Jump to content


แม้ว ม.7

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 21 ธันวาคม 2555
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2557 02:04
*****

#789348 มาดูภาพอัปยศชัดๆ นักแบดไทยไล่ชกกัน!!!

โดย แม้ว ม.7 on 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:41

ตั้งแต่เสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองตัวเองโชว์ฝรั่ง ผมไม่อายอะไรแล้ว




#789345 กระชากหน้ากาก"พญาไม้"ในคราบ โอ๊ค Oak Panthongtae Shinawatra

โดย แม้ว ม.7 on 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:40

ถ้าปูเป็นนายก 2 รอบ 8 ปี ต่อจากนั้นเป็นโอ๊คอีก 2 รอบ ผ่านไป16ปีประเทศไทยคงไม่มีเสื้อแดงแล้วครับ -_-




#789336 ในพันทิปเขาด่าพวกพี่ๆที่สงสัยเรื่องปตท.ว่าฟาย ไม่ควรอยู่ประเทศไทยครับ

โดย แม้ว ม.7 on 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:32

 

 

รสนา โตสิตระกูล

เพื่อนมิตรฟังข้อมูลการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน และการขยับราคาภาคครัวเรือนไปจนกว่าจะเป็นราคาตลาดโลกในที่สุดที่ราคา30.13บาท/ก.ก เหมือนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงทีซื้อแอลพีจีในราคาตลาดโลกที่30.13 บาท/ก.ก ตั้งแต่ปี2555 
 
ในขณะที่ปิโตรเคมีเป็นกลุ่มที่ได้รับการอุ้มชูให้ซื้อแอลพีจีในราคาลด50%จากราคาแอลพีจีตลาดโลก 
 
มีคำถามว่าจะทำอะไรได้บ้าง ดิฉันเห็นว่ากลุ่่มอุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง สามารถฟ้องศาลปกครอง ที่คำสั่งทางปกครองของก.พลังงานเลือกปฏิบัติกับธุรกิจของอุตสาหกรรมอื่น ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะปิโตรเคมีใช้ออลพีจีในราคา 24.82บาท/ก.ก ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นใช้ราคา 30.13บาท/ก.ก เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย เพราะรัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติ แต่ต้องปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

 

เรื่องนี้สาวกแม้วตอบไม่ได้สักคน -_-




#788495 ผมตัดสินใจที่จะงดตอบโต้ด้วยความรุนแรงในห้องราชดำเนินแล้วครับ

โดย แม้ว ม.7 on 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 01:25

ผมกลับรู้สึกว่าคุณกำลังเชื่อ ในสิ่งที่คนพวกนั้นบอกว่าคุณเป็น

และคุณกลับเลิกเชื่อในสิ่งที่คุณคิดมาตลอดว่าตนเองเป็น

จากคำพูดในกระทู้นั้น รวมถึงความเห็นของทุกคนในกระทู้นั้น...

 

 ถูกใจครับ




#788489 เชิญชวนชาวเสรีไทยเข้ามาอวย..วันเกิดท่านนายกทักษิณกันค่ะ

โดย แม้ว ม.7 on 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 00:34

ขอให้ท่านทักษิณเชื่อท่านเฉลิม อยู่บำรุงและทำตามที่ท่านเฉลิมแนะนำทุกเรื่องครับ -_-




#788485 อเมริกาเคยจำนำข้าวและเป็นเหตุให้เสียตลาดข้าวให้ไทย!

โดย แม้ว ม.7 on 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 00:28

ฝรั่งยังเจ๊ง -_-

 

 

วงการค้าข้าวกล่าวขวัญถึงความสำเร็จของวิชัยว่าเกิดจากเหตุประจวบเหมาะพอสมควร เขาเข้าสู่ตลาดข้าวนึ่งแข่งขันโดยตรงกับข้าวนึ่งคุณภาพใกล้เคียงกันจากสหรัฐในเวลานั้น (ก่อนปี 2528) สหรัฐกำลังหน้ามืดตามัวอยู่กับนโยบายล้าสมัยในการส่งออกข้าวโดยการรับจำนองข้าวเปลือกของ COMMODITY CREDIT CORPORATION จากชาวนามาเก็บไว้ในโกดังในราคาสูงลิ่ว ยังผลให้ราคาข้าวส่งออกของสหรัฐสูงกว่าข้าวไทยถึง 2 เท่าตัว ซึ่งในเวลานั้นผู้ส่งออกข้าวไทยก็ถูกกล่าวหาหนักพอสมควรด้วยความเข้าใจผิดว่าตัดราคาขายหั่นแหลก ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วข้าวล้นตลาดโลกต่างหาก

 

ราคาที่ต่ำกว่า และคุณภาพข้าวนึ่งที่เหมือนกันไม่เป็นเรื่องยากเย็นนักที่วิชัยจะแย่งตลาดมาจากข้าวสหรัฐอย่างมากมาย ปัญหาของไรซ์แลนด์ระหว่างนั้นจึงไม่ใช่เรื่องดีมานด์ แต่เป็นเรื่องซัพพลายมากกว่าว่า ทำอย่างไรจึงจะรักษาคุณภาพข้าวนึ่งได้เป็นปรกติและมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ แต่ถึงกระนั้นวงการค้าข้าวก็เชื่อกันว่ากำไรที่ไรซ์แลนด์ได้รับในแต่ละตันจะต้องไม่ต่ำกว่า 20-40 เหรียญสหรัฐทีเดียว หาที่ไหนจะกำไรขนาดนี้

http://goo.gl/V6Ts8

 

คนในวงการข้าวเขาก็เตือนมาแล้วว่า ถ้าลูกค้าไปแล้วเอากลับมายาก

 

อุปนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวอีกว่า อนาคตข้าวหอมมะลิไทย หากรัฐบาลยังดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวต่อไป เราจะเสียตลาดไปอย่างน่าเสียดาย ให้แก่ เวียดนาม และกัมพูชา ยกตัวอย่างการส่งออกข้าวหอมมะลิไปฮ่องกง ปีละประมาณ 3 แสนตัน ปัจจุบันเหลือประมาณ 1.5 แสนตัน ที่หายไปครึ่งหนึ่ง เพราะถูกข้าวหอมของเวียดนาม กัมพูชา แย่งชิงตลาด ไม่ต่างจากที่ตลาดสิงคโปร์ แคนนาดา ออสเตรเลีย

ราคาข้าวไทยที่สูง บังคับให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องลอง เมื่อลองแล้วชอบ ใช้ได้ เห็นว่า ดี และยังราคาถูกกว่า 400 -500 เหรียญฯ ในที่สุดตลาดข้าวไทยก็จะหดตัวลง ยิ่งการจำนำในราคาเดียว ทำให้คุณภาพข้าวหอมมะลิด้อยคุณภาพลง กลายเป็นข้าวเกรดเดียวกันหมด”
http://goo.gl/Sw6yE

 

.....ไหนว่านายกเราเคยเรียรจบจากอเมริการไงครับ ทำไมเรื่องง่ายๆแค่นี้ไม่รู้ <_<




#788409 "แม้ว" ใจป้ำ!! ควักกระเป๋าช่วย "สายัณห์"

โดย แม้ว ม.7 on 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 21:41

คนเสื้อแดง15ล้านคนที่เลือกทักษิณ คงมีคนที่เป็นมะเร็งหลายหมื่นคน...

 

คนเสื้อแดงที่เป็นมะเร็งคนอื่น ต่างกับคุณสายัญยังไงครับ ทำไมทักษิณไม่ช่วยออกค่ารักษาให้ด้วย?




#786196 อินไซด์ต้มยำกุ้ง โดยพี่เตา

โดย แม้ว ม.7 on 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 00:07

อินไซด์ต้มยำกุ้ง โดยพี่เตา บรรยง พงษ์พานิช ตอน 4/7
---------------------------------------------------------

"ต้มยำกุ้ง" .......Episode 4

7 กรกฎาคม 2556

ในที่สุดหนังของเราก็ยืดยาวกว่า ละครคุณชายจุฑาเทพ ที่จะอวสานในคืนนี้

เมื่อวานผมได้สรุปกระบวนการแก้ไขระบบสถาบันการเงินที่ทำให้ระบบหยุดไหล หยุดล่ม ไม่ต้องยึดเข้ามาเป็นของรัฐหมด ถึงแม้จะยังไม่กลับมาขยายตัว เพื่อรองรับ ศก. แต่ใช้เวลาปรับตัวต่ออีกระยะหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา ลองเปรียบเทียบบ้านเพิ่งโดนน้ำท่วมใหญ่ วินาศสันตะโร พอน้ำลดก็จะต้องเก็บกวาด แยกของเน่าของเสีย จัดแจงซ่อมแซมระบบ ไฟฟ้าประปา จัดสร้างเขื่อนกั้น้ำ ้(เช่น ระบบบริหารความเสี่ยง) ฯลฯ ก่อนที่พร้อมจะเข้าไปหาซื้อทรัพย์ใหม่เข้าบ้าน ขยายตัวได้อีกก็โน่นแหละครับ ปี 2544 โดยธนาคารกรุงไทยเป็นหัวหอกบุกตะลุย ทำให้เกิดสภาพแข่งขันขึ้นใหม่

วันนี้จะเล่าถึงกระบวนการด้านองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการกับ บริษัชทเงินทุนที่ถูกระงับกิจการในวันที่ 5 สค.40 รวม 58 แห่ง ซึ่งหลังจากทำหน้าที่พิจารณาแผนที่ทุกคนเสนอเข้ามาแล้วให้ผ่านแค่ 2 แห่ง (เกียรตินาคิน กับ BIC) ปิดถาวร 56 แห่งเมื่อ 8 ธค. 40 แล้ว เลยต้องทำหน้าที่จัดการกับทรัพย์สินที่ติดอยู่ (ส่วนใหญ่เป็น NPL) ประมาณ 850,000 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องค้างคาใจสังคมหลายฝ่ายว่าทำไมต้องรีบต้องร้อนเทกระจาดขายได้เงินเพียง 190,000 ล้านบาท เป็นคดีความยาวนาน มหากาพย์เรื่องหนึ่ง ผมจะขอเล่าในมุมที่ผมรับรู้เข้าใจนะครับ

คณะกรรมการฯ และเลขาธิการฯ คนเดิม พอรู้หน้าที่ว่าต้องรับเผือกร้อนสุดๆ ทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินที่ว่า ท่านก็เลยแสดงความสามัคคีลาออกโดยพร้อมเพรียงกัน ทำให้รัฐบาลต้องไปควานหา อ้อนวอนให้ผู้มีความสามารถมาช่วยสะสางภาระกิจสำคัญนี้ ก็ไปได้ คุณอมเรศ ศิลาอ่อน กับ คุณวิชชรัตน์ วิจิตรวาทการ (คู่พระเอกของผมโผล่มาอีกคู่แล้วครับ) ที่ยอมมารับตำแหน่งประธานฯ และเลขาฯ ยอมเหน็ดเหนื่อยทำเรื่องยาก แล้วเลยต้องตกระกำกลายเป็นผู้ต้องหาทั้งทางสังคมและทางกฎหมายอย่างน่าเห็นใจยิ่ง

ไอ้ทรัพย์สิน 850,000 ล้านนี้ มีทรัพย์สินประกอบการกับพวกของตกแต่ง เช่น ตึก ที่ดิน รูปภาพ เฟอร์นิเจอร์ รูปภาพ ฯลฯ อยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นเงินให้กู้ซึ่งในที่สุดเป็น NPL กว่า 90% ในตอนแรกมีการพยายามแยกหนี้ดีออกมาโดยจัดตั้งธนาตารรัตนสิน (มี ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นประธาน) เพื่อซื้อหนี้ดีออกไป แต่ไปๆ มาๆ ไม่มีหนี้ดีให้ซื้อ เลยต้องไปทำอย่างอื่น แล้วก็เลิก ก็ขายไป 

ประเด็นมันอยู่ที่ว่าทรัพย์สินมูลค่าเกือบ 1/3 ของ GDP ขณะนั้น ประมาณ 2.8 ล้านๆ บาท และส่วนใหญ่เป็นหนี้เสียที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการรวมทั้งผู้บริโภคอย่างกว้างขวางทั้งระบบ ศก. หลายล้านคน จะจัดการกับมันยังไง ในเมื่อตัดสินใจไปแล้วว่าไม่ให้ผู้บริหารเดิมดูแลต่อ (ก็ปิดไปแล้ว และผมก็เห็นด้วยไปแล้วในตอนที่แล้วไงครับ) รัฐก็ดูจะมีทางเลือกแค่สองทาง คือ 1) เก็บเอาไว้ (warehousing) แล้วค่อยๆ ดูแล บริหารจัดการ ค่อยๆ เก็บ ค่อยๆ ทวง ว่าๆ กันไป (ผมรับรองว่าดูแลจัดการยากกว่าสต็อคข้าวหลายร้อยเท่า แล้วก็ แฮ่ม...เสียหาย สูญหาย ได้ง่ายกว่าเยอะ) กับ 2) เทขายออกไป ให้ระบบ ให้เอกชน เข้ามาจัดการ

ประสบการณ์ที่เคยมีในโลกในเรื่องนี้ ช่วงเดียวกันมีอย่างนี้

- ในอเมริกา มี Saving & Loan Crisis ช่วง 1990 เขาใช้วิธี fire sell ซึ่งได้ผลดีมาก เพราะสินทรัพย์ไม่ใหญ่ (< 5% ของGDP) กับกลไกตลาดและระบบกฎหมายที่ดีเกื้อหนุน

- ในสวีเดน มี banking crisis ใหญ่ ปี 1992 รัฐตั้งบรรษัท Securum เพื่อจัดการ bad asset ของระบบ ซึ่งได้ผลดีมาก จัดการได้เร็ว ขายได้เร็ว มีประสิทธิภาพสูง ได้เงินคืนเยอะเป็นประวัติการณ์ recovery rate ดีกว่า55% เพราะระบบดีและมีประเทศอื่นในยุโรปเข้ามาช่วยซื้อ

- ใน Peso Crisis ของ Mexico เมื่อปี 1994 รัฐจัดตั้ง Asset Management ขนาดใหญ่ชื่อ FOBAPROA มารับหนี้เสียของระบบธนาคารพาณิชย์ เสร็จแล้วก็เป็นเหมือนรัฐวิสาหกิจในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายแหละครับ คือเละ จนถึง1998 ก็ไม่มีความคืบหน้า แทบจะนั่งทับไว้ แก้ได้น้อยมาก แถมที่แก้ได้บ้างก็มีเรื่องโกง เรื่องกิน เต็มไปหมด นี่ถ้าน้ำมันไม่ขึ้นราคา สงสัย Mexico จะฟื้นยาก 

แล้วคุณคิดว่า "พี่ไทย" น่าจะเป็นอย่าง Mexico หรือ Sweden ล่ะ 

ความจริงมีการพิจารณาที่จะพยายามจัดตั้ง Asset Management เพื่อ Warehouse และค่อยๆ จัดการหนี้เสีย มีการเชิญผู้บริหารของ Securum มาปรึกษา นัยว่าอาจว่าจ้างให้ช่วยบริหารด้วยเลย ซึ่งผมมีโอกาสได้เจอ แต่เขามาดูมาศึกษาแล้วก็สรุปว่า ไม่น่าทำได้ ทั้งระบบกฎหมาย ข้อมูล ฯลฯ เรียกว่า "จ้างให้ กูก็ไม่ทำ" (นี่โชคดีที่ไม่เชิญพี่ Mexico มา มิฉะนั้นอาจได้ตั้งเพราะน้ำลายไหลก็ได้) ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นได้จาก AMC ของรัฐที่มีการจัดตั้งบ้างในภายหลังว่ามีประสิทธิภาพและกำไรน้อยกว่าของพวกเอกชนเยอะ ไม่ว่าจะ บบส. บสท. สุขุมวิท ฯลฯ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะ ห่วย กับ หาย

อีกเรื่องที่สำคัญมากคือการที่มีทรัพย์สินจำนวนมหึมา กว่า1/3 ของ GDP ติดอยู่กับ ปรส. ย่อมเป็นที่แน่นอน ว่าทรัพย์สินพวกนี้ย่อมไม่สามารถสร้างผลิตผลได้ กิจการชะงักงัน หรือทำได้ก็ไม่เต็มที่ เช่น หา working cap ไม่ได้ แถมยังจะตั้งหน้าตั้งตา sifon ปล้นจากเจ้าหนี้ทุกวิถีทางอีก การที่รีบคืนทรัพย์ให้กับระบบเพื่อจะได้เริ่มการผลิตตามปกติและจะได้ขยายตัวต่อไป (เป็นNPLขยายตัวไม่ได้ มีแต่หด) เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ดังนั้น เมื่อรัฐทำเองก็ไม่ได้ ไม่ดี ก็นำไปสู่การตัดสินใจสำคัญคือการขายทอดตลาด firesale ซึ่งอีกละ ในความเห็นผม เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ชอบแล้ว (ไอ้เตา... มันเป็นเรื่องความวินาศนะ เขียนมาตั้งนานยังไม่ค่อยด่าใครเลย ชมลูกเดียว เดี๋ยวคนเลิกอ่านนะ....ไม่มันเลย... ผิดNorm ไทยๆ หมดเลย)

มีข้อโต้แย้งมากมายว่าทำไมไม่ทำอย่างโน้นอย่างนี้ น่าจะแยกทรัพย์เป็นหลายประเภท แล้ว treat ต่างกัน ก็น่าจะต้องใช้เวลาสัก 3 ปี ยิ่งบางคนมาวิจารณ์ภายหลังเข้าทำนอง "รู้อะไร ไม่เท่า รู้งี้" ก็ว่ากันไป ความจริงมีความพยายามพิจารณาทุกช่องทาง เช่น พยายามปรับกฎหมายเพื่อให้กระบวนการแก้ไขดีขึ้น สะดวกขึ้น พวกที่เสียประโยชน์ก็โวยวาย เรียกว่าเป็น กม.ขายชาติ lobby วุฒิสภาวุ่นวายไปหมด กฎหมายเลยออกไม่ได้ ออกช้า หรือไม่ก็บิดเบือน อย่างที่บอกแหละครับ ทั้งกฎ ทั้งกลไก มันไม่เอื้อ ขณะที่จะรอ ก็รอไม่ได้ อย่างที่บอก

กรณี ปรส. นี้เป็นการกัดลูกปืน (bite the bullets) ครั้งใหญ่ ความไม่มีประสิทธิภาพของระบบ เช่น ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล ระบบกฎหมายต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายกว่า 600,000 ล้านบาท ซึ่งผมคิดว่าเป็นต้นทุนการแก้วิกฤติที่ไม่ได้รั่วไหลเข้ากระเป๋าใคร (ถึงได้ไม่มีงบซื้อสื่อให้เชียร์ไงครับ) (อ้าวไอ้เตา... *คุณ*เล่น ฐานันดร 4 เลยนะ คราวนี้) ถือเป็นต้นทุนสูงลิ่วแต่ไม่มีทางเลือก ผมเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ระบบ ศก.เดินได้อีก และรัฐไม่ต้อง nationalize กิจการเอกชนมากเกินไป ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นผมเชื่อเลยว่าเราจะเผชิญหายนะยาวนาน

คนที่เกี่ยวข้อง ตัดสินใจ และปฏิบัติ ในเรื่องนี้ เช่น รัฐบาล ก.คลัง IMF รวมทั้งผู้ดำเนินการอย่าง คุณอมเรศ คุณวิรัตน์ และทีมงาน ก็น่าจะรู้ว่ามีโอกาสที่จะต้องถูกประนาม ถูกเช็คบิลสูง แต่ผมขอสวนกระแสยกย่องเชิดชู ในฐานะผู้ที่เสียสละอย่างใหญ่หลวงให้เรากลับมาเดินได้อีก ผมจะดีใจและภูมิใจมากถ้าข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการยื่นอุทธรณ์คดีที่ท่านได้รับการตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม (ขอยืนยันว่าผมไม่ได้สนิทสนมเป็นส่วนตัวกับท่านทั้งสองเลย แถมที่เคยเจอกัน ท่านก็ไม่เคยเห็นผมอยู่ในสายตาเลย ตามบุคคลิกของท่าน)

ถึงตอนนี้ อย่าเพิ่งปักใจว่าผมเป็นพวก เป็นสมุน ปชป. นะครับ ตอนฟื้นฟูพระเอกของผมอยู่ ไทยรักไทย เกือบหมดเลย

ต้องขอโทษที่วันนี้หนังฉายช้า เลยต้องไปแข่งกับ โจโควิช-เมอร์เรย์ แถมถูกประกบด้วยคุณชายอีกตั้ง 5 คน เพราะเมื่อเช้าซ่าไม่เจียมสังขาร ไป bike มากว่า 50 กิโล กลางวันเลยสลบยาว นอนไป4ชั่วโมง 

พบกันใหม่ครับ

 

"ต้มยำกุ้ง"....ตอนที่ 5 (12 กรกฎาคม 2556)

ว่าด้วย กฎหมายขายชาติ และ อิทธิฤทธิ์ IMF (พ่อพระ หรือ พ่อมด กันแน่)

Episode4 ลงโรงไปหลายวัน คนดูโหรงเหรงกว่าตอนก่อนๆ แถมคนเขียนบทไม่ค่อยว่าง กับเถลถไลไปทำข่าวกีฬาบ้าง สารคดีเกษตรเรื่องข้าวบ้าง เรื่องโรงงานอุตสาหกรรมบ้าง การเงินเรื่องหุ้นบ้าง เลยหายไปหลายวัน

มีกฎหมายที่ออกในช่วง 2541-42 รวม11 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตาม Letter of Intent ที่มีกับ IMF แล้วถูกโจมตีอย่างสาดเสียเทเสียมากมายว่าเป็น "กฎหมายขายชาติ" เป็นการปล้นชาติเอาไปดื้อๆ มีกระทั่งกล่าวหาว่าเอาไปแลกตำแหน่งใหญ่ใน WTO ให้กับอดีตรองนายกฯ ท่านหนึ่งเลยทีเดียว (ช่างผูกเรื่องกันได้อย่างสวดยอด) 

และแน่นอนครับ พอเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนพระเอก เอาดอลล่าร์ขว้างหัวคืนให้ IMF ก่อนกำหนด พร้อมกับตะโกนสำทับไปด้วยว่า "กลับไป...*คุณ*ไม่ใช่พ่อ" ก็เป็นธรรมเนียมที่ต้องทบทวน ตั้ง กก.ขึ้นมา นัยว่าจะรื้อจะยุบ กม.ชุดนี้เสียให้หมดตามกระแสสังคม แต่แล้วหวยก็ออกพลิกล็อคเมื่อสรุปุว่า "ดีแล้ว ชอบแล้ว" เพียงแต่แก้ไขปรับปรุงบางส่วนที่บกพร่องเล็กน้อยก็พอ จนมีข่าวว่าไอ้ IMF นี่โคตรร้าย บ้างก็ว่าแอบกลับมายัดเงิน บ้างก็ว่าใช้อิทธิพลในเวทีโลกมาบีบเรา

วันนี้เรามาดูกันว่าไอ้ กม.11 ฉบับนี้มันเป็นยังไง ดีเลว ชั่วร้ายขนาดไหน ส่งผลดีผลร้ายต่อระบบโดยรวมอย่างไร ต่อคนกลุ่มไหน คนรวย คนจน เศรษฐี ชาวบ้าน นักธุรกิจดี นักธุรกิจห่วย คนไทย ต่างชาติ ต่างกันอย่างไร

ขอเริ่มด้วยสถานะความเสียหายที่เกิดจากวิกฤต จากการลงทุนผิดพลาดสะสมยาวนาน ใช้แหล่งทุนผิด และถูกว้ำเติมด้วยค่าเงินที่ลดลงประมาณ 40% ทำให้ภาคเอกชนไทย จำนวนมากอยู่ในภาวะล้มละลาย มี NPL ในระบบรวม 45% (ประมาณ 2.5 ล้านๆ) รวมกับทรัพย์สินที่ติดอยู่กับ ปรส.อีก 850,000 ล้าน มากกว่าขนาดGDP (ประมาณ 3 ล้านๆ ในขณะนั้น) ซะอีก อย่างที่เคยบอก ทรัพย์สินที่เป็น NPL จะมีปัญหามาก เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของกันแน่ ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้ หรือได้ก็ไม่เต็มที่ ไม่มีการขยายตัว มีแต่จะเสื่อมสภาพเพราะขาดการบำรุง และถูกริดรอนปล้นชิง 

ภาระกิจสำคัญที่จะต้องทำในการสะสางซากปรักหักพังไปทั่วอย่างนี้พอจะสรุปได้ดังนี้
--------------------------------------------------------------------------------------

- หยุดเลือดให้ได้ คือหยุดภาวะตื่นตระหนก ให้สถาบันการเงินตั้งหลักได้ มีสเถียรภาพค่าเงิน (ซึ่งก็ทำไปแล้วในตอนก่อนๆ)

- ทำให้ economic asset ยังคงผลผลิตได้อยู่ เพื่อให้ไม่เกิดการหดตัวอย่างรุนแรง (ปี 40-41 GDP หดตัวรวมถึง 12% ต้องใช้เวลาถึงอีก 4 ปี กว่าจะกลับมาที่เดิม) ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงานและการบริโภค ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะคนจนเดือดร้อนมาก และพยายามให้ economic value เสื่อมถอยน้อยที่สุด 

- ต้องสะสางความเป็นเจ้าของว่าใครจะได้อะไรในซากปรักหักพังนี้บ้าง หรือพูดอีกมุมหนึ่งก็คือ แบ่งปันความเสียหาย ซึ่งเจ้าภาพที่ต้องรับ ก็หนีไม่พ้นว่าเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าหนี้ทั้งหลายทั้งการเงินการค้า รัฐ (ซึ่งหมายถึงประชาชนทั้งหมดนะครับ ไม่ใช่เฉพาะพวก ครม.) ส่วนพวกแรงงานกับผู้บริโภคก็จะได้รับผลไม่น้อย ทั้งๆ ที่แทบไม่มีบทบาทในเวทีต่อรองเลย

- ในการสะสางนั้นจะต้องยึดหลักให้ความเป็นธรรม ให้เป็นภาระรัฐน้อยที่สุด และไม่ให้เกิดภาวะ Moral Hazard (แปลง่ายๆ ว่าอย่าให้คนห่วยได้ดี เพราะมันจะส่งเสริมให้คนอยากห่วย อยากชุ่ย แล้วนำไปสู่วิกฤติอีก..ไม่รู้แปลถูกไหม ใครรู้ช่วยที) 

- ที่สำคัญฝุดๆ จะต้องหาแหล่งทุนเพิ่มให้ได้ เพราะทุนเดิม (Equity) พังพินาศย่อยยับแทบสิ้น ถ้าไม่มีทุน ถึงฟื้นก็อ่อนแอ เจ๊งอีกได้ง่ายๆ และไม่มีทางขยายตัวได้ ซึ่งแหล่งทุนในประเทศพังยับแทบทั้งสิ้น (แม้แต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ยับ) ตลาดทุนก็ยังไม่พัฒนา (และก็พึ่งพาต่างชาติกว่าครึ่งอยู่แล้ว) รัฐก็กระเป๋ากลวง จะให้ ธปท.พิมพ์แบงค์ดื้อๆ เหมือน QE ไอ้กัน ก็กำลังเจอวิกฤติศรัทธา ไม่น่าจะมีใครเชื่อถือ ค่าบาทน่าจะไหลลงไปแถวๆ 100 บาทต่อเหรียญ 

ดังนั้น ก็เลยเหลือทางเลือกเดียว คือต้องทำทุกวิถีทางที่จะอ้อนวอนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนให้ได้ (อ้อนวอนนะครับ ไม่ใช่อนุญาติ) และทุนจะสัญชาติใดไม่เห็นสำคัญ ขอให้ลงทุนในไทย จ้างงานไทย สร้าง GDP ไทย แก้ปัญหาในเมืองไทย พัฒนาเทคโนโลยี่ไทย ก็เป็นแต่ประโยชน์เท่านั้น ผู้ที่เสียหายก็มีแต่เจ้าของกิจการไทยที่ทำเจ๊ง เลยต้องสูญเสีย กับพวกห่วยที่ไม่ต้องการแข่งกับคนเก่ง ถ้าใครยังไม่ get กรุณากลับไปอ่านเรื่อง Wimbledon ที่ post เมื่อวันจันทร์นะครับ

- สิ่งที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด คือการยึดทรัพย์สินหรือกิจการมาเป็นของรัฐ แล้วรัฐเข้าดำเนินการเสียเอง ซึ่งผมขอประกาศความเชื่อมั่นเป็นครั้งที่ 100 ว่า "ถ้าให้รัฐทำ ก็มีแต่ ห่วย กับ หาย"

เห็นไหมครับ ภาระกิจที่ต้องทำมันยากกว่าการรับจำนำข้าวอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน แถมเป้าประสงค์ก็ยังมีมากมาย ซับซ้อน บางครั้งก็ขัดกันเอง และผมก็ดีใจและคิดว่าถูกต้องแล้ว ที่ไม่มีเป้าประสงค์ไหนที่จะสงวนธุรกิจไว้ให้เศรษฐีไทยเลย (โดยเฉพาะที่ห่วยๆ ทำเจ๊ง แล้วเอาแต่โวยวายโทษคนอื่น)

ทีนี้จะทำให้เกิดกระบวนการที่ว่าได้โดยรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจัดตั้งองค์กรต่างๆ ขึ้นมาทำแล้ว มันจำเป็นจะต้องมีสถาบัน มีกฎหมาย มีกระบวนการที่นำไปสู่เป้าหมายที่ว่า และให้คงอยู่เพื่อป้องกันหรือแก้วิกฤติครั้งต่อไป นั่นก็คือกฎหมาย 11 ฉบับนี่แหละครับ น่าสังเกตว่า Malaysia ซึ่งไม่เคยพึ่งIMF เลย (ดร.มหาเด่ย์ ด่า IMF ทุกวันว่า "ไม่ใช่พ่อ" มาก่อนเราตั้งหลายปี) ยังลุกขึ้นมาปรับปรุงกฎหมายพวกนี้ในช่วงนั้นเลย ทั้งๆ ที่ระบบกฎหมายเดิมเขาดีกว่าเรามาก เพราะเคยเป็นอาณานิคม 

ผมจะไม่ลงรายละเอียด กม.แต่ละฉบับนะครับ แต่จะวิเคราะห์รวมเป็นกลุ่มๆ ซึ่งมีอยู่ 4 กลุ่ม ดังนี้
--------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มที่ 1 
---------

มีอยู่ 5 ฉบับ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการล้มละลาย การแก้ไข การแบ่งทรัพย์ การเข้าดูแลควบคุมกิจการ การบังคับคดี ขายทอดตลาด ซึ่งทุกฉบับมุ่งที่จะให้กระบวนการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และรวดเร็ว ไม่ใช่ต้องใช้เวลากัลปาวสานอย่างแต่ก่อน ซึ่งทำให้ดีขึ้นมากมายแต่ก็ยังไม่ดีพอ เดี๋ยวจะกลับมาว่ากัน

กลุ่มที่ 2 
---------

มีอยู่ 4 ฉบับ ส่งเสริมให้ต่างชาติได้เข้ามาลงทุนได้มากขึ้น ประกอบธุรกิจได้มากขึ้น มีทรัพย์สิน คอนโด ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยในจำนวนจำกัดได้ เช่าทรัพย์สินระยะยาวได้ ซึ่งในทัศนะของพวกค่อนเสรีนิยมอย่างผมย่อมเห็นเป็นเรื่องดีทั้งนั้น ยังคิดว่าดีไม่พอด้วยซ้ำ น่าจะเปิดให้มากกว่านี้ หรือเปิดหมดเสียด้วยซ้ำ้ 

ผมนึกไม่ออกว่านายทุนไทยกับนายทุนต่างชาติ เศรษฐีไทยกับเศรษฐีต่างชาติ จะดีเลวต่างกันอย่างไร 

ถ้าฝรั่งมาแย่งกว้านซื้อที่ดินเกษตร ชาวนาชาวสวนก็ย่อมขายได้ราคาดี ดีกว่ามีเจ้าสัวไทยไม่กี่คนที่กว้านซื้ออยู่ดี (จะแก้ ต้องไม่ให้กว้านทั้งหมด) 

ถ้าฝรั่งจะมาแย่งซื้อคอนโดหรู (ผมไม่เห็นเขาแย่งซื้อแฟลตดินแดงนี่ครับ) ก็มีแค่เศรษฐีไทยที่เดือดร้อนต้องซื้อแพงขึ้น แต่คอนโดที่ค้างคาก็ได้สร้างต่อ มีการจ้างงาน มีกำไรไปจ่ายพนักงานเพิ่ม 

ถ้ามาซื้อกิจการคุณภาพ ของก็มักจะดีขึ้น ประสิทธิภาพเพิ่ม เทคโนโลยี่ทันสมัย ลูกจ้างเก่งขึ้น รวยขึ้น 

ขอยกตัวอย่าง บล.ภัทร ที่ต้องขายให้ฝรั่ง เพราะบริษัทแม่ไม่รอด พอเปลี่ยนเป็น Merrill Lynch ทุกคนดีขึ้น เก่งขึ้น ได้เรียนรู้มากมาย ผมถึงกับใช้คำว่า "มิน่าล่ะ มันถึงครองโลก" ที่สำคัญรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว นี่ถ้าไม่มีวิกฤติ พวกเราก็คงจะยังโง่งมงายอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่ได้โอกาสที่จะเรียน จะรู้

กฎหมายกลุ่มที่ 3 
------------------

มีอยู่ฉบับเดียว คือ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ที่เอื้อให้การแปรรูปเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ได้บังคับให้แปรรูปแต่อย่างใด เพราะการแปรรูปถือเป็นนโยบายสำคัญมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 เพียงแต่ไม่ค่อยทำ เพราะมันขัดผลประโยชน์ผู้มีอำนาจ ก็เลยให้มีกฎหมายให้ทำได้สะดวก 

การแปรรูปฯ เลยถูกตราหน้าว่าเป็นการขายชาติ NGO พวกประชาสังคม พากันค้านหัวชนฝา กรีดเลือดค้าน เข้าทางพวกนักกินเมืองได้อย่างน่าอัศจรรย์ เรื่องแปรรูบรัฐวิสาหกิจนี้เป็นเรื่องยาว มีประโยชน์มาก ผมต้องขอแยกไว้ว่ากันวันหน้า ใน 30 ปีที่ผ่านมามีการแปรรูปกว่า 30,000 รายการ ใน 120 ประเทศทั่วโลก ไม่รู้ว่ามันจะตั้งหน้าตั้งตา "ขายชาติ" กันอย่างทั่วถึง ทุกมุมโลกได้อย่างไร

กฎหมายฉบับสุดท้าย
----------------------

เป็นเรื่องประกันสังคม ปรับปรุงการคุ้มครอง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกัน ซึ่งถูกรวมมาเป็น กม.ขายชาติ ได้อย่างสุดมั่ว ไม่เกี่ยวกันเลย ไม่รู้ว่าผู้ประท้วงกลัวว่า 10 ฉบับมันดูน้อยไป หรือไปดูหมอมาว่าต้องเลข 11

โดยรวมผมค่อนข้างมั่นใจว่า กม.ทุกฉบับเป็นเรื่องดี อย่างน้อยดีขึ้น ผมกลับคิดว่าเราต่อรองมากไปเสียด้วยซ้ำ เลยยังไม่ได้มาตรฐานสากล เช่น ลูกหนี้ยังมีอำนาจต่อรองมากเกินไป เอาเปรียบเจ้าหนี้ (โดยเฉพาะรายย่อย) ได้มาก 

คนคิดว่าเจ้าหนี้ได้เปรียบลูกหนี้ แต่ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม มีหลายรายที่ลูกหนี้สามารถใช้เทคนิคกฎหมายร่วมมือกับเจ้าหนี้ใหญ่ ทำให้เจ้าหนี้ย่อยเสียหายกว่าครึ่ง โดยที่ผู้ถือหุ้นยังเหลือเป็นหมื่นล้านบาท กระบวนการก็ยังล่าช้า ยื้อได้เป็น 10 ปี ยึดทรัพย์ก็ร่วม 5 ปี ล้มละลายแค่ 3 ปีก็พ้น มีการ lobby กันวุ่นวายทุกขั้นตอน ทั้งการร่าง วุฒิสภา สื่อ ฯลฯ (แถมมีการนินทาหนาหูว่า ลูกหลานของผู้มีส่วนสำคัญในการยกร่าง ประกอบอาชีพรับแก้หนี้ รวยปลิ้น) 

ในเวลานั้น NPL ทั้งระบบร่วมครึ่ง ในทางการเมืองพอรับได้ เพราะต้อง protect ตามสมควร แต่ผลข้างเคียงทำให้ต้นทุนตัวกลางการเงินสูงขึ้น และการเข้าถึงทรัพยากรของ SMEs และรากหญ้า เป็นปัญหา มาวันนี้น่าจะยกขึ้นมาปรับปรุงได้แล้วครับ เพราะ NPL เหลือไม่ถึง 5% ไปคุ้มครองโดยต้นทุนของทั้งระบบ มันไม่คุ้มครับ (อีกและ รายละเอียดขอว่ากันวันหน้า)

นอกจากเรื่อง กม.ขายชาติ มีมาตรการอีกสองด้านของ IMF ที่ถูกโจมตีมาก ซึ่งเขาก็ยอมรับว่าพลาดและปรับปรุงไปในภายหลัง คือเรื่องวินัยการคลังและอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ได้ตั้งใจให้แย่ แต่พระเอกดันเผลอเดินสะดุดขา แถมเอาศอกกระทุ้งเข้าเบ้าตานางเอก ทำเอาตาเขียว แต่ก็หอมแก้มขอโทษโดยการ relax มาตรการเข้มข้นต่างๆ ลงอย่างรวดเร็วหลังจากเสถียรภาพกลับมา

วันนี้เขียนยาวอีกแล้ว อ่านทวนดูรู้สึกว่าไม่ค่อยมัน สงสัยเรตติ้งจะตกเยอะครับ 

ตอนหน้าพระเอกชุดสุดท้าย (พวกไทยรักไทย) จะออกโรงเพื่อมาฟื้นฟู (รวมทั้งฟื้นฝอย) แล้วก็คงจะสรุป บทเรียนเป็นตอนอวสานเสียที นอกจากเรตติ้งจะยังดีมีแฟนเรียกร้อง ก็อาจขยายเป็นสองตอนนะครับ

 

วิกฤติ "ต้มยำกุ้ง"...... ภาคที่6

สร่างไข้....ฟื้นฟูกำลัง (เล่าเมื่อ 13 กค.2556)

หลังจากให้ยาแรงหลายๆ ขนาน เศรษฐกิจไทยก็เริ่มตั้งหลักได้ สถาบันการเงินมั่นคงขึ้น ที่แย่รัฐก็เข้าจัดการ ค่าเงินมีเสถียรภาพ ไม่หวือหวา ภาคการส่งออกเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะพวกที่ใช้แรงงานและ local content เป็นต้นทุนหลัก เพราะต้นทุนลดตั้ง 40% พอแก้ปัญหาการเงิน ออกจาก NPL ได้ ก็ไปโลด จนปี 2542 ศก.กลับมาโตได้ 4.4% ในปี 2542 และ 4.8%... ในปี 43 หลังจากติดลบ 1.4% และ 10.5% ในปี 40 และ 41

ก่อนจะเข้าฉากฟื้นฟูต่อ มีคนอยากให้ลงรายละเอียดฉากที่พระเอก IMF ถองหน้านางเอกไปสองที ว่าที่เล่าคราวที่แล้วน้อยไปหน่อย ไม่สมกับเป็นฉากบู๊ดุเดือดที่ด่ากันมาตั้งสิบกว่าปี เค้าหาว่าผมซูเอี๋ยช่วยพระเอก

เรื่องแรก คือนโยบายการคลัง (fiscal policy) ซึ่ง IMF เลือกให้ยาแรง คือกำหนดให้ไทยต้องเกินดุลงบประมาณในปีงบฯ 2540/41 ทันที 1% ของ GDP ทั้งนี้ เพราะเหมือนเป็นสูตรสำเร็จ เนื่องจากวิกฤตในประเทศกำลังพัฒนาก่อนหน้านี้มักเกิดจากความไร้วินัยการคลัง (ฟังดูคุ้นๆ กับปัจจุบันไหมครับ) ถึงแม้ของเราไม่ใช่ เพราะวิกฤติเกิดในภาคเอกชน แต่ก็เกิดการเป็นห่วงว่าเงินที่รัฐต้องใช้เพื่อแก้ระบบการเงินอาจมากมายเสียจนหนี้สาธารณะอาจจะพุ่งพรวด โชคดีที่ตลาดทุนมาช่วยแบ่งเบาภาระไปเยอะ 

(ขออนุญาตแทรกพี่เตา ... ตรงนี้พี่เตาหมายความว่าหากไม่มีตลาดทุน กิจการต่างๆ จะกู้แบงค์อย่างเดียว ไม่สามารถหาแหล่งทุนอื่นได้ ถ้าเป็นอย่างนั้น เวลาแบงค์กับธุรกิจต่างๆ เจอพิษต้มยำกุ้ง จะตายห้าตายหก กันหมดค่ะ) 

ซึ่งถ้าเกิด Fiscal Crisis (แบบที่กรีซกำลังเจอนั่นแหละ) ซ้ำขึ้นมาอีก ICU ก็จะเอาไม่อยู่ ลองคิดดูซีครับ ศก.ก็หดตัว ภาษีก็เก็บได้น้อยลง ยังบังคับให้เกินดุลงบประมาณ รัฐก็เลยต้องรัดเข็มขัดเต็มที่ ไม่สามารถกระตุ้น ศก.ได้เลย ทำให้หดตัวแรงกว่าที่ควร แต่พอเห็นว่าเอาอยู่ หนี้ไม่ไหล เขาก็ยอมให้ขาดดุลได้ 5.5% ในปีงบฯ 41/42 และอีก 5% ในปี 42/43 ถ้ามองอีกมุมเหมือนเค้าให้เราใส่เข็มขัดนิรภัยนั่งรถ พอไม่เกิดอุบัติเหตุ เราก็ด่าแม่เขาว่าทำให้อึดอัดเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์

เรื่องที่สอง คือเรื่องอัตราดอกเบี้ย หลังวิกฤติ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับค่าเงินที่ลดลง (เป็นสูตรตายตัวอยู่แล้ว) เงินเฟ้อสูงขึ้นไปถึงกว่า 10% ในช่วง พค.-มิย.41 แล้วค่อยๆ ลดลงตามเสถียรภาพค่าเงิน เป็นสูตรอยู่แล้วที่ถ้าเงินเฟ้อสูงก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยไปสู้ อีกอย่างถ้าดอกเบี้ยสูงก็หวังว่าเงินจะไม่ไหลออก 

แต่ผู้เชี่ยวชาญบางฝ่ายก็คิดว่าเงินเฟ้อเป็นเรื่องของ cost push ขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย demand ก็แทบไม่มีอยู่แล้ว เงินไหลก็ไม่เกี่ยว เพราะให้ราคาเท่าไหร่เขาก็จะเอาคืน ที่จะไหลก็ได้ไหลไปหมดแล้ว ที่เหลือไม่มีจ่ายจึงไม่มีให้ไหล ในที่สุดเถียงกันอยู่นานก็ยอมลดดอกเบี้ยจาก MLR 15.5% ตอน กค.41 เหลือ 11% ตอนปลายปี 41 และเหลือ 8% ปลายปี 42 แต่นั่นแหละครับดอกเบี้ยที่สูงอยู่กว่าปีก็ทำคนเดือดร้อนกันทั่ว 

ซึ่งทั้งสองเรื่อง คุณ Neiss พระเอกหัวเกรียนหัวหน้าทีม IMF ก็ยอมรับในภายหลังว่าอาจจะเป็นยาแรงไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้มีเจตนาชั่วอย่างที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด ก็แหมจะให้พระเอกเป็นอย่าง Super Man ในหนัง ทำอะไรก็ถูกก็เป๊ะไปทั้งหมดได้อย่างไร พวกวิจารณ์มันง่ายกว่าเยอะ เข้าทำนอง "รู้อะไรไม่เท่า รู้งี้"

ขอตัดฉากชะแว้บเข้าสู่บรรยากาศเลือกตั้ง ต้นปี 2544 

หลังจากที่ทุกอย่างเริ่มเข้าสู่ภาวะสงบ ศก.โตได้รวม 9.2% ในสองปี 42-43 แต่เทียบกับลบไป12% ก่อนหน้า ชาวประชาต้องกัดลูกปืนกันเลือดกลบปากทั่วหน้า ย่อมไม่เป็นที่นิยมชอบ ยิ่งสังคมนี้เป็นสังคมที่เกิดอะไรขึ้น มีความลำบากเกิดขึ้น ก็พร้อมที่จะโทษคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเอง รัฐบาลชวน 2 โดนแรงกดดันจนต้องยุบสภาฯ ปลายปี 43 แล้วจัดเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ครั้งแรกเมื่อ 6 มค.2544 แล้วก็เป็นไปตามคาด คือฝ่ายรัฐบาลเดิมแพ้ยับ ปชป.ได้รับเลือกแค่ 129 คน พรรคใหม่ไทยรักไทยคว้าแชมป์ได้ 250 จาก 500 ครึ่งหนึ่งเป๊ะๆ เลยได้เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล

เรื่องนี้ทำให้ระลึกถึงคุณปู่ Winston Churchill ซึ่งเป็นสุดยอดวีรบุรุษสงคราม นำอังกฤษร่วมชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเดือน เมย.1945 แต่กลับนำพรรค Conservative แพ้เลือกตั้งยับให้กับพรรคแรงงานเมื่อ July 45 หลังจากนั้นแค่ 2 เดือนในอัตรา 197:393 ที่นั่ง เกือบเท่ากับของเราเป๊ะ ต้องรอจนปี 1951 กว่าคุณปู่จะชนะกลับมาเป็นนายกฯ ได้อีกที ของเราปชป.ต้องรอกว่า 7 ปี จึงได้เป็นรัฐบาลอีกที หลังอุบัติเหตุในค่ายทหาร

ถ้าใครจำได้ สโลแกนไทยรักไทยก็คือ "คิดใหม่ ทำใหม่" ซึ่งเลียนมาจาก "New Deal" นโยบายเศรษฐกิจแบบKeynesian ของประธานาธิบดี FDR ที่พลิกฟื้นความตกต่ำทาง ศก.จาก Great Depression ในช่วงทศวรรษ 1930s พระเอกทั้งหลายตั้งแต่ นายกฯ ดร.ทักษิณ ทีม ศก.ดร.สมคิด ดร.ทนง คุณพันธุ์ศักดิ์ วิญญรัตน์ หมอมิ้ง หมอเลี๊ยบ และอีกหลายๆ ท่าน ต่างก็คิด ก็งัดมาตรการต่างๆ มามากมาย เพื่อกระทุ้ง ศก.ให้กลับมาเดินหน้าได้อีก 

ถึงแม้ ศก.ในปี 2544 จะเติบโตแค่ ไม่ถึง 2% อันเกิดจากภาวะ ศก.โลก แต่หลังจากนั้นก็เติบโตได้เฉลี่ย ประมาณ 5% ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ได้สูงส่งน่าตื่นเต้นอะไร ค่อนข้างต่ำด้วยซ้ำสำหรับกลุ่ม Emerging Market 

แต่ถามว่าทำไมถึงได้รับการตอบรับดีมากในวงกว้าง ชนะเลือกตั้งท่วมท้นทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา ?

นโยบายและมาตรการของรัฐบาลทักษิณตลอด 5 ปีมีมากมายหลายร้อยอย่าง ซึ่งก็แน่นอนมีทั้งที่ผมชอบมาก ชอบน้อย เฉยๆ ไม่ค่อยชอบ ไม่ชอบเลย ไปจนถึงเบือนหน้าหนี ซึ่งก็เหมือนกับนโยบายทุกๆรัฐบาลแหละครับ ในที่นี้ผมจะเอ่ยถึงเฉพาะที่นึกได้และชอบเท่านั้น 

(ไม่ใช่เพื่อสอพลอใดๆ หรอกครับ ไม่งั้นผมก็ต้องออกมาเทิดทูนเรื่องจำนำข้าวทุกวันไปแล้ว แต่เพื่อความเสมอภาคน่ะครับ) 

เรื่องแรกที่จะชม ไม่ใช่เรื่องนโยบายหรอกครับ แต่เป็นเรื่องของประสิทธิภาพของนโยบาย และการผลักดันให้นโยบายมีผลในทางปฏิบัติ 

ด้วยความเป็นนักบริหาร ทำให้สามารถบริหารจัดการให้กลไกราชการซึ่งด้อยประสิทธิภาพลงทุกวัน ลุกขึ้นมามีประสิทธิผลได้บ้าง (เรียกว่าจากห่วยมาก มาเป็น ห่วยน้อยหน่อย) ก็เลยทำให้เกิดผลได้ดีกว่าบริหารแบบนักการเมือง (เฮ้ย..ไอ้เตา...นี่เอ็งเล่นข้าราชการทีเดียวหลายล้านคนกับนักการเมืองอีกหลายพันคนพร้อมกันเลยนะ โดนเอานิ้วดีดคนละที เอ็งก็เละและ) นับว่าเป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิผลที่สุดรัฐบาลหนึ่งตั้งแต่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ (เต็มรึยังหว่า...) ก็ว่าได้ ถึงจะรั่วเยอะไหลเยอะ แต่ประสิทธิผลเพิ่มก็พอชดเชยได้บ้าง

เรื่องที่ผมชอบมากที่สุด แน่นอนครับเป็นเรื่อง "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ซึ่งถือเป็นนโยบายสาธารณะที่ดีที่สุดในรอบหลายสิบปีเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากเป็นการ redistribution (กระจายรายได้แล้ว) ยังเป็นประชานิยมสร้างสรรค์อีกด้วย คือไม่แค่กินแล้วถ่าย แต่ทำให้เพิ่มผลผลิต (เพราะสุขภาพแข็งแรง) และยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีก เช่น พอไม่ต้องห่วงเรื่องสุขภาพ คนก็สามารถทุ่มให้การศึกษาบุตรธิดา (เสียดายที่ระบบการศึกษาเรารองรับได้ไม่ดีพอ) และยังช่วยให้เกิดการเคลื่อนย้ายเข้าเมือง (Urbanization) ทำให้ Arthur Lewis Model เกือบจะ work เสียแต่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาแทรก เลยทำให้ dual track development ไม่ได้ผลเต็มที่ (วันหน้าคุยกันเรื่องนี้อีกที)

อีกเรื่องหนึ่งที่ดีในด้าน redistribution ก็คือ ก่อนหน้านี้งบประมาณมักกระจุกอยู่แต่ส่วนกลาง ไม่กระจายให้รากหญ้า คุณถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง ทีม ศก.ของภัทรฯ เคยจัดหมวดหมู่งบประมาณฯ พบว่า ในช่วง 5 ปีของรัฐบาลทักษิณ มีการเพิ่มงบฯ ส่วนที่ไปสู่รากหญ้าจาก 18% เป็น 24% เรียกว่าเพิ่มปีละกว่าแสนล้านบาทเลยทีเดียว เมื่อรวมกับเรื่องนอกงบอื่นๆ เช่น เงินให้กู้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่เพิ่มกว่าห้าเท่าตัว (หลายแสนล้านบาท) ประกอบกับการกระจายอำนาจตาม รธน.ใหม่ ทำให้ชาวรากหญ้าได้รับเพิ่มมากมาย.....เข้าใจถึงคะแนนนิยมแล้วยังครับ

เรื่องแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็เป็นเรื่องสำคัญที่ถึงแม้มีนโยบายมาช้านาน แต่รัฐบาลนี้แหละครับที่ผลักดันได้สำเร็จเป็นรูปธรรม การนำ ปตท.เข้าตลาดเมื่อปลายปี 2544 นอกจากจะทำให้ ปตท.ได้รับเงินก้อนสำคัญไปฟื้นฟูกิจการและบริษัทในเครือโดยไม่ต้องรบกวนงบประมาณฯ ทำให้เจริญรุ่งเรืองมาถึงวันนี้ ยังเป็นการปลุกตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่แสนซบเซาให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง (จากindex 280 จนเป็น 1,450 ทุกวันนี้) (เรื่องนี้ก็สร้างหนังเรื่องยาวได้อีกเรื่อง) การท่าอากาศยานก็เข้าตลาดฯ ได้เงินทุนไปสร้าง "สุวรรณภูมิ" จนเสร็จ เปิดเป็นศรีสง่าของประเทศ ถึงแม้จะสร้างแพงไปบ้าง ก็แค่ไม่กี่หมื่นล้านบาทเอง

ส่วนนโยบายใน "ทักษิโณมิกส์" อื่นๆ ก็มีที่ผมเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง เห็นด้วยครึ่งเดียวบ้าง เอาที่ไม่ชอบบ้าง ส่วนใหญ่มักเป็นพวกที่แทรกแซงกลไกตลาด เอารัฐไปทำสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น Elite Card หรือพวกที่เลี่ยงบาลีหนี้สาธารณะ 

ที่ผมว่าแย่จนต้องเบือนหน้าหนีก็คือเรื่อง "กองทุนวายุภักษ์" ซึ่งกลายเป็นว่าเป็นการกู้ยืมของรัฐที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงที่สุด แถมเอาทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องจำนวนมากไปประกันผูกติด จนทำให้ขาด Policy Flexibility ไปอีกมาก เพียงเพื่อที่จะไม่ต้องนับเป็น "หนี้สาธารณะ" แถมไม่ได้ส่งเสริมตลาดทุน เพราะผลตอบแทนดีเสียจนพวกธนาคารแย่งซื้อไปเสียหมด 

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสิ้นปีนี้รัฐจะต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับสารพิษตกค้างรายนี้ 

เลิกเสียเถอะครับ อย่าดันทุรังต่ออายุ หรือขยายตัว (ยิ่งแย่ใหญ่) ถึงแม้จะทำให้หนี้สาธารณะปูดเล็กน้อย (สงสัยต้องจัดเรื่องนี้เป็นหนังใหญ่อีกซักเรื่อง แค่ฉายตัวอย่างก็ดูสยองขวัญแล้ว 

แถมถ้าไม่เลิก รอบปฐมทัศน์ ผมจะออกบัตรเชิญคุณ Moody's กับคู่ของคุณ Standard & Poor มาชม... แล้วก็ถูกประณามว่าเป็นพวก "บ่อนทำลายชาติ" เหมือนพวกที่ออกมาเตือนเรื่องให้ระวังข้าวเน่า ข้าวเสีย)

สรุปว่าในช่วง 5 ปีเศษของรัฐบาล "ทักษิณ" ประเทศไทยก็มีพัฒนาการฟื้นฟูมาตามลำดับ การเติบโตถึงแม้จะไม่น่าตื่นเต้นมากนัก แต่ในด้านการกระจายก็ดีขึ้นตามสมควร เสถียรภาพด้านต่างๆ ก็ดี ธปท. ก็สามารถกู้ความน่าเชื่อถือกลับมา ทำให้ระบบการเงินแข็งแรง 

ถึงแม้คุณชายเต่าพระเอกคนหนึ่งของผมจะโดนเตะกระเด็นออกจากวังบางขุนพรหม แล้วแทนที่ด้วยคุณชายคนใหม่ ก็ยังมีอิสสระในการดำเนินนโยบายได้ตามสมควร 

จนกระทั่ง 18 ธันวาคมปี 2549 สมัยขิงแก่แหละครับ ถึงจะโดนรัฐสั่งให้ออกมาตรการมหัศจรรย์ที่เกือบทำให้ตลาดหุ้นพังครืนทั้งตลาด (ก็คุณชายท่านย้ายไปเป็นรัฐนี่ครับ) เดชะบุญที่ท่านไม่ดื้อรั้น สั่งให้ ธปท.(ที่เป็นอิสสระ) ยกเลิกมาตรการในวันรุ่งขึ้น เราถึงได้ยังมีตลาดหุ้นที่ยังเป็นสากลอยู่ทุกวันนี้ 

ผมชื่นชมนโยบาย ธปท.ในวันที่ 19 ธค. 2549 จริงๆ อย่างไม่ประชดนะครับ เพราะนานทีจะมีผู้ใหญ่ที่เป็นลูกผู้ชายยอมกลับลำนโยบายเมื่อรู้ชัดว่าจะนำความเสียหายมาให้

หวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าผู้ใหญ่ที่เป็นลูกผู้หญิงจะยอมกลับลำเรื่องนโยบายจำนำข้าวเสียที เพราะชัดเสียยิ่งกว่าชัดแล้วว่า จะนำความเสียหายใหญ่หลวงมาให้ 

ถึงตอนนี้ เลยขอยกคุณชายอุ๋ยให้เป็นพระเอกอีกคน

ชักเลอะเทอะออกนอกเรื่องไปไกล ก็เลยขอปิดฉากเรื่องการฟื้นฟูซะเลย พรุ่งนี้น่าจะเป็นตอนอวสานว่าด้วยบทเรียนที่ประเทศไทยและพวกเราได้รับจากวิกฤติที่มีต้นทุนราคาแสนแพงในครั้งนี้ 

เขียนเสร็จเหลือบไปดูผลงานตอนที่แล้ว คนดูโหรงเหรงกว่าทุกตอนที่ผ่านมา แต่ถึงขั้นนี้แล้ว ก็ต้องว่าต่อให้จบให้ได้นะครับ อ่านแล้วแวะมาคุยมาเถียงกันบ้างนะครับ

 

อินไซด์ต้มยำกุ้ง โดยพี่เตา บรรยง พงษ์พานิช ตอน 7/7

---------------------------------------------------------

"อวสานต้มยำกุ้ง" ตอนที่ 7 ..... ได้เวลา ฟินาเล่ เสียที (วันจันทร์ที่15 กรกฎาคม 2556)

วิกฤติเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่การเริ่มบ่มเพาะฟองสบู่ ในปี2534 ปีมะแม จนกระทั่งถึงจุดวินาศในปี 2540 และใช้เวลาแก้ไข ทั้งฟื้นฟู อีกร่วม 5 ปี จนถึงปี 2545 ปีมะเมีย ซึ่งผมถือว่าเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะระบบการเงินเริ่มทำงานได้ดี ธนาคารเริ่มขยายการปล่อยสินเชื่อหลังจากที่หดตัวเข้ากระดองมานาน รวมระยะเวลา 12 ปี ครบรอบปีนักษัตรพอดี โดยผมใช้เวลาเรียบเรียงร้อยเรื่องราวความทรงจำเท่าที่มีมาเล่าให้ฟังร่วมสองอาทิตย์

ในช่วงที่เกิดวิกฤติ หลายคนรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เจ้าของกิจการจำนวนมากลำบากแทบเลือดตากระเด็น โดยเฉพาะ SMEs ผู้บริหาร พนักงาน รวมไปถึงแรงงาน ตกงานนับล้านคน จนทุกอย่างดูมืดมน บ้างก็กลับมายืนได้อีก บ้างก็ไม่สามารถกลับมาที่เดิมได้อีกเลย 

แม้แต่คนที่เคยดีเคยแข็งแรง ไม่ได้รับผลกระทบตอนเกิดวิกฤติ แต่กลับได้รับผลกระทบเพราะกระบวนการแก้ไขก็มี 

ผมขอยกตัวอย่าง เพื่อนผมเป็นนักธุรกิจที่ดี ลงทุน 400 ล้าน อย่างระมัดระวัง กู้เงินบาทจากสถาบันการเงินที่ดี ขณะที่คู่แข่งซึ่งประกอบกิจการเหมือนกัน ขนาดเท่ากันทุกอย่าง แต่สุรุ่ยสุร่าย ลงทุนปาเข้าไป 800 ล้านบาท เพราะยักยอกไปซื้อ Ferrari บ้าง ไปยัดเงินผู้บริหาร บง.บ้าง กู้เงินดอลล่าร์ผ่าน บง. พอเกิดวิกฤติ ตอนแรกคู่แข่งเจ๊ง หยุดชะงัก เพื่อนก็ดูเหมือนดี แต่สักพักคู่แข่งไปซื้อหนี้กลับมาได้แค่ 200ล้าน ผ่านกระบวนการ ปรส. เหลือต้นทุนแค่ครึ่งเดียว ตีกลับจนเพื่อนผมยับ 

รู้ยังครับ ว่าทำไมเค้าถึงห้ามลูกหนี้เข้าซื้อหนี้ตัวเอง เพราะมันเป็น moral hazard ขั้นร้ายแรง แต่อย่างว่า จะให้คนอื่นซื้อก็ไม่มีใครกล้า เพราะพี่แกวางกับดักไว้เยอะ มาตรฐาน CG ที่ต่ำทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นหลายเท่า (เราถึงแก้อย่างประเทศพัฒนาแล้วไม่ได้)

อีกตัวอย่างหนึ่ง Conglomerate ไทยขนาดใหญ่มาก (ติดอันดับต้นๆ ของ Forbes Thailand) มีหนี้กับ สบง.หลายสิบแห่ง พอเกิดวิกฤติถึงจะซวดเซแต่ไม่ถึงกับแย่ แต่พอมีโอกาสที่จะไล่ซื้อหนี้ส่วนที่ติดกับ ปรส.ได้ ในราคาตำ่กว่าครึ่งก็เลยต้องกั๊กเงินสดทุกบาทไว้ซื้อหนี้ เลยเป็น NPL กับทุก สบง.ที่ดีที่ไม่ถูกปิด (จนเกือบทำให้ถูกปิดไปด้วย) 

ถามว่าท่านผิดไหมที่เป็น strategic NPL อย่างนี้ 

ตอบว่า ถ้าระบบ กระบวนการ กม.อนุญาติให้ทำได้ ก็ต้องทำ ไม่งั้นก็ไม่รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น 

เห็นไหมครับ การมีสถาบันที่ดี CG ที่ดี กม.ที่ดี มีความสำคัญเพียงใด แต่นี่เราไม่มีสักอย่าง จะออก กม.ก็ถูกต่อต้านว่าขายชาติ แต่ปัญหาความหายนะก็อยู่ตรงหน้า ทิ้งไว้ก็ลงเหว จะแก้อย่างไรก็ไม่มีทางสมบูรณ์แบบ วันข้างหน้าก็ต้องมีคนมาด่า มาขุดคุ้ยถึงความไม่สมบูรณ์ต่างๆ ส่วนเรื่องดีๆ เรื่องประโยชน์ สังคมมักลืมไปหมด (ถ้าไม่ด่าซ้ำว่าน้อย ไม่พอ ไม่คุ้ม หรือไม่ก็มีคนมาเคลมไปว่า "เพราะกู") 

ยิ่งสังคมนี้มีกลุ่มคนที่ "เอาแต่ด่า" หาแต่ช่องที่จะติ จะว่าคนอื่นตลอดเวลา ไม่ยอมเข้าใจเงื่อนไขข้อจำกัด เอาแต่เรียกร้องโลกในอุดมคติที่ไม่มีอยู่จริง ด่า แต่มักไม่มีข้อแนะนำ ข้อเสนอ เสียด้วยซ้ำ ทำอย่างกับว่าหาช่องด่าคนได้แล้วเราจะรุ่งเรืองซะอย่างนั้น คนดีที่รู้แกวเขาก็ไม่อาสา ไม่ยอมมาทำงานแก้ปัญหา มีแต่พวกอยากได้ประโยชน์กรูเข้ามา 

ผมเองขอสารภาพว่า ได้รับการทาบทามให้ไปช่วยทำโน่น ทำนี่ อยู่หลายครั้ง แต่หลังจากคิดหนัก ก็กลับไปปฏิเสธทุกครั้ง ด้วยเหตุผลตรงไปตรงมาว่า "ผมมีความเสียสละไม่พอ" 

อย่างการแก้ปัญหา ปรส. ถ้าจะให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างรวดเร็วโดยไม่มีช่องว่างรอยโหว่ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เอาพ่อของ Bill Gates มาร่วมกับพ่อของ Jack Welch ยังทำไม่ได้เลย 

ถึงตอนนี้ขอคารวะและให้กำลังใจแก่ คุณอมเรศ ศิลาอ่อน และ คุณวิชชรัตน์ วิจิตรวาทการ ที่กำลังสู้คดีอยู่ อีกทีหนึ่งครับ อย่าง คุณวิโรจน์ นวลแข เจ้านายของผม ไปลุย ไปปลุกให้ธนาคารกรุงไทยลุกขึ้นมานำร่องปล่อยสินเชื่อจนทั้งระบบตื่นขึ้นมาทำหน้าที่ สุดท้ายก็ต้องใช้เวลาเป็นสิบปีมานั่งสู้คดีที่ไม่เห็นจะมีมูลเกี่ยวกับท่านเลย (ที่ไม่ยกให้ คุณวิโรจน์ เป็นพระเอกอีกคน เพราะท่านเป็นคนเดียวในหมู่พระเอกที่ไม่เคยมองผมหัวจรดเท้าด้วยหางตา....เดี๋ยวคนจะหาว่าซูเอี๋ย)

ดังนั้นบทเรียนบทแรกที่ผมคิดว่าเราได้รับจาก "มหาวิกฤติ" ก็คือ "การไม่รู้คุณคน" ทั้งๆ ที่ "ความกตัญญูรู้คุณ" ถูกพร่ำสอนตลอดมาว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของความเป็นไทย 

มีองค์กรและผู้คนมากมายที่เสียสละทำงานอย่างหนัก กล้าเสี่ยงภัยทางกฎหมาย ทำให้เรากลับมาตั้งตัวเดินได้อีก แต่สุดท้าย ถ้าไม่ได้รับรางวัลเป็นคดีติดตัว ก็ถูกก่น ถูกประณามอย่างไม่เป็นธรรม 

องค์กรอย่าง IMF ที่ถูกก่อตั้งมากว่า 50 ปี มีวัตถุประสงค์และมาตรฐานการดำเนินงานอย่างชัดเจน ก็ถูกป้ายสีแต่งเรื่องเสียอย่างไม่มีเหตุผล ไม่มีทางป็นไปได้ที่คนหลายพันคน หลายยุคหลายสมัย จะร่วมมือกันทำเรื่องอย่างที่ถูกป้ายสีได้ จนแม้ในหนังเขายังไม่นิยายเกินเลยขนาดนี้เลย (ถึงตอนนี้ผมหวังว่า ไม่ได้ก้าวล่วง "กูรู" ใน fb หลายท่านนะครับ ขอให้ถือเสมือนว่าเป็นความเห็นต่างมุม มือใหม่อย่างผมไม่ค่อยมีใครฟังหรอกครับ) 

เรื่อง "คนดีจะไม่กล้าอาสา" นี้ ส่งผลมาถึงทุกวันนี้ อดีตนายกฯ ท่านหนึ่ง (ไม่บอกว่าใคร และไม่บอกว่าสมาคมไหน) เคยปรารภกับผม (นานมาแล้ว) ว่า "เมืองไทยนี่แปลก พวกคนดีนี่เปราะ มีอะไรกระทบนิด กระทบหน่อยทนไม่ได้ ไขก๊อกตลอด ส่วนไอ้พวกคนเลว ให้ทำอะไรก็ทนได้ ให้ย้ายไปดูจับกังดูแรงงานก็ไป อดทนกล้ำกลืนได้" (อ้าวไหนว่าจะไม่บอกว่านายกฯ อะไรไง แต่โปรดอย่าลืมคำว่า นานแล้ว นะครับ นานแล้วจริงๆ ไม่ใช่เดือนก่อน) 

นี่เป็นเรื่องอันตรายมาก ถ้าคนที่มาสาบานพร่ำพูดว่าจะมารับใช้ชาติเหลือแต่พวกที่หวัง "รับไซ้ชาติ" ไม่นานชาติคงถูกไซ้จนเปลี้ย เหลือแต่กระดูกแน่

ปกติ วิกฤติขนาดนี้มักจะก่อให้เกิดการปฏิรูป (reform) ใหญ่ในหลายๆ เรื่อง เช่น ระบบการเงิน ระบบ กม. ไปจนถึงระบบการบริหารจัดการ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้ระบบดีขึ้น พร้อมที่จะเดินหน้าได้อย่างแข็งแรงขึ้น เผชิญวิกฤติอนาคตได้ดีขึ้น ทั้งนี้ เพราะเวลาพัฒนามา ย่อมมีการบิดเบือน บิดเบี้ยวบ้าง การปฏิรูปหมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่มักจะไม่มีลักษณะ win-win (คำเพราะ...ที่ถูกยกเพื่อไม่ต้องทำอะไรเลย หรือเมื่อต้องการเอาเปรียบ taxpayer) จะต้องมีผู้ได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งในเวลาปกติมักถูกต่อต้าน ทำได้ยาก เวลามีวิกฤติจะมีแรงผลักดันทำให้เกิด 

ก็มาตรการ IMF ทั้งหลายนะแหล่ะครับที่มุ่งหวังให้เกิดการปฏิรูปที่ดีขึ้นในระยะยาว แต่ก็อย่างที่บอก ถูกต่อต้าน ใส่ไคล้ป้ายสี จนทำได้ไม่ครบ หรือไม่ก็บิดเบี้ยว บิดเบือนไปไม่น้อย 

สรุปว่าถึงจะมีการปฏิรูปบ้างหลายด้าน (ขอไม่ลงรายละเอียด เพราะมีรายงานการศึกษาหาได้ทั่วไป) ผมคิดว่าเราเสียโอกาสในการปฏิรูปไปไม่น้อย น่าเสียดายโอกาส จะภาวนาให้โอกาสแบบนี้กลับมาอีกไวๆ ก็ยังแหยงฝุดๆ เอาเป็นว่าชาติหน้าค่อย reform ใหญ่แล้วกัน อยู่กันอย่างยื้อๆ ไปวันๆ ก่อน

ความจริงเมื่อเกิดวิกฤติใหญ่ขนาดนี้ มักเกิดความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า และนำไปสู่ความโกรธแค้นของฝูงชน เกิดการจลาจลวุ่นวาย แต่ในประเทศไทยแทบไม่มีความวุ่นวายใดๆ (social unrest) เลย ม็อบที่มีก็น้อยและมักเป็นเรื่องที่มีการเมืองหรือผลประโยชน์แฝง เช่น ม็อบต่อต้านกฎหมายขายชาติที่จัดตั้งโดยกลุ่มวุฒิฯ ที่กลัวว่านายทุนจะเดือดร้อน 

เหตุผลที่ประเทศไทยไม่มีความวุ่นวาย และไม่จำเป็นต้อง reform ใหญ่ ก็สามารถกลับมาตั้งหลักได้ เพราะเรามีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง เช่น

- สินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญจำเป็น อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยาสำคัญส่วนใหญ่ และที่อยู่อาศัย เป็นสินค้าที่เราผลิตได้เองพอเพียงแทบทั้งสิ้น วิกฤติค่าเงินไม่ได้ทำให้เกิดการขาดแคลนหรือราคาขึ้นรุนแรงใดๆ

- ลักษณะครอบครัวแบบไทย ที่ยังมีความผูกพันเกื้อหนุนกันในวงกว้าง ทำให้ช่วยกระจายแบกรับผลกระทบได้ดี การช่วยเหลือกันทำให้ไม่มีใครลำบากขนาดอดตาย แรงงานตกงานสามารถกลับชนบทและยังมีที่อยู่ มีอาหารสมบูรณ์

- สินค้าและผลผลิตอยู่ในลักษณะกระจายตัว ไม่พึ่งพิงอุตสาหกรรมใดมากเกินไป มีการกระจายที่ดี ทั้งเกษตร และ อุตสาหกรรม และส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้าปฐมภูมิ (ประโยชน์ของความไม่เจริญ) ทำให้เผชิญกับความผันผวนของ ศก.โลกได้ดี

- ตลาดคู่ค้าของเราก็กระจายตัวดี ไม่มีประเทศไหนมีสัดส่วนสินค้าส่งออกเกิน 20%

พอค่าเงินลด ต้นทุนของสินค้าส่งออกเราก็ลดหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เป็นเหตุผลหลักที่ ศก.เราฟื้นตัวอย่างที่เรียกว่า export driven จากส่งออกแค่ 30% เป็นกว่า 70% ของ GDP น่าเสียดายที่เราหลงระเริงกับต้นทุนลด เลยละเลยที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จะเห็นว่า Total Factor Productivity เพิ่มน้อยมาก โดยเฉพาะธุรกิจไทย ทำให้เรากดค่าแรง และพอค่าเงินแข็งขึ้น (ยังสูงกว่าก่อนวิกฤติตั้งกว่า 20%) เราก็โวยวาย

ผมขอสรุปว่า บทเรียนที่เราได้รับมีไม่มากนัก โดยเฉพาะในระดับโครงสร้างใหญ่ ในระดับไมโครมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายความมั่งคั่งบ้าง ประเทศเปิดมากขึ้น แต่คนรวยส่วนใหญ่ก็ยังเป็นคนกลุ่มเดิม ความเหลื่อมล้ำกลับมากขึ้น (รายละเอียดในบทความเรื่อง"ความเหลื่อมล้ำฯ" post เมื่อ 22 มิย.) 

ในด้านระบบการเงินซึ่งถูกกล่าวหาเป็นจำเลยสำคัญ ได้รับการปฏิรูปอย่างมากจนแข็งแรง มีเสถียรภาพ (ผมมีความเห็นว่าการที่ ธปท.มุ่งเสถียรภาพ at all cost ก่อให้เกิดต้นทุนต่อระบบมากไป...และเป็นข้ออ้างให้เปิดเสรีช้าลง) ธุรกิจธนาคารเข้มแข็งและมีกำไรสูงมาก (ต้นทุนของระบบ.. ดีกับพวกผม) ภาคเอกชนมีฐานะการเงินแข็งแกร่งอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ถ้าเราจะเกิดวิกฤติอีกจะไม่เป็นแบบเดิม ในระยะอันสั้นไม่น่าจะมีวิกฤตที่เกิดจากเอกชนหรือจากตลาดการเงินอีก ถ้าจะมีวิกฤติน่าจะมาจากทางสังคม การแตกแยกวุ่นวาย หรือจากการเมือง หนี้สาธารณะก็ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ นอกจากว่าจะมี พรบ.2.0 ล้านๆ พรก.350,000 ล้าน ขาดทุนจำนำข้าวปีละสองแสนล้านต่อเนื่องไปทุกปี 

ถ้าอย่างนั้น ไม่กี่ปีก็น่าจะได้ไปสมทบกับพวก PIGS ในยุโรป เอารสชาติต้มยำกุ้งเราไปทำ "ต้มยำหมู"ให้ลือลั่น

เห็นทีจะต้องจบมหากาพย์ต้มยำกุ้งนี้เสียที นี่เป็นหนังสือเรื่องยาวที่สุดในชีวิตที่เคยเขียน 

มีคนถามว่าผมรู้เรื่องราวเหล่านี้ได้อย่างไร 

ขอตอบว่า ผมเป็นคนมี*** "เสือกอ่าน เสือกฟัง เสือกรู้ เสือกเห็น" มาแต่ไหนแต่ไร เสร็จแล้วก็ยัง "เสือกคิด เสือกจำ" เลยเอามา "เสือกเขียน" โดยที่ไม่มีใครขอ ใครสั่ง แถมตังค์ก็ไม่ได้ 

แต่ก็ขอเตือนอีกนะครับว่าถึงจะรู้เยอะแค่ไหน ก็คงรู้ไม่ครบ ไม่หมด โปรดใช้วิจารณญาณให้มากก่อนที่จะเชื่อ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นความเห็น เป็นดุลยพินิจ เพราะผมมักได้ชื่อว่าคิดอะไรไม่ค่อยเหมือนคนส่วนใหญ่เสมอมา ยิ่งในบทสรุปยิ่งเป็นเรื่องความเห็นเสียเยอะ ใช้ "กาลามสูตร" เข้าจับนะครับ

ผมเขียนเรื่องนี้ เพื่อบันทึกความทรงจำในเหตุการณ์ช่วงสำคัญที่ได้มีส่วนรู้เห็นบ้าง กับต้องการยกย่องเชิดชูบุคคลที่มีส่วนร่วมในการพลิกฟื้นสถานะอันย่ำแย่นั้น (ยืนยันอีกครั้งว่าไม่หวังสอพลอใคร...ซึ่งจะว่าไปทุกท่านก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะ ให้ได้ ให้เสีย ผมได้เท่าไหร่แล้ว)

ส่วนถ้าจะกระทบใครบ้าง (ส่วนใหญ่เป็นคนที่หลงมาอ่านแหละ) ต้องกราบขออภัย และเรียนว่าไม่ได้มีอคติใดๆ กับใครเลย เพียงหวังว่าจะเป็นประโยชน์ช่วยเสริมให้ ชีวิตนี้ ชาตินี้ อย่าต้องกลับมาเขียน มาเล่าเรื่องวินาศอย่างนี้อีกเลย 

อังกอร์ ฟินาเล่แค่นี้นะครับ 

--------------------------------------------------------------------------------------




#786185 อินไซด์ต้มยำกุ้ง โดยพี่เตา

โดย แม้ว ม.7 on 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 23:41

บรรยง พงษ์พานิช 

 

อินไซด์ต้มยำกุ้ง โดยพี่เตา ตอนทื่ 1/7

---------------------------------------

2 กรกฎาคม 2556... 16 ปีแห่งความหลังงงงงง

วันนี้ตื่นแต่เช้าตรู่ สิ่งแรกที่นึกถึง ก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ของ16 ปีที่แล้ว..เป็นอันว่าได้เล่าเรื่องเก่าอีกวัน(สงสัยจะแก่จริง)

2 กค. 2540 ผมถูกโทรศัพท์ปลุกตั้งแต่ตีห้าครึ่ง โดยอาจารย์เปี๋ยม (ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ) โทรมาบอกว่า แบงค์ชาติปลุก CEO ธนาคารทุกคนให้ไปประชุมตอน 7 โมงเช้า น่าจะมีการลดค่าเงิน ปรากฎว่า อ.เปี๋ยม คาดผิดไปนิดหนึ่ง เขาไม่ได้ลดค่าเงิน แต่เขาลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งมันก็ลอยลง ลอยลง อย่างรวดเร็ว จาก 25 บาทต่อUS$ เป็น 40 เป็น 50 ไปโน่นเลย 

นั่นเป็นฉากเริ่มต้นของหนังยาวที่ชาวไทยจำได้ดี เพราะเป็นหนังที่รวบรวมทั้ง drama, thriller, adventure, โศกเศร้ารันทด, สยองขวัญ ครบทุกรสชาด (ยกเว้น comedy เพราะขำไม่ออกเลยจริงๆ)

16 ปีผ่านไป เรามาย้อนดูอีกทีว่าเกิดอะไรขึ้น...ใครกันวะ (ที่ไม่ใช่กู) ทำให้มันชิบหาย

หลายคนโทษพ่อมดการเงิน คุณพี่ Soros และชาวคณะ hedge fund ที่ทะยอยโจมตีค่าเงินบาทหลายระลอก... หลายคนโทษ ธปท.ที่ต่อสู้ยิบตาจนหมดหน้าตัก... บางคนไพล่ไปโทษจีน ที่บิ๊กจิ๋วส่งคนไปขอยืมแค่หมื่นล้านเหรียญแล้วไม่ให้... มีแม้กระทั่งมาโทษผมว่าเป็นที่ปรึกษาควบรวม "ไทยทนุ-ฟินวัน" แล้วไม่สำเร็จ ฯลฯ เวลาผ่านไป เรามาดูว่าเกิดอะไรขึ้น ใครทำกันวะ เราเรียนรู้อะไร

ทั้งหมดต่อจากนี้เป็นการวิเคระห์ของผมและทีมภัทรฯ เชื่อไม่เชื่อพิจารณากันเองนะครับ

"วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 มีสาเหตุจากปัญหาการลงทุนผิดพลาดอย่างกว้างขวางทั่วไป ในระบบ ศก.ไทย ในภาคเอกชน โดยใช้แหล่งเงินทุนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมากว่า5 ปี (1991-1996)"

ความจริงเรื่องวิกฤต ศก.นี้ ผมเล่ามาหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ จนแทบจะเป็นจุดขายหลักอันหนึ่งของผม (หาอ่านได้ในหลายที่ เช่น Thai Publica) แต่วันนี้จะลองไล่ใน version ใหม่ โดยมุ่งประเด็นว่า ใครทำ ใครผิด

- มันต้องเริ่มไปโทษโน่นเลยครับ คุณปู่ Reagan กับ คุณป้า Thatcher ที่ริเริ่ม deregulation ในช่วงต้นทศวรรษ 1980's ทำให้เกิดการไหลเวียนของเงินทุนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เป็นจุดเริ่มต้นของ Globalization 

- แล้วคุณปู่ Reaganก็ทำผิดซ้ำซ้อน เพราะไป force ให้เกิด Plaza Accord ในปี 1985 ทำให้พี่ยุ่นถูกบีบให้ย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ เพราะค่าเงินเย็นแข็งพรวดพราดจาก 300 มาเป็น 100 เยน ต่อเหรียญ

- ทีนี้ก็มาถึงคิวของป๋าเปรม กับ ปู่สมหมาย ที่ดันทำให้ประเทศมีเสถียรภาพทั้งการเมือง การคลัง แถมเกิดซวย พบแก๊ซธรรมชาติอีกเยอะแยะ แล้ว อ.เสนาะ อุณากูล ก็ดันผลักดันโครงการ Eastern Seaboard ได้สำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อซะอีก พี่ยุ่นก็เลยทะลัก ย้ายฐานการผลิตเข้าไทยอย่างไม่บันยะบันยัง (ไม่ยักกะบันยง) จนเกิดยุค "โชติช่วงชัชวาล" ขึ้นอย่างช่วยไม่ได้ (1986-1990)

- ไอ้พวกนักลงทุนสถาบันต่างชาติก็แย่ ตลาดหุ้นเราซบเซา เงียบสงบอยู่ดีๆ มาได้ 7 ปี หลังยุคราชาเงินทุน หุ้นราคาก็ดี P/E 3-4 ดันเข้ามาแย่งซื้อ หุ้นขึ้นอื้อ 60-70% ต่อปี ตลาดไทยเลยกลายเป็นแถวหน้าของ Emerging market ในช่วง1986-1991

- พวกเจ้าประคุณนักลงทุนไทยก็ช่างโลภมาก ลงแชร์แม่ชม้อย แม่นกแก้ว Charter อยู่ดีๆ ดันย้ายแห่ตามมาลงตลาดหุ้น จนแชร์แม่ๆ ลูกโซ่ขาด ล้มระนาวเดือดร้อนกันไปทั่ว

- ทางการไทยก็ห่วย ดันไปจัดตั้ง กลต. ขึ้นในปี 1992 ทำให้เกิดความคาดหวังว่าระดับมาตรฐานตลาด บรรษัทภิบาล กฎเกณฑ์ต่างๆ จะถูกพัฒนาจนได้มาตรฐานสากล ไอ้พวกฝรั่งเลยเกิดความมั่นใจ แห่ทะลักเพิ่มอีกหลายเท่าทวีคูณ

- ทีนี้ไอ้เงินท่วมโลกพยายามจะเข้าไทยที่เนื้อหอมสุดๆ ทำได้ไม่ค่อยสะดวก เพราะควบคุมจุกจิก รัฐบาลท่านชวน-ธารินทร์ ก็เลยผลิตนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ BIBF ขึ้นในปี1993 นัยว่าเพื่อเป็นไปตามกระแสเปิดเสรี เงินให้กู้ (ส่วนใหญ่ระยะสั้น) ก็เลยไหลทะลักเข้าไทยอย่างล้นหลาม (โดยไม่ต้องพึ่ง QE) ไอ้พวกนายธนาคารระดับโลกโง่ๆ ก็แย่งกันมาให้กู้ จนศิริรวมได้เกือบหนึ่งแสนล้านเหรียญ ในปี1996 (เกือบเท่าGDP ตอนนั้น)

- ไอ้ตลาดหุ้นตัวร้ายก็ดันขยันสุดๆ ระดมทุนให้บริษัทไทยได้มากมาย ตลาดแรกระดมได้ถึงเกือบล้านล้านบาท เลยเกิดเจ้าสัวไทยขึ้นอย่างมากมาย มีการลงทุนทุกหัวระแหง แทนที่จะต้องรอแต่ฝรั่ง ญี่ปุ่น นายแบงค์ ปูนฯ อย่างแต่ก่อน

- ไอ้เตา กับพวกภัทร นั่นแหละตัวดี ดัน underwrite หุ้นออกมาได้ตั้งเกือบ 200,000 ล้านบาท ในช่วง 1987-1996 แถมคุยโม้ว่าทำประโยชน์ ทั้งๆ ที่ไอ้ 500,000 ล้าน นั้น มีค่าเหลือแค่หนึ่งในสามหลังเกิดวิกฤต (ถ้าถามว่าใครมีส่วนร่วมทำให้เกิดวิกฤตบ้าง ผมก็จะยกมือสุดแขน ถามว่ามีส่วนพลาดไหม ยอมรับว่ามาก แต่ถ้าถามว่าทำชั่ว คิดชั่วไหม เถียงกันจนตายก็ไม่ยอมรับ)

- ความจริงในช่วงประมาณ1992-1993 ธปท.เคยเป็นห่วงเรื่องoverheat ของ ศก. ถึงกับออกมาตรการจำกัดการขยายตัวของสินเชื่อ (สมัยคุณวิจิตร) แต่แป๊บเดียว ก็ถูกนักการเมืองขู่ฟ่อ เพราะทำให้ ศก.ชะลอตัว ไม่เติบโตเท่าที่คุยไว้ ก็เลยรีบถอนมาตรการแทบไม่ทัน เพราะกลัวโดนปลดเหมือนผู้ว่ากำจร สถิรกุล ที่บ้าหลักการไม่รู้จักลู่ลม

- ตลาดหลักทรัพย์ก็กลัวไม่มีสินค้า อนุญาตให้อุตสาหกรรมพื้นฐานเข้าตลาดได้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เป็นแค่กระดาษ แผนการเท่านั้น เช่น เหล็ก ทองแดง ฯลฯ พวกนี้เป็น NPL 100% ในภายหลัง

- เศรษฐกิจไทยก็เลยติดเทอร์โบ บูมสุดขีดในช่วง 1987-1995 อัตราเติบโตเฉลี่ยร่วมสิบเปอร์เซนต์ ทุกคนร่าเริงแจ่มใส ชี้นกเป็นเงิน ชี้ไม้เป็นทอง ทำอะไรก็กำไร ได้เงินง่ายๆ

- ความจริงตัวเตือนก็ค่อนข้างชัด current account ของเราติดลบ 7-8% (แปลว่าใช้มากกว่าสร้าง) ต่อเนื่องมาหลายปี แต่ก็ถูก finance ด้วยเงินกู้กับเงินซื้อหุ้นอย่างที่บอกแหละครับ แล้วนัก ศศ.ระดับอาจารย์ ระดับโหรฯ อีกหลายท่านก็ออกมานั่งยัน ยืนยัน นอนยัน ว่าไม่มีอะไรน่ากลัว เพราะเราเอามาลงทุน ซึ่งเป็นเรื่องดี พอผลผลิตออก เราก็จะมั่งคั่ง คืนเขาแล้วยังจะเหลือเยอะ ถึงเวลาพ้นกับดักการพัฒนาเสียที เอ้าเฮ...ลงทุนเข้าไป

- ทีนี้พอครึ่งหลังปี 1996 อาการชักออก ภัทรฯ (โดยคุณธีรพงษ์ วชิรพงษ์) ทำวิเคราะห์ พบว่า บจ.ในตลาดฯ มีถึงกว่า180 บริษัทที่มี EBITDA ต่ำกว่าดอกเบี้ยจ่าย (แปลว่า ดบ.ยังจ่ายไม่ได้เลย อย่าว่าแต่คืนเงินต้น..NPLแหงๆ) รวมแล้วประมาณว่า 32%ของเงินกู้ของ บจ.ทั้งหมดจะเป็น NPL 

- สามพวกก็เห็นอาการก่อน คือ ธนาคารต่างประเทศที่ให้กู้ระยะสั้นเริ่มเรียกคืน นักลงทุนสถาบันต่างประเทศเทขายจนหุ้นตกระเนระนาดตั้งแต่ต้นปี 96 แล้วพวกนกแร้ง (Hedgefund) ก็เข้าโจมตีค่าเงินเป็นระลอก ตั้งแต่ปลายปี 96 สถาบันการเงินเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง คนขาดความมั่นใจ

- เช่นทุกครั้งที่เริ่มเกิดวิกฤต เราจะต้องตั้งสมมุติฐานก่อนว่าเป็นวิกฤตสภาพคล่อง (liquidity crisis) วิกฤตความมั่นใจ เลยต้องแก้โดยการอัดเงินสู้ เรียกร้องให้มั่นใจ ซึ่งก็เลยเรียกร้องได้แต่คนไทย ฝรั่งเขาไม่มั่นใจด้วย เช่น มี Economist ชั้นยอดของ CLSA วิเคราะห์ว่า ไทยไปไม่รอดแน่ เราก็ส่งสันติบาลเข้าค้นบ้านเขา จะเนรเทศเขา จนเขาต้องเผ่น แล้วก็เลยโด่งดังระดับโลกในเวลาต่อมา พอ The Economist ดันขึ้นหน้าปกว่า The Fall of Thailand เราก็ห้ามขายในประเทศ (นี่แหละครับผมถึงสงบเสงี่ยมเจียมตัว ไม่กล้าวิพากษ์ วิจารณ์ผู้มีอำนาจ กลัวถูกเนรเทศน่ะ บ้านก็เพิ่งสร้างเสร็จ แม่ก็อายุ 90 แล้ว)

- แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงมันเป็นวิกฤตการดำรงอยู่ solvency crisis (เรียกง่ายๆ ว่า เจ๊งอย่างกว้างขวาง แหละครับ) ถึงเวลาเงินก็หมดหน้าตัก ความมั่นใจหลอกๆ ก็สร้างไม่ได้อีกต่อไป เอวังก็เกิดในวันที่ 2 กรกฎาคม2540 ไงครับ

ถามว่า แล้วอะไรมันผิดไปวะ ทำไมนัก ศศ. ชั้นครูทั้งหลาย ที่ ธปท. รวมทั้ง ท่านโหร ศก.ทั้งหลายจึงดูไม่ออก

ผมยกให้ Fixed Foreign Exchange Rate เป็นผู้ร้ายอันดับหนึ่งของหนังเรื่องนี้ พอเราเปิดเสรีให้เงินไหลเข้ามาทุกทาง แต่ไม่เปิดเสรีค่าเงิน มันก็เลยบิดเบี้ยว Inflation ก็ไม่สูง เพราะพวก tradable goods ราคาไปตามตลาดโลก แต่เหมือนลูกโป่งแหละครับ พออัดเงินเข้า ราคาของ non-tradables ก็เกิดฟองสบู่ (ได้แก่พวกอสังหา ค้าปลีก โรงพยาบาล infrastructure ฯลฯ) ก็เลยกำไรมาก การลงทุนภาคนี้พุ่ง โดยใช้เงินกู้ระยะสั้นจากตปท.มาลงระยะยาวในกิจการที่ไม่มีรายได้ต่างประเทศ อุปสงค์แท้จริงก็ไม่มี ลงทุนไปเยอะ แต่ output ไม่เพิ่ม มันก็เลยเจ๊งไม่เป็นท่าอย่างที่เห็น ผมยังนึกขอบคุณคุณพี่ Soros อยู่เลย ถ้าท่านไม่มาเราอาจจะยื้อได้อีกพัก แต่สุดท้ายก็แป๊กอยู่ดี และจะเจ็บใหญ่ เจ็บหนักกว่านี้ แน่นอน (นี่คือประโยชน์แท้จริงของ hedgefund คือช่วยตรวจ ช่วยปรับความผิดปกติในระบบ ศก.)

ที่เขาว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ที่เกิดอย่างโด่งดังเริ่มที่เราแล้วเป็นโรคระบาดไปทั่ว เกาหลี มาเลย์ อินโด ฟิลิปปินส์ ติดโรคไปหมด จริงๆ แล้วไม่ใช่โรคระบาดหรอกครับ มันกินของแสลงเหมือนๆ กัน คือไอ้ fixed Exchange Rate นี่แหละครับ มันเลย "อาหารเป็นพิษ" ไปทั่ว

เห็นไหมครับ การไปบิดเบือนกลไกตลาดในบางครั้ง แม้จะทำโดยเจตนาดี เจตนาบริสุทธิ์ ก็สามารถทำให้เกิดผลร้ายได้ยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้ ผมก็ได้แต่หวังว่าการบิดเบือนตลาดข้าวครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้จะไม่ก่อปัญหาวิกฤตร้ายแรงใดๆ ท่านน่าจะเก่งกาจสุดยอดจน "เอาอยู่" ทั้งควบคุมตลาดโลกได้ ลดรั่วไหล สร้างประสิทธิภาพ (อ้าว...ไอ้เตา แวะไปอีกแล้ะ...เดี๋ยวโดนเนรเทศหรอก*คุณ*)

วันนี้ฝอยยาวมากกก....ตั้งแต่ 7 โมงเช้ายันสิบโมง ยังไม่ได้ว่าถึงกระบวนการแก้ปัญหาและบทเรียนเลย ต้องยกยอดวันหน้าอีกแล้ว แค่ควานหาคนผิดก็ปาเข้าไปครึ่งโลก นี่ถ้าจับเข้าคุก ยึดทรัพย์ได้หมด ก็คงคุกเต็ม ทรัพย์ล้นคลัง ไม่ต้องกู้ 2 ล้านๆ ดันไปไล่เอาจากคุณเริงชัยคนเดียว เลยไม่ได้อะไร เพราะท่านไม่มี ไม่เคยโกง

ไปทำงานละ ไม่รู้ว่าโดนไล่ออกจากงาน กับโดนเนรเทศนี่ อย่างไหนจะเกิดก่อนกัน

 

 

มหากาพย์ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ตอน 2 ... (เล่าเมื่อ 4 กค. 2556)

---------------------------------------------------------------

เมื่อวานซืนบทความ "16 ปีแห่งความหลัง" มีคนกดไลค์ กดแชร์ เกินพันเป็นครั้งแรกของบทความผม เป็นกำลังใจให้เล่าตอนต่อ เพื่อไม่ให้นานเกินรอ

กระบวนการแก้ไขและผลภายหลังของวิกฤติ ส่วนใหญ่เป็นที่รับรู้ และมีการวิเคราะห์วิจัย หาอ่านได้เยอะแยะทั่วไป ที่จะเล่าจะเป็นส่วนที่ผมเกี่ยวข้องได้รู้ได้เห็น (บางเรื่องเป็น inside) คนอื่นไม่ค่อยได้เน้น และเป็นในมุมมองของผมเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะพาดพิงถึงใครโดยไม่เหมาะสมบ้างก็ขอกราบขออภัย และท้วงติงด่าทอกลับมาได้ (อย่าถึงกับฟ้องร้องเลย)

ตอนที่แล้วเล่าถึงสาเหตุ ความผิดพลาดที่คนครึ่งโลก รวมทั้งคนไทยครึ่งประเทศมีส่วนร่วม ทำให้เกิดวิกฤต จนถึง 2 กค.40 และผมยกให้ Exchange Rate Policy เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด ทั้งๆ ที่เป็นนโยบายที่มีจุดประสงค์ที่ดี ทำให้เกิดผลดีในระยะหนึ่ง แต่นานไปก็ก่อให้เกิดการบิดเบือนในภาคส่วนต่างๆ 

มีหลายท่านพยายามอธิบายว่าเป็นแผนการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจที่ไอ้พวกต่างชาติทั้งโลกมันร่วมกันวางแผนเอาเงินมาหลอกให้เรากู้ เอาเข้ามาแกล้งซื้อหุ้น แล้วขยิบตาพร้อมกันกระชากออก เสร็จแล้วก็ส่ง IMF เข้ามาทำทีเป็นช่วย แต่กลับบังคับให้เลวลงอีก ออกกฎหมายขายชาติ แล้วพวกมันก็เข้ามากวาดซื้อของดีๆ ในราคาถูกๆ 

โอ้โห....ฟังดูเสมือนหนึ่งไอ้พวกต่างชาติมันมีคนเดียว แก๊งเดียว Godfather คนเดียวสั่งได้หมด ทั้ง Bank ไอ้กัน ยุโรป ญี่ปุ่น ออสซี่ กว่าร้อยแห่ง ประชุมร่วมวางแผนอย่างพร้อมเพรียง ร่วมกับกองทุนหุ้นอีกหลายร้อย แถมปฏิบัติการกว้างขวาง ในไทย เกาหลี มาเลย์ อินโด ฟิลิปปินส์ ฯลฯ 

ผมขอบอกว่าทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) อย่างนี้ไม่มีทางเป็นจริงได้เลยแม้แต่นิดเดียว เป็นได้แค่เพียงพล็อตหนังที่ถ้าเป็นจริงเอาพ่อของเจมส์ บอนด์ 007 มาก็คงปราบไม่ได้ 

ในความเป็นจริงพวกแบงค์ นักลงทุน ทั่วโลกเสียหายรวมกันกว่าล้านล้านเหรียญ ไอ้พวกแร้งลง เช่น hedgefund, distressed fund (ซึ่งเป็นคนละพวก) ที่ตามมา ถ้าได้กำไรก็เป็นแค่หลักพัน หลักหมื่น นายแบงค์ fund manager เพื่อนเก่าผมถูกไล่ออกตกงานกันเป็นแถว 

อ่านถึงตอนนี้ ใครที่ยังปักใจเชื่อทฤษฎีที่ว่า น่าจะเลิกอ่านต่อได้นะครับ เดี๋ยวจะหงุดหงิดเสียเปล่าๆ

แวะไปทะเลาะกับคนเขาแล้ว ขอกลับมาสู่เหตุการณ์สำคัญๆ หลัง 2 กค.40

- ภาวะตื่นตระหนกเกิดขึ้นทั่วทั้งระบบ ค่าเงินลดฮวบ ต่ำกว่า 35 บาทต่อเหรียญใน 1 เดือน และมีทีท่าไหลลงต่อเนื่อง คนเริ่มถอนเงินฝาก โดยเฉพาะจากสถาบันการเงินขนาดเล็ก การค้าการเงินชะงักงันไปทั่ว

- วันอังคารที่ 5 สค. 40 ครม.มีมติให้รัฐเข้าคุ้มครองรับประกันเงินฝากในสถาบันการเงินทุกแห่ง ตรงนี้มีเกร็ดเล่านิดหนึ่ง วันศุกร์ก่อนหน้าท่านนายกฯ (บิ๊กจิ๋ว) ให้สัมภาษณ์ว่าจะประกันเงินฝาก ผมกับ ดร.ศุภวุฒิ เลยขอเข้าพบ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ผู้ว่าธปท.ที่เพิ่งเข้ามาแทนคุณเริงชัย มะกะรานนท์ ที่ถูกบีบให้ลาออกไป เพื่อวิเคราะห์ให้ท่านเห็นถึงต้นทุนของรัฐถ้าค้ำประกัน โดยคำนวณให้ท่านดูว่าถ้า NPL ทั้งระบบขึ้นไปถึง 35% ความเสียหายที่รัฐต้องรับจะประมาณ 700,000 ล้านบาท และสถาบันการเงินทุกแห่งต้องตกเป็นของรัฐ เพราะเจ๊งเรียบ 

(ในความเป็นจริง เราคาดผิดครับ เพราะ NPLปาเข้าไป 45% ความเสียหายเลยเป็น 1.4 ล้านๆ ที่ยังเหลืออยู่ในกองทุนฟื้นฟูวันนี้ถึง 1.1 ล้านๆ ไม่รวมดอกเบี้ย 16 ปีที่รัฐช่วยจ่ายไงครับ) ส่วนสถาบันการเงินที่ไม่เจ๊งหมดต้องยกให้เป็นความฉลาดของรัฐ ธปท. IMF บวกกับความเฮงอีกนิดหน่อย ...ถ้าไม่กลัวยาวเกิน จะเล่าให้ฟังครับ) 

ท่านผู้ว่าฟังแล้วถึงกับอึ้งไป แล้วบอกสั้นๆ ว่า สงสัยต้องว่าไปก่อน แล้วค่อยไปแก้ปัญหาเอา วันรุ่งขึ้นก็มีมติ ครม.ดังกล่าว ความจริงมามองย้อนหลังผมเห็นด้วยว่าต้องค้ำ เพราะไม่อย่างนั้นสถานการณ์จะโกลาหลเอาไม่อยู่ และถ้าเริ่มมี deposit fligth ออกจากประเทศ ต้องไปตามพ่อ IMF มาด้วย เหมือนกรีซแหละครับ แล้วเราก็เห็นว่าประเทศพัฒนาแล้วทุกแห่งก็ทำเหมือนกัน ตอนเกิดวิกฤติโลกปี 2008 

- ในวันเดียวกัน (5 สค.) มีการระงับการดำเนินการของบริษัทเงินทุนอีก 42 แห่ง รวมของเดิมเป็น 58 แห่ง

- แล้วรัฐบาลไทยก็ตกลงเข้ารับการช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยลงนามใน Letter of Intent (LOI) ฉบับที่1 เมื่อ14 สค. 40 เพื่อรับวงเงินช่วยเหลือ 17.2 พันล้านเหรียญ ซึ่งผมขอยืนยันว่า IMF เป็นอัศวิน เป็นพระเอกตัวจริงคนหนึ่ง (มีหลายคนเหมือนคุณชายวังบางขุนพรหม เอ๊ย จุฑาเทพ) ที่มาช่วยให้ไทยตั้งหลักเดินหน้าได้อีก ไม่ได้เป็นผู้ร้าย***เหมือนบางคนป้ายสี ถึงแม้บางครั้งพระเอกอาจพลั้งเผลอ ซุ่มซ่าม ขัดขา หรือเอาศอกกระทุ้งหน้านางเอกอย่างไม่ตั้งใจบ้าง แต่โดยรวม ถ้าไม่มี IMF นางเอกยับเยินกว่านี้แน่นอน (ไว้แล้วจะอธิบายภายหลังนะครับ)

- ดูเหมือนสถานการณ์ก็ยังไม่กระเตื้องเท่าไหร่ แถมประเทศอื่นๆ ก็เป็นโรคลุกลามไปทั่ว เราเลยยิ่งทรุด เพราะกลัวว่าถ้า 17.2 ไม่พอ คุณพี่ IMF คงไม่เหลือกำลังเพิ่มให้เท่าไหร่ คนก็เลยไม่เชื่อ 

- 22 ตค.40 ออก พรก.ปฏิรูปสถาบันการเงิน เพื่อจัดการกับ บง. 58 แห่งที่ถูกพักการดำเนินการ

- ดร.ทนง พิทยะ รมต.คลัง ลาออก 24 ตค. ปรับ ครม. ดึง ดร.โกร่ง (วีรพงษ์ รามางกูร) เป็น รองนายกฯ อ.โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นรมต.คลัง 

- 6 พย. 40 โดยไม่มีปี่มีขลุ่ย ท่ามกลางความงงงวยของทุกฝ่าย พล อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากการเป็นนายกฯ ตรงนี้มีเกร็ดนิดหนึ่ง ก่อนหน้านั้น วันอาทิตย์ที่ 19 ตค.มีผู้ใหญ่ตามผม กับ อจ.เปี๋ยม ไปพบบิ๊กจิ๋วที่ทำเนียบตอน 7 โมงเช้า เพื่อสรุปสถานะการ ศก. โดยมี รมต.เสนาะ รมต.โภคิน มรว.ปรีดิยาธร ร่วมอยู่ด้วย ผมจำได้ว่าท่านถึงกับอึ้ง แถมมาตรการต่างๆ ก็เป็นเรื่อง "กัดลูกปืน" (bite the bullets) อย่างรุนแรงขนาดเลือดกลบปากทั้งนั้น 

ผมยังจำได้ว่า ป๋าเสนาะ ซึ่งนั่งตรวจรายชื่อโยกย้ายของมหาดไทยเป็นส่วนใหญ่ ถึงกับเงยหน้ามาพูดว่า "อย่างนี้มันก็ชิบหายจริงๆสิ ไม่ใช่ไอ้ฝ่ายค้านสร้างเรื่อง" หลังจากนั้น 2 อาทิตย์ ท่านก็ลาออก ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นคุณูปการยิ่งใหญ่อันดับสองที่ท่านทำให้กับประเทศไทย (อันดับ1 คือนโยบาย 66/2523 ที่ทำให้ยุตติสงครามก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศ) จริงๆ แล้วท่ายังทำประโยชน์อื่นอีกแยะนะครับ

- ระหว่างที่น้าชาติเตรียมตัวกลับมาเป็นนายกฯ อีกที ก็เกิดกรณีงูเห่า (ฝีมือเสธฯ หนั่น) ทำให้คุณชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ เมื่อ 14 พย. 40 มีคุณธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ เป็น รมต.คลัง (พระเอกของผมโผล่เข้าฉากอีก 2 คน)

- 8 ธค. 40 คณะกรรมการ ปรส. มีมติให้ปิดถาวรสถาบันการเงิน 56 แห่ง ให้เปิดดำเนินการต่อได้เพียง 2 แห่ง คือ บางกอกอินเวสเม้นท์ ที่ยักษ์ใหญ่ AIA เข้าอุ้ม กับ บงล. เกียรตินาคิน. ที่เสนอแผนดีเสียจนปฏิเสธไม่ได้ (โดยมี ภัทรฯ เป็นที่ปรึกษา... ขอโม้หน่อยนะครับ) นัยว่าเป็นไปตามคำแนะนำของ IMF ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันจนปัจจุบันว่าถูกต้องหรือเปล่า 

ในความเห็นผม พบว่าในภายหลัง NPL ของบง.เหล่านี้ สูงถึงกว่า70% และแม้สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ได้ถูกปิดตอนนั้น เช่น ธนาคารหลายแห่ง ก็ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ต้องให้รัฐเข้ายึด รวมทั้ง บงล.ภัทรธนกิจ ที่ผมย้ายไปเป็น CEO ก็ยังต้องปิดตัวเองลงในปี 2542 (เรียกว่าเจ๊งคามือแหละครับ....รายละเอียดเรื่องนี้ถ้ามีคนอยากรู้บอกมาเยอะๆ จะเล่าให้ฟังวันหน้านะครับ) ดังนั้น เรื่องปิดสถาบันการเงินนี้ ผมมั่นใจว่าเป็นเรื่องที่สมควรแล้ว

- สถานการณ์เริ่มเข้าสู่เสถียรภาพ แต่ค่าเงินยังไหลลงเรื่อยๆ จนต่ำสุดที่ 55.3 บาทต่อเหรียญช่วงต้นปี 41 ก่อนจะเริ่มปรับเข้าสู่ดุลยภาพที่ประมาณ 40 บาทต่อเหรียญช่วง พค.และอยู่แถวนั้นอีกหลายปี

- พค. 40 หม่อมเต่า (มรว.จัตตุมงคล โสณะกุล) พระเอกคนที่ 4 ของผม ก็ข้ามห้วยจากคลัง มานั่งผู้ว่า ธปท. ผมว่าท่านได้ทำประโยชน์ใหญ่ๆ ในเรื่องนี้ 3 อย่าง (ในความเห็นผม) คือกู้ศักดิ์ศรีและความน่าเชื่อถือของ ธปท.กลับมา ร่วมกับคุณธารินทร์ทำให้สถาบันการเงินมีเสถียรภาพขึ้นไม่ต้องถูกยึดให้เป็นของรัฐทั้งหมด และได้นำระบบ Inflation Targetting มาใช้เป็นแกนของนโยบายการเงินจนทุกวันนี้ (ซึ่งทำให้รัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งพี่โกร่ง หงุดหงิดอยู่ไงครับ) ส่วนเรื่องที่ท่านเจ้าคิด เจ้าแค้น อาละวาดจะจับคนเข้าคุกให้หมด ก็ถือว่าเป็นอีกเรื่องที่ผมลืมๆ แล้ว (คนไม่ลืมน่าจะมีเยอะนะครับ)

วันนี้เห็นจะต้องแค่นี้ก่อนครับ พรุ่งนี้จะว่าถึงกระบวนการแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง เช่น เรื่องระบบการเงิน การขายสินทรัพย์ ปรส. การงบประมาณ กฎหมายขายชาติ นโยบายดอกเบี้ย ฯลฯ แล้วจึงจะสรุปบทเรียน หวังว่าน่าจะไม่เกินอีกสองตอน จะพยายามให้จบในสุดสัปดาห์นี้ ก่อนคุณชายจุฑาเทพจะจบนะครับ

 

 

"ต้มยำกุ้ง ภาค 3" ..... หนังที่จา พนม ไม่ได้ร่วมแสดง

ลงโรงเมื่อ...6 กค. 2556

เมื่อวานซืนฉายตอนสอง คนมาshare มา like เหลือ 600 จากตอนแรก 1,400 แต่คิดดูยังน่าคุ้มทุน เลยตัดสินใจถ่ายทำภาค 3 (ถ้าลดต่ำกว่า 500 ก็คงต้องลาโรง เดี๋ยวเจ๊งเหมือนหนังท่านมุ้ย)

ตอนนี้น่าจะวิชาการหน่อยนะครับ เพราะจะว่าถึงกระบวนการแก้ปัญหาของเหล่าพระเอกทั้งหลายที่มาร่วมชุมนุมกัน ใช้เวลาร่วม 2 ปีกว่าจะตั้งหลักเดินได้อีก

ผมและ ดร.ศุภวุฒิ ค่อนข้างโชคดีที่มีโอกาสรับรู้ค่อนข้างใกล้ชิดในระดับริงไซด์ (ไม่ได้เพื่อเอาอินไซด์ไปหาประโยชน์อะไรนะ...ดักคอพวกจิตอกุศลไว้ก่อน) เพราะเราทำวิเคราะห์ วิจัยไว้เยอะ ตั้งแต่ก่อนวิกฤต มีข้อมูลที่ทางการไม่มีอยู่เยอะ แค่ปลายปี 96 เราก็ค่อนข้างฟันธงว่าประเทศไทยน่าจะกำลังเดินหน้าเข้าสู่วิกฤติการเงิน ถึงจะมีความหวังบ้างว่าอาจจะมี soft landing (คำเพราะ ที่ไม่เคยเห็นมีใครทำได้สำเร็จ....รอดูจีนละกัน) แต่ก็ดูริบหรี่ เพราะการกัดลูกปืน (bite the bullets) ก่อนเกิดฉิบหายไม่เป็นที่นิยมของชาวประชา ไม่เคยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไหนทำได้ (จีนถึงมีหวังไง) 

ฝ่ายวิจัยของภัทรฯ ทำเปเปอร์เรื่องนี้ไว้เยอะตั้งแต่ปลายปี 96 อ.เปี๋ยมถึงกับแวะไป World Bank ที่ DC เพื่อหาข้อมูลบทเรียนของวิกฤติที่เกิดก่อนเรา เช่น Mexico Sweden เราค่อนข้างมั่นใจว่าค่าเงินเอาไม่อยู่ แล้วสถาบันการเงินก็จะต้องมีปัญหาแน่ (ตอนที่แล้วเล่าถึงงานวิเคราะห์ของ คุณธีรพงศ์ วชิรพงษ์ แล้ว ) 

น่าเสียดายที่เราตัดสินใจไม่เผยแพร่บทความอย่างกว้างขวาง เพราะกลัวว่าท่านๆ จะหาว่ามาทำลายความมั่นใจของมหาชนที่พวกท่านกำลังสร้างกันอยู่ แล้วพอเกิดวิกฤติก็คงถูกใส่เกลียวเขาให้เป็นแพะ เป็นตัวการ ถูกรุมกระทืบตามธรรมเนียมสังคมไทย เหมือนพวกวิจารณ์เรื่องข้าวเน่า ข้าวเสีย ที่ทำให้ข้าวไทยขายไม่ออกไง (อ้าว...แวะไปอีกและ ไอ้เตา) 

เราได้เอาเปเปอร์ของเราไปนำเสนอให้กับลูกค้าสำคัญหลายคน รวมทั้งทางการ ทั้งคลัง ทั้งแบงค์ชาติ ซึ่งบ้างก็เชื่อ บ้างก็ไม่เชื่อ เพราะคนอื่นๆ โหร ศก.ที่มีชื่อเสียงสุดยอด ท่านก็ต่างยืนยันว่าไม่น่าห่วง เรายังโชติช่วงอยู่ โดยเฉพาะทางการประสานเสียงเดียวกันว่า "รู้แล้ว กำลังแก้อยู่ พวกมึงหุบปากได้ไหม อย่าโวยวายไป" 

สำหรับลูกค้าที่เชื่อเราก็ปิด position เงินกู้ ตปท. หรืออาจสร้าง position ตรงข้ามบ้าง ทำให้ไม่เจ็บหนัก แก้ไม่ยากภายหลัง และแน่นอน เราต้องเสนอต่อ บ.ชินคอร์ป ซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญที่สุดรายหนึ่งตลอดมา 

ดร.ทักษิณ ท่านเห็นด้วยกับงานวิเคราะห์ของเรา ทำให้ไม่มีความเสียหายจากค่าเงินเลย ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าท่านได้อินไซด์จาก ดร.ทนง ก่อนลดค่าเงิน ไม่น่าจะมีมูลความจริง เพราะท่าน clear positionตั้งแต่ต้นปีก่อนวิกฤติตั้งนาน ท่านเชื่อเราต่างหาก

ที่น่าเจ็บใจ น่าเขกกระบาลสุดแรงก็คือตัวเราเอง ทำเป็นแสนรู้ขนาดนี้ ปิด position เงินกู้ ตปท. แต่เราก็ยังคาดการณ์ความรุนแรงของวิกฤติผิดไปเยอะ เพราะ บงล.ภัทรธนกิจ ทำเพียงแค่หยุดการเติบโต ผมไม่สามารถ convince ให้หดตัวอย่างรวดเร็วรุนแรงได้ เราถึงต้องปิดตัวเองลงในปลายปี 42 (ยื้อต่อได้แค่ 2 ปีเศษ)

พอเกิดวิกฤติ เราก็เลยได้มีโอกาสร่วมให้ข้อมูลความเห็นกับทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ได้พบพูดคุยกับ ทีม IMF, World Bank, ADB 

คุณ Kerrigan (อดีตประธาน FED NY ที่ปรึกษาคุณธารินทร์) แม้กระทั่ง Krugman ผู้โด่งดังจากวิกฤตินี้ แวะมาเมืองไทย ก็ยังแวะคุยกับเรา ส่วนทางการเราก็ได้ร่วมให้ข้อมูลรวมทั้งเสนอมาตรการต่างๆ ที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์ ทั้งที่ถามมา หรือเราเสนอหน้าเอง(ก็รักชาติ อยากช่วยชาตินี่ครับ) ส่วนใหญ่ก็เป็น ดร.ศุภวุฒิ แหละครับ ผมคอยติดตามเพราะสอดรู้สอดเห็น และขอยืนยันว่าเราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ไม่สมควรเป็นการตอบแทนใดๆ เลย

เล่าเบื้องหลังการถ่ายทำเสียยืดยาวขอกลับเข้าสู่ฉากหลักครับ

พอเปลี่ยนรัฐบาลเพราะแกงค์งูเห่าลงนาม LOI ฉบับที่ 2 เมื่อ 25 พย.40 ทาง IMF ก็ส่งทีม rescue นำโดยพระเอกหัวเกรียน Hubert Neiss มาประจำประเทศไทย ร่วมกับรัฐแก้ปัญหา ซึ่งแน่นอนที่สุด ระยะแรกจะต้องหยุดยั้งความระส่ำระสาย สร้างเสถียรภาพให้เกิดให้ได้ โดยเฉพาะระบบการเงิน ซึ่งเป็นทั้งต้นเหตุ และเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจอยู่

วิกฤตครั้งนั้นเป็นวิกฤตภาคเอกชนซึ่งกู้หนี้ยืมสินระยะสั้นจาก ตปท.มาลงทุน แล้วไม่มีผลผลิตออกมาให้คุ้มกับที่ลง พอเขาขอเงินคืนก็เลยคว่ำ (ไม่เหมือนภาครัฐนะครับ เจ๊งแค่ไหนก็ยื้อต่อได้ เช่น Airport Link, Elite Card เงินภาษีซะอย่าง. ไอ้เตา...ไปอีกละ กลับม้าาา) 

ทีนี้พอลดค่าเงินก็เลยเจ๊งลึกใหญ่ เพราะกู้เขามา 100,000 ล้านเหรียญ ตอนกู้ได้บาท 2.5 ล้านๆ แต่พอเขาขอคืนที่ 50 บาทต่อเหรียญ ต้องคืน 5 ล้านๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องชักดาบ ไม่มีคืน ถ้าเป็นเอกชนก็พักหนี้ เจรจากันไป แต่ถ้าเป็นสถาบันการเงินเบี้ยวไม่ได้ ระบบล่ม รัฐจึงต้องเข้าช่วย เข้าค้ำ ต่อท่ออัดเงินเข้าไปตลอด เงินสำรองก็***น เลยต้องไปแปะ IMF ไงครับ (มาเลย์โชคดี ที่คว่ำโดยยังไม่โดนโจมตี ไม่ทันได้สู้ สำรองไม่ร่อยหรอ คุณพี่มหาเด่ย์ เลยทำเท่ห์ได้ ไม่ต้องพึ่ง แถมด่า IMF ทุกวัน ใช้ ้Capital Control แก้ปัญหาแทน แถมโชคดีน้ำมันขึ้น เลยฟื้นเร็ว ขืนเราทำตาม เละหยังเขียดแน่ ไม่รู้ป่านนี้ฟื้นหรือยัง)

ถึงจะทำงานกันอย่างหนัก แต่กว่าจะสร้างเสถียรภาพได้ก็ล่วงไปไตรมาส ๒ ปี 41 ค่าเงินเริ่มขึ้นจาก 55 บาทต่อเหรียญ มาอยู่แถวสี่สิบต้นๆ แล้วก็เริ่มดุลยภาพแถวนั้น ไม่ผันผวนมากอีกร่วมสิบปี ก่อนจะค่อยๆ แข็งขึ้นมาให้ผู้ส่งออกที่ไม่เคยคิดจะปรับปรุงผลิตภาพร้องโอ๊กอยู่ทุกวันนี้. 

จากนี้จะขอเล่าการแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ ไม่เล่าตาม time line แล้วนะครับ

เรื่องแรกที่สำคัญที่สุด คือเรื่องระบบสถาบันการเงิน ตอนเกิดวิกฤต มีเงินให้กู้ทั้งระบบอยู่ประมาณ 6 ล้านๆบาท ซึ่งโดยเฉลี่ย สถาบันการเงินจะมีเงินกองทุนอยู่ประมาณ 12% คือ 700,000 ล้าน สุดท้าย NPL เราไปหยุดที่เฉลี่ย 45% คือ 2.7 ล้านๆ บาท 

โดยทั่วไปในวิกฤติเศรษฐกิจ NPL recovery rate อย่างเก่งก็ได้ 55% อย่างสวีเดน ส่วนเม็กซิโกได้แค่สี่สิบกว่าๆเอง คือจะเสียหายครึ่งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1.35 ล้านๆ ซึ่งมากกว่าเงินกองทุนอยู่ 650,000 ล้าน ซึ่งโดยหลักรัฐที่เป็นผู้ค้ำ้ประกันเงินฝากและหนี้สินจะต้องรับภาระส่วนนี้ (นี่ประเมินคร่าวๆ นะครับ เพราะจริงๆ รัฐเสียหายรวมจากการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน 1.4 ล้านๆ บาทจากกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่รวมดอกเบี้ย อาจได้คืนบ้างจากทรัพย์สินที่มีอยู่ ..ธปท.น่าจะประกาศบ้างเป็นระยะนะครับ เหมือนที่เรียกร้องให้เค้าประกาศเรื่องข้าวน่ะครับ) และไม่มีสถาบันการเงินไทยไหนเลยที่มี NPL ต่ำกว่า 40% และมีเงินกองทุนเกิน 15% 

สรุปได้ว่า ทุกแห่งมีเงินทุนติดลบ ซึ่งแปลว่าในที่สุดจะเจ๊งเรียบ รัฐซึ่งเป็นผู้ค้ำจะต้องเข้ายึดเป็นของรัฐหมด

เรื่องความเสียหายเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การที่จะต้องมีระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพเพื่อหล่อเลี้ยงระบบ ศก.สำคัญกว่า และถ้าทุกธนาคารเป็นของรัฐทั้งหมด ลองนึกภาพว่าเรามีแต่ธนาคารอิสลาม ธนาคาร SMEs อาคารสงเคราะห์ ออมสิน สิครับ 

มันเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วว่าถ้ารัฐทำไม่ห่วย ก็เ-ี้ย หรือของขาด ทีนี้เลยเป็นโจทย์ใหญ่แสนยากของคลัง ธปท. และ IMF ว่าทำอย่างไรจึงจะให้ระบบคงอยู่ และยังเป็นของเอกชนในสัดส่วนที่สูง โดยที่จะต้องไม่เข้าไปอุ้มผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารอย่างไม่สมควร ซึ่งพระเอกของเราทำได้สำเร็จ เป็นเรื่องของฝีมือ เก่ง บวกด้วยเฮง ด้วยอีกนิดหน่อย ขอขยายให้ฟัง

- ขั้นแรกถึงจะเจ๊งหมด ก็ต้องแกล้งบอกว่ายังไม่เจ๊งก่อน เพราะไหนๆ รัฐก็ค้ำแล้ว วิธีการก็คือ แทนที่จะให้บันทึกความเสียหายทั้งหมดในคราวเดียว ก็ยอมว่าถ้าหนี้ค้างยังไม่ถึง 12 เดือน ก็ถือว่ายังไม่เสียมาก (แค่ตุๆ) ไม่ต้องตั้งสำรองเต็มที่ แถมการตั้งสำรองก็ให้เวลาตั้งสามปี ห้าปี มาตรฐาน BIS ยกเว้นให้ก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาให้ไปแก้คุณภาพสินทรัพย์ทางหนึ่ง กับให้ไปหาเงินมาเพิ่มทุนที่ติดลบอีกทางหนึ่ง (ดูเผินๆ คล้ายโครงการจำนำข้าวที่บอกว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน เพียงแต่วัตถุประสงค์ ความโปร่งใส ชัดเจนกว่าเยอะ)

- กระนั้นก็ตาม ถ้าธนาคารไหนไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้ฝากเงินและผู้ให้กู้ได้ ต้องใช้เงินช่วยที่ ธปท.ต่อท่อให้เกินระดับจนทำให้ท่อแทบแตก รัฐก็จะเข้าควบคุมและยึดเป็นของรัฐ รวมทั้งหลังจากให้เวลาแล้วถ้าใครยังแก้ไขเงินกองทุนไม่ได้ก็ถูกยึด ถูกยุบ ถูกรวม เหมือนกัน จึงจะเห็นได้ว่า ในที่สุดกว่าครึ่งก็ค่อยๆ เดินพาเหรดมามอบตัวเป็นของรัฐ เช่น ธ.ศรีนคร นครหลวงไทย นครธน มหานคร แหลมทอง สหธนาคาร รัตนสิน กรุงเทพพาณิชย์ ฯลฯ เป็นเครื่องยืนยันว่าเงินกองทุนติดลบจนเกินกว่ามูลค่าของ license หรือ franchise value ใดๆ (เดี๋ยวนี้มีค่าเป็นหมื่นล้านบาท) เลยไม่มีใครใส่ทุนให้

- ทีนี้ก็มีเรื่องโชคช่วยบ้าง ปลายไตรมาสแรกของปี 41 ตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัวคึกคักขึ้นมาเพราะนักลงทุนเริ่มมั่นใจในแนวทางแก้ไข และเห็นเสถียรภาพเริ่มกลับมา ธนาคารกสิกรไทยก็ริเริ่มรีบออกหุ้นเพิ่มทุน (ซึ่งที่ทำได้เร็วก็เพราะที่ปรึกษาเก่งอ่ะ คือ ภัทร กับ Goldman Sachs) 

ผมยังจำได้ถึงความยากลำบากในการขายหุ้นครั้งนั้นเพราะเป็นการขายหุ้นแรกจากประเทศที่เกิดวิกฤติ ผมร่วมเดินทางรอบโลกไป Roadshow (อ้อนวอนให้เขาซื้อ) กับคุณปั้น(คุณบัณฑูรย์ ล่ำซำ) ไปจนค่อนโลกแล้วยังไม่มีใครยอมจองเลย แถม ธ.กรุงเทพฯ รีบประกาศ ทำบ้าง กว่าจะขายได้หมดเลือดตาแทบกระเด็น น้ำลายแห้งเหือดไปหลายเดือน meeting หลายร้อยครั้ง (ลองนึกถึงคุณปั้นที่ต้องพูดมากกว่าผมอีก 5 เท่า แถมเป็นคนไม่พูดมาก ขนาดผมชอบพล่ามทั้งวันยังเสร็จเลย) การขายหุ้นธนาคาร กสิกรไทย จำนวน 376 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 88 บาทได้เงิน 33,088 ล้านบาท (ตัวเลขพวกนี้จำได้ขึ้นใจไม่ต้องค้นเลยครับ ผมเชื่อว่าคุณปั้นก็จำได้เหมือนกัน) ตามด้วยการขายหุ้นแบงค์กรุงเทพ อีก 43,000 ล้านในเดือนถัดมา ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวิกฤติ แล้วหลังจากนั้นตลาดหุ้นก็รูดม่านปิดสนิทอีกเป็นปี กว่าจะมีใครขายหุ้นได้อีก

- ส่วนธนาคารที่เหลือที่ตกรถไฟก็มีอาการพะงาบๆ ต่ออีกพัก จนรัฐต้องออกมาตรการ 14 สค. 2541 เพื่อช่วยเพิ่มทุนให้ แบบวัดครึ่งกรรมการครึ่ง แต่กว่าจะเพิ่มได้จริงก็ข้ามปี เช่น ไทยพาณิชย์ ที่มี คุณชุมพล ณ ลำเลียง (พระเอกคนที่ 5) เข้ามาช่วยฟื้นฟู หลังจากที่ท่านเอาปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งก็เซแซ่ดไปเหมือนกัน ตั้งหลักได้ดีแล้ว ก็เพิ่มทุนทีเดียว 65,000 ล้าน ในเดือน พค.42 แต่ก็เลยมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุด จนกระทั่งทรัพย์สินฯ ต้องเอาที่ดินโรงพยาบาลรามาธิบดีไปแลกกลับมาในภายหลัง ธนาคารอื่น เช่น ทหารไทย กรุงศรี ก็ทะยอยเพิ่มทุนได้ จนระบบเริ่มมีเสถียรภาพ โดยยังคงมีธนาคารเอกชนเป็นหลักอยู่สี่ห้าแห่ง 

- แต่อย่างไรก็ดี ระบบธนาคารก็ยังคงไม่ยอมขยายตัว มัวแต่ซ่อมแซม แต่งตัว เข็ดขี้อ่อน ขี้แก่ ทำให้ ศก.ไม่ค่อยขยาย ตัวจนกระทั่งสมัยรัฐบาลท่านทักษิ ที่ใช้ธนาคารกรุงไทยที่มี คุณวิโรจน์ นวลแข เข้ามาเป็นอัศวินขี่ม้าขาวแบบไอเวนโฮ (ถ้าใครจำโฆษณาได้) ลุยปล่อยสินเชื่อนำร่องจนทุกแบงค์ต้องลุกออกมาจากกระดองเพื่อแข่งขันบ้าง

วันนี้ว่าเรื่องแก้สถาบันการเงินแค่ฉากเดียวก็ยาวลาก คนดูหลับไปครึ่งโรง แถม ผอ.สร้างไม่ได้ทำอะไรมาครึ่งวันแล้ว สงสัยต้องยกไปภาคต่ออีก น่ากลัวพรุ่งนี้ก็ยังจบไม่ลง เดิมทีตั้งใจจะเขียนสั้นๆ ระลึกถึง 2 กค.40 เท่านั้น ไหงไถลมาได้ตั้งหลายวันก็ไม่รู้ ยิ่งเล่ายิ่งมัน (คนเล่า)

แต่เอาเถอะครับ มาถึงขั้นนี้แล้ว ถึงมีคนอ่านแค่สิบคนก็จะเขียนต่อให้จบ เพราะเป็นประสบการณ์ช่วงที่มีค่าที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตผม ตั้งใจจะเขียนบันทึกกันลืมไว้ตั้งนานแล้ว ไม่ได้เริ่มซะที เพิ่งจะมีคนหลอกให้เล่น fb มาสองเดือน เลยยิ่งเขียนยิ่งมัน เพราะมีคนคอยคุยด้วยตลอดเวลา อ่านแล้ามาเมนต์มาคุยกันบ้างนะครับ ด่าทอมาบ้างก็ได้ ถ้าพบตรงไหนไม่เข้าท่า เจอกันพรุ่งนี้ครับ




#785758 อย. อีกหนึ่งความเฮงซวยของระบบราชการไทย

โดย แม้ว ม.7 on 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 13:24

จีน 5 ppm อินเดีย 25 ppm ไทย 50 ppm  โหพี่ไทยเรามีเรามาตรฐานสูงมากๆ 

ที่จีนกับอินเดียกำหนดไว้ต่ำเพราะเขากินข้าวทุกวัน




#785732 วันก่อนนั้งคุยกับเสื้อแดงมา

โดย แม้ว ม.7 on 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 13:03

เหตุผลที่แท้จริง กับเหตุผลที่พูดให้ดูหล่อมันคนละอันกันครับ  -_-

 

 

 

---กระบวนการมันเริ่มจาก การให้ข้อมูล สร้างความรู้สึกร่วม สร้างอคติรัก-ชอบ จากนั้นคนที่ผ่านกระบวนการแล้วก็จะสร้างเหตุผลมารองรับความชอบส่วนตัวเอง---




#785266 พวกปลุกระดมหน้ากากขาว ขาดความรับผิดชอบป้องกัน ปล่อยผู้ชุมนุม โดนเข็ม มีเชื้อโ...

โดย แม้ว ม.7 on 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 22:47

กล้าเอาความชั่วของพวกตัวเองมาโพสนะ -_-




#784879 นักโกงเมืองที่ดีควรปลูกฝังการโกงให้ลูกหลานตั้งแต่เด็กๆ

โดย แม้ว ม.7 on 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:58

 

 

 พ่อของ ด.ช.นพดล สุดลาภา อายุ 9 ปี ไม่พอใจหลังลูกชายไม่ได้เป็นมาสค็อตจูงมือนักเตะเชลชี ลงสนามกับสิงห์ ออล-สตาร์ ทั้งๆ ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างถูกต้อง แต่กลับถูกปลดออกกลางอากาศและถูก ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือน้องไปป์ บุตรชายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เสียบแทนที่http://www.naewna.com/politic/60294

 

แล้วสิงห์จะคัดเลือกตัวหาพ่องมันหรอครับ เมิงก็บอกไปเลยว่ากันที่สำหรับเด็กเส้นกี่ที่ สำหรับเด็กไม่มีเส้นกี่ที่ ไม่ใช้มาทำลายความฝันเด็กอย่างนี้ ถุยส์ งดแดรกสิงห์




#784741 โกหกสีฟ้าสไตล์กรณ์

โดย แม้ว ม.7 on 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:04

มีตรงไหนที่โกหก? แล้วเสื่อเชี้ยไรพันนึง

SKaqjj.jpg

 

 

ที่พวกแดงมันร้อนเพราะมันชอบบรรยากาศแตกแยก เลยเสี้ยมไง




#784685 โกหกสีฟ้าสไตล์กรณ์

โดย แม้ว ม.7 on 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 14:26

เสื่อเชี้ยไรพันนึง