Jump to content


อารยะ

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 มกราคม 2555
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2557 15:09
-----

#120711 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 29 มกราคม พ.ศ. 2555 - 16:34

"พื้นที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม...ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่ยังไม่ได้รับเงินชดเชย
พืชสวน พืชไร่ และยังถูกน้ำท่วมขังเกิน 70 เซนติเมตร
จึงอยากถามว่าทำไมเงินเยียวยา 5,000 บาท จึงจ่ายได้ยาก
แต่เหตุใดเงินชดเชยเยียวยาผู้ชุมนุมทางการเมือง 7.75 ล้านบาท จึงทำได้รวดเร็วภายใน 2 วัน"
http://www.matichon....1&subcatid=0100

โอ๊ย เอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้หรอก
เพราะที่ต้องจ่ายแพงถึงหัวละ 7.75 ล้านบาท และต้องจ่ายเร็ว มันสมราคาเพราะเขาเดินทางลงมาทำหลายจ๊อบ

จะจาระไรใหเดู ฟังนะ
เริ่มจากมากดดันรัฐบาลให้ยุบสภานับแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553
แต่ครั้นรัฐตอบตกลง 28 ปลายเดือนนั้น ทางเราพรรคเพื่อไทยจำเปลี่ยนจ๊อบให้เขายึดราชประสงค์ชุมนุมขับไล่รัฐบาล
ไม่ยุบไม่แย๊บแล้วสภา เรื่องมันจึงยืดเยื้อและน่าเห็นใจพวกเสื้อแดงที่ต้องทำงานยากขึ้น
เพราะงานใหม่เป็นการสร้างสถานการณ์ให้ถึงเลือดถึงเนื้อ
จนฉากสุดท้าย 19 พฤษภาคม 2553 ก็ต้องให้ถึงตาย เห็นกันจะจะ
นี่คือที่มาของเหตุผลที่รัฐบาลต้องจ่ายแพง เพราะถ้าเราไม่ได้พวกเขาทำตามใบสั่งโพ้นทะเล พรรคเพื่อไทยก็ไม่มีวันนี้
การที่ต้อตรากตรำชุมนุมยาวนานและต้องเข้าฉากที่ห้ามหายใจแล้วจ่ายเร็ว จ่ายแพง
ย่อมต้องเป็นคนละเรื่องกับน้ำท่วม เหตุสุดวิสัย จ่ายถึงหัวละ 7.75 ล้านบาทไม่ได้คร่า


#120643 ความในใจของสไนเปอร์

โดย อารยะ on 29 มกราคม พ.ศ. 2555 - 14:30

รอให้ "มัน" กลับมาก่อน และถ้าได้ใช้กับ "มัน" จะคุ้มค่าที่สุดครับ


#118797 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 27 มกราคม พ.ศ. 2555 - 18:59

ความสามารถในการพยากรณ์ลมฟ้าอากาศได้ก่อนถึง 3-5 เดือนก็เพื่อจะดูว่าจะมีไต้ฝุ่นเข้าปีนี้กี่ลูกในวันไหนของเดือนอะไร
เพื่อจะได้นำมาปรับกับตัวแปรอื่น เช่น วันน้ำขึ้นน้ำลงในแต่ละเดือน
ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการกำหนดตารางควบคุมในการบริหารจัดการน้ำ

จะทำได้ผมไม่ทราบแหล่งที่อาจต้องจ่ายค่าข้อมูลเล็กน้อยมาก เช่น จากนาซ่าที่มีดาวเทียมในการส่งสัญญาณหลากหลายชนิด
ก่อนเจ้าที่ของเขาจะนำภาพถ่ายจากบรรยากาศชั้นต่างๆมาอีดิตหรือย้อมสีเพื่อให้อ่านง่ายขึ้น
เขาจะ edit วันสองวันก่อนส่งมาให้ดูครับ รวดเร็วมาก


#118734 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 27 มกราคม พ.ศ. 2555 - 18:04

ปกคิ 1 กุมภาพันธ์ของทุกปี น้ำในเขื่อนภูมิพลจะไม่เกิน 7,500 ล้านลบ.ม.ครับ

แต่เมื่อเช้านี้ "ปริมาณน้ําเทากับ 11,435.14 ลาน ลบ.ม. (ออกแบบใหกักเก็บน้ําเต็มอางไดปริมาณจํานวน
13,462.00 ลาน ลบ.ม.) ระดับน้ํา สูงกวา ปที่ผานมา 15.24 เมตร" (ตาม link ของ "คุณจอมโจรคิด")

ต้องยอมรับว่าค่อนข้างพิสดาร
ผมยังคิดว่าวันนี้ไม่น่าเกิน 9,000 ล้านคิวบิกเมตร
แต่นี่ฟาดไปมากกว่าวันที่ปูนั่งเมือง (5 สิงหาคม 2554) เพราะวันนั้นแค่ 8 พันล้าน ลบ.ม. ซึ่งมาจากความผิดพลาด
ที่ปล่อยจนปริ่มขอบเขื่อนเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2554 ที่ 13,000 + ล้า่นลบ.ม.


แต่อย่าเพิ่งไปว่าอะไรครับ เพราะตามรายงานนั้นแจ้งว่า "วันนี้เขื่อนภูมิพลจะระบายน้ําเพื่อรักษาระบบนิเวศนและอุปโภคบริโภคจํานวน 58.00 ลาน
ลูกบาศกเมตร" มากกว่านี้ไม่ได้ครับ ถือว่ามีความพยายามจะเอาออกเต็มที่
สรุปว่า เดือนที่ผ่านมา กรมชลฯยังช็อกไม่เสร็จ จนลืมดูแลอย่างใกล้ชิดกว่าควรจะเป็น


#118712 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 27 มกราคม พ.ศ. 2555 - 17:38

ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล ณ วันนี้ ยังเยอะอยู่เลย แถมมากกว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำ

http://www.bhumibold...ort/report1.pdf

หากไม่คิดมาก ปกติภัยแล้งจะเริ่มมาในเดือนกุมภาพันธ์ครับ การเก็บน้ำไว้เผื่อ หากแล้งมากก็ไม่น่าเกลียด กรมชลฯจะทราบ "รูตีน" นี้เป็นประจำทุกปี
ประเด็นคือว่า กรมชลไม่ใช่กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมอุตุกับกรมชลฯดันไม่ค่อยจะประสานข้อมูลกันเท่าไหร่ มันห่วยแตกแบบน่าจับมาซัดก้รซักป้าบ

ที่แน่ๆ วันนี้กรมอุตุมีเทคโนโนโลยีในการพยายกรณ์อากาศได้แม่นยำไม่เกินอาทิตย แต่ที่เราต้องการคือไม่น้อยกว่า 3 เดือน
ถ้าได้ถึง 5 เดือนก็จะไม่มีปัญหา เพราะอย่างที่เห็นๆ ฝนมันตกมาตั้งแต่เมื่อวาน และทางเหนือก็ตก
น้ำในเขื่อนวันนี้มันเท่ากับปลายเดือนกันยายนปีที่แล้ว และหากปีนี้มันเกิดไม่แล้ง เพราะเราไม่รู้มาก่อนสองเดือน
พอรู้อีกที ระบายเท่าไหร่ก็ยังจะล้นเขื่อนอยู่ทุกวันเพราะปริมาณน้ำขาเข้ามันมาไมาหยุดจากลำปิง

นี่ยังดีนะครับ รัฐบาลที่แล้วล้มโครงการสาละวิน ไม่งั้นจะต้องรับน้ำจากเขื่อนในพม่า (ฮัตจี ในแคว้นกะเหรี่ยง
ห่างจากตากไปทางตะวันตก 40 กว่ากิโลเมตร ป่านเขื่อนแม่ลาหลวงที่อยู่ในเขตไทยก่อนไหลงเขื่อนภูมิพลอีกกระแส จะยุ่งกว่านี้ครับ)


#118337 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 27 มกราคม พ.ศ. 2555 - 13:20


วันนี้ทุกคนใน ครม. เพื่อไทยรู้ดีว่า เมืองไทยหลวมตัวตกเป็นหนี้หรือกำลังเข้าสู่วิกฤติการเงินที่เลวร้ายกว่าตอนต้องยืมเงินไอเอ็มเอฟครับ

ดูง่ายๆนะครับ เวลาคนมีเงินมาก การฝากเงินหลายสถาบันเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี หรือลงทุนหลากหลายธุกรรมย่อมมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่าไปทุ่มที่ใดที่หนึ่ง

แต่พอเป็นหนี้ ถ้าใครมีเจ้าหนี้เดียว ต่อให้ต้นสูงเท่าไร ก็ยังดีกว่ามีเจ้าหนี้บานตะไทน ยิ่งกระจายความเป็นหนี้มากเท่าไรก็ซวยมากเท่านั้น

ผมพูดเพื่อให้เห็นว่า เมืองไทยยุครัฐบาลปู เมืองไทยแม้ยังไม่ได้เป็นหนี้ไอเอ็มเอฟ แต่ขณะนี้สถานการณ์เลวร้ายกว่ามากมายแล้ว
ทำไมหรือ เดี๋ยวผมจะเรียนสั้นๆ
แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ต่อให้รัฐบาลปูออกไปในไม่ช้า รัฐบาลใหม่ก็แทบจะไม่เหลือเครดิตที่ไอเอมเอฟจะรับให้ไทยเป็นลูกหนี้
เพราะบัดนาว ความสามารถในการชำระคืนมันมองไม่ค่ยจะเห็นแล้ว

อยากให้อาจารย์เปิดเป็นกระทู้ใหม่ไปเลยครับ

จะให้ชื่อกระทู้นี้ว่า โกร่ง กับการสั่งสมหนี้รัฐรอบใหม่หลังน้ำท่วม ดีไหมครับ
หรือว่าคุณ amplepoor พูดไปหมดแล้ว
อ้อ แต่นั่นพูดถึงบาปของโกร่ง ก็น่าจะเป็นในส่วนที่ BBC ล้มมากกว่า แต่หลังน้ำท่วมนี้ จะเป็นหนี้ประเภทไหน น่าจะคนละพล๊อตกับ BBC และต้มยำกุ้ง
ช่วยกันคุ้ยรอบใหม่ ในอีกกระทู้ก็ดีเหมือนกัน คุณ GOP หายโกรธผมแล้วนะครับ
บอกตรงๆว่าอายจริงๆ เพราะปรากฏว่าคุณ GOP นั้นพูดน่ารักแท้ๆ ไม่น่าต้องถูกกระทบกระเทือนอย่างนั้นเลย

ปู่ยงครับ ผมตกลงเปิดกระทู้ตามที่เรียกร้อง ณ บัดนาว


#118329 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 27 มกราคม พ.ศ. 2555 - 13:12

ขอบคุณคุณ 5555 ที่ทำให้ผมได้ทบทวน และพบว่าผมยิงผิดตัว เป้าใหญ่คือ hentai
แต่ผมเข้าใจผิดเอง เพี้ยนว่า hentai ใช้โลโก้ GOP

ต้องขอขอบคุณคุณ GOP ด้วยซ้ำที่ช่วยตอบ hentai ที่เข้ามากล่าวดูแคลนวงเสวนาว่าเป็นการเห่าหอน

คำย่อของ GOP ที่ผมแปร มีเจตนาพาดพิงถึง hentai หาใช่คุณ GOP ไม่
คำพูดในประเด็นที่ผมเข้าใจผิดนี้ย่อมทำให้คุณ GOP ไม่พอใจแน่นอน ผมขอถอน และกราบขอโทษคุณ GOP ครับ


#118204 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 27 มกราคม พ.ศ. 2555 - 11:58

วันนี้ทุกคนใน ครม. เพื่อไทยรู้ดีว่า เมืองไทยหลวมตัวตกเป็นหนี้หรือกำลังเข้าสู่วิกฤติการเงินที่เลวร้ายกว่าตอนต้องยืมเงินไอเอ็มเอฟครับ

ดูง่ายๆนะครับ เวลาคนมีเงินมาก การฝากเงินหลายสถาบันเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี หรือลงทุนหลากหลายธุกรรมย่อมมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่าไปทุ่มที่ใดที่หนึ่ง

แต่พอเป็นหนี้ ถ้าใครมีเจ้าหนี้เดียว ต่อให้ต้นสูงเท่าไร ก็ยังดีกว่ามีเจ้าหนี้บานตะไทน ยิ่งกระจายความเป็นหนี้มากเท่าไรก็ซวยมากเท่านั้น

ผมพูดเพื่อให้เห็นว่า เมืองไทยยุครัฐบาลปู เมืองไทยแม้ยังไม่ได้เป็นหนี้ไอเอ็มเอฟ แต่ขณะนี้สถานการณ์เลวร้ายกว่ามากมายแล้ว
ทำไมหรือ เดี๋ยวผมจะเรียนสั้นๆ
แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ต่อให้รัฐบาลปูออกไปในไม่ช้า รัฐบาลใหม่ก็แทบจะไม่เหลือเครดิตที่ไอเอมเอฟจะรับให้ไทยเป็นลูกหนี้
เพราะบัดนาว ความสามารถในการชำระคืนมันมองไม่ค่ยจะเห็นแล้ว


#118192 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 27 มกราคม พ.ศ. 2555 - 11:45

.


#117513 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 26 มกราคม พ.ศ. 2555 - 20:24

จริงค่ะ เหมือนจงใจทำเพื่อเอางบฟื้นฟูประเทศ

ไม่น่าเชื่อว่าพรรคที่คนฝากความหวังไว้ซะมาก

กลับนำพาความพินาศหายนะมาให้เท่าเทียมโดยทั่วกัน

สวัสดีคุณรุ้งย้อนหลังครับ
สะดุดที่ว่าเป็นพรรคที่คนฝากความหวังไว้มาก
ผมเป็นคนหนึ่งละที่ไม่ฝาก
ส่วนที่ฝากคุณรุ้งแน่ใจว่าเป็นคนหรือครับ :rolleyes:


#116933 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 26 มกราคม พ.ศ. 2555 - 15:00

เรื่องอย่างนี้อรก 20 ปีก็ยังคุยกันได้ เพราะมหันตภัยจากดินน้ำลมไฟนั้น
กรณีที่มาจากน้ำแฝงเสน่ห์ให้เรียนรู้อย่างเป็นระบบได้ชัดเจนตรงไปตรงมากว่าแผ่นดินไหว พายุ และไฟป่า
เพราะน้ำมีความโอนอ่อนกับสิ่งที่รองรับ ทำให้จับต้องได้ และเวลาเคลื่อนที่ปกติก็ไม่เคยไหลจากที่ต่ำไปหาที่สูง
ที่ว่า 20 ปียังน้อยไป ในหลวงทรงให้พระราชดำริเรื่อง floodways ตั้งแต่ปี 2523, 2528 และ 2538
จนถึงวันนี้ ก็ยิ่งมีเรื่อง floodways ให้พูดได้อีกมากกว่าเก่า เพราะไม่ต้องดูอะไรมา
เส้นทางตรงที่สร้างสนามบินสุวรรณภูมิวันนี้เป็น "airways" แทน "waterways/floodways" ไปเสียแล้ว
นี่คือตัวอย่างเดียวที่ทำให้รัฐบาลปู ต้องมีปัญหากับเทศบาลกรุงเทพฯมหานคร เมื่อสองสามเดือนก่อน
ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ในเมื่อ floodways ถูกบล๊อกไปตั้งแต่ปี 2545


#116907 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 26 มกราคม พ.ศ. 2555 - 14:48

Posted Image
ภาพเมื่อตุลาคม 2554
หลังจากรัฐบาลปูยังคงไม่แก้ไขความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำ
นับแต่วันที่ได้รับโปรดเหล้าเข้าบริหารประเทศ (5 สิงหาคม 2554)
วันนั้น พระองค์ตรัสถึงประเด็นที่จะนำมวลน้ำลงอ่าวไทย โดยทรงนำต้นแบบของคลองลัดโพธิ์มาเป็นอุทาหารณ์
เพียงจะสะท้อนว่า ถึงอย่างไรล้นเกล้าก็ทรงไม่ทิ้งประชาชน


#116571 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 26 มกราคม พ.ศ. 2555 - 08:39

บางคำก้ำกึ่งระหว่างกริยากับคุณศัพท์ หรือกริยาวิเศษ เช่น เมื่อพูดว่า น้ำนิ่ง น้ำเข้า น้ำออก
ยังไม่นับที่ใช้กับนามธรรม เช่น น้ำใจ น้ำคำ
"น้ำแตก" นำมาอธิบายได้อย่างเห็นไม่มีคำใดเหมาะในกรณีของลพบุรีที่ถูกบุกแล้วลพบุรี "แตก" ในที่นี้ "แตก" จึงไม่ใช่กริยาวิเศษ



คุณสมบัติของน้ำยังใช้อุปมากับคุณค่าต่างๆ อาทิ “น้ำใสใจริง” หรือ “น้ำอดน้ำทน” ฯลฯ
และในบรรดาธาตุทั่ง 4 น้ำดูจะโอนอ่อนผ่อนปรนให้กับทุกฝ่ายจนไม่เป็นตัวของตัวเอง จะมีรูปทรงอย่างไรก็ขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ
ขนาดยอมให้ลมหอบไปตกคลายร้อนได้ ให้มนุษย์เก็บกักอยู่ในอ่างขนาดไหนได้ทั้งสิ้น จะดับไฟก็ใช้น้ำ
แต่ก็พร้อมจะเดือด ถ้าเอาไปตั้งไฟ
น้ำเท่านั้นที่ซึมในดินในทรายได้ ลมหรือไฟทำไม่ได้
น้ำอ่อนยังชัดเซาะตลิ่งให้หายไปได้ด้วย ยิ่งถ้ามีลมเป็นใจ (กรณี "storm surge")
น้ำอดทนได้เป็นพันๆปีเพียงจะหยดบนหินให้กร่อน
น้ำมีชีวิต และชีวิตมีไม่ได้ถ้าขาดน้ำ...


#116564 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 26 มกราคม พ.ศ. 2555 - 08:29


บทความพูดถึง "จริตของน้ำ" ฟังดูแล้วก็สมจริงว่า กริยาของน้ำนี้ช่้างมีหลากหลายประบวนท่า
พอดีผมเคยคิดเล่นๆแล้วลองรวบรวมไว้ ไม่ทราบว่าจะครบถ้วนหรือไม่อย่างไร


เริ่มตั้งแต่ น้ำ...

ไหล (จากที่สูงไปที่ต่ำ)

หลาก
ล้าง

ซึม

หยด

หล่อ

เชี่ยว

โอบ

เดิน

หก

ตก

ทะลัก

เอ่อ (มีระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง)

ปริ่ม (ใกล้ล้น)

เท้อ (หลังจากปล่อยให้เอ่อจนปริ่มขอบเขื่อนจะไหลวนกลับเอื่อยๆ)

ท้น (เอ่อย่างเร็ว)

ล้น (หลังจากปริ่มแล้วปล่อยให้ท้น)

บ่า (ไหลข้ามสิ่งกีดขวาง)

เจิ่ง (ไหลมากระจายเป็นบริเวณกว้างกว่านอง)

นอง (ไหลมาแล้วหยุดบนพื้นที่เฉพาะ)

ปะทะ (ทางน้ำไหลมากกว่าสองเส้นพบกัน)

หัก (บ้าน “บางหัก” ใน อ. บางบาล อยุธยา อยู่ตรงจุดที่แม่น้ำสองสายน้ำไหลมาปะทะกันอย่างจัง น้ำเจิ่งเอ่ไปทั่ว)

ค้าง (น้ำบนยอดหญ้าแพรก นัยว่าจิ้งหรีดกินเป็นบาบำำรุงเสียงให้ไพเราะจับใจ)

คั่ง

วน

ท่วม

ขัง

ฉีด

กระจาย

กระเซ็น

กระฉอก

สาด

ซัด

เซาะ

ซึม

พุ่ง

พุ

แตก

บุก

โจมตี

ลด

รั่ว

ขึ้น

ลง

กัด

ชะ

เหือด

แห้ง

พร่อง

ระบาย

อาละวาด

เดินทาง (ท่องไปในมหาสมุทร)

ดัน (มีคนบอกว่าเรือยนต์ติดเครื่องใช้ดันน้ำได้)

เล่น (งูกินหาง คือไหลข้ามไปข้ามมาบนถนนสายเอเชีย)

ตาย (คุณปราโมทย์ ไม้กลัด เอ่ยคำว่า “พฤติกรรมน้ำตาย” เพราะระบบท่อระบายน้ำไม่ดี)


ท่านใดเห็นเพิ่มกรุณาเติมด้วย ขอบคุณครับ



#116513 ปูกับน้ำท่วมปี 2554

โดย อารยะ on 26 มกราคม พ.ศ. 2555 - 05:18

Posted Image
มาดูภาพบนกันอีกครั้งครับ
เส้นกราฟสามสีบอกชัดเจนว่า การจัดการบริหารน้ำในปี 2552 และ 2553 มีความคงเส้นคงว่าในสถานการณ์ทางการเมืองปกติ
คือมีการกำกับนโยบายเพื่อการบริหารจัดการน้ำโดยรัฐมนตรีเกษตรฯที่เข้าใจภารกิจ
ผ่านประสบการณ์ระหว่างเป็นข้าราชการประจำในกรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงมาก่อน คือคุณธีระ วงศ์สมุทร

ปี 2554 เป็นกรณีที่มีความผิดปกติของฤดูกาลในช่วงมรสุมเมื่อมีไต้ฝุ่นเข้ามามากกว่าปีก่อนหน้าสองสามลูก
กรมอุตุต้องรู้ก่อน แต่จะก่อนถึง 3-4 เดือนหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องไม้เครื่องมือ
ซึ่งยังมิเป็นประเด็นสำคัญเท่ากับที่กรมชลต้องรู้แน่นอนว่าระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลสูงกว่าปีที่ผ่านมามากพอสมควร
แต่ไม่ถือว่าผิดปกติแม้ในเดือนที่มีการยุบสภาพฤษภาคม 2554 นี่ผมหมายถึงคุณธีระ วงศ์สมุทรที่รู้ว่าจะเตรียมการระบายน้ำอย่างไร เพราะเท่าที่ผ่านมาในปี 2552, 2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ถือเป็นเรื่องปกติที่จะแจ้งให้เกษตรกรในบางพื้นที่
งดปลูกข้าวในบางช่วงของปี

อย่างไรก็ดี ปี 2554 จนถึงเดือนพฤษภาคม ผมไม่พบว่ามีการแจ้งให้ชาวนางดทำนาปรังช่วงใด
แต่อาจเป็นเรืองภายในที่ไม่ยากจะตกข่าว

อย่างที่กล่าวแล้ว ทางกรมชลฯโดยการประสานกับกรมอุตุนิยมวิทยาย่อมทราบว่า
ระหว่างปลายเดือนกรกฏาคมถึงตุลาาคมปี 2554 จะมีไต้ฝุ่นเข้าอ่วมแน่
เผอิญใครอยู่ใต้เขื่อนหรือประตูระบายน้ำชัยนาทแล้วปลูกนอกฤดูกาลช่วงนั้นคงลำบากแน่
เพราะคงถูกน้ำท่วมก่อนเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จปลายเดือนกันยายน ประมาณนั้น
แต่คงช่วยได้ หากทางรัฐมนตรีเกษตรคนเดิมในรัฐบาลปูจะออกนโยบายผ่านอธิบดีกรมชลฯให้มีการแจ้งงดงดปลูกข้าว
ในภาคกลางทันที เพราะในทางการเมืองน่าจะรู้ตัวว่าจะดำรงตำแหน่งเดิม

การเมืองมีสุญญากาศในเดือนมิถุนายน 2554 ที่เป็นช่วงหาเสียงหลังยุบสภาวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เท่านั้น

ประเด็นที่ว่ารัฐบาลที่แล้วมิได้ระบายน้ำออกจากเขื่อนภูมิพลมิได้เป็นเหตุผลที่ฟังได้
เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันเข้ามามีอำนาจสั่งการได้โดยพฤตินัยตั้งแต่เดือนกรกฏาคม หรือสิงหาคม
อย่าลืมว่า เมื่อนายกฯปูรับโปรดเกล้าวันที่ 5 ระดับน้ำในเขื่อนสูงถึง 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเข้าไปแล้ว
รัฐมนตรีเกษตรก็ถูกวางตัวให้เป็นคนเดิม ไม่มีปัญหาในการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพลผ่านกรมชลฯแต่ประการใด
ถือเป็นงาน "routine" (รูตีน) โดยมีอำนาจรัฐของรับบาลใหม่รองรับ

ส่วนการคาดหมายให้รัฐบาลเก่าแจ้งงดปลูกข้าวในบางพื้นที่ใด ต้องแน่ใจถึงระดับรับประกันผลของนโยบายนี้ในรัฐบาลใหม่
ซึ่งคงไม่มีผู้นำรัฐบาลที่ไหนประกาศให้เกษตกรงดทำนาพร้อมๆกับประกาศยุบสภา

อีกครั้ง พอเลือกตั้งเสร็จวันที่ 2 กรกฏาคม 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีอำนาจพอ
ที่จะขอตรวจสอบกับกรมชลประทานว่าเออ ระดับน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลสูงกว่าปกติแล้ว
ควรระบายได้สักวันละ 20 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มระบายทุกวัน
เพราะขณะนั้นรู้แล้วว่าเดือนนั้น ไม่วันใดวันหนึ่งไต้ฝุ่นเข้าแน่ๆ