Jump to content


ปูหน้าเหียก

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน 2554
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2555 21:52
-----

#75992 ...amplrpoor ที่รัก ช่วยอ่านและวิจารณ์นี่หน่อย หนักกว่าผมนะ...

โดย Bourne on 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 - 10:18

ไม่มีทางที่ประวัติศาสตร์จะบันทึกว่า "อภิสิทธิ์สั่งฆ่าประชาชน 91 ศพ" หรอก เพราะใคร ๆ ทั้งประเทศเค้าก็รู้กันทั้งนั้นว่า ไอ่พวก hia แดง ที่ตาย ๆ นั้นทำจานไรอะไรกันมามั่ง แถมโดนไอ่เหลี่ยมจ้างพวกเดียวกันมายิงกะบานกันเองอีก หรือถ้าทั่นxxxx จะเชื่อว่า อภิสิทธิ์ สั่งฆ่าคนจริง ๆ ผมก็ว่า ที่เค้าว่าทั่นว่า โง่ หรือ ควาย ก็สมควรแล้ว

ขอถามด้วย แล้วที่ตายกันหลายร้อยคนที่ ตากใบ กรือเซะ จะขอบันทึกประวัติศาสตร์ว่า ไอ่ xxxx เหลี่ยม สั่งฆ่านี่จะได้มั้ย แล้วชาวบ้านที่ตายนั้นเค้าทำอะไร ไอ่xxxx เหลี่ยม ถึงต้องสั่งฆ่า


#61683 ไทยทุบสถิติส่งออกข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์

โดย baezae on 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 13:40

โปกลุกจะชมรัฐบาลอภิสิทธิ์ใช่มะ?

ผลผลิตที่ส่งออกได้จนถึงปัจจุบันน่ะ เป็นนาปีของปีที่แล้ว กับนาปรังขอปีนี้นะจ๊ะโปกลุก ทั้ง ๒ ช่วงอยู่ในรัฐบาลก่อนหน้า

ส่วนผลผลิตของนาปีปีนี้น่ะ ขายปีหน้าจ๊ะ จนปัจจุบันข้าวเสียหายไปกว่า ๑๐ ล้านตัน เกือบครึ่งของผลผลิตทั้งปีในปีก่อนนะจ๊ะ


#51981 เทพ/ฮุน เค้าคุยเรื่องอะไรกัน

โดย สมชายสายชม on 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 18:37

Posted Image



Posted Image


Posted Image


Posted Image



Posted Image


Posted Image



Posted Image


#47219 เทพ/ฮุน เค้าคุยเรื่องอะไรกัน

โดย สมชายสายชม on 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 00:30

Posted Image



Posted Image



Posted Image



Posted Image



Posted Image


#49183 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย ศรอรชุน on 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 11:30

สังเกตการให้ข้อมูลบิดเบือนของคนเสื้อแดงแล้วส่วนใหญ่จะมี 2 ประเภท คือ
๑. ทำเป็นข้อความสั้นๆ กะทัดรัด จดจำง่ายเอาไว้ให้สาวกท่องจำ เช่น "เมียซื้อ ผัวเซนต์ ผัวติดคุก" , "ทำกับข้าวถูกปลด", "ดีแต่พูด", "กู้มาโกง" ฯลฯ
๒. นำข้อความที่คัดเลือกมาแล้วจากข้อ ๑ มาอธิบายโดยการบิดเบือนหลักกฎหมาย หรือหลักฐานอื่นๆ ให้เป็นบทความยาวๆ อ่านยากๆ ทำความเข้าใจยากๆ ดูแล้วน่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่น ที่ปลายอ้อ กำลังพยายาม (ไม่รู้จริงๆว่าเขียนเอง หรือไปก๊อปมา หรือ ไปก๊อปมาแล้วตัดทอนปรับปรุงบางส่วน :D )

แล้วผลเป็นอย่างไรละครับ ก็มีเสื้อแดงที่ฟังสาวกมาสำรอกให้ฟัง ประเภทแรกก็เชื่อทันที พร้อมกับ ท่องจำต่อๆกันไป (พร้อมที่จะเชื่อทุกอย่างอยู่แล้ว) แต่ถ้าแดงประเภทที่เวอร์ชั่นสูงขึ้นมาอีกหน่อย ก็จะหาข้อมูลมารองรับ แล้วเป็นไงครับ ... นี่ไง ใช่เลย !! ทั้งๆที่บางทีแค่อ่านจั่วหัวบรรทัดเดียว แล้วไปอ่านบทสรุปตอนท้าย อีกหนึ่งบรรทัด... พอใครแย้งให้ฟังก็หาว่าเขาเป็นอำมาตย์ เป็นสลิ่ม...แถไปเรื่อยๆ คิดๆไปกน่าสงสารเหมือนกันครับ :D :P :D


#49126 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย bird on 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:43

จากประเด็นปัญหา..เรื่องคำพิพากษา ประสาชาวบ้าน
มาจบลงที่ ประเด็นปัญหา มติขององค์คณะผู้พิพากษา...

เท่าที่อ่านมาพอจับใจความได้ว่า จขกท โต้แย้งการลงมติขององค์คณะผู้พิพากษาตามมาตรา 184
ไม่ว่าจะเป็น ประธาน หรือ เจ้าของสำนวน ลงคะแนนเป็นคนสุดท้าย และ ข้อความสุดท้ายของ
มาตรา 184 ที่ว่า
ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้าย
แก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า

ขออธิบายอย่างนี้ค่ะ

เริ่มจากการแต่งตั้งองค์คณะผู้พิพากษา ในการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
รัฐธรรมนูญ 2550 ระบุไว้ในมาตรา 219 (วรรค 4) ความว่า
ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะผู้พิพากษา
ประกอบด้วย ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือ
ผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนเก้าคน ซึ่งได้รับ
เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ และให้เลือกเป็นรายคดี

และถ้าจะโต้แย้งว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เชื่อถือไม่ได้ ในรัฐธรรมนูญ 2540 ได้บัญญัติไว้ในหมวด
ที่ 8 (ศาล) ส่วนที่ 3 ว่าด้วยศาลยุติธรรม ในมาตรา 272 ความว่า

มาตรา ๒๗๒ ศาลยุติธรรมมีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติ
ไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้หรือตามกฎหมายอื่นให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่ง
ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวนเก้าคน ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลง
คะแนนลับ และให้เลือกเป็นรายคดีอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองและวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญนี้และในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง

ดังนั้น ประเด็นที่ว่า ทำไมต้องมีองค์คณะผู้พิพากษา 9 คงตกไป ไม่น่านำมาเป็นประเด็นโต้แย้ง

หลังจากแต่งตั้งองค์คณะผู้พิพากษาตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว องค์คณะผู้
พิพากษาทั้ง 9 ท่านจะเลือกประธานองค์คณะผู้พิพากษา จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการพิจารณา
คดี โดยยึดหลักระบบการไต่สวน ภายใต้ พรบ. วิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ประเด็นก็ไม่น่าจะมีปัญหาให้ต้องชีแจงมากกว่านี้

ที่นี้ในประเด็น การพิพากษาและคำวินิจฉัย รัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 278 (วรรคแรก)
ความว่า

การพิพากษาคดีให้ถือเสียงข้างมาก โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำความเห็น
ในการวินิจฉัยเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ

แล้วก็ใน รัฐธรรมนูญ 2540 ก็ได้บัญญัติในประเด็นการพิพากษาไว้ใน มาตรา 311 ความว่า

“การพิพากษาคดีให้ถือเสียงข้างมาก โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำ
ความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ


แปลความว่า ทั้ง 2540 และ 2550 บัญญัติไว้เหมือนกันคือ องค์คณะทั้ง 9 ท่านต้องมีความเห็น
ก่อนการประชุมลงมติ (ประธานองค์คณะ คือ 1 ในองค์คณะผู้พิพากษาเช่นเดียวกัน)

ที่นี้ก็มาถึงประเด็นการลงมติ ตาม ป.วิอาญา มาตรา 184 ที่ว่า

ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้า
ผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออก
ความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็น สุดท้าย

การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก

ถ้าในปัญหาใดมีความ เห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้างมากมิได้
ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอม เห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็น
ผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า

คือ การแถลงคำวินิจฉัยส่วนตัวขององค์คณะผู้พิพากษาตามมาตรา 278 ของรัฐธรรมนูญ 2550 หรือ ตาม
มาตรา 311 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่ใช่มาลงมติกันสด ๆ วันนั้นเดียวนั้น

แต่เป็นการมาสรุปว่าแต่ละท่านมีคำพิพากษาส่วนตัวว่าแต่ละประเด็นในคำฟ้องผิดหรือไม่ผิด..
ในประโยคที่ว่า

" หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน
ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็น สุดท้าย "

หมายความว่า ในการประชุมเพื่อลงมติ ให้ผู้พิพากษาแต่ละท่านแถลงคำวินิจฉัยที่ละท่าน โดยประเพณี
ส่วนใหญ่จะเริ่มจากผู้พิพากษาทีมีอาวุโสน้อยที่สุด เรียงตามลำดับ ประธานที่ประชุม ถือเป็นตำแหน่ง
ใหญ่ที่สุดในที่ประชุม จึงสมควรแถลงคำวินิจฉัยเป็นท่านสุดท้าย

ตัวอย่างเช่น...ในที่ประชุมของบริษัท ส่วนใหญ่ บรรดาหัวหน้าแผนก ก็จะแสดงความเห็นต่าง ๆ ตาม
ความคิดเห็นของแต่ละคน สุดท้ายเจ้าของบริษัทถึงจะแถลงความเห็น เพราะอะไรรู้มั้ย

เพื่อจะได้ตัดปัญหา ข้อครหาว่า ลงมติเอาใจเจ้านาย ไง ในประเด็นนี้ก็คล้ายกัน ประธานแถลงคำวินิจฉัย
เป็นท่านสุดท้ายเพื่อจะได้ไม่มีข้อกล่าวหาว่า วินิจฉัยเอาใจประธาน รัฐธรรมนูญถึงกำหนดว่าแต่ละท่าน
ต้องมีคำวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนการลงมติ เพื่อเป็นหลักฐานการวินิจฉัย ไม่ใช่มาวินิจฉัยในวัน
ประชุมลงมติ

ส่วนที่ว่า หากหาเสียงข้างมากมิได้ ตามหลักจริยธรรมคือ ใช้หลักให้คุณต่อจำเลย ส่วนใหญ่ปัญหาจะ
เกิดในกรณีมีผู้พิพากษาในองค์คณะฯ ลาออก หรือ ถอนตัว ระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งโดยปกติจะไม่มี
การแต่งตั้งใหม่ ก็จะทำให้มีจำนวนองค์คณะเป็นเลขคู่ ที่อาจจะมีคำวินิจฉัยส่วนตัวออกมาเท่า ๆ กัน
ประเด็นนี้ให้ใช้หลักกฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย...คือ

ถ้าวินิจฉัยว่า...ยกฟ้อง...เท่ากับ มีความผิด....ให้ถือว่ายกฟ้อง แต่ผู้พิพากษาที่มีความเห็นแย้งอาจนำ
สำนวนคำพิพากษารวบเข้าไว้ในสำนวนได้

ถ้าวินิจฉัยว่า...มีความผิด ด้วยเสียงข้างมาก และกำหนดบทลงโทษไว้แตกต่างกัน เช่น

ให้ลงโทษสูงสุด 10 ปี 4 ท่าน และให้ลงโทษ 2 ปี 4 ท่าน ก็จะถือว่า มีความผิดและให้ลงโทษ 2 ปี

ที่นี้ในประเด็นของ ที่ดินพิพาท พิพากษาว่าผิดด้วยเสียงข้างมาก ประเด็นเดียวเท่านั้น คือ มีความผิด
ตาม พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พศ. 2542 มาตรา 100 และ
มีบทกำหนดโทษ ตาม พรบ. มาตรา 122

ถ้ายังไงลองไปหาคำวินิจฉัยส่วนตัวของทั้ง 9 ท่านมาอ่านและวิเคราะห์ดู

หวังว่าข้อมูลข้างต้น จะให้ความกระจ่างได้บ้าง


#49106 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย Ixora on 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:32

“ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า” อีกด้วย

ท่านผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนผู้ทำหน้าป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้าย ต้องถูกผูกมัดให้ปฎิบัติด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้นี้ ให้จำต้องลงมติว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด เพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน จะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม


คะแนน 5 - 4 จึงเท่ากับว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะขัดต่อ รธน. 50 มาตรา 39 วรรคสอง และ ป.วิอาญา 227 และ 184

ตัวบทมาตรา 184 ที่ว่า “...ให้เจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพาทที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย...
ถ้าในปัญหาใด มีความเห็นแย้งกัน…” ดังนี้ เป็นเหมือนบังคับให้ท่านผู้พิพากษา ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 184 ไม่มีข้อยกเว้น


คุณเป็นคนเขียนบทความชิ้นนี้ หรือ คัดลอกมาครับ ถ้าคัดลอกมาก็น่าจะแจ้งที่มาด้วย
http://www.dlo.co.th/node/204

"หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน
ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย
ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก"


ประเด็นอยู่ที่ คุณไปเอาส่วนท้ายที่ว่า
"ให้ประธานออกเสียงเป็นคนสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก"

มาเป็นข้ออ้างเพราะว่า เกิดกรณี ก่อนประธานออกเสียง นับแล้ว 4 ต่อ 4
จึงอ้างว่า "การวินิจฉัย (ออกเสียง) ของประธานให้ถือตามเสียงข้างมาก
เพื่อจะได้ออกมาเป็นผลการวินิจฉัยสรุปอย่างที่คุณ "ตั้งธง" คือ 5-4

ซึ่งหมายความต่อไปอีกว่า ต่อให้ก่อนหน้านั้น เป็น 7-1, 6-2, 5-3
หากยึดตามที่คุณว่าแล้วละก็ ประธานก็ต้องยึดตามเสียงข้างมากเท่านั้น
ไม่มีสิทธิมีผลการวินิจฉัยเป็นของตนเองเลยแม้แต่น้อย (คุณเห็นด้วยหรือ?)
ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายของการให้สิทธิเสมอกันในการออกเสียง (โหวต)

ผู้พิพากษาทั้งคณะ แต่ละท่าน มีศักดิ์ และ สิทธิ์ เสมอกันทุกท่านนะครับ
เจ้าของสำนวน ทำหน้าที่เป็นประธาน และมี 1 เสียง เป็นสิทธิ์เฉพาะตนเหมือนท่านอื่นๆ
แต่กฎหมายบัญญัติให้ท่านออกเสียงเป็นคนสุดท้าย แล้วจึงค่อยนับคะแนนเสียงเป็นมติ

เหมือนเดิมครับ เพียงแค่คุณทำตามลำดับที่เขียนไว้ ไม่ต้องยอกย้อน
เอาส่วนท้าย (การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก) มาทำเสียก่อน
เพื่อบังคับให้ผู้ลงคะแนนคนสุดท้าย (ประธาน) ต้องทำตามคะแนนเสียงข้างมากเท่านั้น
ภาษาชาวบ้านก็จะเรียกว่า คนลงคะแนนคนสุดท้ายจำต้อง "ตามน้ำ" อย่างเดียวเลย
ทั้งที่ผลการวินิจฉัยของแต่ละท่านเป็น "สิทธิ" ที่สงวนให้เสมอกันทุกท่านนะครับ

1. หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน (องค์คณะมี 9 ท่าน)
2. ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย (ถามทีละท่าน ได้ผล 4-4)
3. ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย (ประธานลงคะแนนได้เป็น 5-4)
4. การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก (ผลการวินิจฉัย 5-4 ลงมติว่าผิด)

เขาไม่ได้เขียนกฎหมายมาให้ตีความยอกย้อน ซับซ้อน เลย
หากแต่เมื่อเราอยากเลี่ยงบาลี เลี่ยงกฎหมาย เราก็ตีความเพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ตนเสียอย่างนั้น

และผมอยากขอร้องครับ กฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ
การใช้กฎหมายมั่วๆ ไปปลุกปั่นยุงยงคนที่ไม่รู้เรื่อง มันคือการบ่อนทำลายประเทศโดยทางอ้อม
คุณจะด่าใครชั่วช้าเลวทราม หรือไปชุมนุมกี่แสนกี่ล้านคน ถ้าไม่มีใครเดือดร้อนก็ทำไปเถอะผมเฉยๆ
แต่กฎหมายมันเขียนไว้ชัดก็ขอร้องว่าอย่าไปบิดเบือนให้มันเสียไป
โดยอาศัยว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ชัดว่ากฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร




#49104 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย baezae on 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 10:31

ผมขอสรุปประเด็นที่ผมตั้งขึ้น..ในท้ายสุด

เนื่องจากเราคุย .ใน “คนละเรื่องเดียวกัน”อยู่ จึงไม่อาจหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ ซึ่งท่านก็มีข้อมูลอีกด้าน ผมก็มีข้อมูลอีกด้าน และด้วยใจที่ต่างมี “ธง”กันอยู่..จึงไม่เกิดการยอมรับ

ผมขอสรุปสุดท้ายในประเด็นข้อถกเถียงที่ได้ตั้งขึ้น แล้วจะไม่เข้ามาตอบอีกในประเด็นนี้อีกต่อไป.. เพราะยืดยาวเกินไปแล้ว
.........................................................
โดยปกติ ผู้พิพากษา 9 คน ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยยังไม่มีความผิดรธน. 2550 ม. 39 หากมีความสงสัยว่า จำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ 227

ในคดีนี้แม้ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 20 ที่บัญญัติว่า

“การทำคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือพิพากษาคดี ให้ผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษาทุกคน ทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือ พร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ และให้ถือมติตามเสียงข้างมาก ในการนี้ องค์คณะผู้พิพากษาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่ง ในองค์คณะผู้พิพากษาเป็นผู้จัดทำคำสั่งหรือคำพิพากษาตามมตินั้นก็ได้...” ก็ตาม

แต่กลับไม่ปรากฏข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ บัญญัติถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนในการประชุมปรึกษาคดีไว้ ตลอดจนกรณีที่มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้นั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร ?
เหตุนี้ ม. 18 วรรคสอง แห่ง พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ก็บอกว่า

“...ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาใช้บังคับ...โดยอนุโลม

หมายความว่า ป.วิ อาญา ม. 184 มาบังคับใช้ กฎหมายนี้ ไม่ได้บอกผู้พิพากษา 9 คน ออกเสียงพร้อมกันในคราวเดียวกัน เพื่อให้ได้เสียงข้างมาก แต่ให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนทำหน้าที่เป็นประธาน ยังไม่มีสิทธิออกเสียงทันที ต้องไปถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาอีก 8 คนทีละคนว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดหรือไม่ ?

ในวันพิพากษา คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนลงมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดให้จำคุก 2 ปี ก็แสดงให้เห็นว่า ในชั้นนี้ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดแต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด คะแนนเสียงจึงเป็น 4 ต่อ 4 เท่ากัน แย้งกันอยู่


ตอนนี้ จึงเข้าบทบัญญัติแห่งรธน. กับ ป.วิ ที่อ้างไว้ คือต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด และกรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะมีคะแนนเสียงเท่ากัน หาเสียงข้างมากไม่ได้ เป็นไปตาม. 184 ที่ว่า

“ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า” อีกด้วย

ท่านผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนผู้ทำหน้าป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้าย ต้องถูกผูกมัดให้ปฎิบัติด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้นี้ ให้จำต้องลงมติว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด เพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน จะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม


คะแนน 5 - 4 จึงเท่ากับว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะขัดต่อ รธน. 50 มาตรา 39 วรรคสอง และ ป.วิอาญา 227 และ 184

ตัวบทมาตรา 184 ที่ว่า “...ให้เจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพาทที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย... ถ้าในปัญหาใด มีความเห็นแย้งกัน…” ดังนี้ เป็นเหมือนบังคับให้ท่านผู้พิพากษา ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 184 ไม่มีข้อยกเว้น
..................

ผมจบแค่นี้ ครับ

และหากมีข้อความ ถ้อยคำ สำนวนใดของผม ที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจในกับเพื่อนสมาชิกในนี้ ..ผมขออภัย !


มั่วแหลกลาญ แถมเนื้อความไปก๊อปเขามาด้วย เปิดกูเกิลหาคำตรงเป๊ะ ๆ ยังได้

ถ้าอ่านตามมาตรา ๑๘๔ เนื้อความลำดับดังนี้ (ซ้ำรอบที่เท่าไรไม่รู้)

๑. ประธานถามทีละท่าน
๒. ประธานออกเสียงท่านสุดท้าย
๓. วินิจฉัยตามเสียงข้างมาก
๔. หากไม่มีเสียงข้างมาก จึงยกประโยชน์ให้จำเลย โดยฝ่ายที่เห็นว่าผิดต้องยอมฝ่ายที่เห็นว่าไม่ผิด

แต่ปลายอ้อฯ เล่นมั่วเรียงลำดับ ๑-๔-๒-๓ สงสัยว่าเพราะอะไรเลยข้าม ๒ กับ ๓ มาพิจารณา ๔ ก่อน?

ถามว่าเช่นนั้นประธานจะไปอดตาหลับขับตานอนพิจารณาสำนวนทำไม สู้รอให้คณะพิจารณาออกเสียง แล้วออกเสียงตามเสียงข้างมากหรือเสียงด้านไม่ผิดในกรณีเท่ากันไปเลยไม่ดีกว่าหรือ?

เนื้อหากฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน ทำไมถึงตีความว่าต้องยกส่วนขยายมาใช้ก่อน โดยข้ามส่วนหลักที่มาก่อนหน้าไป?

อีกประเด็นคือ ปลายอ้อ ตีความว่า "ผู้พิพากษา" เท่ากับ "ประธาน" ทั้งที่ในเนื้อหาที่บัญญัติไว้ มีทั้งคำว่าประธาน และผู้พิพากษาแยกกันชัดเจน จะบิดเบือนเนื้อหากฎหมายทำไม?


#49060 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย RiDKuN_user on 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:32

”เรียนท่านผู้ดูแลเวป

ท่านลองอธิบาย คำว่า "หาเสียงข้างมากมิได้" คืออะไร ? คือไม่มีเสียงข้างมากใช่หรือไม่ ?

อธิบายคำว่า "ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า" หมายความว่าอย่างไร ?

พูดกันง่ายๆ แบบชาวบ้านๆ

หลักกฎหมายไทย

ถ้าสิ่งใดยังเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยในคดี
ศาลจะยกประโยชน์ให้จำเลย เพราะผู้พิพากษาท่านก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย ท่านดูตามหลักฐานเอกสาร

ถ้าท่านอ่าน มาตรานี้ให้จบ
กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ถ้ามีเสียงเท่ากัน ก็ถือว่าเป็นเหตุแห่งความสงสัย ไม่เป็นเอกฉันท์

ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน (ประธาน) ต้องยอมเห็นคล้อยไปกับผู้พิพากษาที่มีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า..

เพราะยังเป็นข้อสงสัย ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย

ผมมีความเห็นดังนี้ ท่านว่าอย่างไร ?

ปล.ผมไม่ใช่คนรักทักษิณ แต่ผมเห็นใจทักษิณ


ต้องยอมรับว่า ท่านมั่วกฎหมายได้เก่งจริงๆ

หาเสียงข้างมากมิได้ ก็คือ ได้เท่ากันนั่นแหละ
แต่นั่นมันต้องพิจารณาจากเสียงขององค์คณะทั้งหมดหลังจากลงมติแล้ว
ไม่ใช่ไปหักเสียงของเจ้าของสำนวนทิ้งแล้วบอกว่าได้เท่ากัน

คุณพยายามจะแถว่าได้ 4-4 เลยต้องใช้วรรค 2 มาช่วย
ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะเจ้าของสำนวนยังไม่ลงมติ ไอ้ 4-4 นั่นก็ไม่ใช่ผลการลงมติ
ผลการลงมติคือ 5-4

และหลักสำคัญคือ ผู้พิพากษาทุกคน ต้องมีความเห็นของตัวเองนะครับ
ไม่ใช่ประธานไปดูคำตอบของ 8 คน แล้วค่อยกลับบ้านไปเขียนคำวินิจฉัยของตัวเอง
อันนั้นมั่วครับ

การยอมตาม โดยปกติ ผู้พิพากษาส่วนน้อย ก็ยอมตามเสียงส่วนมากอยู่แล้ว
คือก็มีความเห็น มีคำวินิจฉัยส่วนตนเหมือนกัน แต่ว่าก็ยอมตามเสียงส่วนใหญ่
ถึงแม้จะขัดกับคำวินิจฉัยของตัวเองก็ตาม

และการยอมตามในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ยอมมีคำวินิจฉัยไปในทางอื่นนะครับ
คำวินิจฉัยส่วนตนยังคงอยู่ทุกคน แต่ว่ายอมให้ทำตามมติของเสียงส่วนใหญ่

แต่ถ้าเท่ากันจริงๆ จึงจะใช้วรรค 2 คือให้ดำเนินการไปในทางที่มีผลเสียน้อยกว่า
และต้องย้ำว่า เท่ากัน จะต้องพิจารณาจากองค์คณะทั้งหมด

ไม่ใช่ลงมติยังไม่เสร็จ ก็ทะลุกลางปล้องอ้างวรรค 2 ขั้นมา ทำไม่ได้ครับ
(ดีนะท่านไม่บอกว่าตอนที่ 1-1 ก็ต้องใช้วรรค 2 แล้ว :D)

และหลักใหญ่คือทุกคนจะเขียนคำวินิจฉัยมาเอง แล้วมาสรุปกันในที่ประชุมครับ
ไม่มีการมาดูของคนอื่นแล้วค่อยไปเขียนของตัวเอง

ส่วนเรื่องเหตุแห่งความสงสัย นั่นเป็นเรื่องของการพิจารณาคดีครับ
ไม่เกี่ยวกับการประชุมเลย :D

และผมอยากขอร้องครับ กฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ
การใช้กฎหมายมั่วๆ ไปปลุกปั่นยุงยงคนที่ไม่รู้เรื่อง มันคือการบ่อนทำลายประเทศโดยทางอ้อม
คุณจะด่าใครชั่วช้าเลวทราม หรือไปชุมนุมกี่แสนกี่ล้านคน ถ้าไม่มีใครเดือดร้อนก็ทำไปเถอะผมเฉยๆ
แต่กฎหมายมันเขียนไว้ชัดก็ขอร้องว่าอย่าไปบิดเบือนให้มันเสียไป
โดยอาศัยว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ชัดว่ากฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร


#49053 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย Bourne on 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:26

อ่านแล้ว เวทนา จขกท มาก เสียม้าจริง ๆ หาเหตุผลมาสู้ไม่ได้ยัดข้อหาให้ฝ่ายตรงข้ามว่าตีความกฎหมายเพี้ยนซะงั้น ต้องตีความแบบตรูเท่านั้นถึงจะถูก เท่าที่ดู ม 184 เค้าก็ปฏิบัติตามตัวอักษรเด๊ะ ๆ ตามที่เพื่อนสมาชิกอธิบายมา มันจะไปยากตรงไหน คำตัดสินคดีนี้ก็มีที่มาที่ไปทุกมุม เอาอคติที่บังตาออก แล้วยอมรับเสียเถิดครับว่า ไอ่เหลี่ยม มันผิดจริง

สุดท้ายจำไว้เป็นอุทาหรณ์แล้วกันครับ การที่คุณเขียนบทความได้เกิน 3 บรรทัดนั้น ในเว็บบ้าน(ขี้)ราด อาจถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ ได้รับแต่คำอวยซึ่งเป็นเพียงมายาเท่านั้น แต่เวลาคุณมา เสรีไทย คุณต้องพก ข้อมูลและเหตุผล มาด้วยครับ คุณจึงจะสามารถยืนอยู่ในสังคมนี้ได้ ก็สู้ ๆ นะครับ กระทู้หน้าอาจทำได้ดีขึ้น


#48914 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย Torres_No9 on 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 03:17

ผมว่า ควรต้องเผา ม.184 ทิ้งแล้วล่ะ อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ เหมือนหัวหลักหัวตอ
เพื่อจะไม่ให้มีคนบัดซบ หน้าด้านๆ ต้องคอยมาตีความให้กฎหมาย "เพี้ยน"อีก

อามิตตาพุทธ !

ผมจบนะ ..ยอมจริงๆ !


ผมว่าคุณไม่ต้องไปเผา ม.184 หรอกครับ ผมว่าคุณเอาหนังสือประมวลกฏหมายไปทำบุญตามห้องสมุดต่างๆ ดีกว่า
แล้วคุณค่อยเผาตัวเองตาย รับรองชาติหน้าด้วยผลบุญนี้จะทำให้คุณมีความรู้ความสามารถในทางกฏหมายแบบปกติชน
ที่เค้าเข้าใจกันได้ ไม่ใช่เข้าใจแบบมั่วๆ ผิดๆ แบบที่คุณเป็นอยู่ในชาตินี้ ++


ผมนี่แหละ
กระจอกที่สุดในเวปบ้านราษฎร์


ตั้งแต่คุณเข้าเสรีไทยมา ผมว่านี่หล่ะข้อมูลที่จริงที่สุด
ที่ "คุณปลายอ้อกอแขม" สื่อสารกับคนเสรีไทย
"กาก" สมคำเล่าลือจริงๆ ครับ ++


#46914 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

โดย JUR1ST on 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21:58

พวกมันก็ชอบเอาวาทะมาพูดว่าทำไมทักษิณผิดแล้วพจมานไม่ผิด กรณีนี้ทักษิณมันเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะนั้นแต่พจมานไม่ได้เป็น ดังนั้นทักษิณจึงกระทำการครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย ปปช. แต่เมื่อพจมานไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงไม่มีความผิด ถ้าให้พจมานมีความผิดตามมาตรานี้สิถึงจะไม่เป็นธรรม

มีการอ้างมาตรา 184 ของ ป.วิ อ. อีก การพิจารณาคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมี พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ การอ้างมาตรา 184 ของ ป. วิ อ. มาเบี่ยงเบนจึงเป็นเรื่องไม่เข้าท่า

จริงๆ แล้วทักษิณจะให้บริษัทในเครืออย่าง SC Asset มาซื้อที่ดินรัชดาก็ได้ แถมไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย แต่คงไปเชื่อที่ปรึกษาทางด้านภาษี (ไม่บอกก็คงรู้ว่าใคร) ว่าถ้าซื้อมาในนามบุคคลธรรมดา ก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาแล้วโอนไปให้กองทุนบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์แล้วจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากกว่า แต่บังเอิญที่ปรึกษาทางภาษีคงไม่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชนก็เลยลืมคิดเรื่องผิดกฎหมาย ปปช. ต่อมาเมื่อผิดไปแล้วทำไงดีล่ะ ก็สร้างวาทกรรมผัวผิดเมียไม่ผิดมาหลอกควายไง

ไอ้เรื่องขัดแย้งทางผลประโยชน์ถึงไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ก็เป็นเรื่องศีลธรรมจรรยาที่ผู้ฝ่าฝืนควรถูกประนามอยู่แล้ว แต่พวกที่เห็นด้วยกับการกระทำอย่างนี้แล้วมาบอกว่าไม่ผิดกฎหมายนี่มันทุเรศมาก แสดงว่าไม่ได้มีสำนึกในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะเลย

เขียนๆ ไปก็รำคาญเหมือนกันว่าเวลาเราตอบคำถามอะไรเราต้องตรวจสอบหลักกฎหมายก่อนที่จะตอบเพราะต้องการที่จะสร้างความกระจ่างให้สังคม แต่ไอ้พวกที่มาตั้งกระทู้โดยใช้แต่ความเชื่อมาปั่นกระทู้แล้วหนีนี่มันอะไรกันวะ เบื่อกับพวกวิวัฒนาการย้อนศรจริงๆ


#37560 ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ดการ์ตูน

โดย SPDZ on 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 20:06

ลอยกระทง...

จับ eNGO ใส่ถุงดำลอยออกอ่าวไทยไปเลย

Posted Image


‎‎ปู จิตกร บุษบา
นางนพมาศปีนี้ : มือซ้ายถือไม้พาย มือขวาถือถุงยังชีพ มีงูกรีนแมมบ้าเป็นสัตว์คู่กาย
สวมชุดไทยทับด้วยเอี๊ยมพีวีซีลุยน้ำได้ รองเท้าบูทเข้าชุด ขี่จระเข้เป็นพาหนะ
มีงบประมาณเป็นมังสาหาร มีบริวารเป็นควาย มีประชาชนที่รอดตายมาช่วยสร้างภาพ


#34926 ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ดการ์ตูน

โดย SPDZ on 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 05:40

อร่อยจัง! .....
(ถูกปาก ถูกใจ eNGO เป็นที่สวดดดด)

Posted Image


#34579 ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ดการ์ตูน

โดย SPDZ on 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21:48

จะวาดมาลงเรื่อยๆ นะครับ

โรงงานลูกค้าโดนน้ำท่วมทั้งไฮเทค ทั้งนวนคร ว่างๆ ครับ T..T