เอาเป็นนายควง อภัยวงศ์ หรือ พันตรีควง อภัยวงศ์ แระกัน
นายควงบรรพชนผู้บุกเบิกก่อตั้งพรรค ปชป. นี่แระ
แม้นายควงจะเป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ก่อการ พ.ศ. 2475 และเป็นถึงเพื่อนสนิทเพื่อนซี้กินอยู่หลับนอนร่วมกับ ป.ปรีดี และ ป.พิบูล สมัยนเรียนอยู่ฝรั่งเศสด้วยกันก็ตาม
แต่นายควงมิได้เป็นคณะราษฎรแบบถึงเส้นแต่อย่างใด เชื่อว่านายควงดีไม่ดีเผลอ ๆ มาร่วมด้วยเอาก็ตอนกลับมาเมืองไทยแร้วด้วยซ้ำ
นายควงไม่เคยเข้าประชุมการก่อการเรย นายควงมารู้ตัวเอาว่าจะต้องไปตัดสายโทรศัพท์ที่วัดเลียบเอาก็เย็นย่ำวันที่ 23 มิ.ย.แร้ว จากนาย ป.ประยูร ที่เข้าร่วมประชุมบ่อย ๆ
หลังฝุ่นตลบแร้วอะไรต่อมิอะไรจนแน่ชัดแร้ว นายควงขณะนั้นได้มีโอกาสเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๗ ซึ่งขณะนั้นท่านสละราชสมบัติแร้วที่บัวโนสไอเรส เข้าใจว่าเป็นงานประชุมสแตมป์โลก นายควงก็ได้คิดอะไรใหม่และมักเปรยกับคนใกล้ชิดเสมอ ๆ ว่า "เรามันผิดไปแร้ว สมควรถวายคืนพระราชอำนาจ"
หลังจากนั้นมา นายควงจึงก่อตั้งพรรค ปชป.ขึ้นมา เพื่อชนกับเผด็จการ ป.ปรีดี กับ ป.พิบูล อดีตเพื่อนซี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ
นายควง เป็นนักการเมืองที่ฝีปากคมกริบเป็นตะไกร ซ้ำมีมุขตลกชอบหยอดให้ฮาเสมอ ๆ เป็นผู้ที่ทำการสื่อสารกับชาวบ้านแบบง่าย ๆ เป็นคนเป็นกันเอง ติดดิน ไม่ถือยศถืออย่าง จึงเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป หากไม่มีงานอะไรที่เป็นพิธีรีตรองมากนัก ก็จะใส่เสื้อเชิร์ตแขนสั้นเท่านั้นไปทำงาน และคราวเมื่อครั้งที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชจะลงพื้นที่หาเสียงครั้งแรก นายควงก็ยังให้ ดร.โชติ คุ้มพันธุ์ เจ้าของฉา่ยา "ผู้แทนคนยาก" คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ ด้วยเกรงว่าท่านเป็นถึงเชื้อพระวงศ์ จะลงมาหาเสียงข้างถนนไม่เป็น แต่ก็ปรากฏว่า ดร.โชติรายงานต่อนายควงว่า สอบผ่านสบายแฮ
เคยอ่านบันทึกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ของคนระดับชาวบ้าน ๆ ธรรมดา ๆ ที่ไม่ได้รู้จักกับนักการเมืองหรือรู้เบื่้องหน้าเบื่้องหลังอะไรนักหนานักหรอก เขายังพูดถึงนายควงเรยว่า เป็นนักประชาธิปไตยโดยแท้ ทหารให้เป็นก็เป็น ทหารไม่ให้เป็นก็ออก เป็นคนไม่ยึดติดอำนาจ ก็ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาต่อสู้กันตามวิถีประชาธิปไตย
ซึงบุคคลิกแบบนี้ของนายควง ฝ่ายล้มเจ้าก็เอาไปโจมตีหาว่าแกเป็นคนตลกบ้าบอ ๆ ไปวัน ๆ ไร้สาระ จนได้รับฉายาว่า "ตลกหลวง" แต่ครั้งหนึ่งเคยมี นสพ.ฉบับนึงโจมตีนายควง หาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นฝ่ายซ้ายอะไรทำนองนั้น นายควงตั้งจิตอธิษฐานว่าถ้าตนไม่ได้มีพฤติกรรมเช่นนั้นจริง ขอให้ผู้ที่กล่าวหาตนมีอันเป็นไป แระก็อย่างไรไม่ทราบ แต่หลังจากนั้นไม่นาน นสพ.ฉบับนั้นก็ต้องเลิกกิจการไปอย่างถาวร
นายควงเคยพูดถึงอดีตเพื่อนซี้อย่าง ป.พิบูลว่า "ผมกับเขาไม่มีอะไรกัน (หมายถึงไม่มีอะไรติดใจกันเป็นการส่วนตัว) เขาอายุมากกว่า่ผม 5 ปี" เนื่องจากเป็นคู่รักคู่แค้นกันมาโดยตลอดทางการเมือง
ครั้งเมื่อ ป.พิบูลทำรัฐประหาร 2490 โค่นอำนาจเดิมของ ป.ปรีดี แร้วให้นายควงเป็นนายกฯ นายควงก็รู้ตัวดีว่างานนี้ตนเป็นเพียงแค่ "นั่งร้าน" ให้เขาเท่านั้น แต่ก็ต้องยอมรับเพราะเป็นการทำเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อใคร นายควงจึงพยายามตั้ง ครม.ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ซึ่งตรงนี้ก็ชมทางฝ่ายทหารด้วยว่าให้อิสระนายควงเต็มที่ ไม่เข้ามาแทรก) พอมีการประกาศชื่อ ครม.ชุดนายควงออกมา ผู้ที่สนับสนุนฝ่าย ป.ปรีดีตั้งป้อมว่าจะก่อการกบฏต่อต้าน ดูเหมือนว่าจะเป็น นายทองเปลว ชลภูมิ ถ้าจำไม่ผิด ยอมรับเองเรยว่า "นสพ.ในมือข้าพเจ้าหล่นพื้นทันที เมื่อได้เห็นคนของเขา ของเขาดีกว่าของเราทุกคนจริง ๆ เป็นคนชนิดที่ชาวบ้านให้การยอมรับ ความคิดที่จะต่อต้านจึงล้มเลิกไปทันที"
แร้วนั่งร้านของนายควงก็สิ้นสุดลงหลังจากนั้นเพียง 4 เดือน เมื่อต้อนรับคณะนายทหารผู้ที่มาทำการจี้ครั้งนั้น นายควงก็เปิดฉากบทสนทนาด้วยสไตล์ตัวเองว่า "เอ้า อะไรกัน มีปฏิวัติอีกแล้วหรือ ผมไม่เกี่ยวนะ"
พอลงจากตำแหน่งแร้ว นายควงก็พูดถึงเหตุการณ์ครั้่งนี้ว่า "บ้านเมืองไม่ใช่ของผมคนเดียว เมื่อมีคนดีกว่า ก็ขอเชิญ ผมก็ขอลา"
หลังจากนั้นชีวิตของนายควง ก็ดำรงตนเป็นฝ่ายค้านมาตลอด จนกระทั่งจอมพล ส.ปฏิวัติล้างอำนาจ ป.พิบูล มั่ง มีการฉีก รธน. นายควงก็หวัง ก็รอ รอว่าสักวันจะมีการร่าง รธน.อีกครั้ง และก็จะได้ลงเลือกตั้งอีกสักครั้ง แต่ก็ไม่สม เพราะเสียชีวิตไปซะก่อนในปี 2511 ด้วยวัยเพียง 60 กว่า ๆ เท่านั้น
ขณะที่นอนป่วยอยู่ ร.พ. นายควงรู้ตัวว่าไม่รอดแร้วแน่แร้ว ฝากไปให้เมียตัวเอง คือ คุณหญิงเลขา กราบถวายบังโคมลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้า ด้วย และเมื่อเสียไปแร้ว สมเด็จพระนางเจ้าก็ได้มีพระราชสาสน์ส่วนพระองค์ส่งมาถึงยังคุณหญิงเลขา ใจความว่า รู้สึกตกพระทัย แม้จะทำใจมาก่อนแล้วตาม เพราะนายควงเป็นนักการเมืองที่ดีมาก