Jump to content


Photo
- - - - -

น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระมหากษัตริย์เจ้าในพระราชวงศ์จักรี เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ๖ เมษายน ๒๕๕๗


  • Please log in to reply
12 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ctpk05

ctpk05

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 967 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 09:58

*
POPULAR

421px-Emblem_of_the_House_of_Chakri.svg.png

 

__oeparagraph__269.jpg

 
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทย
 
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่มีการย้ายสถานที่ในการประดิษฐานหลายครั้ง เช่น พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ย้ายพระบรมรูปมาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระบรมชนกนาถ
 
จนกระทั่ง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล จึงสำเร็จลุล่วง และได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมาโปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า “วันจักรี”
 

วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกถึง มหาจักรีบรมราชวงศ์เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯในนามกรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองหลวงของไทย  ซึ่งเมื่อครั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงนั้น มีบริเวณรวมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นเมืองหลวงที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ต่อมา  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนนาม "กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์" เป็น "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์"ระยะเวลาตั้งแต่แรกตั้งกรุงเทพมหานครฯ เมื่อ พ.ศ.2325 เป็นต้นมา นิยมเรียกว่า "สมัยรัตนโกสินทร์" เช่นที่เคยเรียกระยะเวลาที่แล้วมา อย่างสั้น ๆ และเรียกตามชื่อเมืองหลวงว่า "สมัยอยุธยา" และ "สมัยสุโขทัย" เป็นต้น  พระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ ได้สืบสันติติวงศ์ต่อกันมา  ในราชวงศ์เดียวกันจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2521) มี 9 พระองค์ รวมเวลาเกือบ 200 ปี

 

ตลอดเวลาเกือบ 200 ปี แห่งสมัยรัตนโกสินทร์มาจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ประจักษ์แจ้งชัดว่า ประชาชนชาวไทย รัก เคารพ และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไม่เสื่อมคลาย ที่เป็นดังนี้เพราะ พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และทรงสอดส่องดูแลอาณาประชาราษฎร์ จึงสามารถผูกใจประชาชนไว้ได้มั่นคง

 

จาก ประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ ( ร.๑ - ๔ ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น

 

ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ - ๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรด ฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่า“วันจักรี”

 

 

 

 

 

 

 


Edited by ctpk05, 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 09:58.

"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"


#2 ctpk05

ctpk05

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 967 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 10:04

il_1186.jpg

 

 

ตราสัญลักษณ์พระราชวงศ์จักรี
     พระนามของพระราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คำว่า "จักรี" พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"


#3 ctpk05

ctpk05

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 967 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 10:13

*
POPULAR

ปราสาทพระเทพบิดร

 

 

e21606.jpg

 

431820_654653504561305_2144018697_n.jpg

 

K7837113-5.jpg

 

 

 ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งอยู่บนฐานไพทีด้านทิศตะวันออก ของพระมณฑปตรงกับประตูพระระเบียงและประตูสวัสดิโสภา ซึ่งเป็นประตูชั้นนอกของพระบรมมหาราชวัง
 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๙๘ ตามแบบปราสาททอง (พระที่นั่งวิหารสมเด็จ) ในกรุงศรีอยุธยา พระราชทานนามว่าพระพุทธปรางค์ปราสาท ในการก่อสร้างครั้งนี้โปรดเกล้า ฯ ให้นำกระเบื้องที่สั่งมาจากมาเมืองจีนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มีพระราชประสงค์จะนำมาประดับพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม มาประดับที่พระพุทธปรางค์ปราสาทด้วย แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
 
 
ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อเตรียมงานสมโภชพระนครครอบ ๑๐๐ ปี โปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ควบคุมการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระพุทธปรางค์ปราสาทดังนี้
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงทำบุษบกข้างใน พระพุทธปรางค์ปราสาท
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์  เมื่อครั้งดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ ทำเพดานภายในที่ยังค้างอยู่ ปูหินอ่อน ทำลวดลายผนัง เชิงผนังและลายเพดานขึ้นใหม่
๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูรเรศธำรงศักดิ์ ทำการประดับกระเบื้องในที่ต่างๆ ที่ยังค้างอยู่เป็นอันมาก ทำการลงรักปิดทองประดับกระจก เชิงกลอน ทวย ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน เสา และการต่าง ๆ ภายนอกทั้งหมด
๔. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ เมื่อครั้งดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค ทำการประดับมุกบานพระทวาร และพระบัญชรด้านนอกทั้งหมด ด้านในเป็นลายรดน้ำรูปเซี่ยวกาง
การก่อสร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทสำเร็จลงใน พ.ศ. ๒๔๒๕ พร้อมกับงานฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วทรงเห็นว่า พระพุทธปรางค์ปราสาทมีขนาดไม่เพียงพอกับพระราชพิธีต่าง ๆ จึงมิได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) มาประดิษฐาน ตามพระราชดำริเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญ พระเจดีย์กาไหล่ทอง ของรัชกาลที่ ๔ ที่เคยตั้งเป็นประธานในพระพุทธมณเฑียรในบริเวณสวนขวา เดิมมาประดิษฐานเป็นประธานในพระพุทธปรางค์ปราสาท
 
ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๔๖ เกิดเพลิงไหม้อันเนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เครื่องบนหลังคาพระพุทธปรางค์ปราสาทไหม้จนหมดสิ้น รวมไปถึงพระเจดีย์กาไหล่ทององค์ประธานก็สูญสิ้นไปด้วย ขณะเพลิงไหม้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ถอดพระทวารและพระบัญชรประดับมุกออกทั้งหมด หลังจากนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมหลังคาและส่วนที่ชำรุดเสียหาย ส่วนบานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกโปรดเกล้า ฯ ให้นำไปเป็นบานประตูและหน้าต่างที่พระอุโบสถวัดราชบพิธ ฯ การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ยังไม่เสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
 
ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์จนเสร็จบริบูรณ์ แล้วตกแต่งภายในแก้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูป สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมราชจักรีวงศ์ทั้ง ๕ พระองค์ และให้แปลงนามเรียกว่า “ปราสาทพระเทพบิดร” ในการแปลงนามครั้งนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสไม่ทรงเห็นชอบด้วย อ้างว่าของเดิมเป็นพุทธบูชาไม่ควรจะตัดคำว่า พุทธ ออกไป ในท้ายที่สุดสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงยอมให้กั้นมุขหลังเป็นห้องหนึ่งต่างหากที่เรียกกันในปัจจุบันว่าท้ายจรนำ แล้วเชิญพระพุทธรูปพระเทพบิดร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อขึ้นมาตั้งเป็นประธานในห้องนั้นเพื่อให้สัมพันธ์กับนามที่เรียกว่าปราสาทพระเทพบิดร แต่ปัจจุบันท้ายจรนำเป็นคลังเก็บของ วัดพระศรีรัตนศาสดารามจะเชิญพระพุทธรูปพระเทพบิดรไปไว้ ณ ที่ใดต่อไปไม่ปรากฏ
 
ในรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้า ฯ ให้ปั้นหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในปราสาทพระเทพบิดรใน พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อเตรียมงานสมโภชพระนครครบ ๑๕๐ ปี ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมแซมกระเบื้องที่ชำรุด ซ่อมช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันและลายฉลุปิดทองที่ฝ้าเพดาน ซ่อมลงรักปิดทองประดับกระจกเสานาคพลสิงห์บันได ซ่อมฐานบัวให้เหมือนเดิม
 
ในรัชกาลที่ ๘ โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๔๘๙ การยังไม่แล้วเสร็จ ยังไม่ได้บรรจุเส้นพระเจ้า ดวงพระบรมราชสมภพ ดวงพระบรมราชภิเษก และยังไม่ได้เชิญขึ้นประดิษฐานบนปราสาทพระเทพบิดร ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรรจุและอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ขึ้นประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๐๒ พร้อมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อขึ้น
 
เมื่อเตรียมงานฉลองพระนครครบรอบ ๒๐๐ ปี ได้มีการบูรณะปราสาทพระเทพบิดรอีกครั้งหนึ่งในส่วนที่ชำรุดเสียหาย เช่น ล้างฝาผนังที่บุกระเบื้องเคลือบสีให้สดใสเหมือนเดิมเป็นต้น ส่วนการบูรณะนั้นยังรักษาศิลปะการก่อสร้างเดิมไว้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงประการใด
 
 
การถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชที่ปราสาทพระเทพบิดรเป็นราชประเพณีประจำปี ตั้งแต่วันที่ ๖ เมษายน๒๔๖๑ เป็นต้นมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สาธุชนเข้าถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกา จนถึงเวลา ๑๘ นาฬิกา

"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"


#4 ผู้พิทักษ์ความดี

ผู้พิทักษ์ความดี

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 516 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 10:22

ข้าพเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในราชวงศ์จักรี

#5 ctpk05

ctpk05

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 967 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 10:25

news_img_399622_3.jpg

 

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์

 

ตั้งแต่โบราณกาล สิ่งของอันเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชาธิบดีรวม 5 สิ่ง ซึ่งเรียกกันว่า “เบญจราชกกุธภัณฑ์” ซึ่งพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี มีสิ่งสำคัญทั้งห้า ดังนี้

1.พระมหาพิชัยมงกุฏ เป็นพระมหามงกุฎทองคำลงยาประดับเพชร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งเติมโดยประดับเพชรขนาดใหญ่ที่ยอดพระมหามงกุฏ 1 เม็ด เป็นเพชรที่ซื้อมาจากอินเดีย และพระราชทานขนานนามเพชรเม็ดนี้ว่า “พระมหาวิเชียรมณี”
 
2.พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระขรรค์โบราณ เชื่อกันว่าเป็นพระราชศาสตราคู่บ้านคู่เมืองของเขมรสมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ โดยจมอยู่ในทะเลสาบเมืองนครเสียมราฐมาเป็นเวลานานเท่าใดไม่มีใครทราบ ชาวประมงที่เมืองนั้นทอดแหขึ้นมาได้ องค์พระขรรค์ยังดี หาได้เกิดสนิมผุกร่อนเสียไปมากมาย ดังนั้นท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองและนครเสียมราฐ จึงให้พระยาพระเขมรเชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 1 ในปี 2327 และโปรดเกล้าฯให้ช่างทำด้ามพระขรรค์หุ้มทองคำลงยาราชาวดีลายเทพนม ทำฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดีประดับมณีขึ้นด้วยฝีมืออันงดงามประณีต และโปรดเกล้าฯให้เชิญเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 2328
 
3.ธารพระกร เป็นไม้ชัยพฤกษ์หุ้มทองคำตลอด ปลายสุดของธารพระกรทำเป็นส้อมสามง่าม ลักษณะเหมือนกับไม้เท้าพระภิกษุ สำหรับใช้ในการชักมหาบังสุกุล ธารพระกรองค์นี้สร้างขึ้นเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างธารพระกรทองคำขึ้นใหม่อีกองค์หนึ่ง ลักษณะใกล้ไปทางพระแสงดาบยอดทำเป็นรูปเทวดาชักยอดออกจากองค์ธารพระกร แล้วกลายเป็นพระแสงเสน่า (เป็นมีดสำหรับขว้าง)
 
4.วาลวีชนี ของเดิมที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 เป็นพัดใบตาลแบบที่เรียกกันว่า พัชนีฝักมะขาม เป็นใบตาลปิดทอง ขอบขลิบทองคำ ด้ามก็ทำด้วยทองคำ ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงพระราชดำริว่า “วาลวิชนี” นั้นไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี เพราะวาลแปลว่าขนโคชนิดหนึ่ง ภาษาไทยเรียกว่าจามรี จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระแส้จามรีขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และให้ใช้ควบคู่กันทั้งพัดใบตาลและพระแส้จามรี เรียกของสองสิ่งนี้รวมกันว่า “วาลวีชนี”
 
5.ฉลองพระบาท เป็นฉลองพระบาทเชิงงอน ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีฝังเพชร สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชเบญจราชกกุธภัณฑ์มาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชครูพราหมณ์พิธีเป็นผู้สวมฉลองพระบาทนี้ถวาย

"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"


#6 เกลียดคุณแม้วจังครับ

เกลียดคุณแม้วจังครับ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,190 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 10:47

*
POPULAR

เมื่อเช้า ผมตื่นมาสวดมนต์ตั้งแต่ ตีห้าเลย

เพราะเป็นวัน จักรี นิเอง

ขอแสดงความจงรักภักดี ต่อ ราชวงศ์จักรี จนกว่าชีวิต จะหาไม่



#7 ctpk05

ctpk05

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 967 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 14:02

TTT_gallery_2012-10-05_13-40_50_number2_.jpg

 

กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร" เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325

 

ทั้งนี้ ได้พระราชทานนามของพระนครว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์"แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานครที่ไม่มีใครรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่ง พระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานของเทพผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ เรียกสั้นๆ ว่า "กรุงเทพฯ" "กรุงเทพมหานคร" หรือ "กรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งคำว่ากรุงเทพในตอนต้นชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามากจากชื่อหน้าของ อยุธยา ว่า กรุงเทพ ทราราวดีศรีอยุธยา (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")

                สภาพภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น กรุงตั้งอยู่บริเวณแหลมยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลงมาจากทางเหนือ ผ่านทางตะวันตกและใต้ก่อนที่จะมุ่งลงใต้สู่อ่าวไทย ทำให้กรุงดูคล้ายกับกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ขุดคูพระนครตั้งแต่บางลำภูไปถึงวัดเลียบ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพเป็นเกาะสองชั้น คือส่วนที่เป็นพระบรมมหาราชวังกับส่วนระหว่างคูเมืองธนบุรี(คลองคูเมืองเดิม)กับคูพระนครใหม่ ในขณะเดียวกันได้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแบบง่ายๆเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พอประกอบพิธีแล้วจึงรื้อของเก่าออกและก่ออิฐถือปูน ส่วนกำแพงพระนครนั้น นำอิฐจากกรุงศรีอยุธยามาใช้สร้าง

                กรุงรัตนโกสินทร์ถือว่ามีชัยภูมิชั้นเยี่ยมในการป้องกันศึกในสมัยนั้น คือพม่า ด้วยเนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางทางตะวันตก นอกจากนี้กรุงธนบุรีเดิมก็สามารถดัดแปลงเป็นค่ายรับศึกได้ แต่เหตุการณ์ที่พม่าเข้าเหยียบชานพระนครก็ไม่เคยเกิดขึ้นสักครั้ง เป็นที่สังเกตว่า การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นการลงหลักปักฐานของคนไทยอย่างเป็นทางการหลังกรุงแตก เพราะมีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรอย่างงดงามต่างจากสมัยธนบุรี ทั้งๆที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับพม่าครั้งใหญ่

                กรุงรัตนโกสินทร์แล้วเสร็จจริงๆในปี พ.ศ. 2327 มีการสมโภชพระนครครั้งใหญ่ มีการลอกองค์ประกอบของกรุงศรีอยุธยามามากมาย เช่นวัดสุทัศน์แทนวัดพนัญเชิญ มีพระบรมมหาราชวังอยู่ริมน้ำ เป็นต้น แต่กรุงรัตนโกสินทร์ถูกสร้างต่อมาจนสมบูรณ์หมดจริงๆ ในช่วงรัชกาลที่ 3 และรัชกาลต่อมาจึงขยายพระนคร

                การขยายพระนครนั้นเริ่มในสมัยรัชกาลที่4 เมื่อมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น พร้อมสร้างป้อมแต่ไม่มีกำแพง นอกจากนี้ยังมีการตัดถนนเจริญกรุงและพระรามสี่หรือสมัยนั้นเรียกถนนตรง ทำให้ความเจริญออกไปพร้อมกับถนน สรุปได้ว่าในรัชกาลที่ 4 เมืองได้ขยายออกไปทางตะวันออก ในรัชกาลที่ 5 ความเจริญได้ตามถนนราชดำเนินไปทางเหนือพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น กำแพงเมืองต่างๆเริ่มถูกรื้อเนื่องจากความเจริญและศึกต่างๆเริ่มไม่มีแล้ว

 

                หลังจาก ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสยกเรือรบมาถึงบางรัก ก็เป็นแค่ไม่กี่ครั้งที่ข้าศึกต่างชาติเข้าถึงชานพระนครได้ ความเจริญได้ตามไปพร้อมกับวังเจ้านายต่างๆนอกพระนคร ทุ่งต่างๆกลายเป็นเมือง และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เกิดสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก เป็นสะพานข้ามทางรถไฟชื่อสะพานพระรามหก จนถึงรัชกาลที่ 7 ฝั่งกรุงธนบุรีกับพระนครได้ถูกเชื่อมโดยสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ)ทำให้ประชาชนเกิดความสะดวกขึ้นมามาก หลังจากนั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในรัชกาลที่ 8 พระนครถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตรบ่อยครั้ง แต่พระบรมมหาราชวังปลอดภัยเนื่องจากทางเสรีไทยได้ระบุพิกัดพระบรมมหาราชวังมิให้มีการยิงระเบิด เมื่อสิ้นสงครามแล้วพระนครเริ่มพัฒนาแบบไม่หยุด เกิดการรวมจังหวัดต่างๆเข้าเป็นกรุงเทพมหานคร และได้เป็นเขตปกครองพิเศษหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร" เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325

 

ทั้งนี้ ได้พระราชทานนามของพระนครว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์"แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานครที่ไม่มีใครรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่ง พระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานของเทพผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ เรียกสั้นๆ ว่า "กรุงเทพฯ" "กรุงเทพมหานคร" หรือ "กรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งคำว่ากรุงเทพในตอนต้นชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามากจากชื่อหน้าของ อยุธยา ว่า กรุงเทพ ทราราวดีศรีอยุธยา (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")

                สภาพภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น กรุงตั้งอยู่บริเวณแหลมยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลงมาจากทางเหนือ ผ่านทางตะวันตกและใต้ก่อนที่จะมุ่งลงใต้สู่อ่าวไทย ทำให้กรุงดูคล้ายกับกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ขุดคูพระนครตั้งแต่บางลำภูไปถึงวัดเลียบ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพเป็นเกาะสองชั้น คือส่วนที่เป็นพระบรมมหาราชวังกับส่วนระหว่างคูเมืองธนบุรี(คลองคูเมืองเดิม)กับคูพระนครใหม่ ในขณะเดียวกันได้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแบบง่ายๆเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พอประกอบพิธีแล้วจึงรื้อของเก่าออกและก่ออิฐถือปูน ส่วนกำแพงพระนครนั้น นำอิฐจากกรุงศรีอยุธยามาใช้สร้าง

                กรุงรัตนโกสินทร์ถือว่ามีชัยภูมิชั้นเยี่ยมในการป้องกันศึกในสมัยนั้น คือพม่า ด้วยเนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางทางตะวันตก นอกจากนี้กรุงธนบุรีเดิมก็สามารถดัดแปลงเป็นค่ายรับศึกได้ แต่เหตุการณ์ที่พม่าเข้าเหยียบชานพระนครก็ไม่เคยเกิดขึ้นสักครั้ง เป็นที่สังเกตว่า การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นการลงหลักปักฐานของคนไทยอย่างเป็นทางการหลังกรุงแตก เพราะมีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรอย่างงดงามต่างจากสมัยธนบุรี ทั้งๆที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับพม่าครั้งใหญ่

                กรุงรัตนโกสินทร์แล้วเสร็จจริงๆในปี พ.ศ. 2327 มีการสมโภชพระนครครั้งใหญ่ มีการลอกองค์ประกอบของกรุงศรีอยุธยามามากมาย เช่นวัดสุทัศน์แทนวัดพนัญเชิญ มีพระบรมมหาราชวังอยู่ริมน้ำ เป็นต้น แต่กรุงรัตนโกสินทร์ถูกสร้างต่อมาจนสมบูรณ์หมดจริงๆ ในช่วงรัชกาลที่ 3 และรัชกาลต่อมาจึงขยายพระนคร

                การขยายพระนครนั้นเริ่มในสมัยรัชกาลที่4 เมื่อมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น พร้อมสร้างป้อมแต่ไม่มีกำแพง นอกจากนี้ยังมีการตัดถนนเจริญกรุงและพระรามสี่หรือสมัยนั้นเรียกถนนตรง ทำให้ความเจริญออกไปพร้อมกับถนน สรุปได้ว่าในรัชกาลที่ 4 เมืองได้ขยายออกไปทางตะวันออก ในรัชกาลที่ 5 ความเจริญได้ตามถนนราชดำเนินไปทางเหนือพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น กำแพงเมืองต่างๆเริ่มถูกรื้อเนื่องจากความเจริญและศึกต่างๆเริ่มไม่มีแล้ว

 

                หลังจาก ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสยกเรือรบมาถึงบางรัก ก็เป็นแค่ไม่กี่ครั้งที่ข้าศึกต่างชาติเข้าถึงชานพระนครได้ ความเจริญได้ตามไปพร้อมกับวังเจ้านายต่างๆนอกพระนคร ทุ่งต่างๆกลายเป็นเมือง และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เกิดสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก เป็นสะพานข้ามทางรถไฟชื่อสะพานพระรามหก จนถึงรัชกาลที่ 7 ฝั่งกรุงธนบุรีกับพระนครได้ถูกเชื่อมโดยสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ)ทำให้ประชาชนเกิดความสะดวกขึ้นมามาก หลังจากนั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในรัชกาลที่ 8 พระนครถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตรบ่อยครั้ง แต่พระบรมมหาราชวังปลอดภัยเนื่องจากทางเสรีไทยได้ระบุพิกัดพระบรมมหาราชวังมิให้มีการยิงระเบิด เมื่อสิ้นสงครามแล้วพระนครเริ่มพัฒนาแบบไม่หยุด เกิดการรวมจังหวัดต่างๆเข้าเป็นกรุงเทพมหานคร และได้เป็นเขตปกครองพิเศษหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย


"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"


#8 Familie

Familie

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,202 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 14:25

ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง
ที่เกิดมาบนผืนแผ่นดินนี้
เลือดเนื้อ ร่างกายและจิตใจ
หล่อหลอมรวมกัน ด้วยสามสถาบันฯที่ยิ่งใหญ่
จักขอเทอดทูนทุกสถาบันฯ ด้วยชีวิต
จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

#9 Kaizer

Kaizer

    Warlord

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,317 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 14:45

พรรคนึงเอาฤกษ์วันจักรีเป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อมุ่งหมายจะเป็นพรรคการเมืองคู่ราชบัลลังก์

พรรคนึงเอาวันโค่นล้มกษัตริย์ฝรั่งเศส สถาปนาสาธารณรัฐเป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อมุ่งหมาย.....

ก็ไม่รู้สินะ...


สละชีพเพื่อหลักธรรมคือคำขวัญ

 

ฆ่าคนเพื่อชิงอำนาจคือวิธีการ

 

ส่วนลิ่วล้อที่ส่งไปตายก็คือตัวหมากแห่งคุณธรรม


#10 ชาวสวน

ชาวสวน

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,095 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 16:24

 

ปฐมเศวตฉัตรรัตนโกสินทร์.....!!
( สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ 19 )

๏ ทรงเป็นองค์พระปฐมบรมวรธิราช
ปราดเปรื่องระเรืองมาศ................มโน

๏ ทรงสร้างชาติและสถาปนารตนะโก-
สินทร์ศกมหาโพธิ์.....................ไผท

๏ อ่าองค์เบื้องบุษบกสว่างสิริไสว
ปกบ้านและคุ้มภัย.....................ประชา

๏ ดุจเพชรเอกพระเศวตฉัตรสถิตะหล้า
นักรบกษัตรา............................วิถี

๏ วางรากบูรณะศาสนาศิลปศรี
จารีตประเพณี........................บุราณ

๏ แผ่ร่มขัตติยะเจ้าดิเรกกิรติฉาน
ท่ามศึกระทึกกาล.....................สมัย

๏ แผ่นดินพ้นอริราชเพราะเพียรพระหฤทัย
ต่อสู้ฤดูไฟ..............................นคร

๏ สํานึกในพระมหากรุณพระมหิธร
หมายว่าทิวากร..........................ปฐม

๏ ปวงราษฏร์น้อมสดุดีถวาย ณพระบรม
ราชานุสรณ์สม..........................บดินทร์

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า เพลงผ้า ปรพากย์
๖ เมษายน ๒๕๕๗

10169191_485346134924566_2124944083_n.jp


#11 phoebus

phoebus

    คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,636 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 16:44

ขอตอบด้วยเนื้อหาเพลงนี้

 

^_^  ^_^

 

 


ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย 


#12 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 16:59

ปราสาทพระเทพบิดร ที่ประดิษฐานพระบรมรูปกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทั้ง 8 รัชกาล ผมเคยไปกราบสักการะในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาในหลวง 84 พรรษา เมื่อไม่นานมานี้ 

 

-------------------------------------------------------------------------

 

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณกษัตริย์ทุกรัชกาล ที่สร้างชาติสร้างแผ่นดินให้มั่นคงยืนยงจนถึงวันนี้


Edited by อู๋ ฮานามิ ประธาน กปปส., 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 16:59.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#13 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 20:35

cr. เพจ Royal Archives of OHM

 

การถวายบังคมพระบรมรูป ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธศักราช 2462 ซึ่งถือเป็นวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์คราวแรก

ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 สมัยนั้นเรียกปีเป็น พ.ศ. แล้ว และเรียกเวลาเป็นช่วงก่อนเที่ยงและหลังเที่ยง 

 

1794608_634781939931621_643151167_n.jpg

 

 

 

1604693_634781969931618_1213922595_n.jpg

 

14570_634782013264947_1108407404_n.jpg


Edited by อู๋ ฮานามิ ประธาน กปปส., 6 เมษายน พ.ศ. 2557 - 20:39.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน