Jump to content


aunaun

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2557 14:32
-----

Topics I've Started

เจตจำนงร่วมกันของการเลือกตั้ง : ปัญหาของนิติราษฎร์และสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย

24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 03:22

การเลือกตั้งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ให้เกิดข้อยุติ โดยถือเอาเสียงส่วนใหญ่เป็นความชอบธรรม
แต่การเลือกตั้งในสังคมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกคนในสังคมเห็นว่าการเลือกตั้งสามารถแก้ปัญหาได้ คนในสังคมจึงจะเดินหน้าเข้าคูหากาบัตร
แล้วถ้าเกิดกรณีที่คนกลุ่มใหญ่ในสังคมไม่เห็นว่าการเลือกตั้งสามารถแก้ปัญหาได้ ซ้ำการเลือกตั้งยังเป็นปัญหาด้วย จนคนกลุ่มนั้นปฏิเสธที่จะไปเลือกตั้ง 
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเดินหน้าเลือกตั้งจนสามารถตั้งรัฐบาลขึ้นมาได้ รัฐบาลนั้นยังเป็นรัฐบาลที่เกิดจากเจตจำนงของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยหรือ?
 
ที่ผมอยากแสดงความเห็นเรื่องนี้ มีสาเหตุมาจากการได้ฟังสัมมนามาสามงานสองวันติดกัน และผมได้ข้อสรุปว่า
นักวิชาการเสื้อแดง/นิติราษฎร์/สปป ซึ่งสนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้าเลือกตั้ง 2 กุมภา 57 มาตั้งแต่ต้น "เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย" นั้น
จริงๆแล้วเป็นการรักษาเปลือก แม้จะรู้ว่ามันจะถึงทางตัน พูดให้ถูกคือเขารู้อยู่แล้วว่าจะตัน และหวังว่าจะจบที่รัฐประหารโดยฝ่ายตรงข้าม
ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขให้เสื้อแดงมีความชอบธรรมที่จะลุกฮือ และอาจกลายเป็นสงครามกลางเมือง
 
ประเด็นคือ ผมมองว่านักวิชาการเสื้อแดง/นิติราษฎร์/สปป ไม่มีความเข้าใจเรื่องเจตจำนงของการเลือกตั้ง 
การยอมเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลเพื่อสร้างความชอบธรรมให้การเลือกตั้งเดินหน้าทั้งที่ไม่เป็นไม่ตามเจตจำนงของประชาธิปไตย
เขาบอกว่ารัฐบาลคนกลางฟ้าประทานเป็นรัฐบาลเถื่อนไม่มีทางอยู่ได้ถึงสองเดือน
ผมก็มั่นใจว่าถ้าตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้ง 2 กพ ได้ ก็เป็นรัฐบาลเถื่อนไม่มีทางอยู่ได้ถึงสองเดือนเหมือนกัน
มีตัวอย่างอยู่แล้วว่ารัฐบาลที่ตั้งขึ้นจากการเลือกตั้งโดยที่ฝ่ายตรงข้ามบอยคอตการเลือกตั้งนั้น มักไปจบลงที่สงครามกลางเมืองอยู่เสมอ
ซึ่งหากเกิดขึ้นมาจริงๆ ผมถือว่านักวิชาการเหล่านี้ช่วยกันสร้างมันขึ้นมา
 
ถ้าอย่างนั้นต้องทำอย่างไร
ส่วนตัวผมก็ไม่อยากได้นายกคนกลาง ผมสนับสนุนให้เจรจากัน ให้ได้ข้อสรุปว่าทุกฝ่ายจะกลับเข้าสู่การเลือกตั้ง
โดยมีเงื่อนไขอะไรบ้างก็ต้องประกาศในที่สาธารณะ เช่นจะปฏิรูปกี่เดือน จะแก้รัฐธรรมนูญมาตราไหน
อย่างเลวที่สุดคือตั้งรัฐบาลร่วมกันทุกฝ่ายหลังเลือกตั้ง เพื่อจะได้ไม่เป็นเงื่อนไขของสงคราม
ที่เสนออย่างนี้เพราะผมมองว่า กปปส ก็หมดมุกแล้ว ต่อให้ยิ่งลักษณ์ต้องหลุดจากตำแหน่ง รัฐบาลรักษาการก็ยังเดินแบบทุลักทุเลต่อได้
 
ลงท้ายผมได้ฟังสมศักดิ์ เจียม พูดในงานสัมมนา Marxism วันนี้ โดยเริ่มด้วยการกระหน่ำพรรคเพื่อไทย
ผมขอสรุปให้ฟังว่า สมศักดิ์บอกว่าเห็นด้วยที่จะโมฆะเลือกตั้ง 2 กพ และได้เตือนแล้วว่าให้ยอมเลื่อนการเลือกตั้งออกไป
เพื่อเจรจาให้ ปชป กลับเข้าสู่การเลือกตั้ง เพื่อเป็นการรักษาระบบเอาไว้ ไม่นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่จะทำให้ต้องหยุดการเลือกตั้งไปอีกหลายปี
โดยยื่นเงื่อนไขว่ายิ่งลักษณ์สมควรจะเว้นวรรคทางการเมือง เพราะยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบเรื่อง พรบ เหมาเข่ง
ซึ่งถ้ากรณีนี้เกิดในต่างประเทศ ยิ่งลักษณ์ต้องถูกสมาชิกพรรคโหวตให้ขับออกจากตำแหน่งไปแล้ว แต่นี่เป็นเมืองไทยและพรรคเพื่อไทย
ซึ่งกับกรณีนี้สมศักดิ์เห็นด้วยว่าควรปฏิรูปการเลือกตั้ง ให้นักการเมืองต้องรับผิดทางการเมือง (ไม่ใช่ทางกฏหมาย) ไม่ใช่เป็นเหมือนบริษัทครอบครัว
สมศักดิ์เห็นว่าการเลือกตั้งนี้ควรปล่อยไป คือทำให้เกิดขึ้นตามปกติ เพราะเป็นการเลือกตั้งที่ไม่สำคัญทางยุทธศาสตร์
คือต่อให้เพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลอีก ก็ไม่กล้าแตะหมวดสถาบันกษัตริย์อยู่ดี ฉนั้นอย่าเพิ่งเสี่ยงนองเลือดกับสงครามกลางเมืองตอนนี้
เพราะอีก 10-20 ปีข้างหน้าจะได้นองเลือดกันอยู่แล้ว
 
มีอย่างนึงที่ผมเห็นด้วยกับสมศักดิ์ (แต่สมศักดิ์พูดแบบผ่านๆ) คือใน "อนาคต" เราอาจได้เห็นเสื่อแดง (ปัจจุบัน) ปกป้องสถาบัน
เสื้อเหลือง (ปัจจุบัน) ล้มสถาบัน
 
เพิ่มเติม สมศักดิ์ยังบอกด้วยว่าการอ้าง 20 ล้านเสียง (ที่มีโหวตโน 4-5 ล้าน) เป็นเรื่องตลก
เพราะอีกฝ่ายเขาก็อ้าง 10+ ล้านเสียงได้เหมือนกัน อันนี้ก็จะคล้ายๆกับที่ผมพูดไปข้างบน
เพียงแต่สมศักดิ์เขาถือว่าอยู่ฝั่งแดง เขาจึงเสนอแบบยุทธวิธี

ภาษีคนเมืองกับคนชนบท

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 01:29

ก่อนอื่นต้องขอโทษเนื่องจากพิมพ์จากโทรศัพท์ เลยเอาข้อมูลอะไรมาแปะไม่ได้ ประเด็นคือในช่วงหลังเห็นนักวิชาการแดงหันมาคุยเรื่องภาษี เหมือนจะเป็นการตอบโต้วาทกรรมของเสื้อเหลืองเสื้อหลากสีที่ว่ารัฐบาลเอาภาษีคนเมืองไปให้คนชนบท เราจะเห็นการเปรียบเทียบว่าภาษีมูลค่าเพิ่มมีสัดส่วนมากกว่าภาษีนิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มของคในต่างจังหวัดรวมกันมีมากกว่าคนกรุงเทพ การเปรียบเทียบแบบนี้เป็นการจงใจเบี่ยงประเด็น อย่างแรก ถ้าจะเปรียบเทียบแบบต่อหัว เราก็จะพบว่าคนรวยย่อมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจับจ่ายใช้สอยมากกว่าคนจน ถ้ารวมภาษีนิติบุคคลเข้าไปอีก คนรวยยิ่งจะเสียภาษีมากกว่าคนจน ข้อสอง ถ้าต้องการเปรียบเทียบฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้าน ก็ต้องเอาภาษีในภาตใต้มารวมกับกรุงเทพด้วย ข้อสาม ถ้าต้องการเปรียบเทียบคนเมืองกับคนชนบท ก็ต้องเอาภาษีในอำเภอเมืองของทุกจังหวัดมารวมกับกรุงเทพ ทั้งนี้ตามประสบการณ์ที่พบเจอ คนในอำเภอเมืองจำนวนมากมักเป็น่ายต่อต้านรัฐบาล