Jump to content


Photo
- - - - -

รัฐบาลประชาธิปัตย์มีความพยายามที่จะปฏิรูปในหลายเรื่อง เช่น การกระจายอำนาจ กองทุนเงินออมแห่งชาติ การขยายกองทุนสวัสดิการให้แรงงานนอกระบบ และโฉนดชุมชน...


  • Please log in to reply
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 06:13

เบื้องหลัง เบื้องหน้า – ประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง

December 24, 2013 at 9:55pm

993815_10202809982756809_940471214_n.jpg

 

เหตุผลที่แท้จริงอาจจะสอดคล้อง แต่ไม่ใด้ตรงกับสาเหตุที่มีแรงกดดันจากประชาชนที่ออกมาต่อต้านระบอบทักษิณในท้องถนน

 

การ ตัดสินใจของประชาธิปัตย์ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาโดยการมีส่วนร่วมของอดีต ส.ส.และสมาชิกผ่านทางสาขาทั่วประเทศ ความเห็นของทุกฝ่ายไปในทางเดียวกัน แม้บางคนอาจจะตามกระแสแต่นั่นเป็นผลของวิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้น จากการที่ระบอบประชาธิปไตยถูกบิดเบือนไปเป็นเครื่องมือกอบโกยผลประโยชน์ทาง ธุรกิจแบบผูกขาด

 

วิกฤตนี้เริ่มจากการเมืองที่ล้มเหลวที่ในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา ทั้งการทุจริตคอร์รัปชั่นและนโยบายที่ล้มเหลว ทำให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรงความสูญเสีย เป็นวงจรอุบาทว์ที่ขับเคลื่อนด้วยการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม

 

ภาย ใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีเสียงข้างมากเป็นประวัติการณ์ ธุรกิจการเมืองได้ตอกย้ำให้เห็นว่า พรรคการเมือง นักการเมือง เมื่อได้รับอำนาจและความไว้วางใจจากประชาชนแล้ว กลับไปใช้เพื่อประโยชน์ของครอบครัวและพวกพ้อง วงจรอุบาทว์นี้ต้องแก้ด้วยการปฏิรูป ทั้งการเมืองและด้านอื่นๆ ที่จะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง

 

แม้การทำหน้าที่ ของประชาธิปัตย์ในสภาฯ ได้ชะลอหรือยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นหลายอย่าง และในช่วงที่เป็นรัฐบาลก็ได้มีความพยายามที่จะปฏิรูปในหลายเรื่อง เช่น การกระจายอำนาจ กองทุนเงินออมแห่งชาติ การขยายกองทุนสวัสดิการให้แรงงานนอกระบบ และโฉนดชุมชน หรือการริเริ่มให้แก้ไขกฎหมาย เช่น ให้คดีคอร์รัปชั่นไม่มีอายุความ เก็บภาษีที่ดินและทรัพย์สิน เป็นต้น

 

แต่ความเลวร้ายของระบอบทักษิณได้ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาที่ลุกลามไปสู่วิกฤตศรัทธาต่อระบบพรรคการเมืองและระบบรัฐสภาทั้งหมด ทำให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.มิอาจตอบโจทย์ของประเทศได้ การ เลือกตั้งจะไม่ชอบธรรมหากมีคนมาใช้สิทธิน้อยหรือ “โหวตโน” มาก ประชาธิปัตย์เข้าไปในสภาฯ ก็จะเป็นเพียงเครื่องมือในการยืดอายุระบอบทักษิณ

 

ก่อนการตัดสินใจ ประชาธิปัตย์ได้พยายามที่จะใช้การเลือกตั้งเป็นทางออก โดยเสนอตัวให้พรรคเป็นเครื่องมือของการปฏิรูป

 

มี การทาบทามบุคคลที่ประชาชนจะเชื่อมั่นว่าสามารถนำการปฏิรูปได้ ให้มาอยู่บนบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 เพื่อรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหาก พรรคได้ชัยชนะ โดยจะให้คัดเลือกรัฐมนตรีมาขับเคลื่อนการปฏิรูปได้โดยอิสระ ประชาธิปัตย์จะทำหน้าที่เป็นเสียงข้างมากในสภาฯ ที่จะสนับสนุนให้การปฏิรูปเกิดขึ้น แต่สุดท้ายบุคคลดังกล่าวไม่คิดว่าแนวทางนี้จะเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชน ได้

 

ยังมีการร้องขอต่อพรรคการเมืองอื่นๆ ให้มาร่วมกันแสวงหาหนทางแก้วิกฤตศรัทธา โดยเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน แต่ก็ถูกปฏิเสธ

 

ประชาธิปัตย์จึงต้องเลือกเส้นทางที่ยากและยาว โดยไม่ลงเลือกตั้ง ไม่ขัดขวาง แต่จะออกไประดมสมองเรื่องการปฏิรูปกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อ “หลอมรวมพรรคการเมืองให้เป็นหนึ่งเดียวกับประชาชน” ก่อนกลับมาปฏิรูปประเทศผ่านการเลือกตั้งในอนาคต

 

นับเป็นบทพิสูจน์ว่ายังมีพรรคการเมืองที่ทำเพื่อประชาชนมากกว่าการช่วงชิงอำนาจ ทั้งนี้ ประชาธิปัตย์จะต้องรับสภาพและผลที่ตามมา เพราะการไม่มี ส.ส.จะสร้างข้อจำกัดมากขึ้น อาทิ ข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบรัฐบาลจะหายาก เงินสนับสนุนจาก กกต.จะลดลงมาก

 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเชื่อว่า ถ้าบ้านเมืองปกติ ลงเลือกตั้งครั้งนี้ประชาธิปัตย์อาจจะได้คะแนนเสียงมากที่สุดตั้งแต่มีพรรคมา และมีโอกาสที่จะได้จัดตั้งรัฐบาล เพราะจะมีประชาชนเลิกสนับสนุนพรรคเพื่อไทย หลังจากเห็นพฤติกรรมและความล้มเหลวใน 2 ปีที่ผ่าน

 

แต่ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า จะมีการระดมคนมาต่อต้านทำให้เกิดความขัดแย้ง แล้วการเมืองก็ยังอยู่ในวังวนเดิมๆ 

แม้พรรคประชาธิปัตย์จะแพ้ ก็จะทำหน้าที่ฝ่ายค้านด้วยความเต็มใจและเต็มความสามารถ

 

ด้วย สถานการณ์วันนี้ จำเป็นต้องกอบกู้วิกฤติศรัทธา เพื่อให้ประชาชนหวนคืนมาเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาอีกครั้ง และวันนั้นจะเกิดการปฏิรูปที่ยั่งยืน

 

หากมีการปฏิรูปก่อนวันนั้น ประชาธิปัตย์จะไม่รับตำแหน่งใดๆ ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งในระบบรัฐสภา  

 

หากมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.และ พรรคเพื่อไทยกลับมาบริหารบ้านเมืองในแบบเดิมๆ ก็สุ่มเสี่ยงว่าจะใช้อำนาจรัฐและเล่ห์กลต่างๆ กำจัดฝ่ายตรงข้ามให้ราบคาบ ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และฝ่ายต่อต้านอื่นๆ ที่ได้กล้าหาญแสดงตนต่อต้านระบอบทักษิณในครั้งนี้

 

แม้ ล้างกระดานแล้วรัฐบาลใหม่จะยังขาดความชอบธรรมหากประชาชนไม่ไปเลือกตั้งหรือ โหวตโนกันมาก และคงจะทำสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในเวลาอันรวดเร็ว อาจมีแรงกดดันจากประชาคมโลก อาจมีแรงต่อต้านมากยิ่งกว่าในวันนี้ แต่ผู้กุมอำนาจก็อาจไม่ถอย

 

ก็จะขึ้นอยู่กับความยืนหยัดอดทนของมวลมหาประชาชน และดิฉันเชื่อว่าความดีไม่มีวันตาย

 

ท้ายที่สุด ความเลวร้ายของระบบธุรกิจการเมืองทุนสามานย์จะไม่ยั่งยืน เพราะเศรษฐกิจของประเทศจะไม่มีเหลือให้ปล้น จะยิ่งไปเร็วเพราะขาดการถ่วงดุลจากฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง นโยบายประชานิยมนอกจากจะไม่มีเงินทำแล้ว ยังจะหาเสียงยากเพราะความเชื่อมั่นของคนรากหญ้าจะถดถอย

 

ก่อน ถึงวันนั้น ประชาชนที่เหมาเข่งไม่ไว้ใจพรรคการเมืองทุกพรรคในวันนี้ อาจจะเสียดายหรือตำหนิที่ประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้งครั้งนี้ เขาเหล่านั้นอาจจะกลับมาเห็นคุณค่าของพรรคการเมืองที่เป็นมืออาชีพ และร่วมกันกอบกู้ประเทศผ่านระบบการเลือกตั้งก็เป็นได้

 

# จะลงพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ พุธ 25 ธันวาคม 2557 (น่าจะเป็น 2556)

 

1482968_10202829652568542_842752378_n.jp

 

 

https://www.facebook...202809085454377

 

 

 

มีไพร่เสื้อแดงและแกนนำพรรคเพื่อไทยพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่องว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีแผนการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ

จึงนำมาให้อ่านอีกครั้งหนี่ง เขียนโดย ดร.อานิก อัมระนันทน์.....


Edited by ปุถุชน, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 06:15.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน