Posted 27 May 2014 - 01:25
ศาลทหาร ในบางมุมยังให้โอกาสมากกว่าศาลพลเรือน
การตัดสินใช้องค์คณะ
๔.๕ องค์คณะและอำนาจของตุลาการนายเดียวและตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว
การกำหนดองค์คณะตุลาการ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ถึงมาตรา ๒๙ ดังนี้
(๑) ศาลจังหวัดทหารต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย
(๒) ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นสัญญาบัตร
สองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย
(๓) ศาลทหารกลาง ต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นนายพลหนึ่งหรือสองนาย นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศขึ้นไปหนึ่งคือสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสองนาย
(๔) ศาลทหารสูงสุด ต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นนายพลสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสามนาย
จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น องค์คณะตุลาการศาลทหารนั้น มีลักษณะตายตัวว่า ต้องมีจำนวนกี่นายในแต่ละชั้นศาล ซึ่งต่างไปจากองค์คณะ
ผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ที่ใช้ถ้อยคำว่า “อย่างน้อย” กล่าวคือองค์คณะผู้พิพากษาของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและ
ศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมี
ผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน องค์คณะผู้พิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน
นอกจากนี้ส่วนที่แตกต่างไปจากผู้พิพากษาศาลพลเรือนอีกประการหนึ่ง ก็คือ การกำหนดชั้นยศของตุลาการ ซึ่งตามมาตรา ๓๑ บัญญัติในเรื่องยศของตุลาการพระธรรมนูญ ไว้ดังนี้
“มาตรา ๓๑ ตุลาการพระธรรมนูญเป็นตุลาการในศาลทหารได้ทุกศาล แต่ต้องมียศทหารตามชั้นศาลดังนี้
(๑) ศาลทหารชั้นต้น ต้องเป็นนายทหารชั้น นายร้อย นายเรือ หรือ
นายเรืออากาศ ขึ้นไป
(๒) ศาลทหารกลาง ต้องเป็นนายทหารชั้น นายพัน นายนาวา หรือ
นายนาวาอากาศ ขึ้นไป
(๓) ศาลทหารสูงสุด ต้องเป็น
(ก) นายทหารชั้นพันเอก นาวาเอก หรือนาวาอากาศเอก ซึ่งรับเงินเดือนอัตรา พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ หรือนาวาอากาศเอกพิเศษ
(ข) นายทหารชั้นนายพล”
ส่วนในเรื่องชั้นยศของตุลาการที่ไม่ใช่ตุลาการพระธรรมนูญนั้น
ในมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๓๒ ในศาลทหารชั้นต้น ตุลาการซึ่งมิใช่ตุลาการพระธรรมนูญต้องมียศทหารสูงกว่าหรือเท่าจำเลยที่มียศทหารสูงสุดยศจำเลยให้ถือในขณะฟ้อง”
“มาตรา ๓๓ ในศาลทหารชั้นต้นถ้าไม่มีนายทหารที่มียศสมควรเป็นตุลาการครบองค์คณะ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามความในมาตรา ๓๐ จะแต่งตั้งนายทหารที่เห็นสมควรเป็นตุลาการก็ได้”
นอกเหนือไปจากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ยังมีมาตรา ๓๔ กล่าวถึงเรื่องการแต่งตั้งตุลาการสำรองมานั่งพิจารณาคดี เพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ตุลาการ
ไม่ครบองค์คณะในขณะหนึ่งขณะใดในการพิจารณาคดี ซึ่งผู้ที่จะเป็นตุลาการสำรองได้จะต้องได้รับแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ ตามมาตรา ๓๐ เช่นเดียวกับตุลาการปกติด้วย
การจัดอาวุโสในองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ บทบัญญัติในมาตรา ๓๕ บัญญัติว่า “ให้ตุลาการที่มีอาวุโสสูงสุด เป็นประธานในการพิจารณาพิพากษา”
ซึ่งในทางปฏิบัติเรียกว่า “ประธานตุลาการ” โดยประธานตุลาการอาจเป็นตุลาการ
พระธรรมนูญก็ได้ การพิจารณาว่าผู้ใดมีอาวุโสสูงสุดก็ย่อมเป็นไปตามหลักการจัดลำดับอาวุโส ตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดลำดับอาวุโสข้าราชการทหาร
พ.ศ.๒๕๒๗
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ มาตรา ๒๕ บัญญัติถึงอำนาจตุลาการนายเดียว และตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว ไว้ดังนี้
“มาตรา ๒๕ ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ตุลาการนายเดียวมีอำนาจ
(๑) ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่น
(๒) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
ถ้าตุลาการนั้นเป็นตุลาการพระธรรมนูญ ก็ให้มีอำนาจทำการไต่สวนหรือสืบพยานได้ด้วย”
มาตรา ๒๕ นี้เปรียบเทียบได้กับอำนาจผู้พิพากษานายเดียว ตาม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ โดยได้ให้อำนาจตุลาการที่มิใช่ตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว มีอำนาจ ๒ ประการ คือ ในเรื่องการออกหมายประการหนึ่ง และในเรื่องการออกคำสั่งอีกประการหนึ่ง
สำหรับตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว นอกจากจะมีอำนาจตามมาตรา ๒๕ (๑) และ (๒) ดังกล่าวแล้ว ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง ยังบัญญัติให้มีอำนาจเพิ่มขึ้นอีกสองประการ คืออำนาจในการไต่สวนและอำนาจในการสืบพยาน ซึ่งเป็น
การดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw