Jump to content


Photo
- - - - -

ศาลทหาร มีผู้พิพากษา เป็นทหารหน่วยไหนครับ


  • Please log in to reply
59 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 ท่าประดู่

ท่าประดู่

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 32 posts

ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:31

คุณท่าประดู่ อย่าไปกังวลเลยครับ ศาลทหารท่านก็แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย
เหมือนศาลพลเรือนครับ มีศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา เหมือนกัน

ที่เขาประกาศให้บางเรื่องไปขึ้นศาลทหารนี่ เพราะขณะนี้มันอยู่ในห้วงเวลาที่เขาประกาศ
กฎอัยการศึกครับ เขาจึงคงพิจารณาว่าเรื่องไหนที่มันล่อแหลม กระทบต่อความมั่นคงของ
ประเทศให้ไปขึ้นศาลทหาร

มันมีผลตั้งแต่เขาประกาศครับ ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงคดีก่อนหน้าประกาศ เพราะฉะนั้นเมื่อ
เขาประกาศแล้วก็ไม่ควรไปทำอะไรที่มันเป็นการฝ่าฝืน ถ้าไม่อยากขึ้นศาลทหาร เท่านั้นเอง
คิดว่าเขาใช้เฉพาะในห้วงเวลานี้เท่านั้นครับ เมื่อเหตุการณ์มันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกอย่าง
มันก็คงกลับมาเหมือนเดิม


ครับ ขอบคุณครับที่เข้าในเจตนา
ผมแค่ กังวล อสส. ซึ่งเป็นน้ำบ่อสุดท้ายของใครหลายคน
เพราะ อสส. ของศาลทหาร เราๆ พลเรือน จะห่างไกลกันมาก

#52 galaxy2

galaxy2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,063 posts

ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:06

 

คุณท่าประดู่ อย่าไปกังวลเลยครับ ศาลทหารท่านก็แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย
เหมือนศาลพลเรือนครับ มีศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา เหมือนกัน

ที่เขาประกาศให้บางเรื่องไปขึ้นศาลทหารนี่ เพราะขณะนี้มันอยู่ในห้วงเวลาที่เขาประกาศ
กฎอัยการศึกครับ เขาจึงคงพิจารณาว่าเรื่องไหนที่มันล่อแหลม กระทบต่อความมั่นคงของ
ประเทศให้ไปขึ้นศาลทหาร

มันมีผลตั้งแต่เขาประกาศครับ ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงคดีก่อนหน้าประกาศ เพราะฉะนั้นเมื่อ
เขาประกาศแล้วก็ไม่ควรไปทำอะไรที่มันเป็นการฝ่าฝืน ถ้าไม่อยากขึ้นศาลทหาร เท่านั้นเอง
คิดว่าเขาใช้เฉพาะในห้วงเวลานี้เท่านั้นครับ เมื่อเหตุการณ์มันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกอย่าง
มันก็คงกลับมาเหมือนเดิม


ครับ ขอบคุณครับที่เข้าในเจตนา
ผมแค่ กังวล อสส. ซึ่งเป็นน้ำบ่อสุดท้ายของใครหลายคน
เพราะ อสส. ของศาลทหาร เราๆ พลเรือน จะห่างไกลกันมาก

 

ศาลทหาร ไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา ครับ และไม่มีการประกันตัว ไม่มีรอลงอาญา มีแต่โทษหนึ่งเท่า สองเท่า   และ  ที่ขึ้นศาลทหารนี่ หลักการง่ายๆ หรือ ลงโทษให้เร็วในวิกฤตแบบนี้ เพื่อป้องปราม คนที่คิดจะต่อต้านหรือทำผิดตาม เพื่อรักษาความสงบได้รวดเร็วครับ  นั่นคือหลักการที่แท้จริงของศาลทหารในยามวิกฤติ....ซึ่งดีกว่าไม่มีศาลแน่นอน...ถ้าเป็นคำสั่งจำคุกจาก หน.รัฐฐาธิปัตย์ อันนั้นก็ไม่มีหลักการลงโทษผู้กระทำผิดที่ดีรองรับ


Edited by galaxy2, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:08.


#53 blue

blue

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,979 posts

ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:27

ศาลทหารก็น่าจะมีอุทธรณ์ ฎีกา นะครับ แต่อาจไม่ได้ใช้คำว่า อุทธรณ์ ฎีกา

ผมจำไม่ได้ละว่าเขาใช้คำว่าอะไร รู้สึกว่าจะเป็น ศาลชั้นต้น ชั้นกลาง และ

ศาลสูงสุด อะไรทำนองนี้แหละครับ



#54 alberteno

alberteno

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 285 posts

ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:38

http://www.crma.ac.t...ammanoonsan.pdf - มาตรา 6 ครับ

#55 คนไทยคนหนึ่ง

คนไทยคนหนึ่ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,626 posts

ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:38

ศาลทหารก็น่าจะมีอุทธรณ์ ฎีกา นะครับ แต่อาจไม่ได้ใช้คำว่า อุทธรณ์ ฎีกา

ผมจำไม่ได้ละว่าเขาใช้คำว่าอะไร รู้สึกว่าจะเป็น ศาลชั้นต้น ชั้นกลาง และ

ศาลสูงสุด อะไรทำนองนี้แหละครับ

ในเวลาปรกติมีครับ แต่ตอนนี้อยู่ในช่วงเวลาไม่ปรกติ (ประกาศกฎอัยการศึก)

ไม่มีอุทธรณ์ ฏีกา ครับ ขึ้นศาลเดียวจบเพื่อความรวดเร็วครับ


ประชาธิปไตย คือการที่ฟังเสียงส่วนน้อย แต่ทำเพื่อคนส่วนใหญ่ประชาธิปไตยต้องมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ไม่อย่างนั้นจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ เมื่อไม่มีศีลธรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ระบบประชาธิปไตยนั่นแหละ จะเป็นระบบที่เลวร้ายที่สุด

#56 galaxy2

galaxy2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,063 posts

ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:54

ศาลทหารก็น่าจะมีอุทธรณ์ ฎีกา นะครับ แต่อาจไม่ได้ใช้คำว่า อุทธรณ์ ฎีกา

ผมจำไม่ได้ละว่าเขาใช้คำว่าอะไร รู้สึกว่าจะเป็น ศาลชั้นต้น ชั้นกลาง และ

ศาลสูงสุด อะไรทำนองนี้แหละครับ

ยืนยันครับ  ไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา ในภาวะไม่ปกติ  ศาลเดียวจบ ติดคุกรวดเร็ว  ศาลทหารไม่พอแต่งตั้งศาลพลเรือนทำหน้าที่ศาลทหารได้  คุกทหารไม่พอ ฝากขังคุกพลเรือนได้



#57 zeedzaad

zeedzaad

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,963 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 00:50

ข้อแตกต่างเรื่องวิธีพิจารณาคดีของศาลทหารในเวลาปกติ กับศาลทหาร
ในเวลาไม่ปกติ

ศาลทหารในเวลาปกติ กับศาลทหารในเวลาไม่ปกติ มีวิธีพิจารณาความที่แตกต่างกัน
อย่างไรนั้น ต้องดูจากบทบัญญัติมาตรา ๔๙ และมาตรา ๖๑ โดยบัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๔๙ ศาลทหารในเวลาปกติ ให้อัยการทหาร หรือผู้เสียหาย ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่
ในอำนาจศาลทหาร มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา ...

“มาตรา ๖๑ วรรคสอง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ.... ห้าม
อุทธรณ์หรือฎีกา”

.
.
.
.

“มาตรา ๓๖ วรรคแรก ในเวลาไม่ปกติ คือ ในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงคราม หรือได้
ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลทหารซึ่งมีอยู่แล้วในเวลาปกติคงพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม
อำนาจ แต่ถ้าผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ประกาศ หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้
สั่งตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาใด ๆ
ได้อีก ก็ให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ตามประกาศหรือคำสั่งนั้นได้ด้วย”

บทบัญญัติดังกล่าว ได้ให้ความหมายของคำว่า “ในเวลาไม่ปกติ” ไว้สามประการคือ

๑. ในเวลาที่มีการรบ

๒. ในเวลาที่มีสถานะสงคราม

๓. ในเวลาที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw

#58 winwin191

winwin191

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,520 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:06

ตุลาการศาลทหารก็นายพลของเหล่าทัพนั้นแหละครับนานๆทีจะเห็นระดับพันเอกมาเป็น
คนเก่งเป็นง่าย คนดีเป็นยาก

#59 zeedzaad

zeedzaad

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,963 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:21



๔. ตุลาการศาลทหาร

บุคคลผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีในศาลทหาร เรียกว่า “ตุลาการ” ส่วนในศาลพลเรือนเรียกว่า “ผู้พิพากษา” แต่ก็เป็นผู้มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีและกระทำการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน

๔.๑ ประเภทของตุลาการศาลทหาร

ตุลาการที่พิจารณาพิพากษาคดีในศาลทหาร มี ๒ ประเภท
ประเภทแรก เรียกว่า “ตุลาการ” ซึ่งเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่แต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาทหารของหน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่ของศาลทหารนั้น มาเป็น
องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยตุลาการศาลทหาร พ.ศ.๒๕๒๘ ตุลาการที่มิใช่ตุลาการพระธรรมนูญ ได้แก่ นายทหารชั้นสัญญาบัตรซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่สำเร็จวิชากฎหมาย แต่เข้าร่วมเป็นองค์คณะตุลาการเหมือนเป็นผู้แทนของผู้บังคับบัญชาทหาร มีสิทธิออกเสียงในการพิจารณาพิพากษาได้ ๑ เสียง เช่นเดียวกับตุลาการพระธรรมนูญ การที่ใช้ผู้บังคับบัญชาทหารมาร่วมเป็น
ตุลาการทหารด้วยก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทหารได้ทราบถึงมูลเหตุแห่งการกระทำผิด
มีส่วนพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดตามความเหมาะสม และหาทางป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การปกครองบังคับบัญชาทหาร สมควรให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นตุลาการให้ทั่วถึงกัน ดังนี้ นับเป็นลักษณะพิเศษของศาลทหารที่แตกต่างจากศาลพลเรือนประการหนึ่ง
ประเภทที่สอง เรียกว่า “ตุลาการพระธรรมนูญ” เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยตุลาการศาลทหาร พ.ศ.๒๕๒๘ โดย
ตุลาการพระธรรมนูญ จะเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายตุลาการพระธรรมนูญ ได้แก่ นายทหารชั้นสัญญาบัตรซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป สาขานิติศาสตร์ เป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาและมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยตุลาการศาลทหาร พ.ศ.๒๕๒๘ ตุลาการพระธรรมนูญที่อยู่ในองค์คณะตุลาการเป็น
ผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย

๔.๒ คุณสมบัติตุลาการศาลทหาร

พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๑ บัญญัติในเรื่องคุณสมบัติ พื้นความรู้ และอำนาจหน้าที่ตุลาการพระธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และขณะนี้กระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้แล้ว เป็นข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยตุลาการศาลทหาร พ.ศ.๒๕๒๘ โดยตุลาการพระธรรมนูญ
ต้องมีคุณสมบัติและพื้นความรู้ ดังนี้
​​(๑) เป็นนายทหารสัญญาบัตร
​​(๒) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์
​​(๓) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ขึ้นไป สาขานิติศาสตร์
​​(๔) เป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
​​(๕) รับราชการ และหรือประกอบในหน้าที่ต้องใช้ความรู้
ทางกฎหมายเป็นประจำมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือได้เป็นตุลาการศาลทหารมาแล้ว
​​(๖) มีความประพฤติเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ตุลาการ

๔.๓ การคัดเลือกตุลาการศาลทหาร

กรมพระธรรมนูญจะเป็นผู้คัดเลือกข้าราชการเหล่าพระธรรมนูญที่
รับราชการเป็นอัยการทหาร นายทหารพระธรรมนูญ นายทหารสงเคราะห์ทางกฎหมายและผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ต้องใช้ความรู้ทางกฎหมาย ซึ่งมีความประพฤติเหมาะสมและ
มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ครบถ้วนตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยตุลาการ
ศาลทหาร พ.ศ.๒๕๒๘ ข้อ ๔ จำนวนตามอัตราที่ว่าง แล้วเสนอผ่านคณะกรรมการ
ตุลาการทหาร (กตท.) ให้ความเห็นชอบก่อนแล้วกระทรวงกลาโหมจึงจะออกคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นตุลาการพระธรรมนูญต่อไป
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw

#60 zeedzaad

zeedzaad

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,963 posts

ตอบ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:25

ศาลทหาร ในบางมุมยังให้โอกาสมากกว่าศาลพลเรือน

การตัดสินใช้องค์คณะ






๔.๕ องค์คณะและอำนาจของตุลาการนายเดียวและตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว
การกำหนดองค์คณะตุลาการ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ถึงมาตรา ๒๙ ดังนี้
(๑) ศาลจังหวัดทหารต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย
​(๒) ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นสัญญาบัตร
สองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย
​​(๓) ศาลทหารกลาง ต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นนายพลหนึ่งหรือสองนาย นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศขึ้นไปหนึ่งคือสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสองนาย
​(๔) ศาลทหารสูงสุด ต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือนายทหารชั้นนายพลสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสามนาย
จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น องค์คณะตุลาการศาลทหารนั้น มีลักษณะตายตัวว่า ต้องมีจำนวนกี่นายในแต่ละชั้นศาล ซึ่งต่างไปจากองค์คณะ
ผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ที่ใช้ถ้อยคำว่า “อย่างน้อย” กล่าวคือองค์คณะผู้พิพากษาของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและ
ศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมี
ผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน องค์คณะผู้พิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน
นอกจากนี้ส่วนที่แตกต่างไปจากผู้พิพากษาศาลพลเรือนอีกประการหนึ่ง ก็คือ การกำหนดชั้นยศของตุลาการ ซึ่งตามมาตรา ๓๑ บัญญัติในเรื่องยศของตุลาการพระธรรมนูญ ไว้ดังนี้
“มาตรา ๓๑ ตุลาการพระธรรมนูญเป็นตุลาการในศาลทหารได้ทุกศาล แต่ต้องมียศทหารตามชั้นศาลดังนี้
(๑) ศาลทหารชั้นต้น ต้องเป็นนายทหารชั้น นายร้อย นายเรือ หรือ
นายเรืออากาศ ขึ้นไป
(๒) ศาลทหารกลาง ต้องเป็นนายทหารชั้น นายพัน นายนาวา หรือ
นายนาวาอากาศ ขึ้นไป
(๓) ศาลทหารสูงสุด ต้องเป็น
​(ก) นายทหารชั้นพันเอก นาวาเอก หรือนาวาอากาศเอก ซึ่งรับเงินเดือนอัตรา พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ หรือนาวาอากาศเอกพิเศษ
​(ข) นายทหารชั้นนายพล”
ส่วนในเรื่องชั้นยศของตุลาการที่ไม่ใช่ตุลาการพระธรรมนูญนั้น
ในมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๓๒ ในศาลทหารชั้นต้น ตุลาการซึ่งมิใช่ตุลาการพระธรรมนูญต้องมียศทหารสูงกว่าหรือเท่าจำเลยที่มียศทหารสูงสุดยศจำเลยให้ถือในขณะฟ้อง”
​“มาตรา ๓๓ ในศาลทหารชั้นต้นถ้าไม่มีนายทหารที่มียศสมควรเป็นตุลาการครบองค์คณะ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามความในมาตรา ๓๐ จะแต่งตั้งนายทหารที่เห็นสมควรเป็นตุลาการก็ได้”
นอกเหนือไปจากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ยังมีมาตรา ๓๔ กล่าวถึงเรื่องการแต่งตั้งตุลาการสำรองมานั่งพิจารณาคดี เพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ตุลาการ
ไม่ครบองค์คณะในขณะหนึ่งขณะใดในการพิจารณาคดี ซึ่งผู้ที่จะเป็นตุลาการสำรองได้จะต้องได้รับแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ ตามมาตรา ๓๐ เช่นเดียวกับตุลาการปกติด้วย
การจัดอาวุโสในองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ บทบัญญัติในมาตรา ๓๕ บัญญัติว่า “ให้ตุลาการที่มีอาวุโสสูงสุด เป็นประธานในการพิจารณาพิพากษา”
ซึ่งในทางปฏิบัติเรียกว่า “ประธานตุลาการ” โดยประธานตุลาการอาจเป็นตุลาการ
พระธรรมนูญก็ได้ การพิจารณาว่าผู้ใดมีอาวุโสสูงสุดก็ย่อมเป็นไปตามหลักการจัดลำดับอาวุโส ตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดลำดับอาวุโสข้าราชการทหาร
พ.ศ.๒๕๒๗
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ มาตรา ๒๕ บัญญัติถึงอำนาจตุลาการนายเดียว และตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว ไว้ดังนี้
“มาตรา ๒๕ ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ตุลาการนายเดียวมีอำนาจ
(๑) ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่น
(๒) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
ถ้าตุลาการนั้นเป็นตุลาการพระธรรมนูญ ก็ให้มีอำนาจทำการไต่สวนหรือสืบพยานได้ด้วย”
มาตรา ๒๕ นี้เปรียบเทียบได้กับอำนาจผู้พิพากษานายเดียว ตาม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ โดยได้ให้อำนาจตุลาการที่มิใช่ตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว มีอำนาจ ๒ ประการ คือ ในเรื่องการออกหมายประการหนึ่ง และในเรื่องการออกคำสั่งอีกประการหนึ่ง
สำหรับตุลาการพระธรรมนูญนายเดียว นอกจากจะมีอำนาจตามมาตรา ๒๕ (๑) และ (๒) ดังกล่าวแล้ว ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง ยังบัญญัติให้มีอำนาจเพิ่มขึ้นอีกสองประการ คืออำนาจในการไต่สวนและอำนาจในการสืบพยาน ซึ่งเป็น
การดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน