Jump to content


Photo
- - - - -

ทางออกประเทศไทย ทำได้จริงไหม


  • Please log in to reply
50 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 arch_freeman

arch_freeman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,286 posts

ตอบ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:17

*
POPULAR

วันนี้ผมดูการอภิปรายของวุฒิสภา บอกตามตรงว่าชื่นใจครับ และหวังว่าท่านวุฒิสมาชิกทั้งหลายจะเป็นที่พึ่งของประชาชน ในการหาทางออกให้กับประเทศ

 

แน่นอน ระบอบทักษิณและ นปช. ยังคงขัดขวางการทำหน้าที่ของพวกท่านทุกวิถีทาง และ พยายามตีความว่าตัวเองยังคงมีอำนาจในการกำหนดทิศทางของประเทศอยู่

 

ผมคิดว่า ทางออกสำหรับประเทศไทย ถ้าไม่ปฏิวัติโดยทหารแล้วจะทำอย่างไร นั้น ผมคิดว่า วันนี้ที่ท่านอภิปรายกันก็เริ่มมาถูกทางแล้ว เพราะ

 

1) ท่านต้องยอมรับก่อนว่า ตอนนี้ประเทศไทยไม่มีนายกรัฐมนตรี และ ไม่สามารถสรรหานายกผ่านวิธีการปกติหรือวิธีการเลือกตั้งได้

 

2) ประเทศต้องการทางออก ในขณะที่ฝ่ายบริหารเกิดสูญญากาศ ตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ และ ตุลาการ จึงจำเป็นจะต้องเข้ามาช่วยในการหาทางออกให้กับประเทศไทย เป็นความชอบธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ ใครขัดขวางกระบวนการหาทางออกถือว่าเป็นพวกผิดปกติ

 

3) องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง กกต และ ปปช. รวมถึงฝ่ายความมั่นคง ก็จะต้องเข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวด้วย

 

4) ทางออกหากเป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่าย ยกเว้นพวก นปช. และ ฝ่ายระบอบทักษิณ ที่ไม่คิดจะยอมรับอะไร นอกจากจะรักษาอำนาจให้ตัวเอง ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องจัดการให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง

 

 

นปช. และ พวกเสื้อแดง เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เรายอมรับ แต่หลักการยอมรับแนวคิดของคนเหล่านี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักกฎหมายและความถูกต้องชอบธรรม พวกที่ก่อกวนใช้ความรุนแรงก็จะต้องถูกฝ่ายความมั่นคงจัดการเด็ดขาด

 

ด้วยเหตุนี้ในอนาคต หากตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ ฝายตุลาการ และ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบถึงทางออกร่วมกันแล้ว กองทัพก็จะต้องรับรองผลจากการหารือนั้น และ ควบคุมให้เกิดความเรียบร้อยในบ้านเมือง ถ้ามีพวกขยะตนใดก่อกวนใช้ความรุนแรง ก็จำเป็นจะต้องจัดการขั้นเด็ดขาด

 

หวังว่า ทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกันแล้ว ถึงแม้เสื้อแดงและฝ่ายทักษิณไม่ยอมรับ กองทัพจะเลือกข้างที่ถูกต้องเพื่อให้ประเทศไทยไปต่อ

 

ไม่งั้น คลิปถั่งเช่า ก็คือของจริง และ ประชาชนจะหมดศรัทธากับกองทัพ ประเทศไทยจะแตกเป็นเสี่ยงๆ

 

 

 

 

 

 

 


ประชาชนต้องใช้นักการเมืองเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

#2 idecon

idecon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,580 posts

ตอบ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:27

ทางออกมันยาก
แต่ทำได้
ถ้าช่วยกัน

#3 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:50

*
POPULAR

สำหรับส่วนตัวน่ะค่ะ..

 

ทางออกมีหรือไม่...มีค่ะ

ทางออกทำได้จริงไหม....ทำได้จริงค่ะ

 

แต่..สำหรับ นายกตาม ม.7  อาจจะยังไม่ถึงเวลาในขณะนี้

 

ม.7 ควรจะเป็นหนทางสุดท้าย เมื่อไม่มีหนทางจริง ๆ

เพราะปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นจากประชาชน..

ดังนั้น..

 

ประชาชนก็ควรจะหาหนทางด้วยตัวของประชาชน

อย่าผลักภาระให้กับท่านเลย...

 

ปฎิเสธไม่ได้ว่า..มีมวลชนบางกลุ่ม มีคนบางกลุ่ม

ที่จ้องจะดึงท่านลงมา...อยู่ทุกลมหายใจ

 

ณ เวลาสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่

เรียกว่า สูญญากาศ เพียงแต่หนทางให้เลือกแทบจะไม่มี

ในเมือ

 

ทักษิณ ปฏิเสธ กฎหมายทุกกรณี พท ปฏิเสธอำนาจศาล

ทุกเหตุ ทุกประเด็น เพราะต้องการให้มีการเลือกตั้ง

โดยปฏิเสธหนทางอื่นทุกทาง..

 

สิ่งที่พอจะเป็นไปได้...

 

ระบอบประชาธิปไตย มีอำนาจ 3 ฝ่ายเพื่อถ่วงดุลกัน

 

- ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ซึ่งตอนนี้ยังมีสถานภาพอยู่

หรือไม่..ทางกฎหมาย..เทียบจะไม่เหลือแล้ว เพราะ

ขาดนายก ที่มีคุณสมบัติตาม รธน คือ

 

ต้องเป็น สส ได้รับการโหวตด้วยเสียงข้างมากใน

การประชุม สส

 

แต่ในปัจจุบัน สส หมดสมาชิกภาพไปแล้วนับจากวันที่

ยุบสภา..รมต ที่รักษาการณ์อยู่ ก็ล้วนเป็น รมต คนนอก

ที่ไม่ใช่ สส การเลือกนายกใหม่ภายใต้ รธน ก็เป็นไป

ไม่ได้ รวมไปถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกฯ ที่อาจจะ

ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ เป็นรักษาการณ์โมฆะ

 

จึงไม่ต้องเอ่ยถึง เพราะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป

โดยที่ไม่มีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน ก็สุ่มเสี่ยงที่อาจจะ

ขัดกฎหมาย แค่ คุณสมบัติก็ไม่ผ่านแล้ว

 

- ฝ่ายนิติบัญญัติ  ที่เหลืออยู่ในขณะนี้และมีกฎหมาย

มี รธน รองรับอย่างถูกต้อง คือ สว

 

ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และสรรหาตามขั้นตอนของ รธน

ทุกประการ

 

ดั้งนั้น..ถ้ามอบหมายให้ ประธาน สว ที่ได้รับการโหวต

จากที่ประชุม สว ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกเป็นการชั่วคราว

น่าจะเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง และน่าจะเป็นที่ยอมรับ

ในนานาอารยะ..

 

ทั้งนี้ กรอบความรับผิดชอบ ก็ให้ สว ประชุมกำหนดไว้

ให้ชัดเจน หรือ อาจจะเชิญ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายทหาร และ

องค์กรอิสระ เช่น กกต ปปช สตง สตช เข้าร่วมกำหนด

กรอบการบริหารราชการแผ่นดิน ในช่วงปฏิรูป ก็น่าจะ

เป็นไปได้

 

สำหรับรักษาการณ์ ครม ชุดชั่วคราวก็มอบหมายให้กับ

ปลัดกระทรวงของแต่ละกระทรวง ปฏิบัติราชการแทน

เป็นการชั่วคราว

 

จนกว่า การปฏิรูปจะเสร็จสิ้น หรือ จนกว่า ประเทศจะเข้าสู่

ภาวะพร้อมจัดการเลือกตั้งอย่างโปร่งใส...

 

- ฝ่ายตุลาการ  โดยส่วนตัวแล้ว ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่า

จะให้ประธานศาล มาดำรงตำแหน่งนายกคนกลาง เชื่อว่า

มีบางฝ่ายจะกำลังจ้องดิสเครดิตฝ่ายตุลาการอยู่

 

ควรละท่านไว้ เพื่อป้องกันการดึงฝ่ายตุลาการลงมาเป็น

คู่กรณี ซึ่งหมายถึงว่า...สิ่งที่เค้ากล่าวอ้างมาจะเป็น

ความชอบธรรมทันที

 

ผิด ถูก อย่างไร...ขออภัยค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

 



#4 arch_freeman

arch_freeman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,286 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:05

ที่ผ่านมา

 

มวลชนสองฝ่าย ต้องการให้ ทหารเลือกข้าง แต่ทหารเคยคิดบ้างไหมว่า ถ้าจำเป็นต้องเลือก ทหารจะเลือกข้างไหน?

มวลชนสองฝ่าย ต้องการให้ ผู้สนับสนุนระบอบกษัตริย์เลือกข้าง แต่คนเหล่านั้นเคยคิดบ้างไหมว่า ถ้าจำเป็นต้องเลือก จะเลือกข้างไหน?

 

 

เวลาผ่านไป

 

พวกคุณอาจจะไม่ได้มีสิทธิเลือกข้างเหมือนช่วงแรก เพราะถึงจุดหนึ่งมวลขนเขาจะใช้สิทธิเลือกเอง

 

และ ถ้าเวลานั้นมาถึง คนตรงกลางที่ไม่ยอมแก้ปัญหาอะไร จะเป็นศัตรูกับผู้สนับสนุนตัวเอง  สุดท้ายบาดแผลบาดลึกยากเกินเยียวยา เรียกกลับมาไม่ได้ และ เลยจุดที่จะแก้ไขปัญหา และ อยู่ร่วมกันได้อีกต่อไป

 

ก็เป็นไปได้ ที่ประเทศไทย อาจกลายเป็น ยูเครน

 

เลิกพึ่งในหลวงที่ทรงพระชราภาพเกินกว่าจะตรากตรำกับปัญหาที่ัซับซ้อนแบบนี้ได้แล้ว หากองค์กรทั้งหลายที่เกี่ยวข้องไม่คิดจะแก้ไขปัญหา อยู่ในโลกส่วนตัวของตัวเอง ไม่ช่วยกันหาทางออก ทุกอย่างก็จบ ประเทศที่เคยเป็นประเทศมันก็จะไม่เป็นประเทศเหมือนเคย


Edited by arch_freeman, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:06.

ประชาชนต้องใช้นักการเมืองเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

#5 Kongkiet Rodpai

Kongkiet Rodpai

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 107 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:13

ทางออกคือ เลือกตั้งครับ เหตุผล เพราะคนไทยส่วนมากยังมีอคติต่อกันมากไป หุหุ

#6 wisary

wisary

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 998 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:19

*
POPULAR

ทางออกคือ เลือกตั้งครับ เหตุผล เพราะคนไทยส่วนมากยังมีอคติต่อกันมากไป หุหุ

ประชด หรือ พูดจริงๆ ครับ

 

เพราะสิ่งที่คุณโพสต์  มันตรงข้ามกับความคิดเห็นนี้ของคุณอย่างสิ้นเชิง

 

ขอแสดงความเห็นแบบโง่ๆนะครับ พรุ่งนี้มะรืนนี้ใครจะปฎิวัติ รึใครจะเป็นนายกพระราชทาน หรือจะมีเลือกตั้งแล้วใครจะแพ้ชนะ ผมไม่รู้จริงๆ แต่ผมรู้อย่างนึงครับ สมัยโน้นผมกาปชป สมัยที่แล้วกาอีปู, และจะขอพูดแบบเต็มๆคำว่าอีปูและพลพรรคเพื่อไทยเผาไทยครับ เมื่อวานวานซืนมึงชนะเลือกตั้งได้เข้าไปบริหารประเทศ ต่อมาพวกมึงใช้อำนาจดัวยความเหลิงจนศาล รธน ตัดสินแล้ว แถมพวกมึงยังบริหารประเทศแบบสบายพวกมึงแต่ฉิบหายปชชจน ปปชเขาก็ชี้มูลแล้ว. ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามา กูขอบอกจากใจด้วยสัตย์จริงว่า พวกมึงทั้งพรรคต้องรีบออกมาจากทุกตำแหน่งและไม่มีความชอบธรรมแม้เศษเสี้ยวที่จะเสร่อทำงานรึรักษาการใดๆทั้งสิ้น มี อย่างที่ไหนว่ะทำผิดสารพัดกฎยังจะให้ลูกน้องกอดตำแหน่งอีก. แม่งโคตรเพี้ยน. ปล.ส่วนไอท่านจขกท ประเทศและประชาธิปไตยในหัวมึง มีแต่เรื่องเลือกตั้งใช่ไหม โคตรห่าเหวมึงจะโกงอะไรยังไงแม่งไม่สน บ้าไหมมึง. ปล2.ขออภัยที่หลาบคาย พอดีไม่ค่อย ีการศึกษาว่ะครับ


Edited by wisary, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:21.


#7 เสือยิ้มยาก

เสือยิ้มยาก

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,695 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:52

ทางออกประเทศไทย มักจะเห็นดำเห็นแดงก็เดือนพฤษภาคมนี้แหละครับ ...รอสักครู่


        shotgun.gif       d444.gif        cheesy.gif

 


#8 kukkuk

kukkuk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 932 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:50

ทางออก แถวอีสานคับ

Attached Images

  • 1399885474745.jpg


#9 ไร้สีไร้กลิ่น

ไร้สีไร้กลิ่น

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,501 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:04

เห็นด้วยกับคุณ Bird แต่ทางออกคงไม่ได้มีแค่ประธานสว.เป็นนายกรักษาการณ์

 

ผมว่าประธานวุฒิมีอำนาจความชอบธรรมอย่างเต็มที่ในทางนิติบัญญัติ จะปฏิรูปเอง กำหนดเลือกตั้งเอง หรือจะสรรหาบุคคลขึ้นทูลเกล้าก็ถือเป็นความชอบธรรม แต่ไม่ควรจะโยนภาระดื้อๆไปให้สถาบันเป็นคนสรรหา (แม้จะทำได้แต่ผมว่าไม่เหมาะ) แต่นายกที่ได้มาจากวิธีการนี้ก็ควรจะรู้ว่าตนเป็นรัฐบาลชั่วคราว ขึ้่นมาแก้ปัญหาช่วงสั้นๆ  เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมให้ได้ จึงต้องรู้ว่าจะปฏิรูปที่จุดไหน ยังไง ที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุด 



#10 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:01

สำหรับส่วนตัวน่ะค่ะ..

 

ทางออกมีหรือไม่...มีค่ะ

ทางออกทำได้จริงไหม....ทำได้จริงค่ะ

 

แต่..สำหรับ นายกตาม ม.7  อาจจะยังไม่ถึงเวลาในขณะนี้

 

 

ดั้งนั้น..ถ้ามอบหมายให้ ประธาน สว ที่ได้รับการโหวต

จากที่ประชุม สว ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกเป็นการชั่วคราว

น่าจะเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง และน่าจะเป็นที่ยอมรับ

ในนานาอารยะ..

 

ทั้งนี้ กรอบความรับผิดชอบ ก็ให้ สว ประชุมกำหนดไว้

ให้ชัดเจน หรือ อาจจะเชิญ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายทหาร และ

องค์กรอิสระ เช่น กกต ปปช สตง สตช เข้าร่วมกำหนด

กรอบการบริหารราชการแผ่นดิน ในช่วงปฏิรูป ก็น่าจะ

เป็นไปได้

 

สำหรับรักษาการณ์ ครม ชุดชั่วคราวก็มอบหมายให้กับ

ปลัดกระทรวงของแต่ละกระทรวง ปฏิบัติราชการแทน

เป็นการชั่วคราว

 

จนกว่า การปฏิรูปจะเสร็จสิ้น หรือ จนกว่า ประเทศจะเข้าสู่

ภาวะพร้อมจัดการเลือกตั้งอย่างโปร่งใส...

 

 

ผิด ถูก อย่างไร...ขออภัยค่ะ

 

เห็นด้วยกับคุณbird ทั้งหมดครับ แต่..ประเด็นประธานวุฒิฯ น่าจะเป็นทางเลือกรองสุดท้ายนะครับ ก่อนถึงนายกฯตามมาตรา 7 

 

แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ ทำอย่างไรให้ ครม.ที่ยังรักษาการอยู่พ้นจากตำแหน่งหรือลาออกไป ซึ่งเรื่องนี้ผมคิดว่า เป็นปัญหาใหญ่สุด  :)


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#11 Bayonet

Bayonet

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,235 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:58


แต่..สำหรับ นายกตาม ม.7  อาจจะยังไม่ถึงเวลาในขณะนี้

 

ม.7 ควรจะเป็นหนทางสุดท้าย เมื่อไม่มีหนทางจริง ๆ

เพราะปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นจากประชาชน..

 

ผมว่าคุณ bird น่าจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ  ม.7  นะครับ

 

ม.7 ไม่ใช่นายกที่ได้มาจากการไปกดดัน หรือให้ในหลวง "หาคนให้"  ตามที่พวกเสื้อแดงหรือนักวิชาเกินแดง .......ใส่ร้ายโจมตีนะครับ

 

 

ตอนนี้ที่ สว. กำลังทำอยู่ นั่นคือกระบวนสรรหา นายกฯ หรือผู้บริหารประเทศ  ตามระบอบประชาธิปไตย ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550

 

 

การที่ สว. เชิญฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ และฝ่ายความมั่นคง .....เข้าปรึกษาหารือ   (ซึ่งประกอบด้วย 2 (จาก 3) อำนาจอธิปไตยของระบอบประชาธิปไตย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ ขาดเพียงฝ่ายบริหาร ที่ตอนนี้ไม่มี)

 

เพื่อสรรหาบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายบริหาร   ตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้

 

หลังจากได้ชื่อผู้ที่เหมาะสมแล้ว ในส่วนขั้นตอนนำรายชื่อเสนอขึ้นทูลเกล้าพระโปรดเกล้าแต่งตั้ง  ก็เป็นไปตามขั้นตอนปกติไม่ได้มีอะไรพิเศษและไม่ได้เป็นการผลักภาระไปให้ในหลวงแต่อย่างใดทั้งสิ้นเลย

 

และขอให้ คุณ bird มั่นใจว่า การกระทำใด ๆ ที่จะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ หรือระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท .....มวลมหาประชาชนที่ประกอบด้วย ประชาชน ข้าราชการ(ที่ดี) นักวิชาการ แพทย์ พยาบาล และอีกหลายสาขาอาชีพ.......จะไม่ยอมให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นแน่นอน



#12 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:06

 

ทางออกคือ เลือกตั้งครับ เหตุผล เพราะคนไทยส่วนมากยังมีอคติต่อกันมากไป หุหุ

ประชด หรือ พูดจริงๆ ครับ

 

เพราะสิ่งที่คุณโพสต์  มันตรงข้ามกับความคิดเห็นนี้ของคุณอย่างสิ้นเชิง

 

ขอแสดงความเห็นแบบโง่ๆนะครับ พรุ่งนี้มะรืนนี้ใครจะปฎิวัติ รึใครจะเป็นนายกพระราชทาน หรือจะมีเลือกตั้งแล้วใครจะแพ้ชนะ ผมไม่รู้จริงๆ แต่ผมรู้อย่างนึงครับ สมัยโน้นผมกาปชป สมัยที่แล้วกาอีปู, และจะขอพูดแบบเต็มๆคำว่าอีปูและพลพรรคเพื่อไทยเผาไทยครับ เมื่อวานวานซืนมึงชนะเลือกตั้งได้เข้าไปบริหารประเทศ ต่อมาพวกมึงใช้อำนาจดัวยความเหลิงจนศาล รธน ตัดสินแล้ว แถมพวกมึงยังบริหารประเทศแบบสบายพวกมึงแต่ฉิบหายปชชจน ปปชเขาก็ชี้มูลแล้ว. ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามา กูขอบอกจากใจด้วยสัตย์จริงว่า พวกมึงทั้งพรรคต้องรีบออกมาจากทุกตำแหน่งและไม่มีความชอบธรรมแม้เศษเสี้ยวที่จะเสร่อทำงานรึรักษาการใดๆทั้งสิ้น มี อย่างที่ไหนว่ะทำผิดสารพัดกฎยังจะให้ลูกน้องกอดตำแหน่งอีก. แม่งโคตรเพี้ยน. ปล.ส่วนไอท่านจขกท ประเทศและประชาธิปไตยในหัวมึง มีแต่เรื่องเลือกตั้งใช่ไหม โคตรห่าเหวมึงจะโกงอะไรยังไงแม่งไม่สน บ้าไหมมึง. ปล2.ขออภัยที่หลาบคาย พอดีไม่ค่อย ีการศึกษาว่ะครับ

 

 

:lol: :lol:


ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 


#13 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:12

 


แต่..สำหรับ นายกตาม ม.7  อาจจะยังไม่ถึงเวลาในขณะนี้

 

ม.7 ควรจะเป็นหนทางสุดท้าย เมื่อไม่มีหนทางจริง ๆ

เพราะปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นจากประชาชน..

 

ผมว่าคุณ bird น่าจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ  ม.7  นะครับ

 

ม.7 ไม่ใช่นายกที่ได้มาจากการไปกดดัน หรือให้ในหลวง "หาคนให้"  ตามที่พวกเสื้อแดงหรือนักวิชาเกินแดง .......ใส่ร้ายโจมตีนะครับ

 

 

ตอนนี้ที่ สว. กำลังทำอยู่ นั่นคือกระบวนสรรหา นายกฯ หรือผู้บริหารประเทศ  ตามระบอบประชาธิปไตย ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550

 

 

การที่ สว. เชิญฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ และฝ่ายความมั่นคง .....เข้าปรึกษาหารือ   (ซึ่งประกอบด้วย 2 (จาก 3) อำนาจอธิปไตยของระบอบประชาธิปไตย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ ขาดเพียงฝ่ายบริหาร ที่ตอนนี้ไม่มี)

 

เพื่อสรรหาบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายบริหาร   ตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้

 

หลังจากได้ชื่อผู้ที่เหมาะสมแล้ว ในส่วนขั้นตอนนำรายชื่อเสนอขึ้นทูลเกล้าพระโปรดเกล้าแต่งตั้ง  ก็เป็นไปตามขั้นตอนปกติไม่ได้มีอะไรพิเศษและไม่ได้เป็นการผลักภาระไปให้ในหลวงแต่อย่างใดทั้งสิ้นเลย

 

และขอให้ คุณ bird มั่นใจว่า การกระทำใด ๆ ที่จะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ หรือระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท .....มวลมหาประชาชนที่ประกอบด้วย ประชาชน ข้าราชการ(ที่ดี) นักวิชาการ แพทย์ พยาบาล และอีกหลายสาขาอาชีพ.......จะไม่ยอมให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นแน่นอน

 

 

เข้าใจดีค่ะ..เรื่อง นายก ม.7 แต่คิดว่ายังไม่ใช่ช่วงเวลานี้เท่านั้นค่ะ

 

ที่ต้องการสื่อ คือ...ยังมีหนทางอื่นที่ควรจะพิจารณาก่อน

ถึงแม้ว่า การคัดสรร นายก ม.7 จะเป็นการคัดสรรของประชาชน ขององค์กรอิสระ

หรือ จากสภา จากสถาบันศาล

 

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า..คุณไม่สามารถปิดปาก หรือป้องกันให้กลุ่มที่

ต้องการดึงท่านลงมา ที่เห็น ๆ กันอยู่ว่า มีความพยายามอยู่ทุก

ลมหายใจ ก้าวล่วงท่านได้

 

ที่ต้องการสื่อ คือ.. อย่าให้กลุ่มใด นำผลของการกระทำไป

กล่าวร้ายท่านได้ แม้เพียงความคิด...

 

ทุกวันนี้ การกล่าวร้ายโดยอาศัยวาทกรรม การบิดเบือนก็มากพอแล้ว

อะไรที่เลี่ยงได้ ป้องกันได้ ก็ควรจะละไว้ก่อน มิใช่หรือค่ะ

 

เพิมเติม..

 

ไม่อยากเปิดช่อง ให้ทักษิณและเหล่าสาวก นำไปบิดเบือน เพราะ เค้ารอจังหวะอยู่


Edited by bird, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:16.


#14 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:26

ตอนนี้คือ ทุกคนคาดหวัง ทางออกที่ดี ที่สุด

 

ตกกะกอนกันไวไว



#15 อย่าหลอกตัวเอง

อย่าหลอกตัวเอง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,850 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:42

ทางออกคือ เลือกตั้งครับ เหตุผล เพราะคนไทยส่วนมากยังมีอคติต่อกันมากไป หุหุ

 

 

ถ้าคนคิดดีมีอคติต่อคนคิดเลว  คุณว่าผิดไหมครับ

 

ส่วนคนคิดเลวมีอคติต่อคนคิดดี  นั่นมันเป็นเรื่องที่แสนจะธรรมดา

 

 

สรุป  ประเทศเราตอนนี้มีคนอยู่ 3 ฝ่าย หลักๆ  

 

1. คนกลาง  (ขอไม่กล่าวถึง)

 

2. คนเสื้อแดง  (พวกที่เอาแต่สร้างปัญหาและทำร้ายบ้านเมืองไปวันๆ)

 

3. ก.ป.ป.ส. (คนที่มีสติปกติและหวังดีต่อชาติบ้านเมือง)

 

 

คุณคิดว่า ก.ป.ป.ส. จะต้องยอมไม่อคติกับพวกเสื้อแดงใช่หรือไม่ครับ 

 

ต้องอ้าแขนรับโอบกอดเอาไว้และเดินไปทิศทางเดียวกับเสื้อแดงไหมครับ

 

ถ้าคนดีท้อแท้สักวันคุณจะรู้สึก  จินตนาการออกน่ะครับ  ว่าถ้าคนทั้งประเทศกลายเป็นเสื้อแดงกันหมดแล้วชีวิตคุณจะเป็นยังไง

 

 

ที่อธิบายมานี่ไม่ใช่จะตำหนิอะไรคุณหรอกนะครับ

 

แค่จะบอกคุณว่าคุณห้ามให้คนหยุดอคติต่อกันไม่ได้หรอกครับ  ในเมื่อคนมันทีทั้งดีและเลวอยู่ในสังคมเดียวกัน

 

มันขึ้นอยู่ที่ตัวคุณแล้วว่าคุณจะเลือกที่จะเป็นฝ่ายไหน

 

ฝ่ายดีแล้วควบคุมคนเลว  หรือฝ่ายเลวแล้วสร้างปัญหาให้คนดีเค้าต้องมาแก้ปัญหากันไปวันๆ 

 

คุณเลือกเองได้ครับ  มองกว้างๆ มองที่ภาพใหญ่แล้วจะเข้าใจปัญหาที่ต้นตอครับ 

 

ไอ้เรื่องอคติลืมๆมันไปเสียเถอะครับ มันไม่ใช่ต้นตอของปัญหาหรอกครับ 


แดงกลายพันธุ์  แดงลอยคอกลางทะเล  กำลังดิ้นเฮือกสุดท้าย  อาการจะเป็นอย่างไร  รอดูกันไปครับ


#16 Kongkiet Rodpai

Kongkiet Rodpai

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 107 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:45

ยางเลย. ผมประชดนะท่าน

#17 Bayonet

Bayonet

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,235 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:46


แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า..คุณไม่สามารถปิดปาก หรือป้องกันให้กลุ่มที่

ต้องการดึงท่านลงมา ที่เห็น ๆ กันอยู่ว่า มีความพยายามอยู่ทุก

ลมหายใจ ก้าวล่วงท่านได้

 

ที่ต้องการสื่อ คือ.. อย่าให้กลุ่มใด นำผลของการกระทำไป

กล่าวร้ายท่านได้ แม้เพียงความคิด...

 

ทุกวันนี้ การกล่าวร้ายโดยอาศัยวาทกรรม การบิดเบือนก็มากพอแล้ว

อะไรที่เลี่ยงได้ ป้องกันได้ ก็ควรจะละไว้ก่อน มิใช่หรือค่ะ

 

เพิมเติม..

 

ไม่อยากเปิดช่อง ให้ทักษิณและเหล่าสาวก นำไปบิดเบือน เพราะ เค้ารอจังหวะอยู่

 

 

ต่อให้มีการสรรหาคนที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด มีความสามารถมากที่สุด  ........ ก็ไม่มีทางที่จะให้  กลุ่มคนบางจำพวกพึงพอใจได้หรอกครับ

 

เพราะพวกนั้นประกาศแล้วว่า ......... ต้องเป็นคนที่มาจาก....ตระกูลชิน.....เท่านั้น !!!!

 

แล้วเรื่องไม่ให้พวกนั้น ........ก้าวล่วง ........ ก็เป็นไปไม่ได้อีกนั่นแหละ  ขนาดองค์กรอิสระอย่าง ปปช. หรือองค์กรตุลาการ อย่างศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ 

 

ที่ตัดสินทุกอย่างตามข้อกฏหมาย ตามหลักฐานข้อเท็จจริง ....... พวกนั้นยังเอามาบิดเบือนโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ........ ได้เลย

 

ทั้ง ๆ ทีสถาบันท่านก็อยู่ของท่านเฉย ๆ

 

 

ยกเว้น  "การเลี่ยง"  ของคุณ bird  คือ  เมื่อสรรหาใครได้แล้ว  ไม่ต้องนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ........ พวกนั้นจะได้ไม่หยิบมาโจมตีหรือ ?????

 

อย่าหวังอะไรกับพวก .....โจรใจทราม  มากเกินไปครับ ........โจรกลับใจอย่าง  องคุลีมาร ......ในโลกนี้มีไม่มากนักหรอก

 

 

การบังคับใช้กฏหมาย และตัดสินไปตามข้อเท็จจริง ตามหลักการ ตามจารีตประเพณีที่ดีงาม  อย่างที่เราสั่งสอนอบรมลูกหลาน

 

เมืองไทยถึงจะผ่านวิกฤตความวุ่นวายจากพวกใจทรามหยาบช้า ....... ไปได้

 

 

 

อย่าใช้วิธี  เจรจากับโจร  หมดเวลาที่จะซุกขยะไว้ใต้พรม ....... แล้วโยนให้ปัญหาไปไว้ในอนาคต ....... อย่างที่เคยทำ ๆ กันมา

 

เพราะวิธีนี้นอกจากจะไม่ได้แก้ปัญหาที่ตรงจุดแล้ว ยังจะกลายเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีให้ทำต่อ ๆ กันไปซะอีก

 

คนทำผิดก็ไม่ได้สำนึก  คนทำถูกก็ไม่ได้ภาคภูมิใจ ...... แล้วอีกสักพัก ปัญหาก็จะกลับมาวนเวียน หลอกหลอน ไม่จบไม่สิ้น

 

 



#18 arch_freeman

arch_freeman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,286 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:52

ดูจาก สถานการณ์แล้ว ผมคิดว่า อาจจะลากยาวถึงปลายเดือน หรือ กลางเดือนหน้า กว่าจะได้ข้อสรุปว่า จะเอากันอย่างไร เนื่องจากต้องรอการตีความหลายประเด็นจาก ศาล รธน.

 

เพราะ หากวุฒิสภาเดินหน้าด้วยแนวทางที่ ศาลไม่ได้รับรอง ก็ย่อมขาดความชอบธรรมทางกฎหมายระดับหนึ่ง

 

ประเด็นคือ คุณสุเทพ จะตัดสินใจอย่างไร รอ? หรือ ทำเอง?

 

ผมแนะนำคุณสุเทพว่า ต้อง "รอ" และหาคำตอบให้มวลชนดีๆ


Edited by arch_freeman, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:53.

ประชาชนต้องใช้นักการเมืองเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

#19 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:13

เห็นด้วยค่ะ...ที่ว่า..ไม่ว่าจะเลือกท่านใดมา..เรื่องก็ไม่จบ และ ไม่ได้สนับสนุนให้มีการเจรจากับโจร

 

เพียงแต่...ยังมีหนทางที่อยู่ภายใต้ รธน และ คนที่จะปฏิบัติราชการในตำแหน่งนายก

โดยมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด..

 

อย่างที่ bird กล่าวไว้...

 

ประชาธิปไตย...มีอำนาจ 3 ฝ่าย ตอนนี้...มี สภาสูง

 

ซึ่ง สว ก็มาจากการเลือกตั้ง และ การสรรหาตาม รธน  มี รธน รองรับอย่างถูกต้อง

ที่ไม่มีฝ่ายใดบิดเบือนได้ หรือนำไปโจมตีได้ว่า...ไม่มีกฎหมายรองรับ

ซึ่งจะดีกว่า...การสรรหานายกจากบุคคลอื่น..หรือไม่

 

เพราะไม่ว่าจะ คัดสรร ท่านใดมา เรื่องก็ไม่จบง่าย ๆ หนำซ้ำอาจจะยิ่งเป็นเหตุ

ให้อีกฝ่าย นำไปโจมตี สนับสนุนวาทกรรม สมคบคิด ซึ่งก็รู้กันอยู่ว่าเป็นการบิดเบือน

 

หากเป็นเช่นนั้น...จะเป็นการเปิดช่องหรือไม่...นั้นต่างหากที่ bird เป็นกังวล

 

ดังนั้น...ถ้า สภาสูง ซึ่งมี รธน รับรองอยู่ เลือก นายก ที่มาจาก สว หรือ มีมติให้

ประธานวุฒิ รักษาการณ์นายกเป็นการชั่วคราว โดยมีกรอบการดำเนินงาน

ที่มาจาก ฝ่ายตุลาการ และ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และ ฝ่ายความมั่นคง

 

จะเป็นอีกทางออกหรือไม่...และ สามารถกระทำได้ทันที ที่โปรดเกล้าแต่งตั้ง

ประธานวุฒิ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว...

 

ประเทศจะได้เดินหน้า...ปลดล๊อคไปได้อีก 1 เปราะ

 

ข้อกล่าวอ้างที่ว่า...นายก ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แม้จะหลบไม่พ้น แต่ก็

สร้างแรงกระทบได้น้อยที่สุด โอกาสที่จะชี้แจงต่อนานาอารย ก็น่าจะเป็นไป

ในด้านบวก มากกว่า

 

การก้าวล่วงท่าน...ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ที่แผ่วลง...เพราะผุ้ที่ได้รับการเสนอชื่อ

เป็น สว ที่มี รธน รองรับ...ซึ่งน่าจะสงผลในด้านบวก...

 

ถูก ผิด ขออภัย...เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวค่ะ



#20 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:16

 

(จาก FB ทนายวันชัย สอนศิริ)

ประชุมวุฒิสภาเมื่อวาน ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า... 
1. ขณะนี้ประเทศไม่มีนายกรัฐมนตรี จะเว้นว่างไม่ได้ ต้องจัดการแต่งตั้งให้มีนายกฯคนใหม่โดยเร็ว
2. ดูจากรัฐธรรมนูญและแนวทางปฏิบัติ เป็นที่แน่ชัดว่าวุฒิสภามีอำนาจทำได้
3. ที่ประชุมตกลงกันให้ประธานฯสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นผู้ไปดำเนินการประสานหรือทำการใดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว
4. สมาชิกทุกคนพร้อมให้การสนับสนุนในการทำงานของประธาน ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ

คงต้องเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการต่อเรื่องดังกล่าว... ถ้าไม่ทำใครจะทำ... เป็นอำนาจหน้าที่และเป็นความรับผิดชอบของผู้แทนปวงชนชาวไทย... วิกฤติมันอยู่ต่อหน้า ปัญหารอการแก้ไข... ท่านสุรชัยจะต้องเป็นหัวหอกล่ะคราวนี้...


Edited by overtherainbow, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:16.

  • -3- likes this

#21 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:24

จดหมายเปิดผนึกถึงว่าที่ประธานวุฒิสภา
May 13, 2014 at 6:47am

เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง ๓ สถาบัน (ครส.)

จดหมายเปิดผนึก

ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาวิกฤตชาติ และการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

 

สาเหตุที่บ้านเมืองขาดคณะรัฐมนตรี จนเกิดสภาพสุญญากาศทางการเมือง

                ๑.    จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากความ

เป็นรัฐมนตรีเฉพาะตัวตามมาตรา ๑๘๒ และส่งผลให้รัฐมนตรีบางท่านต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย

                ๒.    การให้ความเห็นชอบบุคคลขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ตามรัฐธรรมนูญจะ

กระทำไม่ได้เลยภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ  เพราะต้องให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

พิจารณา ตามมาตรา ๑๗๒ และบุคคลนั้นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๗๑

ซึ่งขณะนี้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเนื่องมาจากการยุบสภา

                ๓.     การขาดนายกรัฐมนตรีทำให้ขาดองค์ประกอบสำคัญของคณะรัฐมนตรี

ตามมาตรา ๑๗๑ วรรคแรก    รัฐบาลไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ อีกทั้งไม่มีผู้รับสนอง

พระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปได้

                ๔.     สถานการณ์ของบ้านเมืองจึงตกอยู่ในสุญญากาศทางการเมืองที่ไม่มี

คณะรัฐมนตรีและไม่อาจตั้งใครขึ้นปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีได้  จึงเป็นความจำเป็น

ของบ้านเมืองที่จะต้องดำเนินการโดยใช้มาตรการอื่นในรัฐธรรมนูญขึ้นทดแทนเพื่อ

ซ่อมแซมโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่สมบูรณ์ให้ใช้การได้ต่อไป   โดยอาศัยการวินิจฉัย

ให้เป็นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตามมาตรา ๗

 

แนวทางที่ ๑ : การบูรณะโครงสร้างการเมืองไทยโดยอาศัยธรรมเนียมการปกครอง

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

                ๑.      อาศัยอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรง

เป็นประมุขทรงใช้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๑ มาตรา ๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๑๐

                ๒.    มาตรา ๑ คำว่าราชอาณาจักร เป็นการประกาศรูปแบบรัฐโดยชัดแจ้งว่า

ปกครองโดยพระมหากษัตริย์  มีอำนาจอธิปไตยในด้านการปกครอง (Ruling Power) หรือ

ทรงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ในการปกครองนั่นเอง

                ๓.     มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ทรงเป็นประมุข แสดงให้เห็นในอีกมิติหนึ่งว่า อำนาจในทางการปกครองที่เป็น

“การเมือง”นั่น เป็นของประชาชนโดยอีกสถานะหนึ่งของพระมหากษัตริย์ก็เป็นประชาชนด้วย 

และได้รับการยกให้เป็นประมุขของประชาชนผู้มีอำนาจอธิปไตยในทางการเมือง

                ๔.     มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้

ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่ง

รัฐธรรมนูญนี้

                ๕.   นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขผู้ปกครองประเทศยังมีพระราช

อำนาจในด้านการรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ ปรากฏในมาตรา ๑๐ ของรัฐธรรมนูญที่พระมหา

กษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย  กองทัพเป็นผู้พิทักษ์รักษาความมั่งคงของชาติและ

สถาบันที่จะสร้างความมั่นใจให้กับการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยในด้าน

การเมืองด้วย

                ๖.  ในยามปกติแล้ว  คณะบุคคลที่เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการใช้

อำนาจอธิปไตยเหล่านั้น ได้แก่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร   ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี 

ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด และผู้พิทักษ์รักษา

อำนาจอธิปไตยในด้านความมั่นคง ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และ

ผู้บัญชาการทหารอากาศ  คณะบุคคลดังกล่าวจึงเป็นผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้าน

ต่าง ๆ นั่นเอง ส่วนองค์กรอิสระไม่ใช่องค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงตามนัยยะมาตรา ๓

ของรัฐธรรมนูญ

                ๗.  ดังนั้น ในยามที่บ้านเมืองคับขันประสบกับภาวะขาดผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจ

อธิปไตยในบางด้าน การให้ผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนที่เหลือได้ช่วยในการซ่อม

สร้างขึ้นมาทดแทนก็น่าจะเหมาะสม บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของนายกรัฐมนตรี

เป็นเพียงวิธีการตามกฎหมาย สามารถแก้ไขหรือยกเว้นโดยผู้ใช้อำนาจอธิปไตยให้เหมาะสม

เพื่อการแก้ไขเหตุการณ์เมื่อคราวจำเป็น  เพื่อให้สภาพการณ์ที่เป็นสุญญากาศนั้นหมดไป

                ๘. องค์คณะผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตย (อาจเรียกว่า คณะอธิปมนตรี

แห่งรัฐ) ที่เหลืออยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย

                                ๑.  รองประธานวุฒิสภา (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย)  ปฏิบัติ

หน้าที่แทนประธานวุฒิสภาจนกว่าจะได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่

                                ๒.  ประธานศาลฎีกา (นาย ดิเรก อิงคนินันท์)

                                ๓.  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (นาย  จรูญ อินทจาร)

                                ๔.  ประธานศาลปกครองสูงสุด (นาย  หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล)

                                ๕.  ผู้บัญชาการทหารบก (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)

                                ๖.  ผู้บัญชาการทหารเรือ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย)

                                ๗.  ผู้บัญชาการทหารอากาศ (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)

            (หมายเหตุ  ประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งที่ขาดไป)

                ๙.  รองประธานวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา ริเริ่มเชิญบุคคลในองค์

คณะที่เหลือเข้าร่วมหารือ  และหาข้อยุติในประเด็นปัญหา  เพื่อนำความเข้ากราบบังคับทูล

และรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรี

คนใหม่  ขจัดอุปสรรคเรื่องวิธีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีโดยอ้างประเพณีปฏิบัติตาม

รัฐธรรมนูญที่เคยใช้

                ๑๐. ข้อดีในการใช้แนวทางที่ ๑ นี้ก็คือ มีความเชื่อมโยงกับผู้ใช้อำนาจอธิปไตย

โดยตรงและได้บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้นำของทั้ง ๓ เหล่าทัพ จึงมีหลักประกันด้าน

ความมั่นคง

 

แนวทางที่ ๒ : ใช้หลักประเพณีการปกครอง ฯ ตามมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญอย่างเดียว

โดยคำว่าประเพณีหมายถึง สิ่งที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม ซึ่ง

ประเพณีการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้  ประเทศไทยได้

ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ ๒๔๗๕ หรือจะยึดถือตามชื่อเรียกการปกครองประชาธิปไตย อันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ปรากฏในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒  โดยแบบแผน

ต่าง ๆ ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือธรรมนูญการปกครองฯ ทุกฉบับ   ดังนั้น  ในกรณีที่มา

ของ นายกรัฐมนตรีตามประเพณีที่เคยปฏิบัติ และมีบทบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ

มีดังนี้

๑.     นายกรัฐมนตรีทุกคน ต้องได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์

๒.     ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง

๓.     มีประธานสภาในชื่อเรียกต่าง ๆ  หรือ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ในชื่อเรียกต่างๆ เป็นผู้

รับสนองพระบรมราชโองการ

๔.     คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี บางครั้งก็มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร   บางครั้งก็ไม่

กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

๕.     การคัดเลือกนายกรัฐมนตรี บางครั้งก็ทำในที่ประชุมสภาหรือบางครั้งก็ไม่มีข้อกำหนด

กล่าวคือไม่จำเป็นต้องผ่านที่ประชุมสภาก็ได้

 

            จึงสรุปได้ว่า  หากจะอ้างประเพณีการปกครอง ฯ ที่เคยปฏิบัติแล้ว

นายกรัฐมนตรีก็ไม่จำเป็นต้องมาจากการคัดเลือกของที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎร และไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    แต่ “ต้อง” แต่งตั้งและ

โปรดเกล้าฯ โดยพระมหากษัตริย์ โดยมีประธานสภาในขณะนั้น ไม่ว่าในชื่ออื่นใด

เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

                ดังนั้น  ในสภาพสุญญากาศทางการเมืองไทยในปัจจุบัน  รองประธานวุฒิสภา

ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา อาจหารือที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อกำหนดกรอบปฏิบัติตาม

ประเพณีดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าจะใช้แนวทางใด ก็ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของรองประธานวุฒิสภา

ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภาเพื่อเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

ซึ่งถือเป็นการวินิจฉัยกรณีไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา

กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ สมควรรีบดำเนินการเพื่อนำสันติสุขกลับสู่บ้านเมืองโดยเร็วที่สุด

 

 

นาย บวร ยสินทร

เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง ๓ สถาบัน (ครส.)

๑๒  พฤษภาคม ๒๕๕๗



#22 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:37

 
 
· 

***สภาทนายความแนะกราบบังคมทูลแต่งตั้งนายกฯ มาตรา 7 ชี้วุฒิสภามีอำนาจพิจารณา-เติมเต็มสุญญากาศ*** 
“สภาทนายความ” ออกแถลงการณ์ระบุนายกฯ-ครม.หมดอำนาจบริหารไปแล้วหลังศาล รธน.วินิจฉัย ชี้ “วุฒิสภา” มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้ จึงชอบที่จะนำมาตรา 7 มาวินิจฉัย แนะกราบบังคมทูลขอพระราชทานแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามประเพณี และแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทน ชี้สถาบันไม่ได้มีส่วนร่วมและไม่ได้ทรงเข้ามาวินิจฉัยในข้อเท็จจริง แต่เป็นหน้าที่ของวุฒิฯ เพื่อเติมเต็มสุญญากาศ 
วันนี้ (13 พ.ค.) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ และกรรมการบริหารสภาทนายความ เปิดเผยว่า ทางสภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ว่ารักษาการนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีทั้งคณะ ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจนหมดอำนาจบริหารไปแล้ว รวมทั้งกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้มี พ.ร.ฎ.ยุบสภาไป เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2556 จึงปรากฏความจริงว่าในการใช้อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรได้ยุติลงแล้วโดยสิ้นเชิง วุฒิสภาจึงมีหน้าที่อย่างสำคัญในการสร้างสมดุลของอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในมาตรา 132 (2) ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาผู้ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาซึ่งเป็นกฎหมายอนุบัญญัติรองจากรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้ ทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและตำแหน่งอื่นก็เป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงชอบที่จะนำมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญมาวินิจฉัยกรณีนี้ได้ เพราะทางนิติศาสตร์นั้นการใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายต้องให้มีผลบังคับตามหลักนิติธรรมและหลักเกณฑ์สากล จึงไม่มีกรณีใดที่จะให้ประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะไร้ฝ่ายบริหารและสภาผู้แทนราษฎร 
ดังนั้น ประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา จึงต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ในขณะที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและไม่มีนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 132 (2) ประกอบกับมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร 2. รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาตามข้อบังคับ ข้อ 11 ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ต้องรีบหารือประธานองคมนตรีเพื่อขอให้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและขอพระราชทานให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาเพื่อคัดสรรและแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติก่อนจะมีการเลือกตั้ง 
3. สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองตลอดเวลา เพราะกลไกของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่จะเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองตามมาตรา 7 ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีส่วนร่วมและไม่ได้ทรงเข้ามาวินิจฉัยในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด แต่เป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภาในขณะนี้ ที่ต้องกระทำเพื่อเติมเต็มสุญญากาศของการไม่มีนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ประกอบกับภารกิจที่ต้องสร้างความมั่นคงของชาติและความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการลงทุนของภาคธุรกิจทั้งประเทศ รวมทั้งการขจัดการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในโอกาสต่อไปให้สอดคล้องกับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาล



#23 silence

silence

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 641 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:45

 

ทางออกคือ เลือกตั้งครับ เหตุผล เพราะคนไทยส่วนมากยังมีอคติต่อกันมากไป หุหุ

 

....................

 

........  จินตนาการออกน่ะครับ  ว่าถ้าคนทั้งประเทศกลายเป็นเสื้อแดงกันหมดแล้วชีวิตคุณจะเป็นยังไง

 

....................

 

เปรียบเทียบกันได้ชัดเจนค่ะ  ระหว่างการปกครองของประเทศที่เป็นแดง ที่อ้างประชาธิปไตยเฉพาะชื่อ กับประเทศที่มีเสรีภาพแบบประชาธิปไตยกันจริงๆ

 

จะเห็นนะคะว่า คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเป็นยัง ทั้งการครองชีพ และพฤติกรรม วัฒนธรรมที่ดีงามอันเป็นที่ยอมรับในสังคมโลก

 

 

 

หรือจะสังเกตุง่ายๆจากที่ชุมนุมบนถนนอักษะ และที่ชุมนุมบนถนนราชดำเนิน สวนลุม ปทุมวันค่ะ :P


10403293_1426562117609834_23021669286491
 

 


#24 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:58

(จาก FB Paisal Puechmongkol)

นี่ก็แปลก
ไอัโม่งแจกข่าวไปตามสื่อว่าสามศาลหารือแล้วว่าทูลเกล้านายกตามมาตรา7ไม่ได้ โดยอ้าง"แหล่งข่าวจากศาลปกครองว่ามีการพูดคุย ทำให้หลายสำนักงับเหยื่อนี้
ล่าสุดชัดแล้วว่าไม่เคยมีการประชุมหารือสามศาลคือศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาและศาลปกครองเลย
แล้วมันเป็นเกมใครละครับเนี่ย อัอ สงครามสื่อคร้าบ



#25 น้องจุบุจุบุ

น้องจุบุจุบุ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,006 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:09

ผมคาดนะ จะต้องมีการเลือกนายกผ่านทางวุฒิสภาอย่างแน่นอนและก็นำขึ้นทูลเกล้า[ไม่ใช่ทูลเกล้าขอนายก]

หลังจากนั้นก็จะมีกลุ่มคนลุกขึ้นมาจับอาวุธและก่อจราจลขึ้นและก็จะมีทหารนำคนออกมาปราบ

และทหารจะชนะเพราะกลุ่มคนจะไม่ได้มีเยอะและแกนนำผู้ก่อจราจลจะหนีไปนอกประเทศเพราะถ้าอยู่จะต้องติดคุก 

ส่วนม๊อบของกปปส.จะเลิกชุมนุม แกนนำจะเข้าสู่ขบวนการแก้ข้อกล่าวหาตามกฏหมายและรัฐบาลใหม่ก็ปฏิรูปประเทศไป

 

ถ้าจะไม่ให้รุนแรงตามที่ผมคิดออก

 

- คืนเงิน 48000 ล้านให้แม้วไป

- นิรโทษทุกคดีของแม้ว

- ให้่ ปปช จำหน่ายจำนำข้าวที่เกี่ยวข้องกับปูไป

- นิรโทษทุกคดีของแกนนำ นปช กวป 

- ต้อนแม้วให้จนมุม โดยหาหลักฐานเพิ่มและทำให้สั่งฟ้องก่อการร้ายอีกครั้งและส่งไปให้สถานทูตทุกประเทศในไทยและนานาชาติ

เพราะถ้าติดคดีก่อการร้ายจะเดินทางเข้าออกประเทศอื่นได้ยากขึ้้น

- ตรวจสอบการให้สัมปทานแก๊ซและน้ำมันในภาคใต้ ของกลุ่มบริษัทแถวๆตึกชิน ว่าได้มายังไง

- นิวัฒธำรงค์และพวกที่เหลือลาออกจากรักษาการณ์และปฏิบัติหน้าที่แทน ให้เกิดช่องว่างอย่างเบ็ดเสร็จจริงๆ

มีข้อใหนเป็นไปได้ใหมละ??

 

ที่ไปคุยๆกันผมว่าไม่มีประโยชน์มันก็ไม่ต่างอะไรกับ บรรหาร มาค ที่ไปเดินสายคุย

เท่าที่ผมดูนะทุกๆฝ่ายหนะเห็นด้วยกับการหานายกคนใหม่แต่ไม่อยากจะรับผิดชอบผลที่ตามมาเท่านั้นเอง

เลยต้องไปพยายามๆหาพวกและอีกอย่างนึงแม้วตั้งธงไว้แล้วว่ายังไง นปช ก็ตั้งธงไว้แล้วว่ายังไง [คดีก่อการร้ายก็จ่อคออยู่ลงเมื่อไรก็อาจจะซวยได้ นายใหญ่มันรอดไปแล้วเพราะใช้อัยการไม่ต้องฟ้อง] คุยไปก็ไม่จบ ไม่งั้นคงไม่มีข่าวลือว่ามีกองกำลังจากภาคเหนือและภาคกลางตอนบนมาอยู่แถวปทุมหรอก

และตู่ก็ขู่ว่าจะยกระดับถ้าเลือกนายกจริงๆ ก็คืออาจจะส่งกองกำลังไปก่อกวนแต่พวกมันก็อยู่ในที่ตั้งแต่โชคดีข่าวลือเหมือนทหารจะรู้และจับตาดูคนพวกนี้อยู่เหมือนกัน


Edited by น้องจุบุจุบุ, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:17.


#26 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:14

 

นักกฏหมาย ระบุ หน้าที่วุฒิสภาหาทางออกปท. ยัน ทูลเกล้าฯขอนายกม.7ไม่ระคายเบื้องพระยุคลบาท แนะหารือปธ.องคมนตรี
เป็นหน้าที่ของส.ว.ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ต้องทำการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 (2) ดังนั้น ส.ว.จึงมีหน้าที่แต่งตั้ง แม้กระทั่งประธานวุฒิสภา บุคคลในองค์กรอิสระ รวมไปถึงการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วย ซึ่งสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ควรที่จะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่ก็จะต้องขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของ "นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย" ว่าที่ ประธาน สว.



#27 arch_freeman

arch_freeman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,286 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:23

กระบวนการสร้างการยอมรับ นั่นใช้เวลา วันนี้องค์กรอย่าง สภาทนายความก็ออกมาสนับสนุนวุฒิสภาแล้ว ผมคิดว่าจะต้องมีองค์กรอื่นๆ ในสังคม พาเหรดกันออกมาให้มากเพื่อแสดงความสนับสนุนต่อการหาทางออกของวุฒิสภา

 

วุฒิสภาต้องหารือกับ องค์กรอิสระ และ ฝ่ายตุลาการ เพื่อสร้างความยอมรับ และ รับฟังความเห็น หารือกองทัพ และ ประธานองคมนตรี

 

อะไรที่ต้องให้ ศา่ล รธน. ตีความเพื่อความชัดเจนก็ต้องรีบทำ และ ทำคู่ขนานกันไป

 

ทุกอย่างจะได้จบไวๆ

 

ส่วนใครยังทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลอง ก็ต้องให้ฝ่ายความมั่นคงจัดการ


Edited by arch_freeman, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:24.

ประชาชนต้องใช้นักการเมืองเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

#28 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:40

@js100radio 
20.27น.นายกสภาทนายความ ออกแถลงการณ์ วุฒิสภามีอำนาจหานายกฯ ได้ ตามม.132



#29 ไร้สีไร้กลิ่น

ไร้สีไร้กลิ่น

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,501 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:42

สิ่งที่คุณ Bird เสนอทางออกมา ดูน่าสนใจ แต่ที่ผ่านมาเคยมีเหตุการณ์ที่ประธานสว.ควบตำแหน่งนายกด้วยหรือไม่ 

 

เพราะเมื่อฝั่งสส.ขาดคน ก็ควรต้องสรรหาคนเข้ามา ในเมื่อยังเลือกตั้งไม่ได้ก็ต้องสรรหาวิธีอื่น แต่การที่สว.ปฏิบัติหน้าที่แทนสส.ไปเลย เป็นรัฐบาลรักษาการณ์ มันจะเกินอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ครับ แล้วที่ผ่านมาเราจะมีสองสภาไปทำไมกัน

 

ยังไงตอนนี้ผมว่าคงหนีไม่พ้นนายกคนกลาง ซึ่งคงยากที่จะหาคนที่เป็นที่พอใจ/ยอมรับจากทั้งสองฝ่าย แต่ขอให้เป็นคนที่ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก เพราะไม่ใช่เวลาที่จะต้องไปเอาใจคนชั่ว/คนโกง

 

ถ้าคนชั่วไม่ยอมรับคนดี แล้วเลือกวิธีอันธพาล ก็ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงที่จะจัดการกันไป  


Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:51.


#30 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 21:56

ั้งก่อนเหตุการณ์ที่ ๑ ก็เท่ากับประเทศไม่เกิดสุญญากาศทางการเมือง สุเทพก็ต้องกลับไปเลียแผลที่บ้านหรือตะราง 
๓. ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ทั้งที่ ๑ และ ๒ ใน ๑-๒ สัปดาห็ ก็คงต้องแล้วแต่เวรแต่กรรม ทุกฝ่ายคงห่อเหี่ยวเหมือนบัวแล้งน้ำ ...และไปต่อไม่ถูกเลยทีเดียว 
....บวร ๑๓ พค ๕๗


#31 ไร้สีไร้กลิ่น

ไร้สีไร้กลิ่น

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,501 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:05

ผมว่าไม่เกี่ยวกับใครเร็วกว่าใคร แต่มันขึ้นกับว่าอำนาจของประธานสว. กับประธานกกต. ใครมีอำนาจมากกว่ากันครับ

 

ปล. แล้วถ้าให้องค์กรอิสระที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มีบทบาทเหนือกว่าสว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายแดงเค้าจะยอมรึ

 

ปล.2 เรื่องนี้ต้องใจเย็นๆครับ การจะหานายกคนกลางมันไม่ได้ง่าย ดีแล้วที่ประธานสว.หารือกับหลายๆฝ่าย ไม่ได้เอาความคิดตัวเองเป็นหลัก 


Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:16.


#32 webster

webster

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 372 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:29

ขอเดาตอนจบนะ หลังจากดูท่าทีของวุฒิสภามาต่อเนื่อง2-3 วัน

 

    1. คงเอาแนวทางคล้ายๆroadmapของอภิสิทธิ์เป็นหลัก  พยายามเจรจากับรบ.ให้ยอมรับและถอยออกไปก่อน

 

    2. ซึ่งแม้วคงไม่ยอมจะยื้อต่อไป

 

    3.ประธานวุฒิฯ ตัดสินใจนำชื่อนายกฯคนกลางขึ้นทูลเกล้า โดยพยายามอิงกม.ที่มีให้มากที่สุด 

 

    4. เสื้อแดงและบรรดาขี้ข้าชักดิ้นชักงอ   M-79ปลิวว่อนทั่วกรุง  พวกจ้องล้มเจ้าออกมาเอะอะโวยวาย

 

    5. ทหารจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมความรุนแรงมากขึ้น  กฎอัยการศึก??ถ้าจำเป็น

 

 

ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่เกิด ไม่กล้าตัดสินใจ  เพราะกลัวนู่นกลัวนี่  ก็อยู่กันอย่างนี้ต่อไป  จนกว่าแม้วมันจะตายไปเอง


Edited by webster, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:32.


#33 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:41

มาไขข้อข้องใจ...และ ความเป็นไปได้ตามที่ได้แสดงความเห็นโดยส่วนตัวไว้ข้างต้นค่ะ

 

หลังจากนำข้อข้องใจ ที่ว่า..ประธานวุฒิ จะสามารถปฎิบัติหน้าที่แทนนายกได้หรือไม่

 

bird นำข้อข้องใจดังกล่าว กับท่านผู้อาวุโสก็ได้รับคำตอบแบบนิ่ม ๆ แกมดุ มาเล็ก ๆ 

 

" เรา (bird)  มัวแต่คิดว่า วุฒิสภา เป็น 1 ในอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย

ที่เหลืออยู่ อีกทั้ง..บรรดาสมาชิกวุฒิสภา ล้วนมาจากการเลือกตั้ง และการสรรหา

ตาม รธน ก็เลยคิดไปว่า...ประธานวุฒิ น่าจะเหมาะสมที่จะทำหน้าที่แทนนายกได้

 

ประธานวุฒิ อาจจะเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง 

 

แต่เรา (bird) ลืมไปหรือเปล่า รธน ได้เปิดช่องไว้หรือไม่

 

รธน. 2550 มาตรา 116 บัญญัติไว้ว่า 

 

สมาชิกวุฒิสภา จะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมื่องอื่น หรือ

ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มิได้

 

บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้ว

ยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้

 

จึงพอจะสรุปได้ว่า..

 

ประธานวุฒิ ไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่แทน หรือ รักษาการณ์นายกเป็นการชั่วคราว ได้

ถ้าการทำหน้าที่แทน หรือ การรักษาการณ์เป็นการชั่วคราว คือ

 

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

จึงนำมาแจ้งให้ท่านสมาชิกได้รับทราบ และ

 

ขออภัยทุกท่าน ในกรณีที่แสดงความเห็นส่วนตัวไว้ โดยมิได้หาข้อมูลอ้างอิง

ให้รอบคอบเสียก่อน...

 

 

 



#34 MIRO

MIRO

    Praise the Sun

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,883 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:38

ประเด็นแรกเลย ในประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี หรือเปล่า..?

คำตอบคือ ไม่มี แม้ฝ่ายเสื้อแดงจะบอกว่า นิวัฒธำรงค์รักษาการแทน แต่เขาก็ไม่ได้เป็น สส. จึงมาเป็นนายกไม่ได้

ประเทศไทยขณะนี้จึงปราศจากนายกรัฐมนตรี..ตรงนี้ สภาวุฒิ ต้องเชิญคณะกรรมการกฤษฎีกามาพูดคุยหาข้อสรุป

อาจรวมถึงความชัดเจนเรื่องมาตรา132(2) เพื่อให้อำนาจวุฒิสภาแต่งตั้งบุคคลขึ้นดำรงค์ตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ

 

หากได้ข้อสรุปว่าประเทศ ณ เวลานี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี

สภาวุฒิ จำเป็นต้องผ่าทางตัดตามมาตรา 132(2)

เพื่อสรรหานายกรัฐมนตรีขึ้นดำรงค์ตำแหน่ง

 

วันนี้เห็นในสภาวุฒิและอภิสิทธิ์ พูดถึงประเด็น คณะกรรมการกฤษฏีกา จำเป็นต้องเชิญครับ

อาจรวมถึงขอข้อเสนอแนะทางกฎหมายของคณะตุลาการศาลฯ ด้วยหากทำได้ก็ต้องเชิญ

เพื่อให้เกิดความชัดเจนในอำนาจวุฒิสภา

 

จากนั้นเชิญฝ่ายต่างๆที่อาจสามารถให้ข้อเสนอทางออกของบ้านเมืองเข้ามาหารือ

กองทัพ ตัวแทนพรรคการเมือง ..อะไรก็ว่าไป

ซึ่ง ปธ.วุฒิ กำหนดกรอบเวลาไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องจบภายในสัปดาห์นี้

 

หากทุุกอย่างเป็นไปตามนี้ ก็มีโอกาสได้นายกคนกลางเข้ามาบริหารประเทศ

มีเหตุผลรองรับ มีความเห็นคณะกฤษฏีการองรับ อาจมีความเห็นคณะตุลาการรองรับ เพื่อให้เห็นถึงความชอบธรรม

นั่นคือกรณีหลายฝ่ายยินดีให้ข้อเสนอแนะ

แต่หากไม่มีฝ่ายใดตอบรับ..ปธ.วุฒิ ก็คงต้องตัดสินใจเอาเอง..

 

กำนันบอกว่า ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องช่วยกัน ให้เร็ว ทำเลยไม่ต้องรออะไรแล้ว

ผมเข้าใจว่าคงประมาณนี้ครับ ต้องช่วยกันสร้างความชอบธรรมให้วุฒิสภาให้ได้เสียก่อน

 

เพราะหากผมเป็น ปธ.วุฒิ สิ่งแรกที่ผมจะนึกถึงคือ ผมเอาอะไรไปให้ท่าน

ผมจะเอาสิ่งที่สะอาดหมดจดไปให้ท่าน

ผมไม่นำสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านแปดเปื้อนไปให้หรอก (อาจต้องคิดในทางกลับกันด้วย)

 

ต้องรอดูว่า ปธ.วุฒิ จะประสานสิบทิศได้มากน้อยขนาดไหน

ทั้งหมดเพื่อความชอบธรรม..

 

เสื้อแดงก็คงรู้แล้วว่าทิศทางจะเป็นเช่นไร ภายในสัปดาห์นี้คงยกระดับการชุมนุมกันหลายครั้ง

ถ้าทิศทางนายกคนกลางชัดเจน วันศุกร์คงประกาศยกขึ้นไปอีก เสาร์ อาทิตย์ คนเยอะ..ตรงนั้นอาจต้องระวัง..

 

 

หากผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้าครับ..


Edited by MIRO, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:39.

The most valuable things in life are not measured in monetary terms.

The really important things are not houses and lands, stocks and bonds, automobiles and real estate,

but friendships, trust, confidence, empathy, mercy, love and faith.


#35 ลำตะคอง ณ.สนุกการเมือง

ลำตะคอง ณ.สนุกการเมือง

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 13 posts

ตอบ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:59

ขออนุญาติแชร์บทความนะครับ ท่าน 

arch_freeman

 

http://webboard.news.../?topic=3819193

 

:)  :)  :)



#36 ลำตะคอง ณ.สนุกการเมือง

ลำตะคอง ณ.สนุกการเมือง

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 13 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 00:04

เก็บตกครับ  :)

 



#37 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:40

 

อย่าไปสับสนกับข้อโต้เถียงเรื่องการเสนอชื่อนายก

จำไว้อย่างเดียว จำแบบง่าย ๆ .....ประเทศเราปกครองด้วยระบบรัฐสภา สภาเป็นคนเลือกตัวนายก ....ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นคนเลือกตัวนายก

นายนิวัฒน์ธำรงเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารไม่มีสิทธิ์ในการเสนอชื่อนายกและไม่มีสิทธิ์เสนอตัวเองไปทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี

ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร + วุฒิสภา........วุฒิสภาคือฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะใช้ รธน.มาตรา 7 เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ (ในขณะที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร)

เพราะเราใช้สภาเลือกนายก ประเทศเราไม่ได้ให้ ครม.เป็นคนเลือกนายก



#38 ParaDon

ParaDon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,946 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:53

ถ้าคิดดี ทำดี ทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีคุณธรรม มีจริยธรรม

 

ถูกต้องตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม

 

แล้วยังจะกลัวอะไร ?

 

ส.ว.   ณ.เวลานี้คือทางเลือกที่ดีที่สุด


" รัฐธรรมนูญไม่มีมาตราใด อนุญาติให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย โกงบ้านกินเมืองได้โดยไม่ผิดกกหมาย "


#39 คนไทยคนหนึ่ง

คนไทยคนหนึ่ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,626 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:05

"แสงสว่างในหนทางมืดมิด"

เปลว สีเงิน   Wednesday, 14 May, 2014 - 00:00

 

วันนี้ จะขอพระราชทานอัญเชิญพระบรมราโชวาท ที่ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุดและคณะ เป็นลำดับแรก 

    แก่ประธานศาลฎีกาและคณะผู้พิพากษา ศาลยุติธรรม เป็นลำดับต่อมา ณ วังไกลกังวล หัวหิน  เมื่อ ๒๕ เม.ย.๔๙ 
    ขอให้ท่านทั้งหลาย อ่านแล้วโยนิโสมนสิการ คือน้อมนำแต่ละใจความเข้ามาในใจแล้วใคร่ครวญตามด้วยสัมมาสติ 
    ควบคู่กับศึกษาถึง "ความเหมือน-ความต่าง" ของปัญหาในปี ๔๙ ที่ยุบสภาฯ แล้วทักษิณเป็น "นายกฯ รักษาการ"
    กับในปี ๕๗ นี้ ซึ่งยุบสภาฯ แล้ว ต่อมานายกฯ รักษาการสิ้นสภาพ เพราะยิ่งลักษณ์ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ "ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว" 
    ขณะนี้ จึงมีแต่ "รองนายกฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน" ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔
    เมื่อใคร่ครวญตามแล้ว ทั้งคณะศาล คณะการเมือง คณะบุคคล "ทั้งหมด-ทั้งมวล" จะได้คำตอบเพื่อปฏิบัติตามครรลองประชาธิปไตย ภายใต้เงื่อนไขของแต่ละปัญหาและสถานการณ์เป็นจริง
   

พระบรมราโชวาทถึงการเลือกตั้ง ส.ส. และการขอพระราชทานนายกฯ ที่ทรงมีแก่คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ความบางตอน มีว่า

    "...ในเวลาถ้าจะให้พูด ศาลเองมีสิทธิที่จะพูดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะเลือกตั้งของผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง ๒๐% แล้วก็เขาเลือกตั้งคนเดียว ซึ่งมีความสำคัญ คือว่าถ้าไม่ถึง ๒๐% แล้วก็มีคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบ ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า 
    แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้ แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณไว้เมื่อกี้นี้ก็เป็นหมัน ที่บอกว่าจะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้ ท่านก็เลยทำงานไม่ได้
     ถ้าท่านทำงานไม่ได้ ท่านก็อาจจะต้องลาออก แต่ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ฉะนั้น ต้องหาทางแก้ไขได้
    เขาก็จะบอกว่า ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าไม่ใช่เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง ก็เลยขอร้องท่าน อย่าไปทอดทิ้งการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการไปได้
    แล้วก็อีกข้อหนึ่ง คือการที่จะบอกว่าจะมีการยุบสภาฯ และต้องเลือกตั้งภายใน ๓๐ วัน ถูกต้องหรือไม่...ไม่พูดถึง ไม่พูดเลย ถ้าไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข แล้วก็อาจจะให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ ซึ่งท่านจะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควรหรือไม่ควร 
    ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้ในการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งขึ้นพรรคเดียว-คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป มีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย
    เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็ควรคิดว่า ต้องดูว่าเกี่ยวข้องกับศาลปกครองหรือไม่ ขอฝากอย่างดีที่สุดถ้าท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไปดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ
    ตั้งแต่ฟังวิทยุเมื่อเช้านี้ กรณีเกิดที่กิ่ง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อันนั้นไม่ใช่แห่งเดียว ที่อื่นมีหลายแห่งที่จะทำให้บ้านเมืองล่มจม บ้านเมืองไม่สามารถที่จะรอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ถูกหลัก 
    ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่า เกี่ยวข้องหรือไม่ ท่านเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้อง ท่านลาออกดีกว่า ท่านเป็นผู้ที่ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินได้ 
    หรือมิฉะนั้น ต้องไปปรึกษากันกับผู้พิพากษาที่จะเข้ามา คือผู้พิพากษาศาลฎีกา ท่านก็เกี่ยวข้องเหมือนกัน ก็ปรึกษากัน ก็เป็นจำนวนหลายคนที่มีความรู้ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ที่มีหน้าที่ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป
    ฉะนั้นขอฝาก ไม่อย่างนั้น...ยุ่ง เพราะถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย ของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และทุกแบบจะต้องเข้ากัน ปรองดองกันและคิดทางที่จะแก้ไขได้
    ที่พูดอย่างนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้ ก็เพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้อง มาตรา ๗... มาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา ๗ ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ...ไม่ใช่
    มาตรา ๗ นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินได้ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำ เขาก็จะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งจริงๆ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย
    ก็อ้างถึงก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่มีทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้น มีสภา มีประธานสภา รองประธานสภา มีอยู่ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญ
    นายกฯ พระราชทานหมายความว่า ตั้งนายกฯ โดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์ อาจารย์สัญญาได้รับตั้งเป็นนายกฯ เป็นนายกฯ ที่มีคนรับสนองพระบรมราชโองการ คือรองประธานสภานิติบัญญัติ 
    ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์มาใหม่ ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบว่ามีกฎเกณฑ์ที่รองรับ......"
    นี้คือ...ความบางตอนใน "พระบรมราโชวาท" ที่พระราชทานแก่นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด และคณะ 
    ลำดับต่อจากนั้น นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษา ศาลยุติธรรม เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง
    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" พระราชทานพระบรมราโชวาท ความว่า.....
     "ฝ่ายที่เป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกา ปัจจุบันนี้ มีปัญหาตามกฎหมายที่สำคัญ คือว่าถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามที่ปฏิญาณไว้...แบบประชาธิปไตย คือเวลานี้มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง 
    แต่ถ้าไม่มีสภาที่ครบถ้วน ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ฉะนั้นก็ขอไปปรึกษากัน
    เมื่อก่อนมีอย่างเดียว มีศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา เดี๋ยวนี้มีศาลหลายอย่าง เมื่อมีก็ต้องไปดำเนินการ ก็ขอให้ไปปรึกษากับศาลอื่นๆ ด้วย จะทำให้บ้านเมืองปกครองแบบประชาธิปไตยได้ 
    อย่าไปคอยที่จะให้ขอนายกฯ พระราชทาน เพราะขอนายกฯ พระราชทานไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย
    ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองประชาธิปไตย กลับไปอ่านมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด 
    อ้างไม่ได้ มาตรา ๗ มี ๒ บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตามที่เคยทำมา...ไม่มี...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น
    จะขอนายกฯ พระราชทานไม่ใช่เรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ...ขอโทษ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่แจ่มใส สามารถกลับไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ 
    คือ ปกครองต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วน ก็ว่าไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาวิธีที่ตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วนแบบตำนานได้ แต่ก็มั่ว...ขอโทษอีกทีนะ ใช้คำมั่วไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว 
    ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จ ถ้าทำไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอีก เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะไป ก็เลยต้องมาขอร้องฝ่ายศาลให้คิดและช่วยกันคิด
    เดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ ก็ยังมองว่าศาลฎีกามีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล มีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา พิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ ประเทศจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ 
    เพราะว่าไม่มีสมาชิกสภาถึง ๕๐๐ คน ทำงานไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาดูว่า จะทำยังไงจะพลิกตำนานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์ตัดสิน เขาอาจจะว่า รัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์เป็นคนลงพระปรมาภิไธย จริง ในหลวงลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน
    แต่ว่าในมาตรา ๗ ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา ๗ เขาเขียนว่า ถ้าไม่มีการบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์สั่งการได้ 
    แล้วก็ขอยืนยันว่า ไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอให้มีพระราชทาน 
    นายกฯ พระราชทาน ไม่เคยมี มีนายกฯ แต่รับสนองพระบรมราชโองการอย่างถูกต้องทุกครั้ง 
    มีคนที่เขาอาจจะมาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ทำตามใจชอบ...ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบตั้งแต่เป็นมา รัฐธรรมนูญเป็นมาหลายฉบับ หลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว
    แต่ตอนนี้ เขาขอให้ทำตามใจชอบ เวลาถ้าเขาทำตามที่เขาขอ เขาก็ต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ ซึ่งไม่ใช่กลัว ถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ อยู่ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นสำคัญที่จะ ศาลอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไรไม่มีข้อที่จะอ้างได้มากกว่าศาลฎีกา 
    ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะมีสิทธิที่จะพูด ที่จะตัดสิน ก็ขอให้ท่านได้กลับไปพิจารณา ไปปรึกษาผู้พิพากษาศาลแผนกอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรทำอย่างไร ไม่ต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองล่มจม ดูทีวีเบื่อ ไอ้หมื่นตันโดนพายุจมลงไปลึกกว่า ๔ พันเมตรทะเล เขายังต้องดูว่าเรือนั้นลงไปได้อย่างไร เมืองไทยจะจมลงไปลึกกว่า ๔ พันเมตร กู้ไม่ได้...กู้ไม่ขึ้น
    ฉะนั้น ท่านเองก็เท่ากับจมลงไป ประชาชนทั่วไปที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็จะจมลงไปในมหาสมุทร ตอนนี้เป็นเวลาที่วิกฤติที่สุดในโลก ฉะนั้น ท่านต้องมีหน้าที่ปฏิบัติปรึกษากับคนที่มีความรู้
    พวกที่เขาเรียกว่ากู้ชาติ เอะอะอะไรก็กู้ชาติ...กู้ชาติ กู้ชาติเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ล่มจม แต่ป้องกันไม่ให้จมลงไป แล้วเราจะต้องกู้ชาติ ประชาชนกู้ชาติไม่ได้ เพราะจมไปแล้ว 
    ดังนั้น ต้องไปพิจารณาดูว่าจะทำอะไร ถ้าทำได้ ปรึกษาหารือกันได้ ประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนทั่วโลกจะอนุโมทนา อาจจะเห็นว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาในเมืองไทยยังมีน้ำยา เป็นคนที่มีความรู้ ตั้งใจที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา....ฯลฯ...."
    ครับ...เชื่อว่า ประธานศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าที่ประธานวุฒิสภา ประธาน กกต. รวมถึงปลัดกระทรวงทุกกระทรวง ได้อ่านพระบรมราโชวาท ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ นี้ ขึ้นใจ-กระจ่าง กันแล้ว.

 

ที่มา : http://www.thaipost....ws/140514/90463


ประชาธิปไตย คือการที่ฟังเสียงส่วนน้อย แต่ทำเพื่อคนส่วนใหญ่ประชาธิปไตยต้องมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ไม่อย่างนั้นจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ เมื่อไม่มีศีลธรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ระบบประชาธิปไตยนั่นแหละ จะเป็นระบบที่เลวร้ายที่สุด

#40 คนไทยคนหนึ่ง

คนไทยคนหนึ่ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,626 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:00

ประธานวุฒิมีหน้าที่สรรหานายกใหม่ ส่วนวุฒิสภาจะหาทางออกอะไรก็ว่าไป
สภาทนายเตือนแล้ว
แถลงการณ์ของสภาทนายความ

ฉบับที่ 12/2557

เรื่อง หน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญกรณีที่ไม่มีนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร

………………………………………….

ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ของสภาทนายความ ฉบับที่ 10/2557 “เรื่อง ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญกรณีประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ในการกราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ภายใต้สถานการณ์ที่ราชอาณาจักรไทยไม่มีนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร” เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 ไปแล้วนั้น มีผู้สอบถามและขอทราบรายละเอียดขั้นตอนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญควรจะดำเนินการเป็นไปอย่างไร นั้น สภาทนายความจึงขอแถลงการณ์เพิ่มเติมฉบับนี้มาเพื่อทำความเข้าใจในข้อกฎหมายและขั้นตอนของการดำเนินการของวุฒิสภาโดยลำดับ ดังนี้

1. โดยปกติถ้าไม่มีนายกรัฐมนตรีแต่มีสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรจัดคัดเลือกนายกรัฐมนตรีให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันตามมาตรา 172 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อไม่มีทั้งนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นหน้าที่ของวุฒิสภาที่ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 132 (2) ให้เร็วที่สุด คือจะต้องจัดดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีโดยเร็วแทนสภาผู้แทนราษฎร กรณีนี้จึงไม่ใช่การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลางตามมาตรา 7 ที่พูดกันอยู่โดยทั่วไป แต่เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 132 (2) ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2) นั้น ได้มีการแก้ไขจากบทบัญญัติของมาตรา 168 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ใหม่เป็นดังนี้

“มาตรา 168132 ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้

(1) …

(2) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา 138 มาตรา 143 มาตรา 196 มาตรา 199 มาตรา 257 มาตรา 261 มาตรา 274 (3) มาตรา 277 มาตรา 278 มาตรา 279 (3) มาตรา 297 มาตรา 302 และมาตรา 312บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

จึงเห็นได้ว่าข้อความที่ถูกตัดออกเป็นข้อความที่เคยให้วุฒิสภาพิจารณาแต่งตั้งเฉพาะตำแหน่งองค์กรอิสระ เช่น กกต. ปปช. และคณะกรรมการสิทธิฯ นั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และความใหม่ที่แก้ไขครอบคลุมไปถึงทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะความตอนท้ายได้เติมคำว่า “ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” ไว้นั้น ทำให้ที่ประชุมวุฒิสภาต้องทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นหน้าที่ของวุฒิสภาที่จะต้องดำเนินการโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

2. การแต่งตั้งตามมาตรา 132 (2) เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ส่วนการที่จะปรับใช้ความในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องของวิธีการดำเนินการ ซึ่งในสภาวะที่ไม่มีนายกรัฐมนตรีที่จะกราบบังคมทูลขอพระราชทานให้มีพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาเรื่องนี้ นั้น สามารถอนุโลมใช้บทบัญญัติมาตรา 7 เกี่ยวกับกรณีของการนำประเพณีทางการเมืองที่เมื่อไม่มีนายกรัฐมนตรี ก็ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเปิดสมัยประชุมวิสามัญของวุฒิสภาได้

3. เมื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญของวุฒิสภา และที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการคัดเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว รองประธานวุฒิสภาที่ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาก็ต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการด้วยตนเองเพื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับกรณีรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

4. สภาทนายความเห็นว่าข้อพิจารณาที่ให้ความสำคัญเรื่องการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีก่อนนั้น เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจัดลำดับความสำคัญว่าต้องมีนายกรัฐมนตรีให้เร็วที่สุด เพราะไม่อาจให้อำนาจผู้นำทางด้านบริหารเว้นว่างได้เป็นระยะเวลานานคือต้องไม่เกินสามสิบวันตามมาตรา 172 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเป็นกรณีเร่งด่วนกรณีเดียวที่วุฒิสภาพึงกระทำ

5. อนึ่ง วุฒิสภายังไม่มีหน้าที่อย่างอื่นนอกจากจะต้องรีบตั้งนายกรัฐมนตรีก่อน ส่วนการพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งนั้นจะเป็นปัญหาลำดับรองลงมา ซึ่งจะต้องเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญที่วุฒิสภาได้พิจารณาเสนอแต่งตั้งแล้วเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นวุฒิสภาจึงต้องดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีโดยเร็วเพื่อที่จะให้ดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ส่วนการพิจารณาจัดการเลือกตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีต่อไป

จึงแถลงการณ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์

14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557ี
 
 

ประชาธิปไตย คือการที่ฟังเสียงส่วนน้อย แต่ทำเพื่อคนส่วนใหญ่ประชาธิปไตยต้องมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ไม่อย่างนั้นจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ เมื่อไม่มีศีลธรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ระบบประชาธิปไตยนั่นแหละ จะเป็นระบบที่เลวร้ายที่สุด

#41 arch_freeman

arch_freeman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,286 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:22

Retweeted TNEWS TV (@TNEWSTV):

19.29 ส.ว.และ12องค์กรเห็นตรงตั้งรบ.เฉพาะกิจอำนาจเต็ม-ปฏิรูป6-12เดือน

 

 

@bank_KT: เวทีหาทางออกประเทศส.ว.พรุ่งนี้ หารืออธิการบดีทั่วประเทศ10โมงที่นิด้า,บ่ายโมงถกกับผู้นำเหล่าทัพ/ปลัดกระทรวง,บ่ายสามถกตัวแทนสื่อ ที่สภาฯ

 

เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน ในการร่วมกัน สนับสนุน หาทางออกให้ประเทศ

 

ท่านว่าที่ประธานวุฒิ มีหน้าที่นำรายชื่อเสนอทูลเกล้า แต่การดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการสร้างความยอมรับกับทุกฝ่าย เพื่อหาแรงสนับสนุน

 

ส่วนพวกที่ขัดขวาง เมื่อเวลามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าลงมาแล้ว มวลมหาประชาชน และ ฝ่ายความมั่นคงต้องจัดการพวกนี้ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

 

รัฐบาลใหม่เข้ามา ต้อง จัดการล้างบาง ข้าราชการชั่วแบบนายธาริตก่อนอับดับแรก อย่างน้อยต้องมีคนแจ้งจับให้อำนาจกลั่นแกล้งคนอื่่น และ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ เอาให้หนักข้าราชการแบบนี้


ประชาชนต้องใช้นักการเมืองเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

#42 Kongkiet Rodpai

Kongkiet Rodpai

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 107 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 00:27

ขอดันกระทู้ไว้ติดตามครับ

#43 Kongkiet Rodpai

Kongkiet Rodpai

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 107 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:52

อ่านจนเจอที่ถูกใจ ผมว่าใช่เลย.....

#44 เสือยิ้มยาก

เสือยิ้มยาก

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,695 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 02:55

ขอเอารายงานข่าวมาแปะครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี และทุกท่านข้างบนก็คาดการณ์ล่วงหน้า ได้น่าสนใจ

แต่มันยังไม่มีอะไรชัวร์ ว่าจะราบรื่นเพราะทุกคนพยายามเดินในกรอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมคิดว่าดีแล้ว อีกฝ่ายจะได้มีพื้นทีแคบลง :ph34r:

 

เปิดแผนบันได 8 ขั้น ของวุฒิสภาสู่การแก้วิกฤตการเมือง

แนวทางปฏิบัติของวุฒิสภาต่อการหาทางออกจากวิกฤตการเมืองภาย ในประเทศ ทั้งนี้ได้มีการเสนอ

แนวทางปฏิบัติไว้ จำนวน 8 ขั้นตอน ได้แก่

 

ขั้นตอนที่ 1. ตามที่คณะรัฐบุคคลได้เสนอแนวทางออกของประเทศไปยังผู้บัญชาการเหล่าทัพต่าง ให้

1.ผู้บัญชาการเหล่าทัพควรปรึกษาหารือแนวทางออกของประเทศ

2.ผู้บัญชาการเหล่าทัพควรจะปรึกษาหารือกับปลัดกระทรวงทุกกระทรวง, เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ,

ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติและเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ,

 

ขั้นตอนที่ 2 วุฒิสภา ควรดำเนินการ

1. ให้ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาจำนวน 12 คณะ ประชุมหารือกันว่านายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการ

รองนายกฯ ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ ได้หรือไม่ และมีสิทธิ์ทูลเกล้าฯ หรือไม่,

2.ให้นำประเด็นการปฏิบัติหน้าที่ของนายนิวัฒน์ธำรงไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญตี ความ และ

3.ถ้าหากมีการวินิจฉัยและมีความเห็นว่านายนิวัฒน์ธำรงไม่มีอำนาจ ให้อำนาจนั้นตกมาอยู่ที่ประธานวุฒิสภาทันที

 

ขั้นตอนที่ 3 ให้เลขาธิการวุฒิสภาเสนอทูลเกล้าฯ ชื่อของนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1

เป็นประธานวุฒิสภา เมื่อมีพระรบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานวุฒิสภาแล้ว ประธานวุฒิสภาจะมีอำนาจในการเชิญทุกฝ่าย

หาทางออกให้กับประเทศ คือ สนับสนุนให้วุฒิสภาในการดำเนินการร่างอนุผนวก 3 บทเฉพาะกาลประกอบรัฐธรรมนูญ,

 

ขั้นตอนที่ 4. ให้ประธานวุฒิสภาทำ หน้าที่รักษาการประธานรัฐสภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)

อนุผนวก 3 บทเฉพาะกาล เข้าสู่การประชุมสภา โดยให้สมาชิกวุฒิสภาทุกคนเป็นกรรมาธิการเต็มสภา,

 

ขั้นตอนที่ 5 ให้สำนักงานวุฒิสภาหรือรัฐสภา นำอนุผนวก 3 บทเฉพาะกาลทูลเกล้าฯ และประธานวุฒิสภาใน ฐานะรักษาการ

แทนประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในฐานะ ประธานรัฐสภา,

 

ขั้นตอนที่ 6 ประธานรัฐสภาเปิดสภาเสนอแต่งตั้งนายกฯ และนำชื่อทูลเกล้าฯ ถวาย,

ขั้นตอนที่ 7. นายกรับการแต่งตั้งและรีบเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ ถวายทำการแต่งตั้ง และ

ขั้นตอนที่ 8. ให้ดำเนินการโดย

1. นายกฯ นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเสร็จแล้ว

2. เปิดประชุม ครม. และ

3. คำสั่งมอบอำนาจและหน้าที่ของแต่ละคน ทั้งนี้ในขั้นตอนที่ 6,7,8 ต้องดำเนินการภายใน 2-3 วัน

เพื่อให้ ครม.ปฏิบัติงานได้ทันที

 

สำหรับร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) ที่ได้มีการเสนอมานั้น มีสาระ คือ เพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง

การปกครองเฉพาะกิจเป็นระยะเวลา 18 เดือน หรือจนกว่าประเทศจะพ้นวิกฤติ แล้วจึงจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

ตามที่กฎหมายหลังการปฏิรูปได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ จะมีการตรากฎหมายเพื่อการปฏิรูปประชาธิปไตย อาทิ การแก้ไขเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญไม่ให้ พรรคการเมืองเข้ามาครอบงำสมาชิกสภา สำหรับการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็นการเสนอชื่อของ

ที่ประชุมสาขาพรรค นอกจากนั้น จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาร่างกฎหมาย

ที่จำเป็นต่อการปฏิรูปบ้านเมือง

http://www.bangkokbi...ฤตการเมือง.html

"โหรฟองสนาน" เตือนซ้ำ! 15 พ.ค.-15 มิ.ย. เดือนสัญญาณเลือด -

เกิดการโจมตีเป็นจุดๆ- 17 มิ.ย. รู้ผลใครแพ้ชนะ- ราว 12 มิ.ย. "ทหาร" เริ่มออกมาบู้

-สู้จนถึงที่สุดแล้ว "อริ" วินาศไปเอง - ขอให้สู้ก่อน

 

โหรกับการเมืองไทย มันอยู่คู่กันมานาน ฟังๆไว้ไม่เสียหลาย :huh:


        shotgun.gif       d444.gif        cheesy.gif

 


#45 คนไทยคนหนึ่ง

คนไทยคนหนึ่ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,626 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 04:31

ในบทเฉพาะการควรระบุให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทนสภาผู้แทน ในการออกกฎหมายเพื่อการปฎิรูปประเทศด้วยครับ

เพื่อให้มีกฎหมายใหม่สำหรับการเลือกตั้งสส.ครั้งต่อไป


ประชาธิปไตย คือการที่ฟังเสียงส่วนน้อย แต่ทำเพื่อคนส่วนใหญ่ประชาธิปไตยต้องมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ไม่อย่างนั้นจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ เมื่อไม่มีศีลธรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ระบบประชาธิปไตยนั่นแหละ จะเป็นระบบที่เลวร้ายที่สุด

#46 arch_freeman

arch_freeman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,286 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 04:38

ขั้นตอนที่ 2 เป็น ขั้นตอนที่สำคัญมาก เป็นการตอกหมุดปิดฝาโลก ครม ผีหัวขาด และจะใช้เวลา ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ในการดำเนินการ

 

หากวุฒิสภา ตัดสินเดินตามแนวทางนั้นแล้ว ก็ขอให้คุณสุเทพและมวลมหาประชาชนให้กำลังใจ ป้องกันตัวดีๆ และ เตรียมฉลองชัยชนะ

 

ส่วนฝ่ายความมั่นคงต้อง ปฏิบัติเชิงรุกในทางลับ จัดกับ กับ กลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังการใช้ความรุนแรงกับประชาชน อย่างเด็ดขาด รวมถึงแกนนำเสื้อแดงที่มีพฤติกรรมชั่วๆ เช่นกัน


ประชาชนต้องใช้นักการเมืองเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

#47 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 06:47

แถลงการณ์ของสภาทนายความ

ฉบับที่ 12/2557

เรื่อง หน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญกรณีที่ไม่มีนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร

………………………………………….

ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ของสภาทนายความ ฉบับที่ 10/2557 “เรื่อง ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญกรณีประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ในการกราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ภายใต้สถานการณ์ที่ราชอาณาจักรไทยไม่มีนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร” เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 ไปแล้วนั้น มีผู้สอบถามและขอทราบรายละเอียดขั้นตอนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญควรจะดำเนินการเป็นไปอย่างไร นั้น สภาทนายความจึงขอแถลงการณ์เพิ่มเติมฉบับนี้มาเพื่อทำความเข้าใจในข้อกฎหมายและขั้นตอนของการดำเนินการของวุฒิสภาโดยลำดับ ดังนี้

1. โดยปกติถ้าไม่มีนายกรัฐมนตรีแต่มีสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรจัดคัดเลือกนายกรัฐมนตรีให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันตามมาตรา 172 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อไม่มีทั้งนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นหน้าที่ของวุฒิสภาที่ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 132 (2) ให้เร็วที่สุด คือจะต้องจัดดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีโดยเร็วแทนสภาผู้แทนราษฎร กรณีนี้จึงไม่ใช่การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลางตามมาตรา 7 ที่พูดกันอยู่โดยทั่วไป แต่เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 132 (2) ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 132 (2) นั้น ได้มีการแก้ไขจากบทบัญญัติของมาตรา 168 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ใหม่เป็นดังนี้

“มาตรา 168132 ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้

(1) …

(2) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา 138 มาตรา 143 มาตรา 196 มาตรา 199 มาตรา 257 มาตรา 261 มาตรา 274 (3) มาตรา 277 มาตรา 278 มาตรา 279 (3) มาตรา 297 มาตรา 302 และมาตรา 312บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

จึงเห็นได้ว่าข้อความที่ถูกตัดออกเป็นข้อความที่เคยให้วุฒิสภาพิจารณาแต่งตั้งเฉพาะตำแหน่งองค์กรอิสระ เช่น กกต. ปปช. และคณะกรรมการสิทธิฯ นั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และความใหม่ที่แก้ไขครอบคลุมไปถึงทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะความตอนท้ายได้เติมคำว่า “ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” ไว้นั้น ทำให้ที่ประชุมวุฒิสภาต้องทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นหน้าที่ของวุฒิสภาที่จะต้องดำเนินการโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

2. การแต่งตั้งตามมาตรา 132 (2) เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ส่วนการที่จะปรับใช้ความในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องของวิธีการดำเนินการ ซึ่งในสภาวะที่ไม่มีนายกรัฐมนตรีที่จะกราบบังคมทูลขอพระราชทานให้มีพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาเรื่องนี้ นั้น สามารถอนุโลมใช้บทบัญญัติมาตรา 7 เกี่ยวกับกรณีของการนำประเพณีทางการเมืองที่เมื่อไม่มีนายกรัฐมนตรี ก็ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเปิดสมัยประชุมวิสามัญของวุฒิสภาได้

3. เมื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญของวุฒิสภา และที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการคัดเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว รองประธานวุฒิสภาที่ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาก็ต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการด้วยตนเองเพื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับกรณีรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

4. สภาทนายความเห็นว่าข้อพิจารณาที่ให้ความสำคัญเรื่องการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีก่อนนั้น เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจัดลำดับความสำคัญว่าต้องมีนายกรัฐมนตรีให้เร็วที่สุด เพราะไม่อาจให้อำนาจผู้นำทางด้านบริหารเว้นว่างได้เป็นระยะเวลานานคือต้องไม่เกินสามสิบวันตามมาตรา 172 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเป็นกรณีเร่งด่วนกรณีเดียวที่วุฒิสภาพึงกระทำ

5. อนึ่ง วุฒิสภายังไม่มีหน้าที่อย่างอื่นนอกจากจะต้องรีบตั้งนายกรัฐมนตรีก่อน ส่วนการพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งนั้นจะเป็นปัญหาลำดับรองลงมา ซึ่งจะต้องเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญที่วุฒิสภาได้พิจารณาเสนอแต่งตั้งแล้วเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นวุฒิสภาจึงต้องดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีโดยเร็วเพื่อที่จะให้ดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ส่วนการพิจารณาจัดการเลือกตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีต่อไป

จึงแถลงการณ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#48 ParaDon

ParaDon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,946 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:35

รอดูบ่ายวันนี้ อาจจะมีอะไรที่เป็นรูปธรรมมาขึ้น

 

บางทีเราจะรู้ว่าพรุังนี้เราจะเดินไปทางใหน

 

แต่เผื่อใจไว้บ้าง อย่ายืนอยู่บนความคาดหวังมากนัก  :D


" รัฐธรรมนูญไม่มีมาตราใด อนุญาติให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย โกงบ้านกินเมืองได้โดยไม่ผิดกกหมาย "


#49 arch_freeman

arch_freeman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,286 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:30

จริงๆ ผิดหวังเล็กๆ กับ คำแถลงของ สว. แต่ก็ไม่ได้สิ้นหวังเลยทีเดียว

 

ผมคิดว่า คำแถลง แถลงแบบปลายเปิด

 

1) ไม่จำกัดเวลาว่า จะรอคุยกับ รัฐบาลจนถึงเมื่อไหร่ (เพราะรัฐบาลต้องการถ่วงเวลาออกไปเรื่อยๆ)

2) เหมือนนั่งรอคุย โดยปราศจากแผนงานอย่างชัดเจน จริงๆ ควรจะแถลงว่า ถ้า รัฐบาลไม่คุยภายในวันนี้ สว. จะดำเนินการดังต่อไปนี้  1234

 

จะลดโทนของการเผชิญหน้าและสร้างความหวัง แต่ หลังจากวันนี้ ผมก็ได้ภาวนาแต่ว่า จะไม่มีอะไรรุนแรง

 

และถ้าต้องเลือกการปฏิวัติประชาชน จะทำอย่างไร แต่ต้องมีรูปธรรมที่ชัดเจน ประเด็นคือ ระดับปลัดกระทรวงคือตัวปัญหา คนพวกนี้จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง


ประชาชนต้องใช้นักการเมืองเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

#50 ลุงเชย

ลุงเชย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 249 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:52

คนดีที่ไม่กล้าหาญต้องอย่าให้เขาคุมทัพ  เพราะเขาจะลังเลเสมอว่าจะชนะศึกครั้งนี้หรือไม่ในขณะที่ข้าศึกคุยกันแล้วจะลงเรือลำไหนหนีดี






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน