Jump to content


Photo
- - - - -

หุุุุุๆๆ…มันทุจริตกันมาก โกงกันมาก จับกันยาก กฏหมายก็ควรต้อง รุนแรงมาก เข้มงวดมาก หลอกล่อได้มาก...


  • Please log in to reply
1 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Suraphan07

Suraphan07

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,016 posts

ตอบ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:52

และก็ยาวมากหน่อย(20 ข้อ) ... :) 

 

อย่างเงี๊ยะ...เห็นด้วยมั๊ย... ;) 

ผมว่า น่าจะดีน่ะ ...

 

ไอ้พวก "โกงได้ แต่ให้มีผลงาน" จะได้หมดๆไป ซ๊ะที... B) 

 

Screen Shot 2014-05-24 at 13.40.28.png

รายการนี้มีคนฝากส่งถึงพลอ ไพบูลย์ -ไม่ใช่ความเห็นของผมนะครับ

ภารกิจสำคัญของฝ่ายปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช.

ก่อนคืนอำนาจ โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือตั้งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งต่อไป

 

ภารกิจที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและยั่งยืนแก่ประเทศ คือการออกคำสั่ง คสช. สร้างหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น

ตัวอย่างของกฎหมายที่จะต้องสร้างหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้ศักดิ์สิทธิ์ เช่น

 

ข้อ ๑. ให้ถือว่าในคดีความผิดต่อแผ่นดิน ประชาชนคนไทยทุกคนเป็นผู้เสียหาย สามารถฟ้องร้องคดีด้วยตนเอง และใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหายได้ เช่น. ให้ถือว่าประชาชนเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริตคอร์รัปชั่น มีอำนาจฟ้องคดีทุจริตคอร์รัปชั่นได้ด้วยตนเอง โดยให้มีเงื่อนไขที่ต้องมั่นใจได้ว่าไม่ใช่การฟ้องคดีเพื่อกลั่นแกล้ง หรือเพื่อช่วยเหลือ และไม่ให้คดีรกศาล

 

ข้อ ๒. ในคดีทุจริตคอร์รัปชั่น ให้ถือว่าผู้กระทำความผิดทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจะรับหรือจะให้ ไม่ว่าจะอยู่ในทีมในหน้าที่ใด ให้ถือว่าเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชั่น ด้วยกัน โดยให้ถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงต้องรับโทษเท่ากัน คือมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต เหมือนกัน และต้องรับผิดในค่าเสียหายอันเกิดจากการที่รัฐต้องเสียหาย กับให้มีโทษปรับที่สูงอย่างน้อยสองเท่าของค่าเสียหาย หรือปรับตามรายได้ของผู้กระทำผิด ที่คาดว่าจะได้จากการกระทำความผิดเป็นเวลา ๑ ปี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่ากัน

 

ข้อ ๓. ให้ในระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน ผู้ที่ยอมเปิดเผยข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด หรือมีพยานหลักฐานที่มั่นคงที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดี ทำให้สามารถเอาผิดกับอีกฝ่ายหนึ่งได้มาแสดงก่อน ผู้นั้นจะได้รับประโยชน์ ไม่ต้องรับโทษจำคุก และสามารถมีสิทธิขอรับสินบนนำจับได้ด้วย

 

ข้อ ๔. ให้กรณีที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยหลบหนี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้กระทำความผิด ให้ศาลสามารถพิจารณาคดีลับหลังจำเลยต่อไป จนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยถือว่าจำเลยสละสิทธิที่จะมาศาลและมาฟังการพิจารณาคดี และจำเลยย่อมสามารถที่จะตั้งทนายเข้าว่าความสู้คดีได้อย่างเต็มที่

 

ข้อ ๕. ในกรณีที่ผู้ต้องหา หรือจำเลย ถึงแก่ความตาย ให้ศาลเรียกผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้รับมรดก เข้ามาเป็นคู่ความในฐานะจำเลยในคดี หากพิจารณาแล้ว ฟังว่าจำเลยกระทำความผิด ให้ศาลพิพากษาลงโทษปรับ หรือริบทรัพย์ หรือให้ชำระค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายจากทรัพย์มรดก

 

 

ข้อ ๖. ให้การกระทำความผิด ในคดีอาญาบางประเภท เช่นคดีทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวน คือศาลสามารถหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้เอง และให้เป็นคดีที่ไม่มีกำหนดอายุความ

 

ข้อ ๗. ให้ ป.ป.ช. หรือ ดี เอส ไอ หรือหน่วยงานใดที่ตั้งขึ้นใหม่ อาจในรูปของคณะกรรมการจากหลายหน่วยงาน ทำหน้าที่ล่อให้บุคคลผู้มีตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งนักการเมืองทุกระดับ กระทำความผิด เป็นครั้งคราว เพื่อทดสอบความสุจริต และหากพบว่าไม่สุจริตหรือทุจริต ก็ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

ข้อ ๘. ให้อำนาจศาลในการรับฟังพยานบอกเล่า ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ไม่เปิดเผยตัว ได้

ข้อ ๙. ปรับปรุง พรบ. เกี่ยวกับการให้บำเหน็จฯ โดยกำหนดให้จ่ายรางวัลและสินบนนำจับจากค่าปรับที่ศาลสั่งปรับผู้กระทำผิด และกำหนดบทลงโทษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ไม่ทำการจับกุมตามคำแจ้งของผู้ขอให้จับ ให้มีโทษเท่ากับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 

ข้อ ๑๐. ให้มีบำเหน็จรางวัลนำจับในคดีอาญาแก่ผู้ที่นำจับ ผู้จับและพนักงานสอบสวนที่ทำคดี เงินดังกล่าวทั้งหมด ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ชำระ

ข้อ ๑๑. ในการสอบสวนคดีพิเศษ ให้รวมคดีที่มีเจ้าพนักงานตำรวจ (ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่) เป็นผู้ต้องสงสัย เป็นคดีพิเศษ โดยมีเงื่อนไขว่าคดีนั้นอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือ ผู้เสียหายร้องให้สอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือคณะกรรมการคดีพิเศษเห็นว่าควรรับเข้าเป็นคดีพิเศษ

 

ข้อ ๑๒. ปรับเปลี่ยนโทษปรับให้เป็นไปตามสัดส่วนรายได้ปกติของผู้กระทำความผิด และเพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นทุกความผิด แก้ไขข้อความในกฎหมายที่ว่า “จำคุกหรือปรับ” เป็น “จำคุกและปรับ” ในทุกมาตรา และไม่ให้อำนาจศาลในการยกเว้นโทษปรับด้วย

 

ข้อ ๑๓. ให้ผู้กระทำความผิดต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งหมด สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการสืบสวน การจับกุม การสอบสวน และกระบวนการพิจารณาคดีในศาล ฯลฯ ที่ผู้กระทำผิดมีส่วนทำให้เพิ่มมากขึ้น กว่าที่ควรจะเป็น

 

ข้อ ๑๔. หากเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างโจ่งแจ้ง เป็นที่รู้เห็นของประชาชนในท้องที่ที่เหตุเกิด ให้เจ้าพนักงานนั้นต้องรับโทษปรับอีกส่วนหนึ่ง เป็นจำนวนเงินเท่ากับประโยชน์ที่คาดว่าผู้ได้ประโยชน์จากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จะได้รับ

 

ข้อ ๑๕. เพื่อให้คดีเสร็จโดยเร็ว หากผู้ต้องหารับสารภาพในชั้นสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนนำผู้ต้องหาส่งฟ้องศาลด้วยวาจา และศาลสามารถพิจารณาพิพากษาคดีนั้นด้วยวิธีการไต่สวนได้ แต่ถ้าเป็นคดีที่ยุ่งยากซับซ้อนก็ให้ดำเนินการตามขั้นตอนปกติได้

 

ข้อ ๑๖. คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หรือแก้ไขเพียงเล็กน้อย ให้ถือเป็นยุติ เป็นคดีต้องห้ามฎีกา แต่หากพิพากษากลับ หรือแก้ไขมาก ก็ให้ฎีกาต่อไปได้

 

ข้อ ๑๗. ยกเลิก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๙, ๒๑๙ ทวิ วรรค ๒, ๒๒๐ และ ๒๒๑ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขคดีที่ต้องห้ามฎีกา ตามข้อ ๑๖

 

ข้อ ๑๘. กำหนดเวลาที่ชัดเจนในการทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมในแต่ละคดี โดยเฉพาะคดีทุจริตคอร์รัปชั่น จะต้องไม่มีข้ออ้างว่าจะต้องรอคิวต่อจากคดีประเภทอื่น
ข้อ ๑๙. ออกกฎหมายเพื่อบังคับสื่อมวลชนของรัฐทุกประเภท ทำการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ว่ากฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์

 

ข้อ ๒๐. ให้จัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลของประชาชนทุกคน รวมถึงชาวต่างประเทศที่เข้าในประเทศไทย ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ โดยสะดวก ถึงประวัติการต้องหาหรือต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดในทางอาญา

 

หากไม่ทำเช่นนี้ และคสช.ส่งมอบอำนาจไป โดยหวังให้ฝ่ายอื่นทำ นอกจากจะชักช้าเสียเวลาตามกระบวนการของระบอบประชาธิปไตยแล้ว คสช.ยังอาจต้องผิดหวังเพราะนักการเมืองส่วนใหญ่จะไม่เอาด้วย ที่จะให้มีกฎหมายออกมาทุบหม้อข้าวตัวเอง และเมื่อไม่มีกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์พอที่จะป้องกันนักการเมืองเลวได้ ในที่สุดประเทศไทยก็จะหนีไม่พ้นวังวนแห่งหายนะ

 

ทำภารกิจนี้ได้สำเร็จ งานชิ้นนี้ จะเป็นชั้นโบว์แดง คสช. จะได้ชื่อว่า เป็นผู้มอบกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นอาวุธหรือเป็นพลังสำคัญที่นำพาประเทศไทย พลิกฟื้นคืนสภาพตามศักยภาพหลากหลายที่ประเทศไทยมี เข้าต่อสู้แข่งขันกับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านในสงครามเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน เช่นสิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า เวียตนาม ฯล ที่จะมาถึงในเวลาอีกไม่ถึง ๒ ปี

 

 

ใครสามารถส่งข้อเขียนนี้ ไปถึงพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้รับผิดชอบงานด้านปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของคสช. ก็ขอความกรุณา

 

คิดเสียว่า มาร่วมด้วยช่วยกัน ออกแรงช่วยชาติครับ.

https://www.facebook.../Paisal.Fanpage

 

เห็นด้วยหรือไม่ กับข้อไหนอย่างไร

ลองช่วยกันพิจารณา ให้ คคห.กันได้ครับ...

 

สำหรับผมคิดว่า...ถ้าไม่ได้คิดคด ทรยศชาติ

ทุจริต โกงกินแผ่นดิน ฉ้อราษฏร์ฯ เห็นแก่พวกพ้อง

 

กฏหมายพวกนี้ ก็คงไม่มีที่ทำให้ใครเดือดร้อนนักหรอกครับ...

ว่ามั๊ย... ;) 



#2 SeraphUriel

SeraphUriel

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 393 posts

ตอบ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:05

ข้อ 3. ไม่สมควรค่ะ
ผู้ร่วมกระทำผิดอาจได้รับการลดหย่อนโทษ แต่เมื่อร่วมกระทำไปแล้ว ไม่ควรให้รางวัลใดๆ
นอกจากชิงให้ข้อมูลก่อนเกิดการกระทำผิดเท่านั้น




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน