช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้จริง ทั้งยังจะช่วยให้พนักงานออฟฟิศที่มีฐานเงินเดือนระดับปานกลาง ใช้เวลาเดินทางกลับบ้าน แวะใช้จ่ายที่สยาม ทำให้สิ้นเปลืองค่าครองชีพ


ราคาค่าตั๋วที่แพงแสนแพง ใครจะกล้าใช้บริการ รถเมล์มีอยู่แล้ว จะสร้างเพื่ออะไร แล้วภาพที่เราเห็นตอนนี้เป็นอย่างไร

ที่มา : http://shows.voicetv...ews/100437.html

1. ปชป เคยคัดค้านจริงหรือ?
2. ปชป.มีบทบาทกับ BTS เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่
3. ทักษิณ เป็น รบ. สั่งเบรค ไม่ให้สร้าง BTS จริงหรือ

ปล. อย่าเพิ่งออกทะเลไปเรื่อง รฟ ความเร็วสูง นะครับ

#2 ทรงธรรม

ทรงธรรม

    ต่อให้ต้องเรียนจนแก่ ก็จะเรียนต่อไป คนเราพัฒนาได้ทุกคน

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,157 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:10

หาไม่เจอเลยครับ คุณ prison

 

สงสัยตอนนั้น internet ยังไม่นิยม

 

ผมเลย search ไม่เจอ

 

 

แต่ก็เอาเป็นว่า รถไฟฟ้า bts

 

นี่ก็กลายเป็นชีวิตประจำวัน คนกรุง ไปซะละ

 

ขาดไม่ได้ล่ะนะ ไม่งั้นรถติดจมหู กว่านี้

 

 

คือ แน่นอน เมืองใหญ่ รถเยอะ ขนาดนี้

 

ถ้าไม่มี ทางเลือก สำหรับการเดินทาง เยอะ ๆ

 

คงไม่ดีแน่ ต้องให้เครดิต ลุงจำลอง ผม ล่ะนะ

 

ที่ผลักดัน โครงการนี้

 

 

ผมขอ ออกทะเล หน่อย

 

เรื่อง รถไฟฟ้า ความเร็วสูง อะ

 

มีมันก็ดีครับ มันก็เป็นทางเลือก อีกแบบ

 

อนาคต ถ้าเมืองเราขยาย สมมุติว่า

 

ไป ถึง เพชรบุรี หรือ โคราช หรือ สุพรรณบุรี

 

แบบนี้ ก็ควรจะมีนะ รถไฟความเร็วสูง

 

 

แต่นั่นล่ะ ไม่อยากให้เป็นการกู้ก้อนใหญ่นะ

 

อยากให้ดำเนินการ ตามปกติ มากกว่า

 

หรือถ้าจะลงทุนร่วม ความเสี่ยง ก็น่าจะลดลง ล่ะนะ

 

 

ก็ยืนยันว่า ชีวิต ที่เหลือ ผมก็อยากเห็น

 

แต่ขอแบบ ที่ไม่เสี่ยง อนาคต ลูกหลาน

 

ผมเอง ก็ไม่มีเหตุ ให้คัดค้านกันล่ะ


ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ

 

PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract

 

FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query  FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY


#3 npex

npex

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 49 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:19

ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นเรื่องแค่ บนดินหรือใต้ดินมั้งครับ แต่ไม่ใช่ห้ามสร้างนะครับเป็นเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม  ถ้าผมจำไม่ผิดนะ



#4 Jump Man

Jump Man

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 154 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:24

ความเป็นมาของรถไฟฟ้า BTS

 

  โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการที่รัฐให้สัมปทานแก่เอกชน เพื่อสร้าง และประกอบการ ระบบขนส่งมวลชน วิ่งบนทางยกระดับ 2 สาย ในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยบรรเทา ปัญหาการจราจร ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อให้ประชาชน มีทางเลือกในการเดินทาง ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศเชิญชวน ให้เอกชนยื่นรายละเอียด ข้อเสนอของโครงการ และข้อเสนอของกลุ่มธนายง ได้รับการคัดเลือก ว่ามีความเหมาะสม มากที่สุด กลุ่มธนายง จึงได้ก่อตั้ง บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ขึ้นตามข้อเสนอ เพื่อรับสัมปทาน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2535 และได้ลงนาม สัญญาสัมปทาน กับกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2535 ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม สัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2538 และวันที่ 28 มิถุนายน 2538

ลักษณะสัมปทาน

แนวเส้นทาง 1. สายสุขุมวิท 
     เริ่มจากบริเวณสุขุมวิท 81 ผ่านถนนสุขุมวิท - ถนนเพลินจิต - ถนนพระราม 1 - ถนนพญาไท - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - สนามเป้า - สะพานควาย - จตุจักร ไปสิ้นสุด บริเวณ สถานีขนส่งสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ตลาดหมอชิต) รวมระยะทาง ประมาณ 17.0 กม. โดยมีสถานีทั้งสิ้น จำนวน 7 สถานี รวมสถานีร่วม สำหรับ เปลี่ยนสายบนถนนพระราม 1

แนวเส้นทาง 2. สายสีลม 
     เริ่มจากเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาธร) ฝั่งกรุงเทพฯ - ถนนสาธร - ถนน นราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนเลียบคลองช่องนนทรี) - ถนนสีลม - ถนน ราชดำริ - ถนนพระราม 1 ไปสิ้นสุด บริเวณ หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 6.5 กม. มีสถานีจำนวน 7 สถานี รวมสถานีร่วม

ขบวนรถ 
     รถขนส่งมวลชนความจุสูงแบบมาตรฐาน(Heavy Rail) ประกอบด้วยรถจำนวน 3 หรือ 6 คัน พ่วงต่อกัน รถที่ใช้ มีอยู่ สองประเภท หลัก คือ รถชนิดที่มีห้องคนขับ ซึ่งมีมอเตอร์ สามารถขับเคลื่อนได้ และ รถชนิด ที่ไม่มีห้องคนขับ หรือรถพ่วง มีทั้งชนิดที่มี และไม่มีมอเตอร์ วิ่งบนรางคู่ยกระดับความกว้างราง 1.435 เมตร(Standard guage)แยกทิศทางไปและกลับ มีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง (Third Rail System) ขับเคลื่อน ตัวรถแต่ละคัน มีความกว้าง ประมาณ 3.20 เมตร ยาวประมาณ 21.8 เมตร จุผู้โดยสาร ได้ประมาณ 320 คน/ตู้   เป็นผู้โดยสารนั่ง 42 คน และยืน 278 คน มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร ด้านละ 4 บาน ตัวถัง ทำด้วยเหล็ก ปลอดสนิม ติดตั้ง ระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่าง ชนิดกันแสง มีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลกระทบต่อทัศนียภาพระบบที่ใช้นี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวสูงและสามารถขยายระบบได้ มีความจุมากกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อ ทิศทาง การควบคุมใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย เช่นระบบป้องกันการชนระบบควบคุมความเร็วเป็นต้น
     รถไฟฟ้า 1 ขบวน จุผู้โดยสารได้ประมาณ 1000 คน เทียบกับรถประจำทางเท่ากับ 10 คัน และรถส่วนตัวได้ 400 คัน ใน 1 ชั่วโมงสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 25000 คน/ทิศทาง   ระยะเวลาเดินทางจากอ่อนนุช - หมอชิต 51 นาทีและจาก สะพานตากสิน - สยาม 18 นาที รถออกทุก 3-6 นาที

สถานี 
     สถานีรับ - ส่งผู้โดยสารออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาผิวจราจรบนถนนมากที่สุดโดยทั่วไปออกแบบให้มีโครงสร้างแบบเสาเดี่ยวตั้งอยู่บนเกาะกลางถนน เช่นเดียวกับโครงสร้างทางวิ่งโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตรมี 2 ลักษณะ คือ 
1 ) สถานีประเภทมีชานชลาอยู่สองข้าง ( Side Platform Station ) โดยรถไฟวิ่งอยู่ตรงกลางสถานี สถานีทั่วไปได้ออกแบบให้มีลักษณะแบบนี้ เนื่องจากสร้างได้รวดเร็ว และใช้เนื้อที่น้อย 
2 ) สถานีประเภทมีชานชลาอยู่ตรงกลาง( CentrePlatformStation ) รถไฟวิ่งอยู่สองข้างสถานี ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบแรกแต่การก่อสร้างยุ่งยากกว่าเนื่องจากตัวรางต้องเบนออกจากกัน เมื่อเข้าสู่สถานี ทั้งนี้ ได้ออกแบบให้สถานีร่วมมีลักษณะแบบนี้ เนื่องจากคาดว่าจะมี ผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก 

ค่าโดยสาร 
     ค่าโดยสารจะเริ่มต้นที่ 10บาท สูงสุดอยู่ที่ 40 บาทตลอดเส้นทาง

แหล่งข้อมูล   www.bts.co.th



#5 Jump Man

Jump Man

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 154 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:26

เรื่องการคัดค้านเท่าที่จำได้ก็น่าจะเป็น โรงเรียนมาแตร์แดอี เกี่ยวกับปัญหาเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน จึงเป็นที่มาของผนังกั้นของสถานนีชิดลมที่สูงกว่าสถานีอื่น



#6 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:28

*
POPULAR

คำว่าคัดค้าน กับคำแนะนำ มันต่างกันนิดเดียว ถ้าจะดิสเครดิต



#7 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:29

จำลองเป็นผู้ว่าฯ กทม.สมัยที่ 2 ระหว่างปี 33-35  ถัดมาก็ ร.อ.กฤษฎา ผู้ล่วงลับ ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ ระหว่างปี 35-39

 

บีทีเอสเปิดใช้เมื่อเดือนธันวาคม 42 สมัย ดร.พิจิตต เป็นผู้ว่าฯ กทม. และรัฐบาลชวน 


Edited by อู๋ ฮานามิ, 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:30.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#8 SeraphUriel

SeraphUriel

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 393 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:33

รถไฟความเร็วสูง ถามว่าอยากให้มีไหม ดิฉันก็อยากให้มีนะคะ

แต่เราต้องดูปัจจัยในประเทศเราก่อน

ทำไมเราจะต้องไปฟุ้งเฟ้อตามประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าเรา

ในขณะที่ยังมีเรื่องสำคัญอื่นๆ ต้องทำก่อน

เช่น การพัฒนาคุณภาพชีวิต อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การศึกษา ฯลฯ

ถามว่าตอนนี้เราดีพอแล้วหรือคะ ถ้ามีรถไฟความเร็วสูงเพื่อเอาไว้ขนผัก ปัญหาคนว่างงาน คนไร้ที่อยู่อาศัย ค่าครองชีพแพง ประชาชนขาดแคลนความรู้จะหายไปด้วยหรือเปล่า

แถมโครงการนี้ยังก่อหนี้ให้ประเทศชาติมหาศาล และที่สำคัญยังเป็นทางให้นักการเมืองกอบโกยผลประโยชน์อีก

 

ทุกวันนี้ คนไทยที่ขึ้นรถไฟฟรีก็มีกันบานตะไท การรถไฟขาดทุนปีละกี่สิบล้านเราก็ยังแก้ไม่ได้

แล้วประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนมีรายได้น้อย จะได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงนี้สักกี่คนคะ (ไม่ต้องพูดถึงเรื่องราคาค่าโดยสารกันเลยค่ะ)

คงมีแต่พวกฐานะปานกลาง-คนรวย โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เตรียมเพิ่มมูลค่าที่ดินตัวเองเป็นร้อยเท่าทันทีที่เริ่มกำหนดเส้นทางรถไฟ

เอาเงิน 2 ล้านล้านที่จะกู้น่ะ เอามาทำประโยชน์ด้านอื่นก่อนดีมั้ยคะ

 

แค่รถคันแรกน่ะเป็นยังไงล่ะคะ ถามว่าใครได้ผลประโยชน์

มีแต่คนเป็นหนี้ ถูกยึดรถ แท็กซี่หากินลำบาก รถติด ค่าแกสค่าน้ำมันพุ่งพรวด

นโยบายแต่ละนโยบาย ใช้อะไรคิดก็ไม่รู้



#9 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:33

*
POPULAR

ปชป ก็ไม่ได้คัดค้านรถไฟความเร็วสูง แต่ให้ไปใช้เงินที่ตรวจสอบได้ อะไรที่จะเอามาดิสเครดิตก็เอาความจริงครึงเดียวมาพูด 



#10 Jump Man

Jump Man

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 154 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:37

ช่วงรัฐบาลทักษิณ ก็น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายไปทางฝั่งธนที่ล่าช้า



#11 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:41

ผมสงสัยว่า ถ้าคัดค้านแล้วจะได้สร้างหรือครับ ในเมื่อเริ่มสร้างในปี 2542



#12 Jump Man

Jump Man

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 154 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:53

ผมสงสัยว่า ถ้าคัดค้านแล้วจะได้สร้างหรือครับ ในเมื่อเริ่มสร้างในปี 2542

ปี2542 เปิดใช้บริการแล้ว โครงการเซ็นสัญญาตั้งแต่ปี2535 ใช้เวลาประมาณ 8 ปีในโครงการทั้งหมด แถบยังมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เข้ามาแทรกอีก แต่โครงการก็สำเร็จได้



#13 notcomeng

notcomeng

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,963 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:09

ช่วงรัฐบาลทักษิณ ก็น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายไปทางฝั่งธนที่ล่าช้า

ถ้าผมจำไม่ผิด น่าจะเรื่องส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่งด้วยครับ เหมือนว่ารัฐไม่ทำสักที จน กทม. เข้ามาทำ จึงทำให้ไปสุดสายแค่แบริ่ง(สุดเขต กทม.) ทั้งๆที่ถ้าต่อไปถึงสำโรงได้ จะช่วยให้คนแถบๆนั้นสะดวกมากขึ้น เพราะสำโรงเป็นจุดที่ประชาชนทั่วไปจะเดินทางแยกไปในหลายส่วน พระประแดง เทพารักษ์ ปากน้ำ



#14 GKTH

GKTH

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 243 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:17

 

ช่วงรัฐบาลทักษิณ ก็น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายไปทางฝั่งธนที่ล่าช้า

ถ้าผมจำไม่ผิด น่าจะเรื่องส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่งด้วยครับ เหมือนว่ารัฐไม่ทำสักที จน กทม. เข้ามาทำ จึงทำให้ไปสุดสายแค่แบริ่ง(สุดเขต กทม.) ทั้งๆที่ถ้าต่อไปถึงสำโรงได้ จะช่วยให้คนแถบๆนั้นสะดวกมากขึ้น เพราะสำโรงเป็นจุดที่ประชาชนทั่วไปจะเดินทางแยกไปในหลายส่วน พระประแดง เทพารักษ์ ปากน้ำ

 

 

เช่นเดียวกันกับส่วนต่อขยายสายสีลมครับ (สะพานตากสิน-บางหว้า)

จำได้ว่าโครงสร้างพื้นฐาน (เสาตอม่อและทางราง) ที่เริ่มสร้างสมัยสมัคร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้เวลาสร้างราวๆ ปีกว่าแล้วเสร็จ

แต่ไม่มีการสร้างสถานี เพียงแต่เว้นช่องว่างไว้ว่าสถานีอยู่ตรงนี้ๆๆ จนมาถึงสมัยผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์ ถึงมาเริ่มสร้างสถานีแล้วเสร็จ 2 สถานีแรกคือกรุงธนบุรี (ชื่อเดิม เจริญนคร) และวงเวียนใหญ่ เปิดใช้ในสมัยแรก และส่วนต่อขยายที่เหลือคือ โพธิ์นิมิต-ตลาดพลู (รัชดาภิเษกใต้)-วุฒากาศ-บางหว้า ก็เริ่มสร้างในปลายสมัย ผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์สมัยแรก และแล้วเสร็จและเปิดใช้ในมัยปัจจุบันครับ

 

คนฝั่งธนฯ อย่างผมเลยเพลียกับลมปากของ "เพื่อไทย" มาก ขณะที่ "ปชป" กลับทำได้และสร้างสรรค์ให้คนกรุงเทพฯ ได้



#15 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:27

 

ผมสงสัยว่า ถ้าคัดค้านแล้วจะได้สร้างหรือครับ ในเมื่อเริ่มสร้างในปี 2542

ปี2542 เปิดใช้บริการแล้ว โครงการเซ็นสัญญาตั้งแต่ปี2535 ใช้เวลาประมาณ 8 ปีในโครงการทั้งหมด แถบยังมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เข้ามาแทรกอีก แต่โครงการก็สำเร็จได้

 

ขอโทษผมเขียนไม่เคลียร์ ผมหมายถึง MRT ครับ 



#16 itsorachai

itsorachai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,830 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:27

คำว่าคัดค้าน กับคำแนะนำ มันต่างกันนิดเดียว ถ้าจะดิสเครดิต

 แต่ที่แน่ๆสมัย  นายกมาร์ค  ..ควายแดง..  เคยขึ้นป้ายแถวอิมฯสำโรง  ไม่รู้ว่าเรียกคัดค้านหรือเปล่า แต่ขึ้นป้ายเหมารวมทั้งหมดว่า  ..ไม่ต้องการรถไฟฟ้า..     แต่แหมพอแม่  .. ปูโง่..  ของมันมาเป็นเท่านั้นแหละ  ยินดีปรีดากันถ้วนทั่วเชียวละ



#17 แม้ว ม.7

แม้ว ม.7

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,237 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:28

ตอนนั้นที่ผมค้านเพราะอยากให้ลงใต้ดิน

แต่คิดไปคิดมาตัวเรายังไม่ขับรถยุโรปเลย

เลยเลิกค้าน

แต่ก็แอบเคืองที่ทีแรกตอนประมูล25บาทตลอดสาย แต่กฤษฎา อรุณวงษ์ปเซ็นให้คิดตามระยะทางแล้วตัวมันก็ชิ่งหาย

ตั้งแต่นั้นเลยเลิกเลือกผู้ว่าอิสระ เพราะเดี๋ยวมันคิดว่าถูกหวย กินแล้วชิ่ง

มีพรรคยังพอคุมได้

Edited by แม้ว ซอยตัน, 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:38.

พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้พูดตัดพ้อกับคนที่เดินทางไปพบว่า “พรรคเพื่อไทยมีคนเก่งๆ เยอะ ทั้งนักวิชาการ ด็อกเตอร์ ทูต แต่ไม่กล้าออกมาสู้ คนหน้าตาดีไม่ออกมา พวกที่ออกมาหน้าตาไม่ค่อยดี ไม่เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายตรงข้าม คนมีความรู้ นักวิชาการออกมาเยอะแยะเลย คนจริงใจกับผมมันน้อย วางยาผม เพราะตัวเองอยากอยู่นานๆ เห็นว่านายกฯ ไม่แข็ง แต่ท่านนายกฯ ก็ดี แต่คนรอบข้างไม่เป็นการเมือง ผมส่งคนเป็นการเมืองไปนายกฯ ก็ไม่เอา ผมก็สงสารนายกฯ จึงไม่อยากจู้จี้ แต่คนที่เมืองไทยมันไม่ได้ดั่งใจ” 

http://astv.mobi/AlgEYM7

แปลสั้นๆ เขาด่าไอ้เสร่อแกนนำแดงว่า"โง่แต่ขยัน"


#18 DOLBY DIGITAL

DOLBY DIGITAL

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 284 posts

ตอบ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 15:05

จาก ว๊ายทีวีหรอ



ของดคอมเม้นต์ล่ะกัน

สิ่งที่ควรปฏิรูปที่สุดไม่ใช่การเมือง แต่เป็นนักการเมือง

" นรชาติวางวาย  มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

  สถิตทั่วแต่ชั่วดี  ประดับไว้ในโลกา "


#19 odyssey

odyssey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,085 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 01:06

จำได้แต่ bts ส่วนต่อขยาย เพื่อไทยไม่ยอมอนุมัติงบจน คุณชายหมูต้อง เอางบกทม.มาทำเอง

#20 สัตยวาที

สัตยวาที

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 870 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 02:29

เรื่องการคัดค้านเท่าที่จำได้ก็น่าจะเป็น โรงเรียนมาแตร์แดอี เกี่ยวกับปัญหาเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน จึงเป็นที่มาของผนังกั้นของสถานนีชิดลมที่สูงกว่าสถานีอื่น

 

ใช่  จำได้แบบนี้เหมือนกัน  คนที่ออกมามีส่วนกับการรณรงค์ความปลอดภัยของนักเรียน

น่าจะเป็นคุณหญิงกัลยา  โสภณพานิช  จากมูลนิธิตาวิเศษละมั้ง  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ ปชป. อยู่แล้ว

 

 

 

 

ส่วนนี้นอกเรื่อง  แถมให้แล้วกัน  

ส่วนรถความเร็วสูง  เอาเข้าจริงคงคัดค้านนะ  จากการนั่งมา  เพิ่งคิดได้ตามที่ อ. เจิมว่าเหมือนกัน  

ว่ามันต้องมีรั้วกั้นตลอด  วิ่งเรียบมีสะพานรถข้ามผ่านมันไป  ในยุโรปจะมีทางด่วนคู่ขนานไปบางเส้น

ทางรถไฟจะถูกกั้น  ในย่านกสิกรรมก็จะมีรั้ว  มีอะไรกั้นไปเรื่อย  สถานีที่จอดก็น้อยมาก

ตอนนั่งไม่ได้สังเกต  มาดูจากภาพที่ถ่ายมาจากหน้าต่างรถไฟพบว่าจะมีรั้วตลอด  และจำได้ว่า

นั่งไปหนนึงมองรถสปอร์ตที่วิ่งแซงรถไฟไปคันแล้วคันเล่า  ถึงจำได้ว่ามันมีทางด่วนและรั้วเยอะมาก  

 

ลองคิดถึงปริมาณเงินที่จะต้องจ่ายในการทำสะพาน  และรั้วยาวตลอด  เพราะถ้ามันชนวัวควายหรืออะไรเข้า

นั้นคือความหายนะของทั้งรถ  คนโดยสาร  และอะไรที่ถูกชน  และคนไทยเรามีหรือไม่แอบปีน

แอบอะไร  มันอันตรายค่อนข้างมากที่จะมีของใช้ไฮเทค  ในขณะที่คนของเรายังไม่พัฒนา

 

ในขณะเดียวกัน  รถไฟหวานเย็นของเค้า  คือรถไฟที่ตรงเวลา  วิ่งเร็วพอประมาณแก่บ้านเรามากกว่า

 

ถ้าวันข้างหน้าเรามีเงินมากพอ  มีเทคโนโลยี  ที่จะให้มันเป็นประโยชน์แก่คนทั้งประเทศ

คงไม่มีใครค้านหรอก  แต่เชื่อว่าถ้าต้องเป็นหนี้มหาศาลในวันนี้ และอีก 20  ปีข้างหน้า  มันก็ยังไม่จำเป็น    


  ขอสาบแช่งคนเลวร้ายทำลายชาติ ให้ไร้สุข มีแต่ทุกข์ ไร้คนรักดูแล อุดมด้วยคนเกลียดชังรังแก

เจ็บป่วย ทรมาน งานการไม่ก้าวหน้า ทำสิ่งใดให้ฉิบหาย วอดวาย อย่าได้พบความสุขใดในทุกชาติภพ


#21 Jump Man

Jump Man

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 154 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 08:54

อันที่จริง ไม่แน่ใจว่ามีคนออกมาประท้วงเรื่อง ทัศนียภาพเรื่องทางโค้งบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยรึเปล่า ยังดีที่การย้ายหมอชิตเก่าไปหมอชิตใหม่ ตอบโจทย์เรื่องความแออัด ไม่งั้นอาจมีประเด็นว่าศูนย์ซ่อมบำรุงจะสร้างที่ไหนอีกแน่



#22 Jump Man

Jump Man

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 154 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:10

 

 

ผมสงสัยว่า ถ้าคัดค้านแล้วจะได้สร้างหรือครับ ในเมื่อเริ่มสร้างในปี 2542

ปี2542 เปิดใช้บริการแล้ว โครงการเซ็นสัญญาตั้งแต่ปี2535 ใช้เวลาประมาณ 8 ปีในโครงการทั้งหมด แถบยังมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เข้ามาแทรกอีก แต่โครงการก็สำเร็จได้

 

ขอโทษผมเขียนไม่เคลียร์ ผมหมายถึง MRT ครับ 

 

ก็ต้องขอโทษคุณ Bookmark เหมือนกัน ที่ไม่ได้นึกถึงว่า MRT เริ่มสร้างตอนปี 2542 

 

จะว่าไป MRT  ก็เป็นตัวอย่างการลงทุนร่วมกับต่างประเทศ(ญี่ปุ่น) คล้ายๆกับรถไฟความเร็วสูงของ ปชป. หากรัฐบาลนี้ทำต่อ ตอนนี้อาจเริ่มสร้างแล้วก็ได้



#23 ขี้ข้าทักษิณ

ขี้ข้าทักษิณ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,507 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:18

ช่วงแรกๆจำไม่ได้ แต่จำได้ ตอน ส่วนต่อ 2.2 กิโล จากตากสินไปวงเวียนใหญ่ รัฐบาลไอ้เหลี่ยม กีดกัดคุณอภิรักษณ์เป็นอย่างมาก อ้างสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มลภาวะมั่งหล่ะ ไม่ให้งบประมาณมั่งหล่ะ จนคุณอภิรักษณ์ประกาศทำเอง กว่าจะได้ส่วนต่อนี้มา เล่นเอากองเชียร์ฝั่งธน ลุ้นใจหายใจคว่ำ และในที่สุดก็ทำได้


"ไม่เอานิรโทษกรรมของขี้ข้าทักษิณเพื่อทักษิณที่ขี้ขลาด"


#24 Bayonet

Bayonet

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,235 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:07

ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นเรื่องแค่ บนดินหรือใต้ดินมั้งครับ แต่ไม่ใช่ห้ามสร้างนะครับเป็นเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม  ถ้าผมจำไม่ผิดนะ

 

การคัดค้านส่วนหนึ่งใช่ครับ   เพราะตอนนั้นมีกระแสให้สร้างแบบใต้ดิน  โดยยกตัวอย่างเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก เช่นไต้หวัน ยุโรป หรืออเมริกา  ที่รื้อ+ยกเลิกรถไฟฟ้าบนดินทิ้งแล้วสร้างใต้ดินแทน

 

เหตุผลก็เรื่อง มลภาวะ  ทัศนวิสัย  อย่างเช่นที่สีลม เคยมีการถกกันว่า มลภาวะใต้สถานีจะมีความเลวร้ายและอุณหภูมิสูง 

 

ซึ่งตอนที่เปิดใช้ช่วงแรกก็มีการเก็บสถิติสภาพอากาศใต้สถานีรถไฟฟ้าสีลม อโศก ซอยอารีย์  ช่วงเช้า-เย็น  ก็ปรากฏว่า  ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  และมีค่าสารตะกั่วในอากาศสูง

 

แต่พอเราเปลี่ยนมาใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว  แล้วก็มาเป็น โซฮอล์91-95  LPG  NGV  ปัญหามลภาวะเลวร้ายก็คลี่คลายไป  ก็เหลือแค่  ความร้อน+ทัศนวิสัย  ที่เป็นปัจจัยว่าจะสร้างบนดินหรือใต้ดิน

 

 

ที่จริงแล้วถ้ามีเหตุผลการคัดค้านหรือการสนับสนุน  ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ พูดคุยถกเถียงกันได้ตามระบอบประชาธิปไตย

 

แต่ไม่ใช่ค้านแบบไร้สาระ  ขัดขวางแบบถ่วงความเจริญ  อย่างที่สมัคร+พรรคเหลี่ยมทำตอนเตะถ่วงไม่ให้รถไฟฟ้ามาฝั่งธนฯ หรือขยายไปทางสำโรง  หรือสด ๆ ร้อน ๆ กรณีของบสร้างศูนย์การประชุมที่ภูเก็ต
 



#25 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:34

BTS ก่อนจะเริ่มก่อสร้าง พรรค ปชป. เคยคัดค้านจริงหรือ?
Started by prisonbreak, Yesterday, 12:19
 
กระทู้นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ dragonworld ต้องชั่งใจคิดก่อนตั้งกระทู้ไร้สาระ.....!
สมาชิกที่นี่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากที่ไพร่เสื้อแดง ควายแดง บัตรเติมเงิน ปลาร้าเก่าในไหใหม่ ไม่มีให้ dragonworld......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#26 NAJ

NAJ

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 103 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:09

เรื่องการคัดค้านเท่าที่จำได้ก็น่าจะเป็น โรงเรียนมาแตร์แดอี เกี่ยวกับปัญหาเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน จึงเป็นที่มาของผนังกั้นของสถานนีชิดลมที่สูงกว่าสถานีอื่น

 
ใช่  จำได้แบบนี้เหมือนกัน  คนที่ออกมามีส่วนกับการรณรงค์ความปลอดภัยของนักเรียน
น่าจะเป็นคุณหญิงกัลยา  โสภณพานิช  จากมูลนิธิตาวิเศษละมั้ง  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ ปชป. อยู่แล้ว
 
 

ถ้าจำไม่ผิด เป็นคุณหญิงชดช้อยนะคะที่เป็นคนนำการคัดค้าน ไม่ใช่คุณหญิงกัลยา
เพราะคุณหญิงกัลยาไม่ได้เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนมาแตร์
แต่คุณหญิงชดช้อยก็เป็นน้องสาวสามีคุณหญิงกัลยา จะว่าไปก็เครือญาติกัน

#27 so what?

so what?

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,807 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:24

ตอนก่อนก่อสร้างผมจำไม่ค่อยได้ เท่าที่รู้คือผู้ว่ากทม.สมัยนั้น พล ต.จำลอง ได้ตัดสินใจหักดิบทุกด่าน แต่พอโครงการเริ่ม การคัดค้านมันมีมาประปรายเป็นระยะๆ การดีเบทกันเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทัศนวิสัยครับ มีการประท้วงของชาวโรงเรียนมาแตร์ฯ รวมทั้งผู้ปกครอง เด็กโรงเรียนมาแตร์นำโดยลูกสาวคุณพิจิตร รัตตกุล หลานปู่ของคุณพิชัย รัตตกุล (ที่ควายแดงส่วนใหญ่ชื่นชม เพราะแกออกมาด่าปชป.อยู่เนืองๆ) แต่ทุกวันนี้ก็เห็นชาวมาแตร์เค้าใช้บริการบีทีเอสกันอย่างแฮปปี้ดี คงลืมอดีตกันไปหมดแล้ว

 

คุณคีรี กาญจนพาน์ สมัยที่ธุรกิจอสังหาของแกยังรุ่งเรืองอยู่ มาคว้าเอาสัมปทานไปโดยลงทุนเหมาทั้งระบบโครงสร้างโยธาฯ และการเดินรถ ผลคือแกขาดทุนหนักในระยะแรกจนต้องประนอมหนี้-แฮร์คัทครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดก็ฝ่าฟันจนบีทีเอสมีกำไรได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นอย่าเอาบีทีเอสมาเทียบกับรถไฟความเลวสูงของอีโง่ครับ เพราะบีทีเอส กทม.ไม่ลงทุนตัวเงินซักสลึงเดียว ประเทศชาติไม่ต้องเป็นหนี้ใคร ส่วนรถไฟความเลวสูงของอีโง่ สองล้านล้าน กับห้าสิบปีครับ ควายแดงจงจำให้ขึ้นใจ จะได้เอาไว้สอนเหล่าลูกแหง่แดง

 

ที่ผมยังจำไม่ลืมอีกเรื่องคือ ช่วงที่บีทีเอสยังขาดทุนแต่กิจการกำลังเริ่มดีขึ้น ไอ้หน้าเหลี่ยมซึ่งเป็นนายฯสมัยนั้นกับฝูงขี้ข้าของมัน ก็มีความพยายามที่จะชุบมือเปิบตามสันดาานนักผูกขาดสัมปทาน โดยการพยายามเข้ามาบีบขอซื้อกิจการบีทีเอส เป็นของรัฐ เพื่อที่จะเอาไปรวมกับเครือข่ายรฟม.แล้วไปเอาหน้ากับชาวบ้านอีกต่อนึง แต่คุณคีรีแกไม่ยอม ไอ้เหลี่ยมกับขี้ข้าเลยแดรกแห้ว จึงแค้นฝังหุ่น แล้วพยายามตีบีทีเอสมาตลอด ควายแดงไปเช็คข้อมูลเก่าๆดูได้ครับ 



#28 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:14

ตอนก่อนก่อสร้างผมจำไม่ค่อยได้ เท่าที่รู้คือผู้ว่ากทม.สมัยนั้น พล ต.จำลอง ได้ตัดสินใจหักดิบทุกด่าน แต่พอโครงการเริ่ม การคัดค้านมันมีมาประปรายเป็นระยะๆ การดีเบทกันเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทัศนวิสัยครับ มีการประท้วงของชาวโรงเรียนมาแตร์ฯ รวมทั้งผู้ปกครอง เด็กโรงเรียนมาแตร์นำโดยลูกสาวคุณพิจิตร รัตตกุล หลานปู่ของคุณพิชัย รัตตกุล (ที่ควายแดงส่วนใหญ่ชื่นชม เพราะแกออกมาด่าปชป.อยู่เนืองๆ) แต่ทุกวันนี้ก็เห็นชาวมาแตร์เค้าใช้บริการบีทีเอสกันอย่างแฮปปี้ดี คงลืมอดีตกันไปหมดแล้ว

 

คุณคีรี กาญจนพาน์ สมัยที่ธุรกิจอสังหาของแกยังรุ่งเรืองอยู่ มาคว้าเอาสัมปทานไปโดยลงทุนเหมาทั้งระบบโครงสร้างโยธาฯ และการเดินรถ ผลคือแกขาดทุนหนักในระยะแรกจนต้องประนอมหนี้-แฮร์คัทครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดก็ฝ่าฟันจนบีทีเอสมีกำไรได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นอย่าเอาบีทีเอสมาเทียบกับรถไฟความเลวสูงของอีโง่ครับ เพราะบีทีเอส กทม.ไม่ลงทุนตัวเงินซักสลึงเดียว ประเทศชาติไม่ต้องเป็นหนี้ใคร ส่วนรถไฟความเลวสูงของอีโง่ สองล้านล้าน กับห้าสิบปีครับ ควายแดงจงจำให้ขึ้นใจ จะได้เอาไว้สอนเหล่าลูกแหง่แดง

 

ที่ผมยังจำไม่ลืมอีกเรื่องคือ ช่วงที่บีทีเอสยังขาดทุนแต่กิจการกำลังเริ่มดีขึ้น ไอ้หน้าเหลี่ยมซึ่งเป็นนายฯสมัยนั้นกับฝูงขี้ข้าของมัน ก็มีความพยายามที่จะชุบมือเปิบตามสันดาานนักผูกขาดสัมปทาน โดยการพยายามเข้ามาบีบขอซื้อกิจการบีทีเอส เป็นของรัฐ เพื่อที่จะเอาไปรวมกับเครือข่ายรฟม.แล้วไปเอาหน้ากับชาวบ้านอีกต่อนึง แต่คุณคีรีแกไม่ยอม ไอ้เหลี่ยมกับขี้ข้าเลยแดรกแห้ว จึงแค้นฝังหุ่น แล้วพยายามตีบีทีเอสมาตลอด ควายแดงไปเช็คข้อมูลเก่าๆดูได้ครับ 

ความจำแม่นดีครับ ใช่เลย



#29 chaidan

chaidan

    กา... กา... กา...

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,999 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:38

จำได้แต่ bts ส่วนต่อขยาย เพื่อไทยไม่ยอมอนุมัติงบจน คุณชายหมูต้อง เอางบกทม.มาทำเอง

สถานีสะพานตากสิน เชื่อมต่อ สถานีธนบุรี ครับ กว่าจะได้เปิดใช้ ไทยรักไทย ขวางสุดตัว


ใครที่บอกว่า "กาขาว" เป็นฝรั่ง....ผมว่าไม่ใช่......

#30 เมาอยู่

เมาอยู่

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,182 posts

ตอบ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 15:16

ความจริงที่น่าเจ็บปวดคือ ไพร่แดงมันยังนึกว่าทักษิณเป็นคนริเริ่มสร้างรถไฟฟ้า :(



#31 prisonbreak

prisonbreak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,138 posts

ตอบ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 17:33

หาไม่เจอเลยครับ คุณ prison

 

สงสัยตอนนั้น internet ยังไม่นิยม

 

ผมเลย search ไม่เจอ

 

 

แต่ก็เอาเป็นว่า รถไฟฟ้า bts

 

นี่ก็กลายเป็นชีวิตประจำวัน คนกรุง ไปซะละ

 

ขาดไม่ได้ล่ะนะ ไม่งั้นรถติดจมหู กว่านี้

 

 

คือ แน่นอน เมืองใหญ่ รถเยอะ ขนาดนี้

 

ถ้าไม่มี ทางเลือก สำหรับการเดินทาง เยอะ ๆ

 

คงไม่ดีแน่ ต้องให้เครดิต ลุงจำลอง ผม ล่ะนะ

 

ที่ผลักดัน โครงการนี้

 

 

ผมขอ ออกทะเล หน่อย

 

เรื่อง รถไฟฟ้า ความเร็วสูง อะ

 

มีมันก็ดีครับ มันก็เป็นทางเลือก อีกแบบ

 

อนาคต ถ้าเมืองเราขยาย สมมุติว่า

 

ไป ถึง เพชรบุรี หรือ โคราช หรือ สุพรรณบุรี

 

แบบนี้ ก็ควรจะมีนะ รถไฟความเร็วสูง

 

 

แต่นั่นล่ะ ไม่อยากให้เป็นการกู้ก้อนใหญ่นะ

 

อยากให้ดำเนินการ ตามปกติ มากกว่า

 

หรือถ้าจะลงทุนร่วม ความเสี่ยง ก็น่าจะลดลง ล่ะนะ

 

 

ก็ยืนยันว่า ชีวิต ที่เหลือ ผมก็อยากเห็น

 

แต่ขอแบบ ที่ไม่เสี่ยง อนาคต ลูกหลาน

 

ผมเอง ก็ไม่มีเหตุ ให้คัดค้านกันล่ะ

 

ผมก็พยายามค้นหา แต่ไม่เจอ ที่เห็นใน wiki ก็ไม่ค่อยละเอียด

ส่วนตาม pantip ก็มีบ้าง แต่ไม่ครอบคุม เช่น ประท้วง กรณีมาสร้างใกล้โรงเรียน

 

ส่วนเรื่องรถไฟความเร็วสูง พอจะมีข้อมูลให้อ่านได้ไม่ยาก เลยไม่ขอกล่าวถึง



#32 prisonbreak

prisonbreak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,138 posts

ตอบ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 17:38

คำว่าคัดค้าน กับคำแนะนำ มันต่างกันนิดเดียว ถ้าจะดิสเครดิต

 

คัดค้าน หรือ แนะนำ ผมไม่รู้

จึงมาตั้งกระทู้เผื่อเพื่อนสมาชิกบางคนอาจจะมีข้อเท็จจริง

ถ้ามัวห่วงแต่ดิสเครดิต วันนี้ก็ไม่รู้อะไรเป็นอะไรสิครับ แหม่..



#33 prisonbreak

prisonbreak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,138 posts

ตอบ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 17:52

ช่วงรัฐบาลทักษิณ ก็น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายไปทางฝั่งธนที่ล่าช้า

 

เท่าที่ค้นดูมา เจออยู่ 3 ข่าว

 

 

"ไทยรักไทย"ไม่เลิก สาดโคลนม็อบ BTS เกณฑ์คนคลองเตยมาช่วย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 ตุลาคม 2548 19:47 น.


“คุณหญิงสุดารัตน์” ชี้ กทม. ต่อขยายรถไฟฟ้าเพียง 2.2 กม. แต่รัฐบาลจะทำ 95 กม. พร้อมระบุ “อภิรักษ์” เล่นการเมืองมากไปแต่ ส.ก.ของไทยรักไทยไม่ค่อยเก่ง ด้าน “น.ต.ศิธา” ชี้ กทม. เอาคืนเพราะเสียคะแนนเรื่องน้ำท่วม พร้อมแฉผู้ชุมนุมที่หนุน กทม. เป็นเจ้าหน้าที่ถูกเกณฑ์มาจากคลองเตย

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงกรณีสภา กทม. อนุมัติวงเงินงบประมาณเพื่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากสะพานตากสินถึงถนน สมเด็จพระเจ้าตากสิน ว่า เรื่องระบบรถไฟฟ้านั้น รัฐบาลก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างทำแผนแม่บทรวมครอบคลุมเส้นทางกว่า 300 กม. ซึ่งจะเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะเป็นเส้นทางรถในพื้นที่ฝั่งธนบุรี 95 กม. ซึ่งการที่ ส.ก.ไทยรักไทยท้วงติงนั้นไม่ใช่เรื่องของการขัดขวาง แต่เป็นการกระทำตามหน้าที่

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ผู้ว่าฯ กทม. ต้องตอบให้ได้ว่าการนำเงินภาษีประชาชน 2,000 กว่าล้านบาทไปสร้างรถไฟฟ้าระยะทาง 2.2 กม. แล้วสัมปทานจะเป็นของใคร กทม. ทำแค่ 2.2 กม. ขณะที่รัฐบาลมีแผนจะทำถึง 95 กม. ในฝั่งธนฯ เมื่อไปทำเอง การเชื่อมต่อก็จะลำบาก ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์พยายามทำให้เป็นประเด็นการเมืองมากเกินไป ขณะที่ ส.ก.ไทยรักไทยไม่เก่งการเมืองและพูดไม่เก่ง อย่างไรก็ตาม ได้บอกทั้ง ส.ส. ส.ก. ส.ข. กทม.ของพรรคไทยรักไทยแล้วว่า เรื่องนี้ต้องชี้แจงกับประชาชน และอย่าตกใจ เพราะถือเป็นการทำหน้าที่ที่จะต้องท้วงติงในประเด็นที่ผู้ว่าฯ ต้องตอบให้ได้

สำหรับกรณีที่ ส.ก.ไทยรักไทยไม่เข้าร่วมประชุมจนเป็นเหตุให้การประชุมสภา กทม. ต้องปิดประชุม เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ชี้แจงว่า ไม่ใช่ไม่ต้องการให้ทำ แต่ต้องการให้ชี้แจงให้ได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวานนี้ ส.ก.ไทยรักไทยก็ได้พิสูจน์ด้วยการยกมือเห็นชอบแล้ว โดยไม่ได้ขัดขวาง

ด้าน น.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า เรื่องส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าไปฝั่งธนฯ ถูกทำเป็นประเด็นการเมือง เพราะ กทม. เสียคะแนนเรื่องน้ำท่วมไปมาก จึงต้องออกมาทำเรื่องนี้ ทั้งที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้ารัฐบาลต้องทำอยู่แล้ว ส่วนประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว เป็นแค่กลุ่มประชาชนที่ใช้อารมณ์ ซึ่งจากการตรวจสอบไปพบว่า คนที่มาเคลื่อนไหวเป็นการเกณฑ์เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดจากคลองเตยมาเป็น ร้อยคน

ประมวลข่าว/"อภิรักษ์VSทรท."เปิดศึกชิงฐานเสียงกทม. -ผูกชนวน"บีทีเอสสายฝั่งธนฯ"

 

 

คมนาคมเตรียมถก"กทม." หารือส่วนต่อขยายบีทีเอสสัปดาห์หน้า

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 ตุลาคม 2548 04:49 น.





กระทรวงคมนาคม เตรียมเรียก กทม. หารือเรื่องส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสปลายสัปดาห์หน้า พร้อมสั่ง รฟท.ปรับบทบาทเป็นผู้ควบคุม และจัดตารางการเดินรถ เปิดทางให้เอกชนเข้ามาอย่างเสรี

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการที่ กทม. จะเดินหน้าก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส จากสถานีตากสิน ไปยังถนนพระเจ้าตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ว่า หาก กทม.ต้องการดำเนินการก็สามารถทำได้ แต่ยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องการควบคุมค่าโดยสารและวิธีการเดินรถ เพราะทุกบริษัทที่ทำการเดินรถจะต้องขออนุมัติสัมปทานจากรัฐบาลอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องมาดูว่าวิธีการเดินรถและค่าโดยสารของบีทีเอสในอนาคตจะมีความสอด คล้องกับระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้วางโครงการเอาไว้หรือไม่

ทั้งนี้ ในปลายสัปดาห์หน้า จะมีการเชิญผู้บริหาร กทม. ผ่านทางกระทรวงมหาดไทย รวมถึงผู้บริหารบีทีเอส ให้มาเจรจาและหารือเกี่ยวกับเรื่องการจัดเก็บค่าโดยสาร วิธีการเดินรถ เงื่อนไขการเดินรถของบีทีเอส รวมถึงการลงทุนก่อสร้างเพื่อให้ระบบทั้งหมดสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มี ปัญหา หลังจากที่รัฐบาลมีโครงการจัดทำตั๋วโดยสารร่วมระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด ให้อยู่ในอัตราค่าโดยสารที่ 15 - 20 บาท ทั้งระบบ

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ จะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รายงานผลการศึกษาเส้นทางเดินรถ หลังจากที่ได้ทำการสำรวจว่า เส้นทางใดจะเป็นรถไฟลอยฟ้าและเส้นทางใดจะเป็นรถไฟบนดิน และมีจุดตัดถนนกี่จุด เพื่อให้สามารถคำนวณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น ก่อนเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลโครงการได้ พร้อมกันนี้ ได้สั่งให้กรรมการบริหารการรถไฟฯ พิจารณาเรื่องการเปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาลงทุนซื้อหัวรถจักรและบริหารการ เดินรถ

อย่างไรก็ตาม จะให้การรถไฟฯ ปรับบทบาทจากผู้ให้บริการเดินรถเป็นผู้ควบคุม และจัดตารางการเดินรถให้กับเอกชน ซึ่งการรถไฟฯ จะมีรายได้จากการให้เช่ารางรถไฟ และจัดระบบการเดินรถ ซึ่งหากการรถไฟฯ มีความพร้อมก็สามารถดำเนินการได้ทันที และเอกชนที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในการเดินรถขนส่งสินค้า และจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าก็สามารถติดต่อกับการรถไฟฯ ได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถประกาศให้เอกชนเข้ามาแสดงความจำนงในการลงทุนได้ประมาณ 3-4 เดือนข้างหน้า เนื่องจากขณะนี้การรถไฟฯ กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงการจัดตารางเดินรถและปรับปรุงข้อมูลเชื่อมโยง การเดินรถทั้งระบบ

 

 

ค่าเดินรถแลกค่าโดยสาร เจรจาบีทีเอสนัดแรก-3 สถานีใหม่ 10 บาท
Dailynews - Nov 8, 2005

เวลา 15.00 น. วันที่ 7 พ.ย. ที่ศาลาว่าการ กทม. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมหารือกับนายอาณัติ อาภาภิรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บ.บีทีเอส เพื่อหารือเรื่องการนำรถไฟฟ้าบีทีเอสมาวิ่งในเส้นทางส่วนต่อขยาย 2.2 กม. โดยมีนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าฯ กทม. นายกนก วงษ์ตระหง่าน ประธานบอร์ด บ.กรุงเทพธนาคม ร่วมหารือนานกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นนายอภิรักษ์แถลงข่าวว่า วันนี้ที่ประชุมได้ข้อสรุป 3 ประการ คือ

1. การเปิดให้บริการอีก 2.2 กม. ทำให้ปลายทางปัจจุบันขยายจากสถานีสะพานตากสิน เป็นสถานีกรุงธน และสถานีถนนตากสินนั้น จะเก็บค่าโดยสาร 40 บาทเท่าเดิม เท่ากับว่าประชาชนได้เดินทางไกลขึ้นแต่จ่ายค่าโดยสารเท่าเดิม
2. นอกจากนี้ ผู้ที่เดินไปมาภายใน 3 สถานีดังกล่าวจะเสียเงินค่าโดยสารเพียง 10 บาท ถือว่าถูกกว่าการเดินทางในเส้นทางปัจจุบันที่ต้องจ่าย 15 บาท

3. เนื่องจากข้อสรุปเรื่องส่วนแบ่งรายได้ยังไม่ชัดเจน จำเป็นต้องใช้เวลาหารืออีกระยะหนึ่ง จึงได้มอบหมายให้ประธานบอร์ด บ.กรุงเทพธนาคมไปร่วมหารือกับบีทีเอสให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์

นายสามารถกล่าวว่า ในหลักการแล้ว กทม.จะต้องจ่ายค่าเช่ารถไฟฟ้าที่จะนำมาวิ่ง ค่าบำรุงรักษารถ ค่าพนักงาน ค่า รปภ.ของบีทีเอส ที่จะต้องไปอยู่ประจำใน 2 สถานีใหม่ รวมทั้งค่าไฟฟ้าแก่บีทีเอส ขณะที่บีทีเอสจะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารคืน กทม.ในฐานะที่เป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างทั้งหมด ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาหักลบกลบหนี้กัน แต่เรื่องนี้จะต้องขอเวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อหารือในรายละเอียดระหว่างกัน จึงตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างไปทำแบบจำลองผู้โดยสาร และรายได้ขึ้นมาเพื่อนำมาประชุมร่วมกันซึ่งคาดว่าใน 2 สัปดาห์จะต้องมีคำตอบที่ชัดเจน

นายอาณัติกล่าวว่า ขณะนี้คาดการณ์ได้แต่เพียงว่า การวิ่งเพิ่มอีก 2.2 กม. น่าจะมีผู้โดยสารในระบบที่ไปใช้บริการที่สถานีถนนตากสินมากถึง 50,000 คน/วัน ขณะที่ผู้โดยสารที่สถานีสะพานตากสินและสุรศักดิ์น่าจะลดลงเกือบ 20,000 คน/วัน เท่ากับว่าน่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มเข้ามาในระบบจริงๆราว 30,000 คน/วัน แต่ก็ยังไม่สามารถนำไปคำนวณรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ตนขอเวลากลับไปทำแบบจำลองก่อนจึงจะบอกอะไรที่ชัดเจนได้มากกว่านี้ และเมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนจะได้นำรายละเอียดทั้งหมดไปเสนอเจ้าหนี้ 3 แห่ง คือ KFW, IFC และธนาคารไทยพาณิชย์ด้วย ส่วนเรื่องที่เป็นห่วงจำนวนรถไฟฟ้าจะมีไม่พอนั้น เรื่องนี้ตัดทิ้งไปได้เลย ทุกวันนี้บริษัทมีรถไฟฟ้าทั้งหมด 35 ขบวน นำมาใช้จริง 31 ขบวน ถ้าวิ่งเพิ่มอีก 2.2 กม. ก็จะนำมาใช้อีก 2 ขบวนรวมทั้งหมด 33 ขบวน.

 

ที่มา : http://www.skyscrape...t=272391&page=3

 

ผมพยายามตามไปดู astv แต่ไม่เจอแระ น่าจะนานเกิน

แต่ link นี้เป็น webboard พูดถึง BTS แต่ เป็นภาษาอังกฤษ บ้าง ภาษาไทยบ้าง


Edited by prisonbreak, 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 17:55.


#34 Jump Man

Jump Man

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 154 posts

ตอบ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 06:03

Quote

 

"ไทยรักไทย"ไม่เลิก สาดโคลนม็อบ BTS เกณฑ์คนคลองเตยมาช่วย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 ตุลาคม 2548 19:47 น.


“คุณหญิงสุดารัตน์” ชี้ กทม. ต่อขยายรถไฟฟ้าเพียง 2.2 กม. แต่รัฐบาลจะทำ 95 กม. พร้อมระบุ “อภิรักษ์” เล่นการเมืองมากไปแต่ ส.ก.ของไทยรักไทยไม่ค่อยเก่ง ด้าน “น.ต.ศิธา” ชี้ กทม. เอาคืนเพราะเสียคะแนนเรื่องน้ำท่วม พร้อมแฉผู้ชุมนุมที่หนุน กทม. เป็นเจ้าหน้าที่ถูกเกณฑ์มาจากคลองเตย

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงกรณีสภา กทม. อนุมัติวงเงินงบประมาณเพื่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากสะพานตากสินถึงถนน สมเด็จพระเจ้าตากสิน ว่า เรื่องระบบรถไฟฟ้านั้น รัฐบาลก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างทำแผนแม่บทรวมครอบคลุมเส้นทางกว่า 300 กม. ซึ่งจะเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะเป็นเส้นทางรถในพื้นที่ฝั่งธนบุรี 95 กม. ซึ่งการที่ ส.ก.ไทยรักไทยท้วงติงนั้นไม่ใช่เรื่องของการขัดขวาง แต่เป็นการกระทำตามหน้าที่

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ผู้ว่าฯ กทม. ต้องตอบให้ได้ว่าการนำเงินภาษีประชาชน 2,000 กว่าล้านบาทไปสร้างรถไฟฟ้าระยะทาง 2.2 กม. แล้วสัมปทานจะเป็นของใคร กทม. ทำแค่ 2.2 กม. ขณะที่รัฐบาลมีแผนจะทำถึง 95 กม. ในฝั่งธนฯ เมื่อไปทำเอง การเชื่อมต่อก็จะลำบาก ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์พยายามทำให้เป็นประเด็นการเมืองมากเกินไป ขณะที่ ส.ก.ไทยรักไทยไม่เก่งการเมืองและพูดไม่เก่ง อย่างไรก็ตาม ได้บอกทั้ง ส.ส. ส.ก. ส.ข. กทม.ของพรรคไทยรักไทยแล้วว่า เรื่องนี้ต้องชี้แจงกับประชาชน และอย่าตกใจ เพราะถือเป็นการทำหน้าที่ที่จะต้องท้วงติงในประเด็นที่ผู้ว่าฯ ต้องตอบให้ได้

สำหรับกรณีที่ ส.ก.ไทยรักไทยไม่เข้าร่วมประชุมจนเป็นเหตุให้การประชุมสภา กทม. ต้องปิดประชุม เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ชี้แจงว่า ไม่ใช่ไม่ต้องการให้ทำ แต่ต้องการให้ชี้แจงให้ได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวานนี้ ส.ก.ไทยรักไทยก็ได้พิสูจน์ด้วยการยกมือเห็นชอบแล้ว โดยไม่ได้ขัดขวาง

ด้าน น.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า เรื่องส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าไปฝั่งธนฯ ถูกทำเป็นประเด็นการเมือง เพราะ กทม. เสียคะแนนเรื่องน้ำท่วมไปมาก จึงต้องออกมาทำเรื่องนี้ ทั้งที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้ารัฐบาลต้องทำอยู่แล้ว ส่วนประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว เป็นแค่กลุ่มประชาชนที่ใช้อารมณ์ ซึ่งจากการตรวจสอบไปพบว่า คนที่มาเคลื่อนไหวเป็นการเกณฑ์เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดจากคลองเตยมาเป็น ร้อยคน

ประมวลข่าว/"อภิรักษ์VSทรท."เปิดศึกชิงฐานเสียงกทม. -ผูกชนวน"บีทีเอสสายฝั่งธนฯ"

เหมือนที่กิตติรัตน์ตอบกรณ์เรื่อง รถไฟรางคู่เลย ที่บอกว่ารัฐบาลเพื่อไทยทำระยะทางมากกว่า รัฐบาลประชาธิปปัตย์ ลองไปหา youtube ดู อาจมีมุกเก่าเอามาใช้ใหม่อีกก็ได้



#35 prisonbreak

prisonbreak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,138 posts

ตอบ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:49

'ทักษิณ'เร่งฮุบรถไฟใต้ดิน-BTS

--------------------------------------------------------------------------------

"ทักษิณ" จี้ติดสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เร่งเจรจาฮุบกิจการรถไฟฟ้าใต้ดิน- บีทีเอส กำหนดเพดานซื้อ 7.5 หมื่นล้านบาท พร้อมไฟเขียวระบบราง หั่นงบเหลือ 7 แสนล้านบาท เร่งให้เสร็จภายใน 5 ปี วางกรอบหาเงิน 3 แนวทาง จัดตั้งกองทุน/เงินรัฐ/รายได้จากการเดินรถ




พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมน-ตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2547 ร่วมกับคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พร้อมตรวจเยี่ยมโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และได้เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม คจร. ว่า การประชุมวันนี้เป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปั_หาระบบขนส่งมวลชนและระบบ โครงข่ายถนนทั้งในกรุงเทพฯปริมณฑลเพื่อแก้ปั_หาการจราจร โดยคณะกรรมการได้เห็นชอบในหลักการร่วมกันในการแก้ปั_หาการจราจรทีเดียวไป พร้อมกันทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งยอมรับว่าต้องใช้เงินจำนวนค่อนข้างมาก หากค่อยๆ ลงทุนไปทีละน้อย ผล คือ ประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนจากปั_หาจราจรอยู่รัฐบาลจึงตัดสินใจเลือกแนว ทางในการลงทุนเพียงครั้งเดียวแล้วค่อยผ่อนชำระเงินลงทุน และกำหนดเส้นทางเพื่อให้เข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของประชาชน
ภายหลังที่ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปทำการศึกษาระบบโครงข่ายคมนาคมหลายเดือน ผลปรากฏว่าจะต้องเพิ่มระยะทางออกไปอีก 240 กม. รวมโครงข่ายภายในด้วยเป็น 291 กม. แต่ยังติดขัดเรื่องการให้สัมปทานเอกชนดำเนินการอยู่แล้ว 2 ราย ในโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือบีเอ็มซีแอล ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ระบบตั๋วร่วมและการเชื่อมต่อสถานี ทั้งนี้ได้มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นประธานเร่งไปเจรจา กับ 2 บริษัทที่ได้รับสัมปทานเพื่อให้รวมกันเป็นระบบเดียว และจะยังไม่เปิดเผยรายละเอียดจนกว่าจะเจรจาเสร็จเป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว คิดเป็นค่าก่อสร้างรวมทั้งค่าเวนคืนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 446,677 ล้านบาท

ทั้งนี้เมื่อคำนวณดูแล้วหลังจากสร้างเสร็จและเปิดให้บริการครบ 291 กม. จะมีรายได้ประมาณ 13,000 ล้านบาทต่อปี (ปีที่ 5) ซึ่งจะสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้สมมติว่าดอก เบี้ย 4% จากเงินลงทุน 320,000 ล้านบาท จะเหลือเงินที่จะลงทุนอีก 100,000 กว่าล้านบาท โดยวิธีการหาเงินนี้จะมาจาก 3 ส่วน คือ 1. ลักษณะของกองทุนประชาชนทั่วไปขนาดกองทุน 300,000 กว่าล้านบาท 2. เงินจากภาครัฐ 100,000 กว่าล้านบาท ในส่วนของการเวนคืนและการออกแบบเบื้องต้น 3. นำรายได้จากการเดินรถ 13,000 ล้านบาท (ภาย ใน 5 ปี) มาชำระเงินกู้ เบ็ดเสร็จจะได้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 240 กม. โดยใช้เงินลงทุนเพียงแสนกว่าล้านบาท

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า แนวทางการใช้เงิน ยังไม่สรุปตายตัวจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้งเพื่อให้การใช้เงินเป็นไปอย่าง คุ้มค่าที่ สุด ส่วนสายทางนั้นโดยหลักการแล้วจะสร้างพร้อมกันแต่ส่วนไหนสร้างได้เร็วกว่าจะ รีบดำเนินการก่อนเพื่อแก้ปั_หาให้เร็วที่สุด โดยการเชื่อมต่อสถานีจะมีระยะห่างกัน 500 เมตร ทั้งจะเร่งการก่อสร้างทั้งหมดรวมออกแบบให้เร็วกว่า 6 ปี หรือภายใน 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายแก้ปั_หาคนจนภาย ใน 5 ปี
สำหรับโครงข่ายของถนน หากมีการเชื่อมต่อกันจะทำให้การจราจรมีความคล่องตัว ซึ่งกทม.ได้เสนอโครงข่ายถนน 15 โครงการ และโครงการเพิ่มเติมอีก 8 โครงการ ได้อนุมัติไปแล้ว 15 โครงการโดยใช้เงินของกทม. ส่วนโครงการการเชื่อมต่อของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การขยายเส้นทางของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงพิเศษ รวมทั้งการเพิ่มระยะทางออกไปเพื่อรองรับรถชานเมืองด้วย ได้อนุมัติในหลักการไปแล้วบางส่วน และที่อนุมัติอีกโครงการ คือ รถไฟรางคู่ ซึ่งขณะนี้มีรถไฟรางคู่ถึงฉะเชิงเทรา แต่ฉะเชิง เทรา-แหลมฉบัง ยังเป็นรถไฟทางเดี่ยวอยู่ทำให้การขนส่งสินค้าถึงแหลมฉบังเกิดความล่า ช้าและไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร จะต้องเร่งให้มีการแก้ไขโดยด่วน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายนิกร จำนง เสนอให้มีการขนส่งทางเรือตรงใกล้สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ITD) ของรถไฟเพื่อใช้โหลดของที่ขึ้นรถเทรเลอร์ และขยายรถไฟเป็นรางคู่จากฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และแหลมฉบัง จะทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตรงเวลา และลดความเสียหายของถนน รถไฟรางคู่คาดว่าจะใช้เงิน 5,000 กว่าล้านบาท จำนวน 78 กม. กม.ละ 70 ล้านบาทโดยประมาณซึ่งเป็นตัวเลข คร่าวๆ เมื่อมีการประกวดราคาจะกำหนดให้ได้ถูกที่สุด

ส่วนโครงการแหลมผักเบี้ย จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2550 จะออกแบบในรายละเอียดในส่วนสะพานบกทั้งหัวและท้าย ส่วนสะพานน้ำจะทำการกำหนดรูปแบบที่ชัดเจน ศึกษาความเป็นไปได้ แล้วค่อยลงในรายละเอียดอีกครั้ง คาดว่าจะใช้เงินก่อ สร้าง 50,000 กว่าล้านบาท รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 600,000-700,000 ล้านบาท เป็นการแก้ปั_หาเบ็ดเสร็จช่วยลดและระบายความคับคั่งของถนนและลดการใช้รถ

ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งมวลชน โครงการโครงข่ายของกทพ. กรมทางหลวง จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน แต่เร็วสุดคือส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน (บีเอ็มซีแอล) รวมถึงโครงการทางด่วนทดแทนสายพ_าไท-พุทธมณฑล โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าที่จะวิ่งไปสนามบินสุวรรณภูมิ


ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในส่วนของรฟม.ได้ขอให้นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ บริษัทช.การช่างฯ ผู้ได้รับสัมปทานทำรายละเอียดทางการเงินเสนอมาซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอ ส่วนทางด้านบีทีเอส ทางเจ้าหนี้ต่างประเทศเห็นว่าการเจรจากับผู้ถือหุ้นยังมีปั_หาอยู่พอสมควร แม้ว่าจะมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้วก็ตามแต่ไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนาน เท่าใด

"คงจะต้องเข้าไปเจรจาโดยยึดถือผลประโยชน์ให้เกิดกับประชาชน ส่วนราคานั้นยังไม่สามารถตอบได้ แต่ภายหลังจากการเจรจาได้ข้อสรุปจะทำการชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า เหตุใดต้องซื้อในราคานี้ และมีความจำเป็นอย่างไร การดำเนินงานหลังจากนี้จะเชิ_ผู้ได้รับสัมปทานมาเจรจา"

ทางด้านการเงินที่ประชุมได้มอบหมายให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ง ประเทศไทยไปช่วยศึกษาว่าทำอย่างไรที่จะให้ต้นทุนในการลงทุนต่ำที่สุด จากที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงเงินลงทุนน่าจะมาจากหลายๆ ส่วนด้วยกัน ทั้งเงินกองทุน เงินงบประมาณ และบางส่วนมาจากเอกชนผสมผสานกัน ทั้งนี้จะต้องไปศึกษาในรายละเอียดอีก โดยการเจรจาจะดำเนินการคู่ขนานไปกับการออกแบบคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ส่วนราคาซื้อบีทีเอสและบีเอ็มซีแอลที่ทางสนข.เสนอมาในวงเงินบีเอ็มซีแอล 25,000 ล้านบาท และบีทีเอส 50,000 ล้านบาทนั้นเป็นเพียงตุ๊กตาที่วางไว้เท่านั้น

นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ให้ไปศึกษาในเรื่องของกองทุน รายได้ที่จะกลับเข้ามา งบในการเวนคืนที่ดิน แหล่งเงิน โดยเร่งดำเนินการในส่วนที่จะสร้างรายได้ก่อน ทั้งนี้รายได้ที่จะเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของโครงการและจำนวนผู้โดยสารด้วย

ส่วนเส้นทางที่จะดำเนินการเร่งด่วนได้แก่ ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวสาทร-ตากสิน สายตะวันออกจากอ่อนนุช-สำโรง สายเหนือจากหมอชิต-สะพานใหม่ และอีก 2 ปี จะต่อขยายไปสนามกีฬาธูปะเตมีย์ ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดินจะต่อไปหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค สายเหนือไปพระนั่งเกล้า ตอนกลางวกกลับเข้ามาถนนจรั_สนิทวงศ์ ส่วนสายสีส้มบางให_่-พระนั่งเกล้าปรับเป็นสายสีม่วงวิ่งมายังราษฎร์บูรณะ

ทั้งนี้ นายเกษม จาติกวณิช ประธานกรรมการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ได้ให้สัมภาษณ์ทางรายการ "ทันข่าวเศรษฐกิจ" ทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อเวลา 09.30 น. เมื่อเช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ว่า ในความคิดเห็นส่วนตนแล้ว หากรัฐซื้อบีทีเอสราคา 50,000 ล้านบาท ก็น่าจะเป็นราคาที่สมควรขาย ทั้งนี้ จะต้องจ่ายเป็นเงินสดโดยไม่ต้องผ่อนชำระเท่านั้น

ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวใกล้ชิดนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ผู้ถือหุ้นให_่ บริษัทช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นายปลิวได้เจรจาซื้อขายหุ้นรถไฟฟ้าจริง แต่เงื่อนไขน่าจะอยู่ที่ราคา 150 บาทต่อหุ้น (68 ล้านหุ้น) เพราะราคานี้ได้มีเอกชนบางรายเสนอซื้อไปก่อนหน้านี้แล้ว หากมีการซื้อจริงต้องมีการเจรจาอีกครั้งว่าราคาหุ้นขยับไปเท่าไร อย่างไรก็ดีการที่รัฐจะซื้อกิจการของทั้ง 2 บริษัทจะต้องทำก่อนที่ทั้งสองบริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ



Source : Than Sretthakij : Feb 15, 2004






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน