หนูอ้อย, on 02 Apr 2014 - 08:37, said:
จาฤก, on 02 Apr 2014 - 08:11, said:
หลังจากเลื่อนมา 3 ครั้ง ใช้เวลา ร่วม 2 ปี
มาตรฐาน ตลก ไทย
http://www.rsutv.tv/...tail/index/3366
ศาลรัฐธรรมนูญจำหน่ายคำร้อง "มาร์ค" หนีทหาร ระบุยุบสภาไปแล้วทำให้สภาพ ส.ส. สิ้นสุดลงไม่มีประโยชน์ต้องพิจารณาอีก
วันที่ 5 ก.พ.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกรณีที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (6) หรือไม่หลังจากที่กระทรวงกลาโหม มีคำสั่งปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ ออกจากราชการ
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่าเนื่องจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค. 2556 ทำให้ความเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (1) ดังนั้นจึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีนี้ต่อไป จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้องดังกล่าว
2 ปีครึ่งที่ถวิลร้องศาลปกครองกลาง ต่อมาถึงศาลปกครองสูงสุด ความเป็นธรรมที่นานแสนนานเมื่อเทียบกับการกลั่นแกล้งอภิสิทธิ์ไม่ถึงสองปี
การฟ้องศาลรธน.ครั้งนี้ก็คือการกระชับความยุติธรรมที่มาช้าในการอวยเพรียวพันธุ์ ทุกสิ่งทุกอย่างแฉโดยศาลปกครองทั้งสองศาลไม่จำเป็นที่ศาลรธน.จะต้องสืบอะไรอีกแล้ว
ประเด็นคือ นายกฯ ย้ายข้าราชการก็ทำตามหน้าที่ ตาม พรบ. บริหารราชการแผ่นดิน
เหมือนกับ นายกฯคนอื่นๆก็ใช้ กฎหมายฉบับเดียวกัน แต่เมือ ผู้ถูกย้ายคิดว่าไม่เป็นธรรม
ไปฟ้องศาลปกครอง และศาลตัดสินเป็นคุณต่อผู้ร้อง ก็คืนตำแหน่งกลับไป ก็จบแค่นั้น
จะถือว่าคนสั่งย้ายซึ่งทำตามกฎหมาย ทำผิดกฎหมายได้อย่างไร ในเมื่อมันเป็นแค่ดุลพินิจ
ของฝ่ายบริหารคือนายกฯ กับศาลต่างกันเท่านั้นเอง
มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(2) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวง
หรือทบวง
(3) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(4) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
(5) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรง ตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
(6) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
(7) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
(8) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่
ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น