แล้วในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก็ตัดสินใจประกาศ "กฎอัยการศึก" ในช่วงเช้าตรู่ เวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 20 พ.ค. 2557 ภายใต้รหัสปฏิบัติการ "แสดงพลัง" เพื่อหวังเข้าควบคุมสถานการณ์การเมืองของประเทศ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
ภายหลังเกิดวิกฤตการณ์ม็อบมวลมหาประชาชน กปปส. ที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. นำมวลชนเข้าประท้วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย จากกรณีผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการทุจริตโครงการจำนำข้าว ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมา ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน สถานการณ์การเมืองที่ส่อเค้ารุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ 2 ขั้วการเมืองใหญ่ เกิดความขัดแย้ง ชนิดไม่มีใครยอมใคร มีการประท้วง เดินขบวน มีพี่น้องประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก นับพันคน
ยืนประจำการตามคำสั่ง
จนการเมืองมาถึงทางตัน เมื่อวุฒิสภา ซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติที่เหลืออยู่เพียงองค์กรเดียว พยายามหาทางออกให้ประเทศ ด้วยการเสนอเป็นตัวกลางที่จะสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่มีอำนาจเต็ม เพื่อผ่าทางตันให้ประเทศ โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภา ได้ขอหารือกับ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และยื่นข้อเสนอขอให้ลาออก เพื่อเปิดทางตั้งนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจบริหารประเทศเต็มตามตำแหน่ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ จนต้องออกมาแถลงข่าวว่า มีการเตรียมแผน 2-แผน 3 เพื่อที่จะตั้งนายกฯ ให้ได้นั้น และนี่ก็อาจเป็นฉากจบของวิกฤติการเมืองครั้งนี้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการเมืองใหม่ต่อไปหรือไม่
เจ้าหน้าที่ทหารหารือกันในชุดเครื่องแบบ
พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ว่า พ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 นั้น ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ให้มีอำนาจครอบคลุมควบคุมในทุกๆ ด้าน สำหรับผู้ที่มีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึกได้ กฎหมายให้อำนาจนายทหารระดับผู้บังคับกองพันตั้งแต่ยศชั้นนายพันขึ้นไป เพื่อให้สามารถเข้าควบคุมสถานการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศ
"ยอมรับว่า ปกติตามมารยาท เขาก็จะให้ระดับแม่ทัพภาค 1, 2, 3, 4 เป็นผู้ประกาศ ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ก็แน่นอน ต้องเป็น ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เท่านั้น จะเป็นผู้ประกาศได้ และเมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ทหารจะมีอำนาจควบคุมสถานการณ์แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะ พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้อำนาจทุกอย่างที่จำเป็นในการควบคุม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในประเทศ ให้ไปขึ้นอยู่ที่เจ้าหน้าที่ทหารเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารแต่อย่างใด ทั้งอำนาจควบคุม จับกุมคุมขัง ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามคำสั่งทหาร ครอบคุมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน การขับขี่ จราจร หรือแม้แต่อำนาจในการพิจารณาคดีความของศาลยุติธรรม และกฎหมายก็ยังกำหนดอีกว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศ พ.ร.บ.อัยการศึกดังกล่าวเอง ก็ไม่สามารถฟ้องร้องอะไรทางกฎหมายได้ตามมาตรา 16 ของกฎอัยการศึก"
อาวุธ ทหารจัดมาเต็ม
เรียกว่า ครอบคลุมทั้งหมดอย่างกว้างขวาง แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึกว่าจะใช้อำนาจอะไรบ้าง หรือจะไม่ใช้อำนาจอะไร ถึงแม้กฎหมายจะให้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ตาม
อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดสินใจประกาศใช้แล้ว การยกเลิกใช้ยากยิ่งกว่า เนื่องจากเวลาประกาศใช้ นายทหารระดับนายพัน หรือผู้บัญชาการแม่ทัพภาคขึ้นไป สามารถประกาศได้ แต่เวลายกเลิก จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเท่านั้น ดังนั้น การยกเลิกจึงยากกว่า
มาลุ้นกันดู...ว่า บทสรุปสุดท้ายจะจบลงแบบใด เมื่อชุดเขียวตัดสินใจโดดเข้ามาแก้ปัญหาประเทศเต็มตัวแล้ว จะสามารถผ่าทางตันประเทศนี้ ไปสู่ความสงบสุขอย่างที่ประชาชนทั้งประเทศต้องการได้หรือไม่ อย่างไร คงต้องเฝ้าติดตามกันด้วยใจระทึก!
ภายในสถานีโทรทัศน์ช่อง11
พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดํารัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า กฎอัยการศึก ซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) นั้น อํานาจเจ้าพนักงานฝ่ายทหารที่จะกระทําการใดๆ ยังหาตรงกับระเบียบพิชัยสงคราม อันต้องการของความเรียบร้อย ปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอก หรือเกิดขึ้นภายในได้โดยสะดวกไม่ บัดนี้ สมควรแก้ไขกฎอัยการศึกและเปลี่ยนแปลง ให้เหมาะกับกาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) นั้นเสีย และให้ใช้กฎอัยการศึกซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า “กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457
”
ใช้พระราชบัญญัติที่ใด เมื่อใด ต้องประกาศ ------
มาตรา 2 (1) เมื่อเวลามีเหตุอันจําเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมาจากภายนอก หรือภายในราชอาณาจักรแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุกมาตรา หรือแต่บางมาตรา หรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกําหนดเงื่อนไขแห่งการใช้บทบัญญัตินั้น บังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร หรือตลอดทั่วราชอาณาจักร และถ้าได้ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติ หรือบทกฎหมายใดๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับ ต้องระงับและใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน
มาตรา 2 (2) แก้ไขโดยมาตรา 3 แห่งพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 พุทธศักราช 2485
เมื่อเลิกต้องประกาศ ------
มาตรา 5 การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น จะเป็นไปได้ต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการ
ภาพมุมสูงรถทหารกับบังเกอร์
อํานาจทหารเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ------
มาตรา 3 ถ้าไม่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วพระราชอาณาจักร ในประกาศนั้นจะได้แสดงให้ปรากฏว่า มณฑลใด ตําบลใด หรือเขตใดใช้กฎอัยการศึก
ผู้มีอํานาจใช้กฎอัยการศึก ------
มาตรา 4 เมื่อมีสงคราม หรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกําลังอยู่ใต้บังคับ ไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อม หรือที่มั่นอย่างใดๆ ของทหารมีอํานาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอํานาจหน้าท่ีของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด
มาตรา 6 ในเขตท่ี่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าท่ี่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าทีฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
อํานาจศาลทหาร และอํานาจศาลพลเรือน
กองทัพส่งกำลังเข้าดูแลสถานที่สำคัญ
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ------
มาตรา 7 ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลอาญาศึก และผู้มีอํานาจประกาศใช้กฎอัยการศึก มีอํานาจประกาศให้ศาลทหาร พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งการกระทําผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก และในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึก ตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ทุกข้อ หรือแต่บางข้อ และหรือบางส่วนของข้อใดข้อหนึ่งได้ ทั้งมีอํานาจในการแก้ไขเพิ่มเติม หรือ ยกเลิกประกาศดังกล่าวนั้น ด้วย
มาตรา 6 แก้ไขโดยข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515
มาตรา 7 แก้ไขโดยข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515
ประกาศให้ศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในวรรคแรก ให้มีผลบังคับเฉพาะคดีที่การกระทําความผิด เกิดขึ้นตั้งแต่วันเวลาที่ระบุไว้ในประกาศวันเวลาที่ระบุนั้น จะเป็นวันเวลาที่ออกประกาศนั้น หรือภายหลังก็ได้ ประกาศเช่นว่านี้ ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาด้วย
นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ถ้าคดีอาญาใดที่เกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกมีเหตุพิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะสั่งให้พิจารณาพิพากษา คดีอาญานั้นในศาลทหารก็ได้
มาตรา 7 ทวิ ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามความในมาตรา 7 นั้น จะให้ศาลทหารในทุกท้องที่ หรือแต่บางท้องท่ี่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ตามที่กล่าวในมาตรานั้นเท่ากัน หรือมากน้อยกว่ากันก็ได้
มาตรา 7 ตรี ได้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังคงค้างอยู่ในศาลนั้น และให้มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังมิได้ฟ้องร้อง
ในระหว่างเวลาที่ใช้กฎอัยการศึกนั้น ด้วย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจ ------
มาตรา 8 เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตําบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจเต็ม ที่จะตรวจค้น, ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้าม, ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย, ที่จะทําลาย หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่
ขอบคุณสาระดีๆเสมอมาจาก
http://www.thairath..../content/423952
เพิ่มเติม ภาพ พรบ.กฏอัยการศึก พ.ศ.2457 ครับ
http://www.ratchakit.../2457/A/388.PDF